1 / 126

มาตรฐานการรายงานทางการเงินสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ (TFRS for NPAEs)

มาตรฐานการรายงานทางการเงินสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ (TFRS for NPAEs). ดร.สันสกฤต วิจิตรเลขการ ภาควิชาบัญชี คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน. การนำส่วนใดส่วนหนึ่งของเอกสารชุดนี้ไปดัดแปลง ทำซ้ำหรือเผยแพร่ในลักษณะใดๆก็ตาม ควรอ้างอิงให้เหมาะสม. หัวข้อการบรรยาย.

zariel
Download Presentation

มาตรฐานการรายงานทางการเงินสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ (TFRS for NPAEs)

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. มาตรฐานการรายงานทางการเงินสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ(TFRS for NPAEs) ดร.สันสกฤต วิจิตรเลขการ ภาควิชาบัญชี คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน การนำส่วนใดส่วนหนึ่งของเอกสารชุดนี้ไปดัดแปลง ทำซ้ำหรือเผยแพร่ในลักษณะใดๆก็ตาม ควรอ้างอิงให้เหมาะสม

  2. หัวข้อการบรรยาย • ความเป็นมาและวัตถุประสงค์ • ขอบเขต • กรอบแนวคิด • การนำเสนองบการเงิน • การเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชี การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชีและการแก้ไขข้อผิดพลาด • เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด

  3. หัวข้อการบรรยาย • ลูกหนี้ • สินค้าคงเหลือ • เงินลงทุน • ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ • สินทรัพย์ไม่มีตัวตน • อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน • ต้นทุนการกู้ยืม

  4. หัวข้อการบรรยาย • สัญญาเช่า • ภาษีเงินได้ • ประมาณการหนี้สินและหนี้สินที่อาจเกิดขึ้น • เหตุการณ์ภายหลังรอบระยะเวลารายงาน • รายได้ • การรับรู้รายได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ • สัญญาก่อสร้าง

  5. หัวข้อการบรรยาย • ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ • การปฏิบัติในช่วงเปลี่ยนแปลงและวันถือปฏิบัติ

  6. มาตรฐานการรายงานทางการเงินสาหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะมาตรฐานการรายงานทางการเงินสาหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ ประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ฉบับที่ ๒๐/๒๕๕๔ เรื่อง มาตรฐานการรายงานทางการเงินสาหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ (http://www.fap.or.th) • 1 มาตรฐานประกอบด้วย 88 หน้า 22 บท ประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ฉบับที่ ๒๙/๒๕๕๔ เรื่อง คำอธิบายเกี่ยวกับการปฏิบัติตามข้อกำหนดของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน สำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ (http://www.fap.or.th) 1 2

  7. ความเป็นมาและวัตถุประสงค์ความเป็นมาและวัตถุประสงค์ • ภาระและต้นทุนในการจัดทำรายงานทางการเงินของกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ (NPAEs) • ความซับซ้อนของ TFRSs … การใช้มูลค่ายุติธรรม • ความแตกต่างระหว่างกิจการที่มีส่วนได้เสียสาธารณะ (PAEs) และกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ (NPAEs) • ผู้ใช้งบการเงินหลักและจำนวนผู้มีส่วนได้เสียในกิจการ • แหล่งการระดมเงินทุน • ความซับซ้อนของธุรกรรมการค้า

  8. ขอบเขตของมาตรฐานฯ • ระดับการบังคับใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงินของสภาวิชาชีพบัญชีฯ • ทางเลือกที่ 1: 3 ระดับ • ทางเลือกที่ 2: 2 ระดับ • สภาวิชาชีพบัญชีฯกำหนดใช้มาตรฐานฯ เป็น 2 ระดับ 1 PAEs (Publicly Accountable Entities) = กิจการที่มีส่วนได้เสียสาธารณะ 2 NPAEs (Non-Publicly Accountable Entities) = กิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ = กิจการที่ไม่ใช่ PAEs

  9. ขอบเขตของมาตรฐานฯ กิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ (NPAEs) หมายถึง ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 มาตรา 8 และไม่ใช่กิจการดังต่อไปนี้ 1) กิจการที่มีตราสารทุนหรือตราสารหนี้ของกิจการซึ่งมีการซื้อขายต่อประชาชน ไม่ว่าจะเป็นตลาดหลักทรัพย์ในประเทศหรือต่างประเทศหรือการซื้อขายนอกตลาดหลักทรัพย์ (Over thecounter) รวมทั้งตลาดในท้องถิ่นและในภูมิภาค หรือ กิจการที่นำส่งหรืออยู่ในกระบวนการของการนำส่งงบการเงินของกิจการให้แก่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์หรือหน่วยงานกำกับดูแลอื่นเพื่อวัตถุประสงค์ในการออกขายหลักทรัพย์ใดๆ ต่อประชาชน

  10. ขอบเขตของมาตรฐานฯ 2) กิจการที่ดำเนินธุรกิจหลักในการดูแลสินทรัพย์ของกลุ่มบุคคลภายนอกในวงกว้าง เช่น สถาบันการเงิน บริษัทประกันชีวิต บริษัทประกันวินาศภัย บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนรวม ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย ตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น เป็นต้น 3) บริษัทมหาชน ตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชน 4) กิจการอื่นที่จะกำหนดเพิ่มเติม

  11. ขอบเขตของมาตรฐานฯ • ในกรณีที่กิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะไม่ประสงค์ที่จะจัดทำรายงานทางการเงินตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้ ให้กิจการจัดทำรายงานทางการเงินตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินของไทย (TFRSs) ทุกฉบับ โดยปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ หรือ

