240 likes | 693 Views
บทที่ 6 บัญชีฟาร์มและการบันทึกกิจการฟาร์ม. ความหมายของการลงบัญชีและการบันทึกกิจการฟาร์ม
E N D
บทที่ 6 บัญชีฟาร์มและการบันทึกกิจการฟาร์ม • ความหมายของการลงบัญชีและการบันทึกกิจการฟาร์ม • เป็นการรวบรวมข้อมูลและข่าวสารความรู้ที่เกี่ยวข้องกับกิจการต่างๆของหน่วยธุรกิจฟาร์มโดยการจดบันทึกข้อมูลและข่าวสารความรู้ดังกล่าวให้อยู่ในรูปแบบทางบัญชีและบันทึกต่างๆที่มีระบบแบบแผนเพื่อความสะดวกและง่ายต่อความเข้าใจและสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการวิเคราะห์และวินิจฉัยสถานภาพด้านการเงิน การคลัง ตลอดจนวัดผลสำเร็จนการทำธุรกิจฟาร์ม เพื่อทราบถึงจุดอ่อนและปัญหาที่มีอยู่ของธุรกิจฟาร์ม อันจะมีส่วนช่วยประกอบการตัดสินใจเพื่อแก้ปัญหาของธุรกิจฟาร์มและช่วยปรับปรุงการดำเนินธุรกิจฟาร์มให้ได้ผลดี รวมทั้งใช้เป็นรากฐานในการวางแผนฟาร์มล่วงหน้า
ความสำคัญของบัญชีฟาร์มและบันทึกต่างๆความสำคัญของบัญชีฟาร์มและบันทึกต่างๆ • 1) ช่วยในการประเมินและวิเคราะห์สถานภาพด้านการเงินและการคลัง • 2) ช่วยในการประเมินและคิดผลทางเศรษฐกิจของธุรกิจฟาร์ม • 3) ช่วยในการควบคุมและดำเนินธุรกิจฟาร์มหรืองานประจำของฟาร์มให้เป็นไปอย่างราบรื่น รวดเร็ว และได้ผลดี • 4) ช่วยประกอบการตัดสินใจในการปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงธุรกิจฟาร์ม ตลอดจนการวางแผนงบประมาณฟาร์มล่วงหน้า
ชนิดของบัญชีฟาร์มและบันทึกชนิดของบัญชีฟาร์มและบันทึก • 1) บัญชีแสดงทรัพย์สินและหนี้สินของธุรกิจฟาร์ม Net Worth Statement • 2) บัญชีแสดงรายได้และรายจ่ายของธุรกิจฟาร์ม Income Statement • 3) บัญชีแสดงการหมุนเวียนเงินสดของฟาร์ม Cash Flow Statement • 4) บันทึกอื่นๆที่เกี่ยวกับธุรกิจฟาร์ม
บัญชีแสดงทรัพย์สินและหนี้สินของธุรกิจฟาร์มบัญชีแสดงทรัพย์สินและหนี้สินของธุรกิจฟาร์ม • เป็นบัญชีแสดงและสรุปมูลค่าของทรัพย์สิน (Assets) หนี้สิน (Liability) และมูลค่าของทรัพย์สินสุทธิที่เป็นเจ้าของฟาร์ม (Net Worth or Operator Capital) ณ เวลาใดเวลาหนึ่งที่ทำการสำรวจและวิเคราะห์ • ชี้ให้เห็นถึงฐานะและความมั่นคงทางด้านทรัพย์สินของฟาร์มในระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง มีประโยชน์ต่อเกษตรกรเจ้าของฟาร์มในการไปติดต่อขอกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงิน • ประกอบด้วย 3 ส่วนที่สำคัญคือ 1) ประเภทและมูลค่าของทรัพย์สินฟาร์ม (Assets) 2) ประเภทและจำนวนหนี้สินของฟาร์ม (Liability) และ 3) มูลค่าของทรัพย์สินสุทธิที่เป็นเจ้าของฟาร์ม (Net Worth)
ประเภทของทรัพย์สิน • แบ่งตามลักษณะของสภาพคล่องตัว (Liquidation) • 1) ทรัพย์สินทุนหมุนเวียน (Current Asset)หมายถึงทรัพย์สินประเภทที่สามารถเปลี่ยนมาเป็นเงินสด (โดยการขายหรือแลกเปลี่ยน) ได้ง่ายและรวดเร็ว มีสภาพคล่องตัวสูง เช่น พืชผลที่ผลิตคงเหลือ ปศุสัตว์ที่เลี้ยงไว้เพื่อจำหน่าย ปัจจัยการผลิตคงเหลือ ปัจจัยการผลิตที่ตกลงซื้อล่วงหน้า เงินสดในมือที่ถืออยู่ บัญชีเงินฝากในธนาคาร บัญชีลูกหนี้ ฯลฯ • 2) ทรัพย์สินดำเนินการ (Intermediate Asset) หมายถึงทรัพย์สินประเภทที่มีความคล่องปานกลาง และมักเป็นทรัพย์สินที่ใช้และให้บริการต่างๆในกระบวนการผลิต หรือใช้ประกอบในกระบวนการผลิตของฟาร์ม เช่น พ่อพันธุ์ แม่พันธุ์สัตว์ เครื่องจักรเครื่องมือต่างๆ เช่น รถไถนาเดินตาม เครื่องสูบน้ำ เครื่องพ่นยา ฯลฯ การตีมูลค่าของทรัพย์สินประเภทนี้ต้องใช้มูลค่าของทรัพย์สินที่หักค่าเสื่อม (Depreciation) แล้ว
