1 / 39

กลอนบทละคร

กลอนบทละคร. “ มาจะกล่าวบทไป ถึงนนทก น้ำใจกล้าหาญ ถึงพระ สยมภูว ญาณ ประทานให้ล้างเท้าเทวา” “ เมื่อนั้น พระนารายณ์ทรงสวัสดิ์รัศมี เห็นนนทก หลงกลก็ยินดี ทำทีเยื้องกรายให้ยวนยิน” “ บัดนั้น นน ทกแกล้วหาญชาญสมร เห็นพระองค์ทรงสังข์คาธร เป็นสี่กรก็รู้ประจักษ์ใจ”. กลอนบทละคร

zeki
Download Presentation

กลอนบทละคร

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. กลอนบทละคร “มาจะกล่าวบทไปถึงนนทกน้ำใจกล้าหาญ ถึงพระสยมภูวญาณ ประทานให้ล้างเท้าเทวา” “เมื่อนั้น พระนารายณ์ทรงสวัสดิ์รัศมี เห็นนนทกหลงกลก็ยินดี ทำทีเยื้องกรายให้ยวนยิน” “บัดนั้นนนทกแกล้วหาญชาญสมร เห็นพระองค์ทรงสังข์คาธร เป็นสี่กรก็รู้ประจักษ์ใจ”

  2. กลอนบทละคร ๑. จำนวนคำ ในแต่ละวรรคใช้คำตั้งแต่ ๖-๙ คำ แต่ที่นิยมคือ ๖-๗ คำ เพราะเข้าจังหวะและทำนองร้องได้ดีกว่า กลอนบทหนึ่งมี ๔ วรรค

  3. ๒. คำขึ้นต้นวรรคแรกนิยมใช้คำว่า “เมื่อนั้น” ในการขึ้นต้นตอนที่กล่าวถึงตัวละครสำคัญของเรื่อง “บัดนั้น” สำหรับขึ้นต้นตอนที่กล่าวถึงตัวละครไม่สำคัญ “มาจะกล่าวบทไป” เพื่อแสดงว่าขึ้นตอนใหม่

  4. ๓. สัมผัส - สัมผัสนอก เป็นสัมผัสที่บังคับต้องมี ได้แก่ การสัมผัสเสียงสระระหว่างวรรคและระหว่างบทตามที่กำหนด - สัมผัสในเป็นสัมผัสที่ไม่บังคับ แต่ช่วยเพิ่มความไพเราะให้แก่บทกลอน

  5. รามเกียรติ์

  6. สำหรับเรื่องรามเกียรติ์ ของไทยนั้น มีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา ในสมัยกรุงธนบุรี สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ได้ทรงพระราชนิพนธ์สำหรับให้ละครหลวงเล่น ปัจจุบันมีอยู่ไม่ครบ ต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์รัชกาลที่ 1 ได้ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นเพื่อรวบรวมเรื่องรามเกียรติ์ ซึ่งมีมาแต่เดิมให้ครบถ้วน สมบูรณ์ตั้งแต่ต้นจนจบ

  7. บทละครเรื่อง รามเกียรติ์ ผู้แต่ง: พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ลักษณะคำประพันธ์: เป็นกลอนบทละคร ประเภทละคร: จัดเป็นละครใน เพราะแสดงโดยผู้หญิงทั้งหมด ละครใน มีเพียง ๓ เรื่องคือ รามเกียรติ์ อิเหนา อุณรุท

  8. ประวัติผู้แต่ง พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช มีพระนามเดิมว่า ด้วง หรือทองด้วง เป็นบุตรของพระอักษรสุนทร (ทองดี) ข้าราชการกรมอาลักษณ์กับท่านหยก ธิดาเศรษฐีจีน เมื่อครั้งสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงกอบกู้เอกราชพระองค์ทรงเป็นกำลังในการกู้บ้านเมืองหลายครั้ง จนได้เลื่อนยศเป็นเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก หลักจากครองราชสมบัติ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงทำนุบำรุงบ้านเมืองให้เจริญรุ่งเรือง บำรุงพระพุทธศาสนา การสังคายนาพระไตรปิฎก รวมถึงการฟื้นฟูวรรณคดีของชาติ