  12. กิจการเป็นผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี (5 ประเภท) ตามมาตรา 8 ของ พรบ.การบัญชี 2543 ใช่ ไม่ใช่ สภาวิชาชีพบัญชีฯ PAEs กิจการอื่น ๆ ใช่ ไม่ใช่ 2 3 1 (Full) TFRSs TFRS for NPAEs ขึ้นอยู่กับหน่วยงานกำกับดูแลกิจการนั้นๆ

  13. มุมมองของกรมพัฒนาธุรกิจการค้าต่อมาตรฐานการรายงานทางการเงินมุมมองของกรมพัฒนาธุรกิจการค้าต่อมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี 5 แบบ ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี แบบ 1: ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน, แบบ 2: บริษัทจำกัด, แบบ 3: บริษัทมหาชนจำกัด, แบบ 4: นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ, และแบบ 5: กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร แบบ 3 (PAEs) แบบ 1, 2, 4, 5 A PAEs NPAEs B C D (Full) TFRSs TFRS for NPAEs

  14. ขอบเขตของมาตรฐานฯ อดีต • การบังคับใช้มาตรฐานฯของ NPAEs: • “TFRS หัก 8 ฉบับ” • TAS 7 งบกระแสเงินสด • TAS14 การเสนอข้อมูลทางการเงินจำแนกตามส่วนงาน • TAS 24 การเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้อง • TAS 27 งบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการ • TAS 28 เงินลงทุนในบริษัทร่วม • TAS 31 ส่วนได้เสียในการร่วมค้า • TAS 36 การด้อยค่าของสินทรัพย์ • TAS 32+TFRS 7 การแสดงรายการและการเปิดเผยข้อมูลสำหรับเครื่องมือทางการเงิน ปัจจุบัน (ตั้งแต่ 1 ม.ค. 54) • การบังคับใช้มาตรฐานฯของ NPAEs: “TFRS for NPAEs”

  15. กรอบแนวคิด • เน้นการจัดทำและนำเสนองบการเงินที่มีวัตถุประสงค์ทั่วไป • ข้อสมมติ : เกณฑ์คงค้างและการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง • กำหนดวัตถุประสงค์ของงบการเงินให้นำเสนอข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับฐานะการเงินและผลการดำเนินงาน • ผู้ใช้งบการเงินหลัก : เจ้าของกิจการ • รวมถึงผู้ใช้งบการเงินอื่นๆ เช่น ผู้ให้กู้ ผู้ขายสินค้า เจ้าหนี้อื่น หน่วยงานรัฐบาล และหน่วยงานกำกับดูแลกิจการ

  16. กรอบแนวคิด • ลักษณะเชิงคุณภาพของข้อมูลในงบการเงิน • ลักษณะเชิงคุณภาพพื้นฐาน • เชื่อถือได้---ไม่ครอบคลุมถึงการเป็นตัวแทนอันเที่ยงธรรม • เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ • ลักษณะเชิงคุณภาพเสริม • เปรียบเทียบกันได้ • ยืนยันความถูกต้องได้ • ทันต่อเวลา • เข้าใจได้ • ข้อควรพิจารณาอื่น • ความมีสาระสำคัญ • ความระมัดระวัง • ความสมดุลระหว่างประโยชน์ที่ได้รับกับต้นทุนที่เสียไป---ต้นทุนต่อหน่วยในการจัดทำรายงานทางการเงิน • ความสมดุลระหว่างลักษณะเชิงคุณภาพ

  17. กรอบแนวคิด • การรับรู้รายการและองค์ประกอบของงบการเงิน • สินทรัพย์ หมายถึง ทรัพยากรที่อยู่ในความควบคุมของกิจการ ทรัพยากรดังกล่าวเป็นผลของเหตุการณ์ในอดีต ซึ่งกิจการคาดว่าจะได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจจากทรัพยากรนั้นในอนาคต การรับรู้รายการสินทรัพย์ต้องเป็นไปตามเกณฑ์การรับรู้รายการสินทรัพย์ทุกข้อดังนี้ • มีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ที่กิจการจะได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคต • รายการนั้นมีราคาทุนหรือมูลค่าที่วัดได้อย่างน่าเชื่อถือ

  18. กรอบแนวคิด • การรับรู้รายการและองค์ประกอบของงบการเงิน • หนี้สิน หมายถึง ภาระผูกพันในปัจจุบันของกิจการ โดยภาระผูกพันดังกล่าวเป็นผลของเหตุการณ์ในอดีต ซึ่งการชำระภาระผูกพันนั้น คาดว่าจะส่งผลให้กิจการสูญเสียทรัพยากรเชิงเศรษฐกิจ การรับรู้รายการหนี้สินต้องเป็นไปตามเกณฑ์การรับรู้รายการหนี้สินทุกข้อ ดังนี้ • มีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ที่ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจของทรัพยากรจะออกจากกิจการ อันเนื่องมาจากการชำระภาระผูกพัน • มูลค่าที่ต้องชำระภาระผูกพันสามารถวัดได้อย่างน่าเชื่อถือ • ส่วนของเจ้าของ หมายถึง ส่วนได้เสียคงเหลือในสินทรัพย์ของกิจการ หลังจากหักหนี้สินทั้งสิ้นออกแล้ว---สินทรัพย์สุทธิ

