1 / 87

สิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการ และความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา

สิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการ และความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา. โดย นายอนุสารน์ ไกรแก้ว ครูผู้ช่วย ศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 2 จังหวัดยะลา. การให้บริการเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการและวามช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา หมายถึง

wray
Download Presentation

สิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการ และความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. สิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการ และความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา โดย นายอนุสารน์ ไกรแก้วครูผู้ช่วยศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 2 จังหวัดยะลา

  2. การให้บริการเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกสื่อ บริการและวามช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา หมายถึง “การให้บริการใดๆ ก็ตามที่ช่วยเหลือผู้พิการโดยตรง ในการเลือก การจัดหา การหาความรู้และการใช้อุปกรณ์เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก"การให้บริการเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกรวมไปถึง 1 การตรวจประเมินถึงความต้องการจำเป็นของผู้พิการแต่ละคนซึ่งรวมไปถึงการประเมินความสามารถหรือศักยภาพในการทำงานในสิ่งแวดล้อมเฉพาะของแต่ละบุคคล 2 การซื้อ การเช่าหรือการจัดหาอุปกรณ์เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกที่จำเป็นสำหรับผู้พิการแต่ละบุคคล

  3. การเลือกการออกแบบ การผลิตอุปกรณ์เฉพาะบุคคล การปรับแต่งและการประยุกต์ใช้อุปกรณ์เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกให้เหมาะสมกับผู้พิการแต่ละบุคคลตลอดจนการบำรุงรักษาการซ่อมแซม และการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ที่เหมาะสม • 4 การประสานงานและการหาความร่วมมือในการให้บริการอุปกรณ์เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกกับผู้รักษานักวิชาชีพ ผู้ให้ความช่วยเหลือเบื้องต้น หรือบุคคลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง • 5 การฝึกหรือให้ความช่วยเหลือเกี่ยวกับเทคนิคต่างๆในการใช้อุปกรณ์เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกแก่ผู้พิการแต่ละบุคคลหรือครอบครัวของผู้พิการหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับผู้พิการรวมไปถึงผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆทั้งผู้ที่ให้บริการด้านการศึกษาและการฟื้นฟูสมรรถภาพแก่ผู้พิการนายจ้างหรือหรือบุคคลอื่นๆ ซึ่งทำหน้าที่ให้การบริการ การจ้างงานหรือเกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตส่วนใหญ่ของผู้พิการแต่ละบุคคล

  4. กระทรวงศึกษาธิการได้ออกกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการให้คนพิการมีสิทธิ์ได้รับสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการ และความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา พ.ศ.๒๕๔๕ และกฎกระทรวงกำหนดให้มีการจัดสรรงบประมาณ แต่ละปีมีการอุดหนุนสำหรับคนพิการตามกฎกระทรวงดังกล่าว โดยได้กำหนดให้ใช้แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IndividualizedEducation Program : IEP) เป็นตัวกำหนดและบ่งชี้ความต้องการจำเป็นพิเศษ (Special Needs) ของนักเรียนพิการเป็นเฉพาะบุคคลในการที่จะต้อง ได้รับสิ่งอำนวยความสะดวกรวมถึงเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการ และความช่วยเหลือ อื่นใดทางการศึกษาทั้งนี้ ผู้ปกครองจะต้องรับทราบและเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนด ความต้องการจำเป็น พิเศษของนักเรียนพิการด้วยเพื่อเป็นการสนับสนุนกฎกระทรวงดังกล่าว

  5. “พระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๑ ได้กำหนดให้คนพิการมีสิทธิ์ได้รับการศึกษาโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายตั้งแต่แรกเกิด หรือพบความพิการจนตลอดชีวิต พร้อมทั้งได้รับเทคโนโลยี สิ่งอำนวยความสะดวก สื่อบริการ และความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา” โดยให้สถานศึกษาในทุกสังกัด จัดทำแผนการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP) ให้สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นพิเศษของคนพิการ พร้อมทั้งจัดสภาพแวดล้อม ระบบสนับสนุนการเรียนการสอน ตลอดจนบริการเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อบริการและความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา และให้รัฐจัดเงินอุดหนุนเพื่อส่งเสริมการวิจัยพัฒนาองค์ความรู้และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง และพัฒนาครูบุคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้ ความเข้าใจ ทักษะและความสามารถในการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ โดยการจัดสรรงบประมาณ และทรัพยากรทางการศึกษาอื่นเป็นพิเศษให้เหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการจำเป็นพิเศษของคนพิการ และสถานศึกษาที่จัดการศึกษาสำหรับคนพิการ

