1 / 18

บทที่ 5 (ชนิดของต้นทุนการผลิต)

บทที่ 5 (ชนิดของต้นทุนการผลิต).

wilmet
Download Presentation

บทที่ 5 (ชนิดของต้นทุนการผลิต)

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. บทที่ 5 (ชนิดของต้นทุนการผลิต) • ต้นทุนคงที่ (Total Fixed Cost : TFC) ต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายในการผลิตที่เกิดจากการใช้ปัจจัยคงที่ (fixed inputs) ดังนั้นต้นทุนคงที่จะคงที่ตายตัวเสมอไม่ว่าผู้ผลิตจะทำการผลิตมากน้อยแค่ไหน ถึงแม้จะไม่ทำการผลิตก็จะต้องมีค่าใช้จ่ายคงที่เกิดขึ้น เช่น ค่าเสื่อมราคา (depreciation) ค่าเสียโอกาสของเงินลงทุนระยะยาว (long-term opportunity cost on investment) ค่าภาษี (tax) ค่าประกัน (insurance) ค่าเช่าที่ดินหรือค่าเสียโอกาสการใช้ที่ดิน (opportunity cost of land used) ฯลฯเช่น นายกนก เช่าที่ดิน 10 ไร่ เสียค่าเช่าที่ดินไร่ละ 300 บาท มีค่าเสื่อมราคาเครื่องจักร 8,000 บาท TFC = 3,000 + 8,000 บาท = 11,000 บาท • เมื่อคิดเป็นค่าเฉลี่ยต่อหน่วยของผลผลิตเราเรียกว่า ต้นทุนคงที่เฉลี่ย (Average total Fixed Cost : AFC) มีค่าเท่ากับ AFC = TFC/Y

  2. นายกนกผลิตข้าวได้ 5,000 กิโลกรัม • AFC = 11,000/5,000 = 2.2 บาท/กก. • ต้นทุนผันแปร (Total Variable Cost : TVC) ต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายในการผลิตที่เกิดการใช้ปัจจัยผันแปร (variable inputs) ค่าใช้จ่ายผันแปรนี้จะเป็นไปตามปริมาณการผลิต ถ้าหากผู้ผลิตทำการผลิตมากขึ้นก็จะต้องใช้ปัจจัยผันแปรมากขึ้น ค่าใช้จ่ายผันแปรเพิ่มขึ้น เช่น นายกนกปลูกข้าว 10 ไร่ ใช้เมล็ดพันธุ์ = 1,500 บาท ใช้ปุ๋ย = 3,200 บาท ใช้ยาฆ่าแมลง = 3,000 บาท จ้างแรงงาน 6 วันทำงาน และใช้แรงงานภายในฟาร์ม 120 วันทำงาน (ค่าจ้างแรงงานวันละ 100 บาท) • TVC = 1,500 + 3,200 + 3,000 + (6 + 120)*100 บาท = 20,300 บาท • เมื่อคิดเป็นค่าเฉลี่ยต่อหน่วยของผลผลิตเราเรียกว่า ต้นทุนผันแปรเฉลี่ย (Average total Variable Cost : AVC) มีค่าเท่ากับ AVC =TVC/Y

  3. AVC = 20,300/5,000 = 4.06 บาท/กก. • ต้นทุนทั้งหมด (Total Cost : TC) = TFC + TVC • TC = 11,000 + 20,300 บาท = 31,300 บาท • ต้นทุนทั้งหมดเฉลี่ย (Average Total Cost : ATC) = (TFC + TVC)/Y • ATC = 31,300/5,000 = 6.26 บาท/กก. หรืออาจจะคำนวณได้จาก • ATC = AFC + AVC = 2.2 + 4.06 = 6.26 บาท/กก. • ต้นทุนเพิ่ม (Marginal Cost : MC) ค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เพิ่มขึ้นเมื่อผู้ผลิตเพิ่มการผลิตขึ้นอีก 1 หน่วย = ∆TC/ ∆Y • ซึ่ง MC นี้ผู้ผลิตจะนำมาเปรียบเทียบกับรายได้เพิ่ม (Marginal Revenue : MR) ผู้ผลิตจะขยายการผลิตไปจนกระทั้ง MC = MR

