1 / 50

แนะนำ

แนะนำ. ศึกษาความรู้พื้นฐานและส่วนประกอบต่าง ๆ ของโปรแกรม การ Macromedia Dreamweaver สร้างไซต์ การกำหนดค่าเริ่มต้นของโปรแกรมให้ใช้ภาษาไทยได้อย่างสมบูรณ์ การกำหนดตัวอักษร การปรับเปลี่ยนสีพื้นหลังของเว็บเพจ การใช้โปรแกรม webBrowser การบันทึกเว็บเพจ. MACROMEDIA DREAMWEAVER MX. E-LEARNING.

yael-perry
Download Presentation

แนะนำ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. แนะนำ • ศึกษาความรู้พื้นฐานและส่วนประกอบต่าง ๆ ของโปรแกรม การMacromedia Dreamweaverสร้างไซต์ การกำหนดค่าเริ่มต้นของโปรแกรมให้ใช้ภาษาไทยได้อย่างสมบูรณ์ การกำหนดตัวอักษรการปรับเปลี่ยนสีพื้นหลังของเว็บเพจ การใช้โปรแกรม webBrowserการบันทึกเว็บเพจ

  2. MACROMEDIA DREAMWEAVER MX E-LEARNING  ทำความรู้จักกับ Macromedia Dreamweaver MX Macromedia Dreamweaver Mx จัดเป็นโปรแกรมสำเร็จรูปอีกโปรแกรมหนึ่งที่เป็นที่นิยมของกลุ่มบุคคลทั่วไปเนื่องจากมีการใช้งานที่ค่อนข้างง่ายและไม่ซับซ้อนมากนัก โปรแกรม Macromedia Dreamweaver เป็นโปรแกรมสร้างเอกสารเว็บที่ทำงานในลักษณะ HTML Generator คือ โปรแกรมจะสร้างรหัสคำสั่ง HTML ให้อัตโนมัติ โดยผู้ใช้ไม่ต้องศึกษาภาษา HTML หรือป้อนรหัสคำสั่ง HTML มีลักษณะการทำงานคล้ายๆ กับการพิมพ์เอกสารด้วย Word Processor อาศัยปุ่มเครื่องมือ (Toolbars) หรือแถบคำสั่ง (Menu Bar) ควบคุมการทำงาน ช่วยให้ง่ายต่อการใช้งาน สะดวก และรวดเร็ว << >>  

  3. คำชี้แจงบทเรียน • ทำแบบทดสอบก่อนเรียน • ศึกษาเนื้อหา บทเรียน ทั้งหมดให้ครบ • ทำแบบทดสอบหลังเรียน

  4. วัตถุประสงค์บทเรียน • จุดประสงค์รายวิชา 1.  เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับส่วนประกอบต่างๆ ของโปรแกรม2.  เพื่อให้มีทักษะในการและเข้าใจการใช้งานเครื่องต่าง ๆ ของโปรแกรม3.  เพื่อให้มีทักษะและเข้าในการสร้างเว็บไซต์เบื้องต้น

  5. รายการเมนูหลัก(สาระการเรียนรู้)รายการเมนูหลัก(สาระการเรียนรู้) • การเข้าใช้โปรแกรม Macromedia Dreamweaver • ส่วนต่างๆ ของโปรแกรม Macromedia Dreamweaver • ตั้งค่าให้ Macromedia Dreamweaverใช้ภาษาไทยได้ • มุมมองการทำงานใน Macromedia Dreamweaver • การกำหนดค่าเว็บไซต์ใหม่ • เริ่มต้นสร้างเว็บไซต์ • การสร้างเส้นคั่นระหว่างบรรทัด • การเปลี่ยนสีพื้นหลังของเว็บ • การชมเว็บผ่านทาง web Browser • การบันทึกเว็บเพจ