  6. พ.ร.บ. ดังกล่าวได้ตระหนักถึงความสำคัญของการนำสื่อเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกมาพัฒนาเด็กพิการไทย ซึ่งได้แก่ เครื่องมือ อุปกรณ์ ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ หรือบริการที่ใช้สำหรับคนพิการโดยเฉพาะหรือที่มีการดัดแปลงปรับใช้ได้ตรงกับความต้องการ และศักยภาพที่จะเข้าถึงข้อมูล ข่าวสาร การสื่อสาร รวมถึงกิจกรรมอื่นใดในชีวิตประจำวัน เพื่อการดำรงชีวิตอิสระทำให้เด็กพิการทุกประเภทสามารถเรียนรู้สิ่งต่างๆ หรือรับรู้ข้อมูลข่าวสารจากประสาทสัมผัสแต่ละด้าน ที่ยังคงเหลืออยู่ได้ ในการผลิตหรือเลือกใช้เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก เพื่อสนองตอบต่อการรับรู้สิ่งต่างๆ ครู บุคลากร หรือผู้เกี่ยวข้อง ควรคำนึงถึงหลักสำคัญ คือ ต้องสอดคล้องกับหลักสูตร วัตถุประสงค์การเรียนรู้ การออกแบบให้มีรูปแบบการนำเสนอที่เข้าใจง่ายและน่าสนใจ สะดวกต่อการนำไปใช้ และควรให้มีความเหมาะสมสอดคล้องกับความบกพร่องของเด็กพิการแต่ละประเภทที่มีข้อจำกัดด้านการรับข้อมูล ข่าวสารที่แตกต่างกันซึ่งจะทำให้เด็กพิการทุกคนสามารถเข้าถึงความรู้ ทักษะ กระบวนการ และคุณลักษณะตามมาตรฐานของหลักสูตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  7. ดังนั้น สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จึงจัดทำคู่มือรายการสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อบริการ และความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา เพื่อเป็นแนวทางในการพิจารณาเลือกใช้สื่อ สิ่งอำนวยความสะดวกให้เหมาะสมตามความต้องการจำเป็นของเด็กพิการแต่ละประเภท ( มติชน ๒๖ พค. ๒๕๕๒ )

  8. จากคู่มือรายการสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการ และความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา ประจำปีการศึกษา ๒๕๔๘ ได้แบ่งรายการอุปกรณ์ต่าง ๆ ตามประเภทการใช้งาน ดังนี้ ๑. อุปกรณ์ช่วยในการเห็น (Visual Aids) ๒. อุปกรณ์ช่วยในการได้ยิน (HearingAids) ๓. อุปกรณ์ช่วยในการเขียน (WritingAids) ๔. อุปกรณ์ช่วยในการอ่าน (Reading Aids) ๕. อุปกรณ์ช่วยดำเนินชีวิตประจำวัน(Daily Living Aids) ๖. อุปกรณ์ช่วยจัดท่าทางและที่นั่ง (Positioning and Seating) ๗. คอมพิวเตอร์และการใช้งานคอมพิวเตอร์ (Computer and Computer Access) ๘. อุปกรณ์ช่วยการสื่อสาร (Communication Aids) ๙. อุปกรณ์พละศึกษาและนันทนาการ(Physical and Recreation Aids)

  9. ประเภทของเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกประเภทของเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก อุปกรณ์ช่วยในการเห็น (Visual Aids) เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยให้ผู้ที่มีความบกพร่องทางการเห็น สามารถเห็นภาพต่าง ๆ ได้ดีขึ้น หรือสามารถรับรู้ข้อมูลต่าง ๆ แทนการเห็น ได้แก่ อุปกรณ์ช่วยในการขยาย (แว่นขยาย กล้องส่องทางไกล ฯลฯ) อุปกรณ์ที่แสดงผลเป็นอักษรเบรลล์ หรือเสียง หรือตัวอักษรขนาดใหญ่ เครื่องโทรทัศน์วงจรปิด สำหรับการขยายตัวอักษร / ภาพบนเอกสาร เป็นต้น

  10. ตัวอย่างอุปกรณ์ช่วยในการเห็น (Visual Aids) ๑. แว่นขยายแบบมือถือชนิดพกพาที่มีแสงไฟในตัว เป็นอุปกรณ์สำหรับบุคคลที่มีความบกพร่องทางการเห็นหรือเห็นเลือนรางใช้ เพื่อให้สามารถ มองเห็นสิ่งพิมพ์หรือ ภาพในระยะใกล้ได้ชัดเจนใกล้เคียงกับคนทั่วไป

  11. ๒. กล้องส่องดูไกลแบบตาเดียวหรือแบบสองตา เป็นอุปกรณ์สำหรับคนที่มีความบกพร่องทางการเห็นหรือเห็นเลือนรางใช้ เพื่อให้สามารถมองเห็นภาพในระยะไกลได้ชัดเจนใกล้เคียงกับคนทั่วไป

