360 likes | 934 Views
บุตรบุญธรรม. เงื่อนไขการรับบุตรบุญธรรม. เงื่อนไขเรื่องอายุ ผู้รับบุตรบุญธรรมต้องมีอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบห้าปี และต้องมีอายุแก่กว่าผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรมอย่างน้อยสิบห้าปี (มาตรา 1598/19 )
E N D
บุตรบุญธรรม กฎหมายครอบครัว
เงื่อนไขการรับบุตรบุญธรรมเงื่อนไขการรับบุตรบุญธรรม • เงื่อนไขเรื่องอายุ • ผู้รับบุตรบุญธรรมต้องมีอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบห้าปี และต้องมีอายุแก่กว่าผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรมอย่างน้อยสิบห้าปี (มาตรา 1598/19) • ฎีกาที่ 1884/2497 จดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมเมื่อผู้รับบุตรบุญธรรมอายุไม่ถึง 30 ปีบริบูรณ์ และไม่ใข่กรณีที่จะให้สัตยาบันได้ แม้ต่อมาผู้รับบุตรบุญธรรมจะมีอายุครบ 30 ปีบริบูรณ์แล้ว ก็ไม่ทำให้การรับบุตรบุญธรรมสมบูรณ์ กฎหมายครอบครัว
ฎีกาที่ 6993/2537 ตามทะเบียนรับบุตรบุญธรรมเอกสารหมาย จ.4 ปรากฏว่าขณะเจ้ามรดกจดทะเบียนรับจำเลยที่ 1 เป็นบุตรบุญธรรม เจ้ามรดกมีอายุ 25 ปีจึงขัดต่อป.พ.พ. บรรพ 5 เดิม มาตรา 1582 ซึ่งใช้บังคับขณะนั้นที่กำหนดว่าผู้รับเป็นบุตรบุญธรรมต้องมีอายุไม่น้อยกว่า 30 ปี ส่วนการรับจำเลยที่ 2 เป็นบุตรบุญธรรมตามเอกสารหมาย จ.3 เจ้ามรดกแจ้งว่าเป็นโสด แต่ความจริงเจ้ามรดกได้จดทะเบียนสมรสกับโจทก์ โจทก์ไม่ได้ให้ความยินยอม จึงขัดต่อป.พ.พ. บรรพ 5 เดิม มาตรา 1584 ซึ่งใช้บังคับขณะนั้น การจดทะเบียนรับจำเลยทั้งสองเป็นบุตรบุญธรรมย่อมไม่สมบูรณ์ไม่มีผลตามกฎหมาย กฎหมายครอบครัว
เงื่อนไขความยินยอม • การรับบุตรบุญธรรมจะต้องได้รับความยินยอมจากบุคคลดังต่อไปนี้ • ผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรม • กรณีที่ผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรมมีอายุไม่ต่ำกว่าสิบห้าปี • มาตรา 1598/20 การรับบุตรบุญธรรม ถ้าผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรมมีอายุไม่ต่ำกว่าสิบห้าปี ผู้นั้นต้องให้ความยินยอมด้วย กฎหมายครอบครัว
บิดาและมารดาของผู้จะเป็นบุตรบุญธรรม ในกรณีที่บิดาหรือมารดาคนใดคนหนึ่งตายหรือถูกถอนอำนาจปกครองต้องได้รับความยินยอมของมารดาหรือบิดาซึ่งยังมีอำนาจปกครอง • บิดามารดา หมายถึง บิดามารดาที่ชอบด้วยกฎหมาย กฎหมายครอบครัว
ในกรณีที่ผู้จะเป็นบุตรบุญธรรมมีบิดามารดา หรือมีแต่ไม่ให้ความยินยอม มารดาหรือบิดาหรือผู้ประสงค์จะขอรับบุตรบุญธรรมหรืออัยการจะร้องขอต่อศาลให้ มีคำสั่งอนุญาตแทนการให้ความยินยอมก็ได้ • ในกรณีที่ไม่มีผู้ให้ความยินยอมหรือ • มีผู้ให้ความยินยอม แต่ • บิดามารดาทั้งสองคน หรือ • บิดา หรือมารดาตาย หรือถูกถอนอำนาจปกครอง และยังมีบิดาหรือมารดาผู้มีอำนาจปกครองยังมีชีวิตอยู่ • ไม่สามารถแสดงเจตนาให้ความยินยอมได้ หรือ • ไม่ให้ความยินยอมและการปฎิเสธไม่ให้ความยินยอมนั้นเป็นไปโดยปราศจากเหตุผลอันสมควร และเป็นปฏิปักษ์ต่อสุขภาพ ความเจริญ หรือสวัสดิภาพของผู้เยาว์ • กรณีที่ผู้เยาว์ไม่มีบิดามารดา หรือบิดามารดาถูกถอนอำนาจปกครอง ต้องร้องขอต่อศาลให้สั่งอนุญาตแทนการให้ความยินยอม กฎหมายครอบครัว
