1 / 76

การนำเสนอต่อไปนี้ สามารถรับชมได้ทุกวัย

การนำเสนอต่อไปนี้ สามารถรับชมได้ทุกวัย. Six Sigma. ประวัติของ 6 ซิกม่า. - ปีค.ศ.1960 มีการนำไปใช้กับยาน อวกาศอะพอลโล เป็นครั้งแรก - ปีค.ศ.1974 ทางกองทัพเรือสหรัฐฯได้พัฒนาเป็นมาตรฐานทางทหารที่1629 ( MIL-STD-1629) เกี่ยวกับการวิเคราะห์ผลกระทบจากความผิดพลาด

Download Presentation

การนำเสนอต่อไปนี้ สามารถรับชมได้ทุกวัย

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การนำเสนอต่อไปนี้ สามารถรับชมได้ทุกวัย

  2. Six Sigma

  3. ประวัติของ 6 ซิกม่า - ปีค.ศ.1960 มีการนำไปใช้กับยานอวกาศอะพอลโลเป็นครั้งแรก - ปีค.ศ.1974 ทางกองทัพเรือสหรัฐฯได้พัฒนาเป็นมาตรฐานทางทหารที่1629 (MIL-STD-1629) เกี่ยวกับการวิเคราะห์ผลกระทบจากความผิดพลาด - ปีค.ศ.1970 อุตสาหกรรมรถยนต์ได้นำมาใช้เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการผลิต

  4. ประวัติของ 6 ซิกม่า(ต่อ) ในทศวรรษที่ 1980 และ1990 เป็นต้นมา บริษัทต่างๆได้นำกลยุทธ์ 6 ซิกม่ามาใช้ในการปรับปรุงผลการผลิตเพื่อในการแข่งขันกับคู่แข่งของตนจนทำให้บริษัทนั้นๆต่างมีผลกำไรอย่างมากมายและเป็นที่ ภาคภูมิใจกับบริษัทของตน เช่น • บริษัทโมโตโรล่า (Motorola (1987) ) • บริษัทเท็กซัส อินสตรูเม้นท์ส ( Texas Instruments (1988) ) • บริษัทเอบีบี ( Asea Brown Boveri (1993) ) • บริษัทอัลไลด์ ซิกนอล ( Allied Signal (1994) ) • บริษัทจีอี ( GE (1995) ) • โทรศัพท์มือถือโนเกีย ( Nokia Mobile(Phone) ระหว่างปีค.ศ.1996-1997 )

  5. “Six Sigma เหมือนกับเหล้าเก่าในขวดใหม่” Six Sigma ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่เป็นการประสมประสานกันของสุดยอดเทคนิคต่างๆในอดีต เช่น เทคนิคทางด้านสถิติ เทคนิคในการจัดการสมัยใหม่ เป็นต้น และแนวคิดด้านการบริหารใหม่ๆที่กำลังมาแรงเช่น ดัชนีวัดผลงาน( KPI หรือ BSC )แต่ก็ยังไม่ทิ้งเทคนิคพื้นฐานเดิมๆคือ PDCA

  6. Six Sigmaเป็นกระบวนการในการพัฒนาคุณภาพ โดยการลดข้อบกพร่อง หรือความสูญเสียต่อสินค้าและบริการ คุณภาพในความหมายของทฤษฎีนี้ จะเกิดขึ้นได้ เมื่อมีการลดข้อบกพร่องหรือลดต้นทุนโดยอาศัยวิธีการทางสถิติ ในรูปแบบ การกระจายแนวโน้มออกจากมาตรฐานกลาง Six Sigmaประกอบด้วย 3 อย่าง คือ แนวคิด Six Sigma • การวัดในเชิงสถิติ • กลยุทธ์ทางการดำเนินการ • ปรัชญา หรือแนวความคิด

  7. Six Sigma คือ เครื่องมือและแนวคิดในการปรับปรุงคุณภาพในองค์กรเพื่อลดความผิดพลาดที่เกิดขึ้นในกระบวนการต่างๆ ให้เหลือน้อยที่สุดโดยใช้หลักการทางสถิติ และมุ่นเน้นลูกค้าเป็นหัวใจสำคัญในการแก้ไขปัญหาเพื่อการปรับปรุงและพัฒนากระบวนการรวมทั้งลดผลกระทบและค่าใช้จ่าย โดยชื่อของ Six Sigma นั้นได้มาจากแนวความคิดที่ว่าโอกาสที่เกิดขึ้น 3.4 ครั้งต่อการผลิตหรือการปฏิบัติงาน 1 ล้าน ระดับสมรรถนะขององค์กรโดยส่วนใหญ่จะอยู่ที่ 2 Sigma หรือ 3 Sigma 6 Sigmaคืออะไร?

  8. การวัดผลทางสถิติของการปฏิบัติงานที่มีต่อกระบวนการ หรือ ผลิตภัณฑ์ • เป้าหมายคือเพื่อให้ปราศจากความบกพร่อง (เป็นศูนย์) ในการทำงาน • ระบบการจัดการที่จะนำไปสู่ความเป็นผู้นำในธุรกิจระดับโลก (World Class) 6 Sigmaคืออะไร?