  19. กรอบแนวคิด • การรับรู้รายการและองค์ประกอบของงบการเงิน • รายได้หมายถึง • การเพิ่มขึ้นของประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในรอบระยะเวลารายงาน หรือการเพิ่มค่าของสินทรัพย์ หรือการลดลงของหนี้สิน ซึ่งส่งผลให้ส่วนของเจ้าของเพิ่มขึ้น โดยที่ไม่รวมถึง (1) เงินทุนที่ได้รับจากเจ้าของและ (2) รายการกำไรซึ่งมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้กำหนดให้กิจการต้องรับรู้โดยตรงไปยังส่วนของเจ้าของ • กิจการต้องรับรู้รายได้เมื่อกิจการ • คาดว่าจะได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตเพิ่มขึ้น เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของสินทรัพย์หรือ การลดลงของหนี้สิน และ • สามารถวัดมูลค่าของประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตได้อย่างน่าเชื่อถือ • ทั้งนี้รายได้ตามคำนิยามรวมถึงรายได้จากกิจกรรมหลักของการดำเนินงานตามปกติและผลกำไร โดยผลกำไรอาจเกิดจากกิจกรรมตามปกติของกิจการหรือไม่ก็ได้

  20. กรอบแนวคิด • การรับรู้รายการและองค์ประกอบของงบการเงิน • ค่าใช้จ่าย หมายถึง • การลดลงของประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในรอบระยะเวลารายงาน หรือ การลดค่าของสินทรัพย์หรือการเพิ่มขึ้นของหนี้สิน ซึ่งส่งผลให้ส่วนของเจ้าของลดลง โดยที่ไม่รวมถึง (1) การแบ่งปันให้กับเจ้าของและ (2) รายการขาดทุนซึ่งมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้กำหนดให้กิจการต้องรับรู้โดยตรงไปยังส่วนของเจ้าของ • กิจการควรรับรู้ค่าใช้จ่ายเมื่อกิจการ • คาดว่าจะเสียประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคต อันเนื่องมาจากการลดลงของสินทรัพย์ หรือการเพิ่มขึ้นของหนี้สิน และ • สามารถวัดมูลค่าของประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตได้อย่างน่าเชื่อถือ • ทั้งนี้ค่าใช้จ่ายตามคำนิยามรวมถึงค่าใช้จ่ายที่เกิดจากกิจกรรมหลักของการดำเนินงานตามปกติและผลขาดทุน โดยผลขาดทุนอาจเกิดจากกิจกรรมตามปกติของกิจการหรือไม่ก็ได้

  21. กรอบแนวคิด • การวัดมูลค่าองค์ประกอบของงบการเงิน ราคาทุนเดิม ราคาทุนปัจจุบัน มูลค่าที่จะได้รับหรือชำระ มูลค่าปัจจุบัน • มูลค่ายุติธรรม--การวัดมูลค่าโดยใช้มูลค่ายุติธรรมกระทำได้จำกัด และมีต้นทุนในการวัดมูลค่าไม่สูงมากเมื่อเทียบกับประโยชน์ที่จะได้รับ มูลค่ายุติธรรมควรสามารถหาได้โดยตรงจากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ เช่น ตลาดที่มีสภาพคล่องสูง

  22. การนำเสนองบการเงิน • งบการเงินที่สมบูรณ์ต้องประกอบด้วย • งบแสดงฐานะการเงิน ซึ่งนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินของกิจการ ณ วันสิ้นงวด • งบกำไรขาดทุน แสดงถึงผลการดำเนินงานของกิจการสำหรับงวด • งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของเจ้าของ แสดงถึงการเปลี่ยนแปลงในรายการที่เป็นองค์ประกอบต่างๆ ของเจ้าของในระหว่างงวด • หมายเหตุประกอบงบการเงิน แสดงถึงข้อมูลเกี่ยวกับเกณฑ์ที่ใช้ในการจัดทำงบการเงิน นโยบายการบัญชีที่ใช้และข้อมูลอื่นๆ นอกเหนือจากที่นำเสนอในงบการเงิน

  23. การนำเสนองบการเงิน • มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้ (ทางเลือก) • ไม่กำหนดให้กิจการต้องทำงบกระแสเงินสด แต่หากกิจการเห็นถึงประโยชน์ของงบกระแสเงินสดก็สามารถจัดทำได้ โดยปฏิบัติตาม TAS 7 • ไม่กำหนดให้กิจการนำเสนอหรือเปิดเผยข้อมูลในเรื่องดังต่อไปนี้ แต่หากกิจการเห็นถึงประโยชน์ของการนำเสนอหรือเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวก็สามารถจัดทำได้ • ข้อมูลทางการเงินจำแนกตามส่วนงาน (หากต้องการปฏิบัติให้ปฏิบัติตาม TAS14) • การเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกัน (หากต้องการปฏิบัติให้ปฏิบัติตาม TAS24) • เครื่องมือทางการเงิน (หากต้องการปฏิบัติให้ปฏิบัติตาม TAS107)

  24. การนำเสนองบการเงิน • จัดทำงบการเงินอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้งและนำเสนอข้อมูลเปรียบเทียบ • งบการเงินระหว่างกาลให้เป็นไปตามทุกข้อของมาตรฐานฯนี้ • การรวมยอด และการหักกลบ • เอกลักษณ์ของงบการเงิน • ชื่อของงบการเงิน เช่น งบแสดงฐานะการเงิน งบกำไรขาดทุน เป็นต้น • ชื่อของกิจการที่เสนอรายงาน และการเปลี่ยนแปลงของข้อมูลดังกล่าว นับจากสิ้นรอบระยะเวลารายงานงวดก่อน • วันที่สิ้นสุดของรอบระยะเวลาบัญชีหรือรอบระยะเวลารายงานของงบการเงินชุดนี้ • สกุลเงินที่ใช้รายงาน • จำนวนหลักที่ใช้ในการแสดงจำนวนเงินในงบการเงิน

