260 likes | 439 Views
สถานีควบคุมไฟป่าจังหวัดนครศรีธรรมราช. ส่วนควบคุมและปฏิบัติการไฟป่า สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 5 ( นครศรีธรรมราช ) กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช. ประวัติความเป็นมา สถานีควบคุมไฟป่าจังหวัดนครศรีธรรมราช.
E N D
สถานีควบคุมไฟป่าจังหวัดนครศรีธรรมราชสถานีควบคุมไฟป่าจังหวัดนครศรีธรรมราช ส่วนควบคุมและปฏิบัติการไฟป่า สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 5 ( นครศรีธรรมราช ) กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช
ประวัติความเป็นมาสถานีควบคุมไฟป่าจังหวัดนครศรีธรรมราชประวัติความเป็นมาสถานีควบคุมไฟป่าจังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในด้านการปฏิบัติงานควบคุมไฟป่า ปี พ.ศ. 2540 ท้องที่จังหวัดนครศรีธรรมราชได้จัดตั้งสถานีควบคุมไฟป่าขึ้นในพื้นที่โครงการจุฬาภรณ์พัฒนา 3-4 รับผิดชอบการควบคุมไฟป่าในท้องที่จังหวัดนครศรีธรรมราชรวม 21 อำเภอ 2 กิ่งอำเภอ ต่อมาสถานการณ์ไฟป่าได้เกิดขึ้นบ่อยครั้ง และรุนแรงในท้องที่ป่าพรุควนเคร็งจึงได้ย้ายสำนักงานมาตั้งสำนักงานชั่วคราวบริเวณป่าสงวนแห่งชาติป่าคลองค็อง บ้านทับแขก หมู่ที่ 10 ต.สวนหลวง อ.เฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครศรีธรรมราช และเปลี่ยนชื่อเป็นสถานีควบคุมไฟป่าจังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อความสะดวก คล่องตัวในการปฏิบัติงานดับไฟป่าในพื้นที่ป่าพรุ ปี พ.ศ. 2546 กรมอุทยานแห่งชาติฯ ได้จัดตั้งโครงการควบคุมไฟป่าในพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังอันเนื่องมาจากพระราช ดำริ ปฏิบัติงานควบคุมและป้องกันไฟป่าในพื้นที่ป่าพรุและสถานีควบคุมไฟป่าจังหวัดนครศรีธรรมราช รับผิดชอบพื้นที่ป่าบก ได้ย้ายมาตั้งสำนักงานชั่วคราว ม..3 ต.นาสาร อ.พระพรหม จ.นครศรีธรรมราช จนถึงปัจจุบัน... ปัจจุบัน นายจรัล ด้วงแป้น ตำแหน่งเจ้าพนักงานป่าไม้ 5 ทำหน้าที่หัวหน้าสถานีฯ
ที่ตั้งหน่วยงาน สถานีควบคุมไฟป่าจังหวัดนครศรีธรรมราช ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 3 ตำบลนาสาร อำเภอพระพรหม จังหวัดนครศรีธรรมราช รหัส ไปรษณีย์ 80000 โทรศัพท์ 08 - 1326 - 2829 (ทางหลวงสาย เบญจม - นาพรุ ) ค่าพิกัดที่ 47 P 0601033 UTM 0924013 N 08 21’ 294” E 099 55 03
อัตรากำลังเจ้าหน้าที่อัตรากำลังเจ้าหน้าที่ สถานีควบคุมไฟป่าจังหวัดนครศรีธรรมราช มีอัตรากำลังเจ้าหน้าที่ดังนี้ - ข้าราชการระดับ 5 จำนวน 1 คน - ลูกจ้างประจำ ( พนักงานขับรถยนต์ ) จำนวน 1 คน - พนักงานราชการ จำนวน 4 คน - จ้างเหมาปฏิบัติงาน จำนวน 26 คน
