1 / 28

7. แหล่งกำเนิดสนามแม่เหล็ก

7. แหล่งกำเนิดสนามแม่เหล็ก. กฎของบิโอ-ซาวาท Biot-Savart law. Jean-Baptiste Biot และ Felix Savart ได้ทำการทดลองเกี่ยวกับแรงเนื่องจากกระแสไฟฟ้าที่กระทำต่อแม่เหล็กที่อยู่ใกล้จากการทดลอง Biot และ Savart ได้สูตรคณิตศาสตร์ที่ให้ค่าของสนามแม่เหล็กที่จุดต่าง ๆ ในรูปแบบของกระแสซึ่งทำให้เกิดสนาม.

zaide
Download Presentation

7. แหล่งกำเนิดสนามแม่เหล็ก

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. 7. แหล่งกำเนิดสนามแม่เหล็ก กฎของบิโอ-ซาวาท Biot-Savart law Jean-Baptiste Biot และ Felix Savart ได้ทำการทดลองเกี่ยวกับแรงเนื่องจากกระแสไฟฟ้าที่กระทำต่อแม่เหล็กที่อยู่ใกล้จากการทดลอง Biot และ Savart ได้สูตรคณิตศาสตร์ที่ให้ค่าของสนามแม่เหล็กที่จุดต่างๆในรูปแบบของกระแสซึ่งทำให้เกิดสนาม รูป(a) สนามแม่เหล็กที่จุด P เนื่องจากกระแส I ที่ไหลผ่านส่วนเล็กๆทิศของสนามพุ่งออกจากกระดาษที่จุด P และพุ่งเข้าไปในกระดาษที่ P/ (b) ผลคูณแบบเวกเตอร์มีทิศพุ่งออกจากกระดาษเมื่อชี้ไปยัง P (c) ผลคูณแบบเวกเตอร์มีทิศพุ่งออกจากกระดาษเมื่อชี้ไปยัง P/

  2. สูตรมีพื้นฐานจากการสังเกตสนามแม่เหล็กจากการทดลอง ที่จุด P ซึ่งในขณะนั้นเส้นลวดมีกระแสไหลสม่ำเสมอ Iดังรูปโดยที่ - - เวกเตอร์ตั้งฉากกับ ( ซึ่งชี้ไปในทิศทางของกระแส ) และเวกเตอร์หน่วยซึ่งมีทิศจากไปยัง P - - ขนาดของเป็นสัดส่วนผกผันกับระยะทางกำลังสอง r2เมื่อ r คือระยะทางจาก ถึง P - - ขนาดของเป็นสัดส่วนตรงกับกระแสและขนาดของ - - ขนาดของเป็นสัดส่วนตรงกับเมื่อเป็นมุมระหว่างเวกเตอร์และ

  3. รูปแบบที่สังเกตุได้เหล่านี้ ค่าสนามที่เกิดจากกระแสในส่วนเล็กๆ ของตัวนำ จะเป็นไปตาม กฎของ Biot-Savart คือ เมื่อ0เป็นค่าซาบซึมได้ของสูญญากาศ (permeability) ในการหาค่าสนามรวมที่เกิดจากกระแสที่จุดใดๆจะต้องทำการรวมองค์ประกอบกระแส Idsทุกๆส่วนดังนั้นสมการกลายเป็น โดยการอินทิเกรตจะกระทำตลอดความยาวของเส้นลวด

  4. ตัวอย่าง Magnetic field surrounding a thin ,straight conductor พิจารณาเส้นลวดตรงบางมีกระแสไหล I วางตัวในแนวแกน x ดังรูปจงหาขนาดและทิศทางสนามแม่เหล็กที่จุด P เนื่องจากกระแสเหล่านี้ วิธีทำ กระแสจากแต่ละองค์ประกอบย่อยๆพุ่งออกจากกระดาษเนื่องจากมีทิศพุ่งออกจากกระดาษ ให้จุดกำเนิดอยู่ที่ O และจุด P วางตัวอยู่บนแกนบวก y ซึ่งมีเวกเตอร์หน่วยเป็นมีทิศพุ่งออกจากกระดาษ รูป (a) เส้นตรงบางมีประจุ I สนามไฟฟ้าที่จุด P เนื่องจากประจุในส่วนเล็กๆds พุ่งออกจากกระดาษดังนั้นฟลักซ์สุทธิที่ P พุ่งออกจากกระดาษด้วย (b) มุม1และ 2ที่ใช้กำหนดสนามสุทธิเมื่อเส้นลวดยาวอนันต์ 1 =0 และ 2 = 

