280 likes | 412 Views
การจัดการความรู้เพื่อการพัฒนาทักษะ เกษตรกรผู้เพาะปลูกถั่วอะซูกิ Knowledge Management of Development Skills for Azuki Agriculturists. สถานการณ์ ที่มาและความสำคัญ.
E N D
การจัดการความรู้เพื่อการพัฒนาทักษะเกษตรกรผู้เพาะปลูกถั่วอะซูกิKnowledge Management of Development Skills for AzukiAgriculturists
สถานการณ์ ที่มาและความสำคัญ การเกษตรเป็นภาคเศรษฐกิจพื้นฐานของไทยเนื่องจากกระบวนการผลิตสินค้าเกษตร มีบทบาทที่สำคัญอย่างยิ่งต่อการใช้ การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศ นอกจากนั้นภาคการเกษตรยังมีบทบาทต่อเศรษฐกิจส่วนรวมหลายประการ เช่น เป็นอาหารและเป็นวัตถุดิบพื้นฐานของอุตสาหกรรมหลายประเภท และมีบทบาทต่อธุรกิจอื่นๆที่มีความสัมพันธ์กับการเกษตรตั้งแต่การค้า และการผลิตปัจจัยการผลิต ไปจนถึงการส่งออกสินค้าเกษตร
มูลนิธิโครงการหลวงเป็นอีกหนึ่งองค์กรที่มีผลผลิตเป็นสินค้าเกษตร มูลนิธิโครงการหลวงได้เริ่มต้นขึ้นเมื่อปีพ.ศ.2512 เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเล็งเห็นถึงปัญหาการปลูกฝิ่นของชาวเขา จึงทรงมีพระราชดำริว่า ถ้าจะให้ชาวเขาเลิกปลูกฝิ่นก็ต้องหาพืชอื่นที่ขายได้ราคาดีกว่าและมีความเหมาะสมที่จะปลูกในที่สูง มาให้ชาวเขาปลูกทดแทนเป็นรายได้เสียก่อน จึงจะสามารถเลิกปลูกฝิ่นได้ พืชทดแทนที่โครงการหลวงได้นำเข้ามาทำการทดลองปลูกบนที่สูงมีหลายชนิด ทั้งพันธุ์ไม้ ผลไม้ พืชเมืองหนาวต่างๆมีจำหน่ายตลอดปี สามารถส่งออกต่างประเทศ ลดการนำเข้าจากต่างประเทศได้อีกทางหนึ่ง
ถั่วอะซูกิ เป็นพืชที่มูลนิธิโครงการหลวงกำลังส่งเสริมให้มีการพัฒนา เพิ่มผลผลิตส่งให้ตลาด และสามารถขยายตลาดเติบโตได้ในอีก 4-5 ปีข้างหน้า ซึ่งเป็นพืชใหม่และเป็นพืชตระกูลถั่วที่ยังไม่ได้เข้าอยู่ในระบบตลาดเหมือนถั่วชนิดอื่นๆ ถั่วอะซูกินั้นถูกนำเข้ามาจากประเทศญี่ปุ่นใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมการผลิตแป้งถั่ว ผลผลิตถั่วอะซูกิที่ได้นำไปจำหน่ายให้แก่บริษัทญี่ปุ่น เพื่อนำไปใช้ในอุตสาหกรรม เช่น ทำอาหารโดยการแปรรูปเป็นแป้งถั่วเพื่อทำไส้ขนม อุตสาหกรรมเครื่องสำอางและยา เป็นต้น ประโยชน์ในทางการเกษตร คือ ช่วยปรับปรุงบำรุงดิน
จากการสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญทำให้ทราบว่า ปัจจุบันเกษตรกรมีความรู้ความชำนาญ ประสบการณ์มากน้อยไม่เท่ากัน ทำให้ความสามารถในการผลิตถั่วอะซูกิได้ผลผลิตที่แตกต่างกัน มีทั้งเกษตรกรที่มีผลผลิตต่อไร่สูง และเกษตรกรที่มีผลผลิตต่อไร่ต่ำ ทำให้รายได้จากการขายน้อย หรือขาดทุน เกษตรกรบางรายเป็นหนี้เนื่องจากการลงทุนที่ค่อนข้างสูง แต่ผลผลิตที่ได้ไม่เป็นไปตามคาด พื้นที่ที่มีการปลูกถั่วอะซูกิในความรับผิดชอบของมูลนิธิโครงการหลวงมี 4 แห่งคือ ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงปางอุ๋ง, ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงขุนแปะ, ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแกน้อย, ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงหนองเขียว ซึ่งแต่ละพื้นที่มีสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน กลุ่มเกษตรกรเป็นชาวเขาชนเผ่าต่างกัน มีขนบธรรมเนียมวัฒนธรรมในการเพาะปลูกไม่เหมือนกัน
แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง - แนวคิดข้อมูลเบื้องต้นถั่วอะซูกิ มูลนิธิโครงการหลวงได้ทำการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ถั่วอะซูกิพันธุ์เดิมชื่อ Erimo ซึ่งเป็นพันธุ์ถั่วอะซูกิพันธุ์ดีที่นำเข้ามาจากประเทศญี่ปุ่นเมื่อปี พ.ศ. 2539 โดยมูลนิธิโครงการหลวง เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรบนที่สูงปลูกเป็นการค้า แต่เนื่องจากถั่วอะซูกิพันธุ์ Erimo ที่นำเข้ามาปลูกเป็นครั้งแรกของประเทศไทยได้แสดงออกของความแปรปรวนของลักษณะพันธุกรรม เช่น อายุออกดอก ความสูงของลำต้น สีดอก สีฝัก ฯลฯ จึงได้ทำการคัดเลือกพันธุ์จากประชากรของถั่วพันธุ์ Erimoเพื่อพัฒนาเป็นอะซูกิสายพันธุ์ใหม่ สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ดินควรเป็นดินร่วนเหนียว มีการระบายน้ำดี มีความอุดมสมบูรณ์สูงระดับความเป็นกรด-เบส(pH) เท่ากับ 6.0-6.8 พื้นที่ปลูกควรมีความสูงจากน้ำทะเลประมาณ 600-1,200 เมตร ในช่วงการเจริญเติบโตควรมีปริมาณน้ำเพียงพอโดยเฉพาะในระยะการออกดอก ติดฝัก อุณหภูมิในช่วงฤดูปลูกประมาณ 15-25 องศาเซลเซียส
- แนวคิดการเกษตรแบบยั่งยืน การเกษตรแบบยั่งยืนคือ การเกษตรที่เกื้อกูลทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม ขณะที่สามารถรักษาปรับปรุงสภาพแวดล้อม เน้นหลักการผลิตที่เหมาะสมกับระบบนิเวศโดยใช้ทรัพยากรในการผลิตอย่างประหยัดไม่ส่งผลเสียต่อสภาพแวดล้อมทั้งระยะสั้นและระยะยาว
- แนวคิดการจัดการความรู้ ดร.ณพศิษฏ์ จักรพิทักษ์ ได้ให้นิยามคำว่า การจัดการความรู้ หมายถึง การบริหารจัดการองค์กรโดยเน้นการใช้ความรู้และประสบการณ์ของคนทำงาน รวมทั้งสาร สนเทศที่จำเป็นต้องใช้ในการทำงานเพื่อเพิ่มผลผลิตแก่องค์กรให้สามารถแข่งขันได้ในอุตสาหกรรมนั้นๆเพื่อการดำรงอยู่ขององค์กรและชีวิตและครอบครัวของพนักงานร่วมกัน และได้แบ่งกระบวนการจัดการความรู้ไว้ 6 กิจกรรม ดังนี้ 1) การตรวจสอบและระบุหัวข้อความรู้ 2) การสร้างกรอบแนวคิดในการบริหาร 3) การวิเคราะห์และสังเคราะห์ความรู้ 4) การสร้างระบบสารสนเทศในการจัดการความรู้ 5) การจัดกิจกรรมในการจัดการความรู้ 6) การวัดประเมินผลการจัดการความรู้