กรณีไม่สามารถแสดงเจตนาให้ความยินยอมได้ เช่น • ไม่แน่นอนว่ามารดาหรือบิดามีชีวิตอยู่หรือตาย • มารดาหรือบิดาถูกศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ • มารดาหรือบิดาต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลเพราะจิตฟั่นเฟือน กฎหมายครอบครัว
การให้ความยินยอมไม่มีแบบ (เช่นเดียวกับการสมรส) • คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 949/2537 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1584 เดิม ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น ประกอบกับพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว พ.ศ. 2478มาตรา 22 บัญญัติแต่เพียงว่าการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสเท่านั้น ไม่ได้บังคับว่าจะต้องลงลายมือชื่อด้วยตนเอง • คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2759/2530 การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมที่ผู้เป็นบุตรบุญธรรมยังไม่บรรลุนิติภาวะ ต้องได้รับความยินยอมของบิดามารดาผู้เป็นบุตรบุญธรรมด้วยดังนั้น เมื่อมารดาของผู้เป็นบุตรบุญธรรมมิได้ให้ความยินยอมการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมจึงไม่สมบูรณ์ กฎหมายครอบครัว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3739/2548 แม้ตามสำเนาทะเบียนการสมรสจะปรากฏลายมือชื่อฝ่ายชายคือ จำเลยที่ 1 เป็นผู้ร้องขอจดทะเบียนแต่เพียงผู้เดียวก็ตาม แต่ในบันทึกด้านหลังของทะเบียนสมรสดังกล่าวเจ้าหน้าที่ได้บันทึกถ้อยคำที่จำเลยที่ 1 และผู้ตายให้ไว้ว่าคู่สมรสทั้งสองฝ่ายมีความสมัครใจและเต็มใจที่จะจดทะเบียนสมรสกัน โดยทั้งจำเลยที่ 1 และผู้ตายได้ลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐาน บันทึกดังกล่าวได้ทำในวันและเวลาต่อเนื่องกับรายการจดทะเบียนสมรสด้านหน้า จึงย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 1 และผู้ตายได้ให้ถ้อยคำและปฏิบัติตามเงื่อนไขแห่งกฎหมายในเรื่องการจดทะเบียนสมรสด้วยความยินยอมของทั้งสองฝ่ายโดยถูกต้องตามกฎหมายแล้ว ความบกพร่องที่ผู้ตายไม่ได้ลงลายมือชื่อไว้ที่ด้านหน้าทะเบียนสมรสดังกล่าวยังไม่เป็นเหตุถึงทำให้การจดทะเบียนสมรสไม่มีผลสมบูรณ์เป็นโมฆะแต่อย่างไร กฎหมายครอบครัว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 618/2514 ผู้เยาว์อายุ 8 ขวบ บิดามารดามิได้จดทะเบียนสมรสกัน ป. รับผู้เยาว์เป็นบุตรบุญธรรม ในคำร้องขอจดทะเบียนการรับบุตรบุญธรรมบิดาของผู้เยาว์เป็นผู้ลงชื่อแทนที่จะเป็นมารดา แต่เมื่อยื่นคำร้องนี้พนักงานเจ้าหน้าที่ได้สอบถามและไต่สวนฝ่ายผู้ที่จะรับบุตรบุญธรรมและฝ่ายที่จะเป็นบุตรบุญธรรมถูกต้องตามเงื่อนไขของการจดทะเบียนแล้วทั้งมารดาของผู้เยาว์ก็ได้ลงลายมือชื่อเป็นผู้ให้ความยินยอมที่ด้านหลังคำร้องนี้ด้วย ถือได้ว่าคำร้องขอจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมนี้ได้ทำตามแบบโดยชอบแล้ว