1 / 33

การเก็บข้อมูลและ การวิเคราะห์ข้อมูล

การเก็บข้อมูลและ การวิเคราะห์ข้อมูล. รศ. ดร. นิตยา เจรียงประเสริฐ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เหตุผลในการเลือกกลุ่มตัวอย่าง. ความจำกัดของทรัพยากรที่ใช้ในการทำวิจัย ความถูกต้องของผลการศึกษา

xena-henry
Download Presentation

การเก็บข้อมูลและ การวิเคราะห์ข้อมูล

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การเก็บข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูลการเก็บข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล รศ. ดร. นิตยา เจรียงประเสริฐ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

  2. เหตุผลในการเลือกกลุ่มตัวอย่างเหตุผลในการเลือกกลุ่มตัวอย่าง • ความจำกัดของทรัพยากรที่ใช้ในการทำวิจัย • ความถูกต้องของผลการศึกษา • การศึกษาจากประชากรจำนวนมากๆ และกระจายทั่วไป ต้องใช้เวลา แรงงานและทรัพยากรมาก การบริหารจัดการเพื่อให้มีคุณภาพย่อมทำได้ยากกว่าการใช้กลุ่มตัวอย่าง • ความทันสมัยของผลการศึกษา • การใช้ประชากรทำให้เสียเวลานานในการทำวิจัย ทำให้ผลการวิจัยไม่ทันกาลได้ • ความลึกซึ้งของผลการศึกษา • การใช้กลุ่มตัวอย่างทำให้สามารถวิเคราะห์ข้อมูลได้ลึกซึ้งมากขึ้น

  3. ความหมายของกลุ่มตัวอย่างความหมายของกลุ่มตัวอย่าง • กลุ่มตัวอย่าง หมายถึง สมาชิกส่วนหนึ่งของประชากรที่ศึกษา ซึ่งสุ่มมาให้เป็นตัวแทนประชากรเป้าหมาย • ประชากรเป้าหมาย หมายถึง มวลสมาชิกประชากรทั้งหมดที่ต้องการให้ผลการวิจัยสรุปอ้างอิงไปถึง • ตัวอย่าง • ความรู้ของบุคลากรในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ต่อผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปที่ผ่านกรรมวิธีการตัดแต่งพันธุกรรม • ประชากรเป้าหมาย คือ บุคลากรในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ทั้งหมด

  4. เหตุผลที่สำคัญที่มีผลต่อการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างเหตุผลที่สำคัญที่มีผลต่อการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง • ความเสมอเหมือนกันของสมาชิกประชากร • บุคลากรในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีทั้งอาจารย์และเจ้าหน้าที่ ความแตกต่างของอาจารย์อาจมีไม่มากนักในด้านความรู้เรื่อง GMO เพราะเป็นนักวิชาการเหมือนกัน แต่ด้านเจ้าหน้าที่อาจแตกต่างกัน • ประเภทของวิธีการศึกษา • ถ้าเป็นการวิจัยเชิงบรรยายและมีจำนวนสมาชิกประชากรมากๆ ขนาดของกลุ่มตัวอย่างไม่ควรน้อยกว่าร้อยละ 10 ของประชากร • ถ้าเป็นการวิจัยเชิงทดลองที่มีการควบคุมตัวแปรภายนอกได้อย่างดีหรือค่อนข้างสมบูรณ์ ควรใช้ขนาดตัวอย่างแต่ละกลุ่มไม่น้อยกว่า 15 ตัวอย่าง • ค่าใช้จ่าย เวลา และกำลังคนที่มี

  5. เหตุผลที่สำคัญที่มีผลต่อการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างเหตุผลที่สำคัญที่มีผลต่อการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง • วิธีการเก็บข้อมูล • การวิจัยเชิงสังเกตหรือทดลอง หรือการวิจัยที่เก็บข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก จะใช้กลุ่มตัวอย่างน้อยกว่าการวิจัยเชิงบรรยายที่มีการเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม • ขนาดของประชากร • สูตรการคำนวณหาขนาดตัวอย่างส่วนมากจะกำหนดให้ใช้กับประชากรที่มีสมาชิกไม่น้อยกว่า 500 หน่วย • ความสำคัญและความถูกต้องของผลการวิจัย

