150 likes | 244 Views
“Groundwater resources of Bangkok and its vicinity” By พรพิมล ธรรมนูญ 4405383 เมธี แสงศรีจันทร์ 4405438. 1. ลักษณะภูมิประเทศของกรุงเทพมหานคร. ตั้งอยู่ในบริเวณที่ราบภาคกลาง มีเนื้อที่ประมาณ 1,600 ตารางกิโลเมตร แบ่งการปกครองเป็น 38 เขต ตั้งอยู่ในตอนกลางของที่ราบภาคกลางตอนใต้
E N D
“Groundwater resources of Bangkok and its vicinity”Byพรพิมล ธรรมนูญ 4405383เมธี แสงศรีจันทร์ 4405438
1. ลักษณะภูมิประเทศของกรุงเทพมหานคร • ตั้งอยู่ในบริเวณที่ราบภาคกลางมีเนื้อที่ประมาณ 1,600 ตารางกิโลเมตร • แบ่งการปกครองเป็น 38 เขต • ตั้งอยู่ในตอนกลางของที่ราบภาคกลางตอนใต้ • พื้นที่มีความสูงประมาณไม่เกิน 3 เมตร จากระดับน้ำทะเล • ดินเป็นดินเหนียวและดินเหนียวปนทราย • พื้นที่ส่วนใหญ่เหมาะแก่การปลูกข้าว ทำไร่และทำสวน • มีแม่น้ำสำคัญไหลผ่านเพียงสายเดียว คือ เจ้าพระยา
2. ลักษณะทางธรณีวิทยาของกรุงเทพมหานคร • เป็นพื้นที่ราบลุ่มทั้งจังหวัดมีระดับความสูงเฉลี่ย 1-3 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง • เป็นตะกอนน้ำพา (Alluvium) เนื้อละเอียดถึงละเอียดมากสะสมตัวกันเป็นชั้นหนามาก มีเลนส์ของทรายแป้ง ทราย
3. ลักษณะทางอุทกธรณีวิทยาของกรุงเทพมหานคร • เป็นแหล่งกรวดทรายขนาดใหญ่เม็ดกรวดและทรายมีขนาดใหญ่และมีลักษณะกลมมนแทรกสลับอยู่กับชั้นดินเหนียว • ชั้นน้ำบาดาลแต่ละชั้นจะมีชั้นดินเหนียวรองรับอยู่ด้านล่างและปิดทับอยู่ด้านบนจัดเป็นชั้นน้ำบาดาลใต้แรงดัน(Confined aquifer) • ตะกอนที่สะสมตัวอยู่ในที่ราบลุ่มน้ำหลากและบริเวณที่ราบต่ำของลุ่มน้ำเก่ามีหน่วยเรียกว่าชั้นน้ำที่ราบน้ำท่วมถึงอายุควอเทอร์นารี(Qfd: Quaternary flood plain deposits aquifer)หรือเรียกว่าชั้นน้ำเจ้าพระยา (Qcp: Chao Phraya aquifer) ประกอบด้วย
-ชั้นน้ำกรุงเทพฯ (Bankok Aquifer)ประกอบด้วยชั้นน้ำย่อย 2 ชั้นคือชั้นน้ำกรุงเทพฯชั้นบนและชั้นน้ำกรุงเทพฯชั้นล่างประกอบตะกอนด้วยทรายละเอียดทรายหยาบและกรวดมีคุณสมบัติในการกักเก็บน้ำปริมาณมากแต่คุณภาพไม่เหมาะสมที่จะใช้ในการบริโภคได้ ส่วนใหญ่จะเป็นน้ำกร่อยและน้ำเค็ม • ชั้นน้ำพระประแดง (Phra Pradaeng Aquifer)มีความหนา 20-50 เมตร ประกอบด้วย กรวดและทรายมีดินเหนียวแทรกสลับ คุณภาพน้ำมีตั้งแต่จืด กร่อยจนถึงเค็ม
-ชั้นน้ำนครหลวง (Nakhon Luang Aquifer) ประกอบด้วยชั้นกรวดและทราย ที่มีการคัดขนาดดีขนาดปานกลาง (moderately well sorted) ถึงดี (well sorted) มีคุณสมบัติในการกักเก็บน้ำที่ดี คุณภาพน้ำดี ยกเว้นในพื้นที่ฝั่งธนบุรีและตอนใต้ของกรุงเทพฯ คุณภาพน้ำจะกร่อยจนถึงเค็ม -ชั้นน้ำนนทบุรี (Nonthaburi Aquifer) มีคุณสมบัติในการกักเก็บน้ำคล้ายคลึงกับของชันน้ำนครหลวง -ชั้นน้ำสามโคก (Sam Khok Aquifer) ประกอบด้วยชั้นกรวดทรายและดินเหนียวแทรกสลับกรวดราย มีการคัดขนาดดีพอใช้ (fair well sorted)
