1 / 39

การบริหารพัสดุ และ กระบวนการจัดหา

การบริหารพัสดุ และ กระบวนการจัดหา. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2549 แนวทางการดำเนินงานตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2549

willow
Download Presentation

การบริหารพัสดุ และ กระบวนการจัดหา

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การบริหารพัสดุและกระบวนการจัดหาการบริหารพัสดุและกระบวนการจัดหา

  2. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม • ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2549 • แนวทางการดำเนินงานตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2549 • หนังสือเวียนจากสำนักนายกรัฐมนตรีต่างๆ • หนังสือเวียนจากกระทรวงการคลังต่างๆ ระเบียบที่เกี่ยวข้อง

  3. การจัดหา • การจัดทำเอง • การซื้อ • การจ้าง • การจ้างที่ปรึกษา • การจ้างออกแบบควบคุมงาน • การแลกเปลี่ยน • การเช่า • การจัดการ • การยืม • การควบคุม • การบำรุงรักษา • การจำหน่วย การบริหารพัสดุ

  4. การพัสดุ ความหมาย... การพัสดุ คือ การจัดทำเอง การซื้อ การจ้าง การจ้างออกแบบฯ การแลกเปลี่ยน การเช่า การควบคุม การจำหน่าย การดำเนินการอื่นๆ พัสดุ ความหมาย... พัสดุ คือ วัสดุ ครุภัณฑ์ ที่ดินและสิ่งก่อสร้างตามจำแนกประเภทรายจ่ายของสำนักงบประมาณ การพัสดุ : พัสดุ

  5. กระบวนการจัดหาพัสดุ

  6. เจ้าของเรื่อง บุคลากร/หัวหน้าฝ่ายเจ้าของเรื่อง บุคลากร/หัวหน้าฝ่าย • เจ้าหน้าที่พัสดุ พิมใจ , นันทา , วิยะดา • หัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ นางสาวอุษา ผูกพันธ์ • หัวหน้าส่วนราชการ ผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการ • ผู้สั่งซื้อ/สั่งจ้าง ผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการ • คณะกรรมการต่างๆ บุคลากร ผู้เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อ / จัดจ้าง

  7. กรณีปกติ - ตามระเบียบฯข้อ 27 ก่อนการดำเนินการซื้อหรือจ้างทุกวิธี เจ้าของเรื่อง/ฝ่าย แจ้งให้เจ้าหน้าที่พัสดุจัดทำรายงานเสนอหัวหน้าส่วนราชการตามรายละเอียด ดังนี้ (1) เหตุผลความจำเป็นที่ต้องซื้อหรือจ้าง (2) รายละเอียดของพัสดุที่จะซื้อหรืองานที่จะจ้าง (3) ราคามาตรฐาน ราคากลาง ราคาที่หลังสุดไม่เกิน 2 ปี (4) วงเงินที่จะซื้อ หรือ จ้าง (5) กำหนดเวลาใช้พัสดุ (6) วิธีที่จะซื้อหรือจ้าง (7) ข้อเสนออื่นๆ (กรรมการ , ประกาศ) - ตามระเบียบฯข้อ 29 เมื่อหัวหน้าส่วนราชการให้ความเห็นชอบตามรายงานที่เสนอแล้ว ให้เจ้าหน้าที่พัสดุดำเนินการตามวิธีซื้อหรือจ้างนั้นต่อไป การดำเนินการจัดหา

  8. กรณีจำเป็นเร่งด่วน - ตามระเบียบฯข้อ 39 วรรค 2 กำหนดว่าการซื้อ/การจ้าง กรณีจำเป็นเร่งด่วนจะต้องประกอบไปด้วย 3 องค์ประกอบ ซึ่งจะขาดองค์ประกอบใดไม่ได้ ดังนี้ - เป็นกรณีจำเป็นและเร่งด่วน - เกิดขึ้นโดยไม่ได้คาดหมายไว้ก่อน - ไม่อาจดำเนินการตามปกติได้ทัน * แนวทางปฏิบัติ ให้เจ้าของเรื่องที่รับผิดชอบในการปฏิบัติราชการนั้นๆ ดำเนินการไปก่อน แล้วรีบรายงานขอความเห็นต่อหัวหน้าส่วนราชการ และให้ถือรายงานที่ได้รับความเห็นชอบแล้วนั้น เป็นหลักฐานการตรวจรับโดยอนุโลม การดำเนินการจัดหา (ต่อ)

  9. การเสนอซื้อ / จ้าง

  10. แบบเต็มรูป (สัญญา) - มีการซื้อ / จ้าง ที่มีวงเงินเกิน 100,000 บาทขึ้นไป - ไม่สามารถส่งมอบพัสดุได้ ภายใน 5 วันทำการ - ต้องเป็นไปตามตัวอย่างสัญญาที่ กวพ. กำหนด • แบบลดรูป (ใบสั่งซื้อ / ใบสั่งจ้าง) - มีการซื้อ / จ้าง ที่วงเงินไม่เกิน 100,000 บาท - ใช้ในการซื้อ / จ้าง โดยวิธีตกลงราคา , วิธีพิเศษ , วิธีกรณีพิเศษ • ไม่มีรูป - มีการซื้อ / จ้าง ที่มีวงเงินไม่เกิน 10,000 บาท - ใช้ในการจัดซื้อ / จัดจ้าง วิธีตกลงราคา * เพิ่มเติม - กรณีเป็นการจ้างที่มีวงเงินเกิน 10,000 บาท / ใช้ใบสั่งจ้าง ผู้รับจ้างต้องติดอากรแสตมป์ - กรณีเป็นการจ้างที่มีวงเงินตั้งแต่ 250,000 บาท ผู้รับจ้างจะต้องนำสัญญาไปตีตราสารที่สรรพากรท้องที่ ข้อตกลงในการสั่งซื้อ / สั่งจ้าง