- มาตรฐาน ISO 12207 งานวิจัยนี้นำมาตรฐาน ISO 12207 มาปรับเป็นแนวทางในกระบวนการที่จะทำการวิจัยที่เป็นการเพิ่มทักษะคน จะประกอบไปด้วย กิจกรรม และงานที่จำเป็นต้องทำสำหรับกระบวนการนั้นๆ ในงานวิจัยนี้ได้เลือกดำเนินการ 15 กิจกรรม เพื่อการหาองค์ความรู้ การเลือกเครื่องมือ/สื่อ กิจกรรมที่เหมาะสมในการจัดการความรู้
ทบทวนวรรณกรรม อุทัยวรรณ ภู่เทศ,(2551) ได้ศึกษากระบวนการจัดการความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้สารเคมีในการเพาะปลูกของเกษตรกร โดยเครื่องมือที่ใช้เป็นการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก การสนทนากลุ่ม เข้าร่วมกิจกรรมของชุมชน เพื่อให้ได้พฤติกรรมการใช้สารเคมีทั้งก่อนและหลัง พบว่าพฤติกรรมของเกษตรกร7 ขั้นตอน คือ การรับความรู้จากภายนอก การเป็นบุคคลเรียนรู้ การเชื่อมความรู้ภายนอกเข้ากับภูมิปัญญาดั้งเดิมของชุมชน การทดลองปฏิบัติจริง การเลือกสรรความรู้ที่สามารถประยุกต์ใช้ได้ การจัดแหล่งเรียนรู้สำหรับบุคคลภายนอก และการจัดเก็บข้อมูล
พร้อมทั้งมีการนำวิธี IPM ที่เน้นการบริหารจัดการสภาพการเพาะปลูกให้มีความเหมาะสมทั้งการเลือกใช้เมล็ดพันธุ์ การจัดการดิน น้ำ ปุ๋ยให้พอเหมาะ ลดการใช้ปุ๋ยเคมี เพื่อการจัดการระบบนิเวศที่สมดุล ลดการใช้สารเคมี
วันธะนา สานุสิทธิ์, (2553) ได้ศึกษาทำการวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนเชิงเปรียบเทียบของการปลูกข้าวโดยใช้สารเคมีและสารชีวภาพของเกษตรกรผู้ปลูกข้าว โดยการสัมภาษณ์เกษตรกรจำนวน 125 ราย พบว่าเกษตรกรที่ใช้สารเคมี มีต้นทุนรวมเฉลี่ยทั้งหมดไร่ละ 7,450 บาท ผลผลิตต่อไร่ 70ถัง/ไร่ ขายได้กิโลกรัมละ 8.40 บาท เกษตรกรขาดทุนสุทธิไร่ละ 1,990 บาท และต้นทุนการปลูกข้าวโดยใช้สารชีวภาพมีต้นทุนรวมเฉลี่ยทั้งหมดไร่ละ 4,600 บาท ผลผลิตต่อไร่ 60ถัง/ไร่ ขายได้กิโลกรัมละ 10 บาท เกษตรกรได้กำไรสุทธิไร่ละ 1,400 บาท สาเหตุของการขาดทุนของเกษตรกรที่ใช้สารเคมี คือมีการใช้แรงงานคนในครัวเรือนมากทำให้ต้นทุนที่ไม่เป็นตัวเงินสูง แต่รายรับที่ได้จากการขายข้าวโดยใช้สารเคมีไร่ละ 5,460 บาท แต่เกษตรกรที่ใช้สารชีวภาพมีรายรับจากการขายข้าวไร่ละ 6,000 บาท
สริตา อยู่พุ่ม, (2548) ได้ทำการวิเคราะห์ปฏิกิริยาร่วมระหว่างพันธุกรรมและสภาพแวดล้อมของถั่วอะซูกิ ที่ได้ทำการทดลองในสภาพแวดล้อมต่างกัน 4 แห่งคือ สถานีวิจัยและศูนย์ฝึกอบรมการเกษตรแม่เหียะ สถานีเกษตรหลวงปางดะ ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงหนองเขียว และศูนย์พัฒนาโครงการหลวงขุนแปะ โดยใช้สายพันธุ์ถั่วอะซูกิที่คัดเลือกจากพันธุ์ Erimoโดยวิธี line selection จำนวน 18 สายพันธุ์ ผลจากการวิเคราะห์ความแปรปรวนรวมของทุกสภาพแวดล้อม พบความแตกต่างของสายพันธุ์ในลักษณะน้ำหนัก 100 เมล็ดซึ่เกิดจากความแตกต่างของสายพันธุ์ต่อสภาพแวดล้อม ส่วนสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับการปลูกถั่วอะซูกิครั้งนี้คือ สถานีเกษตรหลวงปางดะ รองลงมาได้แก่ สถานีวิจัยและศูนย์ฝึกอบรมการเกษตรแม่เหียะ ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงขุนแปะ และศูนย์พัฒนาโครงการหลวงหนองเขียวตามลำดับ ถั่วอะซูกิทุกสายพันธุ์รวมทั้งสายพันธุ์ Erimoมีเสถียรภาพในการให้ผลผลิตเฉลี่ยไม่ต่างกัน และมีความสามารถในการปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมแบบทั่วไป
ขอบเขตของข้อมูล 1.1 สำนักงานโครงการหลวงเชียงใหม่, ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงปางอุ๋ง, ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงขุนแปะ, ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแกน้อย, ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงหนองเขียว 1.2 เจ้าหน้าที่ในสำนักงานโครงการหลวงเชียงใหม่, เจ้าหน้าที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงปางอุ๋ง, เจ้าหน้าที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงขุนแปะ, เจ้าหน้าที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแกน้อย, เจ้าหน้าที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงหนองเขียว ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านวิธีการเพาะปลูก ดูแลถั่วอะซูกิ 1.3 กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกถั่วอะซูกิในเขตพื้นที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงปางอุ๋ง, ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงขุนแปะ, ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแกน้อย, ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงหนองเขียว
วิธีวิจัยตามมาตรฐาน ISO 12207 1.การศึกษาและเก็บความต้องการ (ENG1 : Requirement Elicitation) - ศึกษาข้อมูลถั่วอะซูกิเบื้องต้น,วิธีการเพาะปลูกดูแล,ข้อมูลเกษตรกร,ปริมาณผลผลิตของเกษตรกร - สัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญและเกษตรกรผู้ที่มีประสบการณ์ Best Practice
2.การวิเคราะห์ความต้องการของระบบการจัดการความรู้ (ENG2 : System Requirement Analysis) - วิเคราะห์เพื่อเลือกเครื่องมือ/สื่อ ที่เหมาะสมในการจัดการความรู้แก่เจ้าหน้าที่และเกษตรกร 3.การวิเคราะห์ความต้องการของซอฟต์แวร์ (ENG3 : Software Requirement Analysis) - วิเคราะห์หาความรู้,วิธีการที่ต้องการ มาประกอบกับเครื่องมือ/สื่อ ที่ใช้ในการจัดการความรู้ให้เหมาะสม
4.การออกแบบซอฟต์แวร์ (ENG4 : Software Design) - ทำการสร้างเครื่องมือ/สื่อ ที่ได้วิเคราะห์มาแล้วว่าเหมาะสมกับการจัดเก็บ เผยแพร่ต่อเจ้าหน้าที่และเกษตรกร 5.การสื่อสารในองค์กร (MAN1 : Organization Alignment) - ประชาสัมพันธ์ สร้างความเข้าใจให้แก่เจ้าหน้าที่และเกษตรกร ได้ทราบถึงจุดประสงค์ของการจัดการความรู้