  9. ความหมายเชิงตัวเลขของ 6 ซิกม่า • ± 1σ   มีค่าการยอมรับ  เท่ากับ  68.27 % • ± 2σ    มีค่าการยอมรับ  เท่ากับ  95.45 % • ± 3σ    มีค่าการยอมรับ  เท่ากับ  99.73 % • ± 4σ    มีค่าการยอมรับ  เท่ากับ  99.9937 % • ± 5σ    มีค่าการยอมรับ  เท่ากับ  99.999943 % • ± 6σ    มีค่าการยอมรับ  เท่ากับ  99.9999996 % Michael Harley ผู้คิดค้นวิธีการ 6 ซิกม่า กล่าวว่า “6σ คือ เป้าหมายขั้นที่สุดของการจัดการเพื่อบรรลุเป้าหมายคุณภาพ”

  10. ที่ความสามารถของกระบวนการ โอกาสเกิดความบกพร่องต่อล้านหน่วย 2 σ 308,537 PPM 3 σ 66,807 PPM 4 σ6,210 PPM 5 σ233 PPM 6 σ3.4 PPM

  11. 99% ยังไม่ดีพอ • จดหมายสูญหายจำนวน 20,000 ฉบับ ต่อชั่วโมง • น้ำดื่มไม่สะอาด มีเกือบจะ 15 นาที ต่อวัน • การผ่าตัดผิดพลาด 5,000 ครั้งต่อสัปดาห์ • การลงจอดของเครื่องบินผิดพลาด 2 ครั้งต่อวัน • มีการจ่ายยาผิดพลาด 200,000 ครั้ง ต่อปี • ไฟฟ้าดับเกือบจะ 7 ชั่วโมง ต่อเดือน

  12. 6 ซิกม่ากับความหมายในทางปฏิบัติ ( Six Sigma – Practical Meaning ) 99% Good (3.8 Sigma) 99.99966% Good (6 Sigma) จดหมายสูญหายจำนวน 20,000 ฉบับ ต่อชั่วโมง น้ำดื่มไม่สะอาด มีเกือบจะ 15 นาที ต่อวัน การผ่าตัดผิดพลาด 5,000 ครั้งต่อสัปดาห์ การลงจอดของเครื่องบินผิดพลาด 2 ครั้งต่อวัน มีการจ่ายยาผิดพลาด 200,000ครั้ง ต่อปี ไฟฟ้าดับเกือบจะ 7 ชั่วโมง ต่อเดือน จดหมายสูญหายจำนวน 7 ฉบับ ต่อชั่วโมง น้ำดื่มไม่สะอาด มีเพียง 1นาที ในช่วง 7 เดือน การผ่าตัดผิดพลาด 1.7 ครั้งต่อสัปดาห์ การลงจอดของเครื่องบินผิดพลาด ทุกๆ 5 ปี มีการจ่ายยาผิดพลาดเพียง 68 ครั้ง ต่อปี ไฟฟ้าดับเกือบจะเพียง 1 ชั่วโมงในช่วง 3-4 ปี

  13. ขอบเขต ข้อกำหนดล่าง ศูนย์กลางการ แจกแจงแบบปกติ ขอบเขต ข้อกำหนดบน -5 -4 -3 -2 -1 1 2 3 4 5 X Six sigma ในมุมมองต่าง ๆ 1.Six sigma ในมุมมองที่เป็นการวัดผลทางสถิติอย่างหนึ่ง

  14. 2. Six sigma ในมุมมองที่เป็นเป้าหมายอย่างหนึ่ง ช่วยในด้านบุคลากรและกระบวนการให้บรรลุถึงผลิตภัณฑ์และบริการโดยไม่ปรากฏข้อบกพร่องเลย 3.Six sigma ในมุมมองที่เป็นระบบการจัดการแบบหนึ่ง ฝ่ายบริหารมีบทบาทหลักที่สำคัญในการติดตามผลของโปรแกรมและติดตามความสำเร็จที่ได้รับ

  15. แนวคิดพื้นฐานของ Six sigma การพัฒนาองค์การแบบ six sigma เป็นการพัฒนาที่มุ่งเน้นความเป็นเลิศ ซึ่งได้มีการกำหนดแนวทางในด้านต่าง ๆ ได้แก่ ด้านการสื่อสาร การสร้างกลยุทธ์ และนโยบาย การกระจายนโยบาย การจูงใจ และการจัดสรรทรัพยากรในองค์การให้เหมาะสม เพื่อให้การปรับปรุงองค์การเป็นไปอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ โดยเน้นการมีส่วนร่วมของพนักงานที่มีความสามารถ มีความตั้งใจที่จะปรับปรุง ต้องได้รับความรู้ที่เพียงพอต่อการปรับปรุง รวมทั้งมีทีมที่มีความสามารถและมีความตั้งใจที่จะปรับปรุง มีทีมที่ปรึกษาที่มีความเชี่ยวชาญและมีประสบการณ์สูงคอยให้ความช่วยเหลือสนับสนุน

  16. แนวคิดแบบ six sigma เน้นให้พนักงานแต่ละคนสร้างผลงานขึ้นมาโดย 1. การตั้งทีมที่ปรึกษา (Counselling groups) เพื่อให้คำแนะนำพนักงานในการกำหนดแผนปรับปรุงการทำงาน 2. การให้ทรัพยากรที่จำเป็นต่อการปรับปรุง (Providing resource) 3. การสนับสนุนแนวความคิดใหม่ ๆ (Encouraging Ideas) เพื่อให้โอกาสพนักงานในการเสนอแนะความคิดเห็นใหม่ๆ 4. การเน้นให้พนักงานสามารถคิดได้ด้วยตัวเอง (Thinking) เพื่อให้พนักงานสามารถกำหนดหัวข้อการปรับปรุงขึ้นเอง ภายใต้ข้อกำหนดของผู้บริหารองค์การ

  17. แนวคิดการบริหารแบบ six sigma 1.เน้นสร้างทักษะและการเรียนรู้ให้แก่พนักงานอย่างเป็นระบบ และเข้มงวด รู้ปัญหาและกำหนดเป็นโครงการปรับปรุงทั้งระยะสั้นและระยะยาว 2.วัดที่ผลการปรับปรุงเป็นหลัก 3.ใช้ทีมงานที่มีผลประเมินการทำงานดี หรือ ดีเยี่ยม มาทำการปรับปรุงและตัดสินใจให้คนเก่งมีเวลาถึง 100 % เพื่อแก้ปัญหาให้กับองค์การ 4.สร้างผู้นำโครงการให้เกิดขึ้นในอนาคต 5.ใช้ข้อมูลเป็นตัวตัดสินใจเท่านั้น 6.เน้นความรับผิดชอบในการทำโครงการ 7.การให้คำมั่นสัญญามาจากผู้บริหาร