  9. งานพระราชนิพนธ์ ได้แก่ • เพลงยาวรบพม่าที่ท่าดินแดง (นิราศรบพม่าที่ท่าดินแดง) • กฏหมายตราสามดวง • บทละครเรื่อง รามเกียรติ์ • บทละครเรื่องอุณรุท • บทละครเรื่องดาหลัง • บทละครเรื่องอิเหนา • นิทานอิหร่านราชธรรม • การชำระพระราชพงศาวดาร

  10. เนื้อเรื่อง รามเกียรติ์ แบ่งเป็น ๓ ตอน คือ ตอนที่ ๑ เป็นตอนกำเนิดตัวละครต่างๆ มีใจความสำคัญกล่าวถึงพวกอสูรทำความเดือดร้อนแก่มนุษย์ พระนารายณ์จึงอวตาร (แบ่งภาค) ลงมาเกิด

  11. ตอนที่ ๒ เป็นตอนเกิดสงคราม เริ่มจากพระรามได้ออกผนวชและเดินป่า พร้อมด้วยนางสีดา และพระลักษณ์ ทศกัณฐ์ใช้อุบายลักนางสีดาไปไว้ ในกรุงลงกา พระรามออกตามหานางสีดา ได้วานรเป็นบริวาร ใจความสำคัญ อยู่ที่การรบระหว่างพระรามกับทศกัณฐ์ ซึ่งทศกัณฐ์และญาติวงศ์พงศาพากันล้มตาย พระรามจึงได้นางสีดาคืน

  12. ตอนที่ ๓ เป็นตอนพระรามกลับเข้าครองเมือง บริวารทศกัณฐ์ที่ยังรอดชีวิตอยู่ออกอุบายให้พระรามเข้าใจนางสีดาผิดว่านางมีใจปฏิพัทธ์ ต่อทศกัณฐ์ พระรามจึงสั่งให้พระลักษณ์นำ นางสีดาไปประหาร แต่พระลักษณ์ปล่อยนาง ไป นางสีดาต้องออกจากเมืองไปอยู่กับฤาษีและกำเนิดพระโอรส ต่อมาพระรามรู้ความจริงว่าพระองค์เข้าใจผิดจึงพยายามติดตามไปขอรับนางคืน เข้าเมืองและได้ทำพิธีราชาภิเษกเสวยราชย์ในกรุงศรีอยุธยา

  13. รู้จักตัวละครจาก เรื่องรามเกียรติ์

  14. พระนารายณ์ พระนารายณ์ คือ พระวิษณุ หรือ พระหริ มีหน้าที่ดูแลทั้ง ๓ โลก พระนารายณ์มี ๔ กร ถือ สังข์ จักร ตรี คฑา ประทับที่เกษียรสมุทร จะบรรทมอยู่หลังอนันตนาคราช

  15. พระราม พระราม คือ พระนารายณ์อวตารมาเกิด ทรงเป็นโอรสของท้าวทศรถ กับนางเกาสุริยา ทรงธนูเป็นอาวุธ มีศรวิเศษ ๓ เล่ม ได้แก่ ศรพรหมมาสตร์ ศรอัคนิวาต และศรพลายวาต

  16. ทศกัณฐ์ ทศกัณฐ์ มีความหมายว่า สิบคอ ทศกัณฐ์ คือ นนทกลงมาเกิด มี ๑๐ หน้า ๒๐ กร ไม่มีใครฆ่าตาย เพราะถอดดวงใจฝากฤาษีโคบุตรไว้แต่ในที่สุดก็ถูกศรพรหมมาสตร์ของพระรามเสียชีวิต

  17. พระลักษณ์ พระลักษณ์เป็นน้องชาย ต่างมารดาของพระราม พระลักษณ์ คือ อนันตนาคราชที่ประทับของ พระนารายณ์มาเกิด จึงมีความจงรักภักดีต่อพระนารายณ์มาก

  18. หนุมาน หนุมานเป็นบุตรของนางสวาหะกับพระพาย เป็นลิงเผือก มีเดชมากสามารถเนรมิตกายให้สูงใหญ่ มี ๔ หน้า ๘ กร หาวเป็นดาวเป็นเดือน ขนกายเป็นเพชรเป็นทหารเอกของพระราม

