1 / 15

มหาเวสสันดรชาดก

มหาเวสสันดรชาดก.

yakov
Download Presentation

มหาเวสสันดรชาดก

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. มหาเวสสันดรชาดก

  2. มหาเวสสันดรชาดกเป็นชาดกเรื่องใหญ่ กล่าวถึงพระโพธิสัตว์ซึ่งเสวยพระชาติเป็นพระเวสสันดรได้บำเพ็ญบารมีอย่างสูงสุด ยากเกินกว่าจะมีผู้ใดทำได้คือให้บุตรและภรรยาแก่ผู้ที่มาขอ นอกจากนั้นยังบำเพ็ญบารมีอันยิ่งใหญ่อื่นครบถ้วนทั้ง ๑๐ ประการ จึงเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "มหาชาติ" และการเทศน์เรื่องพระเวสสันดรก็เรียกว่าเทศน์มหาชาติ

  3. สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ประชุมนักปราชญ์ราชบัณฑิตแต่งขึ้นเมื่อปีขาล พ.ศ. ๒๐๒๕ เรียกชื่อว่า "มหาชาติ" เป็นคำคละกันมีทั้งโคลง ฉันท์ กาพย์ ร่ายมีวัตถุประสงค์แต่งขึ้นเพื่อใช้ในการสวดในวันสำคัญทางศาสนา เช่น วันเข้าพรรษา ต่อมาในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม โปรดให้นามหาเวสสันดรชาดกขึ้นอีก คือพ.ศ. ๒๑๔๕ เรียกชื่อว่า "กาพย์มหาชาติ" เป็นคำประพันธ์ชนิดร่ายยาว วัตถุประสงค์แต่งขึ้นเพื่อใช้สำหรับเทศน์

  4. มหาเวสสันดรชาดก มีทั้งหมด ๑๓ กัณฑ์ ๑.กัณฑ์ทศพร ๒.กัณฑ์หิมพานต์ ๓.กัณฑ์ทานกัณฑ์ ๔.กัณฑ์วนปเวสน์ ๕.กัณฑ์ชูชก ๖.กัณฑ์จุลพน ๗.กัณฑ์มหาพน ๘.กัณฑ์กุมาร ๙.กัณฑ์มัทรี ๑๐.กัณฑ์สักกบรรณ ๑๑.กัณฑ์มหาราช ๑๒.กัณฑ์ฉกษัตริย์ ๑๓.กัณฑ์นครกัณฑ์

  5. ตัวละคร พระเจ้ากรุงสนชัย    เป็นแบบอย่างของนักปกครองฟังเสียงส่วนมากไม่เห็นแก่พวก พระนางผุสดีเป็นแบบอย่างของนักปกครองฟังเสียงส่วนมากไม่เห็นแก่พวก พระนางมัทรีเป็นแม่แบบของภรรยาผู้มีลักษณะเป็นกัลยาณมิตรของสามี พระชาลีเป็นแบบอย่างของลูกที่เชื่อฟังพ่อแม่ ชูชกเป็นแบบอย่างของคนที่ติดอยู่ในกาม พรานเจตบุตรเป็นแบบอย่างของคนดีแต่ขาดความเฉลียวฉลาด พระกัณหาเป็นแบบอย่างของลูกที่เชื่อฟังพ่อแม่ พระเวสสันดรเป็นแบบอย่างของผู้เสียสละประโยชน์ส่วนตัว นางอมิตตดาเป็นแบบอย่างของลูกที่เชื่อฟังตั้งอยู่ในโอวาทพ่อแม่

  6. สรุปเรื่องย่อ ครั้งหนึ่ง ณ กรุงเชตุดร พระนางผุสดี พระมเหสีของพระเจ้ากรุงสนชัย ได้รับพรวิเศษจากพระอินทร์ โดยพรวิเศษนั้น พระนางผุสดี ได้มากถึง 10 ข้อ มีข้อหนึ่งพระนางขอให้ได้เป็นพระมารดาของพระโพธิสัตว์ และเมื่อพระนางทรงตั้งครรภ์ พระนางผุสดีก็ประสูติพระโอรส ชื่อว่า “พระเวสสันดร” พระเวสสันดรยิ่งเจริญวัยมากขึ้นเท่าใด พระองค์ก็ยิ่งทรงบริจาคทานแก่ประชาชนมากขึ้นตามลำดับ เมื่อพระเวสสันดรมีพระชันษาได้ 16 พรรษา พระองค์ได้อภิเษกสมรสกับพระนางมัทรี พระราชธิดาแห่งกรุงมัทราช เมื่อขึ้นครองราชสมบัติ พระองค์ก็ยิ่งบริจาคทานมากขึ้นและมากยิ่งขึ้น ทรงโปรดให้สร้างโรงทาน 6 แห่ง ต่อมาเมื่อพระนางมัทรีได้ประสูตรพระราชธิดาและพระราชโอรส

