440 likes | 1.17k Views
การเลิกรับบุตรบุญธรรม. ฝ่ายติดตามผลการรับบุตรบุญธรรม. ข้อ กฎหมายตามพระราชบัญญัติการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม. ตาม มาตรา ๓๑/๑ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการรับเด็กเป็น บุตร บุญ ธรรม พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการรับเด็ก เป็น บุตร บุญธรรม (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๓
E N D
การเลิกรับบุตรบุญธรรมการเลิกรับบุตรบุญธรรม ฝ่ายติดตามผลการรับบุตรบุญธรรม
ข้อกฎหมายตามพระราชบัญญัติการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมข้อกฎหมายตามพระราชบัญญัติการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม • ตามมาตรา ๓๑/๑ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการรับเด็กเป็นบุตร บุญธรรม พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการรับเด็กเป็น บุตรบุญธรรม (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๓ • “มาตรา ๓๑/๑ ในกรณีที่ผู้รับบุตรบุญธรรมประสงค์จะเลิกรับบุตรบุญธรรม หากบุตรบุญธรรมนั้นยังเป็นเด็ก ก่อนที่จะมีการขอจดทะเบียนเลิกรับบุตรบุญธรรมหรือก่อนที่จะยื่นคำร้องต่อศาลตามาตรา ๑๕๙๘/๓๑ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ผู้รับบุตรบุญธรรมจะต้องแจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบเพื่อดำเนินการแก้ไขปัญหาและพัฒนาความสัมพันธ์ในเบื้องต้น และจะต้องเข้าสู่กระบวนการให้คำปรึกษาเยียวยาก่อน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง
ข้อกฎหมายตามพระราชบัญญัติการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม(ต่อ)ข้อกฎหมายตามพระราชบัญญัติการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม(ต่อ) (ต่อ) ในกรณีที่มีการเลิกรับบุตรบุญธรรม หากบุตรบุญธรรมนั้นยังเป็นเด็ก และเด็กนั้นเคยอยู่ในความปกครองของสถานสงเคราะห์ในขณะที่มีการจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมหรือไม่มีบิดามารดาหรือผู้ปกครองที่จะดูแลเด็กนั้นต่อไป ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการเพื่อจัดให้เด็กได้รับการสงเคราะห์หรือคุ้มครองสวัสดิภาพตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองเด็ก โดยผู้รับบุตรบุญธรรมที่เลิกรับบุตรบุญธรรมนั้นยังคงมีหน้าที่ในการเสียค่าใช้จ่ายในการอุปการะเลี้ยงดูและการศึกษาตามสมควรและตามความสามารถของตนจนกว่าเด็กคนนั้นจะบรรลุนิติภาวะและจำต้องเสียค่าใช้จ่ายในการอุปการะเลี้ยงดูต่อไปหากเด็กนั้นเป็นคนพิการหรือทุพพลภาพและหาเลี้ยงตนเองไม่ได้แม้ว่าจะบรรลุนิติภาวะแล้ว เว้นแต่ในกรณีที่บุตรบุญธรรมกระทำการต้องด้วยมาตรา ๑๕๙๘/๓๓ (๑) (๒) (๓) หรือ (๖) แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรือมีผู้รับบุตรบุญธรรมผู้อื่นรับอุปการะเลี้ยงดู บุตรบุญธรรมผู้นั้นไม่มีสิทธิได้ค่าอุปการะเลี้ยงดูตามความในมาตรานี้ ทั้งนี้ ในการเรียกร้องค่าใช้จ่ายในการอุปการะเลี้ยงดูและการศึกษาดังกล่าว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เป็นผู้ดำเนินการและพนักงานอัยการจะฟ้องคดีแทนก็ได้”