  4. ต้นทุน (บาท) TC TVC TFC 0 จำนวนผลผลิต (กิโลกรัม)

  5. ต้นทุน (บาท) MC ATC AVC AFC 0 จำนวนผลผลิต (กิโลกรัม)

  6. ถ้าให้ค่าเช่าที่ดินไร่ละ 500 บาท และปุ๋ยมีราคากิโลกรัมละ 8 บาท จงหา TFC TVC TC AFC AVC ATC MC • จงเขียนกราฟมาพอเข้าใจ • ถ้าให้นายกนกขายข้าวได้กิโลกรัมละ 9 บาท จงหา รายได้เบื้องต้น รายได้สุทธิ และกำไร • รายได้เบื้องต้น (TR) = Y.Py • รายได้สุทธิ = TR – TVC • กำไร = TR - TC

  7. ความหมายของต้นทุนบางชนิดที่ใช้ในการจัดการฟาร์มความหมายของต้นทุนบางชนิดที่ใช้ในการจัดการฟาร์ม • ต้นทุนในการประกอบการ (Operating Cost) มีความหมายเช่นเดียวกันกับต้นทุนผันแปร (Variable Cost) • ต้นทุนการเป็นเจ้าของ (Ownership cost) โดยทั่วไปหมายถึงต้นทุนคงที่ • Out of Pocket Cost หมายถึงค่าใช้จ่ายในการผลิตที่ผู้ผลิตจ่ายเป็นเงินสด เช่น ค่าปุ๋ย ค่ายาฆ่าแมลง ฯลฯ • Overhead Cost หมายถึงค่าใช่จ่ายคงที่ • Cash Cost หมายถึงค่าใช้จ่ายในการผลิตที่ผู้ผลิตจ่ายออกไปเป็นเงินสด ซึ่งรวมทั้งค่าใช้จ่ายผันแปร และค่าใช้จ่ายคงที่ • Non-Cash Cost หมายถึงค่าใช้จ่ายในการผลิตที่ผู้ผลิตไม่ได้จ่ายออกไปจริง แต่ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของต้นทุน เช่น ค่าจ้างแรงงานในครัวเรือน

  8. ค่าเสียโอกาสของเงินทุน ค่าเสื่อมราคาเครื่องมืออุปกรณ์ในฟาร์ม ฯลฯ • Relevant Cost เป็นค่าใช้จ่ายที่มีผลอย่างมากต่อการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับการทำฟาร์มของเจ้าของฟาร์ม ทำให้เจ้าของฟาร์มต้องใช้เวลาในการใคร่ครวญในการตัดสินใจ เช่น การซื้อที่ดิน การซื้อรถแทรกเตอร์ ฯลฯ • Irrelevant Cost เป็นค่าใช้จ่ายที่ไม่มีผลต่อการตัดสินใจมากนัก เนื่องจากค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจไม่มีความแตกต่างกันอย่างเด่นชัด เช่น การเลือกซื้อรถแทรกเตอร์ ยี้ห้อคูโบต้า หรือยี่ห้อยันม่าร์ ซึ่งมีราคาใกล้เคียงกัน และมีประสิทธิภาพใกล้เคียงกัน

  9. หลักการตัดสินใจเกี่ยวกับการลงทุนหลักการตัดสินใจเกี่ยวกับการลงทุน • การตัดสินใจลงทุนกับทรัพย์สินที่มีอายุการใช้งานได้หลายปี เช่น รถแทรกเตอร์ เครื่องสูบน้ำ การปลูกไม้ยืนต้น ฯลฯ การคิดผลตอบแทนไม่อาจคิดอย่างง่ายๆ เพราะกระแสรายได้และรายจ่ายที่เกิดขึ้นในอนาคตจากการลงทุนประเภทนี้มีมูลค่าที่คิดเป็นตัวเงินไม่เท่ากันในแต่ละปี เพราะมูลค่าของเงินจะเปลี่ยนแปลงไปตามเวลาที่เปลี่ยนแปลง (Time Value of money) เนื่องจากการใช้เงินลงทุนจะมีค่าเสียโอกาสของเงินลงทุน และภาวะเงินเฟ้อ (Inflation) • เราจะใช้หลักการคำนวณหามูลค่าปัจจุบัน (Present Value Technique)

