1 / 50

887110 Introduction to Discrete Structures

887110 Introduction to Discrete Structures. เซต. ความหมายของเซต. เซต หมายถึง กลุ่มของสิ่งต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น คน สัตว์ สิ่งของ ซึ่งเราจะเรียกสมาชิกในกลุ่มว่า “ สมาชิกของเซต ”. ตัวอย่างของเซต. การเขียนอธิบายเซต. นิยมใช้อักษรอังกฤษพิมพ์ใหญ่เขียนแทนชื่อเซต เช่น A, B

yamal
Download Presentation

887110 Introduction to Discrete Structures

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. 887110 Introduction to Discrete Structures เซต

  2. ความหมายของเซต เซต หมายถึง กลุ่มของสิ่งต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น คน สัตว์ สิ่งของ ซึ่งเราจะเรียกสมาชิกในกลุ่มว่า “สมาชิกของเซต”

  3. ตัวอย่างของเซต

  4. การเขียนอธิบายเซต • นิยมใช้อักษรอังกฤษพิมพ์ใหญ่เขียนแทนชื่อเซต เช่น A, B • วิธีการเขียนอธิบายเซต สามารถเขียนได้ 2 วิธี ดังนี้ • การเขียนแบบแจกแจงสมาชิก มีหลักการในการเขียน ดังนี้ • เขียนสมาชิกทั้งหมดของเซตไว้ภายในวงเล็บปีกกา • คั่นสมาชิกแต่ละตัวด้วยเครื่องหมาย “,” • สมาชิกที่ซ้ำกันให้เขียนเพียงตัวเดียว • กรณีสมาชิกของเซตมีจำนวนมากเขียนเฉพาะ 3 ตัวแรกและใช้จุด 3 จุดเพื่อแทนว่ายังมีสมาชิกตัวอื่นๆอีก • ตัวอย่างเช่น • A = {1, 2, 3, 4, 5} • B = {…, -2 , -1 , 0 , 1 , 2}

  5. แบบฝึกหัดที่ 1 • จงเขียนเซตต่อไปนี้แบบแจกแจงสมาชิก • เซตของชื่อจังหวัดในประเทศไทยที่ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ “ข” {ขอนแก่น} • เซตของสระในภาษาอังกฤษ {a, e, i, o, u} • เซตของจำนวนคู่บวกที่น้อยกว่า 10 {2, 4, 6, 8} • เซตจำนวนคี่บวกที่น้อยกว่า 10 {1, 3, 5, 7, 9}

  6. การเขียนอธิบายเซต (ต่อ) • การเขียนแบบบอกเงื่อนไข มีหลักการ ดังนี้ • เขียนภายใต้วงเล็บปีกกา { } • กำหนดตัวแปรแทนสมาชิกทั้งหมดตามด้วยเครื่องหมาย | (| อ่านว่า "โดยที")่ แล้วตามด้วยเงื่อนไขของตัวแปรนั้น ดังรูปแบบ {x | เงื่อนไขของ x} • ตัวอย่างเช่น • A = { x | x เป็นจำนวนเต็มบวกที่มีค่าไม่เกิน 5} • อ่านว่า x เป็นสมาชิกของเซต A โดยที่ x เป็นจำนวนเต็มบวกที่มีค่าไม่เกิน 5 • B = {x | x เป็นจำนวนเต็ม}

  7. สัญลักษณ์ที่ใช้แทนเซตของจำนวนต่างๆสัญลักษณ์ที่ใช้แทนเซตของจำนวนต่างๆ • I แทนเซตของจำนวนเต็ม • I- แทนเซตของจำนวนเต็มลบ • I+แทนเซตของจำนวนเต็มบวก • N แทนเซตของจำนวนนับ • Q แทนเซตของจำนวนตรรกยะ • R แทนเซตของจำนวนจริง

  8. แบบฝึกหัดที่ 2 • จงเขียนแทนเซตต่อไปนี้แบบบอกเงื่อนไขของสมาชิก • N = {1, 3, 5} N = {x | x เป็นจำนวนคี่บวกตั้งแต่ 1 ถึง 5} • P = {…, -2, -1, 0, 1, 2, …} P = {x | x เป็นจำนวนเต็ม} • K = {10, 20, 30, …} K = {x | x = 10n และ n เป็นจำนวนเต็มบวก}