ข้อกฎหมายตามกฎกระทรวง • ตามกฎกระทรวง กระบวนการให้คำปรึกษาเยียวยาก่อนเลิกรับบุตรบุญธรรมซึ่งยังเป็นเด็ก พ.ศ. ๒๕๕๔ • ข้อ ๑ เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้รับแจ้งจากผู้รับบุตรบุญธรรมว่าประสงค์จะเลิกรับบุตรบุญธรรมซึ่งยังเป็นเด็ก ให้พนักงานเจ้าหน้าที่สอบถามผู้รับบุตรบุญธรรมถึงปัญหาการเลิกรับบุตรบุญธรรมและข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อดำเนินการแก้ไขปัญหาและพัฒนาความสัมพันธ์ในเบื้องต้น หากผู้รับบุตรบุญธรรมยังคงประสงค์จะเลิกรับบุตรบุญธรรมอยู่ ให้มีการเข้าสู่กระบวนการให้คำปรึกษาเยียวยาตาม ข้อ ๒ และ ๓
ข้อกฎหมายตามกฎกระทรวง (ต่อ) • ข้อ ๒ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการสืบเสาะข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสภาพปัญหาการเลิกรับบุตรบุญธรรม ดังต่อไปนี้ เพื่อดำเนินการให้คำปรึกษาเยียวยาให้แล้วเสร็จภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากผู้รับบุตรบุญธรรมว่ายังคงประสงค์จะเลิกรับบุตรบุญธรรมตามข้อ ๑ ๑. สาเหตุของการเลิกรับบุตรบุญธรรม ๒. สภาพจิตใจและสภาพสังคมของบุตรบุญธรรม ๓. ประเมินสภาพปัญหาการเลิกรับบุตรุบุญธรรม ในกรณีจำเป็น ผอ.ศูนย์ฯ บุตร/พมจ. แล้วแต่กรณี อาจขยายระยะเวลาตามวรรคหนึ่งได้ไม่เกิน ๒ ครั้ง ครั้งละไม่เกิน ๑๕ วัน)
ข้อกฎหมายตามกฎกระทรวง (ต่อ) • ข้อ ๓ ในการดำเนินการตามข้อ ๒ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่หารือร่วมกันในวางแผนและดำเนินการให้คำปรึกษาเยียวยา โดยอาจเชิญผู้เกี่ยวข้องดังต่อไปนี้มาร่วมประชุมหารือได้ตามความเหมาะสมและจำเป็น -๑. บุคคลผู้ได้ให้ความยินยอมในการรับบุตรบุญธรรม -๒. ผู้รับบุตรบุญธรรม -๓. บุตรบุญธรรม -๔. ผู้เกี่ยวข้องด้านเด็ก เช่น นักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ แพทย์ หรือจิตแพทย์
ข้อกฎหมายตามกฎกระทรวง (ต่อ) • ข้อ ๔ เมื่อดำเนินการตามข้อ ๒ ได้เสร็จสิ้นลงแล้ว หากผู้รับบุตรบุญธรรมยังคงยืนยันที่จะเลิกรับบุตรบุญธรรม ให้พนักงานเจ้าหน้าที่สรุปผลการให้คำปรึกษาเยียวยาเสนอต่ออธิบดีหรือผู้ว่าราชการจังหวัด แล้วแต่กรณี เพื่อใช้ในการพิจารณาออกหนังสือรับรองสำหรับประกอบการขอจดทะเบียนเลิกรับบุตรบุญธรรม หรือสำหรับประกอบการยื่นคำร้องขอต่อศาลตามมาตรา ๑๕๙๘/๓๑ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ • หนังสือรับรองตามวรรคหนึ่งให้มีอายุหกเดือนนับแต่วันที่ออกหนังสือ
ข้อกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ • มาตรา ๑๕๙๘/๓๑ การเลิกรับบุตรบุญธรรม ถ้าบุตรบุญธรรมบรรลุนิติภาวะแล้วจะเลิกโดยความตกลงกันในระหว่างผู้รับบุตรบุญธรรมกับบุตรบุญธรรมเมื่อใดก็ได้ ถ้าบุตรบุญธรรมยังไม่บรรลุนิติภาวะ การเลิกรับบุตรบุญธรรมจะทำได้ต่อเมื่อได้รับความยินยอมของบิดาและมารดา และให้นำมาตรา ๑๕๙๘/๒๐ และมาตรา ๑๕๙๘/๒๑ มาใช้บังคับโดยอนุโลม (๑๕๙๘/๒๐ การรับบุตรบุญธรรม ถ้าผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรมมีอายุไม่ต่ำกว่า ๑๕ ปี ผู้นั้นต้องให้ความยินยอมด้วย ๑๕๙๘/๒๑ การรับผู้เยาว์เป็นบุตรบุญธรรม - บิดามารดาให้ความยินยอมทั้ง 2 คน - เสียชีวิต + มีชีวิตอยู่ >> ฝ่ายมีชีวิตอยู่เป็นผู้ให้ความยินยอม - ทอดทิ้งทั้ง 2 คน >> ร้องศาล - เสียชีวิตทั้ง 2 คน >> ร้องศาล - ทอดทิ้ง + มีชีวิตอยู่ >> ร้องศาลให้ความยินยอมแทนฝ่ายที่ทอดทิ้ง + ฝ่ายมีชีวิตอยู่ให้ความยินยอม )
ข้อกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ต่อ) • มาตรา ๑๕๙๘/๓๑ (ต่อ) ในกรณีที่ได้รับผู้เยาว์เป็นบุตรบุญธรรมตามมาตรา ๑๕๙๘/๒๑ วรรคสอง มาตรา ๑๕๙๘/๒๒ มาตรา ๑๕๙๘/๒๓ มาตรา ๑๕๙๘/๒๔ หรือ มาตรา ๑๕๙๘/๒๖ วรรคสอง ถ้าบุตรบุญธรรมยังไม่บรรลุนิติภาวะ การเลิกรับบุตรบุญธรรมให้กระทำได้ต่อเมื่อมีคำสั่งศาลโดยคำร้องขอของผู้มีส่วนได้เสียหรืออัยการ การเลิกรับบุตรบุญธรรมจะสมบูรณ์ต่อเมื่อได้จดทะเบียนตามกฎหมาย