  6. Pretest • ทำแบบทดสอบก่อนเรียน

  7. เนื้อหาบทเรียน • การเข้าใช้โปรแกรม Macromedia Dreamweaver • ส่วนต่างๆ ของโปรแกรม Macromedia Dreamweaver • ตั้งค่าให้ Macromedia Dreamweaverใช้ภาษาไทยได้ • มุมมองการทำงานใน Macromedia Dreamweaver • การกำหนดค่าเว็บไซต์ใหม่ • เริ่มต้นสร้างเว็บไซต์ • การสร้างเส้นคั่นระหว่างบรรทัด • การเปลี่ยนสีพื้นหลังของเว็บ • การชมเว็บผ่านทาง web Browser • การบันทึกเว็บเพจ

  8. สื่อการเรียนรู้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนสื่อการเรียนรู้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน E-LEARNING เหมาะสำหรับผู้ที่เริ่มศึกษาการใช้งานโปรแกรมในระดับพื้นฐาน

  9. MACROMEDIA DREAMWEAVER MX E-LEARNING • ขั้นตอนการเปิดใช้งานโปรแกรม Marcromedia Dreamweaver MX ในการเข้าไปใช้โปรแกรม Macromedia Dreamweaver MX นั้นสามารถทำได้ 2 วิธีการคือ 1. เข้าเปิดโปรแกรมจาก Shortcut Icon จาก Desktop โดยจากDouble Click ที่ไอคอนของโปรแกรม

  10. MACROMEDIA DREAMWEAVER MX E-LEARNING 2. การเข้าโปรแกรมผ่านทาง Taskbar โดยไปที่ Start  All Program  Marcromedia  Macromedia Dreamweaver MX << >>  

  11. E-LEARNING MACROMEDIA DREAMWEAVER MX • ส่วนต่าง ๆ ของโปรแกรม Macromedia Dreamweaver MX 1 2 3 4 6 7 5 << >>  

  12. MACROMEDIA DREAMWEAVER MX E-LEARNING • ส่วนต่าง ๆ ของโปรแกรม Macromedia Dreamweaver MX หมายเลข 1 แถบ Title Bar ทำหน้าในการบอกชื่อโปรแกรมที่กำลังใช้งานอยู่ ชื่อไฟล์เว็บเพจที่กำลังทำออกแบบหรือแก้ไขอยู่ รวมถึงแถบรายการควบคุมหน้าต่างงานด้วย << >>  

  13. MACROMEDIA DREAMWEAVER MX E-LEARNING • ส่วนต่าง ๆ ของโปรแกรม Macromedia Dreamweaver MX หมายเลข 2 แถบเมนูบาร์ เป็นแถบที่รวบคำสั่งที่ใช้ในการสร้างเว็บไซต์ที่สำคัญต่าง ๆ ต่อการออกแบบเว็บไซต์ ประกอบด้วย File , Edit , View , Insert , Modify , Text , Commands , Site , Windows และ Help หมายเลข 3 แถบทูลบาร์แหล่งรวมเครื่องมือต่าง ๆ ที่จำเป็นในการสร้างเว็บไซต์ รวมถึงเป็นคำสั่งที่มีการใช้งานที่บ่อย ช่วยลดระยะเวลาในการเลือกใช้คำสั่งจากแถบเมนูบาร์ << >>  

  14. MACROMEDIA DREAMWEAVER MX E-LEARNING • ส่วนต่าง ๆ ของโปรแกรม Macromedia Dreamweaver MX หมายเลข 4 หน้าต่างเว็บเพจ (Document Window) เป็นพื้นที่ที่ใช้ในการออกแบบและสร้างเว็บเพจ รวมถึงการออกแบบและแก้ไขหน้าเว็บเพจ << >>  