  6. การเลือกกลุ่มตัวอย่างและการสุ่มตัวอย่างการเลือกกลุ่มตัวอย่างและการสุ่มตัวอย่าง • การคัดเลือกตัวอย่างแบบไม่อิงทฤษฎีความน่าจะเป็น • การเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) • การเลือกแบบบังเอิญ (Accidental sampling) • การเลือกแบบโควตา (Quota sampling) • เช่น บุคลากรอาจารย์มี 300 คน และเจ้าหน้าที่มี 200 คน เลือกตัวอย่างตามจำนวนประชากร คือ อาจารย์ 60 คน และเจ้าหน้าที่ 40 คน • การเลือกแบบบอกต่อ (Snowball sampling)

  7. การเลือกกลุ่มตัวอย่างและการสุ่มตัวอย่างการเลือกกลุ่มตัวอย่างและการสุ่มตัวอย่าง • การคัดเลือกตัวอย่างแบบอิงทฤษฎีความน่าจะเป็น • การสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple random sampling) • วิธีการจับฉลาก • วิธีการใช้ตารางสุ่ม • การสุ่มตัวอย่างแบบเป็นระบบ (Systematic sampling) • จับฉลากครั้งแรก แล้วเลือกทุกๆ 5 คนถัดไป • การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Stratified random sampling) • แบ่งสมาชิกเป็นกลุ่มๆที่เหมือนกันไว้ด้วยกัน แล้วเลือกตัวอย่างจากกลุ่มที่เหมือนกัน เช่น อาจารย์มีการแบ่งเป็นข้าราชการ พนักงาน และลูกจ้างชั่วคราว ก็จะสุ่มจากทั้ง 3 กลุ่มนี้อีก เพื่อให้ได้ 60 คน

  8. ประชากร 18 ปี ขึ้นไปทั่วประเทศ ในเขตเทศบาล กทม. + ปริมณฑล นอกเขตเทศบาล เหนือ กลาง อีสาน ใต้ เหนือ กลาง อีสาน ใต้ ในเขต/นอกเขต ใน กลาง นอก สุ่มตัวอย่างจังหวัด สุ่มตัวอย่างเขต ตัวอย่างจังหวัด ตัวอย่างจังหวัด ตัวอย่างอำเภอ สุ่มตัวอย่างอำเภอ ตัวอย่างเขต ตัวอย่างอำเภอ ตัวอย่างตำบล สุ่มตัวอย่างชุมชน สุ่มตัวอย่างเทศบาล สุ่มตัวอย่างครัวเรือน ตัวอย่างชุมชน ตัวอย่างหมู่บ้าน ตัวอย่างเทศบาล สุ่มตัวอย่างชุมชน/หมู่บ้าน ตัวอย่างครัวเรือน ตัวอย่างครัวเรือน ตัวอย่างชุมชน/หมู่บ้าน ตัวอย่างประชากรอายุ 18 ปีขึ้นไป ตัวอย่างประชากรอายุ 18 ปีขึ้นไป สุ่มตัวอย่างครัวเรือน

  9. ข้อมูลและประเภทของข้อมูลข้อมูลและประเภทของข้อมูล ข้อมูลปฐมภูมิ แบ่งตามวิธีเก็บรวบรวมข้อมูล ข้อมูลทุติยภูมิ ข้อมูล หมายถึงตัวเลขหรือข้อความซึ่งเป็นความจริง และสื่อความหมายเกี่ยวกับขนาดได้ ข้อมูลเชิงปริมาณ แบ่งตามลักษณะของข้อมูล ข้อมูลเชิงคุณภาพ

  10. ข้อมูลและประเภทของข้อมูลข้อมูลและประเภทของข้อมูล ข้อมูลภาคตัดขวาง แบ่งตามเวลา ข้อมูลอนุกรมเวลา ข้อมูล หมายถึงตัวเลขหรือข้อความซึ่งเป็นความจริง และสื่อความหมายเกี่ยวกับขนาดได้ ข้อมูลที่อยู่ในรูปค่าสัมบูรณ์ เช่น อัตราค่าบริการโทรศัพท์ แบ่งตามลักษณะการนำไปใช้ ข้อมูลที่อยู่ในรูปค่าเปรียบเทียบหรือค่าสัมพัทธ์ เช่น จำนวนพนักงานขายเทียบกับจำนวนลูกค้าที่มาใช้บริการ