  12. ๓. เลนส์ขยาย แบบที่ใช้วางทับบนวัตถุเป็นเลนส์ขยายรวมแสงที่มีกำลังขยายสูง เลนส์ทำด้วยพลาสติก ขนาดกะทัดรัด น้ำหนักเบา นำติดตัวไปในที่ต่าง ๆ ได้โดยสะดวก มีลักษณะเป็นเลนส์ขยาย ลักษณะกลมหรือสี่เหลี่ยมชนิดวางทับบนวัตถุ ช่วยขยายภาพในการมองระยะใกล้มีกำลังขยาย 2x50 มิลลิเมตร 2x65 มิลลิเมตร และ 6x65 มิลลิเมตร

  13. ประเภทของเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกประเภทของเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก อุปกรณ์สำหรับช่วยผู้ที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน (Aids forHearing Impaired) อุปกรณ์ที่ช่วยให้ผู้ที่มีความบกพร่องทางการได้ยินสามารถรับฟังเสียงได้ดีขึ้นหรือสามารถรับรู้ข้อมูลต่างๆ แทนการได้ยินเสียง ได้แก่ เครื่องช่วยฟังอุปกรณ์ช่วยการฟังที่เป็นระบบอินฟราเรด หรือระบบ FM อุปกรณ์ช่วยขยายเสียงโทรศัพท์ข้อความ ระบบสัญญาณเตือนต่างๆ ทั้งนี้เป็นระบบที่ใช้การมองเห็นหรือการสัมผัส เป็นต้น

  14. ตัวอย่างอุปกรณ์สำหรับช่วยผู้ที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน (Aids forHearing Impaired) ๑. เครื่องช่วยฟังแบบทัดหลังหู เป็นเครื่องช่วยฟังที่ใช้ทัดหลังหู ช่วยขยายเสียงให้ดังชัดเจน เหมาะสมกับการสูญเสียการได้ยิน

  15. ๒. เครื่องชุด FM พร้อมเครื่องช่วยฟังรายบุคคล เป็นอุปกรณ์ภาครับ ( Receiver) สัญญาณคลื่นวิทยุระบบ FM ใช้ร่วมกับเครื่องช่วยฟัง 2 แบบ คือ แบบมีสาย และแบบไร้สาย เพื่อช่วยขยายเสียงให้ดังขึ้น ลดเสียงรบกวนสามารถได้ยินเสียงผู้พูดในระยะทางที่ไกลมากขึ้น มีตัวส่ง (Transmitter) ที่ใช้งานร่วมกันได

  16. ๓. เครื่องแปลงสัญญาณเสียงภายนอก ประสาทหูเทียม เป็นอุปกรณ์ภายนอกสำหรับแปลงสัญญาณเสียง เชื่อมโยงกับประสาทหูเทียม ชนิดทัดหลังหู หรือชนิดพกพา

  17. ๔. อุปกรณ์ทดสอบแบตเตอรี่ชนิดกลม เป็นอุปกรณ์พกพาสำหรับทดสอบแบตเตอรี่เครื่องช่วยฟังชนิดกลม

  18. ประเภทของเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกประเภทของเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก อุปกรณ์ช่วยการเขียน (Writing Aids) อุปกรณ์ที่เน้นช่วยกลุ่มนักเรียนพิการที่มีความยากลำบากในการควบคุมการใช้กล้ามเนื้อแขนและมือทั้งสองข้าง ในการจับอุปกรณ์การเขียนปกติในการทำกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเขียนตัวอย่างอุปกรณ์ เช่น อุปกรณ์ช่วยจับดินสอหรือปากกากรอบบรรทัดสำหรับเขียนข้อความ เครื่องจดบันทึกอิเล็กทรอนิกส์ตลอดจนการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยพิมพ์แทนการเขียน เป็นต้น

  19. ตัวอย่างอุปกรณ์ช่วยการเขียน (Writing Aids) ๑. เครื่องเขียนอักษรเบรลล์ด้วยมือชนิดพกพา (Slate andstylus) • อุปกรณ์การเขียนอักษรเบรลล์แบบพกพา มี ๓ แบบ • แบบที่ ๑ กระดานรองเขียนทำด้วยพลาสติก ตั้งแต่ ๒๗ ช่อง จำนวน ๔ แถว • แบบที่ ๒ กระดานรองเขียนทำด้วยพลาสติก ตั้งแต่ ๒๗ ช่อง จำนวน ๒๗ แถว • แบบที่ ๓ กระดานรองเขียนทำด้วยอลูมิเนียม ตั้งแต่ ๒๗ ช่อง จำนวน ๔ แถว

  20. ๒. กรอบสำหรับเขียนข้อความ เป็นกรอบพลาสติก ที่กำหนดแนวบรรทัดช่องขนาด 1 เซนติเมตร ความยาวเท่ากับกระดาษ A4 ประมาณ 15 - 20 แถว