  15. MACROMEDIA DREAMWEAVER MX E-LEARNING • ส่วนต่าง ๆ ของโปรแกรม Macromedia Dreamweaver MX หมายเลข 5 แถบควบคุมค่าการทำงาน (PropertiesInspector) ทำหน้าที่ในการตั้งค่ากำหนดต่าง ๆ ของข้อความ วัตถุ เป็นต้น หมายเลข 6 แถบสถานการทำงาน (Status Bar) เป็นส่วนที่บอกถึงการทำงานต่าง ๆ ที่เรากำลังทำงานอยู่ว่ากำลังทำงานอยู่ในส่วนใดบ้าง ๆ << >>  

  16. MACROMEDIA DREAMWEAVER MX E-LEARNING • ส่วนต่าง ๆ ของโปรแกรม Macromedia Dreamweaver MX หมายเลข 7 แถบกลุ่มงานพาเนล (Panal Group) เป็นส่วนที่ช่วยเพิ่มความสามารถในการจัดการกับการออกแบบ แก้ไข และพัฒนาหน้าเว็บเพจ << >>  

  17. MACROMEDIA DREAMWEAVER MX E-LEARNING • ตั้งค่าให้ Dreamweaver ให้ใช้งานภาษาไทยได้อย่างไม่มีปัญหา 1. ไปที่เมนูบาร์คลิกที่ Edit เลือก Preferences หรือกดคีย์ลัด คือ Ctrl + U << >>  

  18. MACROMEDIA DREAMWEAVER MX E-LEARNING • ตั้งค่าให้ Dreamweaver ให้ใช้งานภาษาไทยได้อย่างไม่มีปัญหา 2. หลังจากนั้นจะเกิดหน้าต่าง Preferences ให้เลือกหัวข้อ Fonts ทางด้านขวามือจะปรากฏกรอบ Fonts ขึ้น ในหัวข้อ Font Setting เลือก Thai Windows 874 แล้วตั้งค่าแบบอักษรดังภาพส่วนขนาดของอักษรเลือกได้ตามใจชอบ << >>  

  19. MACROMEDIA DREAMWEAVER MX E-LEARNING • ตั้งค่าให้ Dreamweaver ให้ใช้งานภาษาไทยได้อย่างไม่มีปัญหา 3. หลังจากนั้นให้ไปที่หัวข้อ New Document ในกรอบทางด้านซ้ายมือในหัวข้อ Default Encoding ให้เป็นหัวข้อ Thai Windows-874 แล้วคลิกปุ่ม OK เพียงเท่านี้เราก็สามารถเปิดโปรแกรม Macromedia Dreamweaver MX แล้วสามารถใช้งานภาษาได้ตามปกติ << >>  

  20. MACROMEDIA DREAMWEAVER MX E-LEARNING • มุมมองการทำงานใน Macromedia Dreamweaver MX มุมสำหรับการทำงานในการออกแบบเว็บไซต์นั้นในโปรแกรม Macromedia Dreamweaver MX นั้นผู้ใช้สามารถเลือกมุมการทำงานได้ 3 รูปแบบการทำงานได้ตามความใจชอบ 1. มุมมอง CODE VIEW เป็นมุมมองแสดง CODE ภาษาของการสร้างเว็บไซต์ รวมถึงสริปต์ต่าง ๆ ตามที่เราได้ทำการออกแบบเว็บไซต์ไว้ เหมาะสำหรับผู้ที่มีความชำนาญต่อการเขียน CODE ภาษาต่าง ๆ วิธีการใช้งานมุมมองCODW VIEW ทำได้โดยการคลิกที่ไอคอน หรือไปที่เมนูบาร์เลือก View เลือก CODE หน้าจอ Document View จะเปลี่ยนเป็นผลลัพธ์ดังภาพ << >>  

