400 likes | 1.17k Views
บทที่ 6 รายรับของรัฐบาล. หัวข้อ 6.1 องค์ประกอบรายรับรัฐบาล 6.2 โครงสร้างทางด้านรายรับของรัฐบาล 6.3 ทฤษฎี ภาษี อากร 6.4 ผลกระทบทั่วไปของภาษีอากร 6.5 การวิเคราะห์ผลกระทบของภาษี. องค์ประกอบของรายรับรัฐบาล 1) รายรับที่เป็นรายได้ - รายได้ที่เป็นภาษีอากร ( tax revenue)
E N D
บทที่ 6รายรับของรัฐบาล หัวข้อ 6.1 องค์ประกอบรายรับรัฐบาล 6.2 โครงสร้างทางด้านรายรับของรัฐบาล 6.3 ทฤษฎีภาษีอากร 6.4 ผลกระทบทั่วไปของภาษีอากร 6.5 การวิเคราะห์ผลกระทบของภาษี
องค์ประกอบของรายรับรัฐบาลองค์ประกอบของรายรับรัฐบาล • 1) รายรับที่เป็นรายได้ • - รายได้ที่เป็นภาษีอากร (tax revenue) • - รายได้และรายรับที่มิใช่ภาษีอากร (nontax revenue) • 2) รายรับที่ไม่เป็นรายได้ • - หนี้สาธารณะ • - เงินคงคลัง • - การบังคับกู้จากประชาชน
แหล่งที่มาของงบประมาณรายรับแหล่งที่มาของงบประมาณรายรับ 1) รายได้ 1.1 ภาษีอากร 1.2 การขายสิ่งของและบริการ 1.3 รัฐพาณิชย์ 1.4 รายได้อื่น ๆ เงินบริจาค 2) เงินกู้ 2.1 ธนาคารแห่งประเทศไทย 2.2 ธนาคารออมสิน 2.3 ธนาคารพาณิชย์ สถาบันการเงิน 2.4 สมาคม มูลนิธิ และเอกชน 3) เงินคงคลัง
การก่อหนี้สาธารณะ - ภายในประเทศ - ภายนอกประเทศ วัตถุประสงค์การกู้หนี้สาธารณะ 1. ชดเชยการขาดดุล 2. เพื่อผลกระทบต่อการใช้ทรัพยากร 3. เพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ Ex1 การขยายตัวของการใช้จ่ายมากเกินไปให้กู้ เพื่อลดการใช้จ่ายมากเกินไปของประชาชน Ex2 กู้เพื่อดำรงรักษาอัตราแลกเปลี่ยน 4. กู้เพื่อเร่งรัดความจำเริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
ภาษี คือ สิ่งที่รัฐบาลบังคับเก็บจากราษฎร และนำมาใช้ เพื่อประโยชน์ของสังคมส่วนรวม โดยมิได้มีสิ่งตอบแทน โดยตรงแก่ผู้เสียภาษี ภาษี คือ เงินได้หรือทรัพยากรที่เคลื่อนย้ายจากภาคเอกชน กับภาครัฐบาล ยกเว้นการกู้ยืมและการขายสินค้าหรือบริหาร ในราคาทุนของรัฐบาล
ภาษีอากร วัตถุประสงค์ของการเก็บภาษีอากร 1. เพื่อจัดหารายได้ 2. เพื่อให้เกิดผลกระทบต่อการใช้ทรัพยากรของประเทศ 3. เพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจภายในประเทศ 4. เพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจภายนอกประเทศ 5. เพื่อเร่งรัดความจำเริญทางเศรษฐกิจ 6. เพื่อให้เกิดความเสมอภาคในการกระจายรายได้
ฐานภาษี คือ สิ่งที่ถูกใช้เป็นฐานในการประเมินเก็บภาษี อากร แต่ละชนิดตามอัตราที่ได้กำหนดไว้ ฐานภาษี (tax base) ก. ฐานที่เกี่ยวกับรายได้ (Income Base) ข. ฐานการบริโภค (Consumption Base) ค. ฐานที่เกี่ยวกับความมั่งคั่ง (Wealth) ง. ฐานอื่น ๆ