  11. กำหนดตัวแปรที่ต้องการศึกษากำหนดตัวแปรที่ต้องการศึกษา กำหนดข้อมูลและตัวชี้วัด ระบุข้อมูลและลักษณะข้อมูลที่ต้องการใช้ เช่น ความรู้เรื่อง GMO ได้แก่ด้านความรู้ความเข้าใจ ด้านการนำไปใช้ ด้านการวิเคราะห์และสังเคราะห์ ด้านการประเมินค่า กำหนดแหล่งข้อมูล เลือกวิธีรวบรวมข้อมูล นำเครื่องมือรวบรวมข้อมูลทดลองใช้ ออกรวบรวมข้อมูลจริง ขั้นตอนการเก็บรวบรวมข้อมูล

  12. เทคนิคและวิธีการรวบรวบข้อมูลเทคนิคและวิธีการรวบรวบข้อมูล • ประเภทการสังเกต • แบบมีโครงสร้าง & ไม่มีโครงสร้าง • แบบมีส่วนร่วม & ไม่มีส่วนร่วม • แบบในสภาพแวดล้อมที่มีการควบคุม & สภาพธรรมชาติ • เครื่องมือช่วยการสังเกต • วิดีโอเทป เทปบันทึกเสียง กล้องภาพยนตร์ กล้องถ่ายรูป นาฬิกาจับเวลา ฯลฯ • ข้อจำกัด • การได้ข้อมูลครบทำได้ยาก ผลการสังเกตขึ้นกับความรอบรู้และทักษะของผู้สังเกต พฤติกรรมบางอย่างสังเกตได้ยาก เสียเวลาและค่าใช้จ่ายมาก อาจเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันได้

  13. เทคนิคและวิธีการรวบรวบข้อมูลเทคนิคและวิธีการรวบรวบข้อมูล • ประเภทการสัมภาษณ์ • แบบรายบุคคล & กลุ่มคน • แบบผู้สัมภาษณ์คนเดียว & หลายคน • แบบมีโครงสร้าง & ไม่มีโครงสร้าง • แบบหยั่งลึก & เน้นจุด • แบบทางโทรศัพท์ & ซึ่งหน้า • แบบกำหนดคำตอบล่วงหน้า & ไม่มีคำตอบ • ขั้นตอนการสัมภาษณ์ • ขั้นเตรียมการ ขั้นการสัมภาษณ์ ขั้นบันทึกผล ขั้นปิดการสัมภาษณ์ • ข้อจำกัด • สิ้นเปลือง ความลำเอียงและความสามารถของผู้สัมภาษณ์ สถานการณ์ขณะที่ทำการสัมภาษณ์

  14. การรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามการรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม • แบบสอบถาม คือ แบบที่ใช้สำหรับเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลโดยที่ผู้เก็บรวบรวมข้อมูลไม่ได้ทำการสัมภาษณ์หรือเก็บรวบรวมข้อมูลโดยตรงจากผู้ให้ข้อมูล เช่น ส่งทางไปรษณีย์แล้วให้ส่งคืนกลับมา หรือนำไปส่งให้แล้วนัดวันไปรับคืน • แบบสำรวจ คือ แบบที่ใช้สำหรับเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลโดยตรง เช่น การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์

  15. ข้อดี ข้อเสีย ของแบบสอบถาม ข้อดี ข้อเสีย การสร้างแบบสอบถามทำได้ยาก เพราะจะต้องทำให้ผู้ให้ข้อมูลสามารถตอบได้เองโดยไม่มีปัญหาต้องสอบถามจากผู้เก็บรวบรวมข้อมูล เสียเวลาในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้รับข้อมูลที่ตอบกลับจำนวนค่อนข้างน้อย คุณภาพของข้อมูลค่อนข้างต่ำทั้งในด้านความครบถ้วนและความถูกต้องเชื่อถือได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่แบบสอบถามที่สร้างขึ้นมาใช้มีคุณภาพไม่ดี • เหมาะสำหรับกรณีที่ข้อมูลที่ต้องการเก็บรวบรวมมีจำนวนมากหรือเป็นข้อมูลที่มีรายละเอียดที่จำเป็นต้องดูจากเอกสารหรือหลักฐานซึ่งผู้ให้ข้อมูลไม่สามารถจดจำได้ • ผู้ให้ข้อมูลมีอิสระในการตอบจากผู้เก็บรวบรวมข้อมูลหรือผู้อื่น • เสียค่าใช้จ่ายในการเก็บรวบรวมข้อมูลน้อย