  21. MACROMEDIA DREAMWEAVER MX E-LEARNING • มุมมองการทำงานใน Macromedia Dreamweaver MX 2. มุมมอง CODE AND Design เป็นมุมมองที่แสดง CODE ภาษาพร้อมกับหน้าเว็บเพจที่เรากำลังทำงานอยู่ เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการศึกษาการทำงานของการเขียน CODE ภาษา โดยผู้ใช้สามารถเลือกทำงานได้ทั้งสองส่วน วิธีการใช้งานมุมมอง CODE AND VIEW โดยคลิกที่ไอคอน หรือไปที่แทบเมนูบาร์แล้วเลือกหัวข้อ View เลือก CODE AND DESIGN จะได้ผลลัพธ์ดังรูป << >>  

  22. MACROMEDIA DREAMWEAVER MX E-LEARNING • มุมมองการทำงานใน Macromedia Dreamweaver MX 3. มุมมอง Design View เป็นมุมมองที่เหมาะแก่ผู้ที่ไม่มีความรู้ในเรื่องของการเขียน CODE ภาษา เป็นมุมมองที่ใช้งานง่ายเพราะผู้ใช้งานแค่จัด ตกแต่ง ออกแบบ แก้ไข ในแต่ละหน้าหน้าเว็บเพจเท่านั้น โปรแกรม Marcromedia Dreamweaver MX จะทำการเขียน CODE ภาษาให้เราอัตโนมัติ วิธีการใช้มุมมอง Design View เพียงแค่คลิกที่ไอคอน หรือไปที่แถบเมนูบาร์ View แล้วเลือก Design View แล้วจะได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ << >>  

  23. MACROMEDIA DREAMWEAVER MX E-LEARNING • การออกจากโปรแกรม Macromedia Dreamweaver MX การออกจากโปรแกรม Marcromedia Dreamweaver MX นั้นทำได้โดยการไปที่เมนูบาร์เลือก File ตามด้วย Exit โดยจะเป็นการสิ้นสุดการใช้งานโปรแกรม นอกจากนั้นผู้ใช้งานยังสามารถเลือกขั้นตอนการออกจากโปรแกรมได้อีก 3 วิธีการคือ 1. คลิกเม้าส์ที่ไอคอน บริเวณมุมบนด้านขวาของโปรแกรม 2. คลิกเม้าส์ที่ไอคอน บริเวณแถบ Title Bar แล้วเลือก Close 3. กดคีย์ลัด คือ CTRL+Q << >>  

  24. เริ่มใช้งาน Macromedia Dreamweaver MX E-LEARNING เราสามารถสร้างเว็บไซต์ด้วยโปรแกรม Macromedia Dreamweaver MX โดยเริ่มจากการกำหนดโครงสร้างเว็บไซต์ โดยการกำหนดโครงร่างเว็บไซต์รเราอาจทำการร่างลงในกระดาษก่อนอย่างง่าย โดยเริ่มจากหน้าหลักของเว็บไซต์ตามด้วยหน้าต่าง ๆ ที่เกิดจากจุดเชื่อมโยงภายในหน้าหลักเชื่อมต่อออกไปอีกเรื่อย ๆ ตัวอย่างดังรูป E.HTML F.HTML A.HTML WWW.BYBYE.COM G.HTML B.HTML INDEX.HTML Y.HTML V.HTML D.HTML >>   <<

  25. เริ่มใช้งาน Macromedia Dreamweaver MX E-LEARNING • การกำหนดเว็บไซต์ใหม่ใน Dreamweaver MX ในการสร้างเว็บไซต์นั้นจะเป็นการกำหนดโฟลเดอร์ที่ใช้ในการเก็บไฟล์เว็บเพจของเราที่จะทำการสร้างขึ้น โดยมีขั้นตอนการกำหนดเว็บไซต์ดังต่อไปนี้ 1. คลิกที่เมนูบาร์เลือก Site แล้วเลือก New Site เพื่อเข้าสู่การสร้างโฟลเดอร์ที่ใช้ในการเก็บเว็บไซต์ << >>  