  21. ๓. ที่วางหนังสือที่ปรับระดับความเอียงได้ (Slant Board) เป็นอุปกรณ์ทำจากไม้หรือพลาสติก มีขนาด กว้าง x ยาว อย่างน้อย 40 x 50 เซนติเมตร สามารถปรับระดับความเอียงได้หลายระดับ มีขอบกันหนังสือตกตรงกลาง ที่สามารถเลื่อนได้ มีขอบสูง 3 เซนติเมตร ยาว 12 เซนติเมตร

  22. เป็นโปรแกรมประมวลผลคำภาษาไทยที่เชื่อมต่อกับโปรแกรมสังเคราะห์เสียงภาษาไทย ช่วยให้เด็กที่มีปัญหาในด้านการอ่านหนังสือ เช่นอ่านไม่ออก ประสมคำได้ยาก ได้อ่านหนังสือผ่านไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ โดยรับฟังจากเสียงที่โปรแกรมอ่านให้ ช่วยให้เข้าใจเนื้อหาต่างๆ ได้ง่าย ผู้ใช้สามารถเลือกให้โปรแกรม เปล่งเสียงทีละอักขระ หรือให้อ่านเป็นคำ เป็นประโยค หรืออ่านทั้งไฟล์ข้อความที่พิมพ์ลงไปในช่องหน้าต่างเอกสารของโปรแกรมได้เป็นโปรแกรมที่สามารถอ่านเมนูบาร์ และข้อความต่างๆ ที่ปรากฏบนหน้าต่างเอกสารเป็นโปรแกรมประมวลผลคำที่ใช้งานง่ายเหมาะกับบุคคลที่เริ่มใช้งาน มีคำสั่งพอเหมาะสำหรับการใช้งาน ๔. โปรแกรม อักษรลิขิต

  23. ประเภทของเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกประเภทของเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก อุปกรณ์ช่วยการอ่าน (Reading Aids) เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการอ่านให้แก่นักเรียนพิการที่มีความยากลำบากในการอ่านที่มีทักษะพื้นฐานการอ่านคำและประโยคไม่ดีมีปัญหาในการรับรู้ข้อมูลสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ ผ่านการมองอาจทำให้มีความยากลำบากในการสะกดคำ การตัดคำหรือบางคนอาจเห็นตัวหนังสือหัวกลับ เป็นต้น เช่นนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญานักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ เป็นต้น อุปกรณ์เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกช่วยการอ่าน

  24. ตัวอย่างอุปกรณ์ช่วยการอ่าน (Reading Aids) ๑. โปรแกรม TAB Player เป็นโปรแกรมอ่านหนังสือเสียงอิเล็กทรอนิกส์แบบมัลติมีเดียระบบเดซี ที่จัดทำขึ้นสำหรับบุคคลที่มีความบกพร่องทางการเห็น และบุคคลที่มีปัญหาทางการอ่าน มีเมนูเป็นภาษาไทย แต่ต้องใช้ร่วมกับหนังสือเสียงอิเล็กทรอนิกส์แบบมัลติมีเดียระบบเดซีเท่านั้น

  25. ๒. เครื่องเปิดฟังหนังสือเสียง สำหรับหนังสือเสียงระบบเดซี สำหรับนักศึกษาตาบอดที่ต้องการรับรู้สื่อสิ่งพิมพ์ผ่านหนังสือเสียงอิเล็กทรอนิกส์ระบบเดซี เพื่อช่วยในการเรียนรู้ โดยการเปิดฟังเสียงอ่านจากแผ่นซีดีหนังสือเสียงอิเล็กทรอนิกส์ระบบเดซี สามารถเลือกบทหรือหน้าหนังสือ และทำเครื่องหมายคั่นหน้า (Bookmark) ได

  26. ๓. เครื่องแสดงผลอักษรเบรลล์ เป็นเครื่องแสดงผลข้อมูลจากจอภาพคอมพิวเตอร์เป็นอักษรเบรลล์ อิเล็กทรอนิกส์ 6 หรือ 8 จุด ต่อ 1 ช่อง จำนวนเบรลล์เซล ไม่น้อยกว่า 40 เซล และใช้ร่วมกับโปรแกรมอ่านจอภาพได้ เพื่อช่วยให้นักศึกษาตาบอดสามารถอ่านข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ เป็นอักษรเบรลล์ได้

  27. ๔. เครื่องเล่น MP3 เครื่องซึ่งทำหน้าที่อ่านหนังสือเสียงที่ใช้ระบบ MP3 เป็นแบบพกพา