  16. ข้อดี ข้อเสีย ของแบบสำรวจ ข้อเสีย ข้อดี การสร้างแบบสำรวจทำได้ง่าย เสียเวลาในการเก็บรวบรวมข้อมูลน้อย คุณภาพของข้อมูลค่อนข้างสูงในด้านความถูกต้องเชื่อถือได้ ทั้งนี้เนื่องจากผู้เก็บรวบรวมข้อมูลสามารถอธิบายเรื่องที่ผู้ให้ข้อมูลไม่เข้าใจหรือมีปัญหาในการตอบแบบสำรวจได้ ได้รับข้อมูลที่ตอบกลับครบถ้วน หากผู้เก็บรวบรวมข้อมูลมีโอกาสได้สัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูล • เสียค่าใช้จ่ายในการเก็บรวบรวมข้อมูลมาก • ผู้ให้ข้อมูลขาดความเป็นอิสระในการตอบจากผู้เก็บรวบรวมข้อมูลหรือจากผู้อื่น

  17. ส่วนประกอบของแบบสอบถามส่วนประกอบของแบบสอบถาม • ประกอบด้วย 3 ส่วนที่สำคัญ คือ ส่วนนำหรือจดหมายนำ คำชี้แจงในการตอบและส่งกลับ ส่วนเนื้อหาของแบบสอบถาม • ส่วนเนื้อหาประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วน ได้แก่ • ส่วนที่ 1 ประกอบด้วยลักษณะที่สำคัญของผู้ตอบแบบสอบถามหรือหน่วยงานที่เป็นผู้ให้ข้อมูล • ส่วนที่ 2 ประกอบด้วยข้อมูลทั้งหมดที่จำเป็นต้องเก็บรวบรวมจากผู้ตอบแบบสอบถามหรือหน่วยงานซึ่งเป็นผู้ให้ข้อมูลเพื่อนำมาวิเคราะห์วิจัยตามวัตถุประสงค์ • ส่วนที่ 3 ประกอบด้วยข้อมูลอื่นๆที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการปรับปรุงการให้บริการหรือการแก้ปัญหา

  18. ขั้นตอนการสร้างแบบสอบถามขั้นตอนการสร้างแบบสอบถาม กำหนดส่วนประกอบของแบบสอบถามที่จะใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล กำหนดคำถามที่จำเป็นต้องถามในแต่ละส่วนประกอบ ร่างแบบสอบถามตามคำถามที่จำเป็นต้องถามในแต่ละส่วน ทดสอบแบบสอบถามที่ร่างขึ้นกับตัวอย่างกลุ่มเป้าหมายจำนวนประมาณ 30 ราย ปรับปรุงแบบสอบถามที่นำไปใช้ทดสอบให้มีความครบถ้วนสมบูรณ์มากที่สุดก่อนนำไปใช้เก็บรวบรวบข้อมูลจากตัวอย่างกลุ่มเป้าหมายที่เลือกมาเป็นตัวแทนจากกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด การรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม

  19. การวัดค่าของข้อมูลในแบบสอบถามการวัดค่าของข้อมูลในแบบสอบถาม • 1. วิธีวัดว่าข้อมูลอยู่ในกลุ่มใดของเรื่องหรือลักษณะที่สนใจศึกษา • ถ้าเรื่องหรือลักษณะที่สนใจศึกษา คือ วัยของผู้ชมโทรทัศน์ กลุ่มของวัยคือ วัยเด็ก วัยรุ่น วัยผู้ใหญ่ และวัยสูงอายุ • นิยมเรียกว่ามาตรานามบัญญัติ (nominal scale) • 2. วิธีวัดว่าข้อมูลอยู่ในลำดับใดของเรื่องหรือลักษณะที่สนใจศึกษา • ถ้าเรื่องหรือลักษณะที่สนใจศึกษาคือ ความถี่ในการอ่านหนังสือพิมพ์รายวันของนักธุรกิจในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ให้นักธุรกิจที่เลือกมาเป็นตัวอย่างเลือกตอบจากคำตอบต่อไปนี้ • อ่านทุกวัน • อ่านเกือบทุกวัน • อ่านวันเว้นวัน • อ่านนานๆครั้ง • นิยมเรียกว่ามาตราเรียงลำดับ (ordinal scale)

