1 / 76

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเด็ก เยาวชนและครอบครัว

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเด็ก เยาวชนและครอบครัว. “นิยามความหมาย”. นิยามตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ( CRC ) “เด็กหมายถึง มนุษย์ทุกคนที่อายุต่ำกว่าสิบแปดปี เว้นแต่ จะบรรลุนิติภาวะก่อนหน้านั้นตามกฎหมายที่ใช้บังคับแก่เด็กนั้น” นิยามตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.๒๕๔๖ ม.๔

wyanet
Download Presentation

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเด็ก เยาวชนและครอบครัว

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเด็ก เยาวชนและครอบครัว

  2. “นิยามความหมาย” นิยามตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก (CRC) “เด็กหมายถึง มนุษย์ทุกคนที่อายุต่ำกว่าสิบแปดปี เว้นแต่จะบรรลุนิติภาวะก่อนหน้านั้นตามกฎหมายที่ใช้บังคับแก่เด็กนั้น” นิยามตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.๒๕๔๖ ม.๔ “เด็ก หมายความว่า บุคคลซึ่งมีอายุต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์ แต่ไม่รวมถึงผู้ที่บรรลุนิติภาวะด้วยการสมรส”

  3. เด็กไทย รักใสหรือรักเซ็กส์ วัยรุ่นไทยครองแชมป์ในเรื่องต่อไปนี้ ยอมรับการมีคู่นอนมากกว่า ๑ คน ค่าเฉลี่ย "สูงที่สุดในโลก" คือมีร้อยละ ๕๒ (ค่าเฉลี่ยทั่วโลกคือ ร้อยละ ๓๔) เริ่มเรียนรู้เรื่องเพศศึกษา "ช้าที่สุดในโลก" คือเมื่ออายุ ๑๓.๕ ปี (ค่าเฉลี่ยทั่วโลกคือ ๑๒.๒ ปี) มีการใช้ถุงยางอนามัยเมื่อมีเซ็กส์ครั้งแรก "น้อยที่สุดในโลก" เพียงร้อยละ ๒๓ (ค่าเฉลี่ยทั่วโลกคือ ร้อยละ ๕๗) พ่อแม่ไทยมีบทบาทในการสอนเรื่องเพศแก่ลูก "น้อยที่สุดในโลก" คือร้อยละ ๑ เท่านั้น (ค่าเฉลี่ยทั่วโลกคือร้อยละ ๑๒)(สถาบัน Durex Global Sex Survey ๑๙๙๙)

  4. สถิติเด็กและเยาวชนที่เป็นผู้กระทำความผิดสถิติเด็กและเยาวชนที่เป็นผู้กระทำความผิด ปี พ.ศ. จำนวนคดี ๒๕๔๔ ๓๑,๔๔๘ ๒๕๔๕ ๓๕,๒๘๕ ๒๕๔๖ ๒๙,๙๑๕ ๒๕๔๗ ๓๓,๓๐๘ ๒๕๔๘ ๓๖,๐๘๐ ( กลุ่มงานข้อมูลและสารสนเทศ สำนักพัฒนาระบบงาน- ยุติธรรมเด็กและเยาวชน กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน)

  5. สถิติการดำเนินการมูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็กสถิติการดำเนินการมูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก

  6. รายงานการวิจัยเรื่องความรุนแรงในครอบครัวรายงานการวิจัยเรื่องความรุนแรงในครอบครัว งานวิจัยของมหาวิทยาลัยมหิดล/มูลนิธิผู้หญิง ๑.จังหวัดกรุงเทพฯ - ไม่เคยถูกกระทำ ร้อยละ ๕๙ - เคยถูกกระทำ ร้อยละ ๔๑ ๒.จังหวัด ข. - ไม่เคยถูกกระทำ ร้อยละ ๕๓ - เคยถูกกระทำ ร้อยละ ๔๗ เฉลี่ยทั้งประเทศ - ไม่เคยถูกกระทำ ร้อยละ ๕๖ - เคยถูกกระทำ ร้อยละ ๔๔

  7. สถิติการถูกทำร้ายในเด็กและสตรีที่มารับบริการที่ศูนย์พึ่งได้สถิติการถูกทำร้ายในเด็กและสตรีที่มารับบริการที่ศูนย์พึ่งได้

  8. ภาพรวมสถานการณ์ความรุนแรงต่อเด็กและสตรีภาพรวมสถานการณ์ความรุนแรงต่อเด็กและสตรี ปี ๒๕๔๘ มีเด็กถูกละเมิดทางเพศจำนวน ๓,๘๒๕ คนและเพิ่มเป็น ๕,๒๑๑ คนในปี ๒๕๔๙ มกราคม-ธันวาคม ๒๕๔๙ มีคดีเกี่ยวกับความผิดทางเพศ ๕,๒๒๘ คดี แต่จับผู้กระทำความผิดได้เพียง ๒,๑๗๐ คดี ประมาณการณ์ครอบครัวไทย ๑๘.๑ ล้านครอบครัว จะมีการใช้ความรุนแรง ๕.๒ ล้านครอบครัว คิดเป็นความสูญเสียทางเศรษฐกิจ ๓๖,๖๘๗ ล้านบาทต่อปี