  5. เนื่องจากกระแสทั้งหมดทำให้เกิดสนามแม่เหล็กในทิศ ถ้าเราสนใจส่วนของสนามที่เกิดจากส่วนของกระแสเล็กๆเพียงหนึ่งส่วน ทำการอินทิเกรทสูตรที่ได้จะได้ความสัมพันธ์ระหว่าง, x และ r แล้วแสดงตัวแปร x และ r ในรูปของจากรูป (a) จะได้ว่า เนื่องจาก tan = a/(-x)จากรูปสามเหลี่ยมทางด้านขวาของรูป(a)จะได้ว่า ทำการหาอนุพันธ์สมการที่ได้

  6. ดังนั้น จะได้ว่า สูตรที่ได้ขึ้นอยู่กับตัวแปรเพียงอย่างเดียวดังนั้นเราสามารถหาสนามแม่เหล็กที่จุด P โดยทำการอินทิเกรตตั้งแต่มุม1ถึง2ดังรูป (b) เราสามารถใช้ผลที่ได้ในการหาสนามแม่เหล็กที่ส่วนต่างๆบนเส้นลวดที่มีกระแสไฟฟ้าผ่านถ้าทราบลักษณะและมุม1และ2ในกรณีพิเศษถ้าเส้นลวดมีความยาวเป็นอนันต์จะพบว่า1 =0 และ 2 = และ เพราะว่า ดังนั้นสมการกลายเป็น จากสมการทั้งสองแสดงว่าสนามแม่เหล็กเป็นสัดส่วนตรงกับกระแสและจะมีค่าลดลงเมื่อเพิ่มระยะทางระหว่างเส้นลวดขึ้น

  7. รูปแสดงภาพสามมิติของสนามแม่เหล็กที่ล้อมรอบเส้นลวดที่มีกระแสไหลผ่านโดยสนามแม่เหล็กจะวางตัวเป็นวงกลมล้อมรอบเส้นลวดและวางตัวอยู่ในระนาบที่ตั้งฉากกับเส้นลวดสนามแม่เหล็กBมีค่าคงที่ในวงกลมรัศมี a ซึ่งกำหนดโดยสมการ โดยสามารถหาทิศของสนามแม่เหล็กได้โดยใช้กฎมือขวาโดยใช้นิ้วทั้งสี่วนรอบเส้นลวดทิศนิ้วหัวแม่มือคือทิศของกระแสนิ้วทั้งสี่แสดงทิศของสนามแม่เหล็ก รูปกฎมือขวาใช้ในการกำหนดทิศของสนามแม่เหล็กที่เกิดรอบเส้นลวดตรงที่มีกระแส I ไหลผ่าน แบบฝึกหัด จงคำนวณขนาดของสนามแม่เหล็กที่ระยะห่าง 4 cm จากเส้นลวดที่มีความยาวเป็นอนันต์ซึ่งมีกระแสไหลผ่าน 5.0 A ตอบ 2.5 x10-5 T