  20. การวัดค่าของข้อมูลในแบบสอบถามการวัดค่าของข้อมูลในแบบสอบถาม • 3. วิธีวัดว่าข้อมูลแตกต่างกันมากน้อยเพียงใดเมื่อเทียบกับค่าต่ำสุดของข้อมูล • ถ้าเรื่องหรือลักษณะที่สนในศึกษา คือ ระดับความพึงพอใจของผู้ใช้บริการชนิดหนึ่งในปีที่ผ่านมา ให้ผู้ใช้บริการกลุ่มเป้าหมายที่เลือกมาเป็นตัวอย่างเลือกตอบจากคำตอบต่อไปนี้ • พอใจมากที่สุด • พอใจมาก • พอใจปานกลาง • พอใจน้อย • พอใจน้อยที่สุด • โดยกำหนดให้ระดับความพึงพอใจแต่ละระดับ แทนด้วยค่า 5 4 3 2 1 ตามลำดับ ซึ่งความแตกต่างระหว่างค่าความพึงพอใจในแต่ละระดับที่ติดกันทั้งหมด คือ 1 • โดยทั่วไปการใช้จำนวนระดับของมาตรามากจะทำให้ผลการวิเคราะห์ข้อมูลมีความถูกต้องเชื่อถือได้มากกว่าการใช้จำนวนระดับของมาตราน้อย แต่การใช้จำนวนระดับของมาตราในการวัดจะต้องพิจารณาระดับการศึกษาของผู้ตอบคำถามด้วย • นิยมเรียกว่ามาตราแบบช่วง (interval scale)

  21. การวัดค่าของข้อมูลในแบบสอบถามการวัดค่าของข้อมูลในแบบสอบถาม • 4. วิธีวัดว่าข้อมูลแตกต่างกันมากน้อยเพียงใดเมื่อเทียบกับค่าต่ำสุดที่เป็นศูนย์ • ถ้าเรื่องหรือลักษณะที่สนใจศึกษา คือ จำนวนเงินที่นักศึกษาจ่ายเป็นค่าใช้บริการโทรศัพท์ต่อเดือน มูลค่าการส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปของประเทศไทยในปี พ.ศ. 2550

  22. แบบคำถามเปิด (Open ended question) ตัวอย่าง ความคิดเห็นเกี่ยวกับการยกเลิกการสอบเอ็นทรานซ์จากส่วนกลาง แบบคำถามปิด (Close ended question) แบบให้เลือกตอบอย่างใดอย่างหนึ่ง แบบให้ลำดับความสำคัญ แบบประเมินค่า พอใจ เฉยๆ ไม่พอใจ เห็นด้วยอย่างยิ่ง เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง ดีเลิศ ดี ปานกลาง ไม่ค่อยดี ไม่ดีเลย ประเภทคำถามในแบบสอบถาม

  23. การร่างคำถามแบบสอบถามการร่างคำถามแบบสอบถาม • ควรถามจากความคิดทั่วๆไปก่อน • ข้อความหรือคำถามที่ใช้ต้องชัดเจน • เช่น ท่านจบการศึกษาอะไร • ควรหลีกเลี่ยงการถามคำถามซ้อนในประโยคเดียวกัน • เช่น ท่านเห็นด้วยกับการปล่อยราคาน้ำมันลอยตัวและการควบคุมปริมาณการใช้น้ำมันของประเทศ • คำถามเกี่ยวกับการแยกประเภท ควรถามให้เฉพาะเจาะจงในสิ่งที่ต้องการทราบ • เช่น อายุ ถามเป็นช่วงอายุ อาชีพ ข้าราชการเป็นคำตอบที่กว้างเกินไป