  9. ตัวเลขการค้ามนุษย์ (อย่างไม่เป็นทางการ) มีเด็กและหญิงชาวพม่าประมาณ ๒-๓ หมื่นคน ถูกนำมาค้าประเวณีในประเทศไทย (สตช. ๒๕๔๕) มีเด็กและหญิงไทยมากกว่า ๓ หมื่นคน ทำงานในอุตสาหกรรมทางเพศในประเทศญี่ปุ่น (Asian Migration News,๑๙๙๙) มีชาวกัมพูชาลักลอบเข้าประเทศไทย (ส่วนใหญ่มีกระบวนการค้ามนุษย์พาเข้ามา) ประมาณ ๘๘,๐๐๐ คน (IOM,๒๕๔๒) มีชาวลาวลักลอบเข้าประเทศไทย (ส่วนใหญ่มีกระบวนการค้ามนุษย์พาเข้ามา) ประมาณ ๔๕,๐๐๐ คน (IOM,๒๕๔๒) โดยสรุป ๑๙๙๐-๒๐๐๐ มีหญิงและเด็กกว่า ๓๐ ล้านคนจากอุษาคเนย์ถูกค้ามนุษย์ในสังคมโลก (UN)

  10. อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก • สมัชชาใหญ่สหประชาชาติได้รับรองอนุสัญญาด้วยสิทธิเด็กเมื่อวันที่ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๓๒ และมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ ๒ กันยายน ๒๕๓๓ • ขณะนี้มีประเทศเป็นภาคีสมาชิก ๑๙๕ ประเทศ • ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีอนุสัญญานี้โดยการภาคยานุวัตรเมื่อวันที่ ๒๗ มีนาคม ๒๕๓๕ และมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ ๒๖ เมษายน ๒๕๓๕ • มีการตั้งข้อสงวนไว้ ๒ ข้อ - ข้อ ๗ เรื่องการจดทะเบียนเด็กแรกเกิด - ข้อ ๒๒ เรื่องสถานะของเด็กผู้ลี้ภัย

  11. อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก สิทธิในการดำรงชีวิต (Survival Rights) ถือเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานโดยทั่วไป เช่น สิทธิในการมีชีวิตอยู่ สิทธิที่จะได้รับบริการสาธารณสุขขั้นพื้นฐาน สิทธิที่จะมีมาตรฐานความเป็นอยู่ที่ดี เป็นต้น สิทธิในการได้รับการปกป้องคุ้มครอง (ProtectionRights) คือ สิทธิในการไม่ถูกเอาเปรียบทางเพศ การใช้แรงงานที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ พัฒนาการ สมอง จิตใจ ตลอดจนการปกป้องคุ้มครองเด็กที่อยู่ในภาวะยากลำบาก เช่น เด็กพิการ เด็กกำพร้า เป็นต้น

  12. อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก สิทธิที่จะได้รับการพัฒนา (DevelopmentRights) เช่น สิทธิที่จะได้รับการศึกษา เป็นต้น สิทธิในการมีส่วนร่วม (Participation Rights) เช่น สิทธิในการแสดงความคิดเห็นได้อย่างอิสระในเรื่องที่จะส่งผลกระทบต่อตนเอง สิทธิในการได้รับข้อมูลข่าวสาร เป็นต้น

  13. อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติได้ให้การรับรองเมื่อวันที่ ๑๘ ธันวาคม ๒๕๒๒ และมีผลบังคับใช้ ๓ กันยายน ๒๕๓๔ ประเทศไทยเป็นภาคีสมาชิกโดยการภาคยานุวัตร เมื่อวันที่ ๙ สิงหาคม ๒๕๒๘ และมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ ๘ กันยายน ๒๕๒๘ เดิมได้ตั้งข้อสงวนไว้ ๗ ข้อ ข้อสงวนปัจจุบัน - ข้อ ๑๖ เรื่องเกี่ยวกับการสมรสและสถาบันครอบครัว - ข้อ ๒๙ เรื่องเกี่ยวกับการตีความและระงับข้อพิพาท