  18. Process Improvement Process Design/Redesign Process Management องค์ประกอบของ Six Sigma

  19. องค์ประกอบแรก คือ การปรับปรุงกระบวนการ เป็นการค้นหาโอกาสพัฒนาจากกระบวนการที่มีอยู่เดิม เพื่อดูว่ามีปัญหา, ความสูญเสีย, ข้อบกพร่อง หรือประเด็นใดที่ยังตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ไม่ดี และนำมาพัฒนาคุณภาพ โดยพยายามค้นหาสาเหตุ และขจัดสาเหตุดังกล่าวทิ้ง เมื่อพัฒนาได้ตามที่ต้องการก็หาทางควบคุมให้อยู่อย่างถาวรซึ่งเป็นการพัฒนาคุณภาพแบบก้าวกระโดดสู่ระดับ 6 Sigma (Breakthough Six Sigma) องค์ประกอบที่สอง คือ การออกแบบกระบวนการ องค์กรจะเลือกออกแบบกระบวนการใหม่, พัฒนาสินค้าใหม่, เพิ่มบริการใหม่ แทนการพยายามปรับปรุงข้อบกพร่องของกระบวนการเดิม เพื่อสร้างความพึงพอใจสูงสุดแก่ลูกค้า และมีข้อบกพร่องให้น้อยที่สุด ซึ่งการออกแบบกระบวนการใหม่ให้เกิดคุณภาพสูงสุดที่นิยมเรียกว่าเป็น การออกแบบเพื่อคุณภาพระดับ 6 Sigma (Design for Six Sigma – DFSS)

  20. องค์ประกอบที่สาม คือ การจัดกระบวนการ หมายถึง การที่ฝ่ายบริหารจัดการมีการกำหนดทิศทาง และกลยุทธ์ขององค์กร การใช้ภาวะผู้นำในการสร้างให้เกิดวัฒนธรรมในการพัฒนาคุณภาพแบบ Six Sigma การค้นหาความต้องการของลูกค้า การค้นหาโอกาสพัฒนาที่เป็นปัญหาหลักขององค์กร การวิเคราะห์และการติดตามผลการพัฒนาคุณภาพ ตลอดจนการพยายามควบคุมผลลัพธ์ที่ได้จากการพัฒนาให้สามารถดำรงอยู่ได้อย่างยั่งยืนในองค์กร เรียกองค์ประกอบที่สามนี้ว่า เป็นภาวะผู้นำเพื่อคุณภาพระดับ 6 Sigma (Six Sigma Leadership)

  21. ปรัชญาของ 6s ทุกๆ สิ่ง ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมใดก็ตาม เช่น ใบแสดงราคาสินค้า (invoice)หรือ แผงวงจรไฟฟ้า ( PCBA) จะเกิดขึ้นได้ล้วนต้องอาศัย กระบวนการ (process) inputs กระบวนการ outputs ทุกๆ กระบวนการสามารถบ่งชี้ได้ ทุกๆ กระบวนการสามารถวัดผลได้ ทุกๆ กระบวนการสามารถควบคุมได้ ทุกๆ กระบวนการสามารถทำนายได้ ทุกๆ กระบวนการสามารถทำให้ดีขึ้นได้ ทุกๆ ข้อบกพร่องสามารถป้องกันได้

  22. เป้าหมายของ 6s • การลดข้อบกพร่อง (Defect Reduction) • การพัฒนาประสิทธิภาพการผลิต (Yield Improvement) • เพิ่มความพอใจของลูกค้า (Improved Customer Satisfaction) • เพิ่มรายได้สุทธิ (Higher Net Income)

  23. หลักการสำคัญ 1. การยึดลูกค้าเป็นจุดศูนย์กลาง 2. การบริหารการจัดการโดยใช้ข้อมูล ข้อเท็จจริง 3. การมุ่งเน้นกระบวนการ 4. เน้นการจัดการเชิงรุก 5. เน้นการแก้ไขปัญหาแบบไร้พรมแดน 6. เน้นภาวะผู้นำและการมีส่วนร่วมของฝ่ายบริหาร 7. การมุ่งเน้นนวัตกรรมตามความคิดสร้างสรรค์ 8. การมุ่งสู่ความเป็นเลิศ ไม่เกรงกลัวต่อการเปลี่ยนแปลง และอดทนต่อความล้มเหลว

  24. ปัจจัยแห่งความสำเร็จ 1. ผู้บริหารระดับสูงต้องแสดงวิสัยทัศน์และความเป็นผู้นำในการปรับปรุง และคัดเลือกพนักงานที่มีความรู้ความสามารถในการปรับปรุงเพื่อให้เกิดความสำเร็จ 2. องค์กรต้องมีความพร้อม เช่น จัดทีมงานที่มีความรู้ด้าน Six Sigma งบประมาณ วัฒนธรรมที่พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง และระบบสารสนเทศที่สามารถตรวจสอบได้ 3. มีนโยบายคุณภาพที่เน้นการปรับปรุงองค์กรให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า

  25. หกซิกม่าเริ่มต้นที่ CTQCTQ : CRITICAL TO QUALITY คือจุดวิกฤตต่อคุณภาพซึ่งหมายถึงส่วนของกระบวนการหรือวิธีการปฏิบัติงานที่มีผลโดยตรงต่อความต้องการของลูกค้าและมาตรฐาน