ข้อกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ต่อ) • มาตรา ๑๕๙๘/๓๒ การรับบุตรบุญธรรมย่อมเป็นอันยกเลิกเมื่อมีการสมรสฝ่าฝืนตามมาตรา ๑๔๕๑ (มาตรา ๑๔๕๑ ผู้รับบุตรบุญธรรมและบุตรบุญธรรมจะสมรสกันไม่ได้)
ข้อกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ต่อ) • มาตรา ๑๕๙๘/๓๓ คดีฟ้องเลิกการรับบุตรบุญธรรมนั้นเมื่อ • ฝ่ายหนึ่งทำการชั่วร้ายไม่ว่าจะเป็นความผิดอาญาหรือไม่เป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่งอับอายขายหน้าอย่างร้ายแรง หรือถูกเกลียดชัง หรือได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกินควร อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องเลิกได้ • ฝ่ายหนึ่งหมิ่นประมาทหรือเหยียดหยามอีกฝ่ายหนึ่งหรือบุพการีของอีกฝ่ายหนึ่งอันเป็นการร้ายแรง อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องเลิกได้ ถ้าบุตรบุญธรรมกระทำการดังกล่าวต่อคู่สมรสของผู้รับบุตรบุญธรรมให้ผู้รับบุตรบุญธรรมฟ้องเลิกได้
ข้อกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ต่อ) • มาตรา ๑๕๙๘/๓๓ คดีฟ้องการเลิกรับบุตรบุญธรรมนั้นเมื่อ (ต่อ) (๓) ฝ่ายหนึ่งกระทำการประทุษร้ายอีกฝ่ายหนึ่ง หรือบุพการีหรือคู่สมรสของอีกฝ่ายหนึ่งเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจอย่างร้ายแรง และการกระทำนั้นเป็นความผิดที่มีโทษอาญา อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องเลิกได้ (๔) ฝ่ายหนึ่งไม่อุปการะเลี้ยงดูอีกฝ่ายหนึ่ง อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องเลิกได้ (๕) ฝ่ายหนึ่งจงใจละทิ้งอีกฝ่ายหนึ่งไปเกินหนึ่งปี อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องเลิกได้ (๖) ฝ่ายหนึ่งต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกเกินสามปี เว้นแต่ความผิดที่กระทำโดยประมาท อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องเลิกได้
ข้อกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ต่อ) • มาตรา ๑๕๙๘/๓๓ คดีฟ้องการเลิกรับบุตรบุญธรรมนั้นเมื่อ (ต่อ) (๗) ผู้รับบุตรบุญธรรมทำผิดหน้าที่บิดามารดา และการกระทำนั้นเป็นการละเมิดหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๑๕๖๔ มาตรา ๑๕๗๑ มาตรา ๑๕๗๓ มาตรา ๑๕๗๔ หรือ มาตรา ๑๕๗๕ เป็นเหตุให้เกิดหรืออาจเกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงต่อบุตรบุญธรรม บุตรบุญธรรมฟ้องเลิกได้ (๘) ผู้รับบุตรบุญธรรมผู้ใดถูกถอนอำนาจปกครองบางส่วนหรือทั้งหมดและเหตุที่ถูกถอนอำนาจปกครองนั้นมีพฤติการณ์แสดงให้เห็นว่าผู้นั้นไม่สมควรเป็นผู้รับบุตรบุญธรรมต่อไป บุตรบุญธรรมฟ้องเลิกได้
โดยสรุป การเลิกรับบุตรบุญธรรม • กรณีบุตรบุญธรรมอายุ 20 ปีบริบูรณ์ สามารถไปจดเลิกรับบุตรบุญธรรมได้ที่สำนักงานเขต / อำเภอได้ด้วยตนเอง • กรณีบุตรบุญธรรมอายุยังไม่ถึง 20 ปี บริบูรณ์ • ต้องติดต่อเลิกรับบุตรบุญธรรมที่ศูนย์อำนวยการรับเด็ก- เป็นบุตรบุญธรรม หรือ พมจ. เพื่อเข้าสู่กระบวนการเยียวยา การเลิกรับบุตรบุญธรรมตามกฎหมายก่อน
