360 likes | 794 Views
ภาวะฉุกเฉินทางหัวใจ. สุนีย์ เต ชะธ นะชัย พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ. หัวใจ (HEART). ปอดขวา. หัวใจมีขนาดเท่ากำปั้นของคนผู้นั้น ตั้งอยู่ในทรวงอก ระหว่างปอดทั้งสองข้าง ประมาณ 2 ใน 3 ของหัวใจจะอยู่ทาง ด้านซ้าย. หัวใจประกอบด้วยอะไรบ้าง. หัวใจแบ่งออกตามลักษณะ (กายวิภาค) และ หน้าที่ได้ ดังนี้
E N D
ภาวะฉุกเฉินทางหัวใจ สุนีย์ เตชะธนะชัย พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
หัวใจ(HEART) ปอดขวา • หัวใจมีขนาดเท่ากำปั้นของคนผู้นั้น ตั้งอยู่ในทรวงอก ระหว่างปอดทั้งสองข้าง ประมาณ 2 ใน 3 ของหัวใจจะอยู่ทางด้านซ้าย
หัวใจประกอบด้วยอะไรบ้างหัวใจประกอบด้วยอะไรบ้าง หัวใจแบ่งออกตามลักษณะ (กายวิภาค) และหน้าที่ได้ ดังนี้ • เยื่อหุ้มหัวใจ เป็นเยื่อบางๆใสๆห่อหุ้มหัวใจไว้ • หลอดเลือดหัวใจ จะอยู่บริเวณภายนอกหัวใจ ( เยื่อหุ้มหัวใจ ) ส่งแขนงเล็กๆลงไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัว-ใจ • กล้ามเนื้อหัวใจ เป็นส่วนที่ทำหน้าที่ในการบีบตัวไล่เลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย และขยายตัวเพื่อรับเลือดกลับเข้าสู่หัวใจ • ลิ้นหัวใจ และผนังกั้นห้องหัวใจ
ห้องต่างๆภายในหัวใจ หัวใจห้องบนซ้าย หัวใจห้องบนขวา หัวใจคนเรามี 4 ห้อง แบ่งซ้าย-ขวาโดยผนังของกล้ามเนื้อหัวใจ และแบ่งเป็นห้องบน-ล่างโดยลิ้นหัวใจ หัวใจห้องล่างขวา หัวใจห้องล่างซ้าย
หน้าที่ของหัวใจ • หัวใจมีหน้าที่สูบฉีดโลหิตไปเลี้ยงร่างกาย หัวใจซีกขวาจะรับเลือดซึ่งมีออกซิเจนน้อยและส่งไปยังปอดเพื่อไปรับออกซิเจนและถ่ายเทคาร์บอนไดออกไซด์ที่ปอด และกลับจากปอดเข้าสู่หัวใจข้างซ้ายและส่งไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย
อัตราการเต้นของหัวใจ (ชีพจร)
ภาวะฉุกเฉินทางหัวใจ • ภาวะฉุกเฉินทางหัวใจ คือ ภาวะการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นอย่างเฉียบพลันและมีอาการรุนแรงที่มีสาเหตุมาจากโรคหัวใจ และผู้ป่วยอาจเสียชีวิตได้ถ้าไม่ได้รับการรักษาทันท่วงที
ประเภทของโรคหัวใจ • โรคเยื่อหุ้มหัวใจ • โรคลิ้นหัวใจ ได้แก่ ลิ้นหัวใจตีบ หรือ ลิ้นหัวใจรั่ว • โรคหลอดเลือดหัวใจ เกิดได้จากหลายสาเหตุ แต่ที่พบได้บ่อยที่สุด เกิดจากการสะสมของไขมันที่ผนังหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดหัวใจตีบและตันในที่สุด • โรคกล้ามเนื้อหัวใจ เกิดจากกล้ามเนื้อหัวใจทำงานผิดปกติไม่ว่าจะบีบ หรือคลายตัว ซึ่งโรคที่พบบ่อยคือ โรคกล้ามเนื้อหัวใจเสีย เนื่องจากความดันโลหิตสูงที่ไม่ได้รับการรักษามานาน กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดหรือกล้ามเนื้อหัวใจตายบางส่วน เนื่องจากหลอดเลือดหัวใจตีบหรือตัน เป็นต้น