  19. พิเภก พิเภก เป็นน้องทศกัณฐ์ แต่ทูลตักเตือนเรื่องนางสีดาจึงถูกขับไล่ออกจากเมืองแล้วมาอยู่กับพระราม มีความรู้ทางโหราศาสตร์ และทำนายเหตุการณ์ได้อย่างแม่นยำ

  20. นางสีดา นางสีดาเป็นลูกของทศกัณฐ์กับนางมณโฑ และเป็นชายาของพระราม สีดา แปลว่ารอยไถ

  21. นนทก นนทก เป็นยักษ์ที่ ทำหน้าที่ล้างเท้าให้เหล่าเทวดา ที่จะขึ้นเฝ้าพระอิศวร นนทก ลงมาเกิดใหม่เป็นทศกัณฐ์ตามบัญชาของพระนารายณ์

  22. บทละครเรื่องรามเกียรติ์บทละครเรื่องรามเกียรติ์

  23. เกมแฟนพันธุ์แท้ รามเกียรติ์

  24. คำถาม แฟนพันธุ์แท้ รามเกียรติ์

  25. ข้อที่ ๑ ทรงธนูเป็นอาวุธ มีศรวิเศษ ๓ เล่ม ๒. พระนารายณ์อวตารมาเกิด ๓. ทรงเป็นโอรสของท้าวทศรถ กับนางเกาสุริยา พระราม

  26. ข้อที่ ๒ ๑. มีความจงรักภักดีต่อพระนารายณ์มาก ๒. คือ อนันตนาคราชที่ประทับของ พระนารายณ์มาเกิด ๓. เป็นน้องชาย ต่างมารดาของพระราม พระลักษณ์

  27. ข้อที่ ๓ มีหน้าที่ดูแลทั้ง ๓ โลก มี ๔ กร ถือ สังข์ จักร ตรี คฑา ประทับที่เกษียรสมุทร จะบรรทมอยู่หลังอนันตนาคราช พระนารายณ์

  28. ข้อที่ ๔ คือ นนทกลงมาเกิด มี ๑๐ หน้า ๒๐ กร ไม่มีใครฆ่าตาย เพราะถอดดวงใจใส่กล่องฝากฤาษี โคบุตรไว้ ทศกัณฐ์

  29. ข้อที่ ๕ เป็นบุตรของนางสวาหะ กับพระพาย เป็นทหารเอกของพระราม สามารถเนรมิตกายให้สูงใหญ่ มี ๔ หน้า ๘ กร หาวเป็นดาวเป็นเดือน ขนกายเป็นเพชร หนุมาน

  30. ข้อที่ ๖ ๑.ถูกขับไล่ออกจากเมืองแล้วมาอยู่กับพระราม ๒. เป็นน้องทศกัณฐ์ ๓. มีความรู้ทางโหราศาสตร์ และทำนายเหตุการณ์ได้อย่างแม่นยำ พิเภก

  31. ข้อที่ ๗ ๑. ชื่อ แปลว่ารอยไถ ๒.เป็นลูกของทศกัณฐ์กับนามณโฑ ๓. เป็นชายาของพระราม นางสีดา

  32. ข้อที่ ๘ ๑.เป็นยักษ์ ๒.ทำหน้าที่ล้างเท้าให้เหล่าเทวดา ๒. ลงมาเกิดใหม่เป็นทศกัณฐ์ตามบัญชาของพระนารายณ์ นนทก

  33. ยักษ์นนทก

  34. ตอน นารายณ์ปราบนนทก

  35. บทละครเรื่อง รามเกียรติ์ ตอน นารายณ์ปราบนนทก ผู้แต่ง: พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ลักษณะคำประพันธ์: เป็นกลอนบทละคร

  36. ชมภาพยนตร์วิดีโอ เรื่อง รามเกียรติ์ ตอน ธรรมะแห่งราชา (นารายณ์ปราบนนทก) แล้วสรุปลงสมุดจดบันทึกของตนเอง

More Related