  25. การนำเสนองบการเงิน • งบแสดงฐานะการเงิน: จำแนกรายการเป็นหมุนเวียนและไม่หมุนเวียน โดยแสดงรายการต่อไปนี้เป็นอย่างน้อย (ถ้ามี) ในแต่ละบรรทัดพร้อมจำนวนเงิน • เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด • เงินลงทุนชั่วคราว • ลูกหนี้การค้าและลูกหนี้อื่น • เงินให้กู้ยืมระยะสั้น • สินค้าคงเหลือ • สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น • เงินลงทุนระยะยาว • เงินให้กู้ยืมระยะยาว • อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน (Investment Property)

  26. การนำเสนองบการเงิน • ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ • สินทรัพย์ไม่มีตัวตน • สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่น • เงินเบิกเกินบัญชีธนาคารและเงินกู้ยืมระยะสั้นจากสถาบันการเงิน • เจ้าหนี้การค้าและเจ้าหนี้อื่น • เงินกู้ยืมระยะยาวที่ถึงกำหนดชำระภายในหนึ่งปี • เงินกู้ยืมระยะสั้น • ประมาณการหนี้สินระยะสั้น • หนี้สินหมุนเวียนอื่น • เงินกู้ยืมระยะยาว • ประมาณการหนี้สินระยะยาว • หนี้สินไม่หมุนเวียนอื่น • ทุนที่ออกและสำรองต่างๆ รวมทั้งกำไร (ขาดทุน) สะสม แล้วแต่ประเภทธุรกิจ

  27. การนำเสนองบการเงิน • งบกำไรขาดทุน: กิจการต้องรับรู้รายการรายได้และค่าใช้จ่ายทุกรายการสำหรับงวดในงบกำไรขาดทุน เพื่อคำนวณหาผลกำไร (ขาดทุน) ยกเว้นรายการกำไรหรือขาดทุน ซึ่งมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้กำหนดให้กิจการต้องรับรู้โดยตรงไปยังส่วนของเจ้าของกิจการต้องแสดงรายการดังต่อไปนี้ในงบกำไรขาดทุนเป็นอย่างน้อย โดยแยกแสดงรายการแต่ละบรรทัดพร้อมจำนวนเงิน • รายได้ • ต้นทุนทางการเงิน ซึ่งประกอบด้วยดอกเบี้ยจ่ายและต้นทุนทางการเงินอื่นๆ • ภาษีเงินได้ • กำไร (ขาดทุน)สุทธิ

  28. การนำเสนองบการเงิน • การแสดงค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุน • ค่าใช้จ่ายจำแนกตามลักษณะ • ค่าใช้จ่ายจำแนกตามหน้าที่ (เมื่อกิจการเลือกแสดงค่าใช้จ่ายตามหน้าที่ มาตรฐานฯ ไม่ได้กำหนดให้เปิดเผยข้อมูลค่าใช้จ่ายตามลักษณะ) • ขั้นเดียว • หลายขั้น 1 2 3

  29. การนำเสนองบการเงิน • งบแสดงการเปลี่ยนแปลงในส่วนของเจ้าของ: กิจการต้องนำเสนอรายการต่อไปนี้ • เงินทุนที่ได้รับจากเจ้าของและจ่ายคืนให้แก่เจ้าของ รวมทั้งส่วนแบ่งกำไร • กำไรหรือขาดทุนสุทธิสำหรับรอบระยะเวลาของการรายงาน • ยอดคงเหลือ ณ วันต้นงวด ของกำไร (ขาดทุน) สะสม และรายการต่างๆในส่วนของเจ้าของ การเปลี่ยนแปลงรายการต่างๆ ระหว่างงวดและยอดคงเหลือของรายการนั้นๆ ณ วันสิ้นงวด • รายการซึ่งมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้กำหนดให้กิจการต้องรับรู้โดยตรงไปยังส่วนของเจ้าของ ได้แก่ กำไรขาดทุนที่ยังไม่เกิดขึ้นจากการปรับมูลค่าเงินลงทุนในหลักทรัพย์ในความต้องการของตลาดประเภทเผื่อขาย

  30. การนำเสนองบการเงิน • หมายเหตุประกอบงบการเงิน: กิจการต้องแสดงข้อมูลต่อไปนี้ • ข้อความที่ระบุว่างบการเงินได้จัดทำขึ้นตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ • สรุปนโยบายการบัญชีที่เลือกใช้ • ข้อมูลที่มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้กำหนดให้เปิดเผยเป็นการเฉพาะ • ข้อมูลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น หนี้สินที่อาจเกิดขึ้น ภาระผูกพันตามสัญญา

  31. การเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชี การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชีและการแก้ไขข้อผิดพลาด • ในกรณีที่มาตรฐาน ฯ มิได้กำหนดแนวทางปฏิบัติสำหรับรายการค้า เหตุการณ์หรือสถานการณ์อื่นเป็นการเฉพาะ กิจการต้องใช้ดุลยพินิจในการเลือกใช้นโยบายการบัญชีโดยอ้างอิง และพิจารณาการใช้นโยบายการบัญชีจากแหล่งต่างๆ ตามลำดับต่อไปนี้ ข้อกำหนดและแนวปฏิบัติที่ระบุไว้ในมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้สำหรับเรื่องที่คล้ายคลึงและเกี่ยวข้องกัน ลักษณะเชิงคุณภาพของข้อมูลในงบการเงิน คำนิยามและการรับรู้รายการ และการวัดมูลค่าองค์ประกอบของงบการเงิน ที่ระบุไว้ในกรอบแนวคิดของมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้ มาตรฐานการรายงานทางการเงินของไทย (TFRSs) เฉพาะรายการนั้นๆ ลำดับที่ 1 ลำดับที่ 2 ลำดับที่ 3