  14. อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ ฐานะของประเทศไทยในการปฏิบัติตามอนุสัญญา - มีการแก้กฎหมายที่เลือกปฏิบัติต่อผู้หญิง - มีหลักสูตรเรื่องสิทธิมนุษยชน และสิทธิมนุษยชนของสตรีในการศึกษาทุกระดับ - ให้ผู้หญิงมีส่วนร่วมในงานระดับบริหาร ในทุกส่วนของสังคม - ในการออกกฎหมาย โดยเฉพาะข้อกำหนดเกี่ยวกับผู้หญิง ต้องให้ผู้หญิงมีส่วนร่วมหรือปรึกษาหารือผู้หญิง - จัดทำรายงานภาคประชาชน (Shadow Report)

  15. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๕๒ “เด็กและเยาวชน มีสิทธิในการอยู่รอดและได้รับการพัฒนาด้านร่างกาย จิตใจ และสติปัญญา ตามศักยภาพในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม โดยคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของเด็กและเยาวชนเป็นสำคัญ เด็ก เยาวชน สตรี และบุคคลในครอบครัว มีสิทธิได้รับความคุ้มครองจากรัฐ ให้ปราศจากการใช้ความรุนแรงและการปฏิบัติอันไม่เป็นธรรม ทั้งมีสิทธิได้รับการบำบัดฟื้นฟูในกรณีที่มีเหตุดังกล่าว การแทรกแซงและจำกัดสิทธิของเด็ก เยาวชน และบุคคลในครอบครัว จะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายเฉพาะเพื่อสงวนและรักษาไว้ซึ่งสถานะของครอบครัวหรือประโยชน์สูงสุดของบุคคลนั้น”

  16. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๔๐ “บุคคลย่อมมีสิทธิในกระบวนการยุติธรรม ดังต่อไปนี้ (๖) เด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ หรือผู้พิการหรือทุพพลภาพ ย่อมมีสิทธิได้รับความคุ้มครองในการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีอย่างเหมาะสม และย่อมมีสิทธิได้รับการปฏิบัติที่เหมาะสมในคดีเกี่ยวกับความรุนแรงทางเพศ” มาตรา ๘๐ “รัฐต้องดำเนินการตามแนวนโยบายด้านสังคม.... ดังต่อไปนี้ (๑) คุ้มครองและพัฒนาเด็กและเยาวชน สนับสนุนการอบรมเลี้ยงดูและให้การศึกษาปฐมวัย ส่งเสริมความเสมอภาคของหญิงและชาย เสริมสร้างและพัฒนาความเป็นปึกแผ่นของสถาบันครอบครัวและชุมชน รวมทั้งต้องสงเคราะห์และจัดสวัสดิการให้แก่ผู้สูงอายุ ผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพ และผู้อยู่ในสภาวะยากลำบาก ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและพึ่งพาตนเองได้”

  17. กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกรณีเด็ก/หญิงที่ถูกทารุณกรรมกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกรณีเด็ก/หญิงที่ถูกทารุณกรรม

  18. กฎหมายใหม่ที่มีผลบังคับใช้แล้วกฎหมายใหม่ที่มีผลบังคับใช้แล้ว พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.๒๕๔๖ พระราชบัญญัติส่งเสริมการจัดการสวัสดิการสังคม พ.ศ.๒๕๔๖ พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๕๐ พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ.๒๕๕๐ พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ๒๐ และ ๒๑) พ.ศ.๒๕๕๐ และ ๒๕๕๑ พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ ๒๕ ๒๖ และ ๒๘) พ.ศ.๒๕๕๐ และ ๒๕๕๑

  19. กฎหมายใหม่ที่มีผลบังคับใช้ (ต่อ) • พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ.๒๕๓๙ • พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ.๒๕๕๑ • พระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ฯ • พระราชบัญญัติสุขภาพจิต พ.ศ.๒๕๕๐ • พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปราบการฟอกเงิน พ.ศ.๒๕๔๒ • พระราชบัญญัติคุ้มครองพยาน พ.ศ.๒๕๔๖ • พระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหายฯ ในคดีอาญาฯ พ.ศ.๒๕๔๔ • พระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๕๐

  20. ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา๒๙๕ “ผู้ใดทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจของผู้อื่นนั้น ผู้นั้นกระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกาย ต้องระวางโทษ....” มาตรา ๒๘๘ “ผู้ใดฆ่าผู้อื่น ต้องระวางโทษ....” มาตรา ๓๙๑ “ผู้ใดใช้กำลังทำร้ายผู้อื่น โดยไม่ถึงกับเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจ ต้องระวางโทษ....”

