200 likes | 372 Views
ข้อสอบวิทยาศาสตร์. เรื่อง ระบบต่าง ๆ ในร่างกายมนุษย์. ระบบย่อยอาหาร.
E N D
ข้อสอบวิทยาศาสตร์ เรื่อง ระบบต่าง ๆ ในร่างกายมนุษย์
ระบบย่อยอาหาร • ปาก เมื่ออาหารเข้าปากฟันจะทำหน้าที่บดเคี้ยวอาหารให้มีขนาดเล็กลง โดยมีลิ้นช่วยในการคลุกเคล้าอาหารให้ผสมกับน้ำลายที่ผลิตจากต่อมน้ำลายใต้หู ใต้ลิ้น และใต้ขากรรไกร ทำให้อาหารลื่น อ่อนนุ่ม ในน้ำลายจะมีเอนไซม์ชื่อ ไทยาลิน(Ptyalin) ซึ่งเป็นอะไมเลสชนิดหนึ่ง ทำหน้าที่เร่งปฏิกิริยาในการย่อยแป้งให้เป็นน้ำตาล เราจึงรู้สึกหวานเมื่อเราอมข้าว หลอดอาหาร เป็นกล้ามเนื้อเรียบทำหน้าที่บีบรัดอาหารให้เคลื่อนที่ลงสู่กระเพาะอาหารกระเพาะอาหารจะสร้างเอนไซม์เพปซินและกรดไฮโดรคลอริออกมา เพื่อช่วยในการย่อยอาหารประเภทโปรตีนให้มีขนาดเล็กลง และส่งไปย่อยต่อที่ลำไส้เล็ก ส่วนสารอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต และไขมันจะไม่มีการย่อยในกระเพาะอาหาร ลำไส้เล็กจะมีการย่อยสารอาหารทั้งประเภทโปรตีน ไขมัน และคาร์โบไฮเดรตซึ่งจะมีเอนไซม์ที่ผลิตจากหลายแหล่งเพื่อช่วยในการย่อย ได้แก่ • 1. ผนังลำไส้เล็ก สร้าง เอนไซม์มอลเทส ย่อยน้ำตาลมอลโทสเป็นน้ำตาลกลูโคส เอนไซม์ซูเครส ย่อยน้ำตาลซูโครสเป็นน้ำตาลกลูโคสกับน้ำตาลฟรักโทสเอนไซม์แลกเทส ย่อยน้ำตาลแลกโทสเป็นน้ำตาลกลูโคสกับน้ำตาลกาแลกโทส2. ตับอ่อน สร้างเอนไซม์ไลเพสย่อยไขมันเป็นกรดไขมันกับกลีเซอรอลเอนไซม์อะไมเลส ย่อยแป้งเป็นน้ำตาลมอลโทส เอนไซม์ทริปซินย่อยโปรตีนหรือเพปไทด์เป็นกรดอะมิโน • 3. ตับ สร้างน้ำดี ไปเก็บไว้ที่ถุงน้ำดี ซึ่งมีฤทธิ์เป็นเบสอ่อนๆ น้ำดีไม่ใช่เอนไซม์จึงไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการย่อยแต่น้ำดีจะช่วยทำให้ไขมันแตกตัวออกมาเป็นเม็ดเล็กๆเพื่อให้เอนไซม์ไลเพสย่อยไขมันได้ง่ายขึ้น บริเวณลำไส้เล็กจึงเป็นบริเวณที่มีการย่อยสารอาหารทั้งโปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเตรต อย่างสมบูรณ์และสามารถดูดซึมผ่านหนังลำไส้เล็กเข้าสู่หลอดเลือด และถูกส่งไปเลี้ยงตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้ ส่วนกากอาหารจะเคลื่อนต่อไปยังลำไส้ใหญ่ • ลำไส้ใหญ่จะไม่มีการย่อยอาหารแต่จะมีการดูดซึมน้ำ แร่ธาตุ วิตามินบางชนิดและกลูโคสออกจากกากอาหารกลับเข้าสู่กระแสเลือดทำให้กากอาหารเหนียวข้นและเป็นก้อน จากนั้นจะเคลื่อนไปรวมกันที่ลำไส้ตรง และขับออกทางทวารหนักเป็นอุจจาระ