  32. การเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชี การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชีและการแก้ไขข้อผิดพลาด • การเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชี หมายถึง การเปลี่ยนแปลงวิธีปฎิบัติทางการบัญชี ซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีที่รับรองทั่วไปเป็นอีกวิธีหนึ่ง ซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีที่รับรองทั่วไปเช่นเดียวกัน • การเปลี่ยนแปลงโดยสมัครใจ (Voluntary Change) • การเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากข้อกำหนดของมาตรฐานฯ (Mandatory Change) • การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชี หมายถึง การปรับปรุงมูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์ หรือหนี้สิน หรือจำนวนที่มีการใช้ประโยชน์ของสินทรัพย์ในระหว่างงวด อันเป็นผลมาจากการประเมินสภาพปัจจุบันของสินทรัพย์และหนี้สิน และการประเมินประโยชน์และภาระผูกพัน ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์และหนี้สินนั้น การปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชีเป็นผลจากการได้รับข้อมูลใหม่หรือมีการพัฒนาเพิ่มเติมจากเดิม การเปลี่ยนแปลงประมาณการจึงไม่ถือเป็นการแก้ไขข้อผิดพลาด

  33. การเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชี การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชีและการแก้ไขข้อผิดพลาด • ข้อผิดพลาดในงวดก่อน หมายถึง การละเว้นการแสดงรายการและการแสดงรายการที่ขัดต่อข้อเท็จจริงในงบการเงินของกิจการในงวดใดงวดหนึ่งหรือหลายงวดก็ตาม ซึ่งข้อมูลดังกล่าว (ก) มีอยู่ในงบการเงินของงวดก่อนที่ได้รับการอนุมัติให้เผยแพร่ (ข) สามารถคาดการณ์ได้อย่างสมเหตุสมผลว่าสามารถหาข้อมูลได้ และนำมาใช้ในการจัดทำและการแสดงรายการในงบการเงิน ข้อผิดพลาดดังกล่าวรวมถึงผลกระทบจากการคำนวณผิดพลาด ข้อผิดพลาดจากการใช้นโยบายการบัญชี การมองข้ามหรือการตีความข้อเท็จจริงผิดพลาด และการทุจริต “เปลี่ยนแปลงนโยบายฯ” หรือ “เปลี่ยนแปลงประมาณการ?” “แก้ไขข้อผิดพลาด” หรือ “เปลี่ยนแปลงประมาณการ?”

  34. การเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชี การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชีและการแก้ไขข้อผิดพลาด

  35. เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด • กิจการต้องนำเสนอเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดรวมเป็นรายการเดียวกัน • เงินสด หมายถึง “เงินสดในมือและเงินฝากธนาคาร” • เงินสดในมือ ได้แก่ ธนบัตรและเหรียญกษาปณ์ที่กิจการมีอยู่ รวมทั้งเงินสดย่อย ธนาณัติ ตั๋วแลกเงินไปรษณีย์ เช็คที่ถึงกำหนดชำระแต่ยังมิได้นำฝาก เช็คเดินทาง และดราฟต์ของธนาคาร • เงินฝากธนาคาร ได้แก่ เงินฝากธนาคารกระแสรายวันและออมทรัพย์ ทั้งนี้ไม่รวมเงินฝากธนาคารประเภทจ่ายคืนเมื่อสิ้นระยะเวลา (เงินฝากประจำ) และบัตรเงินฝากที่ออกโดยธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินอื่น • รายการเทียบเท่าเงินสด หมายถึง เงินลงทุนระยะสั้นที่มีสภาพคล่องสูง ซึ่งพร้อมที่จะเปลี่ยนเป็นเงินสดในจำนวนที่ทราบได้และมีความเสี่ยงต่อการเปลี่ยนแปลงในมูลค่าน้อยหรือไม่มีสาระสำคัญ เช่น เงินลงทุนที่มีวันครบกำหนดในระยะสั้น กล่าวคือ 3 เดือน หรือน้อยกว่านับจากวันที่ได้มา เป็นต้น

  36. เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด • ให้กิจการแสดงเงินฝากธนาคารประเภทจ่ายคืนเมื่อสิ้นระยะเวลา (เงินฝากประจำ) และบัตรเงินฝากที่ออกโดยธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินอื่นเป็นเงินลงทุนชั่วคราวโดยจัดประเภทเป็นสินทรัพย์หมุนเวียน หรือเงินลงทุนระยะยาวโดยจัดประเภทเป็นสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน • ให้กิจการแสดงเงินฝากธนาคารที่มีข้อจำกัดในการเบิกถอนเป็นสินทรัพย์อื่น โดยจัดประเภทเป็นสินทรัพย์หมุนเวียนหรือไม่หมุนเวียน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับกำหนดเวลาของข้อจำกัดในการเบิกถอน และกิจการต้องเปิดเผยรายละเอียดเกี่ยวกับเงื่อนไขหรือข้อจำกัดในหมายเหตุประกอบงบการเงินด้วย • เงินเบิกเกินบัญชีธนาคารจัดเป็นหนี้สินหมุนเวียน กิจการไม่สามารถนำมาหักกลบกับรายการเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด

  37. ลูกหนี้ • ลูกหนี้ หมายถึง สิทธิที่กิจการจะได้รับเงินสดหรือทรัพยากรหรือประโยชน์เชิงเศรษฐกิจอื่นๆ เมื่อถึงกำหนดชำระ ลูกหนี้อาจรวมถึงลูกหนี้การค้าและลูกหนี้อื่นฯ • ลูกหนี้การค้า หมายถึง ลูกหนี้ที่เกิดจากการขายสินค้าหรือการให้บริการที่กิจการได้ส่งใบแจ้งหนี้หรือได้ตกลงอย่างเป็นทางการกับผู้ซื้อ รายการดังกล่าวนี้อาจอยู่ในรูปของตั๋วเงินรับ • ลูกหนี้อื่น หมายถึง ลูกหนี้ที่ไม่ใช่ลูกหนี้การค้า เช่น ลูกหนี้และเงินให้กู้ยืมแก่กรรมการและลูกจ้าง เงินให้กู้ยืมอื่น เป็นต้น • ลูกหนี้การค้าและลูกหนี้อื่นต้องวัดมูลค่าภายหลังด้วยมูลค่าที่จะได้รับ ซึ่งหมายถึงมูลค่าหลังจากหักค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ

  38. ลูกหนี้ • วิธีการประมาณหนี้สงสัยจะสูญ • วิธีอัตราร้อยละของยอดขายเชื่อสุทธิ • วิธีอัตราร้อยละของลูกหนี้ที่ค้างชำระจำแนกตามอายุของลูกหนี้ • วิธีพิจารณาลูกหนี้เป็นแต่ละราย (พิจารณาจากความสามารถในการชำระหนี้และจำนวนเงินที่คาดว่าจะได้รับชำระจากลูกหนี้) • มาตรฐานฯ กำหนดการตัดจำหน่ายเป็นหนี้สูญทางบัญชี (ไม่ได้กำหนดวิธีการตัดจำหน่ายหนี้สูญตามกฎหมาย) โดยปรับปรุงที่บัญชีลูกหนี้และบัญชีค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญที่เกี่ยวข้อง • มาตรฐานฯ กำหนดวิธีปฏิบัติสำหรับหนี้สูญ (ทางบัญชี) ได้รับคืน โดยปรับปรุงบัญชีลูกหนี้และค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญที่เกี่ยวข้องพร้อมรายการรับชำระหนี้

  39. สินค้าคงเหลือ • สินค้าคงเหลือ หมายถึง สินทรัพย์ซึ่งมีลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ • ถือไว้เพื่อขายตามลักษณะการประกอบธุรกิจตามปกติของกิจการ • อยู่ในระหว่างกระบวนการผลิตเพื่อให้เป็นสินค้าสำเร็จรูปเพื่อขาย • อยู่ในรูปของวัตถุดิบ หรือวัสดุที่มีไว้เพื่อใช้ในกระบวนการผลิตสินค้าหรือให้บริการ • ต้นทุนงานให้บริการส่วนที่กิจการยังไม่ได้รับรู้เป็นรายได้ • สินค้าคงเหลือต้องวัดมูลค่าด้วยราคาทุนหรือมูลค่าสุทธิที่จะได้รับ แล้วแต่มูลค่าใดจะต่ำกว่า (มูลค่าสุทธิที่จะได้รับ หมายถึง ราคาโดยประมาณที่คาดว่าจะขายได้ตามปกติธุรกิจ หักด้วยประมาณการต้นทุนในการผลิตสินค้านั้นให้เสร็จและต้นทุนที่จำเป็นต้องจ่ายไปเพื่อให้ขายสินค้านั้นได้) • ต้นทุนของสินค้าคงเหลือต้องประกอบด้วยต้นทุนทั้งหมดในการซื้อ ต้นทุนแปลงสภาพและต้นทุนอื่นๆ ที่เกิดขึ้นเพื่อให้สินค้าคงเหลือนั้นอยู่ในสถานที่และอยู่ในสภาพที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

  40. สินค้าคงเหลือ • ต้นทุนในการซื้อของสินค้าคงเหลือ: • ราคาซื้อ อากรขาเข้าและภาษีอื่น (สุทธิจากจำนวนที่กิจการจะได้รับคืนในภายหลังจากหน่วยงานที่มีหน้าที่จัดเก็บภาษี) รวมทั้งค่าขนส่ง ค่าขนถ่าย และต้นทุนอื่นๆ ซึ่งเกี่ยวข้องโดยตรงกับการได้มาซึ่งสินค้าสำเร็จรูปวัตถุดิบ และบริการ • ให้นำส่วนลดการค้า เงินที่ได้รับคืนและรายการอื่นๆ ที่คล้ายคลึงกันมาหักออก • วิธีการคำนวณต้นทุนของสินค้าเมื่อขาย: • วิธีราคาเจาะจง • วิธีเข้าก่อนออกก่อน • วิธีถัวเฉลี่ยต้นทุนสินค้าที่ซื้อเข้ามาแต่ละงวด ห้ามใช้วิธีเข้าหลังออกก่อน

  41. สินค้าคงเหลือ • การลดมูลค่าของสินค้าคงเหลือลงให้เท่ากับมูลค่าสุทธิที่จะได้รับ ให้พิจารณาจากสินค้าแต่ละประเภท แต่ในบางสถานการณ์ อาจพิจารณาจากกลุ่มสินค้าที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันหรือมีความเกี่ยวพันกัน • วัตถุดิบ • งานระหว่างทำ • สินค้าสำเร็จรูป • กิจการต้องไม่ปรับมูลค่าวัตถุดิบหรือวัสดุอื่นที่ถือไว้เพื่อใช้ในการผลิตสินค้าให้ลดต่ำกว่าราคาทุน หากสินค้าสำเร็จรูปที่ผลิตจากวัตถุดิบหรือวัสดุนั้นคาดว่าจะขายได้ในราคาเท่ากับหรือสูงกว่าราคาทุนของสินค้าสำเร็จรูปดังกล่าว • กิจการต้องไม่ปรับมูลค่างานระหว่างทำให้ลดต่ำกว่าราคาทุน หากสินค้าสำเร็จรูปที่ผลิตจากงานระหว่างทำนั้นคาดว่าจะขายได้ในราคาเท่ากับหรือสูงกว่าราคาทุนของสินค้าสำเร็จรูปนั้น