และการที่ช่องลายมือชื่อผู้ร้องขอจดทะเบียนในทะเบียนการรับบุตรบุญธรรมไม่มีลายมือชื่อบุตรบุญธรรม แต่ด้านหลังมีบันทึกปากคำของผู้รับบุตรบุญธรรมและผู้ให้ความยินยอม ซึ่งมารดาอันเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์ได้ให้ความยินยอมโดยมีลายมือชื่อเป็นหลักฐาน ความบกพร่องดังกล่าวไม่ทำให้การจดทะเบียนไม่สมบูรณ์ และแม้บันทึกด้านหลังทะเบียนนั้นจะไม่ได้ลงวันเดือนปีไว้ด้วย แต่เมื่อเห็นได้ชัดว่านายทะเบียนได้ทำในวันเวลาเดียวต่อเนื่องกับรายการจดทะเบียนด้านหน้า เหตุเพียงเท่านี้ก็ไม่ทำให้การจดทะเบียนไม่สมบูรณ์เช่นกัน กฎหมายครอบครัว
สถานสงเคราะห์ ในกรณี • ผู้เยาว์เป็นผู้ถูกทอดทิ้ง และอยู่ในความดูแลของสถานสงเคราะห์เด็กตามกฎหมายว่าด้วยการสงเคราะห์และคุ้มครองเด็ก • ผู้เยาว์มิได้เป็นผู้ถูกทอดทิ้ง และอยู่ในความดูแลของสถานสงเคราะห์เด็กตามกฎหมายว่าด้วยการสงเคราะห์และคุ้มครองเด็ก แต่บิดาและมารดา หรือบิดาหรือมารดาในกรณีที่มารดาหรือบิดาคนใดคนหนึ่งตายหรือถูกถอนอำนาจปกครอง ได้ทำหนังสือมอบอำนาจให้สถานสงเคราะห์เด็กเป็นผู้มีอำนาจให้ความแทนตน • ถ้าสถานสงเคราะห์เด็กไม่ให้ความยินยอม มารดาหรือบิดาหรือผู้ประสงค์จะขอรับบุตรบุญธรรมหรืออัยการจะร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่งอนุญาตแทนการให้ความยินยอมก็ได้ กฎหมายครอบครัว
คู่สมรสของผู้รับบุตรบุญธรรม และ ผู้จะเป็นบุตรบุญธรรม มาตรา 1598/25 • ในกรณีที่ผู้จะรับบุตรบุญธรรมหรือผู้จะเป็นบุตรบุญธรรม มีคู่สมรสอยู่ต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสก่อน • ในกรณีที่ • คู่สมรสไม่อาจให้ความยินยอมได้ หรือ • ไปเสียจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่ อยู่และหาตัวไม่พบเป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปี • ต้องร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่งอนุญาตแทนการให้ความยินยอมของคู่สมรสนั้น • ผู้เยาว์ที่เป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลใดอยู่จะเป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลอื่นอีกในขณะเดียวกันไม่ได้ เว้นแต่เป็นบุตรบุญธรรมของคู่สมรสของผู้รับบุตรบุญธรรม (มาตรา 1598/26) กฎหมายครอบครัว
คู่สมรสซึ่งเป็นผู้รับบุตรบุญธรรมอยู่แล้ว(มาตรา 1598/25) • ในกรณีที่คู่สมรสฝ่ายหนึ่งจะจดทะเบียนรับผู้เยาว์ซึ่งเป็นบุตรบุญธรรมของคู่สมรสของตนอยู่แล้ว กฎหมายกำหนดให้ได้รับความยินยอมจากคู่สมรสซึ่งเป็นผู้รับบุตรบุญธรรมอยู่แล้ว แทนการให้ความยินยอมของบิดามารดาของบุตรบุญธรรม • มาตรา 1598/25“ผู้จะรับบุตรบุญธรรมหรือผู้จะ เป็นบุตรบุญธรรม ถ้ามีคู่สมรสอยู่ต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสก่อน ในกรณีที่คู่สมรสไม่อาจให้ความยินยอมได้หรือไปเสียจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่ อยู่และหาตัวไม่พบเป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปี ต้องร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่งอนุญาตแทนการให้ความยินยอมของคู่สมรสนั้น” กฎหมายครอบครัว