  10. NPV = • NPV = มูลค่าปัจจุบันสุทธิ • Bt = มูลค่ารายได้ของโครงการในปีที่ t • Ct = มูลค่าค่าใช้จ่ายของโครงการในปีที่ t • i = อัตราคิดลด • t = ระยะเวลาของโครงการ คือ ปีที่ 1, 2, …, n • n = อายุโครงการ

  11. นายเอื้อเสียเงินค่าจ้างไถนาปีละ 15,000 บาททุกปี นายเอื้อจึงคิดจะซื้อรถไถนาเป็นของตนเอง ราคาของรถไถนาเดินตามพร้อมอุปกรณ์เท่ากับ 45,000 บาท มีอายุการใช้งานได้ 5 ปี เสียค่าน้ำมันปีละ 800 บาท นายเอื้อควรซื้อรถไถนาเดินตามหรือไม่

  12. หลักการคิดดอกเบี้ย • การชำระเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยพร้อมกันเมื่อครบกำหนด • เงินกู้ 600 บาท ระยะเวลา 1 ปี อัตราดอกเบี้ย 12% ต่อปี • ค่าดอกเบี้ยต่อปี = 600*(12/100) = 72 บาท • การชำระดอกเบี้ยล่วงหน้า • ค่าดอกเบี้ยต่อปี = 600*(12/100) = 72 บาท • จำนวนเงินกู้ที่ผู้ขอกู้ได้รับ = 600 – 72 = 528 บาท • อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง = 72/528 * 100 = 13.65 % ต่อปี

  13. การผ่อนชำระเงินต้นและดอกเบี้ย ส่งเงินต้นพร้อมดอกเบี้ย 12 งวด งวดละเท่าๆกัน • ผ่อนส่งเดือนละ = 600/12 + 72/12 = 50 + 6 = 56 บาท • จะเห็นว่าเงินต้นเดือนแรกที่ใช้คิดดอกเบี้ย = 600 บาท • เงินต้นเดือนสุดท้ายที่ใช้คิดดอกเบี้ย = 50 บาท • ค่าเฉลี่ยของเงินกู้ = (600 + 50)/12 = 325 บาท • อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง = (72/325) * 100 = 22.15 % ต่อปี

  14. การซื้อโดยการผ่อนชำระการซื้อโดยการผ่อนชำระ • i = 2MD/P(n+1) • i = อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง • M = จำนวนครั้งที่ต้องผ่อนชำระใน 1 ปี • D = ค่าใช้จ่ายในการกู้ยืม หรือดอกเบี้ย • P = จำนวนเงินกู้ • n = จำนวนครั้งทั้งหมดที่ต้องผ่อนชำระหนี้ เกษตรกรซื้อปุ๋ยเป็นเงินเชื่อ คิดเป็นเงิน 6,000 บาท สัญญาจะผ่อนชำระ 12 เดือน เดือนละ 600 บาท อัตราดอกเบี้ยที่เกษตรกรต้องจ่ายเป็นเท่าไหร่

  15. การซื้อโดยการผ่อนชำระการซื้อโดยการผ่อนชำระ • i = 2MD/P(n+1) • M = 12 • D = (12 * 600) – 6,000 = 1,200 • P = 6,000 • n = 12 • i = (2 * 12 * 1,200)/6,000(12 + 1) • i = 36.9 %

  16. นายเอื้อปลูกผักในฤดูแล้ง 5 ไร่ ได้รายได้จากการปลูกผักไร่ละ 8,000 บาท นายเอื้อเห็นว่าถ้าลงทุนเจาะบ่อบาดาลและซื้อเครื่องสูบน้ำจะทำให้การปลูกผักได้ผลผลิตมากขึ้น ถ้าค่าเจาะบ่อน้ำบาดาล = 15,000 บาท และเครื่องสูบน้ำมีราคาเครื่องละ 12,000 บาท อายุของบ่อน้ำบาดาลและเครื่องสูบน้ำ = 10 ปี และในการสูบน้ำจะเสียค่าน้ำมันปีละ 600 บาท ถ้านายเอื้อมีรายได้จากการปลูกผักหลังจากการลงทุนเท่ากับ 13,000 บาทต่อไร่ นายเอื้อควรลงทุนหรือไม่

More Related