3) ทรัพย์สินถาวร (Long-term Asset)หมายถึงทรัพย์สินประเภทที่มีสภาพคล่องค่อนข้างต่ำ การซื้อขายแลกเปลี่ยนต้องใช้เวลานาน มักเป็นทรัพย์สินประเภทถาวร หรืออสังหาริมทรัพย์ต่างๆ เช่น ที่ดิน ยุ้งฉาง โรงเรือน บ้าน ต้นไม้ยืนต้น ฯลฯ การซื้อหรือขายทรัพย์สินประเภทนี้จะส่งผลกระทบต่อฐานะด้านการเงิน การคลังของฟาร์มมาก เพราะต้องใช้เงินจำนวนมากในการซื้อขาย • ประเภทของหนี้สิน หนี้สินที่จะจดบันทึกในบัญชีฟาร์มนั้นเป็นหนี้สินที่เกิดจากการกู้ยืมเงินของหน่วยธุรกิจฟาร์มมาเพื่อใช้ซื้อทรัพย์สินประเภทต่างๆ แบ่งตามระยะเวลากำหนดในการชำระคืนได้ 3 ประเภทคือ • 1) หนี้สินระยะสั้น (Current Liability)เป็นหนี้สินที่เกิดจากการกู้ยืมเงินมาเพื่อใช้ซื้อทรัพย์สินหมุนเวียนของธุรกิจฟาร์ม และยังคงค้างชำระอยู่ ต้องชดใช้คืนภายในกำหนดไม่เกิน 1 ปีนับจากวันที่กู้ยืมมา
2) หนี้สินระยะปานกลาง (Intermediate Liability)เป็นหนี้สินที่เกิดจากการกู้ยืมเงินมาเพื่อใช้ซื้อทรัพย์สินประกอบการ เช่น กู้มาซื้อรถไถนาเดินตาม เครื่องสูบน้ำ ฯลฯ และยังคงค้างชำระอยู่ และมีกำหนดต้องใช้คืนตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไปแต่ไม่เกิน 5 ปี • 3) หนี้สินระยะยาว (Long-term Liability)เป็นหนี้สินของหน่วยธุรกิจฟาร์มที่เกิดจากการกู้ยืมเงินมาเพื่อใช้ซื้อหรือลงทุนในทรัพย์สินถาวร เช่น กู้เงินมาสร้างโรงเรือน ซื้อที่ดิน ฯลฯ และมีกำหนดเวลาที่ต้องใช้คืนตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป
วิธีการคิดค่าเสื่อมของทรัพย์สินวิธีการคิดค่าเสื่อมของทรัพย์สิน • การจดบันทึกมูลค่าของทรัพย์สินจะต้องตีมูลค่าของทรัพย์สิน ณ วันที่ทำการสำรวจ มีทรัพย์สินบางประเภทมีอายุการใช้งานได้นานหลายปี (Durable goods) มูลค่าของทรัพย์สินจะเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพ เนื่องจากเกิดการสึกหรอจากการใช้งาน และความล้าสมัยของทรัพย์สินนั้น ทำให้มูลค่าของทรัพย์สินประเภทนี้ลดค่าลง มูลค่าที่ลดลงนี้เรียกว่า ค่าเสื่อม (Depreciation) ของทรัพย์สินทุน • ในการคิดค่าเสื่อมของทรัพย์สิน จะต้องทราบ • 1) ราคาที่ซื้อมา • 2) มูลค่าซาก (Salvage Value) • 3) มูลค่าของทรัพย์สินทุนที่ยังเหลืออยู่ (Residual Value)
ในทางบัญชีมีวิธีคิดค่าเสื่อมได้ 3 วิธีคือ • 1) คิดค่าเสื่อมแบบเส้นตรง (Straight line method) • 2) คิดค่าเสื่อมแบบลดลง (Declining balance method) • 3) คิดค่าเสื่อมแบบ Sum of the years digits method • คิดค่าเสื่อมแบบเส้นตรง (Straight line method) • DSL = (C –S)/N • DSL = ค่าเสื่อมของทรัพย์สินทุนต่อปีที่คิดแบบเส้นตรง • C = ราคาของทรัพย์สินที่ซื้อมา (Acquisition value) • S = มูลค่าซากของทรัพย์สิน • N = จำนวนปีของทรัพย์สินทุนที่คาดว่าจะใช้ประโยชน์ได้