  9. รูปแบบของเซต • เซตว่าง  (Empty Set) • คือ เซตที่ไม่มีสมาชิกเลย • เขียนแทนด้วย { } หรือ  • เช่น  เซตของจำนวนเต็มที่อยู่ระหว่าง 4 กับ 5 • เซตจำกัด (Finite Set) • คือ เซตที่สามารถระบุได้ว่ามีสมาชิกกี่ตัว เช่น • {} มีจำนวนสมาชิกเป็น 0 • {1,2,3,…,100) มีจำนวนสมาชิกเท่ากับ 100 • เซตอนันต์ (Infinite Set) • คือ เซตที่ไม่ใช่เซตจำกัด มีสมาชิกมากมายนับไม่ถ้วน • เช่น เซตของจำนวนเต็มบวก {1, 2, 3, ...}

  10. แบบฝึกหัดที่ 3 • เซตต่อไปนี้ เซตใดเป็นเซตจำกัด เซตใดเป็นเซตอนันต์ • {x | x เป็นจำนวนเต็มคู่} เซตอนันต์ • {1, 2, 3, …, 100} เซตจำกัด • {x | x เป็นจำนวนเต็มที่หารด้วย 2 ลงตัว} เซตอนันต์ • {x | x เป็นจำนวนเต็มที่หารด้วย 2 ลงตัว และน้อยกว่า 100} เซตอนันต์

  11. ความสัมพันธ์ของเซต • เซตที่เท่ากัน (Equal Sets) - เซตสองเซตจะเท่ากันก็ต่อเมื่อเซตทั้งสองมีสมาชิกเหมือนกัน • เซต A เท่ากับ เซต B เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์เป็น A = B • เซต A ไม่เท่ากับ เซต B เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์เป็น A  B • ตัวอย่าง • A = {1,2,3,4,5} , B = {5,4,3,2,1} จะได้ว่า A = B • C = {สีแดง, สีน้ำเงิน, สีขาว} , D = {สีแดง, สีน้ำเงิน, สีเหลือง} จะได้ว่า C  D เพราะ สีขาว  C แต่ สีขาว  D

  12. ความสัมพันธ์ของเซต (ต่อ) • เซตที่เทียบเท่ากัน (Equivalent Sets) - เซตสองเซตจะเทียบเท่ากันก็ต่อเมื่อเซตทั้งสองมีจำนวนสมาชิกเท่ากัน และ สมาชิกของเซตจับคู่กันได้พอดีแบบหนึ่งต่อหนึ่ง • เซต A เทียบเท่ากับ เซต B เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์เป็น A  B • ตัวอย่าง A = {1,2,3,4,5} , B = {a, b, c, d, e} จะได้ว่า A  B แต่ เซตทั้งสองมีจำนวนสมาชิกเท่ากัน และจับคู่แบบ 1:1 ได้พอดี ดังนั้น A  B • หมายเหตุ • ถ้า A = B แล้ว A  B • ถ้า A  B แล้ว ไม่อาจสรุปได้ว่า A = B

  13. แบบฝึกหัดที่ 4 • เซตแต่ละข้อต่อไปนี้เซตใดบ้างที่เท่ากัน • A = {1, 2, 3, 4, 5} B = {5, 4, 3, 2, 1} • C = {x | x เป็นจำนวนเต็มคู่ที่น้อยกว่า 10 } D = {2, 4, 6, 8} • E = {x | x เป็นจำนวนเต็ม และ x2= 49} F = {7} • A = B • C ≠ D E ≠ F

  14. สับเซต (Subset) • ข้อกำหนด • เซต A เป็นสับเซตของเซต B ก็ต่อเมื่อ สมาชิกทุกตัวของเซต A เป็นสมาชิกของเซต Bเขียนแทนด้วยA  B • เซต A ไม่เป็นสับเซตของเซต B ก็ต่อเมื่อ มีสมาชิกบางตัวของเซต A ไม่เป็นสมาชิกของเซต B เขียนแทนด้วย A  B • ข้อควรจำ •  เป็นสับเซตของทุกเซต นั่นคือ ถ้า A เป็นเซตใดๆแล้ว   A (เซตว่างเป็นสับเซตของทุกเซตเสมอ) • เซตทุกเซตเป็นสับเซตของตัวเอง นั้นคือ ถ้า A เป็นเซตใดๆแล้ว A  A