-ชั้นน้ำพญาไท (Phaya Thai Aquifer) ประกอบด้วยกรวดทราย มีดินเหนียวแทรกสลับ มีการคัดขนาดอยู่ในเกณฑ์พอใช้ มีคุณสมบัติในการกักเก็บน้ำคล้ายกับชั้นน้ำสามโศก -ชั้นน้ำธนบุรี (Thon Buri Aquifer) ประกอบด้วย กรวด ทราย โดยมีดินเหนียวชั้นบาง ๆ แทรกสลับชั้นกรวด ทราย มีการคัดขนาดดี (well sorted) -ชั้นน้ำปากน้ำ (Pak Nam Aquifer) ประกอบด้วย ชั้นทราย กรวด และมีดินเหนียวแทรกสลับลักษณะของกรวด ทราย มีการคัดขนาดที่ดี น้ำบาดาลชั้นนี้จะอุณภูมิสูงถึง 50 C
ชั้นน้ำพระประแดง ชั้นน้ำนครหลวง ชั้นน้ำนนทบุรี ชั้นน้ำธนบุรี และชั้นน้ำพญาไท เป็นชั้นน้ำคุณภาพดี มีความสามารถในการให้น้ำสูง และมีการพัฒนานำขึ้นมาใช้กันมากในเขตกรุงเทพมหานครส่วนชั้นน้ำกรุงเทพ ซึ่งเป็นชั้นน้ำชั้นบนสุด พบว่ามีคุณภาพกร่อยถึงเค็ม จึงไม่นิยมพัฒนานำขึ้นมาใช้ ชั้นน้ำมีความสามารถในการให้น้ำมากกว่า 20 ลบ.ม./ชม. ในทุกๆ พื้นที่ และมีค่าระดับน้ำปกติเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 23-30 เมตร คุณภาพน้ำโดยทั่วไปอยู่ในเกณฑ์ปานกลาง 4. คุณภาพน้ำบาดาล
ในส่วนของผลการวิเคราะห์ทางเคมีสรุปได้ว่า -คลอไรด์ โดยรวมอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน (ต่ำกว่า 200 มก./ล.)และไม่เกินปริมาณที่ยอมรับได้ (600 มก./ล.) มีที่พบเกินมาตรฐาน อยู่ในเขตพื้นที่หนองแขม เขตมีนบุรี บ้าง -แมงกานีส โดยรวมอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน (ต่ำกว่า 0.3 มก./ล.) และไม่เกินปริมาณที่ยอมรับได้ (0.5 มก./ล.) มีที่พบเกินมาตรฐานอยู่บ้าง ที่แขวงหนองคางพลู เขตหนองแขม มีค่าเกินกว่า 1.0 มก./ล. -เหล็ก โดยรวมอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน (ต่ำกว่า 0.5 มก./ล.) และไม่เกินปริมาณที่ยอมรับได้ (1.0 มก./ล.) มีที่พบเกินมาตรฐาน กระจายตัวในบางเขตเช่น เขตจตุจักร เขตบางขุนเทียน เป็นต้น
-ความกระด้าง โดยรวมอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน (ต่ำกว่า 300 มก./ล.)และไม่เกินปริมาณที่ยอมรับได้ (500 มก./ล.) มีที่พบเกินมาตรฐานอยู่ที่บริเวณทางตะวันตกไปทางตอนกลางจนถึงทางเหนือ -ความกร่อยเค็ม พบว่าพื้นที่ทางด้านทิศใต้ของกรุงเทพมหานคร ในเขตมีนบุรี สาทร จอมทอง และพื้นที่ทางเหนือติดต่อระหว่างเขตลาดพร้าวกับบึงกุ่ม มีปริมาณทั้งหมดที่ละลายในน้ำสูงกว่า 600 มก./ล.