  8. A  R O I C ถ้า S = R (เมื่อวัดเป็น rad) ทิศของ จะพุ่งเข้าไปในกระดาษที่จุด O เพราะว่า พุ่งเข้าไปในกระดาษในทุกๆส่วนของเส้นลวด ตัวอย่าง สนามแม่เหล็กเนื่องจากส่วนของเส้นลวดโค้ง คำนวณสนามแม่เหล็กที่จุด O เนื่องจากส่วนของเส้นลวดที่มีกระแสไหลผ่านดังรูปเส้นลวดประกอบด้วยส่วนที่เป็นเส้นตรงสองเส้นและส่วนของวงกลมรัศมี R ซึ่งรองรับมุมหัวลูกศรบนเส้นลวดแสดงทิศของกระแส วิธีทำ สนามแม่เหล็กที่ O เนื่องจากกระแสบนเส้นตรง AA/และ CC/เป็นศูนย์เพราะว่า ขนานกับเวกเตอร์หน่วย หมายความว่าส่วนของความยาว บนส่วนของเส้นโค้ง AC ห่างจาก O เป็นระยะทาง R ส่วนของกระแสเล็กๆทำให้เกิดสนามมีทิศพุ่งเข้าไปในกระดาษที่จุด O และทุกๆจุดบน AC ตั้งฉากกับ ดังนั้น สามารถหาขนาดของสนามที่ O เนื่องจากกระแสในส่วนของ dsได้ดังนี้ รูปสนามแม่เหล็กที่ O เนื่องจากกระแสในส่วนโค้ง AC พุ่งเข้าไปในกระดาษสนามที่จุด O เนื่องจากกระแสในเส้นลวดตรงทั้งสองเป็นศูนย์

  9. ตัวอย่าง สนามแม่เหล็กบนแกนกลางของห่วงกลมที่มีกระแสไหล พิจารณาห่วงลวดกลมรัศมี R วางตัวอยู่ในระนาบ yz มีกระแสไหลอย่างคงที่ I ดังรูปจงคำนวณสนามแม่เหล็กบนแกนที่จุด P ห่างจากจุดศูนย์กลางเป็นระยะ x วิธีทำ ในกรณีนี้ทุกๆส่วนของความยาว dsตั้งฉากกับเวกเตอร์ดังนั้นสำหรับทุกๆdsจะได้ว่า โดยทุกๆ dsจะอยู่ห่างจากจุด P เป็นระยะทาง r โดย r2 = x2+R2ดังนั้นขนาดของที่เกิดจากกระแสใน dsคือ

  10. ทิศทางของตั้งฉากกับระนาบที่เกิดจาก ds และดังรูปเราสามารถแตกเวกเตอร์ให้อยู่ในแนวแกน xy ได้เป็นและเมื่อ คือผลรวมของทุกๆองค์ประกอบรอบทั้งห่วงกลมซึ่งให้ผลรวมเป็นศูนย์ดังนั้นสนามลัพธ์ที่จุด P มีค่าตามแนวแกน x หาได้โดยการอินทิเกรท dBx =dBcosโดยที่B = BxI โดยทำการอินทิเกรทตลอดห่วงกลมและเนื่องจาก,x และ R เป็นค่าคงที่และ cos  =R/( x2+R2)1/2และใช้ความจริงที่ว่า จะได้ว่า …(I)

  11. ในการหาสนามแม่เหล็กที่ศูนย์กลางของห่วงกลมเรากำหนดให้ x=0 ในสมการ(I)จะได้ว่า พบว่าให้ผลที่สอดคล้องกับตัวอย่างที่แล้ว ในกรณีที่ x มีค่ามากกว่า R สมการ (I) สามารถตัด R ทิ้งได้ กลายเป็น เนื่องจากโมเมนต์แม่เหล็กของห่วงกลมนิยามว่าเป็นผลคูณระหว่างกระแสและพื้นที่ของห่วง ดังนั้น

  12. รูปแบบของสนามไฟฟ้าที่วางตัวรอบห่วงกระแสกลมแสดงดังรูป (a) รูป (a) สนามแม่เหล็กวางตัวรอบห่วงกระแส(b) สนามแม่เหล็กวางตัวรอบห่วงกระแสแสดงโดยใช้ผงเหล็ก