พนักงานเจ้าหน้าที่ได้รับคำร้องจากผู้รับบุตรบุญธรรมประสงค์จะเลิกรับบุตรบุญธรรมซึ่งยังเป็นเด็กพนักงานเจ้าหน้าที่ได้รับคำร้องจากผู้รับบุตรบุญธรรมประสงค์จะเลิกรับบุตรบุญธรรมซึ่งยังเป็นเด็ก พนักงานเจ้าหน้าที่สอบข้อเท็จจริง ถึงปัญหาสาเหตุการเลิกรับบุตรบุญธรรมและข้อมูลต่างๆที่เกี่ยวข้อง วางแผนแก้ไขปัญหา และพัฒนาความสัมพันธ์เบื้องต้น (เป็นการสอบถามปัญหาเบื้องต้นพร้อมทั้งให้คำปรึกษาเยียวยา เพื่อให้ผู้ขอและเด็กสามารถอยู่ร่วมกันได้) ยังคงประสงค์จะเลิกรับ (ทำหนังสือยืนยัน) ไม่ประสงค์จะเลิกรับ (ทำหนังสือยืนยัน) พนักงานเจ้าหน้าที่สืบเสาะข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสภาพปัญหาการเลิกรับบุตรบุญธรรม ดังต่อไปนี้ ๑. สาเหตุของการเลิกรับบุตรบุญธรรม ๒. สภาพจิตใจและสภาพสังคมของบุตรบุญธรรม ๓. ประเมินสภาพปัญหาการเลิกรับบุตรุบุญธรรม ในการดำเนินการข้างต้น ให้พนักงานเจ้าหน้าที่หารือร่วมกันวางแผนให้คำปรึกษาเยียวยาโดยอาจเชิญผู้เกี่ยวข้องดังต่อไปนี้มาร่วมประชุมหารือได้ตามความเหมาะสมและจำเป็น - บุคคลผู้ให้ความยินยอมในการรับบุตรบุญธรรม - ผู้รับบุตรบุญธรรม - บุตรบุญธรรม - ผู้เกี่ยวข้องด้านเด็ก เช่น แพทย์ จิตแพทย์ นักจิตวิทยาและนักสังคมสงเคราะห์ ( ต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน ๖๐ วัน นับแต่วันได้รับแจ้งจากผู้รับฯ ว่ายังคงประสงค์เลิกรับ บุตรบุญธรรม กรณีจำเป็น ผอ.ศูนย์ฯ บุตร /พมจ. อาจขยายระยะเวลาได้ ๒ ครั้ง ครั้งละไม่เกิน ๑๕ วัน) ติดตามผลเป็นระยะ กระบวนการเลิกรับบุตรบุญธรรม ข้อ ๑ ข้อ ๒ ข้อ ๓
ไม่สำเร็จ (ยืนยันจะเลิกรับบุตรบุญธรรม) สำเร็จ (ไม่ประสงค์จะเลิกรับ) สรุปผลการดำเนินงานเสนออธิบดี/ผู้ว่าฯ เพื่อออกหนังสือเพื่อรับรองแก่ผู้รับบุตรบุญธรรมเพื่อดำเนินการยกเลิกรับบุตรบุญธรรมต่อไป (มีอายุ ๖ เดือนนับแต่วันออกหนังสือ) สรุปผลดำเนินงานรายงานผู้บังคับบัญชา ติดตามผลเป็นระยะ ข้อ ๔
* กรณีที่เด็กนั้นเคยอยู่ในความปกครองของสถานสงเคราะห์หรือไม่มีบิดามารดาหรือผู้ปกครองที่จะดูแลเด็กนั้นต่อไป (หรือมีแต่ไม่ประสงค์จะรับเด็กกลับไปดูแลอีก) ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการ :- • ๑. จัดให้เด็กได้รับการสงเคราะห์หรือคุ้มครองสวัสดิภาพตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองเด็ก (สามารถดำเนินการได้ตามความจำเป็นเร่งด่วนก่อน) • ๒. ผู้รับบุตรบุญธรรมที่เลิกรับบุตรบุญธรรมยังคงมีหน้าที่เสียค่าใช้จ่ายในการอุปการะเลี้ยงดูและการศึกษาตามสมควร และตามความสามารถจนกว่าเด็กจะบรรลุนิติภาวะ และจะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการอุปการะเลี้ยงดูต่อไปหากเด็กนั้นเป็นคนพิการหรือทุพพลภาพและหาเลี้ยงตัวเองไม่ได้แม้ว่าจะบรรลุนิติภาวะแล้ว • เว้นแต่ในกรณีที่บุตรบุญธรรมกระทำการต้องด้วยมาตรา ๑๕๙๘/๓๓ (๑) (๒) (๓) หรือ (๖) แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรือมีผู้รับบุตรบุญธรรมผู้อื่น รับอุปการะเลี้ยงดูบุตรบุญธรรมนั้นไม่มีสิทธิได้ค่าอุปการะเลี้ยงดูตามความในมาตรานี้ ทั้งนี้ ในการเรียกร้องค่าใช้จ่ายในการอุปการะเลี้ยงดูและการศึกษาดังกล่าว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เป็นผู้ดำเนินการ และพนักงานอัยการจะฟ้องคดีแทนก็ได้
กล่าวคือ :- • ๑. เว้นแต่กรณีศาลมีคำสั่งให้มีการเลิกรับบุตรบุญธรรมจากเหตุที่บุตรบุญธรรมกระทำการดังต่อไปนี้ - กระทำการชั่วร้ายต่อผู้รับบุตรบุญธรรม ไม่ว่าจะเป็นความผิดอาญา หรือไม่ - กระทำการหมิ่นประมาทหรือเหยียดหยามอย่างร้ายแรงต่อผู้รับบุตรบุญธรรม - กระทำการประทุษร้ายต่อผู้รับบุตรบุญธรรม คู่สมรส หรือทุพการี เป็นเหตุ ให้เกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจอย่างร้ายแรง และการกระทำนั้นเป็น ความผิดที่มีโทษทางอาญาต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกเกินสามปี เว้นแต่ความผิดที่กระทำโดยประมาท • ๒. มีผู้รับบุตรบุญธรรมผู้อื่นรับอุปการะเลี้ยงดู