  26. ยุทธวิธี Six Sigma 5 ขั้นตอน(DMAIC) 1.Define คือ ขั้นตอนของการกำหนดปัญหา เลือกการปรับปรุงหรือออกแบบ ทั้งนี้เน้นความต้องการของลูกค้าเป็นหลัก เพื่อให้โครงการที่เลือกจะทำนั้นเป็นเรื่องสำคัญ ๆ จริง ทำแล้วคุ้มค่า ตรงประเด็น ไม่เสียเวลาเปล่า 2.Measure คือ ขั้นตอนการวัด เช่น วัดความสามารถของกระบวนการวัดของเสีย วัดประสิทธิผล ฯลฯ เพื่อนำมาวิเคราะห์ตัวแปรต่าง ๆ 3.Analyze คือ ขั้นตอนการวิเคราะห์ (จากข้อมูลที่วัดมาได้) เพื่อหาหรือพิสูจน์ตัวแปรที่สำคัญที่สุดในระบวนการ (Key Process Variables) ที่เป็นต้นตอสาเหตุของปัญหา ในขั้นตอนนี้ถือว่าสำคัญมากเพราะถ้าหาตัวแปรไม่เจอ หรือหาผิดก็ไม่อาจจะปรับปรุง หรือปรับปรุงผิด

  27. 4.Improve คือ ขั้นตอนการปรับปรุง  หลังจากที่เราจับตัวแปรที่มีผลมาก ๆ หรือสำคัญๆ ได้แล้ว เราก็ลงมือแก้ไข/ปรับปรุง เพื่อขจัดสาเหตุที่วิเคราะห์ได้ หรือในการออกแบบขั้นนี้จะเป็นการออกแบบกระบวนการ/ผลิตภัณฑ์เพื่อขจัดหรือควบคุมตัวแปรที่วิเคราะห์ได้ 5.Control คือขั้นตอนการควบคุม เพื่อให้กระบวนการนั้นนิ่ง ทำให้สม่ำเสมอ เพื่อไม่ให้เกิดข้อบกพร่องอีก

  28. Define Measure Analyze Improve Control • วิเคราะห์ข้อมูล • วิเคราะห์กระบวนการ • วิเคราะห์หาต้นตอของความผันแปร • ประยุกต์ใช้ Graphical • Analysis Tools • ประยุกต์ใช้ Statistical • Analytical Tools • สรุปรากเหง้าของปัญหา • กำหนดขอบเขตของปัญหา • ค้นหาลูกค้าและความต้องการของลูกค้า • - จัดทำผัง CTQ • - เขียนProcessMap • กำหนดขอบเขตของโครงการ • ปรับปรุง Project • Charter • ค้นหาทางเลือกที่เป็นไปได้ • คัดเลือกทางเลือก • ทดลองเพื่อหาทางเลือกที่ดีที่สุด • สร้าง "Should be" • Process Map • ปรับปรุงกระบวนการ • โดยใช้ FMEA • วิเคราะห์ความ คุ้มค่า/คุ้มทุน • กำหนดกลยุทธ์ใน การควบคุมผล • จัดทำแผน ควบคุมผล • ปรับปรุงคู่มือปฏิบัติงาน • - จัดทำแผนฝึกอบรม • ค้นหาความผันแปรของกระบวนการ • กำหนดตัวชีวัดของกระบวนการ • กำหนดชนิดของข้อมูล • ที่จะเก็บ • กำหนดวิธีการเก็บตัวอย่าง • ทำการวิเคราะห์ระบบการวัดผล • ทำการเก็บข้อมูล • วิเคราะห์ขีดความสามารถของกระบวนการ ขั้นตอนการดำเนินการโครงการ Six Sigma

  29. Control Define Improve Measure Analyze DMAIC ทำความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหา และผลกระทบต่อการเงิน ตรวจสอบให้แน่ใจในผลลัพธ์ที่ได้มา ประยุกต์ใช้ ตลอดจน ดำเนินการโดยใช้วิธีการเก็บข้อมูลที่เหมาะสม กำหนดแนวทางการแก้ไข ค้นพบ สาเหตุของปัญหา

  30. การดำเนินการ • - หลักการจากเบื้องบน ( Top-down approach ) • SIX SIGMA ต้องได้รับการส่งเสริมโดยการประยุกต์เข้ากับนโยบาย และกลยุทธ์ของผู้บริหารระดับสูง คำสั่งจากเบื้องบน คือ กุญแจสำคัญของความสำเร็จ • - ให้พนักงานทั้งหมดเข้าร่วม • พนักงานทั้งหมดในทุกๆฝ่าย ไม่ว่าฝ่ายค้นคว้าและออกแบบ , วิศวกร , ฝ่ายผลิต , ฝ่ายขาย และฝ่ายบริการ ต่างก็ได้ถูกคาดเกณฑ์ให้มีส่วนร่วม • ดำเนินการโดยจัดทำเป็นโครงการต่างๆ ( Projects ) • หน่วยงานส่วนต่างๆ ( divisions ) รับผิดชอบในการนำและสนับสนุนกิจกรรมกลุ่มย่อย (SGA : SmallGroup Activities ) ซึ่งถูกวางแผนให้สามารถบรรลุผลได้ในระยะเวลาอันสั้น ช่วง สี่ ถึง ห้าเดือน

  31. - ใช้วิธีการ 6 ซิกม่า มีการกำหนดเป้าหมายอย่างชัดเจน และทำการปรับปรุงกระบวนการต่างๆโดยยืนอยู่บนพื้นฐานของการควบคุมข้อมูลเชิงตัวเลข มีรากฐานทางวิทยาศาสตร์ มีการวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ เข้ามาแทนที่การใช้ประสบการณ์ และสัญชาตญาณ - มีการฝึกอบรม เริ่มจากผู้บริหารระดับสูงลงมา ทุกคนต้องได้รับการอบรมอย่างทั่วถึง ทั้งนี้เพื่อให้สามารถมั่นใจได้ว่า การแพร่กระจายของวิธีการแบบ 6 ซิกม่า ได้เป็นไปอย่างทั่วถึงตลอดทั้งกลุ่ม