เงื่อนไขการอนุญาตจากศาลเงื่อนไขการอนุญาตจากศาล • กรณีที่ผู้ให้ความยินยอมแทนสถานสงเคราะห์ในการรับบุตรบุญธรรม จะรับผู้เยาว์ซึ่งอยู่ในความดูแล หรืออยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของสถานสงเคราะห์ เป็นบุตรบุญธรรม • มาตรา 1598/24ผู้มีอำนาจให้ความยินยอมแทน สถานสงเคราะห์เด็กในการรับบุตรบุญธรรมตามมาตรา 1598/22หรือมาตรา 1598/23จะรับผู้เยาว์ซึ่งอยู่ในความดูแลหรืออยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของสถาน สงเคราะห์เด็กนั้นเป็นบุตรบุญธรรมของตนเองได้ต่อเมื่อศาลได้มีคำสั่งอนุญาต ตามคำขอของผู้นั้นแทนการให้ความยินยอมของสถานสงเคราะห์เด็ก กฎหมายครอบครัว
เงื่อนไขการจดทะเบียน • มาตรา 1598/27การรับบุตรบุญธรรมจะสมบูรณ์ต่อเมื่อได้จดทะเบียนตามกฎหมาย แต่ถ้าผู้จะเป็นบุตรบุญธรรมนั้นเป็นผู้เยาว์ต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมก่อน กฎหมายครอบครัว
ผลของการเป็นบุตรบุญธรรมผลของการเป็นบุตรบุญธรรม • บุตรบุญธรรมย่อมมีฐานะอย่างเดียวกับบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้รับบุตรบุญธรรมนั้น มาตรา 1598/28“บุตรบุญธรรมย่อมมีฐานะอย่างเดียวกับบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้รับบุตรบุญธรรมนั้น แต่ไม่สูญสิทธิและหน้าที่ในครอบครัวที่ได้กำเนิดมา ในกรณีเช่นนี้ ให้บิดามารดาโดยกำเนิดหมดอำนาจปกครองนับแต่วันเวลาที่เด็กเป็นบุตรบุญธรรมแล้ว ให้นำบทบัญญัติในลักษณะ ๒ หมวด ๒ แห่งบรรพนี้มาใช้บังคับโดยอนุโลม” กฎหมายครอบครัว
บุตรบุญธรรมมีสิทธิรับมรดกของผู้รับบุญธรรม • บุตรบุญธรรมีฐานะเป็นทายาทโดยธรรมประเภทญาติ ในฐานะผู้สืบสันดานของผู้รับบุตรบุญธรรมตามมาตรา 1629 ว.1(1),1627 เช่นเดียวกับบุตร มาตรา 1627 “บุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้วและบุตรบุญธรรมนั้นให้ถือว่าเป็นผู้สืบสันดาน เหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายนี้” มาตรา 1629 “ทายาทโดยธรรมมีหกลำดับเท่านั้น และภายใต้บังคับแห่งมาตรา 1630วรรค 2แต่ละลำดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดั่งต่อไปนี้ คือ (1) ผู้สืบสันดาน” • แต่บุตรบุญธรรมไม่มีฐานเป็นญาติ ของเครือญาติของผู้รับบุตรบุญธรรม ดังนั้นจึงไม่มีสิทธิรับมรดกของญาติของผู้รับบุตรบุญธรรม กฎหมายครอบครัว
ผู้รับบุตรบุญธรรมไม่มีสิทธิรับมรดกของบุตรบุญธรรม • มาตรา 1598/29 “การรับบุตรบุญธรรมไม่ก่อให้เกิดสิทธิรับมรดกของบุตรบุญธรรมในฐานะทายาทโดยธรรมเพราะเหตุการณ์รับบุตรบุญธรรมนั้น” • แต่ผู้รับบุตรบุญธรรมมีสิทธิเรียกร้องเอาทรัพย์สินที่ตนได้ให้แก่บุตรบุญธรรม คืนจากกองมรดกของบุตรบุญธรรมได้ในกรณีที่ • บุตรบุญธรรมไม่มีคู่สมรส หรือผู้สืบสันดานในขณะที่ถึงแก่ความตาย และ • มีทรัพย์สินนั้นยังคงเหลืออยู่ภายหลังที่ชำระหนี้ของกองมรดกเสร็จสิ้น • การฟ้องเรียกคืนทรัพย์สิน ผู้รับบุตรบุญธรรมต้องฟ้องเมื่อภายในกำหนดหนึ่งปีนับแต่เวลาที่ผู้รับบุตรบุญธรรมได้รู้หรือควรได้รู้ถึง ความตายของบุตรบุญธรรมหรือภายในสิบปีนับแต่วันที่บุตรบุญธรรมตาย กฎหมายครอบครัว