  42. สินค้าคงเหลือ • การลดลงของมูลค่าสินค้าคงเหลือ: • จากการปรับมูลค่าให้เท่ากับมูลค่าสุทธิที่จะได้รับต้องบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายโดยแสดงเป็นส่วนหนึ่งของต้นทุนขายในงวดที่ปรับมูลค่าสินค้าให้ลดลง • ส่วนผลขาดทุนอื่นที่เกี่ยวข้องกับสินค้าคงเหลือ (เช่น ขาดทุนจากสินค้าสูญหาย เป็นต้น) ต้องบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายโดยแสดงเป็นส่วนหนึ่งของค่าใช้จ่ายในการบริหาร ในงวดที่มีผลขาดทุนเกิดขึ้น • กิจการต้องรับรู้จำนวนที่เกิดจากการกลับรายการปรับลดมูลค่าสินค้าคงเหลือที่เกิดจากการเพิ่มขึ้นของมูลค่าสุทธิที่จะได้รับในงวดปัจจุบัน โดยนำไปหักจากต้นทุนขายสำหรับงวดปัจจุบัน

  43. สินค้าคงเหลือ ประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ฉบับที่ ๒๙/๒๕๕๔ เรื่อง คำอธิบายเกี่ยวกับการปฏิบัติตามข้อกาหนดของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน สาหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ

  44. เงินลงทุน • เงินลงทุน หมายถึง ตราสารหนี้และตราสารทุนที่กิจการมีไว้ เพื่อเพิ่มความมั่งคั่งให้กับกิจการไม่ว่าจะอยู่ในรูปของส่วนแบ่งที่จะได้รับ เช่น ดอกเบี้ย ค่าสิทธิ และเงินปันผล หรืออยู่ในรูปของราคาที่เพิ่มขึ้น หรือในรูปของประโยชน์ที่กิจการได้รับ เช่น ประโยชน์ที่ได้จากความสัมพันธ์ทางการค้า • เงินลงทุนในตราสารทุน • วัดมูลค่าเงินลงทุนทุกประเภทเมื่อเริ่มแรกด้วยราคาทุน ซึ่งหมายถึงมูลค่ายุติธรรมของสิ่งตอบแทนที่ให้ไปเพื่อให้ได้มาซึ่งเงินลงทุนนั้น รวมทั้งค่าใช้จ่ายในการทำรายการ • เงินลงทุนในตราสารหนี้ • วัดมูลค่าเมื่อเริ่มแรกไม่รวมดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นก่อนที่กิจการจะได้เงินลงทุนดังกล่าวมา เช่น ดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นก่อนที่กิจการจะได้หุ้นกู้ที่ระบุอัตราดอกเบี้ย ดอกเบี้ยดังกล่าวรวมอยู่ในราคาซื้อของหุ้นกู้ แต่ไม่ถือเป็นส่วนหนึ่งของราคาทุนของเงินลงทุน เป็นต้น

  45. เงินลงทุน * ตามปกติกิจการจะวัดมูลค่าด้วยราคาเสนอซื้อปัจจุบัน หากราคาเสนอซื้อปัจจุบันไม่สามารถหาได้หรือไม่เป็นตัวแทนของมูลค่ายุติธรรมกิจการอาจใช้ราคาซื้อขายครั้งล่าสุดเมื่อสถานการณ์ทางเศรษฐกิจไม่เปลี่ยนแปลงอย่างเป็นสาระสำคัญระหว่างวันที่มีการซื้อขายครั้งล่าสุดกับวันที่วัดมูลค่า **ในกรณีที่มีข้อบ่งชี้ว่าเงินลงทุนมีมูลค่าลดลงอย่างถาวร เช่น ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ลดลง อย่างมีสาระสำคัญและติดต่อกันเป็นระยะเวลายาวนาน หรือมีหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าความน่าเชื่อถือของผู้ออกตราสารลดลงอย่างเป็นสาระสำคัญ เป็นต้น กิจการต้องรับรู้ผลขาดทุนจากการลดมูลค่าของเงินลงทุนในงบกำไรขาดทุน หากกิจการสามารถประมาณราคาขายได้อย่างน่าเชื่อถือโดยที่ไม่มีต้นทุนสูงมากจนเกินไป และราคาขายหักด้วยต้นทุนในการขายเงินลงทุนต่ำกว่าราคาตามบัญชีของเงินลงทุน ในกรณีที่ไม่ปรากฏว่ามีข้อบ่งชี้ข้างต้นอีกต่อไป กิจการสามารถบันทึกกลับรายการผลขาดทุนดังกล่าวได้

  46. เงินลงทุน * ตามปกติกิจการจะวัดมูลค่าด้วยราคาเสนอซื้อปัจจุบัน หากราคาเสนอซื้อปัจจุบันไม่สามารถหาได้หรือไม่เป็นตัวแทนของมูลค่ายุติธรรมกิจการอาจใช้ราคาซื้อขายครั้งล่าสุดเมื่อสถานการณ์ทางเศรษฐกิจไม่เปลี่ยนแปลงอย่างเป็นสาระสำคัญระหว่างวันที่มีการซื้อขายครั้งล่าสุดกับวันที่วัดมูลค่า **ในกรณีที่มีข้อบ่งชี้ว่าเงินลงทุนมีมูลค่าลดลงอย่างถาวร เช่น ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ลดลง อย่างมีสาระสำคัญและติดต่อกันเป็นระยะเวลายาวนาน หรือมีหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าความน่าเชื่อถือของผู้ออกตราสารลดลงอย่างเป็นสาระสำคัญ เป็นต้น กิจการต้องรับรู้ผลขาดทุนจากการลดมูลค่าของเงินลงทุนในงบกำไรขาดทุน หากกิจการสามารถประมาณราคาขายได้อย่างน่าเชื่อถือโดยที่ไม่มีต้นทุนสูงมากจนเกินไป และราคาขายหักด้วยต้นทุนในการขายเงินลงทุนต่ำกว่าราคาตามบัญชีของเงินลงทุน ในกรณีที่ไม่ปรากฏว่ามีข้อบ่งชี้ข้างต้นอีกต่อไป กิจการสามารถบันทึกกลับรายการผลขาดทุนดังกล่าวได้