ฟาร์มรักเกษตรซื้อรถไถนาเดินตามมาในราคา 25,000 บาท คาดว่าจะใช้งานได้นาน 5 ปี หลังจากหมดสภาพแล้ว สามารถขายเป็นเศษเหล็กได้ในราคา 2,500 บาท • DSL = (25,000 – 2,500)/5 = 4,500 บาท • คิดค่าเสื่อมแบบลดลง (Declining balance method) • DDB = (C –A) * R • DDB = ค่าเสื่อมของทรัพย์สินทุนต่อปีที่คิดแบบลดลง • C = ราคาของทรัพย์สินที่ซื้อมา • A = ค่าสึกหรอสะสม (Accumulated depreciation) • R = อัตราค่าเสื่อมเป็น % ซึ่งปกติจะคิดเป็นสองเท่าของการคิดค่าเสื่อม แบบเส้นตรง
ฟาร์มรักเกษตรซื้อรถไถนาเดินตามมาในราคา 25,000 บาท คาดว่าจะใช้งานได้นาน 5 ปี หลังจากหมดสภาพแล้ว สามารถขายเป็นเศษเหล็กได้ในราคา 2,500 บาท (R = 40% ซึ่งเป็นสองเท่าของวิธีคิดแบบเส้นตรง) • DDBปีที่หนึ่ง = (25,000 – 0)* .4 = 10,000 บาท • DDBปีที่สอง = (25,000 – 10,000) * .4 = 6,000 บาท • DDBปีที่สาม = (25,000 – 16,000) * .4 = 3,600 บาท • DDBปีที่สี่ = (25,000 – 19,600) * .4 = 2,160 บาท • DDBปีที่ห้า = (25,000 – 21,760 – 2,500) = 740 บาท
คิดค่าเสื่อมแบบ Sum of the years digits method • DSD = (C –S) * N/SD • DSD = ค่าเสื่อมของทรัพย์สินทุนต่อปีที่คิดแบบ Sum of the years digits method • N = จำนวนปีของทรัพย์สินที่คาดว่าจะใช้ประโยชน์ในธุรกิจฟาร์มได้ • SD = จำนวนปีทั้งหมดของอายุการใช้งานของทรัพย์สินรวมกัน • SD = 1+2+3+4+5 = 15 • DSDปีที่หนึ่ง = (25,000 – 2,500) * 5/15 = 7,500 บาท • DSDปีที่สอง = (25,000 – 2,500) * 4/15 = 6,000 บาท • DSDปีที่สาม = (25,000 – 2,500) * 5/15 = 4,500 บาท • DSDปีที่สี่ = (25,000 – 2,500) * 2/15 = 3,000 บาท
DSDปีที่ห้า = (25,000 – 2,500) * 1/15 = 1,500 บาท
มูลค่าที่เหลืออยู่ของทรัพย์สินมูลค่าที่เหลืออยู่ของทรัพย์สิน ราคาที่ซื้อมา 25,000 Straight line 20,000 Declining balance 15,000 Sum of the years digits 10,000 Salvage value 5,000 0 จำนวนปีที่คาดว่าจะใช้ได้
ขั้นตอนการจดบันทึกบัญชีแสดงทรัพย์สินและหนี้สินขั้นตอนการจดบันทึกบัญชีแสดงทรัพย์สินและหนี้สิน • 1) สำรวจและตรวจสอบจำนวนทรัพย์สินและหนี้สินทั้งหมดของฟาร์มที่มีอยู่ ณ วันที่ทำการสำรวจ • 2) คำนวณหามูลค่าของทรัพย์สินและหนี้สินแต่ละชนิดที่มีอยู่ • 2.1) ทรัพย์สินหมุนเวียนใช้ราคาตลาดหรือราคาซื้อมา • 2.2) ทรพัย์สินประกอบการใช้ราคาซื้อ - ค่าเสื่อมสะสม • 2.3) มูลค่าที่ดินอาจจะใช้สูตร V = R/r • V = มูลค่าปัจจุบันของที่ดิน • R = ผลตอบแทนสุทธิเฉลี่ยต่อปีที่คาดว่าจะได้รับจากที่ดินนั้น • r = อัตราผลตอบแทนของเงินทุนที่เจ้าของฟาร์มควรจะได้รับ
ฟาร์มรักเกษตรมีที่ดินอยู่ 20 ไร่ ใช้ปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ คิดคำนวณแล้วจะได้รับรายได้สุทธิทั้งหมดปีละ 800,000 บาทต่อปี อัตราผลตอบแทนเงินทุนที่ฟาร์มนี้จะได้รับเท่ากับ 10% ต่อปี • V = 800,000/.1 = 8,000,000 บาทต่อ 20 ไร่ • หรือ = 8,000,000/20 = 400,000 บาทต่อไร่ • 3) แบ่งประเภทของทรัพย์สินและหนี้สินของธุรกิจฟาร์มออกเป็นหมวดหมู่ตามชนิดของมัน • 4) คำนวณหามูลค่าของทุนสุทธิที่เป็นของเจ้าของฟาร์ม
รายละเอียดของฟาร์มดินดำน้ำชุ่ม ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2547 มีรายการต่าง ๆ ดังนี้