ระบบไหลเวียนโลหิต • การทำงานของระบบไหลเวียนโลหิต • หัวใจของคนเรามีลักษณะเป็นโพรง มี 4 ห้อง โดยแบ่งเป็นห้องบน 2 ห้องเรียก เอเตรียม(Atrium) และห้องล่าง 2 ห้อง เรียกว่า เวนตริเคิล (Ventricle) หัวใจห้องบนซ้ายและล่างซ้ายมีลิ้นไบคัสพิดคั่นฺ(Bicuspid)อยู่ ส่วนห้องบนขวาและล่างขวามีลิ้นไตรคัสพิด(Tricuspid)คั่นอยู่ ซึ่งลิ้นทั้งสองทำหน้าที่คอยปิด-เปิด เพื่อไม่ให้เลืดดไหลย้อนกลับ หัวใจทำหน้าที่สูบฉีดเลือดโดยการบีบตัวและคลายตัวของกล้ามเนี้อหัวใจเป็นจังหวะ ทำให้เลือดไหลไปตามหลอดเลือดต่าง ๆ ห้องเอเตรียมขวาจะรับเลือดจากหลอดเลือดดำ ชื่อ ซุพีเรียเวนาคาวา (Superior Vena cava) ซึ่งนำเลือดมาจากศรีษะและแขน และรับเลือดจากหลอดเลือดดำชื่อ อินฟีเรียเวนาคาวา (Inferior Vena cava) ซึ่งนำเลือดมาจากลำตัวและขาเข้าสู่หัวใจ เมื่อเอเตรียมขวาบีบตัว เลือดจะเข้าสู่เวนตริเคิลขวาโดยผ่านลิ้นไตรคัสพิด เมื่อเวนตริเคิลขวาบีบตัวเลือดจะผ่านลิ้นพัลโมนารีเซมิลูนาร์(Pulmonary Semilunar Valve) ซึ่งเปิดเข้าสู่หลอดเลือดแดงชื่อพัลโมนารีอาร์เตอรี(Pulmonary Artery) หลอดเลือดนี้นำเลือดไปยังปอดเพื่อแลกเปลี่ยนแก๊ส โดยปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์และรับออกซิเจน เลือดที่มีออกซิเจนสูงนี้จะไหลกลับสู่หัวใจทางหลอดเลือดดำชื่อพัลโมนารีเวน(Pulmonary Vein) เข้าสู่หัวใจห้องเอเตรียมซ้ายเมื่อเอเตรียมซ้ายบีบตัว เลือดก็จะผ่านลิ้นไบคัสพิดเข้าสู่ห้องเวนตริเคิลซ้าย แล้วเวนตริเคิลซ้ายบีบตัวดันเลือดให้ไหลผ่านลิ้นเอออน์ติกเซมิลูนาร์ (Aortic Semilunar Valve) เข้าสู่เอออร์ตา(Aorta) ซึ่งเป็นหลอดเลือดแดงขนาดใหญ่จากเอออร์ตาจะมีหลอดเลือดแตกแขนงแยกไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
ระบบหายใจ • กระบวนการหายใจ • เมื่อเราหายใจเข้า อากาศจากภายนอกร่างกายจะผ่านรูจมูกเข้าไปตามช่องจมูก ขนและเยื่อในช่องจมูกจะช่วยกรองฝุ่นละอองที่ปนมากับอากาศไว้ อากาศจะถูกปรับอุณหภูมิและความชื้นให้พอเหมาะกับร่างกาย จึงจะผ่านหลอดคอเข้าสู่หลอดลม และเข้าสู่ปอดในที่สุด ที่ปอดมีถุงลมเล็ก ๆ เป็นจำนวนมาก ซึ่งมีหลอดเลือดฝอยห้อมล้อมอยู่ เมื่ออากาศมาถึงบริเวณถุงลม อากาศที่มีออกซิเจนสูงจะแพร่ผ่านผนังถุงลมเข้าสู่หลอดเลือดฝอยโดยเข้าไปรวมตัวกับฮีโมโกลบินในเซลล์เม็ดเลือดแดง จากนั้นจะไหลตามหลอดเลือดกลับเข้าสู่หัวใจเพื่อให้หัวใจสูบฉีดไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ขณะที่เลือดถูกลำเลียงไปตามหลอดเลือดนั้นแก๊สออกซิเจนจะแพร่จากเซลล์เม็ดเลือดแดงเข้าสู่เซลล์ต่าง ๆ ของร่างกาย และแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ที่อยู่ในเซลล์จะแพร่จากเซลล์เข้าสู่หลอดเลือดและละลายในน้ำเลือด และไหลกลับสู่หัวใจโดยทางหลอดเลือดอีกชนิดหนึ่ง