  7. ทรงพระนามว่า กัณหา และ ชาลี ต่อมามีอยู่คราวหนึ่ง แคว้นกลิงคราฐเกิดฝนแล้ง เจ้าเมืองกลิงกราฐ ได้ข่าวว่าช้างคู่บุญของพระเวสสันดรที่ชื่อ “ช้างปัจจยานาเคนทร์” เป็นช้างมงคล ถ้าไปอยู่ที่ใด ที่นั่นฝนจะตกต้องตามฤดูกาล พระองค์จึงส่งพราหมณ์ แปดคนไปขอช้างจากพระเวสสันดร พระเวสสันดรจึงบริจาคทานให้ไป ทำให้ชาวเมืองเชตุดรโกรธแค้นขอให้พระเจ้ากรุงสนชัยขับพระเวสสันดรออกจากเมือง พระเจ้ากรุงสนชัยมิรู้จะทำประการใด จึงต้องยอมทำตามคำร้องเรียนของ ประชาชน พระเวสสันดร พร้อมด้วยพระนางมัทรี และสองกุมารกัณหาชาลี ทรงรถเทียมม้าเสด็จนอกเมือง ระหว่างทางมีพราหมณ์มาดักรอขอราชรถ พระเวสสันดรก็บริจาคให้ แล้วทุกพระองค์ก็เสด็จโดย พระบาทเดินทางมุ่งเข้าป่าไป ทั้งสี่พระองค์เดินทางมาจนกระทั้งถึงสระบัวใหญ่เชิงเขาวงกต

  8. ซึ่งเทวดาเนรมิตไว้ พระเวสสันดรจึงตกลงผนวชเป็นฤๅษี บำเพ็ญภาวนาอยู่ที่นี่กล่าวถึงชูชก เป็นขอทานแก่โลภมาก มีเมียสาวสวยชื่อ อมิตตา นางอมิตตาขยันขันแข็ง จึงเป็นที่รังเกียจของบรรดาหญิงที่เกียจคร้าน ทำให้บรรดาหญิงที่เกียจคร้านนั้นพากันด่าทอทุบตี จนนางอมิตตาไม่กล้าออกไปทำงานนอกบ้าน จึงอ้อนวอนขอให้ชูชกไปขอลูกทั้งสองของพระเวสสันดรมาให้นางใช้ต่างทาส ชูชกด้วยความที่รักเมีย จึงเดินทางไปขอลูกทั้งสองของพระเวสสันดรมาให้ พระเวสสันดรก็บริจาคทานให้กับชูชก ต่อมาเมื่อเรื่องรู้เข้าไปถึงเมืองหลวง มารดาของพระเวสสันดรก็ให้ไปรับตัวหลานทั้งสองเข้าเมือง และให้รางวัลกับชูชก ชูชกได้รับรางวัลและอาหารมากมาย กินจนท้องแตกตาย

  9. กัณฑ์ที่๙ กัณฑ์มัทรี รุ่งเช้าพระนางมัทรี เข้าป่าหาผลไม้ "เกิดเหตุแปลกประหลาดมหัศจรรย์ ไม่มีผลไม้ให้เก็บเหมือนดังกับวันก่อน นางรีบย้อนกลับเคหา ก็เกิดพายุใหญ่ พระนางทรงห่วงหน้าพะวงหลัง เกรงจะมีภัยแต่พระเวสสันดร กัณหาและชาลีพระนางมัทรีรีบยกหาบใส่บ่ารีบเดินทาง พบกับสองเสือสามสัตว์มานอนสกัดหน้า เทวดาสามองค์แปลงร่างเป็นราชสีห์ เสือเหลือง เสือโคร่งสกัดทางนางไว้เพื่อมิให้พระนางมัทรีติดตามกัณหา ชาลีได้ทัน แต่ถึงกระนั้น เมื่อยามทุกข์เข้าบีบคั้น ความรักลูก ความห่วงพระภัสดา พระนางจึงก้มกราบวิงวอน ขอหนทางต่อพญาสัตว์ทั้งสาม เมื่อได้หนทางแล้ว พระนางก็รีบเสด็จกลับอาศรมเมื่อมาถึงอาศรม ไม่พบกัณหา ชาลี บัดนี้ลูกรักทั้งคู่ไปไหนเสีย จึงมิมารับแม่เล่า ครั้นเข้าไปถามพระเวสสันดรก็ถูกตัดพ้อต่อว่าต่าง ๆ จนพระนางมัทรีถึงวิสัญญีภาพสลบลง พระเวสสันดรทรงปฐมพยาบาลจนพระนางมัทรีฟื้น แล้วจึงแจ้งความจริงว่า พระองค์ได้ทรงยกลูกรักชายหญิงทั้งสอง มอบให้แก่ชูชกไปแล้วตั้งแต่เมื่อวาน