  13. 1 2 แรงแม่เหล็กระหว่างตัวนำสองตัวที่ขนานกัน พิจารณาเส้นลวดตรงสองเส้นวางตัวขนานและห่างกันเป็นระยะทาง a มีกระแส I1และ I2ไหลในทิศทางเดียวกันดังรูปเราบอกได้ว่ามีแรงกระทำต่อลวดเส้นหนึ่งเนื่องจากสนามแม่เหล็กที่เกิดเนื่องจากเส้นลวดอีกเส้นหนึ่งเส้นลวด 2 ซึ่งมีกระแส I2ทำให้เกิดสนามแม่เหล็ก B2ที่ตำแหน่งของลวดที่ 1 ดังรูป แรงแม่เหล็กบนเส้นลวดเส้นที่ 1 ยาว L คือ เนื่องจาก L ตั้งฉากกับ B2ขนาดของF1คือ F1=I1LB2แล้วแทนขนาดของB2 ดังนั้นจะได้ว่า รูปเส้นลวดขนาน 2 เส้นแต่ละเส้นมีกระแสไหลผ่านคงที่ทำให้เกิดแรงกระทำต่อกันและกัน ทิศF1พุ่งไปยังเส้นลวด 2 เพราะว่ามีทิศเดียวกับ ถ้าสนามแม่เหล็กกระทำกับลวดที่ 2 เนื่องจากลวดที่ 1 ทำให้เกิดF2กระทำกับลวดที่ 2 ผลจากการคำนวณให้ขนาดที่เท่ากับ F1 แต่มีทิศตรงข้ามจากกฎข้อสามของนิวตัน

  14. ถ้ากระแสในเส้นลวดมีทิศตรงข้ามกันแรงที่ได้จากเส้นลวดทั้งสองมีทิศเดียวกันจะทำให้เส้นลวดผลักกันเนื่องจากขนาดของแรงบนเส้นลวดแต่ละเส้นเท่ากันเรากำหนดให้ขนาดสนามแม่เหล็กระหว่างเส้นลวดเป็น FBดังนั้นขนาดของแรงต่อหนึ่งหน่วยความยาวคือ โดยแรงระหว่างเส้นลวดขนาน 2 เส้นใช้ในการนิยามหน่วยของ Ampere ดังนี้เมื่อขนาดของแรงต่อหนึ่งหน่วยความยาวระหว่างเส้นลวดสองเส้นที่ขนานกันและมีกระแสที่เท่ากันไหลผ่านวางตัวอยู่ห่างกัน 1 เมตรคือ2x10-7 N/mกระแสในเส้นลวดแต่ละเส้นนิยามว่ามีค่า 1 แอมแปร์

  15. กฎของแอมแปร์ Oersted ค้นพบว่าการเปลี่ยนทิศของเข็มแสดงให้เห็นว่าตัวนำที่มีกระแสไหลผ่านทำให้เกิดสนามแม่เหล็กดังรูป(a)ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเข็มซึ่งวางตัวอยู่ในระนาบใกล้กับเส้นลวดที่วางตัวอยู่ในแนวดิ่งเมื่อไม่มีกระแสไหลผ่านเส้นลวดจะทำให้เข็มชี้ไปในทิศทางเดียวกันเมื่อมีกระแสไหลผ่านเส้นลวดจะทำให้เข็มชี้ไปในทิศเส้นสัมผัสวงกลมดังรูป(b) ผลที่ได้แสดงให้เห็นทิศของสนามแม่เหล็กที่เกิดจากกระแสไหลในเส้นลวดซึ่งสอดคล้องกับกฎมือขวา โดยที่ถ้ากระแสมีการกลับทิศเข็มดังรูปก็จะมีการกลับทิศด้วย รูป (a) เมื่อไม่มีกระแสในเส้นลวดเข็มจะชี้ในทิศเดียวกัน(b) เมื่อเส้นลวดมีกระแสไหลผ่านเข็มของเข็มทิศเบนในทิศเส้นสัมผัสกับวงกลม (c) เส้นสนามแม่เหล็กแบบวงกลมรอบตัวนำที่มีกระแสแสดงโดยใช้ผงเหล็ก

  16. เนื่องจากเข็มชี้ไปในทิศของสรุปได้ว่าเส้นของมีลักษณะเป็นวงกลมรอบเส้นลวดขนาดของ มีค่าเท่ากันทุกๆจุดบนเส้นทางวงกลม ถ้าทำการปรับขนานของกระแสและระยะทาง a พบว่าขนาดเป็นสัดส่วนตรงกับกระแสและเป็นสัดส่วนผกผันกับระยะ a ตามสมการ ต่อไปทำการหาผลคูณ ของชิ้นส่วนความยาวเล็กๆ บนเส้นทางวงกลมแล้วทำการหาผลรวมของผลคูณที่ได้ตลอดเส้นทางวงกลมบนวงกลมนี้เวกเตอร์และ ขนานกันดังรูป(b)ดังนั้น โดยขนาด B คงที่บนเส้นทางวงกลมจากสมการ ผลรวมของ บนเส้นทางปิดหาได้โดยอินทิเกรท