  26. เริ่มใช้งาน Macromedia Dreamweaver MX E-LEARNING • การกำหนดเว็บไซต์ใหม่ใน Dreamweaver MX 2. หลังจากปรากฏกรอบหน้าต่าง Site Definition for Unnamed Site ขึ้น ให้เราใส่ชื่อเว็บไซต์ของเราลงในช่อง เป็นภาษาอังกฤษ แล้วคลิก NEXT << >>  

  27. เริ่มใช้งาน Macromedia Dreamweaver MX E-LEARNING • การกำหนดเว็บไซต์ใหม่ใน Dreamweaver MX 3. หลังจากนั้นเลือกตอบหัวข้อ No, I do not want to use a sever technology….. แล้วคลิกที่ Next << >>  

  28. เริ่มใช้งาน Macromedia Dreamweaver MX E-LEARNING • การกำหนดเว็บไซต์ใหม่ใน Dreamweaver MX 4. ในหัวข้อ How do you want to work with your files during ….. ให้เลือกตอบในหัวข้อ Edit local coppies on my machine 5. หลังนั้นในเรากำหนดสถานที่ที่เราต้องการเก็บเว็บไซต์ในหัวข้อ Where on your computer do you want to store your file? โดยคลิกที่ไอคอน โดยเมื่อเลือกโฟลเดอร์ที่จะจัดเก็บเว็บไซต์ได้แล้วให้เลือกหัวข้อ Select หลังจากนั้นคลิก Next << >>  

  29. เริ่มใช้งาน Macromedia Dreamweaver MX E-LEARNING • การกำหนดเว็บไซต์ใหม่ใน Dreamweaver MX 6. จากนั้นในหัวข้อ How do you connect to your remote sever? ให้เลือกตอบเป็นรูปแบบ None แล้วคลิก NEXT << >>  

  30. เริ่มใช้งาน Macromedia Dreamweaver MX E-LEARNING • การกำหนดเว็บไซต์ใหม่ใน Dreamweaver MX 7. หลังจากนั้นจะเป็นการแสดงรายละเอียดต่าง ๆ ของเว็บไซต์ของเราตามที่เราได้ทำการตั้งค่าไว้ เมื่ออ่านรายละเอียดแล้วก็ให้คลิกที่ DONE << >>  

  31. เริ่มใช้งาน Macromedia Dreamweaver MX E-LEARNING • การกำหนดเว็บไซต์ใหม่ใน Dreamweaver MX 8. หลังจากนั้นเราก็สามารถที่จะสร้างเว็บไซต์ได้ตามปกติแล้ว แต่ในครั้งต่อไปหากต้องการเข้ามาสร้างเว็บไซต์ในเว็บไซต์เดิมอีกต้องเลือกคำสั่ง Site ไปที่ Edit Site จะปรากฏกรอบหน้าต่าง Edit Site ขึ้นให้เราเลือกชื่อเว็บไซต์ของเราแล้วทำการคลิกที่ปุ่ม Done เพียงเท่านี้เราก็สามารถสร้างเว็บไซต์ของเราบนเว็บไซต์เดิมได้แล้ว << >>  

  32. เริ่มใช้งาน Macromedia Dreamweaver MX E-LEARNING • เริ่มต้นสร้างเว็บไซต์ด้วยการจัดการกับตัวอักษรอย่างง่าย ๆ 1. พิมพ์ข้อความตามที่ต้องการบนพื้นที่การออกแบบ (Document View) หลังจากนั้นให้ทำการคลุมดำข้อความในบริเวณที่ต้องการปรับแต่งข้อความ 2. จากนั้นให้เราไปที่แถบเครื่องมือ Properties Pallete เพื่อทำการกำหนดค่าต่าง ๆ ของตัวอักษรหรือข้อความของเราที่ต้องการปรับแต่ง โดยแต่ละส่วนจะทำหน้าที่ต่างกันดังต่อไปนี้ << >>  