  28. ๕. โปรแกรม AMIS เป็นโปรแกรมอ่านหนังสือเสียงอิเล็กทรอนิกส์แบบมัลติมีเดียระบบเดซี ที่จัดทำขึ้นสำหรับบุคคลที่มีความบกพร่องทางการเห็น และบุคคลที่มีปัญหาทางการอ่าน มีเมนูเป็นภาษาไทย ต้องใช้ร่วมกับหนังสือเสียงอิเล็กทรอนิกส์แบบมัลติมีเดียระบบเดซีเท่านั้น

  29. ๖. เครื่องเล่น DVD ใช้กับแผ่น VCD , DVD เป็นเครื่องเล่นที่สามารถอ่าน VCD ได้ทุกฟอร์แมต สามารถเล่นแผ่นวีซีดีผ่านโทรทัศน์ใช้เปิดฟังหนังสือเสียงอิเล็กทรอนิส์ระบบเดซีได้ (ไม่เต็มฟังก์ชัน)

  30. ประเภทของเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกประเภทของเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก อุปกรณ์ช่วยในการดำรงชีวิตประจำวัน (Daily LivingAids) เป็นอุปกรณ์ช่วยเหลือตนเอง ( Self help aids ) ในการทำกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวัน ได้แก่ อุปกรณ์ช่วยในการรับประทานอาหาร การอาบน้ำ การทำอาหาร การแต่งตัว การขับถ่าย การทำความสะอาดบ้าน เป็นต้น

  31. ตัวอย่างอุปกรณ์ช่วยการอ่าน (Reading Aids) ๑. อุปกรณ์ช่วยในการรับประทานอาหาร: จานขอบสูง คุณสมบัติของจานขอบสูง เป็นจานแบนที่มีขอบโค้งสูงหนึ่งด้านเพื่อช่วยตักอาหารได้ง่ายและสะดวกขึ้น ไม่หกเลอะออกนอกจาน ทำจากพลาสติกเมลามีนทนความร้อนสูงจานมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 8-11 นิ้ว สำหรับ บุคคลที่มีความบกพร่องทางร่างกายหรือสุขภาพ ที่มีความยากลำบากในการใช้จานแบบทั่วไปเนื่องจากมีอาการเกร็งหรือสั่นของกล้ามเนื้อแขนและมือ เป็นจานแบนที่มีขอบโค้งสูงหนึ่งด้านเพื่อช่วยตักอาหารได้ง่ายและสะดวกขึ้น ไม่หกเลอะออกนอกจานทำจากพลาสติกเมลามีนทนความร้อนสูงจานมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 8-11 นิ้ว

  32. ๒. อุปกรณ์ช่วยในการรับประทานอาหาร: จานติดช้อน คุณสมบัติของจานติดช้อน จานทานอาหารที่ออกแบบเป็นจานหลุมรูปวงรีที่มีความลึกเหมาะกับการใส่ข้าวและกับข้าวแบบการทานข้าวแกง บริเวณด้านหน้าของขอบจานทำเป็นช้อนเพื่อใช้สำหรับรับประทานอาหาร ภายในโค้งมนเพื่อให้การกวาดข้าวทำได้ง่ายขึ้น ไม่ติดมุมจาน สามารถทานได้หมดจาน ไม่เหลือสิ่งตกค้าง ช้อนทานข้าวที่ติดกับจานมีลักษณะของความลึกพอสำหรับทานข้าว 1 คำ ที่มีทั้งข้าวและกับ รวมทั้งสามารถอ้าปากเพื่อทานได้พอดีคำ ไม่เล็กหรือใหญ่เกินไปทำจากเซรามิก เพื่อให้มีความหนักไม่เลื่อนไหล ต้องใช้ร่วมกับช้อนที่ติดกับสายคาดศีรษะ เพื่อใช้สำหรับกวาดอาหารในจานมาใส่ในช้อนที่ติดกับขอบจาน สำหรับ บุคคลที่มีความบกพร่องทางร่างกายหรือสุขภาพ ที่ไม่มีแขนทั้งสองข้าง หรือไม่มีแขนและขาทั้งสองข้าง หรือมีอาการเกร็งหรืออ่อนแรงของกล้ามเนื้อแขนและมือ หรือมีกระดูกผิดรูป ทำให้มีความยากลำบากในการใช้แขนและมือในการรับประทานอาหารแบบปกติ จึงจำเป็นต้องใช้จานติดช้อนร่วมกับช้อนที่ติดกับสายคาดศีรษะเพื่อรับประทานอาหารด้วยตนเอง