5. วิกฤตการณ์น้ำบาดาลและผลกระทบในบริเวณกรุงเทพฯและปริมณฑล • การสูบน้ำบาดาลมาใช้มากเป็นระยะติดต่อกันเป็นเวลานานในบริเวณ • ดังกล่าวทำให้เกิดปัญหาวิกฤตการณ์น้ำบาดาลและผลกระทบ คือ • ระดับน้ำบาดาลลดต่ำลงโดยไม่มีการคืนตัว ทำให้เกิดวิกฤตการณ์น้ำ • บาดาลและผลกระทบ ทำให้ปริมาณน้ำที่สูบได้น้อยลงระดับน้ำอยู่ลึกทำให้สูบน้ำไม่ขึ้น ต้องเปลี่ยนเครื่องสูบใหม่หรือเจาะบ่อใหม่ • - การทรุดตัวของแผ่นดิน จากการที่ระดับน้ำหรือแรงดันลดลงทำให้เกิดการอัดตัวของชั้นดิน หรือดินปนทราย ทำให้เกิดการทรุด • ตัวของแผ่นดิน ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมขัง
- การไหลของน้ำเค็มเข้าสู่แหล่งน้ำจืดในบริเวณชั้นน้ำที่อยู่บนที่ราบ ชายฝั่งทะเลหรือ บริเวณที่ราบปากแม่น้ำ ชั้นน้ำบาดาลส่วนใหญ่จะมีน้ำ จืดและน้ำเค็มวางตัวต่อเนื่องกันอยู่อย่างสมดุล เมื่อมีการสูบใช้น้ำมาก ขึ้นทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสมดุลทำให้ น้ำเค็มไหลเข้าสู่แหล่งน้ำจืด
คำถาม 1. จงบอกลักษณะทางอุทกธรณีวิทยาของกรุงเทพมหานคร ? 2. ชั้นน้ำบาดาลในกรุงเทพมหานคร แบ่งออกเป็นกี่ชั้น อะไรบ้าง ? 3. เหตุใดเราจึงพบว่าชั้นน้ำบาดาลในกรุงเทพมหานครมีหลายๆชั้น ? 4. ชั้นน้ำบาดาลในกรุงเทพมหานครจัดอยู่ในชั้นน้ำบาดาลประเภทใด ? 5. จงบอกชั้นน้ำคุณภาพดี มีความสามารถในการให้น้ำสูง และมีการ พัฒนานำขึ้นมาใช้กันมากในเขตกรุงเทพมหานครมา 2 ชั้น? 6. จงเปรียบเทียบลักษณะทางธรณีวิทยา และอุทกธรณีวิทยา ระหว่างชั้น น้ำพระประแดง กับชั้นน้ำสามโคก? 7. ชั้นน้ำบาดาลในกรุงเทพมหานครชั้นไหนที่มีความลึกมากที่สุด และอยู่ ลึกเท่าใด?
8. จงบอกลักษณะทางธรณีวิทยา และอุทกธรณีวิทยาของชั้นน้ำธนบุรี ? 9. เหตุใดชั้นน้ำกรุงเทพ และชั้นน้ำพระประแดง จึงไม่เหมาะที่จะนำมา บริโภค? 10. การนำน้ำบาดาลขึ้นมาใช้ในปริมาณมากทำให้เกิดผลที่ตามมาอย่างไร บ้าง และเราจะมีวิธีการแก้ไขอย่างไรบ้าง?