  47. เงินลงทุน • ราคาทุนตัดจำหน่าย หมายถึง ราคาทุนของตราสารหนี้ที่ได้มาเมื่อเริ่มแรก หักเงินต้นที่จ่ายคืนและบวกหรือหักค่าตัดจำหน่ายสะสมของส่วนต่างระหว่างราคาทุนเริ่มแรกกับมูลค่าที่ตราไว้ โดยใช้วิธีการตัดจำหน่ายส่วนต่างตาม “วิธีอัตราผลตอบแทนที่แท้จริง” หรือ “วิธีอื่นที่ให้ผลไม่แตกต่างจากวิธีอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงอย่างมีสาระสำคัญ” • วิธีมูลค่ายุติธรรม -กำไร (ขาดทุน) ที่ยังไม่เกิดขึ้นจากการปรับมูลค่าเงินลงทุนในหลักทรัพย์ในความต้องการของตลาด • สำหรับตราสารทุน - วัดจากผลต่างระหว่างราคาตามบัญชีและมูลค่ายุติธรรม ณ วันสิ้นสุดรอบระยะเวลาการรายงาน • สำหรับตราสารหนี้ - วัดจากผลต่างระหว่างราคาทุนตัดจำหน่ายและมูลค่ายุติธรรม ณ วันสิ้นสุดรอบระยะเวลาการรายงาน

  48. เงินลงทุน • หากกิจการจำหน่ายเงินลงทุนเพียงบางส่วน ราคาตามบัญชีต่อหน่วยที่ใช้ในการคำนวณกำไร(ขาดทุน) จากการจำหน่ายเงินลงทุนชนิดเดียวกันต้องคำนวณโดยใช้วิธีถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักหรือวิธีเข้าก่อน-ออกก่อน • ตามปกติ การโอนเปลี่ยนเงินลงทุนจากประเภทหนึ่งไปเป็นอีกประเภทหนึ่งจะไม่เกิดขึ้นบ่อยเนื่องจากกิจการต้องมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนในการถือเงินลงทุน นับตั้งแต่เริ่มแรกที่ได้เงินลงทุนมา หากกิจการไม่มีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน กิจการต้องจัดประเภทเงินลงทุนนั้นเป็นหลักทรัพย์เผื่อขายในทันที อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ที่เปลี่ยนไปอาจทำให้กิจการต้องโอนเปลี่ยนประเภทเงินลงทุนการโอนเปลี่ยนประเภทเงินลงทุนต้องมีหลักฐานสนับสนุนอย่างเพียงพอ

  49. ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ • ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ หมายถึง สินทรัพย์ที่มีตัวตนที่กิจการมีไว้เพื่อใช้ประโยชน์ในการผลิต ในการจำหน่ายสินค้า ให้บริการ ให้เช่าหรือใช้ในการบริหารงาน ซึ่งกิจการคาดว่าจะใช้ประโยชน์มากกว่าหนึ่งรอบระยะเวลาบัญชี • การรับรู้รายการ (สำหรับรับรู้รายการเมื่อเริ่มแรกและเมื่อภายหลัง เช่น ซ่อมบำรุง ต่อเติม ดัดแปลง ปรับปรุง เปลี่ยนแทน) ต้องเข้าเงื่อนไข ทุกข้อต่อไปนี้ • มีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ที่กิจการจะได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตจากรายการนั้น • กิจการสามารถวัดมูลค่าต้นทุนของรายการนั้นได้อย่างน่าเชื่อถือ

  50. ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ • ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ รวมถึง • ชิ้นส่วนอะไหล่ที่สำคัญและอุปกรณ์ที่สำรองไว้ใช้งานที่กิจการคาดว่าจะใช้ประโยชน์ได้มากกว่าหนึ่งรอบระยะเวลาการรายงาน • ชิ้นส่วนอะไหล่และอุปกรณ์ที่ใช้ในการซ่อมบำรุงที่ต้องใช้ร่วมกับรายการที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ • ราคาทุนของรายการที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ประกอบด้วย • ราคาซื้อรวมอากรขาเข้าและภาษีซื้อที่เรียกคืนไม่ได้ หลังหักส่วนลดการค้า และจำนวนที่ได้รับคืนจากผู้ขาย • ต้นทุนทางตรงอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดหาสินทรัพย์เพื่อให้สินทรัพย์นั้นอยู่ในสถานที่และสภาพที่พร้อมจะใช้งานได้ตามความประสงค์ของฝ่ายบริหาร • ต้นทุนที่ประมาณที่ดีที่สุดสำหรับการรื้อ การขนย้าย และการบูรณะสถานที่ตั้งของสินทรัพย์ ซึ่งเป็นภาระผูกพันของกิจการที่เกิดขึ้นเมื่อกิจการได้สินทรัพย์นั้นมาหรือเป็นผลจากการใช้สินทรัพย์นั้นในช่วงเวลาหนึ่ง

More Related