  15. ตัวอย่างสับเซต • ตัวอย่างที่ 1 A = {1, 2, 3} B = {1, 2, 3, 4, 5} ดังนั้น A  B • ตัวอย่างที่ 2 C = {x | x เป็นจำนวนเต็มบวก } = { 1, 2, 3, …} D = {x | x เป็นจำนวนคี่} = {…, -3, -1, 0, 1, 3, …} ดังนั้น C  D ( อ่านว่า C ไม่เป็นสับเซตของ D)

  16. สับเซต (ต่อ) • นิยามสับเซตแท้ เซต A จะเป็นสับเซตแท้ของเซต B ก็ต่อเมื่อ A  B และ A  B • ตัวอย่าง A = {1, 2, 3} B = {1, 2, 3, 4, 5} ดังนั้น A  B • จำนวนสับเซต ถ้า A เป็นเซตที่มีสมาชิก n ตัว จำนวนสับเซตของเซต A จะมี 2nเซต และในจำนวนนี้จะเป็นสับเซตแท้ 2n – 1 เซต

  17. แบบฝึกหัดที่ 5 • จงหาสับเซตทั้งหมดของเซตต่อไปนี้ • {1}  , {1} • {1, 2}  , {1}, {2} , {1,2} • {-1, 0, 1} , {-1}, {0}, {1}, {-1,0}, {-1,1}, {0,1}, {-1,0,1}

  18. เพาเวอร์เซต (Power Set) • เพาเวอร์เซตของเซต A หมายถึง เซตใหม่ที่มีสมาชิกเป็นสับเซตทั้งหมดของเซต A เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ P(A) • ตัวอย่างที่ 1 A = {1} สับเซตทั้งหมดของ A คือ {} , {1} ดังนั้น P(A) = {  , {1} } • ตัวอย่างที่ 2 B =  สับเซตทั้งหมดของ B คือ  ดังนั้น P(B) = {}

  19. เพาเวอร์เซต (Power Set) • จำนวนสมาชิกของเพาเวอร์เซตของเซตจำกัดจะเท่ากับ 2nเมื่อ n เป็นจำนวนสมาชิกของเซตนั้น • เช่น ถ้ากำหนดให้ A = {1, 2, 3} พบว่า เซต A มีสมาชิก 3 ตัว ดังนั้น P(A) จะต้องมีเท่ากับ 23 หรือ 8 ตัว เขียนแจกแจงสมาชิก ได้ดังนี้ P(A) = {{a}, {b}, {c}, {a,b}, {a,c}, {b,c}, {a,b,c},  }

  20. แบบฝึกหัดที่ 6 • จงหาเพาเวอร์เซตของแต่ละเซตต่อไปนี้ • {5} {, {5} } • {0, 1} {, {0} , {1} , {0,1}} • {2, 3, 4} {, {2}, {3}, {4}, {2,3} , {2,4} , {3,4} , {2,3,4}}

  21. การเขียนแผนภาพเวนน์ – ออยเลอร์(Venn – Euler Diagrams) • เป็นการเขียนแผนภาพแทนเซต เพื่อทำให้เราสามารถศึกษาเรื่องเกี่ยวกับเซตได้ง่ายและเข้าใจได้ดียิ่งขึ้น • การเขียนแผนภาพเวนน์นั้น จะใช้รูปปิดสี่เหลี่ยมมุมฉากแทน เอกภพสัมพัทธ์ (U) และรูปปิดวงกลม หรือ วงรีแทนสับเซตของ เอกภพสัมพัทธ์ U A B

  22. แผนภาพความสัมพันธ์ระหว่างเซต 1 • แผนภาพแสดงความสัมพันธ์ระหว่างเซต A กับเซต B แบ่งเป็นกรณีต่างๆ ได้ 5 กรณี ดังนี้ • กรณีที่ 1 (disjoint set) : เซต A และ เซต B ไม่มีสมาชิกซ้ำกันเลย U A B

  23. แผนภาพความสัมพันธ์ระหว่างเซต 2 • แผนภาพแสดงความสัมพันธ์ระหว่างเซต A กับเซต B แบ่งเป็นกรณีต่างๆ ได้ 5 กรณี ดังนี้ • กรณีที่ 2 (joint set) : เซต A และ เซต B มีสมาชิกซ้ำกันบางส่วน U A B

  24. แผนภาพความสัมพันธ์ระหว่างเซต 3 • แผนภาพแสดงความสัมพันธ์ระหว่างเซต A กับเซต B แบ่งเป็นกรณีต่างๆ ได้ 5 กรณี ดังนี้ • กรณีที่ 3 (A = B) : เซต A เท่ากับ เซต B U A B