  33. ๓. ตัวช่วยยึดจับหรือเสียบอุปกรณ์ที่สามารถปรับตามขนาดมือของเด็กได้ คุณสมบัติของตัวช่วยยึดจับหรือเสียบอุปกรณ์ที่สามารถปรับตามขนาดมือของเด็กได้ ทำจากหนังหรือยางยืดที่ตัดให้มีขนาดพอเหมาะกับมือเด็ก ด้านบนมียางยืด หรือที่ติดแบบตีนตุ๊กแกใช้รัดบริเวณฝ่ามือ สามารถเสียบหรือยึดกับอุปกรณ์ต่างๆที่ใช้ในชีวิตประจำวันได้ เช่น แปรงสีฟัน ช้อน เป็นต้น สำหรับ บุคคลที่มีความบกพร่องทางร่างกายหรือสุขภาพ ที่มีความยากลำบากในการใช้มือกำหรือจับวัสดุต่างๆ เนื่องจากมีการเกร็งหรือสั่นของกล้ามเนื้อแขนและมือ

  34. ๔. แก้วน้ำแบบมีหูจับสองหู คุณสมบัติของแก้วน้ำแบบมีหูจับสองหู เป็นแก้วน้ำแบบพิเศษที่ทำด้วยพลาสติกมีหูจับ 2 หู ขนาดใหญ่ที่สามารถสอดมือเข้าไปได้ มีฝาปิดแน่นที่มีส่วนของฝายื่นออกมาเพื่อใช้ในการดื่ม สำหรับ บุคคลที่มีความบกพร่องทางร่างกายหรือสุขภาพ ที่มีความยากลำบากในการใช้มือจับแก้วแบบทั่วไปในการดื่ม เนื่องจากมีการเกร็ง สั่น หรืออ่อนแรงของกล้ามเนื้อแขนและมือ จึงจำเป็นต้องใช้แก้วน้ำแบบมีหูจับสองหูเพื่อให้สามารถจับแก้วน้ำในการดื่มน้ำได้ง่ายและสะดวกสบายขึ้น

  35. ๕. อุปกรณ์ที่ช่วยในการเอื้อมจับสิ่งของ (Pick UpReacher) คุณสมบัติของอุปกรณ์ที่ช่วยในการเอื้อมจับสิ่งของ (Pick Up Reacher) เป็นอุปกรณ์ด้ามยาวโดยที่มีส่วนปลายเป็นตัวหนีบหรือคีบสิ่งของต่าง ๆ ตัวเอื้อมจับทำจากแท่งอลูมีเนียม และส่วนของมือจับทำจากพลาสติก มีความยาวตั้งแต่ 26 นิ้ว สำหรับ บุคคลที่มีความบกพร่องทางร่างกายหรือสุขภาพ ที่มีอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อลำตัว ข้อยึดติดทำให้เอื้อมหยิบจับสิ่งของต่าง ๆ ที่อยู่ห่างลำตัวได้ยากลำบาก จึงจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ที่ช่วยในการเอื้อมหยิบสิ่งของเพื่อช่วยหยิบสิ่งของที่อยู่ห่างลำตัวออกไปได้ง่ายและสะดวกมากขึ้น

  36. ๖. นาฬิกาข้อมือบอกเวลาเป็นจุดนูน คุณสมบัติ เป็นนาฬิกาข้อมือบอกเวลาที่แสดงผลเป็นจุดนูนมีฝาคลุมหน้าปัดที่สามารถเปิดปิดได้ สำหรับ บุคคลพิการทางการเห็น ที่จำเป็นต้องใช้นาฬิกาข้อมือบอกเวลาแบบจุดนูน

  37. ๗. นาฬิกาข้อมือบอกเวลาเป็นเสียง คุณสมบัติ เป็นนาฬิกาข้อมือบอกเวลาที่แสดงผลเป็นเสียง สำหรับ บุคคลพิการทางการเห็น ที่จำเป็นต้องใช้นาฬิกาข้อมือบอกเวลาเป็นเสียง

  38. ๘. นาฬิกาข้อมือบอกเวลาเป็นตัวเลขขยายใหญ่ คุณสมบัติ เป็นนาฬิกาข้อมือบอกเวลาที่แสดงผลเป็นตัวเลขขยายใหญ่ สำหรับ บุคคลพิการทางการเห็นที่เห็นเลือนราง ที่จำเป็นต้องใช้นาฬิกาข้อมือบอกเวลาที่แสดงผลเป็นตัวเลขยายใหญ่

  39. ประเภทของเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกประเภทของเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก เครื่องช่วยจัดท่าทางและที่นั่ง (Positioning andSeating) เป็นระบบการจัดความสะดวกสบายบนรถเข็น (Wheelchair) หรือที่นั่งต่างๆ ซึ่งจัดให้ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายไม่ว่าจะเป็นศีรษะ ลำตัว แขนขาให้อยู่ในท่าทางที่เหมาะสมและถูกต้อง เพื่อเป็นการลดแรงกดผิวหนัง หรืออาการเกร็งของกล้ามเนื้อ หรือช่วยให้ทรงท่าได้ดีขึ้น เช่นการเสริมเบาะรองนั่ง การเสริมอุปกรณ์พยุงด้านข้างลำตัวหรืออุปกรณ์ประคองศีรษะ เป็นต้น นอกจากนี้รวมถึงการจัดท่าทางอื่นๆให้เหมาะสมด้วย เช่น การยืน การนอน เป็นต้น