  33. เริ่มใช้งาน Macromedia Dreamweaver MX E-LEARNING • เริ่มต้นสร้างเว็บไซต์ด้วยการจัดการกับตัวอักษรอย่างง่าย ๆ 1. Format ใช้ในการกำหนดรูปแบบตัวอักษรสำเร็จให้กับข้อความ เช่น None คือไม่กำหนดรูปแบบตัวอักษร , Paragraph คือ การกำหนดข้อความในย่อหน้าใหม่ , Heading 1-6 โดย Heading 1 จะเป็นขนาดอักษรตัวใหญ่สุดและลดลั่นลงมา 2. Font เป็นการกำหนดรูปแบบตัวอักษรต่าง ๆ นอกจากนี้การกำหนดรูปแบบตัวอักษรนั้นยังช่วยในเรื่องการทดแบบอักษร หากคุณเลือกแบบอักษร Arial , Helvetica , Sans-serif หมายความว่า หากมีผู้เปิดเว็บไซต์ชมแล้วไม่มีแบบอักษร Arial ก็สามารถใช้แบบอักษร Helvetica หรือ Sans-serif ได้ << >>  

  34. เริ่มใช้งาน Macromedia Dreamweaver MX E-LEARNING • เริ่มต้นสร้างเว็บไซต์ด้วยการจัดการกับตัวอักษรอย่างง่าย ๆ 3. Size เป็นส่วนที่ใช้ในการกำหนดขนาดของตัวอักษร โดยผู้ใช้จะสามารถที่จะกำหนดขนาดตัวอักษรได้ตามความต้องการ 4. Color เป็นการกำหนดสีตัวอักษร โดยผู้ใช้สามารถกำหนดสีตัวอักษรได้ตามความต้องการ โดยจะมีกรอบด้านขวามือเล็ก ๆ เพื่อบอกค่าของสีตามที่เราได้ทำการเลือกไว้ << >>  

  35. เริ่มใช้งาน Macromedia Dreamweaver MX E-LEARNING • เริ่มต้นสร้างเว็บไซต์ด้วยการจัดการกับตัวอักษรอย่างง่าย ๆ 5. ใช้สำหรับกำหนดลักษณะของตัวอักษรตามที่เราต้องการตามรูป เช่น ตัวหนา ตัวเอียง จัดกึ่งกลาง ชิดซ้าย ชิดขวา จัดย่อหน้าตัวอักษร โดยแต่ส่วนมีหน้าที่ดังต่อไปนี้ ใช้สำหรับกำหนดลักษณะตัวอักษรให้เป็นตัวหนา ใช้สำหรับกำหนดลักษณะตัวอักษรให้เป็นตัวเอียง ใช้สำหรับกำหนดการจัดวางตำแหน่งตัวอักษรให้ชิดขอบซ้าย ใช้สำหรับกำหนดการจัดวางตำแหน่งตัวอักษรให้อยู่กึ่งกลางหน้าเว็บเพจ ใช้สำหรับพิมพ์ข้อความชนิดเสมอกั้นหน้าและกั้นหลัง << >>  

  36. เริ่มใช้งาน Macromedia Dreamweaver MX E-LEARNING • เริ่มต้นสร้างเว็บไซต์ด้วยการจัดการกับตัวอักษรอย่างง่าย ๆ Bullet เพื่อกำหนดตัวเลขกำกับในแต่ละบรรทัดอักษรหรือใส่หัวข้อให้กับข้อความ ใช้สำหรับจัดย่อหน้าในแต่บรรทัดของตัวอักษรคล้ายกับการตั้งค่า TAB << >>  

  37. เริ่มใช้งาน Macromedia Dreamweaver MX E-LEARNING • การสร้างเส้นคั่นระหว่างบรรทัด (Horizontal Rule) การใช้เส้นคั่นทางแนวนอนนั้น จะช่วยแบ่งเนื้อหาออกเป็นส่วน ๆ ทำให้อ่านได้ง่าย การสร้างเส้นคั่นในแนวนอนทำได้โดยการคลิกที่ไอคอน จากแถบเมนูบาร์ หรือเลือกใช้คำสั่ง Insert จากแถบเมนูบาร์จากนั้นเลือกไปที่ Horizontal Rule ผลลัพธ์ที่ได้คือ << >>  