  21. ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๗๖ “ผู้ใดข่มขืนกระทำชำเราผู้อื่นโดยขู่เข็ญด้วยประการใด ๆ โดยใช้กำลังประทุษร้าย โดยผู้อื่นนั้นอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้ หรือโดยทำให้ผู้อื่นนั้นเข้าใจผิดว่าตนเป็นบุคคลอื่น ต้องระวางโทษ.... การกระทำชำเราหมายความว่าการกระทำเพื่อสนองความใคร่ของผู้กระทำโดยการใช้อวัยวะเพศของผู้กระทำกระทำกับอวัยวะเพศ ทวารหนัก หรือช่องปากของผู้อื่น หรือการใช้สิ่งอื่นใดกระทำกับอวัยวะเพศหรือทวารหนักของผู้อื่น”

  22. ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๗๗ “ผู้ใดกระทำชำเราเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีซึ่งมิใช่ภริยาหรือสามีของตน โดยเด็กนั้นจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม ต้องระวางโทษ.... ความผิดตามที่บัญญัติไว้ในวรรคหนึ่ง ถ้าเป็นการกระทำโดยบุคคลอายุไม่เกินสิบแปดปีกระทำต่อเด็กซึ่งมีอายุกว่าสิบสามปี แต่ยังไม่เกินสิบห้าปี โดยเด็กนั้นยินยอม และภายหลังศาลอนุญาตให้ทั้งสองฝ่ายสมรสกัน ผู้กระทำผิดไม่ต้องรับโทษ ถ้าศาลอนุญาตให้สมรสในระหว่างที่ผู้กระทำผิดกำลังรับโทษในความผิดนั้นอยู่ ให้ศาลปล่อยผู้กระทำความผิดนั้นไป”

  23. หลักการสำคัญตามประมวลกฎหมายอาญา อายุและความรับผิดทางอาญา มาตรา ๗๓ “เด็กอายุยังไม่เกินสิบปีกระทำการอันกฎหมายบัญญัติเป็นความผิด เด็กนั้นไม่ต้องรับโทษ” “ให้พนักงานสอบสวนส่งตัวเด็กตามวรรคหนึ่งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองเด็ก เพื่อดำเนินการคุ้มครองสวัสดิภาพตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น”

  24. หลักการสำคัญตามประมวลกฎหมายอาญา (ต่อ) อายุและความรับผิดทางอาญา มาตรา ๗๔ “เด็กอายุกว่าสิบปีแต่ยังไม่เกินสิบห้าปี กระทำการอันกฎหมายบัญญัติเป็นความผิด เด็กนั้นไม่ต้องรับโทษ แต่ให้ศาลมีอำนาจที่จะดำเนินการดังต่อไปนี้.............” - ว่ากล่าวตักเตือนเฉพาะเด็กหรือทั้งผู้ปกครองด้วย - วางข้อกำหนดกับบิดามารดาไม่เกินสามปีและอาจกำหนดเงินไม่เกินครั้งละ ๑๐๐๐ บาท เมื่อเด็กก่อเหตุร้ายอีก - กำหนดเงื่อนไขคุมประพฤติประกอบด้วยก็ได้ (ให้เป็นไปตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๕๖)

  25. หลักการสำคัญตามประมวลกฎหมายอาญา (ต่อ) อายุและความรับผิดทางอาญา มาตรา ๗๔ (ต่อ) - ศาลมีคำสั่งมอบให้เด็กไปอยู่กับบุคคลหรือองค์กรตามที่เห็นสมควรตามระยะเวลาที่ศาลกำหนด - ส่งตัวเด็กไปยังโรงเรียนหรือสถานฝึกและอบรมหรือสถานที่ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อการฝึกและอบรมเด็ก ตามที่ศาลกำหนด แต่ห้ามไม่เกินอายุสิบแปดปี หรือมอบให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ตาม พรบ.คุ้มครองเด็กฯ * ทั้งนี้คำสั่งเหล่านี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามข้อเท็จจริงที่เปลี่ยนไป

  26. ป.กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาป.กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๓๓ ทวิ“ในคดีความผิดเกี่ยวกับเพศ ความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกายอันมิใช่ความผิดที่เกิดจากการชุลมุนต่อสู้..... การถามปากคำผู้เสียหายหรือพยานที่เป็นเด็กอายุไม่เกินสิบแปดปี ให้พนักงานสอบสวนแยกกระทำเป็นส่วนสัดในสถานที่ที่เหมาะสมสำหรับเด็ก และให้มีนักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์ บุคคลที่เด็กร้องขอ และพนักงานอัยการเข้าร่วมในการถามปากคำนั้นด้วย ในกรณีที่นักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์เห็นว่าการถามปากคำเด็กคนใดหรือคำถามใด อาจจะมีผลกระทบกระเทือนต่อจิตใจเด็กอย่างรุนแรง ให้พนักงานสอบสวนถามผ่านนักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์เป็นการเฉพาะตามประเด็นคำถามของพนักงานสอบสวน โดยมิให้เด็กได้ยินคำถามของพนักงานสอบสวนและห้ามมิให้ถามเด็กซ้ำซ้อนหลายครั้งโดยไม่มีเหตุอันสมควร”