  24. การร่างคำถามแบบสอบถามการร่างคำถามแบบสอบถาม • ควรหลีกเลี่ยงคำถามที่เป็นคำถามนำหรือใช้คำที่มีน้ำหนักไปทางหนึ่งทางใดประกอบอยู่ • เช่น ท่านอ่านหนังสือพิมพ์รายวันเป็นประจำใช่ไหม • ควรหลีกเลี่ยงคำถามที่เกี่ยวกับความลำเอียงของผู้ตอบ • เช่น ในรอบ 7 วันที่ผ่านมา ท่านอ่านวารสารวิชาการเหล่านี้บ้างหรือไม่ • ควรหลีกเลี่ยงคำถามปฏิเสธ • เช่น ท่านไม่เชื่อว่ารัฐบาลจะไม่ออกกฎหมายบังคับสื่อในการนำเสนอเรื่องปัญหาภาคใต้ใช่หรือไม่ • ควรพยายามใช้คำ ภาษาที่คนทั่วไปรู้ เข้าใจ

  25. การสร้างแบบสอบถาม วัชราภรณ์ สุริยาภิวัฒน์, 2554, วิจัยธุรกิจยุคใหม่. พิมพ์ครั้งที่ 7. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

  26. การสร้างแบบสอบถาม • การเน้นวัตถุประสงค์ • หมายถึง ขอบเขตคำถามจะครอบคลุมวัตถุประสงค์ทุกด้านของงานวิจัย ถ้าเป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์ แบบสอบถามจะต้องสามารถให้ข้อมูลชัดเจนเกี่ยวกับตัวแปรสำคัญทุกตัว เพื่อให้สามารถวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของตัวแปรได้ โดยสามารถควบคุมตัวแปรภายนอกและทดสอบทฤษฎีที่เกี่ยวข้องได้ • ขณะเดียวกันต้องมั่นใจว่าคำถามที่วางไว้บนแบบสอบถามมีความเกี่ยวข้องกับปัญหาและไม่กว้างเกินกว่าขอบเขตจนทำให้มีจำนวนคำถามมากเกินไป

  27. การสร้างแบบสอบถาม • การเรียงร้อยคำ • หมายถึงการเขียนคำถามที่ทำให้ผู้ตอบเข้าใจง่ายและตรงประเด็น ตลอดจนใช้คำสุภาพและตรงกาลเทศะ ประเภทของคำถามในแบบสอบถามแบ่งเป็น 2 ชนิด ได้แก่ • คำถามปลายเปิด (Open-ended questions) เช่น คุณชอบอะไรมากที่สุดในสินค้านี้ คุณรู้สึกอย่างไรเมื่อเห็นภาพยนตร์โฆษณาชุดนี้ • คำถามปลายปิด (Closed or fixed questions) เช่น เลือกสีที่คุณชอบมากที่สุด ________ 1. สีแดง _________ 2. สีเขียว คำถามปลายเปิดจะมีประโยชน์มาก โดยเฉพาะงานวิจัยที่มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางเบื้องต้น (Exploratory research) เพราะคำตอบที่ได้มาอาจเป็นคำตอบที่นักวิจัยนึกไม่ถึงก็ได้และได้คำตอบที่กว้างขวางกว่า ส่วนคำถามปิดจะใช้เวลาตอบสั้นและง่ายกว่า แต่อาจมีบางคำตอบที่ผู้วิจัยลืมหรือคาดไม่ถึง จึงไม่ได้ใส่ไว้เป็นตัวเลือก วิธีหนึ่งก็คือเพิ่มคำว่า “อื่นๆ (โปรดระบุ_______)”

  28. การสร้างแบบสอบถาม • ตัวอย่างที่ไม่ถูกต้อง • คุณมีรายได้ต่อเดือนเท่าไร • ก. ต่ำกว่า 10,000 บาท • ข. 10,000-50,000 บาท • ค. 50,000-100,000 บาท • ง. มากกว่า 100,000 บาท • คุณมีอาชีพใด • ก. นักธุรกิจ • ข. พนักงานบริษัท • ค. รับราชการ • ง. อื่นๆ (โปรดระบุ_________)