  32. วิธีการทำ Six Sigma • ผู้บริหารสูงสุดรับรู้ถึงความไม่พอใจของลูกค้าที่มีต่อสินค้าหรือบริการของบริษัทจึงแต่งตั้ง แชมเปี้ยน เพื่อดูแลแก้ไขปัญหา แชมเปี้ยนจะ 1.Defineเพื่อดูแลแก้ไข ค้นหาปัญหาที่เกิด แล้วแยกแยะปัญหาที่เกิดขึ้นออกเป็นโครงการต่างๆ เลือกโครงการที่มีผลกระทบสูงมาปรับปรุงก่อน นำโครงการที่เลือกแล้วมาทำเป็นแผนผังกระบวนการ เพื่อให้เห็นความเชื่อมโยงของขั้นตอนเพื่อให้เห็นจุดที่เกิดความผิดพลาดได้ชัดขึ้น จากตอนนี้จะทำให้สามารถทำการคัดเลือกทีมงานที่จะมาทำงานได้ • จากนั้น Black Belt ต้องทำการ2.วัดประเมินค่า (Measure) ของปัญหาที่เกิดขึ้นโดยตรวจสอบระบบการวัดและการเก็บข้อมูล ประเมินสภาพปัญหาปัจจุบันของปัญหาจากข้อมูลที่วัดได้ แล้ววางแนวทางการดำเนินงาน โดยประเมินตัวเลขเป้าหมายที่ต้องการปรับปรุง รวมถึงระยะเวลาในการทำงาน แล้วรายงานให้ แชมเปี้ยนรับรู้ เพื่อขออนุมัติดำเนินการต่อไป

  33. จากนั้น Black Belt จะนำข้อมูลที่วัดได้ 3.มาวิเคราะห์(Analyze)เพื่อหาปัจจัยที่แท้จริงของความผิดพลาด โดยใช้เทคนิคด้านสถิติ และนำข้อมูลจาการวิเคราะห์ที่ได้ เสนอให้ แชมเปี้ยน พิจารณา • จากนั้นเข้าสู่ขั้นตอน 4. Improve หรือ ปรับปรุงแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างเป็นขั้นตอน โดยการตั้งสมมติฐานถึงวิธีการแก้ไขปัญหา จนถึงขั้นออกแบบแผนการปรับปรุง โดยอาจต้องปรับปรุงกระบวนการขึ้นใหม่ ลดขั้นตอนที่ไม่จำเป็น และเพิ่มขั้นตอนที่จำเป็น ที่สำคัญคือต้องขจัดปัญหาที่แท้จริงของการผิดพลาดให้ได้ • เมื่อสามารถปรับปรุงจนได้ผลตามเป้าหมายแล้ว ก็ทำเป็นแบบแผนในการ 5. ควบคุมและป้องกัน Control ไม่ให้เกิดปัญหาเหล่นนั้นขึ้นมาได้อีก เมื่อสามารถแก้ไขปัญหาโครงการเดิมได้แล้ว จึงค่อยก้าวไปแก้ไขปัญหาโครงการอื่นๆ ต่อไป โดยกำหนดเป็นแผนที่ต่อเนื่องตลอดไป ***สิ่งสำคัญที่สุดของ six Sigma คือ การสนับสนุนกันตั้งแต่ระดับบริหารจนถึงระดับปฏิบัติการ

  34. “การทำ six sigma เป็นการเปลี่ยนแปลงที่โครงสร้าง(Organize)” -ไม่ใช่กระบวนการ(Process) -Organize เป็นเจ้าของ Process

  35. โครงสร้างเพื่อการบริหาร Six Sigma ทีมนำสูงสุด แม่ทัพ แม่ทัพ แม่ทัพ อัศวินพี่เลี้ยง อัศวินพี่เลี้ยง อัศวินพี่เลี้ยง อัศวิน อัศวิน อัศวิน อัศวิน อัศวิน อัศวิน ทีมสมาชิก ทีมสมาชิก หัวหน้างาน สมาชิก ผู้จัดการกระบวนการ

  36. องค์ประกอบสำคัญที่มีบทบาทต่อ six sigma 1.Champion(ทีมนำสูงสุด)คือผู้บริหารระดับสูง (Executive-Level Management) สนับสนุนให้เป้ามายของงานสำคัญประสบความสำเร็จ รณรงค์และผลักดันให้เกิดองค์การ six sigma และเกิดกระบวนการปรับปรุงองค์การอย่างต่อเนื่อง ขจัดอุปสรรค ให้รางวัลหรือค่าตอบแทน ตอบปัญหา อนุมัติโครงการ กำหนดวิสัยทัศน์โครงการ สนับสนุนทรัพยากรในด้านบุคลากร งบประมาณ เวลา สถานที่ กำลังใจ และความชัดเจนในหน้าที่

  37. 2. Master Black Belt(อัศวินพี่เลี้ยง)คือ ผู้ชำนาญการด้านเทคนิค และเครื่องมือสถิติ เป็นผู้มีความรู้และความเชี่ยวชาญในการทำงานเป็นอย่างดี และสามารถถ่ายทอดและให้การอบรมเพื่อสร้างทีม Black Belt และ Green Belt ตลอดการปรับปรุงได้ 3. Black belt (แม่ทัพ)คือ ผู้บริหารโครงการ (Project Manager) และผู้ประสานงาน (Facilitator )ได้รับการรับรองว่าเป็นสายดำชั้นครู Black belt เป็นการบ่งบอกถึงระดับความสามารถสูงสุดของนักกีฬายูโด จะทำหน้าที่เป็นหัวหน้าโครงการ บริหารลูกทีมที่มีลักษณะข้ามสายงาน ซึ่งในการบริหาร six sigma จะประกอบไปด้วยการทำโครงการย่อยที่คัดเลือกจากปัญหาที่มีอยู่ในกระบวนการต่าง ๆ ขององค์การ กระจายกลยุทธ์และนโยบายของบริษัทไปยังระดับปฏิบัติการ

