40 likes | 190 Views
วิธีการแบ่งกลุ่ม. ชนิดของกลุ่ม. กลุ่มการเรียนรู้ตามอัธยาศัย (Informal learning groups )
E N D
ชนิดของกลุ่ม • กลุ่มการเรียนรู้ตามอัธยาศัย (Informal learning groups ) • เป็นการแบ่งกลุ่มแบบชั่วคราว สามารถตั้งกลุ่มแบบง่ายๆเช่นบอกนักเรียนให้จับกลุ่มกันเองเพื่ออธิปรายตามหัวข้อที่กำหนดในระยะเวลาสั้นๆ ผู้สอนสามารถสร้างกลุ่มลักษณะนี้เมื่อไรก็ได้ตามต้องการในระหว่างเรียนเพื่อตรวจสอบความเข้าใจของนักเรียน ให้โอกาสนักเรียนได้ทำความเข้าใจสิ่งที่ได้เรียนไป • กลุ่มการเรียนรู้แบบเป็นทางการ (Formal learning groups ) • เป็นกลุ่มที่จัดตั้งขึ้นเพื่อทำงานบางอย่างโดยเฉพาะ เช่นทำรายงาน และทำโครงงาน โดยงานที่ให้ทำอาจเสร็จในเวลาเรียน หรืออาจใช้เวลาหลายอาทิตย์ ซึ่งส่วนมากนักเรียนจะทำงานร่วมกันจนงานเสร็จ หรือจนได้เกรด
วิธีการแบ่งกลุ่ม • แบ่งตามระดับผลการเรียน • ในชั้นเรียนทั่วไปจะประกอบไปด้วยนักเรียนเก่ง ปานกลาง และอ่อน • แบ่งตามความสนใจ และแบบสุ่ม • เช่นในนักเรียนทั้งชั้นนับ 1 ถึง 4 แล้วให้คนที่นับเลขเดียวกันอยู่กลุ่มเดียวกัน การแบ่งกลุ่มแบบนี้ช่วยให้นักเรียนที่ปกติไม่สนิทกันได้รู้จักกันมากขึ้น • แบ่งกลุ่มเพื่อการเรียนรู้ร่วมกัน • นักเรียนหลายคนเรียนได้ดีขึ้นเมื่อได้เรียนร่วมกัน สามารถแบ่งกลุ่มแบบนี้ได้โดยในแต่ละกลุ่มประกอบด้วยนักเรียนที่มีผลการเรียนอ่อนหนึ่งถึงสองคน นักเรียนเก่งหนึ่งคน และนักเรียนปานกลางสอนคน • เมื่อแบ่งกลุ่มต้องคำนึงว่านักเรียนแต่ละคนต้องมีภาระรับผิดชอบในกลุ่ม
วิธีการแบ่งกลุ่ม • คิดถึงกระบวนการทำงานในกลุ่ม • ต้องอธิบายให้ชัดเจนว่ากลุ่มจะดำเนินการอย่างไร • คิดถึงการให้คะแนน • ต้องอธิบายให้ชัดเจนว่าจะให้คะแนนอย่างไร • คิดถึงกิจกรรมที่ต้องโดยอาศัยความร่วมมือจากสมาชิกในกลุ่ม • ให้งานที่ต้องอาศัยการพึ่งพาอาศัยกัน • ให้ความสำคัญกับขนาดของกลุ่ม • จำนวนสมาชิกที่ดีที่สุดคือ 4-5 คน : กลุ่มที่มีจำนวนสมาชิกมากไปทำให้โอกาสที่สมาชิกแต่ละคนมีส่วนร่วมในกิจกรรมจะน้อยลง • ถ้าในกลุ่มมีแต่นักเรียนไม่เก่ง ขนาดกลุ่มต้องเล็กลง • ถ้าเวลามีจำกัดในการทำงานกลุ่ม ขนาดของกลุ่มต้องเล็กลง (Johnson, Johnson, and Smith, 1991; Smith, 1986)