6.การจัดการองค์กร (MAN2 : Organization Management) - วิเคราะห์เจ้าหน้าที่และเกษตรกรที่เกี่ยวข้องกับการจัดการความรู้ เพื่อทำการคิดกิจกรรมที่เหมาะสมในการจัดการความรู้กับกลุ่มเป้าหมาย 7.การจัดการโครงการ (MAN3 : Project Management) - กำหนดและจัดทำแผนโครงการ ตารางกิจกรรมในการดำเนินการจัดการความรู้ โดยประเมินเวลาและทรัพยากรที่มีอยู่
8.การบริหารทรัพยากรมนุษย์ (RIN1 : Human Resource Management) - วิเคราะห์แนวทางในการบริหารกำลังคนที่มีอยู่ ขอบเขตหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการจัดกิจกรรมการจัดการความรู้ 9.การฝึกอบรม (RIN2 : Training) -ทำกิจกรรมการจัดการความรู้ให้กับเจ้าหน้าที่และเกษตรกร โดยศึกษา ทัศนคติ ความต้องการ วิธีการที่เหมาะกับการวางแผนอบรม
10.การจัดการความรู้ (RIN3 : Knowledge Management) -รวบรวมข้อมูล เอกสารที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมและการดำเนินงานต่างๆ เพื่อสนับสนุนการทำกิจกรรมในครั้งต่อไป 11.การจัดการโครงสร้างพื้นฐาน (RIN4 : Infrastructure) -สำรวจโครงสร้างพื้นฐาน อุปกรณ์ต่างๆที่จะใช้ในกิจกรรมว่าเพียงพอ เหมาะสมกับการทำกิจกรรมหรือไม่
12.การจัดการทรัพย์สิน (REU1 : Asset Management) - สำรวจอุปกรณ์ที่จะใช้ในการทำกิจกรรมว่ามีสภาพที่สมบูรณ์พร้อมกับการใช้งานหรือไม่ การใช้งานปัจจุบันและอนาคตคุ้มกับการจัดซื้อใหม่หรือไม่ 13.การใช้ซ้ำโปรแกรมต่างๆ (REU2 : Reuse Program Management) - การรวบรวมข้อมูลและรูปแบบการทำการจัดการความรู้ เพื่อให้เป็น template ในการจัดการความรู้ในครั้งต่อไป
14.ความรู้เฉพาะงาน (REU3 : Domain Engineering) - ทบทวน เก็บขั้นตอน วิธีการที่ดี เหมาะสม เพื่อเป็นต้นแบบในการพัฒนาและการนำไปใช้ในครั้งต่อไป ซึ่งจะมีการวิเคราะห์ผล ENG1, ENG2, ENG3, ENG4 และ MAN1 ว่าสามารถนำขั้นตอนใดไปปรับปรุงแก้ไขได้ในอนาคต 15.การตรวจประเมินคุณภาพ (QA : Quality Assurance) - การทำให้กิจกรรมการจัดการความรู้เป็นไปตามมาตรฐาน ISO 12207 (การวัดข้อมูลปริมาณผลผลิตทั้งก่อนและหลังการจัดการความรู้, สัมภาษณ์จากเจ้าหน้าที่และเกษตรกร)
วัตถุประสงค์ เพื่อการเพิ่มทักษะการเพาะปลูกที่เหมาะสมกับเกษตรกรผู้ปลูกถั่วอะซูกิให้มีผลผลิตที่เพิ่มขึ้น ควบคู่ไปกับการทำเกษตรแบบยั่งยืนเกื้อกูลทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม สามารถรักษาปรับปรุงสภาพแวดล้อม ใช้ทรัพยากรในการผลิตอย่างประหยัดไม่ส่งผลเสียต่อสภาพแวดล้อมทั้งระยะสั้นและระยะยาว