พื้นที่รับผิดชอบ มีพื้นที่เป้าหมายหลักตามแผนปฏิบัติงานประจำปีงบประมาณ 2551 จำนวนเนื้อที่ 125,000 ไร่ มีพื้นที่ที่สำคัญ ได้แก่ - อุทยานแห่งชาติเขาหลวง มีพื้นที่จำนวน 356,250 ไร่ - อุทยานแห่งชาติน้ำตกโยง มีพื้นที่จำนวน 128,125 ไร่ - อุทยานแห่งชาติน้ำตกสี่ขีด มีพื้นที่จำนวน 90,625 ไร่ - อุทยานแห่งชาติเขานัน มีพื้นที่จำนวน 256,148 ไร่ - เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่ากะทูน มีพื้นที่จำนวน 104,000 ไร่ - สถานีพัฒนาและส่งเสริมการอนุรักษ์สัตว์ป่า มีพื้นที่จำนวน 7,018 ไร่
ข้อมูลพื้นฐาน ทรัพยากรป่าไม้ ท้องที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ประกอบด้วยป่าชนิดต่างๆ ดังนี้ 1. ป่าสงวนแห่งชาติ จำนวน 69 ป่า มีเนื้อที่ 1,438,230.60 ไร่ สภาพพื้นที่เป็นที่ราบและถูกบุกรุก สภาพป่าคงเหลืออยู่น้อย บริเวณยอดเขาเป็นป่าดิบชื้น 2. ป่าอนุรักษ์ ประกอบด้วย อุทยานแห่งชาติ , เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า , เขตห้ามล่าสัตว์ป่า มีเนื้อที่ 1,242,422 ไร่ ลักษณะทางกายภาพ จังหวัดนครศรีธรรมราชตั้งอยู่ทางตอนกลางของภาคใต้ห่างจากกรุงเทพมหานคร 780 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 9,942,502 ตร.กม. หรือประมาณ 6,214,064 ไร่ พื้นที่มากเป็นอับดับที่ 16 ของประเทศ หรือประมาณร้อยละ 1.98 ของพื้นที่ทั้งประเทศ ที่ตั้งของจังหวัดตั้งอยู่ประมาณละติจูด 9 องศาเหนือ และลองติจูด 100 องศาตะวันออก มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดต่างๆ ดังต่อไปนี้ - ทิศเหนือ ติดต่อกับจังหวัดสุราษฎร์ธานีและอ่าวบ้านดอน - ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอระโนด จังหวัดสงขลา อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง - ทิศตะวันออก ติดต่อกับอ่าวไทยเป็นชายฝั่งทะเล มีความยาวตั้งแต่ตอนเหนือของอำเภอขนอมลงไปทางใต้ของอำเภอหัวไทรประมาณ 225 กิโลเมตร - ทิศตะวันตก ติดต่อกับจังหวัดสุราษฏร์ธานีและจังหวัดกระบี่
ลักษณะภูมิประเทศ ลักษณะภูมิประเทศของจังหวัดนครศรีธรรมราชแตกต่างไปตามลักษณะของเทือกเขานครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นเทือกเขาที่มีความยาวตามแนวยาวของคาบสมุทรเป็นผลให้ลักษณะภูมิประเทศของจังหวัดนครศรีธรรมราช แบ่งได้เป็น 3 ส่วน คือ บริเวณเทือกเขาตอนกลาง , บริเวณที่ราบชายฝั่งตะวันออกและบริเวณที่ราบด้านตะวันตก ลักษณะภูมิอากาศ ลักษณะภูมิอากาศของจังหวัดนครศรีธรรมราช จากสภาพที่ตั้งใกล้เส้นศูนย์สูตร มีภูเขาและเป็นคาบสมุทรทั้งสองด้าน กล่าวคือ ด้านตะวันออกเป็นทะเลจีนใต้ มหาสมุทรแปซิฟิก ด้านตะวันตก เป็นทะเลอันดามัน มหาสมุทรอินเดีย ทำให้นครศรีธรรมราชได้รับอิทธิพลจากลมมรสุม จากมหาสมุทรอินเดียและพายุหมุนเขตร้อน จากทะเลจีนใต้สลับกันดังนี้ 1. ลมมรสุมในแต่ละปี จังหวัดนครศรีธรรมราชจะได้รับอิทธิพลของลมมรสุม ดังนี้ - ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ อิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้จะอยู่ในช่วงประมาณเดือนพฤษภาคม ถึง เดือนตุลาคม - ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ อิทธิพลของลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือจะทำให้ฝนตกมากในช่วงประมาณเดือนพฤศจิกายน - มกราคม 2. พายุเขตร้อน เป็นระบบความกดอากาศต่ำที่มีขนาดเส้นฝ่าศูนย์กลางไม่ต่ำกว่า 2 องศา ละติจูดก่อตัวขึ้นเหนือน่านน้ำในเขตร้อนระหว่างละติจูด ประมาณ 5 - 20 องศาเหนือ โดยไม่มีระบบแนวปะทะเข้ามาเกี่ยวข้องและมีการหมุนเวียนชัดเจน ซึ่งตามข้อตกลงระหว่างประเทศได้แบ่งชนิดของพายุเขตร้อยตามความรุนแรงดังต่อไปนี้ - พายุดีเปรสชั่น - พายุโซนร้อน - พายุใต้ฝุ่น
ลักษณะฤดูกาล จังหวัดนครศรีธรรมราช มี 2 ฤดู คือ 1.ฤดูร้อน อยู่ระหว่างเดือนกุมภาพันธุ์ - เมษายน มีอากาศร้อนตลอดฤดูกาล 2. ฤดูฝน แบ่งเป็น 2 ช่วง ได้แก่ - ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม - ตุลาคม เป็นช่วงที่รับอิทธิพลมรสุมตะวันตกเฉียงเหนือ แต่เนื่องจากมีเทือกเขานครศรีธรรม ราชที่สูงชัน เป็นแนวกั้นทิศทางลม จึงมีฝนตกไม่มากนัก บริเวณที่ฝนตกในช่วงนี้ คือพื้นที่ทางตะวันตกของเทือกเขา เช่น อำเภอทุ่งสง ทุ่งใหญ่ พิปูน เป็นต้น - ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน - มกราคม เป็นช่วงที่ได้รับอิทธิพลลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือช่วงนี้มีฝนตกหนาแน่น เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่ตั้งอยู่ด้านรับลมทำให้เกิดอุทกภัยเป็นประจำทุกปี สภาพแหล่งน้ำ แม่น้ำลำคลองภายในจังหวัดมีอยู่หลายสาขา ส่วนใหญ่เกิดจากเทือกเขานครศรีธรรมราชและเทือกเขาบรรทัด บางสาขาไหลลงสู่อ่าวบ้านดอน จังหวัดสุราษฎร์ธานี บางสาขาไหลลงสู่อ่าวนครศรีธรรมราช และบางสาขาไหลลงสู่ทะเลอันดามัน แม่น้ำลำคลองเหล่านี้ล้วนมีขนาดเล็ก ชาวนครมักเรียกว่า " คลอง " แม่น้ำลำคลองที่สำคัญได้แก่ แม่น้ำปากพนัง แม่น้ำหลวง คลองปากพูน คลองปากพญา - คลองปากนคร คลองเสาธง คลองกลาย คลองท่าทน คลองน้ำตกโยง คลองมีน คลองท่าเลา คลองท่าโลน
ผลการปฏิบัติงานประจำปีงบประมาณ2551ตั้งแต่ ตุลาคม 2550 - มิถุนายน 2551 สถานีควบคุมไฟป่าจังหวัดนครศรีธรรมราช
การรณรงค์ป้องกันไฟป่าการรณรงค์ป้องกันไฟป่า
การประชาสัมพันธ์เคลื่อนที่การประชาสัมพันธ์เคลื่อนที่
กิจกรรมวันรณรงให้ปลอดควันพิษจากไฟป่า ( 24 กุมภาพันธ์ )
การปฏิบัติงานดับไฟป่าการปฏิบัติงานดับไฟป่า
การสำรวจพื้นที่ปฏิบัติงานการสำรวจพื้นที่ปฏิบัติงาน
เตรียมพนักงานดับไฟป่า / เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์
เตรียมอุปกรณ์และเครื่องมือดับไฟป่าเตรียมอุปกรณ์และเครื่องมือดับไฟป่า
แผนที่แสดงพื้นที่เสี่ยงภัยต่อการเกิดไฟป่าแผนที่แสดงพื้นที่เสี่ยงภัยต่อการเกิดไฟป่า
สถิติการเกิดไฟป่าตั้งแต่ปีงบประมาณ 2546 – 2550ในพื้นที่รับผิดชอบของสถานีควบคุมไฟป่าจังหวัดนครศรีธรรมราช
สถิติการปฏิบัติงานดับไฟป่าประจำปีงบประมาณ 2551ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2550 - มิถุนายน 2551ในพื้นที่รับผิดชอบของสถานีควบคุมไฟป่าจังหวัดนครศรีธรรมราช
จบการนำเสนอ สวัสดี