  25. แผนภาพความสัมพันธ์ระหว่างเซต 4 • แผนภาพแสดงความสัมพันธ์ระหว่างเซต A กับเซต B แบ่งเป็นกรณีต่างๆ ได้ 5 กรณี ดังนี้ • กรณีที่ 4 (A  B) : เซต A เป็นสับเซตแท้ของเซต B U B A

  26. แผนภาพความสัมพันธ์ระหว่างเซต 5 • แผนภาพแสดงความสัมพันธ์ระหว่างเซต A กับเซต B แบ่งเป็นกรณีต่างๆ ได้ 5 กรณี ดังนี้ • กรณีที่ 5 (B  A) : เซต B เป็นสับเซตแท้ของเซต A U A B

  27. แบบฝึกหัด • จงเขียนแผนภาพแทนเซตต่อไปนี้เมื่อกำหนดให้เอกภพสัมพัทธ์เป็น N • A = {1,2,3,…,10} B = {1,3,5,7,9} • A = {1,2,3,…,10} B = {1,3,5,7,9} C = {1, 3, 5} • A = {1,2,3,…,10} B = {1,3,5,} C = {2, 4, 6}

  28. การกระทำกันระหว่างเซต (Operation of set) • หมายถึง การกระทำระหว่างเซตใดๆด้วยตัวกระทำ (Operation code)เกิดเป็นเซตใหม่ขึ้น • ตัวกระทำของเซต (Operation code) • ยูเนียน (Union) • อินเตอร์เซคชัน (Intersection) • คอมพลีเมนต์ (Complement) • ผลต่าง (difference)

  29. ยูเนียน (Union) • การยูเนียนระหว่างเซต A กับเซต B จะได้เซตใหม่ที่มีสมาชิกประกอบไปด้วย สมาชิกทั้งหมดที่ได้จากเซต A หรือ สมาชิกทั้งหมดที่ได้จากเซต B • สามารถเขียนเป็นภาษาคณิตศาสตร์ได้ดังนี้ A  B = { x | x  A v x  B}

  30. แผนภาพเวนน์แสดงการ Union • ความสัมพันธ์ระหว่างเซต A กับเซต B แสดงโดยแผนภาพเวนน์ 5 กรณี โดยพื้นที่แรเงาเป็นผลลัพธ์ของ A  B ดังนี้ U U U A B A B A B U U B A A B

  31. ตัวอย่าง 1 • ตัวอย่างที่ 1 กำหนดให้ A = {1, 2, 3} และ B = {1,3,5,7} จงหา A  B วิธีทำ A  B= {1,1,2,3,3,5,7} เหมือนเอาสมาชิกมาเทรวมกัน ยุบสมาชิกที่ซ้ำกัน จะได้ A  B = {1,2,3,5,7} • ตัวอย่างที่ 2 กำหนดให้ A = {1, 3} และ B = {1,2,3,4} จงหา A  B วิธีทำ จะเห็นว่าA  B ดังนั้น A  B = {1,2,3,4} นั่นคือ ถ้า A  B แล้วจะได้ A  B =B เสมอ

  32. อินเตอร์เซคชัน (Intersection) • การอินเตอร์เซคชันระหว่างเซต A กับเซต B จะได้เซตใหม่ที่มีสมาชิกประกอบไปด้วย สมาชิกที่ซ้ำซ้อนกันของเซต A และ เซต B • สามารถเขียนเป็นภาษาคณิตศาสตร์ได้ ดังนี้ A  B = { x | x  A ^ x  B}

  33. แผนภาพเวนน์แสดงการ Intersection • ความสัมพันธ์ระหว่างเซต A กับเซต B แสดงโดยแผนภาพเวนน์ 5 กรณี โดยพื้นที่แรเงาเป็นผลลัพธ์ของ A  B ดังนี้ U U A B A B U U B A A B

  34. ตัวอย่าง 1 • ตัวอย่างที่ 1 กำหนดให้ A = {1, 2, 3} และ B = {0, 2, 4} จงหา A  B และ B  A วิธีทำ A  B= {2} เลือกเฉพาะสมาชิกที่ซ้ำซ้อนกัน และ B  A = {2} จะเห็นว่า A  B =B  A (สลับที่ได้) • ตัวอย่างที่ 2 กำหนดให้ A = {1, 3, 5} และ B = {2,4,6} จงหา A  B วิธีทำ จะเห็นว่าA กับ B ไม่มีสมาชิกซ้ำกันเลย ดังนั้น A  B = {} หรือ A  B = 