  17. เมื่อ แม้ว่าผลที่ได้จะเป็นการคำนวณในกรณีเส้นทางวงกลม แต่ผลที่ได้สามารถใช้ได้กับเส้นลวดที่มีรูปร่างใดๆที่เป็นเส้นทางปิดเป็นกรณีทั่วไปที่เรียกว่ากฎแอมแปร์กล่าวไว้ดังนี้ การอินทิเกรทเชิงเส้นของตามเส้นทางปิดมีค่าเท่ากับ0I เมื่อ I คือกระแสต่อเนื่องทั้งหมดที่ไหลผ่านพื้นผิวที่ล้อมรอบด้วยเส้นทางปิด

  18. ตัวอย่าง The magnetic field created by a long current-carrying wire เส้นลวดตรงยาวรัศมี R มีกระแสไหลผ่าน I0ดังรูปจงคำนวณสนามแม่เหล็กที่ระยะทาง r ห่างจากศูนย์กลางเส้นลวดในระยะ r  R และ r < R วิธีทำ เมื่อ r  R จะได้ผลเหมือนกับตัวอย่างที่ 1 ซึ่งเป็นกรณีที่ใช้กฎของ Biot-Savart ในกรณีนี้ถ้าเลือกเส้นทางในการอินทีเกรทรอบวงกลม 1 ดังรูปโดยที่มีขนาดคงที่และมีทิศขนานไปกับ dsทุกจุดบนเส้นทางวงกลมกระแสรวมที่ผ่านระนาบของวงกลมคือ I0จากกฎของแอมแปร์ รูปเส้นลวดตรงยาวมีรัศมี R มีกระแสสม่ำเสมอ I0ไหลผ่าน สนามแม่เหล็กจะเป็นสัดส่วนกับ 1/r ภายนอกลวดตัวนำ และสนามแม่เหล็กจะเป็นสัดส่วนกับ r ภายในลวดตัวนำ …เมื่อr  R ซึ่งมีรูปเดียวกับสมการ

  19. ต่อไปพิจารณาภายในเส้นลวดซึ่ง r<R ในที่นี้กระแส I ไหลผ่านระนาบวงกลมที่ 2 ซึ่งจะมีค่าน้อยกว่า I0เพราะว่ากระแสมีค่าสม่ำเสมอตลอดภาคตัดขวางของเส้นลวดส่วนของกระแสที่ล้อมรอบโดยวงกลมที่ 2 จะเท่ากับอัตราส่วนของพื้นที่R2ของวงกลมที่ 2 ต่อพื้นที่ภาคตัดขวางของเส้นลวด ในรูปแบบเดียวกันกับวงกลมที่ 1 เราใช้กฎของแอมแปร์กับวงกลมที่ 2 …. เมื่อ r < R

  20. ขนาดสนามแม่เหล็กเทียบกับ r ของโครงสร้างแบบนี้แสดงดังรูปโดยภายในเส้นลวด B  0 และr  0 ซึ่งทั้งสมการ และสมการ จะให้ค่าสนามแม่เหล็กที่r = R เป็นแบบเดียวกัน นั่นคือสนามแม่เหล็กมีค่าต่อเนื่องที่ผิวเส้นลวด รูปขนาดของสนามแม่เหล็กเทียบกับ r สำหรับรูปที่แล้วสนามเป็นสัดส่วนกับ r ภายในลวดตัวนำและสนามเป็นสัดส่วนกับ 1/r ภายนอกลวดตัวนำ