มาตรา 1598/30“ถ้าบุตรบุญธรรมซึ่งไม่มีคู่สมรสหรือผู้สืบสันดานตายก่อนผู้รับบุตรบุญธรรม ผู้รับบุตรบุญธรรมมีสิทธิเรียกร้องเอาทรัพย์สินที่ตนได้ให้แก่บุตรบุญธรรม คืนจากกองมรดกของบุตรบุญธรรมเพียงเท่าที่ทรัพย์สินนั้นยังคงเหลืออยู่ภาย หลังที่ชำระหนี้ของกองมรดกเสร็จสิ้นแล้ว ห้ามมิให้ฟ้องคดีเรียกร้องสิทธิ ตามวรรคหนึ่ง เมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่เวลาที่ผู้รับบุตรบุญธรรมได้รู้หรือควรได้รู้ถึง ความตายของบุตรบุญธรรมหรือเมื่อพ้นกำหนดสิบปีนับแต่วันที่บุตรบุญธรรมตาย” กฎหมายครอบครัว
การเลิกรับบุตรบุญธรรมการเลิกรับบุตรบุญธรรม • การเลิกรับบุตรบุญธรรมจะสมบูรณ์ต่อเมื่อได้จดทะเบียนตามกฎหมาย (มาตรา 1598/31 ว.ท้าย) • เลิกโดยความตกลง • ถ้าบุตรบุญธรรมบรรลุนิติภาวะแล้วจะเลิกโดยความตกลงกันในระหว่างผู้รับบุตรบุญธรรมกับบุตรบุญธรรมเมื่อใดก็ได้ มาตรา 1598/31 • ถ้าบุตรบุญธรรมยังไม่บรรลุนิติภาวะ การเลิกรับบุตรบุญธรรมจะทำได้ต่อเมื่อได้รับความยินยอมของบิดาและมารดา กฎหมายครอบครัว
ถ้าบุตรบุญธรรมยังไม่บรรลุนิติภาวะ และการรับบุตรบุญธรรมเป็นกรณีดังต่อไปนี้ การเลิกรับบุตรบุญธรรมให้กระทำได้ต่อเมื่อมีคำสั่งศาลโดยคำร้องขอของผู้มีส่วนได้เสียหรืออัยการ • ศาลอนุญาตแทนบิดามารดากรณีที่ไม่มีบิดามารดา หรือบิดามารดาไม่ให้ความยินยอม มาตรา1598/21 • ผู้มีอำนาจให้ความยินยอมแทนสถานสงเคราะห์เด็กเป็นผู้ยินยอมมาตรา 1598/22, มาตรา 1598/23 • ผู้มีอำนาจให้ความยินยอมแทนสถานสงเคราะห์เด็กเป็นผู้รับบุตรบุญธรรมเองมาตรา 1598/24 • คู่สมรสของผู้รับบุตรบุญธรรม เป็นผู้ให้ความยินยอมในการรับบุตรบุญธรรมของคู่สมรสตนเองมาตรา 1598/26 กฎหมายครอบครัว
เลิกโดยผลของกฎหมาย • มาตรา 1598/32 “การรับบุตรบุญธรรมย่อมเป็นอันยกเลิกเมื่อมีการสมรสฝ่าฝืนมาตรา 1451” • เลิกโดยคำพิพากษาของศาล • โดยการคดีฟ้องเลิกการรับบุตรบุญธรรมตาม มาตรา 1598/33 กฎหมายครอบครัว
เหตุในการฟ้อง • (1)ฝ่ายหนึ่งทำการชั่วร้ายไม่ว่าจะเป็นความผิดอาญาหรือไม่ เป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่งอับอายขายหน้าอย่างร้ายแรง หรือถูกเกลียดชัง หรือได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกินควร อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องเลิกได้ • (2) ฝ่ายหนึ่งหมิ่นประมาทหรือเหยียดหยามอีกฝ่ายหนึ่งหรือบุพการีของอีกฝ่ายหนึ่งอันเป็นการร้ายแรง อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องเลิกได้ ถ้าบุตรบุญธรรมกระทำการดังกล่าวต่อคู่สมรสของผู้รับบุตรบุญธรรม ให้ผู้รับบุตรบุญธรรมฟ้องเลิกได้ กฎหมายครอบครัว