  38. 4. Green belt(อัศวิน)คือพนักงานที่ทำหน้าที่โครงการ เป็นผู้ที่รับการรับรองว่ามีความสามารถเทียบเท่านักกีฬายูโดในระดับสายเขียว ซึ่งในการบริหาร six sigma นั้น ผู้ที่ทำหน้าที่เป็น Green belt จะเป็นผู้ช่วยของ Black belt ในการทำงาน ทำหน้าที่ในการปรับปรุงโดยใช้เวลาส่วนหนึ่งของการทำงานปกติ 5. Team Member(สมาชิกทีม)ในโครงการทุกโครงการจะต้องมีสมาชิกทำงาน 4-6 คน โดยเป็นตัวแทนของคนที่ทำงานในกระบวนการที่อยู่ในขอบข่ายของโครงการ

  39. กระบวนการพัฒนาคุณภาพแบบ Six Sigma ระยะที่ 1 ระยะตัดสินใจ ระยะที่ 2 ระยะเตรียมความพร้อม ระยะที่ 3 ระยะคัดเลือกโอกาสพัฒนา ระยะที่ 4 ระยะพัฒนาตามขั้นตอน D-M-A-I-C ระยะที่ 5 ระยะทบทวนผลดำเนินการและปรับปรุงระบบ

  40. ความแตกต่างระหว่าง Six Sigma กับหลักการปรับปรุงต่างๆ Six Sigma เป็นกระบวนการที่รวบรวมหลักการปรับปรุงต่างๆ ได้แก่ Benchmarking, Productivity Improvement, Strategic Deployment และ Statistical and Techniques เป็นต้น นำมาหลอมรวมกันเพื่อให้พนักงานทุกระดับสามารถเข้าใจปฎิบัติให้เป็นรูปธรรม มีเป้าหมายเด่นชัด และที่สำคัญที่สุดคือเห็นผลสำเร็จย่างรวดเร็ว ทั้งนี้เพราะว่าการบิหารแบบ Six Sigma จะเน้นการบริหารแบบบนลงล่าง (Top Down Management) คือระบบที่ผู้บริหารต้องผลักดันแนวความคิดและการปรับปรุงให้เกิดขึ้น นอกจากนี้ Six Sigma ยังเป็นกระบวนการหนึ่งที่สามารถทำให้ องค์การต่างๆ ที่นำไปใช้สามารถบรรลุถึงข้อกำหนดของรางวัลคุณภาพแห่งชาติ (National Quality Award)

  41. ISO 9000 และซิกส์ซิกม่า การใช้ระบบมาตรฐาน ISO 9000 เพื่อแสดงให้เห็นถึงสมรรถนะของบริษัทในการจัดหาผลิตภัณฑ์และการบริการที่สอดคล้องต่อความต้องการของลูกค้าได้ ดังนั้นซิกส์ ซิกม่าจึงเป็นสิ่งจำเป็นต่อองค์กรไม่ว่าองค์กรจะมีการทำ ISO 9000 หรือไม่ก็ตาม แม้ว่ามาตรฐานชุด ISO 9000 เป็นสิ่งที่อุตสาหกรรมคำนึงถึงและนำมาปฏิบัติจนเป็นข้อกำหนดหนึ่งของการทำธุรกิจตั้งแต่แรกเริ่ม แต่ในมาตรฐาน ISO 9000: 2000 ชุดใหม่กลับไม่มีการนำเสนอถึงความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญไปสู่แนวคิดนี้ แต่ซิกส์ ซิกม่าจะตรงข้ามกันเพราะซิกส์ ซิกม่าจะมุ่งสู่การมีสมรรถนะระดับโลกโดยมีพื้นฐานเชิงปฏิบัติในเรื่องการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องนั่นเอง ซิกส์ ซิกม่า จึงเป็นสิ่งที่มีความสำคัญเหนือกว่าทั้งในส่วนของอัตราการปรับปรุง ผลลัพธ์ทั้งในระดับพื้นฐานและระดับลึก ความพึงพอใจของลูกค้าและความผิดชอบจากผู้บริหารระดับสูง แต่อย่างไรก็ตามซิกส์ ซิกม่ากับ ISO 9000 ก็เป็นสิ่งที่สามารถประยุกต์ใช้ร่วมกันได้ในองค์กรหากแต่ต้องเป็นเรื่องที่มีจุดประสงค์แตกต่างกันเป็นอย่างมาก

  42. ความจำเป็นและเหมาะสมในการจัดทำระบบ ISO 9001 ต่อองค์กรต่างๆ เป็นดังนี้ • ISO9001 เหมาะมากสำหรับองค์กรที่ไม่ค่อยมีระบบ โดยเฉพาะบริษัทที่เติบโตจากระบบครอบครัว การทำ ISO9001 จะเป็นอะไรที่เด่นชัดมาก และเห็นประสิทธิผลมาก ในขณะเดียวกัน ก็ต้องใช้กำลังภายในในการจัดทำระบบมากขึ้นเป็นทวีคูณ • ISO9001 จะเหมาะน้อยสำหรับองค์กรที่มีระบบดีปานกลาง เช่น ระบบที่ถ่ายโอนมาจากต่างประเทศ เช่นญี่ปุ่น อเมริกา ยุโรป(แต่มักไม่รู้ว่าระบบตัวเองดี เพราะความเคยชิน) ประสิทธิผลอาจจะเห็นได้บ้าง แต่อาจไม่มาก • ISO9001 อาจไม่จำเป็นเลย (แต่ต้องมี เพราะข้อตกลงทางการค้า) สำหรับองค์กรที่มีระบบดีเลิศ เช่น องค์กรที่ปฏิบัติ TQM, Six Sigma จนได้ผลดีเลิศ บางทีการปฏิบัติ ISO9001 อาจไม่ทำให้องค์กรรู้สึกได้เลยว่ามีอะไรดีขึ้นบ้าง