  35. คอมพลีเมนต์ (Complements) • ถ้า A เป็นเซตใดๆในเอกภพสัมพัทธ์ U คอมพลีเมนต์ของเซต A จะได้เซตใหม่ที่ประกอบด้วยสมาชิกในเอกภพสัมพัทธ์ที่ไม่เป็นสมาชิกของเซต A • สามารถเขียนเป็นภาษาคณิตศาสตร์ได้ ดังนี้ A’ = {x | x  U ^ x  A}

  36. ตัวอย่าง • ตัวอย่างที่ 1 กำหนดให้ U = {1,2,3,4,5} และ A = {1, 2, 3} จงหา A’ วิธีทำ A’ ได้มาจากสมาชิกที่อยู่ใน U แต่ไม่ได้อยู่ใน A ดังนั้น A’ = {4, 5}

  37. ผลต่าง (difference) • ผลต่างระหว่างเซต A กับเซต B จะได้เซตใหม่ที่มีสมาชิกประกอบไปด้วย สมาชิกทุกตัวที่อยู่ในเซต A แต่ต้องไม่อยู่ในเซต B • สามารถเขียนเป็นภาษาคณิตศาสตร์ได้ ดังนี้ A - B = { x | x  A ^ x  B}

  38. แผนภาพเวนน์แสดง Difference • ความสัมพันธ์ระหว่างเซต A กับเซต B แสดงโดยแผนภาพเวนน์ 5 กรณี โดยพื้นที่แรเงาเป็นผลลัพธ์ของ A - B ดังนี้ U U A B A B U U B A A B

  39. ตัวอย่าง 1 • ตัวอย่างที่ 1 กำหนดให้ A = {1, 3, 5} และ B = {1, 2, 3} จงหา A - B วิธีทำ A - B จะได้เซตใหม่ที่มีสมาชิกได้จากเซต A แต่ไม่อยู่ในเซต B ดังนั้น A – B = {5} • ตัวอย่างที่ 2 กำหนดให้ A = {-3,-1,0, 1, 2, 3, 8} และ B = {x | x  I+ } จงหา (A – B) วิธีทำA – B = {-3, -1, 0}

  40. แบบฝึกหัด • กำหนดให้ U = {0, 1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8} A = {0, 2, 4, 6, 8} , B = {1, 3, 5, 7} และ C = {3, 4, 5, 6} จงเขียนเซตต่อไปนี้แบบแจกแจงสมาชิก • B C B C = {1, 3, 4, 5, 6, 7} • A C A C = {4, 6} • C’ C’= {0, 1, 2, 7, 8}

  41. แบบฝึกหัด • จากแผนภาพที่กำหนด จงแรเงาส่วนของพื้นที่เพื่อแทนเซตต่อไปนี้ • A B’ • A’ • A’ B

  42. จำนวนสมาชิกของเซตจำกัดจำนวนสมาชิกของเซตจำกัด • ถ้า A เป็นเซตจำกัด สามารถหาจำนวนสมาชิกของเซต A ได้ เขียนแทนด้วย n(A) • ถ้า A และ B เป็นเซตจำกัดที่อยู่ในเอกภพสัมพัทธ์ U แล้ว • n(A  B) = n(A) + n(B) – n(A B) • n(A – B) = n(A) – n(A  B) • n(B – A) = n(B) – n(A  B) • ถ้า A, B และ C เป็นเซตจำกัดที่อยู่ในเอกภพสัมพัทธ์ U แล้ว n(A  B  C) = n(A) + n(B) + n(C) – n(AB) – n(AC) – n(BC) + n(ABC)

  43. การหาจำนวนสมาชิกของเซต 2 เซต การหาจำนวนสมาชิกของเซต 2 เซต สามารถทำได้โดยการใช้เทคนิคต่างๆเหล่านี้ • เทคนิคที่ 1 ใช้สูตร n(A  B) = n(A) + n(B) – n(A B) ข้อแนะนำ เหมาะกับการแก้ปัญหาที่โจทย์บอกจำนวนสมาชิกในแต่ละเซตมาให้แล้ว • เทคนิคที่ 2 ใช้การแทนที่ ทีละส่วนลงไปในแผนภาพเวนน์ • เทคนิคที่ 3 การแทนตัวแปรลงไปทีละส่วนในแผนภาพเวนน์ ข้อแนะนำ กรณีที่โจทย์ไม่ได้บอกจำนวนข้อมูลของแต่ละเซตมาตรงๆ เทคนิคนี้จะช่วยแก้ปัญหาได้ง่ายกว่าการใช้สูตร