ระบบกล้ามเนื้อ • การเคลื่อนไหวร่างกาย จะต้องอาศัยระบบกล้ามเนื้อ ซึ่งเกิดจากการหดตัวเนื่องจากคำสั่งของสมองสั่งให้ร่างกายเคลื่อนไหว เราแบ่งกล้ามเนื้อออกเป็น 3 ชนิด ดังนี้ • 1. กล้ามเนื้อเรียบ (Smooth muscle)เซลล์กล้ามเนื้อเรียบ มีลักษณะเรียวแหลมหัวท้าย ไม่มีลายมีนิวเคลียสเดียวอยู่กลางเซลล์ เป็นกล้ามเนื้อของอวัยวะภายในร่างกาย กล้ามเนื้อที่ผนังลำไส้ กล้ามเนื้อที่บริเวณกระเพาะอหาร กล้ามเนื้อหูรูดที่ม่านตาทำงานอยู่นอกอำนาจจิตใจ (Involuntary control) • 2. กล้ามเนื้อลาย (Striated muscle)เซลล์กล้ามเนื้อลายมีลักษณะยาว มีลายตามขวาง แต่ละเซลล์มีหลายนิวเคลียสอยู่บริเวณของเซลล์ เป็นกล้ามเนื้อที่เกาะติดกับกระดูก เช่น กล้ามเนื้อแขน กล้ามเนื้อขา ทำงานตามคำสั่งภายใต้อำนาจจิตใจ (Involuntary control) • 3. กล้ามเนื้อหัวใจ (Cardiac muscle)เซลล์กล้ามเนื้อหัวใจมีลักษณะเป็นทรงกระบอก แตกแขนงออกเป็นแฉกเชื่อมประสานกัน มีลายตามขวาง ส่วนใหญ่มีนิวเคลียสเดียวอยู่กลางเซลล์ พบบริเวณหัวใจเท่านั้น มีความแข็งแรง เพราะต้องทำงานตามจังหวะการเต้นของหัวใจตลอดชีวิต ทำงานอยู่นอกอำนาจของจิตใจ(Involuntary control)
แบบทดสอบ • 1.ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับการหายใจเข้า ก.ปอดพองออก ท้องแฟบลง ข.กะบังลมหดตัว กระดูกซี่โครงลดต่ำลง ค.ปอดขยายใหญ่ขึ้น กะบังลมยกตัวสูงขึ้น ง.กระดูกซี่โครงยกตัวสูงขึ้น กะบังลมลดต่ำลง
ผิดค่ะ ลองทำใหม่น่ะคะ
2.ถ้าร่างกายหายใจเอาอากาศที่ไม่บริสุทธิ์เข้าไป ร่างกายจะแสดงอาการใดเพื่อเป็นการขับสิ่งแปลกปลอมออกนอกร่างกาย ก.การหาว ข.การสะอึก ง.การไอ การจาม ค.การคัดจมูก
3.ในส่วนใดของร่างกายที่พบว่ามีของเสียมากที่สุด3.ในส่วนใดของร่างกายที่พบว่ามีของเสียมากที่สุด ก.กรวยไต ข.หลอดไต ค.ท่อปัสสาวะ ง.กระเพาะปัสสาวะ
4.ข้อใดถูกต้องที่สุด ก.ระบบหายใจ --> จมูก --> แลกเปลี่ยนแก๊ส O2และ CO2 ข.ระบบไหลเวียนเลือด --> หัวใจ --> แลกเปลี่ยนแก๊ส O2และ CO2 ง.ระบบย่อยอาหาร --> ปาก --> ลำเลียงอาหารไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย ค.ระบบสืบพันธุ์ --> มดลูก, รังไข่ --> ผลิตเซลล์สืบพันธุ์เพื่อการเจริญพันธุ์
5.สิ่งใดทำหน้าที่ในการถ่ายทอดข้อมูลทางพันธุกรรม5.สิ่งใดทำหน้าที่ในการถ่ายทอดข้อมูลทางพันธุกรรม ก.เซลล์ผิวหนัง ข.เซลล์สืบพันธุ์ ง.เซลล์เม็ดเลือดแดง ค.เซลล์กล้ามเนื้อ