  29. การสร้างแบบสอบถาม • การเลือกใช้สเกลหรือมาตราวัด • หมายถึง มาตราของข้อมูลที่ใช้ • การให้ลำดับคำถาม • หมายถึง การเรียงลำดับคำถามตามลักษณะที่พึงจะเป็น ไม่สับสน เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับสถานภาพส่วนบุคคล ควรรวมกลุ่มและถามในช่วงต้นหรือช่วงท้ายแบบสอบถาม โดยทั่วไปนิยมถามข้อมูลเหล่านี้ก่อนจึงค่อยถามในเนื้อหาอื่นๆ คำถามในเนื้อหาต้องให้ประเด็นเรียงกันไป ไม่กระโดดไปมา เพื่อช่วยผู้ตอบมิให้สับสนและง่ายต่อการตอบ • ในการออกแบบสอบถามอาจใช้ผังงานเข้าช่วยลำดับคำถาม หากคำถามเกี่ยวกับข้อคิดเห็นที่เป็นคำถามปลายเปิด อาจใส่ไว้เป็นข้อสุดท้าย • คำขอบคุณที่ให้ความร่วมมือ อาจใส่ไว้ตอนท้ายพร้อมชื่อหัวหน้าโครงการและที่ติดต่อ

  30. เมื่อคืนคุณชมรายการทีวีระหว่างเวลา 19.00-20.00 น. หรือเปล่า จบ คุณเห็นโฆษณาแชมพู สระผมซันซิลหรือไม่ กลุ่มที่ 1 ลองทบทวนอีกครั้ง เผื่อนึกออกว่า เห็นโฆษณาแชมพูสระผมซันซิล กลุ่มที่ 2 ถามคำถามเกี่ยวกับรายการที่ชมเมื่อคืน แล้วจึงถามว่าเห็นโฆษณาที่มาช่าแสดงหรือไม่ กลุ่มที่ 3 ใช้แชมพูอะไร ชอบชมรายการอะไร เวลาใด และคำถามอื่นๆ ถามคำถามเกี่ยวกับ แชมพูซันซิล 7 ข้อ จบ

  31. แนวคิดและหลักการวิเคราะห์ข้อมูลแนวคิดและหลักการวิเคราะห์ข้อมูล • ต้องการหาคำตอบอะไรบ้าง • ตัวแปรที่ศึกษามีอะไรบ้าง • ตัวแปรที่ศึกษาแต่ละตัวเป็นประเภทใด • ข้อมูลที่เก็บมามีอะไรบ้าง • ข้อมูลใดเป็นของตัวแปรอิสระ ข้อมูลใดเป็นของตัวแปรตาม

  32. การตรวจสอบข้อมูล • มีครบทุกหน้าหรือไม่ • มีคำถามหรือข้อใดไม่ตอบบ้าง หรือตอบแต่ตอบไม่ครบ • ตอบครบ แต่ตอบไม่ถูกต้องหรือตอบไม่สอดคล้องกัน • ลงคำตอบเกิน เช่น ให้ตอบข้อเดียว แต่ตอบมาหลายข้อ • คำตอบไม่ชัดเจน โดยเฉพาะคำถามแบบปลายเปิด • มีลักษณะคำตอบเป็นแบบซ้ำๆกันบ้างหรือไม่ • มีลักษณะคำตอบแบบไม่เข้าใจคำถามหรือคำสั่งหรือไม่ เช่น ถ้า ตอบ ใช่ ให้ข้ามไปตอบข้ออื่น • ให้ผู้อื่นตอบแทนหรือไม่ โดยดูจากความเป็นไปได้ของคำตอบ

  33. สถิติสำหรับใช้วิเคราะห์ข้อมูลการวิจัยสถิติสำหรับใช้วิเคราะห์ข้อมูลการวิจัย • สถิติที่ใช้บรรยายและสรุปข้อมูล • ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ความแปรปรวน อัตราส่วน ตาราง • สถิติที่ใช้หาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร • Correlation, Regression, Chi-Square • สถิติที่ใช้เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่ม • , Z-test, T-test, Paired T-test, One Way ANOVA • สถิติที่ใช้คัดแยกสมาชิกกลุ่ม • Discriminant analysis • สถิติที่ใช้หาองค์ประกอบหรือโครงสร้าง • Factor analysis

More Related