  27. ป.กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาป.กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๗๒ ตรี “…ในการสืบพยานในคดีที่เป็นเด็กอายุยังไม่เกินสิบแปด ให้ศาลจัดให้พยานอยู่ในสถานที่ที่เหมาะสมสำหรับเด็ก และศาลอาจปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ (๑) ศาลเป็นผู้ถามพยานเองโดยแจ้งให้พยานนั้นทราบประเด็นและข้อเท็จจริงซึ่งต้องการสืบ แล้วให้พยานเบิกความในข้อนั้น ๆ หรือศาลจะถามผ่านนักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์ก็ได้” (๒) ให้คู่ความถาม ถามค้าน หรือถามติงผ่านนักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์ ในการเบิกความพยาน....ให้มีการถ่ายทอดภาพและเสียงไปยังห้องพิจารณาด้วย.....”

  28. บุคลากรตามกฎหมายคุ้มครองเด็ก ม.๒๔ ใคร ? ปลัดกระทรวง ผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้อำนวยการเขต นายอำเภอ ปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ หรือผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำนาจหน้าที่และบทบาทหน้าที่ (โดยย่อ) ? - คุ้มครองสวัสดิภาพเด็กที่อยู่ในเขตพื้นที่ที่รับผิดชอบ - ดูแลและตรวจสอบสถานฯ ต่าง ๆ ๖ ประเภทและรายงานคณะกรรมการหรืออนุกรรมการแล้วแต่ละกรณี - ให้มีอำนาจหน้าที่อื่น ๆ เช่นเดียวกับพนักงานเจ้าหน้าที่ตามหมวด ๓ และ ๔

  29. พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.๒๕๔๖ หัวใจหลักของพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก มาตรา ๒๓ ผู้ปกครองต้องให้การอุปการะเลี้ยงดู อบรมสั่งสอนและพัฒนาเด็กที่อยู่ในความปกครองดูแลของตนตามสมควรแก่ขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมแห่งท้องถิ่น แต่ทั้งนี้ต้องไม่ต่ำกว่ามาตรฐานขั้นต่ำตามที่กำหนดในกฎกระทรวงและต้องคุ้มครองสวัสดิภาพเด็กที่อยู่ในความปกครองดูแลของตนมิให้ตกอยู่ในภาวะอันน่าจะเกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจ

  30. ข้อห้ามของบุคคลทั่วไปตามมาตรา ๒๖ กระทำหรือละเว้นการกระทำอันเป็นการทารุณกรรมต่อร่างกาย/จิตใจ จงใจ/ละเลยไม่ให้สิ่งจำเป็นแก่การดำรงชีวิตจนน่าจะเกิดอันตราย บังคับ ขู่เข็ญ ชักจูง ให้เด็กประพฤติตนไม่สมควรหรือเสี่ยงต่อการทำผิด โฆษณาทางสื่อหรือเผยแพร่เพื่อรับเด็กหรือยกเด็กให้บุคคลอื่น บังคับ ขู่เข็ญ ชักจูง ให้เด็กเป็นขอทาน เร่ร่อน หรือแสวงหาประโยชน์จากเด็ก ใช้ จ้าง วานให้เด็กทำงานอันเป็นอันตรายหรือกระทบต่อการเจริญหรือพัฒนาการของเด็ก

  31. ข้อห้ามของบุคคลทั่วไปตามมาตรา ๒๖ (ต่อ) บังคับ ชักจูง ขู่เข็ญ หรือยินยอมให้เด็กเล่นกีฬาหรือการอื่นใดอันเป็นการแสวงหาประโยชน์ทางการค้าอันขัดขวางการเจริญหรือทารุณกรรมเด็ก ใช้หรือยินยอมให้เด็กเล่นการพนัน หรือเข้าไปในสถานที่เล่นการพนัน สถานค้าประเวณี บังคับ ชักจูง ขู่เข็ญ หรือยินยอมให้เด็กแสดงหรือกระทำการอันเป็นการลามกอนาจาร จำหน่าย แลกเปลี่ยน หรือให้สุราหรือบุหรี่แก่เด็ก

  32. กลไกดูแลติดตามสภาวะของเด็กและครอบครัวกลไกดูแลติดตามสภาวะของเด็กและครอบครัว หน่วยงานที่ให้บริการด้านต่างๆ แก่เด็กและครอบครัวในชีวิตประจำวัน ใช้เครื่องมือ๔ชิ้นจำแนกกลุ่มเด็ก ๑. มาตรฐานการเลี้ยงดูขั้นต่ำ มาตรา ๒๓ ๒.ดัชนีชี้วัดปัจจัยเสี่ยง มาตรา ๒๘ ๓.ข้อบ่งชี้การถูกกระทำ มาตรา ๔๑ ๔. ข้อบ่งชี้สภาวะเสี่ยงต่อการกระทำความผิดของเด็กมาตรา ๔๔ เด็กต้องการ บริการเป็นพิเศษ เด็กเสี่ยงที่จะตกอยู่ในอันตราย เด็กเสี่ยงต่อการกระทำผิด เด็กกระทำความผิด เด็กถูกกระทำ เด็กปกติ