แบบฟอร์มการเลิกรับบุตรบุญธรรมแบบฟอร์มการเลิกรับบุตรบุญธรรม 1 แบบขอรับคำปรึกษาการเลิกรับบุตรบุญธรรม
แบบฟอร์มการเลิกรับบุตรบุญธรรมแบบฟอร์มการเลิกรับบุตรบุญธรรม 2. หนังสือยืนยันความประสงค์ เลิกรับบุตรบุญธรรม ก่อนการเยียวยา
แบบฟอร์มการเลิกรับบุตรบุญธรรมแบบฟอร์มการเลิกรับบุตรบุญธรรม 3. แบบรายงานการให้คำปรึกษาเยียวยา
แบบฟอร์มการเลิกรับบุตรบุญธรรมแบบฟอร์มการเลิกรับบุตรบุญธรรม แนบใบบันทึกข้อเท็จจริง
แบบฟอร์มการเลิกรับบุตรบุญธรรมแบบฟอร์มการเลิกรับบุตรบุญธรรม 4. หนังสือยืนยันการเลิกรับบุตรบุญธรรม ภายหลังการได้รับคำปรึกษาเยียวยา ก่อนเลิกรับบุตรบุญธรรมซึ่งยังเป็นเด็ก
กรณีขอเลิกรับบุตรบุญธรรมที่เป็นญาติสืบสายโลหิต ยกกันเอง หรือบุตรของคู่สมรส 1. ให้ผู้รับบุตรบุญธรรมกรอกรายละเอียดในแบบฟอร์มหมายเลข 1 “แบบขอรับคำปรึกษาการเลิกรับบุตรบุญธรรม” จากนั้นพนักงานเจ้าหน้าที่สอบถามปัญหาในการเลิกรับบุตรบุญธรรมและข้อมูลที่เกี่ยวข้อง รวมถึงให้คำแนะนำปรึกษา ซึ่งจะต้องบันทึกข้อมูลดังกล่าวในด้านล่างของแบบฟอร์มหมายเลข 1 เช่นเดียวกัน พร้อมทั้งตรวจสอบเอกสารประกอบการยื่นคำขอ
2. ภายหลังที่ผู้รับบุตรบุญธรรมได้รับคำปรึกษาเพื่อแก้ไขปัญหาและพัฒนาความสัมพันธ์เบื้องต้นของครอบครัวจากพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว ให้ผู้รับบุตรบุญธรรมกรอกในแบบฟอร์ม “หนังสือยืนยันความประสงค์เลิกรับบุตรบุญธรรมก่อนการเยียวยา” แบบฟอร์มหมายเลข 2 • ถ้าผู้รับบุตรบุญธรรมไม่ประสงค์จะเลิกรับบุตรบุญธรรมต่อ พนักงานเจ้าหน้าที่ยุติการดำเนินงาน • แต่ถ้าผู้รับบุตรบุญธรรมประสงค์จะเลิกรับบุตรบุญธรรมตามเดิม ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป
3. การให้คำปรึกษาเยียวยา ใช้แบบฟอร์มหมายเลข 3 “แบบรายงานการให้คำปรึกษาเยียวยา” พนักงานเจ้าหน้าที่เป็นผู้ทำหน้าที่สืบเสาะข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสภาพปัญหาการรับบุตรบุญธรรม ดังต่อไปนี้ • สาเหตุของการเลิกรับบุตรบุญธรรม • สภาพจิตใจและสภาพสังคมของบุตรบุญธรรม • ประเมินปัญหาการเลิกรับบุตรบุญธรรม ในการดำเนินการข้างต้น ให้พนักงานเจ้าหน้าที่หารือร่วมกันวางแผนให้คำปรึกษาเยียวยา โดยอาจเชิญผู้เกี่ยวข้องดังต่อไปนี้มาร่วมประชุมปรึกษาหารือได้ตามความเหมาะสมและจำเป็น • ผู้ให้ความยินยอมในการรับบุตรบุญธรรม • ผู้รับบุตรบุญธรรม • บุตรบุญธรรม • ผู้เกี่ยวข้องด้านเด็ก เช่น แพทย์ จิตแพทย์ นักจิตวิทยา หรือนักสังคมสงเคราะห์
ในการให้คำปรึกษาเยียวยาให้คำนึงถึงสวัสดิภาพและประโยชน์ของเด็กเป็นสำคัญ ว่าภายหลังการเลิกรับบุตรบุญธรรมใครจะเป็นผู้ดูแลเด็กต่อไป อย่างไร ซึ่งในบางกรณีอาจจะต้องส่งต่อหน่วยงานทางด้านจิตเวชเด็กและวัยรุ่น เพื่อให้จิตแพทย์บำบัดรักษาในเรื่องพฤติกรรมของเด็ก หรือเพื่อฟื้นฟูความสัมพันธ์ในครอบครัว หมายเหตุ : - พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องดำเนินงานให้แล้วเสร็จภายใน 60 วัน นับแต่วันได้รับยืนยันจากผู้รับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมว่ายังคงประสงค์เลิกรับบุตรบุญธรรม (นับจากวันที่ที่ลงในแบบฟอร์มหมายเลข 2 ) - กรณีจำเป็น ผอ. ศูนย์อำนวยการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม / พมจ. อาจขยายระยะเวลาได้ 2 ครั้ง ครั้งละไม่เกิน 15 วัน