  43. ความสัมพันธ์ระหว่าง TQM กับ Six Sigma แนวคิด Six Sigma ไม่ใช่การปัดฝุ่นของ TQM แต่เป็นการนำแนวคิดใหม่ทางสถิติ โดยการสลัดเอาความคิดเก่าๆเกี่ยวกับสถิติออกไป แล้วหันมามองกลวิธีการควบคุมกระบวนการทางสถิติที่แตกต่างออกไป Ronald Snee ได้อธิบายไว้ว่า “Six Sigma เป็นการพัฒนาเป้าหมายกลยุทธ์ของกิจการ ที่จะเพิ่มความพึงพอใจของลูกค้า และสถานะทางการเงินของกิจการ” และได้หยิบยกคุณสมบัติพิเศษ 8 ประการของ Six Sigma ในการเพิ่มความสำเร็จสำหรับการบริหารงาน จากระดับล่างขององค์กรขึ้นมา ดังนี้

  44. เกิดผลลัพธ์สุดท้ายได้ตามที่คาดหวังเกิดผลลัพธ์สุดท้ายได้ตามที่คาดหวัง • เป็นการแสดงภาวะผู้นำของระดับบริหาร • มีขั้นตอนที่ลงตัว (การวัด การวิเคราะห์ การปรับปรุง และการควบคุม) • เห็นผลสำเร็จของโครงการได้ทันใจ (3-6 เดือน) • สามารถกำหนดมาตรการสำหรับการวัดผลได้ชัดเจน • ปัจจัยพื้นฐานของ Six Sigma คือ ภาวะผู้นำและผู้ปฏิบัติงาน • เน้นที่ลูกค้าและกระบวนการ • ใช้กลวิธีทางสถิติในการพัฒนา ซึ่งเมื่อเทียบกับการบริหารคุณภาพแบบอื่นๆ จะพบว่า วิธีการบริหารคุณภาพแบบอื่นๆ จะประกอบไปด้วย 2-3 ข้อข้างต้น แต่ Six Sigma จะเป็นการผสมผสานของความสำเร็จทั้ง 8 ประการ

  45. การประยุกต์ใช้ six sigma Six Sigma จะเป็นกระบวนการที่ทำให้การปรับปรุงองค์การสำเร็จได้นั้น จะต้องขึ้นกับกระบวนการต่างๆ ดังนี้ 1. การยอมรับการเปลี่ยนแปลงกระบวนการ เนื่องจากกระบวนการทุกกระบวนการสามารถก่อให้เกิดความผิดพลาดได้ ดังนั้นจะต้องมีการปรับเปลี่ยนกระบวนการให้เหมาะสมอย่างต่อเนื่อง 2. ความสามารถของพนักงานในการปรับปรุง ผู้บริหารระดับสูงต้องแสดงวิสัยทัศน์และความเป็นผู้นำในด้านการปรับปรุง รวมทั้งคัดเลือกพนักงานที่มีความรู้และความสามารถในการปรับปรุง เพื่อให้เกิดความสำเร็จอย่างแท้จริง 3. โครงสร้างองค์การที่เหมาะสม องค์การจะต้องมีโครงสร้างการปรับปรุงชัดเจนโดยเฉพาะทีมบุคลากรปรับปรุงคุณภาพ จะต้องมีเวลาเพียงพอเพื่อการวัดและวิเคราะห์ปัจจัยของความผิดพลาด ปรับปรุงเพื่อลดความผิดพลาดนั้น และควบคุมปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน มีการจัดตั้งหน่วยงานรองรับต่อการประยุกต์ใช้ Six Sigma 4. การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ การสื่อสารที่เกี่ยวข้องกับการปรับปรุงจะต้องมีอยู่อย่างสม่ำเสมอ และต่อเนื่องตลอดโครงการปรับปรุง เพื่อให้พนักงานที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการเห็นประโยชน์และอยากนำไปปฏิบัติตาม 5. การมีตัวชี้วัด ตัวชี้วัดที่ดีที่สุด คือ ระดับคุณภาพที่พนักงานทุกคนรับทราบ และพยายามหาแนวทางปรับปรุงเพื่อบรรลุซึ่งระดับคุณภาพ

  46. ความสัมพันธ์ระหว่าง Lean กับ Six Sigma • แนวคิดแบบ Lean Six Sigma นั้นเป็นการรวมเอาแนวคิด และกลยุทธ์มารวมกันเพื่อให้องค์กรธุรกิจนั้นมีความเร็วที่ดีกว่า มีความแปรปรวนที่ลดน้อยลง และที่สำคัญที่สุดจะมีผลกระทบต่อองค์กรมากที่สุด สังเกตดูได้จากแนวโน้มในอนาคตว่าแนวคิดต่าง ๆ อาจจะรวมเป็นแค่วิธีการเดียวเท่านั้น คงต้องคอยติดตามดูหัวใจหลักของ Lean Six Sigma นั้น คืออัตราที่เร็วที่สุดของการปรับปรุงในความพอใจของลูกค้า ต้นทุน คุณภาพ ความเร่ง และการลงทุนในทรัพย์สิน • ลำพังแนวคิดของ Lean เองนั้นไม่สามารถที่จะทำให้กระบวนการอยู่ในการควบคุมเชิงสถิติได้ และแนวคิด Six Sigma เองก็ไม่สามารถปรับปรุงความเร็วของกระบวนการได้อย่างมากมายหรือลดการลงทุนได้ แต่เป็นที่รับรู้กันว่าความแปรปรวนนั้นเป็นศัตรูของธุรกิจทั้งหมด และ Lean Six Sigma สามารถที่จะกำจัดความแปรปรวนนี้ออกไปจากกระบวนการได้ดีกว่าวิธีการอื่น ๆ