  33. การแบ่งกลุ่มประเภทเด็กตามกฎหมายการแบ่งกลุ่มประเภทเด็กตามกฎหมาย เด็กที่พึงได้รับการสงเคราะห์ - เด็กเร่ร่อนหรือเด็กกำพร้า - เด็กที่ถูกทอดทิ้งหรือพลัดหลง - เด็กที่ผู้ปกครองไม่สามารถเลี้ยงดู เช่น ถูกจำคุก พิการ เจ็บป่วย - เด็กที่ผู้ปกครองประกอบอาชีพไม่เหมาะอันอาจส่งผลต่อเด็ก - เด็กที่ได้รับการเลี้ยงดูโดยมิชอบฯ อันเป็นผลให้เด็กมีความ ประพฤติเสื่อมเสีย - เด็กพิการ - เด็กที่อยู่ในสภาพยากลำบาก

  34. การแบ่งกลุ่มประเภทเด็กตามกฎหมาย (ต่อ) เด็กที่พึงได้รับการคุ้มครองสวัสดิภาพ - เด็กที่ถูกทารุณกรรม - เด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด - เด็กที่อยู่ในสภาพต้องได้รับการคุ้มครองสวัสดิภาพตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ๑.เด็กที่พ้นจากการกระทำผิดแล้ว

  35. การแจ้งมาตรา ๒๙วรรคแรก ผู้ใด พบเห็นเด็กตกอยู่ในสภาพที่จำต้องได้รับการสงเคราะห์หรือคุ้มครองสวัสดิภาพตามหมวด ๓ และหมวด ๔ ให้การช่วยเหลือเบื้องต้น แจ้ง พนักงานเจ้าหน้าที่ พนักงานฝ่ายปกครอง ตำรวจ ผู้มีหน้าที่คุ้มครองสวัสดิภาพเด็กตามมาตรา ๒๔ โดยมิชักช้า

  36. การรายงานมาตรา ๒๙ วรรค๒ แพทย์ พยาบาล นักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ครู อาจารย์ หรือนายจ้าง เป็นที่ปรากฎชัด หรือ น่าสงสัย เด็กถูกทารุณกรรมหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการเลี้ยงดูโดยมิชอบ ต้องรายงาน พนักงานเจ้าหน้าที่ พนักงานฝ่ายปกครอง ตำรวจ ผู้มีหน้าที่คุ้มครอง สวัสดิภาพเด็กตามมาตรา ๒๔ โดยมิชักช้า

  37. กลไกมาตรา ๔๑ พนักงานเจ้าหน้าที่ พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ หรือผู้มีหน้าที่คุ้มครองสวัสดิภาพเด็กตามมาตรา ๒๔ ผู้ใด พบเห็นหรือประสบพฤติการณ์น่าเชื่อว่ามีการทารุณกรรมต่อเด็ก มีอำนาจเข้าตรวจค้น มีอำนาจแยกตัวเด็กจากครอบครัวของเด็กเพื่อคุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก โดยเร็วที่สุด

  38. การให้การสงเคราะห์ ให้ความช่วยเหลือใดๆที่ทำให้ผู้ปกครองสามารถอุปการะเลี้ยงดูเด็กได้ตามมาตรา ๒๓ รวมทั้งการให้คำแนะนำปรึกษา การบำบัดฟื้นฟู การฝึกทักษะที่จำเป็นต่อการอุปการะเลี้ยงดูเด็ก การฟื้นฟูครอบครัว จัดกลุ่มช่วยเหลือ ฯลฯ มอบเด็กให้ผู้เหมาะสมอุปการะเลี้ยงดูแทนไม่เกิน ๑ เดือน กรณีเด็กกำพร้า ดำเนินการเพื่อให้เด็กเป็นบุตรบุญธรรมตามกฎหมายว่าด้วยการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม ส่งเด็กเข้ารับการอุปการะในครอบครัวอุปถัมภ์ (ต้องยินยอม/ใช้คำสั่ง) ส่งเด็กเข้าสถานดูแลเด็กด้านต่างๆตามหมวด ๖ (ต้องยินยอม/ใช้คำสั่ง)