  21. ฟลักซ์แม่เหล็ก ฟลักซ์เนื่องจากสนามแม่เหล็กนิยามคล้ายกับการนิยามฟลักซ์ไฟฟ้าพิจารณาพื้นที่เล็กๆ dA บนพื้นผิวรูปร่างใดๆดังรูปมีสนามแม่เหล็กฟลักซ์แม่เหล็กที่ผ่านส่วนเล็กๆคือเมื่อคือเวกเตอร์ที่ตั้งฉากกับพื้นผิวและมีขนาดเท่ากับพื้นที่ dA ดังนั้นฟลักซ์แม่เหล็กรวมตลอดพื้นผิวคือ รูปฟลักซ์แม่เหล็กซึ่งผ่านพื้นที่ dA คือ พิจารณากรณีที่ระนาบของพื้นที่ A อยู่ในสนามแม่เหล็กสม่ำเสมอซึ่งทำมุมกับฟลักซ์แม่เหล็กซึ่งผ่านระนาบในกรณีนี้คือ

  22. ถ้าสนามแม่เหล็กขนานไปกับระนาบดังรูป (a) ฟลักซ์แม่เหล็กจะมีค่าเป็นศูนย์ (a) • ถ้าสนามแม่เหล็กตั้งฉากกับระนาบดังรูป (b) ฟลักซ์แม่เหล็กจะมีค่าสูงสุด เป็น BA (b) รูปฟลักซ์แม่เหล็กผ่านระนาบซึ่งวางตัวอยู่ในสนามแม่เหล็ก(a) ฟลักซ์ที่ผ่านระนาบมีค่าเป็นศูนย์เมื่อสนามแม่เหล็กขนานไปกับผิวระนาบ (b) ฟลักซ์ที่พุ่งผ่านระนาบมีค่ามากที่สุดเนื่องจากสนามแม่เหล็กตั้งฉากกับระนาบ ฟลักซ์แม่เหล็ก มีหน่วยเป็น weber (Wb) นิยามเป็น : 1Wb=1T.m2

  23. ตัวอย่าง ฟลักซ์แม่เหล็กที่ผ่านห่วงสี่เหลี่ยม ห่วงสี่เหลี่ยมกว้าง a ยาว b วางตัวอยู่ใกล้เส้นลวดยาวซึ่งมีกระแสไหล I ดังรูประยะทางระหว่างเส้นลวดและห่วงสี่เหลี่ยมคือ c โดยเส้นลวดขนานไปกับด้านยาวของห่วงจงหาฟลักซ์แม่เหล็กรวมซึ่งผ่านห่วงสี่เหลี่ยมเนื่องจากกระแสในเส้นลวด วิธีทำ ขนาดของสนามแม่เหล็กที่เกิดจากเส้นลวดที่ระยะห่าง r จากเส้นลวดคือ ในการอินทิเกรทใช้ส่วนของพื้นที่dA = bdr รูปสนามแม่เหล็กในลูปสี่เหลี่ยมเนื่องจากเส้นลวดที่มีกระแส I จะมีค่าไม่สม่ำเสมอ

  24. สรุป 7. แหล่งกำเนิดสนามแม่เหล็ก เมื่อ0 = เป็นค่าความซาบซึมได้ของสูญญากาศ = 4 x10-7 Wb/A.m … (1) • กฎของ Biot-Savart คือ กฎนี้ใช้สำหรับหาสนามแม่เหล็กที่จุด P ห่างจากตัวนำที่มีกระแสไฟฟ้าสม่ำเสมอ I เป็นระยะทาง r • สนามแม่เหล็กรวมทั้งหมดที่จุด P หาได้จากการอินทิเกรทสมการ (1) ตลอดความยาวของตัวนำ นั่นคือ … (2) • สนามแม่เหล็กที่ระยะทาง a จากเส้นลวดยาวตรงและมีกระแส ไฟฟ้าสม่ำเสมอ I ในเส้นลวดคือ … (3)