4. ภายหลังที่ได้รับคำปรึกษาเยียวยาเสร็จสิ้นแล้ว ให้ผู้รับบุตรบุญธรรมกรอกรายละเอียดในแบบฟอร์มหมายเลข 4 “หนังสือยืนยันการเลิกรับบุตรบุญธรรม ภายหลังการได้รับคำปรึกษาเยียวยาก่อนเลิกรับบุตรบุญธรรมซึ่งยังเป็นเด็ก” • ถ้าผู้รับบุตรบุญธรรมไม่ประสงค์เลิกรับบุตรบุญธรรม สรุปผลการดำเนินงานรายงานผู้บังคับบัญชา • ถ้าผู้รับบุตรบุญธรรมยืนยันเลิกรับบุตรบุญธรรม พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป ทั้งนี้จะต้องมีผู้ให้ความยินยอม ( มารดาและ/หรือบิดาผู้ให้กำเนิด ) ลงลายมือชื่อต่อหน้าพนักงานเจ้าหน้าที่ด้วย
5. สรุปผลการดำเนินงานต่ออธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ/ผู้ว่าราชการจังหวัด เพื่อออกหนังสือเพื่อรับรองแก่ผู้รับบุตรบุญธรรมเพื่อดำเนินการยกเลิกรับบุตรบุญธรรมต่อไป (หนังสือรับรองมีอายุ 6 เดือนนับแต่วันออกหนังสือ) 6. การจดทะเบียนเลิกรับบุตรบุญธรรม ผู้รับบุตรบุญธรรม สามารถนำหนังสือรับรองที่กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ หรือสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดออกให้ พร้อม ทั้งเอกสารอื่นๆ เช่น สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน ไปดำเนินการจดทะเบียนเลิกรับบุตรบุญธรรมได้ที่สำนักงานเขต /อำเภอแห่งใดก็ได้ • หมายเหตุ :- ผู้ให้ความยินยอม ( มารดาและ/หรือบิดาผู้ให้กำเนิด ) ต้องไปลงลายมือชื่อพร้อมกัน และกรณีบุตรบุญธรรมที่มีอายุเกินกว่า 15 ปี ต้องไปลงลายมือชื่อในการจดทะเบียนเลิกรับบุตรบุญธรรมเช่นกัน
กรณีขอเลิกรับบุตรบุญธรรมที่เป็นเด็กในความอุปการะของกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ และเด็กที่มีคำสั่งศาล 1. ผู้รับบุตรบุญธรรมกรอกรายละเอียดในแบบฟอร์มหมายเลข 1 “แบบขอรับคำปรึกษาการเลิกรับบุตรบุญธรรม” จากนั้นพนักงานเจ้าหน้าที่สอบถามปัญหาในการเลิกรับบุตรบุญธรรมและข้อมูลที่เกี่ยวข้อง รวมถึงให้คำแนะนำปรึกษา ซึ่งต้องบันทึกข้อมูลดังกล่าวในส่วนล่างของแบบฟอร์มหมายเลข 1 เช่นเดียวกัน พร้อมทั้งตรวจสอบเอกสารประกอบการยื่นคำขอ
2. ภายหลังที่ผู้รับบุตรบุญธรรมได้รับคำปรึกษาเพื่อแก้ไขปัญหาและพัฒนาความสัมพันธ์เบื้องต้นของครอบครัวจากพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว ให้ผู้รับบุตรบุญธรรมกรอกแบบฟอร์มหมายเลข 2“หนังสือยืนยันความประสงค์เลิกรับบุตรบุญธรรมก่อนการเยียวยา” • ถ้าผู้รับบุตรบุญธรรม ไม่ประสงค์เลิกรับบุตรบุญธรรมต่อ ให้ติดตามผลเป็นระยะ • แต่ถ้าผู้ขอฯ ประสงค์จะเลิกรับบุตรบุญธรรมตามเดิม ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการตามขั้นตอนของการให้คำปรึกษาเยียวยาต่อไป
3. การให้คำปรึกษาเยียวยา ใช้แบบฟอร์มหมายเลข 3 “แบบรายงานการให้คำปรึกษาเยียวยา” พนักงานเจ้าหน้าที่เป็นผู้ทำหน้าที่สืบเสาะข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสภาพปัญหาการรับบุตรบุญธรรม ดังต่อไปนี้ • สาเหตุของการเลิกรับบุตรบุญธรรม • สภาพจิตใจและสภาพสังคมของบุตรบุญธรรม • ประเมินปัญหาการเลิกรับบุตรบุญธรรม ในการดำเนินการข้างต้น ให้พนักงานเจ้าหน้าที่หารือร่วมกันวางแผนให้คำปรึกษาเยียวยา โดยอาจเชิญผู้เกี่ยวข้องดังต่อไปนี้มาร่วมประชุมปรึกษาหารือได้ตามความเหมาะสมและจำเป็น • ผู้ให้ความยินยอมในการรับบุตรบุญธรรม • ผู้รับบุตรบุญธรรม • บุตรบุญธรรม • ผู้เกี่ยวข้องด้านเด็ก เช่น แพทย์ จิตแพทย์ นักจิตวิทยา หรือนักสังคมสงเคราะห์