  10. คุณค่าด้านวรรณศิลป์ ๑.การใช้ธรรมชาติเปรียบกับความทุกข์โศกของพระนางมัทรี เนื้อหากัณฑ์มัทรีนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่างธรรมชาติกับพระนางมัทรีอย่างชัดเจน สภาพธรรมชาติที่แตกต่างไปจากปกติ แสดงให้เห็นว่าเป็นลางบอกเหตุแก่พระนางมัทรีว่าจะเกิดเรื่องร้ายๆ

  11. ๒.การเล่นเสียง ๒.๑ การเล่นเสียงสัมผัสพยัญชนะเสียงเดียวกันต่อๆ กันหลายคำ เช่น “ ก็กลายเป็นดอกดวงเดียรดาษอนาถเนตร” ๒.๒ การเล่นเสียงสัมผัสสระที่เป็นเสียงเสนาะอันเกิดจากการเล่นเสียงสระ “ นางก็ถึงวิสัญญีสลบลงตรงหน้าฉานปานประหนึ่งว่าพุ่มฉัตรทองอันต้องสายอัสนีฟาดระเนนเอนก็ล้มลงตรงหน้าพระที่นั่งเจ้านั้นแล” ๒.๓การเล่นทั้งเสียงสัมผัสพยัญชนะและสระ เช่น “ แม่ยังกลับหลังมาโลมลูบจูบกระหม่อมจอมเกล้าทั้งสองเรา” “ เจ้าเคยเคียงเรียงเคียงหมอนนอนแนบข้างทุกราตรี”

  12. ๓. การเล่นคำ มีการเล่นคำที่เรียกว่า “สะบัดสะบิ้ง” ซึ่งจะแบ่งคำออกเป็นสองกลุ่มเท่าๆ กัน แล้วซ้ำคำเดียวกันที่มีเสียงสระสั้นในพยางค์หน้า ส่วนพยางค์หลังเล่นเสียงพยัญชนะเดียวกันแต่ต่างเสียงสระกัน ก่อให้เกิดจังหวะคำที่ไพเราะ เช่น คำว่า “สะอึกสะอื้น” ในข้อความว่า “พระนางยิ่งหมองศรีโศกกำสรดสะอึกสะอื้น”และคำว่า “ตระตรากตระตรำ” ในข้อความว่า “อุตสาหะตระตรากตระตรำเตร็ดเตร่หาผลาผลไม้” และการเล่นคำซ้ำ

  13. ๔.การใช้ภาพพจน์ ๔.๑ การใช้ภาพพจน์แบบอุปมาเป็นการเปรียบเทียบสิ่งหนึ่งว่าเหมือนอีกสิ่งหนึ่ง เช่น เปรียบเทียบพระทัยเต้นระทึกของพระนางมัทรีกับกายอันสั่นรัวของปลาที่ถูกตี ดังปรากฏในเนื้อความว่า“พระทรวงนางสั่นระริกดั่งตีปลา” เปรียบความเจ็บปวดพระทัยของนางมัทรีที่พระเวสสันดรไม่ยอมตรัสตอบ ๔.๒ การใช้ภาพพจน์แบบอุปลักษณ์ เป็นการเปรียบว่าอีกสิ่งหนึ่ง“เป็น” หรือ “คือ” อีกสิ่งหนึ่ง เช่น “หวังว่าจะเป็นเกือกทองฉลองบาทยุคลทั้งคู่แห่งพระคุณผัว” ๔.๓ การใช้ภาพพจน์แบบสัทพจน์ นอกจากนี้ยังมีการใช้สัทพจน์หรือคำเลียนเสียง ทำให้ข้อความมีชีวิตชีวานิ่งขึ้น เช่น “แต่ย่างเหยียบเกรียบกรอบก็เหลียวหลัง” ๔.๔ การใช้ภาพพจน์แบบบุคลวัต เป็นการใช้ภาพพจน์ที่มีชีวิตที่มิใช่มนุษย์และสิ่งไม่มีชีวิต ทำกิริยาอาการเลียนแบบมนุษย์ เช่น “ได้ยินแต่เสียงดุเหว่าละเมอร้องก้องพนาเวศ”

  14. คุณค่าด้านสังคม • แสดงให้เห็นความรักอันยิ่งใหญ่ที่แม่มีต่อลูก ความเป็นห่วงเป็นใย การดูแลเอาใจใส่ • ความมีเมตตา การบริจาคทานให้แก่ผู้ที่ด้อยกว่าตน

  15. อ้างอิง • http://www.reurnthai.com/index.php?topic=478.5;wap2 • http://meesang.exteen.com/20080504/entry-3?n=y

More Related