  25. แรงแม่เหล็กต่อหนึ่งหน่วยความยาวระหว่างตัวนำคู่ขนานที่อยู่ห่างกัน เป็นระยะทาง a และมีกระแสไฟฟ้า I1และ I2 ในตัวนำ จะมีค่าเท่ากับ … (4) จะเป็นแรงดูดถ้ากระแสในตัวนำทั้งสองมีทิศเหมือนกัน และจะเป็นแรงผลักถ้ากระแสในตัวนำทั้งสองมีทิศตรงข้ามกัน • กฎของแอมแปร์ แถลงได้ว่า อินทิกรัลเชิงเส้นของ รอบเส้นทาง ปิดใดๆ จะเท่ากับ 0I นั่นคือ … (5) เมื่อ I คือกระแสไฟฟ้ารวมสม่ำเสมอที่ไหลผ่านพื้นผิวที่ล้อมรอบด้วยเส้นทางปิด (closed path)

  26. ใช้กฎของแอมแปร์ หาค่าสนามแม่เหล็กภายในทอรอยด์และโซลีนอยด์แล้วจะได้ • สำหรับสนามแม่เหล็กภายในทอรอยด์ คือ • สำหรับสนามแม่เหล็กภายในโซลีนอยด์ คือ เมื่อ n = N/L , N = จำนวนรอบของขดลวด • ฟลักซ์แม่เหล็ก B ที่ผ่านพื้นผิวใดๆ นิยามโดยใช้อินทิกรัลเชิงผิวดังนี้ … (6)

  27. http://www.physics.sci.rit.ac.th/charud/oldnews/48/magnetic/OnlineTest_V4/index.asphttp://www.physics.sci.rit.ac.th/charud/oldnews/48/magnetic/OnlineTest_V4/index.asp แบบฝึกหัด • จงหาค่าของสนามแม่เหล็กที่จุด 100 cm ห่างจากตัวนำยาวที่มีกระแสไฟฟ้าไหล 1 A • ตัวนำเล็กๆ แต่ยาวมากอันหนึ่งมีกระแสไหล 10 A ระยะทางเท่าใดจากตัวนำจึงจะเกิดสนามแม่เหล็กลัพธ์ขนาด 10-4 T • จงคำนวณหาแรงระหว่างเส้นลวดตัวนำขนานกัน 2 เส้น แต่ละเส้นยาว 50 cm และห่างกัน 1.5 cm โดยที่กระแสไฟฟ้าในลวดแต่ละเส้นมีค่า 5A ไหลไปทางเดียวกัน • สนามแม่เหล็กมีความหนาแน่นฟลักซ์ 0.08 Wb/m2มีทิศทางในแนวดิ่งชี้ขึ้นข้างบนตามแกน y มีลวดตรงเส้นหนึ่งยาว 6 cm อยู่ในสนามแม่เหล็กนี้และมีกระแสไฟฟ้า 10 A ไหลจากทิศไปตามแกน –x แรงแม่เหล็กที่กระทำต่อลวดเส้นนี้มีค่าเท่าใดและมีทิศไปทางใด 5.ห่วงกลมของเส้นลวดรัศมี R มีกระแส I ไหลผ่านขนาดของสนามแม่เหล็กที่ศูนย์กลาง มีค่าเท่าไรตอบ 0I/2R

  28. เอกสารประกอบการค้นคว้าเอกสารประกอบการค้นคว้า ภาควิชาฟิสิกส์. เอกสารประกอบการสอนฟิสิกส์เบื้องต้น, คณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร ภาควิชาฟิสิกส์. ฟิสิกส์2, คณะวิทยาศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย D.C. Giancoli. Physics Principles with Applications, 3rded., Prentic-Hall, ISBN: 0-13-666769-4, 1991. D. Halliday, R.Resnick and K.S. Krane. Volume Two extended Version Physics, 4th ed., John Wiley & Sons, 1992. R.A.Serway, Physics for Scientists & Engineers with Modern Physics, 4th ed., 1996. http://www.physics.sci.rit.ac.th/charud/howstuffwork/electro-mag/electro-magthai1.htm http://www.skn.ac.th/skl/skn422/file/field.htm http://www.physics.uoguelph.ca/tutorials/tutorials.html http://www.thinkquest.org/library/site_sum.html?tname=10796&url=10796/index.html http://www.launc.tased.edu.au/online/sciences/physics/tutes1.html http://www.colorado.edu/physics/2000/index.pl http://www.dctech.com/physics/tutorials.php http://www.physics.sci.rit.ac.th

More Related