ในการให้คำปรึกษาเยียวยาให้คำนึงถึงสวัสดิภาพเด็กและประโยชน์ของเด็กเป็นสำคัญ ซึ่งในบางกรณีอาจจะต้องส่งต่อหน่วยงานทางด้านจิตเวชเด็กและวัยรุ่น เพื่อให้จิตแพทย์บำบัดรักษาในเรื่องพฤติกรรมของเด็ก หรือเพื่อฟื้นฟูความสัมพันธ์ในครอบครัว • หมายเหตุ : - พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องดำเนินงานให้แล้วเสร็จภายใน 60 วัน นับแต่วันได้รับยืนยันจากผู้รับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมว่ายังคงประสงค์เลิกรับบุตรบุญธรรม (นับจากวันที่ที่ลงในแบบฟอร์มหมายเลข 2 ) - กรณีจำเป็น ผอ. ศูนย์อำนวยการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม/พมจ. อาจขยายระยะเวลาได้ 2 ครั้ง ครั้งละไม่เกิน 15 วัน
4. ภายหลังจากที่ได้รับคำปรึกษาเยียวยาเสร็จสิ้นแล้ว ให้ผู้รับบุตรบุญธรรมกรอกรายละเอียดแบบฟอร์มหมายเลข 4 “หนังสือยืนยันการเลิกรับบุตรบุญธรรม ภายหลังการได้รับคำปรึกษาเยียวยาก่อนเลิกรับบุตรบุญธรรมซึ่งยังเป็นเด็ก” • ถ้าผู้รับบุตรบุญธรรม ไม่ประสงค์จะเลิกรับบุตรบุญธรรม ให้สรุปผลดำเนินงานรายงานผู้บังคับบัญชา • ถ้าผู้รับบุตรบุญธรรมยังคงประสงค์จะดำเนินการเลิกรับบุตรบุญธรรม ให้ดำเนินงานขั้นตอนต่อไป * ทั้งนี้ไม่จำเป็นต้องมีผู้ให้ความยินยอมลงลายมือชื่อ
5. สรุปผลการดำเนินงาน ต่ออธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ/ผู้ว่าราชการจังหวัด เพื่อออกหนังสือเพื่อรับรองแก่ผู้รับบุตรบุญธรรมเพื่อดำเนินการร้องขอต่อศาลเพื่อให้มีคำสั่งยกเลิกรับบุตรบุญธรรมต่อไป (หนังสือรับรองมีอายุ 6 เดือนนับแต่วันออกหนังสือ) 6. ผู้รับบุตรบุญธรรมไปดำเนินการทางศาล (ตามมาตรา 31/1 วรรค 2) 7. การจดทะเบียนเลิกรับบุตรบุญธรรม ผู้รับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม สามารถนำคำสั่งศาล พร้อมทั้งเอกสารอื่นๆ เช่น สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน เป็นต้น ไปดำเนินการจดทะเบียนเลิกรับบุตรบุญธรรมได้ที่สำนักงานเขต /อำเภอแห่งใดก็ได้ • *นอกจากนี้กรณีบุตรบุญธรรมที่มีอายุเกินกว่า 15 ปี ต้องไปลงลายมือชื่อในการจดทะเบียนเลิกรับบุตรบุญธรรมเช่นกัน
เอกสารที่ใช้ในการเลิกรับบุตรบุญธรรมเอกสารที่ใช้ในการเลิกรับบุตรบุญธรรม • ทะเบียนบุตรบุญธรรม บิดา/มารดาผู้ให้กำเนิด • สำเนาบัตรประชาชน • สำเนาทะเบียนบ้าน • ทะเบียนสมรส • ทะเบียนหย่า • คำสั่งศาล (ถ้ามี) • ใบเปลี่ยนชื่อ-สกุล (ถ้ามี) บิดา/มารดาบุญธรรม • สำเนาบัตรประชาชน • สำเนาทะเบียนบ้าน • ทะเบียนสมรส • ทะเบียนหย่า • คำสั่งศาล (ถ้ามี) • ใบเปลี่ยนชื่อ-สกุล (ถ้ามี) บุตรบุญธรรม • สูติบัตร • สำเนาบัตรประชาชน • สำเนาทะเบียนบ้าน • ใบเปลี่ยนชื่อ-สกุล (ถ้ามี)
ตัวอย่าง case กรณีเลิกรับบุตรบุญธรรมที่เป็นญาติสืบสายโลหิต ยกกันเอง หรือบุตรของคู่สมรส นาย ก. สมรสกับนาง ข. รับนายเอ ปัจจุบันอายุ 15 ปี ซึ่งเป็นบุตรติดภรรยา เป็นบุตรบุญธรรม ต่อมา นาย ก. ประสงค์จะเลิกรับนายเอ เป็นบุตรบุญธรรม เนื่องจากหย่าร้างกับนาง ข. มารดาผู้ให้กำเนิดเด็ก และแยกทางกันอยู่แล้ว • เข้าสู่กระบวนการเยียวยา สอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับ • สาเหตุ >> หย่าร้างกับมารดาผู้ให้กำเนิดของบุตรบุญธรรม • สภาพจิตใจและสังคม >> บุตรบุญธรรมสภาพจิตใจและสังคมปกติดี รับทราบเกี่ยวกับการหย่าร้างของบิดาบุญธรรมและมารดา • ประเมินสภาพปัญหาการเลิกรับบุตรบุญธรรม >> เนื่องจากบิดาบุญธรรมหย่าร้างกับมารดาผู้ให้กำเนิด ซึ่งโดยปกติบุตรบุญธรรมอยู่กับมารดาผู้ให้กำเนิด และมารดาผู้ให้กำเนิดประกอบอาชีพมั่นคง สามารถเลี้ยงดูเด็กได้ ดังนั้นการเลิกรับบุตรบุญธรรมจึงไม่มีปัญหาใด หมายเหตุ ทะเบียนหย่าได้ระบุเกี่ยวกับการเลี้ยงดูอุปการะบุตรบุญธรรมหรือไม่ • บุคคลที่ต้องมาเข้าสู่กระบวนการเยียวยา • บิดาบุญธรรม • มารดาผู้ให้กำเนิดเด็ก >> ผู้ให้ความยินยอม • บุตรบุญธรรม (เนื่องจากอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปี) >> ผู้ให้ความยินยอม สรุปผลการให้คำปรึกษาเยียวยาเสนอต่ออธิบดีหรือผู้ว่าราชการจังหวัด แล้วแต่กรณี เพื่อใช้ในการพิจารณาออกหนังสือรับรองสำหรับประกอบการขอจดทะเบียนเลิกรับบุตรบุญธรรม ออกหนังสือเพื่อรับรองสำหรับประกอบการขอจดทะเบียนยกเลิกบุตรบุญธรรม ได้รับทะเบียนเลิกรับบุตรบุญธรรม
ตัวอย่าง case กรณีเลิกรับบุตรบุญธรรมที่เป็นเด็กในความอุปการะของกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ และเด็กที่มีคำสั่งศาล นาย A และนาง B คู่สามีภรรยารับ เด็กหญิง C เด็กจากสถานสงเคราะห์เด็กอ่อนพญาไท ต่อมาเด็กหญิง C มีปัญหาพฤติกรรม เช่น ลักขโมย เกเร นาย A และนาง B จึงประสงค์จะเลิกรับบุตรบุญธรรม เข้าสู่กระบวนการเยียวยา สอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับ • สาเหตุ >> เด็กมีปัญหาพฤติกรรม เนื่องจากเพิ่งมาทราบจากเพื่อนบ้านว่าตนไม่ใช่ลูกแท้ แต่เป็นบุตรบุญธรรม จึงถูกล้อเลียน และมีปัญหาพฤตืกรรมเพื่อเรียกร้องความรัก และความสนใจจากพ่อแม่ อีกทั้งพ่อแม่ไม่ค่อยมีเวลาให้บุตรบุญธรรมมากนักเนื่องจากทำงานหนัก ปัญหาเกิดจาก การไม่บอกความจริงกับเด็ก และพ่อแม่ไม่ค่อยมีเวลาให้กับเด็ก • สภาพจิตใจและสังคม >> บุตรบุญธรรมมีสภาพจิตใจที่เปราะบาง จึงแสดงออกด้วยการลักขโมยเงินพ่อแม่ไปแจกเพื่อน เพื่อต้องการความรักและการยอมรับ • ประเมินสภาพปัญหาการเลิกรับบุตรบุญธรรม >> เมื่อเลิกรับบุตรบุญธรรม เด็กจะถูกส่งคืนสู่สถานสงเคราะห์ ซึ่งเด็กมีสภาพจิตใจที่งเปราะบางมาก และอาจจะไม่สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่ในสถานสงเคราะห์ได้ การเยียวยา ครั้งที่ 1 เยี่ยมบ้านเด็กและครอบครัวประเมินสภาพปัญหา และส่งต่อเด็กและครอบครัวเข้ารับการบำบัดที่สถาบันจิตเวชเด็กและ วัยรุ่นราชนครินทร์ (ครอบครัวมาพบแพทย์ตามนัดจ่อเนื่อง) การเยียวยา ครั้งที่ 2 เยี่ยมบ้านเด็กและครอบครัว ประเมินสภาพหลังจากเข้ารับการบำบัดฟื้นฟูที่สถาบันจิตเวชเด็กและ วัยรุ่นราชนครินทร์ การเยียวยา ครั้งที่ 3 พาเด็กและครอบครัวเยี่ยมชมสถานสงเคราะห์เด็กหญิงบ้านราชวิถี • เมื่อผ่านกระบวนการเยียวยาแล้ว นาย A นาง B และเด็กหญิง C มีความเข้าใจกันมากขึ้น และความสัมพันธ์ในครอบครัวดีขึ้น เนื่องจาก รู้ถึงสาเหตุพฤติกรรมเด็ก และพยายามปรับตัวเข้าหากันภายในครอบครัว จึงไม่ประสงค์จะเลิกรับบุตรบุญธรรมแล้ว จึงมาลงนามในแบบฟอร์มที่ 4 เพื่อยืนยันว่าไม่ประสงค์จะเลิกรับบุตรบุญธรรมแล้ว • การติดตามผล >> ฝ่ายติดตามผลฯ ได้เชิญครอบครัวเข้าร่วม โครงการสานสัมพันธ์สู่ความเข้าใจ ครั้งที่ 3 (2556) เป็นครั้งแรก เด็กและครอบครัวได้ทำความรู้จักกับครอบครัวบุญธรรมครอบครัวอื่น และเข้าร่วมโครงการสานสัมพันธ์สู่ความเข้าใจ ครั้งที่ 4 (2557) เด็กมีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเจน ครอบครัวเข้าสู่เครือข่ายครอบครัวบุญธรรม
สถิติการเลิกรับบุตรบุญธรรม ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2554- ปัจจุบัน
การติดต่อ • www.adoption.dsdw.go.th ฝ่ายติดตามผลการรับบุตรบุญธรรม แบบฟอร์มเยียวยา • เครือข่ายครอบครัวบุญธรรม เข้าได้ที่ facebook โครงการ สานสัมพันธ์ ครั้งที่/