อาการผิดปกติสำคัญที่บ่งชี้ว่าน่าจะมีสาเหตุมาจากโรคหัวใจ • เจ็บหน้าอก • หอบ เหนื่อยง่ายผิดปกติ • ใจสั่น • ขาบวม • เป็นลม วูบ
อาการเจ็บหน้าอก • พบบ่อยในผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดจากหลอดเลือดตีบหรือตัน เนื่องจากมีไขมันอุดตันในหลอดเลือดหัวใจ • จะมีลักษณะเฉพาะคือ จะมีอาการเจ็บหรือแน่นบริเวณกลางหน้าอกเหมือนมีอะไรหนักๆ มาทับไว้ไม่ให้หน้าอกขยายตัว อาการนี้มักจะเป็นเวลาออกกำลังกาย • บางรายอาการเจ็บมีการร้าวขึ้นไปที่คอ ขึ้นไปที่กรามทั้ง 2 ข้าง ที่ไหล่ทั้ง 2 ข้าง หรืออาจจะเป็นเฉพาะข้างซ้ายข้างเดียวก็ได้ และอาจจะร้าวลงไปที่แขนจนถึงปลายแขนได้
อาการเจ็บหน้าอก • อาการเจ็บหน้าอกเนื่องจากเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ จะมีอาการเจ็บที่มีลักษณะเหมือนถูกมีดแทงหรือเป็นอาการเจ็บแปลบๆ • อาการของเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบจะดีขึ้นในท่านั่งและเมื่อเอนตัวไปข้างหน้า แต่อาการเจ็บหน้าอกจะมากขึ้นถ้านอนหรือเมื่อหายใจเข้าแรงๆ • ส่วนอาการเจ็บหน้าอกเนื่องจากการปริของผนังหลอดเลือดแดงใหญ่เอออต้า มักจะมีอาการเจ็บที่รุนแรงมากกว่า ลักษณะเหมือนมีการฉีกขาดของเนื้อเยื่อภายในและอาจจะเจ็บทะลุไปจนถึงด้านหลังก็ได้
หอบ เหนื่อยง่ายผิดปกติ • อาการหอบ เหนื่อยง่าย เวลาออกแรง เช่น เดิน วิ่ง ทำงาน มีสาเหตุมากมาย เช่น โลหิตจาง(ซีด) โรคอ้วน ความดันโลหิตสูง โรคปอด ต่อมไทรอยด์เป็นพิษ โรคหัวใจ ภาวะหัวใจล้มเหลว (heart failure) แม้แต่ความวิตกกังวล ก็ทำให้เหนื่อยได้เช่นกัน • อาการเหนื่อยง่ายจากโรคหัวใจ และ ภาวะหัวใจล้มเหลวนั้น จะเหนื่อย หอบ หายใจเร็ว โดยเป็นเวลาออกแรง แต่ในรายที่เป็นรุนแรง จะเหนื่อยในขณะพัก บางรายจะเหนื่อยมากจนนอนราบไม่ได้ (นอนแล้วจะเหนื่อย ไอ) ต้องนอนศีรษะสูงหรือ นั่งหลับ
โรคหอบจากอารมณ์ (Hyperventilation Syndrome) • คือการที่ผู้ป่วยมีอาการหายใจหอบเร็วและลึกอยู่นาน จนทำให้เกิดความผิดปกติของค่าสารเคมีในเลือด ทำให้มีอาการต่างๆ ทางร่างกายติดตามมา • อาการดังกล่าว มักสัมพันธ์กับภาวะวิตกกังวล หรือได้รับความกดดันทางจิตใจ ก่อนหน้าที่จะมีอาการ ซึ่งอาการดังกล่าว เกิดขึ้นเป็นครั้งคราว และไม่มีอันตรายถึงแก่ชีวิต หากไม่ได้เกิดจากสาเหตุทางกายอื่นๆ • รักษาอาการหายใจหอบ โดยการพยายามหายใจให้ช้าลง หรือให้หายใจในถุงกระดาษที่ครอบทั้งปากและจมูก รวมทั้งการได้รับยาในกลุ่มยาคลายกังวล จะช่วยให้อาการหายใจหอบทุเลาลง
ใจสั่น • ใจสั่นในความหมายแพทย์หมายถึง การที่หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ ผิดจังหวะ หรือ เต้นไม่สม่ำเสมอ เต้นๆหยุดๆ อาการดังกล่าวอาจพบ ได้ในคนปกติ โรคหัวใจ และโรคอื่นๆที่มีผลต่อหัวใจ เช่น ต่อมไทรอยด์เป็นพิษ โรคปอด แพทย์จะซักประวัติละเอียดถึงลักษณะของ อาการใจสั่น เพื่อให้แน่ใจว่าเกิดจากหัวใจเต้นผิดจังหวะหรือไม่ บ่อยครั้งที่ผู้ป่วยรู้สึก"ใจสั่น"โดยหัวใจเต้นปกติ • การตรวจวินิจฉัยกลุ่มอาการใจสั่นเป็นเรื่องที่ทำได้ไม่ง่ายนัก เนื่องจากผู้ป่วยมักมีอาการชั่วขณะ เมื่อมาพบแพทย์อาการดังกล่าว ก็หายไปแล้ว แพทย์จึงไม่สามารถให้การวินิจฉัยได้ว่าเกิดจากหัวใจเต้นผิดจังหวะหรือไม่ ดังนั้นท่านควรศึกษาวิธีจับชีพจร เมื่อเกิดอาการ ว่าหัวใจเต้นกี่ครั้งในเวลา 1 นาที และสม่ำเสมอหรือไม่ ข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้แพทย์ให้การวินิจฉัยได้รวดเร็วขึ้น
ขาบวม • อาการขาบวมเกิดจากการที่ร่างกายมีเกลือ(โซเดียม)และน้ำคั่งอยู่ในร่างกาย โดยอาจเกิดจากโรคไต (ขับเกลือไม่ได้) โรคหลอด เลือดดำอุดตัน (การไหลเวียนไม่สะดวก) ขาดอาหาร โปรตีนในเลือดต่ำ โรคตับ ยาและฮอร์โมนบางชนิด โรคหัวใจ • การบวมในผู้ป่วยโรคหัวใจเกิดจากการที่หัวใจด้านขวาทำงานลดลง เลือดจากขาไม่สามารถ ไหลเทเข้าหัวใจด้านขวาได้โดยสะดวก จึงมีเลือดค้างอยู่ที่ขามากขึ้น • โรคเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบเรื้อรังก็ให้อาการเช่นนี้ได้เช่นกัน ดังนั้นเมื่อมีอาการขาบวม แพทย์จำเป็นต้องตรวจหลายระบบ เพื่อหาสาเหตุ จึงให้การรักษาได้ถูกต้อง
เป็นลม วูบ • วูบคือ อาการเป็นลมเกือบหมดสติ หรือบางรายหมดสติไป การเป็นลมหมดสติ มีตั้งแต่เป็นลมธรรมดา จนถึงเป็นลมเนื่องจากความผิดปกติขั้นรุนแรงของหัวใจ • เป็นภาวะที่ร่างกายสูญเสียความรู้สึกตัวและแรงของกล้ามเนื้อชั่วคราว อันเป็นผลมาจากเลือดไปเลี้ยงก้านประสาทสมองลดลง ซึ่งมีปัจจัยเกี่ยวข้องจากปริมาณเลือดที่ออกจากหัวใจและแรงต้านทานของหลอดเลือดทั่วร่างกาย อาการวูบนี้มักจะฟื้นกลับเป็นปกติได้เอง และอาจเป็นซ้ำได้อีก
โรคหัวใจที่ควรทราบ • โรคหัวใจขาดเลือด • โรคหัวใจล้มเหลว
โรคหัวใจขาดเลือด • เกิดจากเส้นโลหิตที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ เกิดอาการตีบ ทำให้เลือด ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจไม่ได้ กล้ามเนื้อหัวใจ ขาดออกซิเจนชั่วขณะ เกิดอาการเจ็บหน้าอก อาการจะทุเลาเมื่อพัก และถ้าเส้นเลือดที่ตีบ เกิดอุดตันอย่างเฉียบพลัน จะทำให้เกิด กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ทำให้เกิด อาการเจ็บหน้าอก อย่างรุนแรง อาจมีอาการ หัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือหัวใจหยุดเต้น และเสียชีวิตแบบปัจจุบันทันด่วน ก่อนที่จะไปถึงโรงพยาบาลได้