  47. 10 ขั้นตอนในการนำเอา Lean Six Sigma ไปใช้งาน • 1. ต้องหาทีมที่ปรึกษา ที่ปรึกษาในยุคปัจจุบันจะต้องเป็นเหมือน ตัวแทนความรู้ (Knowledge Agent) ที่จะต้องมีความรู้ในเรื่องราวเทคนิคใหม่ ถ่ายทอดได้ และสร้างกระบวนการถ่ายทอดความรู้เหล่านั้นให้เกิดขึ้นกับองค์กรที่ได้รับคำปรึกษา ดังนั้นเพื่อให้เกิดความรวดเร็วในการเรียนรู้ องค์กรจึงจำเป็นที่จะต้องหาที่ปรึกษามาเป็นตัวกระตุ้นมาเป็นตัวแทนความรู้ในการบริหารความเปลี่ยนแปลง • 2. ความเป็นผู้นำ (Leader ship)สิ่งหนึ่งที่สำคัญมากในการนำองค์กรธุรกิจ คือ ความเป็นผู้นำ (Leader ship) วิสัยทัศน์ (Vision) และเป้าหมาย (Goal) ขององค์กรจะต้องถูกกำหนดอย่างเด่นชัดโดยผู้นำ MD หรือ CEO เพื่อที่จะสร้างความเกี่ยวโยงไปถึงโปรแกรม หรือโครงการ Lean Six Sigma • 3. การคัดเลือกผู้ปฏิบัติงานการสร้างงานใหญ่ในระดับองค์กรนั้นจะต้องมีเจ้าภาพ หรือผู้ที่รับผิดชอบ • 4. การฝึกอบรมทุกบริษัทมีการฝึกอบรมประจำทุกปี หรือตลอดเวลาตามแผนงาน ฝ่ายทรัพยากรบุคคลซึ่งจะเป็นฝ่ายจัดการฝึกอบรมจึงมีความสำคัญมาก เพราะว่าการฝึกอบรมที่มาจากฝ่ายบุคคลเป็นความต้องการพื้นฐานของบุคคลไม่ใช่ขององค์กรที่กำลังต้องการจะเปลี่ยนแปลง

  48. 10 ขั้นตอนในการนำเอา Lean Six Sigma ไปใช้งาน • 5. การเริ่มโครงการโครงการจะริเริ่มได้ก็คงจะต้องมาจากวิสัยทัศน์ของผู้บริหารที่ผ่านการฝึกอบรมมาก่อน สิ่งที่สำคัญของโครงการริเริ่มต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นโครงการอะไรก็ตามสิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ การได้รับการสนับสนุนจากฝ่ายบริหาร • 6. การเลือกโครงการ และการดำเนินงาน เราสามารถเริ่มโครงการ Lean และ Six Sigma ด้วยภาพองค์รวมขององค์กรได้ด้วยการวาดแผนผังสายคุณค่า (Valve Stream Mapping) ที่จะแสดงให้เห็นถึงกระบวนการธุรกิจ และจุดที่สามารถจะนำมาเป็นโครงการที่ทำให้เกิดผลประโยชน์ได้มากขึ้น • 7. การติดตามผลสมรรถนะของทีมงานโครงการโดยทั่วไปแล้วในระดับผู้บริหารจะติดตามผลจากผลตอบแทนจากการลงทุนในรูปแบบทางการเงินด้วยกำไรที่เพิ่มขึ้น หรือต้นทุนที่ลดลง • 8. การพัฒนาปรับปรุงสมรรถนะของทีม การติดตามสมรรถนะของโครงการริเริ่ม เช่น Lean Six Sigma ก็คงจะไม่ใช้แค่การประเมินบุคคล หรือความสามารถของบุคคลเท่านั้น แต่เป็นการประเมินความสามารถขององค์กรในการตอบสนองต่อการพัฒนา

  49. 10 ขั้นตอนในการนำเอา Lean Six Sigma ไปใช้งาน • 9. ดำเนินการอย่างต่อเนื่องคงจะเหมือนกับคำที่ว่า Keep Walking โครงการ Lean Six Sigma ไม่เหมือนกับโครงการทั่วไปที่มีจุดเริ่มต้น และจุดจบหรือจุดสำเร็จของโครงการ แต่โครงการ Lean Six Sigma ไม่เหมือนกัน เพราะว่าขั้นตอนหลังสุดของทั้ง Lean และ Six Sigma คือ การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง (Continuous Improvement) • 10. พัฒนาจนไปบรรจบกับการจัดการโซ่อุปทาน จากสภาพการแข่งขันที่เปลี่ยนแปลงไป และความซับซ้อนในการดำเนินธุรกิจที่มีมากขึ้น ส่งผลให้บริษัท และองค์กรต่าง ๆ ต้องพัฒนาแนวคิดการจัดการขึ้นมาใหม่ หรือบูรณาการจุดแข็งของแนวคิดเดิมที่มีอยู่ขึ้นมาใหม่ เพื่อให้สามารถรับมือและตอบสนองกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อไปได้

  50. “ทำ 6 sigma ต้องได้ Innovation” นวัตกรรม (Innovation) คืออะไร • "ทำสิ่งใหม่ขึ้นมา" (สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ, 2547) • โทมัส ฮิวส์ (Hughes, 1987) ได้ให้ความหมายของนวัตกรรมว่า เป็นการนำเอาวิธีการใหม่ๆ มาปฏิบัติหลังจากที่ได้ผ่านการทดลองและได้รับการพัฒนามาเป็นลำดับแล้ว โดยเริ่มมาจากการคิดค้นและพัฒนา ซึ่งอาจมีการทดลองปฏิบัติก่อน และถ้าจะนำไปปฏิบัติจริงจะมีความแตกต่างไปจากการปฏิบัติเดิมที่เคยปฏิบัติมา และ "นวัตกรรม" ยังหมายความรวมไปถึงการทำใหม่ขึ้นอีกครั้ง • จอห์นและสเนลสัน (Johne and Snelson, 1990) กล่าวว่า หัวใจแห่งความสำเร็จขององค์การคือการพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์นั้น

More Related