ผลที่คาดว่าจะได้รับ - เกษตรกรได้เกิดการเรียนรู้ในขั้นตอนการเพาะปลูกดูแลถั่วอะซูกิที่เหมาะสม เกษตรกรได้ผลผลิตที่มีปริมาณมากขึ้น รู้จักและสามารถปฏิบัติตามการเกษตรแบบยั่งยืนได้ - เครื่องมือ/สื่อ เผยแพร่วิธีการเพาะปลูกดูแลถั่วอะซูกิ ที่ใช้ได้ผล และสามารถนำมาใช้ได้ซ้ำทั้งเจ้าหน้าที่ปัจจุบัน เกษตรกร และเจ้าหน้าที่ที่เข้ามาใหม่
สถานที่ในการดำเนินการและรวบรวมข้อมูลสถานที่ในการดำเนินการและรวบรวมข้อมูล - สำนักงานโครงการหลวงเชียงใหม่ - ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงปางอุ๋ง - ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงขุนแปะ - ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแกน้อย - ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงหนองเขียว
ระยะเวลาการปฏิบัติงานระยะเวลาการปฏิบัติงาน เดือนพฤษภาคม 2555 – เดือนกุมภาพันธ์ 2556
อ้างอิง สำนักส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 6 เชียงใหม่. การส่งเสริมการปลูกถั่วอะซูกิ(Azuki bean) บนพื้นที่ที่สูงปางอุ๋ง. (2548). [ระบบออนไลน์] http://www.ndoae.doae.go.th/article2010/2010015.html (4 มกราคม 2555) ถั่วอะซูกิพันธุ์ปางดะ. [ระบบออนไลน์] http://m.doa.go.th/pvp/planttabian/t17.pdf (2 มกราคม 2555) ธันวา จิตต์สงวน. การพัฒนาการเกษตรแบบยั่งยืน : บทวิเคราะห์จากปัจจัยทางเศรษฐกิจและ สังคม.[ระบบออนไลน์] http://www.mcc.cmu.ac.th/Seminar/pdf/657.pdf (4 มกราคม 2555) ศูนย์ฝึกและพัฒนาอาชีพเกษตรกรรมวัดญาณสังวรารามวรมหาวิหาร อันเนื่องมาจากพระราชดำริ. หลักการเกษตรธรรมชาติ.[ระบบออนไลน์] http://watyanagr.nfe.go.th/watyanagr2/index.php?name=new s2&file=readnews&id=28(29 ธันวาคม 2554) Thaiall.(2554).การจัดการความรู้(Knowledge Management). [ระบบออนไลน์]. http://www.thaiall.com/km/indexo.html (3 มกราคม 2555)
วิจารณ์ พานิช. 2554. การจัดการความรู้.[ระบบออนไลน์]. http://www.kmi.or.th/kmi-articles/prof-vicharn-panich/28-0001-intro-to-km.html.(28 ธันวาคม 2554). ณพศิษฎ์ จักรพิทักษ์. ทฤษฎีการจัดการความรู้. กรุงเทพฯ : ธนาเพลส, 2552. อุทัยวรรณ ภู่เทศ. กระบวนการจัดการความรู้ในการปรับเปลี่ยพฤติกรรมการใช้ สารเคมีในการเพาะปลูกของเกษตรกร บ้านหนองแอก ต.หนองหม้อ อ.ตาคลี จังหวัดนครสวรรค์. วิทยานิพนธ์ศิลปะศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์. 2551 สริตา อยู่พุ่ม. การวิเคราะห์ปฏิกิริยาร่วมระหว่างลักษณะพันธุกรรมและ สภาพแวดล้อมในถั่วอะซูกิ. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 2548 วันธะนา สานุสิทธิ์. การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนเชิงเปรียบเทียบของการปลูก ข้าวโดยใช้สารเคมีและสารชีวภาพของเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ตำบลไร่อ้อย จังหวัดอุตรดิตถ์.สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์, (2553).