โรคหัวใจขาดเลือด • อาการเจ็บหน้าอกจากหลอดเลือดหัวใจตีบ เกิดจากการเสียสมดุล ของการใช้ออกซิเจน ของกล้ามเนื้อหัวใจ • จะมีอาการเจ็บหน้าอก เมื่อมีการออกกำลัง เพราะกล้ามเนื้อหัวใจ ต้องการออกซิเจนมากขึ้น แต่ปริมาณเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจมีจำกัด เนื่องจากหลอดเลือดตีบ อาการจะดีขึ้นเมื่อพัก ความต้องการออกซิเจน ของกล้ามเนื้อหัวใจลดลง อาการเจ็บหน้าอกมักจะเป็นไม่เกิน 10 นาที • เมื่อหลอดเลือดตีบมากขึ้น ระยะเวลาที่ออกกำลังจะน้อยลง อาการเจ็บหน้าอก จะเกิดเร็วขึ้นตามลำดับ และถ้ามีอาการอุดตัน ของหลอดเลือดหัวใจที่ตีบ กล้ามเนื้อหัวใจที่หลอดเลือดตันไปเลี้ยง จะตาย อาการเจ็บหน้าอก จะเป็นอยู่นาน และต่อเนื่องมากกว่า 15 นาทีขึ้นไป และอาการจะไม่ทุเลา แม้จะไม่ได้ทำกิจกรรมใดๆ เลย
โรคหัวใจขาดเลือด สาเหตุของโรคหัวใจขาดเลือด มักจะเกิดจากปัจจัยเสี่ยงหลายอย่าง ได้แก่ • เพศชาย มีโอกาสเกิดโรคหัวใจขาดเลือด มากกว่าเพศหญิง 3-5 เท่า • อายุ ในเพศชาย มักจะเริ่มตั้งแต่ อายุ 35 ปีขึ้นไป ในเพศหญิงจะเกิดช้ากว่า คือ มักจะเกิดในวัยหมดประจำเดือน อายุประมาณ 50-55 ปี • สูบบุหรี่ • ไขมันในเลือดสูง • โรคความดันโลหิตสูง • โรคเบาหวาน • อ้วนและไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย • เครียดง่าย เครียดบ่อย • มีประวัติโรคหัวใจขาดเลือดของคนในครอบครัว
โรคหัวใจขาดเลือด การรักษาโรคหัวใจขาดเลือด • การรักษาด้วยการใช้ยา • การขยายเส้นเลือดหัวใจโดยบอลลูน • การรักษาโดยการผ่าตัดต่อเส้นเลือดหัวใจใหม่
โรคหัวใจล้มเหลว หรือ หัวใจวาย • คือภาวะที่หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือด ไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายได้เพียงพอ หรือ • ภาวะที่หัวใจไม่สามารถคลายตัว หรือขยายตัว เพื่อรองรับเลือดได้ปกติ ทำให้เกิดความดันเลือดในช่องปอดมากขึ้น เกิดการคั่งของเลือดในปอดมากขึ้น ทำให้มีอาการเหนื่อยง่าย และอาจก่อให้เกิดอาการบวมของร่างกายได้
โรคหัวใจล้มเหลว หรือ หัวใจวาย สาเหตุของภาวะหัวใจล้มเหลว แบ่งออกได้เป็น 2 อย่าง คือ 1.หัวใจต้องทำงานหนักเกินกำลัง จาก • ภาวะลิ้นหัวใจรั่ว • ปริมาตรของเลือดในระบบไหลเวียนมากเกินไป • มีความพิการของหัวใจแต่กำเนิด 2.มีความผิดปกติในการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจ เช่น • กล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรงโดยไม่ทราบสาเหตุ • กล้ามเนื้อหัวใจตาย • กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ 3.มีความผิดปกติของเยื่อบุหัวใจ • มีน้ำ เลือด หรือ หนองภายในช่องเยื่อหุ้มหัวใจ • เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ
โรคหัวใจล้มเหลว หรือ หัวใจวาย อาการโรคหัวใจล้มเหลว • ไอตอนกลางคืน อาจมีเสมหะเป็นฟองสีชมพูร่วมด้วย • หอบเหนื่อยตอนกลางคืน • นอนราบหายใจไม่สะดวก • หอบเหนื่อยง่ายหลังออกแรง • ทำงานหนักไม่ได้ • อ่อนเพลีย เหนื่อย เวียนศีรษะ • ปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืน • บวมที่ปลายเท้า ข้อเท้า และกดบุ๋ม