ฐานภาษี ชนิดภาษี รายได้ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา personal Income tax ภาษีเงินได้นิติบุคคล (Corporate Income tax) บริโภค ภาษีการใช้จ่ายเพื่อการบริโภค (Expenditure tax) ภาษีการขาย (Sale tax) ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value added tax) ภาษีขาเข้า (Import tax) มั่งคั่ง ภาษีที่ดิน , ภาษีจากสิ่งปลูกสร้าง, ภาษีรถยนต์, ภาษีโรงงาน, ภาษีมรดก อื่น ๆ ภาษีชายโสด, ภาษีหน้าต่าง ภาษีล้อเกวียน, ภาษีเด็ก
โครงสร้างอัตราภาษี 1. โดยการพิจารณาเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงของฐานภาษีกับอัตราภาษี 1) อัตราภาษีแบบก้าวหน้า = ฐานภาษีใหญ่ขึ้น อัตราภาษีเพิ่มขึ้น 2) อัตราภาษีตามสัดส่วน(หรือแบบคงที่) = ฐานภาษีใหญ่ขึ้น เก็บภาษีอัตราเท่าเดิม 3) อัตราภาษีแบบถดถอย = ฐานภาษีใหญ่ขึ้น อัตราภาษีจัดเก็บลดลง - โดยการเปรียบเทียบระหว่างอัตราภาษีโดยเฉลี่ยกับอัตราภาษีส่วนที่เพิ่ม
ตัวอย่างอัตราภาษีแบบต่างๆตัวอย่างอัตราภาษีแบบต่างๆ
อัตราสัดส่วน อัตราภาษี อัตราก้าวหน้า อัตราภาษี ฐานภาษี 0 0 ฐานภาษี อัตราถดถอย อัตราภาษี 0 ฐานภาษี
การเลือกใช้อัตราภาษี ต้องเลือกใช้ตามจุดมุ่งหมายของนโยบายของรัฐบาล Ex1 การสร้างความเป็นธรรม ใช้ อัตราก้าวหน้า Ex2 ความสะดวกในการประเมินภาษี ใช้ อัตราสัดส่วน
2.โดยการเปรียบเทียบระหว่างอัตราภาษีโดยเฉลี่ยกับอัตราภาษีส่วนที่เพิ่ม2.โดยการเปรียบเทียบระหว่างอัตราภาษีโดยเฉลี่ยกับอัตราภาษีส่วนที่เพิ่ม จำนวนเงินที่ ต้องเสียภาษี ATR = หนี้ภาษีรวม (อัตราภาษีโดยเฉลี่ย)= ฐานภาษีรวม มูลค่ารวมของฐาน ที่ถูกใช้ในการ ประเมินภาษีชนิดนั้น MTR = หนี้ภาษีที่เพิ่ม (อัตราภาษีส่วนเพิ่ม)= ฐานภาษีที่เพิ่มขึ้น อัตราภาษีแบบก้าวหน้า MTR > ATR อัตราภาษีตามสัดส่วน MTR = ATR อัตราภาษีแบบถดถอย MTR < ATR
การหลบเลี่ยงภาษีและการหนีภาษีการหลบเลี่ยงภาษีและการหนีภาษี 1. การหลบเลี่ยงการเสียภาษี (Tax Avoidance) การที่ผู้เสียภาษีกระทำการโดยอาศัยช่องโหว่ของกฎหมายภาษีอากรที่เปิดให้กระทำได้เพื่อให้ตนเองเสียภาษีให้น้อยลงหรือไม่ต้องเสียภาษีเลย โดยการกระทำดังกล่าวไม่ถือว่าผิดกฎหมาย แต่ขัดเจตนารมณ์ของกฎหมายการเก็บภาษีอากรเท่านั้น เช่น การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการใช้น้ำมันจากน้ำมันเบนซินเป็นน้ำมันดีเซลเมื่อราคาน้ำมันเบนซินแพงกว่า 2. การหนีภาษี (Tax Evasion) เป็นการเจตนากระทำผิดกฎหมายภาษีอากรโดยตรงโดยผู้เสียภาษีจะต้องเสียภาษีแต่กลับไม่เสียภาษี เช่น มีรายได้พึงประเมินที่ต้องเสียภาษี แต่กลับไม่ยอมยืนเสียภาษี ปัจจัยขึ้นอยู่กับ ประสิทธิภาพการจัดเก็บ และบทลงโทษ