  38. เริ่มใช้งาน Macromedia Dreamweaver MX E-LEARNING • การสร้างเส้นคั่นระหว่างบรรทัด (Horizontal Rule) นอกจากนี้เรายังสามารถที่จะกำหนดค่าต่าง ๆ ของเส้นคั่นระหว่างบรรทัดได้อีกด้วย จากแถบเครื่องมือ Property Inspector 1. โดยเริ่มแรกนั้นให้เราทำการคลิกที่เส้นคั่นระหว่างบรรทัด ที่เส้นคั่นระหว่างบรรทัดจะมีแถบสีดำเกิดขึ้นคล้ายการคลุมดำ 2. หลังจากนั้นที่แถบเครื่องมือ Properties จะมีการเปลี่ยนเป็นรูปแบบการตั้งค่าของเส้น Horizontal Rule ดังภาพ << >>  

  39. เริ่มใช้งาน Macromedia Dreamweaver MX E-LEARNING • การสร้างเส้นคั่นระหว่างบรรทัด (Horizontal Rule) 3. โดยผู้งานสามารถกำหนดและตั้งค่าต่าง ๆ ได้ดังต่อไปนี้ ความยาวของเส้นคั่นเป็นแบบ % หรือ Pixels ใช้สำหรับกำหนดความยาวของเส้นบรรทัด ใช้สำหรับกำหนดตำแหน่งเส้นคั่นหน้าในเว็บเพจ ใช้สำหรับกำหนดความสูงของเส้น ใช้สำหรับกำหนดชื่อให้เส้นคั่นระหว่างบรรทัด ใช้สำหรับกำหนดเส้นคั่นเป็นแบบธรรมดาหรือหนาทึบ << >>  

  40. เริ่มใช้งาน Macromedia Dreamweaver MX E-LEARNING • การเปลี่ยนสีพื้นหลังของเว็บเพจ สำหรับขั้นตอนการเปลี่ยนสีพื้นหลังของเว็บนั้น มีขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1. ไปที่แถบเครื่องเมนูบาร์ Modify เลือก Page Properties หรือคลิกขวาบนพื้นที่การออกแบบเลือก Properties นอกนี้ผู้ใช้งานยังสามารถกดคีย์ลัดได้คือ CTRL+J R OR << >>  

  41. เริ่มใช้งาน Macromedia Dreamweaver MX E-LEARNING • การเปลี่ยนสีพื้นหลังของเว็บเพจ 2. หลังจากนั้นจะปรากฏกรอบหน้าต่าง Page Properties หลังนั้นให้ผู้ใช้งานไปที่หัวข้อ Background เพื่อทำการเลือกสีพื้นหลังของเว็บเพจ เมื่อผู้ใช้งานเลือกสีที่ต้องการได้แล้วให้คลิกปุ่ม OK เพียงนี้สีพื้นหลังของหน้าเว็บเพจก็จะเปลี่ยนเป็นที่ผู้ใช้ได้เลือกใช้งานแล้ว << >>  

  42. เริ่มใช้งาน Macromedia Dreamweaver MX E-LEARNING • การชมการออกแบบเว็บไซต์ผ่านทาง WebBrowser หากผู้ใช้งานได้ทำการออกแบบเว็บไซต์ไว้แล้วและต้องการที่จะชมผลงานผ่านทางหน้า Web Browser เพียงแค่ผู้ใช้ทำการกดปุ่ม F12 บนคีย์บอร์ดเพียงเท่านี้ผู้ใช้งานก็สามารถชมผลงานที่ได้ออกแบบไว้ผ่านทางหน้าเว็บเพจได้แล้ว F12 << >>  