  40. ตัวอย่างเครื่องช่วยจัดท่าทางและที่นั่ง (Positioning andSeating) ๑. โต๊ะวางมอนิเตอร์ที่เป็นจอภาพแบบสัมผัส เป็นโต๊ะวางจอภาพแบบ CRT ขนาด 15 นิ้ว หรือ 17 นิ้ว ที่เป็นจอภาพแบบสัมผัส มีแผ่นกลางโต๊ะที่สามารถปรับระนาบเอียงได้ตั้งแต่ 0-60 องศา สำหรับวางจอภาพ เพื่อให้สามารถจัดท่าทางในการ เคลื่อนไหวแขนและมือมาสัมผัสจอภาพได้เหมาะสม โต๊ะมีขนาดความกว้างxยาว เท่ากับ 100x75 ซม. สามารถปรับระดับความสูง-ต่ำของโต๊ะด้วยแกนหมุนด้วยมือ ได้ตั้งแต่ 50-80 ซม. มีที่วางซีพียูด้านข้างของโต๊ะ ขนาด 50x20 ซม. ขอบสูงด้านข้าง 15 ซม. ทั้งชุดสามารถถอดออกจากตัวโต๊ะได้ มีปุ่มยางรองด้านล่างเพื่อรับน้ำหนักและกันไม่ให้ซีพียูวางกับพื้นโดยตรง

  41. ๒. โต๊ะเขียนหนังสือแบบปรับระดับสูงต่ำที่ปรับระนาบเอียงได้ สำหรับบุคคลที่มีความบกพร่องทางร่างกายหรือสุขภาพ ที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษที่ต้องใช้โต๊ะเขียนหนังสือแบบปรับระดับสูงต่ำ ที่ปรับระนาบเอียงเพื่อช่วยในการเขียนหรืออ่านหนังสือในท่าทางที่เหมาะสมและสะดวกสบายขึ้น

  42. ๓. โต๊ะคอมพิวเตอร์ 2 ระดับ ปรับระดับสูง- ต่ำแยกระดับแบบใช้มือหมุน คุณสมบัติ ของโต๊ะคอมพิวเตอร ์ 2 ระดับ ปรับระดับสูง - ต่ำแยกระดับแบบใช้มือหมุน โต๊ะมีขนาดความกว้าง x ยาว เท่ากับ 100x75 ซม.ที่สามารถแยกระนาบโต๊ะออกเป็น 2ส่วน คือ ส่วนวางจอภาพ และส่วนวางแป้นคีย์บอร์ด สามารถปรับระดับสูง-ต่ำของโต๊ะแยกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนวางจอภาพ และส่วนวางแป้นคีย์บอร์ด และปรับระดับสูง-ต่ำของโต๊ะ ได้ตั้งแต่ 50-80 ซม. โดยใช้แกนหมุนด้วยมือ มีที่วางซีพียูด้านข้างของโต๊ะ ขนาด 50x20 ซม. ขอบสูงด้านข้าง 15 ซม. สำหรับ บุคคลที่มีความบกพร่องทางร่างกายหรือสุขภาพ ที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษที่ต้องใช้โต๊ะคอมพิวเตอร์ 2 ระดับ ปรับระดับสูง-ต่ำแยกระดับแบบใช้มือหมุนเพื่อช่วยในการใช้งานคอมพิวเตอร์ ในท่าทางที่เหมาะสมและสะดวกสบายขึ้น

  43. ตัวอย่างเครื่องช่วยจัดท่าทางและที่นั่ง (Positioning andSeating) ๔. เก้าอี้ดัดแปลง คุณสมบัติของเก้าอี้ดัดแปลง มีอุปกรณ์เสริมในการจัดท่านั่ง ได้แก่ อุปกรณ์ประคอง ศีรษะ หน้าอก ลำตัว สะโพก ขา และที่วางเท้าสามารถปรับระดับความสูง-ต่ำของที่วางเท้า ที่นั่ง พนักพิงหลัง และที่ประคองศีรษะได้ สำหรับ บุคคลที่มีความบกพร่องทางร่างกายหรือสุขภาพที่มีอาการเกร็งหรืออ่อนแรงของกล้ามเนื้อ ทำให้มีความยากลำบากในการนั่งทรงตัวในเก้าอี้ปกติ จำเป็นต้องใช้เก้าอี้ดัดแปลง เพื่อให้นั่งทรงตัวในการทำกิจกรรมต่างๆได้ดีขึ้น