  39. เพื่อไม่ให้เด็กตกอยู่ในอันตราย พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจนำตัวเด็กมาไว้ในอารักขาได้ทันที เพียงแต่เกิดหรือมีพฤติการณ์ที่น่าเชื่อว่ามีการกระทำทารุณกรรมต่อเด็ก ไม่จำเป็นจะต้องมีพยานหลักฐานชัดเจนยืนยันว่าเด็กถูกกระทำทารุณกรรมหรือใครเป็นผู้ลงมือกระทำก็ได้ พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจตรวจค้นตามมาตรา ๓๐ และมีอำนาจแยกตัวเด็กจากครอบครัวของเด็กเพื่อไว้ในอารักขาโดยเร็วที่สุด การคุ้มครองสวัสดิภาพ ๔๑ และ ๔๒ จัดให้เด็กรับการตรวจรักษาทางร่างกายและจิตใจทันที อาจส่งตัวเด็กไปสถานแรกรับ หรือไปรับการสงเคราะห์ตาม ม.๓๓ อำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ กรณีนี้มีเงื่อนเวลาจำกัดไม่เกิน ๗ วัน หรือร้องขอศาลเพื่อขยายได้รวมไม่เกิน ๓๐ วันเท่านั้น พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องสืบค้น/รวบรวมข้อเท็จจริง ที่เป็นประเด็นแห่งคดีคุ้มครองเด็กจนสามารถกำหนดวิธีการคุ้มครองสวัสดิภาพที่เหมาะสมทันเงื่อนเวลา หากไม่ทันเวลาหมดอำนาจคุ้มครองเด็ก

  40. การคุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก ตามมาตรา ๔๓ วรรค ๒ กรณีที่สงสัยว่า เด็กจะถูกกระทำทารุณกรรม แต่ไม่สามารถนำตัวเด็กมาไว้ในอารักขาได้ โดยไม่มีการฟ้องคดีอาญาหรือไม่ฟ้องคดีอาญา พนักงานเจ้าหน้าที่สามารถยื่นคำขอให้ศาลออกคำสั่งมิให้บุคคลแวดล้อมกระทำทารุณกรรมแก่เด็กอีก โดยกำหนดมาตรการคุมความประพฤติและเรียกประกันด้วยก็ได้ นอกจากนั้นหากศาลเห็นว่ามีเหตุจำเป็น ศาลมีอำนาจออกคำสั่งให้จับกุมตัวบุคคลผู้นั้นมากักขังไว้ครั้งละไม่เกินสามสิบวันตามมาตรา ๔๓ วรรค ๓ ทั้งนี้จะต้องยื่นพยานหลักฐานให้ศาลเห็นในประเด็นข้างต้นด้วย

  41. การคุ้มครองสวัสดิภาพเด็กเสี่ยงต่อการกระทำผิดการคุ้มครองสวัสดิภาพเด็กเสี่ยงต่อการกระทำผิด กรณีพบเด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องดำเนินการหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับตัวเด็กก่อน พนักงานเจ้าหน้าที่อาจมอบตัวเด็กแก่ผู้ปกครองหรือบุคคลที่ยินยอมรับเด็กนั้นไปปกครองดูแล โดยอาจแต่งตั้งผู้คุ้มครองสวัสดิภาพแก่เด็กตามมาตรา ๔๘ หรือไม่ก็ได้ และปรึกษาหารือกับบุคคลที่รับตัวเด็กไป วางข้อกำหนดหรือข้อปฏิบัติในการปกครองดูแลเด็กของบุคคลนั้น ๆ หากผู้นั้นไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดที่ว่า พนักงานเจ้าหน้าที่จะรับเด็กกลับไปดูแลและคุ้มครองสวัสดิภาพด้วยวิธีอื่น ๆ โดยเสนอรายงานให้ปลัดกระทรวงหรือผู้ว่าราชการจังหวัดแล้วแต่กรณี (พิจารณา) สั่ง

  42. ประเด็นในการสืบเสาะและพินิจประเด็นในการสืบเสาะและพินิจ การแพทย์ สังคมสงเคราะห์/การศึกษา กฎหมาย ค้นหาและรวบรวมข้อเท็จจริง วิเคราะห์และวินิจฉัยสาเหตุ สภาวะ มูลเหตุ ความต้องการ ของเด็กและครอบครัว

  43. ประเด็นในการสืบค้นข้อเท็จจริงประเด็นในการสืบค้นข้อเท็จจริง มาตรา ๕๖ (๒) สืบเสาะและพินิจเกี่ยวกับอายุ ประวัติ ความประพฤติ สติปัญญา การศึกษาอบรม ภาวะแห่งจิต นิสัย อาชีพ และฐานะของเด็กที่จำต้องได้รับการสงเคราะห์หรือคุ้มครองสวัสดิภาพ รวมทั้งของผู้ปกครอง หรือบุคคลที่เด็กอาศัยอยู่ด้วย ตลอดจนสิ่งแวดล้อมทั้งปวง เกี่ยวกับเด็ก และมูลเหตุที่ทำให้เด็กตกอยู่ในสภาวะจำต้องได้รับการสงเคราะห์หรือคุ้มครองสวัสดิภาพ เพื่อรายงานไปยังหน่วยที่เกี่ยวข้อง