  44. ตัวอย่างการหาจำนวนสมาชิกของ 2 เซต ตัวอย่าง จากการสอบถามนักเรียน 100 คน พบว่านักเรียน 60 คนชอบเรียนวิชาฟิสิกส์, 30 คนชอบเรียนวิชาคณิตศาสตร์ และชอบเรียนทั้งฟิสิกส์และคณิตศาสตร์จำนวน 20 คน จงหา จำนวนนักเรียนที่ไม่ชอบทั้งสองวิชา วิธีทำ ให้ U แทนเซตของกลุ่มนักเรียนที่ถูกสอบถาม n(U) = 100 คน A แทนเซตของนักเรียนที่ชอบวิชาฟิสิกส์ n(A) = 60 คน B แทนเซตของนักเรียนที่ชอบวิชาคณิตฯ n(B) = 30 คน และ นักเรียนที่ชอบเรียนทั้งฟิสิกส์และคณิตฯ n(AB) = 20 คน จากสูตร นักเรียนที่ไม่ชอบเรียนทั้งสองวิชา n[(AB)’] หาได้จาก n[(AB)’] = n(U) – n(A U B) = 100 – 70 = 30 ดังนั้น นักเรียนที่ไม่ชอบเรียนทั้ง 2 วิชามี 30 คน

  45. แบบฝึกหัด • จากการสอบถามพ่อบ้าน พบว่า มีผู้ที่ดื่มชาหรือกาแฟเป็นประจำจำนวน 120 คน มีผู้ที่ชอบดื่มชา 60 คน ชอบดื่มกาแฟ 70 คน จงหาจำนวนพ่อบ้านที่ชอบดื่มทั้งชาและกาแฟ

  46. การหาจำนวนสมาชิกของเซต 3 เซต • สำหรับเทคนิคในการหาจำนวนสมาชิกของเซต 3 เซตก็สามารถทำในลักษณะเดียวกันกับกรณีของเซต 2 เซตได้ • ในกรณีที่ต้องการแก้ปัญหาโดยการใช้สูตร สูตรที่ใช้แสดงได้ ดังนี้ n(A  B  C) = n(A) + n(B) + n(C) – n(AB) – n(AC) – n(BC) + n(ABC) ข้อแนะนำสำหรับเทคนิคนี้ จะใช้ได้เมื่อโจทย์กำหนดจำนวนของตัวแปรต่างๆในสมการมาให้ครบ

  47. ตัวอย่าง • ผลการสอบวิชาภาษาไทย สังคม และคณิตศาสตร์ของนักเรียน 45 คนเป็นดังนี้ • สอบได้ทั้ง 3 วิชา 18 คน • สอบภาษาไทยได้ 15 คน • สอบคณิตศาสตร์ได้ 9 คน • สอบสังคมได้ 13 คน • สอบตกวิชาคณิต กับ สังคม 8 คน • สอบตกวิชาคณิต กับ ภาษาไทย 7 คน • สอบตกวิชาสังคม กับ ภาษาไทย 5 คน จงหาว่าผู้สอบตกทั้ง 3 วิชามีกี่คน

  48. แบบฝึกหัด • จากการสำรวจผู้ถือหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ จำนวน 3000 คน พบว่า มีผู้ถือหุ้นบริษัท ก, ข, และ ค ดังนี้ • ผู้ถือหุ้นบริษัท ก จำนวน 200 คน • ผู้ถือหุ้นบริษัท ข จำนวน 250 คน • ผู้ถือหุ้นบริษัท ค จำนวน 300 คน • ผู้ถือหุ้นบริษัท ก และ ข จำนวน 50 คน • ผู้ถือหุ้นบริษัท ข และ ค จำนวน 40 คน • ผู้ถือหุ้นบริษัท ก และ ค จำนวน 30 คน จากจำนวนผู้ถือหุ้นที่สำรวจ จงหาจำนวนผู้ถือหุ้นที่ไม่ใช่ของสามบริษัทนี้

  49. เฉลย แบบฝึกหัด

  50. มีคำถามไหมค่ะ ?

More Related