วิธีประเมินภาษี 1.การเก็บภาษีตามมูลค่าหรือราคา(Ad Valorem tax) จะทำการประเมินการจัดเก็บภาษีจากมูลค่าหรือราคาของ สิ่งที่ถูกเก็บภาษี Ex ภาษีเงินได้ ภาษีการค้า ภาษีศุลกากร ภาษีทรัพย์สิน และภาษีมรดก 2.การเก็บภาษีตามปริมาณหรือจำนวน(Specific หรือ Unit tax) จะเก็บตามปริมาณหรือจำนวนน้อยหรือน้ำหนักของสิ่ง ที่ถูกประเมิน เช่น ภาษีศุลากรสำหรับสินค้าบางชนิด ภาษีชายโสด
วัตถุประสงค์ของการจัดเก็บ:วัตถุประสงค์ของการจัดเก็บ: 1. เพื่อหารายได้ 2. เพื่อดำเนินนโยบายเศรษฐกิจบางประการ ลักษณะของระบบภาษีอากรที่ดี: 1. หลักความยุติธรรม /เสมอภาค 2. หลักความแน่นอน 3. หลักความสะดวก 4. หลักประหยัด 5. หลักการยอมรับ 6. หลักเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ 7. หลักการทำรายได้ 8. หลักความยืดหยุ่น
การจำแนกประเภทภาษี 1. จำแนกตามรัฐบาลผู้จัดเก็บ 1) ภาษีที่จัดเก็บโดยรัฐบาลกลาง เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีสรรภากร ภาษีสรรพสามิต เป็นต้น 2)ภาษีที่จัดเก็บโดยรัฐบาลท้องถิ่น เช่น ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ภาษีป้าย ภาษีบำรุงท้องทั่ เป็นต้น 2. จำแนกตามหลักการผลักภาระภาษี 1) ภาษีทางตรง (direct tax) - ภาษีที่ผู้เสียภาษีไม่สามารถผลักภาระภาษีไปให้ผู้อื่นได้หรือผลักภาระภาษีไปให้ผู้อื่นได้ยาก เช่น ภาษีที่เก็บจากฐานรายได้ หรือฐานทรัพย์สิน - ไม่มีผลต่อการเพิ่มราคาสินค้าหรือบริการที่ผู้เสียภาษีเป็นผู้ผลิต หรือถ้ามีก็น้อยมาก
- เป็นเครื่องมือในที่ใช้ในการกระจายรายได้ให้เป็นธรรม - เช่น ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล 1) ภาษีทางอ้อม (indirect tax) - ผู้เสียภาษีสามารถผลักภาระภาษีไปให้ผู้อื่นได้ - ส่วนใหญ่เก็บจากฐานการใช้จ่าย(การบริโภค) หรือฐานการซื้อขาย - มีผลต่อการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าหรือบริการ -ผู้เสียภาษีส่วนใหญ่เป็นผู้มีรายได้ต่ำ -เป็นลักษณะของภาษีแบบถดถอย ก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมมากขึ้น -เก็บได้ง่ายกว่าภาษีทางตรง เนื่องจากผู้เสียภาษีไม่รู้สึกว่าตนเสียภาษี -เป็นแหล่งรายได้ที่สำคัญของประเทศกำลังพัฒนา(รวมทั้งไทยด้วย) -เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีสรรพสามิต ภาษีศุลกากร เป็นต้น