(3)ฝ่ายหนึ่งกระทำการประทุษร้ายอีกฝ่ายหนึ่งหรือบุพการีหรือคู่สมรสของอีกฝ่ายหนึ่ง เป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจอย่างร้ายแรงและการกระทำนั้นเป็นความผิดที่มีโทษอาญา อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องเลิกได้ • (4) ฝ่ายหนึ่งไม่อุปการะเลี้ยงดูอีกฝ่ายหนึ่ง อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องเลิกได้ • (5) ฝ่ายหนึ่งจงใจละทิ้งอีกฝ่ายหนึ่งไปเกินหนึ่งปี อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องเลิกได้ • (6) ฝ่ายหนึ่งต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกเกินสามปี เว้นแต่ความผิดที่กระทำโดยประมาท อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องเลิกได้ กฎหมายครอบครัว
(7) ผู้รับบุตรบุญธรรมทำผิดหน้าที่บิดามารดา และการกระทำนั้นเป็นการละเมิด หรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา 1564มาตรา 1571มาตรา 1573มาตรา 1574หรือมาตรา 1575เป็นเหตุให้เกิดหรืออาจเกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงต่อบุตรบุญธรรม บุตรบุญธรรมฟ้องเลิกได้ • ไม่อุปการะเลี้ยงดู ให้การศึกษาแก่บุตรบุญธรรม • จัดการทรัพย์สินของบุตรขาดความระมัดระวังเช่นวิญญูชนจะพึงกระทำ • ใช้เงินได้ของบุตรบุญธรรม • ทำนิติกรรมตามมาตรา 1574 โดยอมิได้รับอนุญาตจากศาล • ทำกิจการที่ประโยชน์ของบุตรบุญธรรม กับผู้รับบุตรบุญธรรมขัดกันโดยมิได้รับอนุญาตจากศาล กฎหมายครอบครัว
(8) ผู้รับบุตรบุญธรรมผู้ใดถูกถอนอำนาจปกครองบางส่วนหรือทั้งหมดและเหตุที่ถูกถอนอำนาจปกครองนั้นมีพฤติการณ์แสดงให้เห็นว่า ผู้นั้นไม่สมควรเป็นผู้รับบุตรบุญธรรมต่อไป บุตรบุญธรรมฟ้องเลิกได้ กฎหมายครอบครัว
ผู้มีสิทธิฟ้องเลิกรับบุตรบุญธรรมมาตรา 1598/35 • ผู้มีสิทธิฟ้องเลิกการรับบุตรบุญธรรม ได้แก่บุคคลดังต่อไปนี้ • บุตรบุญธรรมมีอายุไม่ครบสิบห้าปีบริบูรณ์ให้บิดามารดาโดยกำเนิดเป็นผู้มีอำนาจฟ้องแทน • บุตรบุญธรรมมีอายุสิบห้าปีบริบูรณ์แล้วบุตรบุญธรรมฟ้องได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้ใด • อัยการจะฟ้องคดีแทนบุตรบุญธรรมก็ได้ กฎหมายครอบครัว
อายุความในการฟ้องเลิกรับบุตรบุญธรรมมาตรา 1598/34 • การฟ้องขอเลิกรับบุตรบุญธรรมห้ามมิให้ฟ้องเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปี นับแต่วันที่ผู้ขอเลิกการรับบุตรบุญธรรมรู้หรือควรได้รู้ข้อเท็จจริงอันเป็น เหตุให้เลิกการนั้นหรือเมื่อพ้นกำหนดสิบปีนับแต่เหตุนั้นเกิดขึ้น การสิ้นสุดการเป็นบุตรบุญธรรมโดยคำพิพากษาของศาลมาตรา 1598/36 • การเลิกรับบุตรบุญธรรมโดยคำพิพากษาของศาล มีผลแต่เวลาที่คำพิพากษาถึงที่สุด แต่จะอ้างเป็นเหตุเสื่อมสิทธิของบุคคลภายนอกผู้ทำการโดยสุจริตไม่ได้ เว้นแต่ได้จดทะเบียนแล้ว กฎหมายครอบครัว
อำนาจปกครองเมื่อการรับบุตรบุญธรรมสิ้นสุด มาตรา 1598/37 • เมื่อถ้าบุตรบุญธรรมยังไม่บรรลุนิติภาวะ • ผู้รับบุตรบุญธรรมตายให้บิดามารดาโดยกำเนิดกลับมีอำนาจปกครองนับแต่เวลาที่ผู้รับบุตรบุญธรรมตาย หรือ • เมื่อมีการเลิกรับบุตรบุญธรรม ให้บิดามารดาโดยกำเนิดกลับมีอำนาจปกครองนับนับแต่เวลาที่จดทะเบียนเลิกการรับบุตรบุญธรรมตามมาตรา 1598/31 หรือ • นับแต่เวลาที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้เลิกการรับบุตรบุญธรรม เว้นแต่ศาลเห็นสมควรสั่งเป็นประการอื่น กฎหมายครอบครัว