  43. เริ่มใช้งาน Macromedia Dreamweaver MX E-LEARNING • การบันทึกเว็บเพจ ( SAVE WEBPAGE) 1. ในการบันทึกหน้าเว็บเพจนั้นผู้ใช้สามารถที่จะบันทึกหน้าเว็บเพจโดยการไปที่เมนูบาร์ File แล้วเลือก Save As หรือกดคีย์ลัด Ctrl + Shift + S หลังจากนั้นจะปรากฏหน้าต่าง Save As ขึ้นมา 2. หลังนั้นให้ผู้ใช้งานทำการตั้งชื่อในเว็บเพจในช่อง File Name หลังจากนั้นคลิกที่ปุ่ม Save อีกครั้งเพียงเท่านี้ผู้ใช้ก็สามารถบันทึกหน้าเว็บเพจได้เรียบร้อยแล้ว << >>  

  44. แบบฝึกหัด • 1. ภาษาใดเป็นภาษาพื้นฐานในการสร้างและออกแบบเว็บไซต์ • 2.ขั้นตอนแรกของการเปลี่ยนสีตัวอักษรจะต้องทำสิ่งใดเป็นสิ่งแรก • 3.แถบเครื่องมือ Properties Inspecter มีประโยชน์อย่างไร • 4.ในการสร้างเส้นคั่นระหว่างบรรทัดแนวนอน มีขั้นตอนการสร้างอย่างไร • 5.โปรแกรม Macromedia Dreamweaver จัดเป็นโปรแกรมประเภทใด

  45. Post-Test • ทำแบบทดสอบหลังเรียน

  46. สรุปเนื้อหาบทเรียน การกำหนดค่าเริ่มต้นในการใช้โปรแกรม Macromedia Dreamweaver เพื่อที่จะสร้างเว็บไซต์ โดยต้องเรียนรู้หน้าที่และหลักการทำงานของเครื่องมือต่าง ๆ ของโปรแกรม ก่อนที่จะสร้างหน้าเว็บเพจ อย่างเช่น การกำหนดให้ใช้ภาษาไทยได้ การสร้างไซต์ การทำงานในมุมมองต่าง ๆ การสร้างเส้นคั่นระหว่างบรรทัดการปรับเปลี่ยนสีพื้นหลัง การใช้โปรแกรม web Browser

  47. ข้อควรจำ

  48. บรรณานุกรม - พันจันทร์ ธนวัฒนเสถียร.ออกแบบและสร้างเว็บสวยด้วย Dreamweaver 8.สำนักพิมพ์ซัคเซสมีเดีย.กรุงเทพมหานคร.2548 - เฉลิมพล ทัพซ้าย,อาจารย์.มือใหม่หัดสร้างเว็บไซต์.บริษัท 3495 บุ๊คเซ็นเตอร์ จำกัด.2546  

  49. คำขอบคุณ ขอขอบพระคุณอาจารย์ท่านวิทยากร และผู้ที่ให้ความอนุเคราะห์ในการจัดทำสื่อการเรียนการสอนวิชา พิมพ์ดีดอังกฤษ1 จงประสบความสำเร็จเพื่อเป็นแนวทางในการเรียนการสอนของนักเรียนให้น่าสนใจ และมีความเข้าใจเนื้อหาในบทเรียนนี้ได้ดียิ่งขึ้น ผู้จัดทำ อาจารย์พิชิตชัย แสวงพิทยารัตน์

  50. ผู้จัดทำ- คำนิยม สื่อการเรียนการสอนที่จัดทำขึ้นครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อใช้ในการเรียนการสอนไม่ได้ผลิตไว้เพื่อจำหน่ายหากมีข้อสงสัยในสื่อการเรียนการสอนนี้ให้ติดต่อผู้จัดทำ Email:phichit9@gmail.com

More Related