3. จำแนกตามวิธีการประเมิน 1)ภาษีที่จัดเก็บตามราคา เก็บตามราคาหรือมูลค่าของฐานภาษี เช่น ภาษีที่ดิน ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีศุลกากร เป็นต้น 2) ภาษีที่จัดเก็บตามปริมาณหรือสภาพ เก็บตามปริมาณของสิ่งของที่ใช้เป็นฐานภาษีโดยอาจวัดออกมาเป็นจำนวนชิ้น ความยาว ปริมาตร น้ำหนัก ฯลฯ เช่น ภาษีจากการเดินทางออกนอกราชอาณาจักรตามจำนวนครั้ง ภาษีสรรพสามิตที่เก็บจากซีเมนต์ตามปริมาณกิโลกรัมละ 0.08 บาท เป็นต้น 4. จำแนกตามฐานภาษี 1) ภาษีที่เก็บตามฐานรายได้ เช่น ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 2) ภาษีที่เก็บจากฐานการบริโภค เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม 3) ภาษีที่เก็บตามฐานทรัพย์สิน เช่น ภาษีโรงเรือนและที่ดิน
5. จำแนกตามอัตราภาษี 1) ภาษีอัตราก้าวหน้า เช่น ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 2) ภาษีอัตราคงที่ เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม 3) ภาษีอัตราถอยหลัง เช่น ภาษีบำรุงท้องที่ 6. จำแนกตามลักษณะการใช้เงินภาษี 1) ภาษีเพื่อกิจการทั่วไป เก็บแล้วไม่กำหนดว่าจะใช้จ่ายไปในกิจการใด 2) ภาษีเพื่อกิจการเฉพาะอย่าง เก็บแล้วนำไปใช้ในกิจการใดกิจการหนึ่ง 7. จำแนกตามความถาวรของกฎหมายภาษี 1) ภาษีถาวรหรือภาษีปกติ เก็บอยู่เป็นปกติประจำ หรือมีลักษณะถาวรจนกว่าจะมีกฎหมายเปลี่ยนแปลง เช่น ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 2) ภาษีชั่วคราว เก็บเมื่อมีเหตุการณ์ฉุกเฉินเป็นการชั่วคราวหรือเป็นครั้งคราวไป เช่น ภาษีที่เก็บในยามสงคราม
ผลกระทบโดยทั่วไปของภาษีผลกระทบโดยทั่วไปของภาษี • ผลกระทบต่อการทำงาน การออม การบริโภค และการลงทุน • 1)ผลต่อการทำงาน • - ผลในแง่รายได้ (income effect) เป็นผลกระทบทางบวกที่ทำให้แรงงานต้องทำงานเพิ่มขึ้นเพื่อให้มีรายได้เพียงพอต่อการดำรงชีพเมื่อรายได้ต้องลดลงจากที่ต้องเสียภาษีเพิ่มขึ้น • -ผลในแง่การทดแทน (substitution effect) เป็นผลกระทบทางลบที่แรงงานทำงานน้อยลงเนื่องจากเห็นว่ารายได้หลังหักภาษีไม่คุ้มกับการทำงาน • 2)ผลต่อการออม การบริโภค และการลงทุน ทำให้การออม การบริโภค และการลงทุนลดลง • 2. ผลกระทบด้านการจัดสรรทรัพยากร • -ก่อให้เกิดการเคลื่อนย้ายทรัพยากรจากภาคเอกชนมาสู่ภาครัฐบาล
- ผลกระทบจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับ ประเภทของภาษีอากรที่จัดเก็บ ภาษีทางอ้อม ตกอยู่กับผู้บริโภค(ซึ่งเป็นคนจนเป็นส่วนใหญ่) กระทบการบริโภค ภาษีทางตรง เก็บจากผู้มีรายได้สูง กระทบการบริโภค การลงทุน และการออม 3. ผลกระทบด้านการกระจายรายได้ -ภาษีทางตรง ก่อให้การกระจายรายได้ดีขึ้น -ภาษีทางอ้อม กระทบการกระจายรายได้ให้เลวลง 4. ผลกระทบของภาษีที่จัดเก็บจากสินค้าอุปโภคและบริโภค -สินค้าจำเป็น อัตราภาษีถดถอย คนจนและคนรวยใช้จำนวนไม่แตกต่างกัน กระทบคนจนมากกว่าคนรวย -สินค้าฟุ่มเฟือย อัตราก้าวหน้า กระทบคนรวยมากกว่าคนจน
5. ผลกระทบของการเก็บภาษีการค้า -ผู้ผลิตและผู้จำหน่ายผลักภาระภาษีไปให้ผู้บริโภคได้โดยการตั้งราคาสินค้าสูงขึ้น -ราคาเพิ่มมากน้อยขึ้นอยู่กับสภาพตลาดและการแข่งขัน ตลาดแข่งขันจะกระทบราคาน้อยกว่าตลาดผูกขาด 6. ผลกระทบของการจัดเก็บภาษีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ -ทำให้อำนาจซื้อลดลง อุปสงค์มวลรวมภายในระบบเศรษฐกิจลดลง รายได้ประชาชาติลดลง เศรษฐกิจหดตัว
การวิเคราะห์ผลกระทบของภาษีการวิเคราะห์ผลกระทบของภาษี 1. การวิเคราะห์แบบดุลยภาพบางส่วน (Partial Equilibrium View) 1) กรณีที่อุปทานของแรงงานไม่มีความยืดหยุ่นเลย (Completely Inelastic) 2) กรณีที่อุปทานแรงงานมีความยืดหยุ่นพอสมควร หรือกรณีมีอำนาจต่อรองบ้าง 2. การวิเคราะห์แบบดุลยภาพทั่วไป (General Equilibrium View) 3. การวิเคราะห์ภาระส่วนเกินการเสียภาษี (Excess Burden)
3. การวิเคราะห์ภาระส่วนเกินของการเสียภาษี (Excess Burden) ภาระส่วนเกินของการเสียภาษี (Excess Burden) หมายถึง ภาระความยุ่งยากหรือการเสียผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นนอกจากจำนวนเงินที่ตนเสียภาษีให้แก่รัฐบาล ภาระส่วนเกินที่เกิดขึ้นนั้นไม่มีใครเป็นผู้ได้ประโยชน์ มีลักษณะที่สูญเปล่าที่เกิดขึ้นแก่สังคม การวัดภาระส่วนเกินของการเสียภาษี วัดจากส่วนเกินของผู้บริโภค (Consumer Surplus Approach) เป็นส่วนเกินของผู้บริโภคที่จะสูญเปล่าโดยไม่มีใครเป็นฝ่ายได้รับประโยชน์จากการเก็บภาษีนั้น
- ส่วนเกินผู้บริโภค(CS)=พื้นที่เหนือเส้นราคาและใต้เส้นอุปสงค์ - เก็บภาษีตามมูลค่า(Ad-Valorem Tax) ราคาสูงเก็บมาก ราคาต่ำเก็บน้อย ราคา อัตราภาษี BC/OB , P=OE , Q=OG , CS=EBK B CS ลดลงเท่ากับ FEKD=FEKL+KLD C KLD คือ ส่วนที่สูญเปล่า (Excess Burden หรือ Dead-Weight Loss) K E D F L O A G H ปริมาณ - ก่อนเก็บภาษี ดุลยภาพที่จุด D , P=OF , Q=OH , CS=FBD FEKL คือ ส่วนที่ผู้บริโภคจ่ายเป็นภาษี(CSที่ถูกโอนให้รัฐบาล) S(เส้นอุปทานสินค้า) AB(เส้นอุปสงค์สินค้า)