  44. ๕. ที่ยืนมีล้อ (Prone stander) คุณสมบัติของที่ยืนมีล้อ (Prone stander) เป็นอุปกรณ์ช่วยจัดท่ายืนโดยจัดจากท่านอนคว่ำ ทำจากเหล็กชุบโครเมี่ยม พ่นสี ที่ฐานมี 4 ล้อ มีอุปกรณ์ประคองหน้าอก ลำตัว สะโพก เข่า ที่ดันก้น และมีที่วางเท้า สำหรับ บุคคลที่มีความบกพร่องทางร่างกายหรือสุขภาพ ที่มีความจำเป็นต้องกระตุ้นการลงน้ำหนักที่ขาและเท้า เพื่อกระตุ้นการรับรู้ของข้อต่อ หรือเพื่อยืดกล้ามเนื้อของขา

  45. ๖. เบาะนั่ง แบบสูบลม (ROHO) คุณสมบัติของเบาะนั่งแบบสูบลม (ROHO) สามารถปรับลมในแต่ละลูกเซลล์เพื่อให้มีการกระจายน้ำหนัก ที่กดลงบนเบาะได้อย่างเหมาะสมแต่ละส่วนสามารถปรับแยกเป็นอิสระต่อกัน เพื่อเพิ่มความมั่นคงในการจัดท่าทาง สำหรับ บุคคลที่มีความบกพร่องทางร่างกายหรือสุขภาพ ที่มีอาการสูญเสียการทำงานของระบบรับความรู้สึกของลำตัวและขาทั้งสองข้างและที่สามารถ

  46. ประเภทของเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกประเภทของเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก อุปกรณ์ช่วยในการการเข้าถึงการใช้คอมพิวเตอร์ (Computer andComputer Access) เป็นอุปกรณ์ / โปรแกรมต่างๆ ที่ดัดแปลง ปรับปรุง หรือพัฒนาขึ้นมาเฉพาะ เพื่อช่วยให้ผู้พิการสามารถใช้งานคอมพิวเตอร์ ได้ทั้งการป้อนข้อมูลและการแสดงผลข้อมูล เช่น เมาส์และคีย์บอร์ดแบบพิเศษแป้นคีย์บอร์ดที่แสดงผลเป็นอักษรเบรลล์ โปรแกรมสังเคราะห์เสียง เป็นต้น

  47. ตัวอย่างอุปกรณ์ช่วยในการการเข้าถึงคอมพิวเตอร์ (Computer andComputer Access) • โปรแกรมคอมพิวเตอร์อ่านจอภาพบนวินโดวส์ • (Screen Readerfor Windows) คุณสมบัติเป็นซอฟต์แวร์สำหรับช่วยในการเข้าถึงโปรแกรมประยุกต์ต่าง ๆ รวมทั้งอินเทอร์เน็ตเบราเซอร์ โดยโปรแกรมสังเคราะห์เสียงที่ติดตั้งมาพร้อมกับซอฟต์แวร์นั้น จะทำหน้าที่อ่านเมนูคำสั่งต่าง ๆ ของโปรแกรมประยุกต์นั้น ๆ รวมทั้งอ่านไฟล์ข้อมูลของโปรแกรมนั้น เช่น โปรแกรมประมวลผลคำ โปรแกรมคำนวณ โปรแกรมอินเทอร์เน็ตเอ็กซ์พลอเรอร์ เป็นต้น - บุคคลที่มีความบกพร่องทางการเห็น เป็นกลุ่มหลัก ที่จำเป็นต้องใช้โปรแกรมนี้ในการใช้งานคอมพิวเตอร์เพื่อการเรียน โดยใช้อ่านและเขียน รวมถึงการค้นหาข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ต หรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ

  48. ๒. โปรแกรมคอมพิวเตอร์ขยายภาพและอักษร เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ขยายภาพและอักษรบนจอภาพ มีโปรแกรมอ่านจอภาพที่มีเสียงสังเคราะห์ และขยายได้ไม่น้อยกว่า 16 เท่า สำหรับบุคคลที่มีความบกพร่องทางการเห็นที่เห็นเลือนรางที่จำเป็นต้องใช้โปรแกรมขยายอักษรเพื่อใช้งานคอมพิวเตอร์

  49. ๓. เครื่องจดบันทึกอักษรเบรลล์ที่มีแป้นแสดงผลอักษรเบรลล์และเสียงสังเคราะห์ เป็นเครื่องบันทึกข้อมูลที่สามารถอ่านออกเสียงได้ และมีอักษรเบรลล์ปรากฏอยู่บนเครื่อง ใช้ได้กับภาษาอังกฤษเท่านั้น สามารถพิมพ์ข้อมูลลงในเครื่องและเก็บบันทึกได้ พร้อมทั้งอ่านออกเสียง และนำไปต่อกับเครื่อง Braille Printer เพื่อสั่งพิมพ์เป็นเอกสารอักษรเบรลล์ได้ สำหรับบุคคลที่มีความ

More Related