ภาวะเจ็บแน่นหน้าอกจากโรคหัวใจภาวะเจ็บแน่นหน้าอกจากโรคหัวใจ เมื่อมีอาการเจ็บหน้าอก อาจแสดงถึงภาวะดังนี้ • กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด • กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน • โรคเกี่ยวกับทางเดินอาหาร ถุงน้ำดี แผลในกระเพาะอาหาร ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถแยกอาการเจ็บหน้าอก ออกจากอาการจุกเสียดท้อง และไม่มีอาการแสดงอื่นๆ เกี่ยวกับโรคหัวใจ • โรคปอดบางชนิด โรคถุงลมปอดแตก ปอดอักเสบ หลอดเลือดปอดอุดตัน
หากผู้ป่วยมีประวัติเจ็บหน้าอก ควรซักประวัติอะไรบ้าง • เริ่มต้นเจ็บเมื่อใด • มีอาการมากขึ้นเมื่อทำอะไรหรืออยู่ในท่าไหน • ลักษณะการเจ็บร้างไปที่ใด • ความรุนแรงของการเจ็บ(ให้บอกระดับคะแนน 1-10 ) • ระยะเวลาที่เจ็บ
การดูแลช่วยเหลือฉุกเฉิน ************** ผู้ป่วยที่รู้ประวัติว่าเป็นโรคหัวใจ • ประเมินผู้ป่วยขั้นต้น • ซักประวัติที่เกี่ยงข้องโดยตรง • จัดท่าให้อยู่ในท่าที่สบาย • ให้ออกซิเจน • วัดสัญญาณชีพ • ซักประวัติอาการเจ็บหน้าอก • ประวัติการรักษา
การดูแลช่วยเหลือฉุกเฉินการดูแลช่วยเหลือฉุกเฉิน • กรณีเคยได้รับยาอมใต้ลิ้น และยายังอยู่กับตัวผู้ป่วย - ความดันโลหิต Systolic มากกว่า 100 : ให้ยาอมใต้ลิ้น 1 เม็ด และให้ซ้ำใน 3-5 นาทีให้ได้ไม่เกิน 3 ครั้ง (อย่าลืมถามผู้ป่วยก่อนว่าได้อมยาเองแล้วหรือยัง ถ้าอมครบ 3 เม็ดแล้วไม่ให้อีก )ต้องประเมินสัญญาณชีพทุกครั้งหลังให้ยา - ความดันโลหิต Systolic น้อยกว่า 100 ไม่ให้ยาให้ประเมิน focus assessment ต่อไป • กรณีไม่เคยได้รับยาให้ประเมินภาวะปกติของหัวใจต่อไปและสังเกตอาการ • นำผู้ป่วยส่งส่งโรงพยาบาลอย่างทันท่วงที
การให้ยาnitroglycerin • ตรวจสอบชื่อยา • ห้ามใช้ในผู้ป่วยที่มีความดันโลหิต Systolic ต่ำว่า 100 ,ผู้ป่วยบาดเจ็บศีรษะ, ทารกและเด็ก ,ผู้ป่วยที่ได้รับยาเต็มขนาด ( 3 เม็ด )ก่อนที่เวชกรฉุกเฉินจะไปถึง • ต้องได้รับคำสั่งจากแพทย์ผู้ดูแลระบบ • ต้องมั่นใจว่าเป็นยาดังกล่าวจริง ผู้ป่วยไม่ผิดตัว ให้ถูกทางและผู้ป่วยต้องรู้สึกตัว • ตรวจสอบความดันโลหิตภายใน 2 นาทีหลังให้ยา • บันทึกการปฏิบัติงานและเวลาที่ให้ยา
การให้ยาnitroglycerin • ฤทธิ์ของยา ทำให้เส้นเลือดขยายตัว และลดภาระการทำงานของหัวใจ • ผลข้างเคียง ความดันโลหิตต่ำ ปวดศีรษะ และอัตราการเต้นของชีพจรเปลี่ยนแปลง • การประเมินซ้ำ - เฝ้าดูความดันโลหิต - สอบถามอาการเจ็บหน้าอกว่าลดลงหรือไม่ - ขอคำสั่งจากแพทย์ก่อนให้ยาซ้ำ - บันทึกผลการประเมินซ้ำ
คำถาม ? ANY QUESTION
THE END • T • H • A • N • K • Y • O • U