  44. การส่งเสริมความประพฤตินักเรียนนักศึกษาการส่งเสริมความประพฤตินักเรียนนักศึกษา มาตรา ๖๓ “โรงเรียนและสถานศึกษาต้องจัดให้มีระบบงานและกิจกรรมในการแนะแนวให้คำปรึกษาและฝึกอบรมแก่นักเรียน นักศึกษา และผู้ปกครอง เพื่อส่งเสริมความประพฤติที่เหมาะสม ความรับผิดชอบต่อสังคม และความปลอดภัยแก่นักเรียนและนักศึกษา ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง”

  45. กระบวนการดำเนินการตามหมวด ๗ บทบาทหน้าที่ของสถานศึกษาตามมาตรา ๖๓ บทบาทหน้าที่ของนักเรียนและนักศึกษาต้องประพฤติตนตามระเบียบของโรงเรียนหรือสถานศึกษาและตามที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๖๔ พนักงานเจ้าหน้าที่ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการแต่งตั้ง ร่วมกับผู้บริหารสถานศึกษาและสถานศึกษามีอำนาจปรับแก้ไขพฤติกรรมนักเรียนและนักศึกษาตามมาตรา ๖๕ หากปรับแก้ไขไม่ได้ผลได้กำหนดวิธีการส่งต่อความช่วยเหลือไว้ตามมาตรา ๖๖

  46. ข้อพึงระวัง มาตรา ๒๗ พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กฯ “ห้ามมิให้ผู้ใดโฆษณาหรือเผยแพร่ทางสื่อมวลชนหรือสื่อสารสนเทศประเภทใด ซึ่งข้อมูลเกี่ยวกับตัวเด็กหรือผู้ปกครอง โดยเจตนาที่จะทำให้เกิดความเสียหายแก่จิตใจ ชื่อเสียง เกียรติคุณ หรือสิทธิประโยชน์อื่นใดของเด็ก หรือเพื่อแสวงหาประโยชน์สำหรับตนเองหรือผู้อื่นโดยมิชอบ”

  47. หัวใจหลักสุดท้ายของพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.๒๕๔๖ มาตรา ๒๒ “การปฏิบัติต่อเด็กไม่ว่ากรณีใด ให้คำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของเด็กเป็นสำคัญและไม่ให้มีการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม”

  48. สถานการณ์/สภาพปัญหาความรุนแรงต่อเด็ก สตรี และการค้ามนุษย์ นิยามความรุนแรงในครอบครัว อรอนงค์ อินทรวิจิตร และ นรินทร์ กรินชัย “ความรุนแรง หมายถึง พฤติกรรมและการกระทำใด ๆ ที่เป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลทั้งทางร่างกาย จิตใจ ทางเพศ โดยการบังคับ ขู่เข็ญ ทำร้าย ทุบตี เตะต่อย ตลอดจนคุกคาม จำกัดและกีดกันสิทธิเสรีภาพ ทั้งในที่สาธารณะและในการดำเนินชีวิตส่วนตัว ซึ่งเป็นผลหรืออาจจะเป็นผลให้เกิดความทุกข์ทรมานทั้งทางร่างกายและจิตใจแก่ผู้ถูกกระทำ”

  49. นิยาม-ความหมาย * การกระทำใด ๆ โดยมุ่งประสงค์ให้เกิด อันตรายแก่ร่างกาย / จิตใจ/ สุขภาพ * การกระทำโดยเจตนาในลักษณะที่น่าจะก่อให้เกิด อันตรายแก่ร่างกาย/ จิตใจ/ สุขภาพ * การกระทำโดยบังคับ หรือใช้อำนาจครอบงำผิดคลองธรรมให้บุคคลในครอบครัวต้อง กระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดโดยมิชอบ ไม่กระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดโดยมิชอบ ยอมรับการกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดโดยมิชอบ * แต่ไม่รวมถึงการกระทำโดยประมาท

  50. นิยาม “บุคคลในครอบครัว” หมายความว่า “คู่สมรส คู่สมรสเดิม ผู้ที่อยู่กินหรือเคยอยู่กินฉันสามีภริยาโดยมิได้จดทะเบียนสมรส บุตร บุตรบุญธรรม สมาชิกในครอบครัว รวมทั้งบุคคลใด ๆ ที่ต้องพึ่งพาอาศัยและอยู่ในครัวเรือนเดียวกัน” โทษ “ผู้กระทำความผิดฐานกระทำความรุนแรงในครอบครัว ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่ไม่ลบล้างความผิดฐานอื่นตามประมวลกฎหมายอาญา หากแต่เป็นความผิดฐานทำร้ายร่างกายตามมาตรา ๒๙๕ ให้ถือเป็นความผิดยอมความได้”

More Related