  11. การขออนุมัติซื้อ / จ้าง

  12. การดำเนินการ

  13. ขั้นตอนการเบิกจ่ายเงินขั้นตอนการเบิกจ่ายเงิน

  14. ครุภัณฑ์ และ การจัดหาครุภัณฑ์โดยนางสาวพิมใจ คำฝอย ตำแหน่ง ผู้ปฏิบัติงานบริหาร

  15. ค่าครุภัณฑ์ หมายถึง รายจ่ายดังต่อไปนี้ 1. รายจ่ายเพื่อจัดหาสิ่งของที่มีลักษณะคงทนถาวร และมีราคาต่อหน่วยต่อชุดเกินกว่า 5,000 บาท รวมถึงค่าใช้จ่ายที่ต้องชำระพร้อมกัน เช่น ค่าขนส่ง ค่าภาษี ค่าประกันภัย ค่าติดตั้ง เป็นต้น 2. รายจ่ายเพื่อจัดหาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่มีราคาต่อหน่วยหรือต่อชุดเกินกว่า 20,000 บาท 3. รายจ่ายเพื่อประกอบ ดัดแปลง ต่อเติมหรือปรับปรุงครุภัณฑ์ รวมทั้งครุภัณฑ์คอมพิวเตอร์ที่มีวงเงินเกินกว่า 5,000 บาท หนังสือสำนักงบประมาณ ด่วนที่สุด ที่ นร 0702/ว51 ลงวันที่ 20 มกราคม 2548 ระบุว่า...

  16. 4. รายจ่ายเพื่อซ่อมแซมบำรุงรักษาโครงสร้างของครุภัณฑ์ขนาดใหญ่ เช่น เครื่องบิน เครื่องจักรกล ยานพาหนะ เป็นต้น ซึ่งไม่รวมถึงค่าซ่อมบำรุงปกติหรือค่าซ่อมกลาง 5. รายจ่ายเพื่อจ้างที่ปรึกษา เพื่อการจัดหาหรือปรับปรุงครุภัณฑ์

  17. สินทรัพย์หรือค่าใช้จ่ายที่หน่วยงานมีไว้เพื่อใช้ในการดำเนินงาน มีลักษณะคงทนและมีอายุการใช้งานเกินกว่า 1 ปี • แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้ • ครุภัณฑ์ที่มีมูลค่าตั้งแต่ 5,000 บาทขึ้นไปตามราคาทุนรายการครุภัณฑ์ประเภทนี้ถือเป็นสินทรัพย์ถาวรของทางราชการ โดยหน่วยงานต้องจัดทำบันทึกรายละเอียดครุภัณฑ์ในทะเบียนคุมทรัพย์สิน คำนวณค่าเสื่อมประจำปีและรายงานข้อมูลตามแบบฟอร์มรายงานข้อมูลสินทรัพย์สำหรับสร้างข้อมูลหลักสินทรัพย์ประเภทครุภัณฑ์ • ครุภัณฑ์ที่มีมูลค่าไม่ถึง 5,000 บาทรายการครุภัณฑ์ประเภทนี้ถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายประเภทค่าครุภัณฑ์มูลค่าต่ำกว่าเกณฑ์และไม่ถือว่าเป็นสินทรัพย์ถาวรแต่ให้บันทึกรายละเอียดของครุภัณฑ์ดังกล่าวไว้ในทะเบียนคุมทรัพย์สินเพื่อประโยชน์ในการควบคุมรายการทรัพย์สินของทางราชการโดยไม่ต้องคำนวณค่าเสื่อมประจำปีและไม่ต้องรายงานข้อมูลตามแบบฟอร์มรายงานข้อมูลสินทรัพย์สำหรับสร้างข้อมูลหลักสินทรัพย์ประเภทครุภัณฑ์ ครุภัณฑ์ หมายถึง...

  18. วงเงิน เป็นตัวกำหนดวิธีการจัดซื้อ / จัดจ้าง • การจัดหาพัสดุ มีทั้งหมด 6 วิธี คือ 1. วิธีตกลงราคา วงเงินจัดหาครั้งหนึ่งไม่เกิน 100,000 บาท 2. วิธีสอบราคา วงเงินจัดหาครั้งหนึ่งตั้งแต่ 100,001 - 2,000,000 บาท 3. วิธีประกวดราคา วงเงินจัดหาครั้งหนึ่งตั้งแต่ 2,000,001 บาทขึ้นไป 4. วิธีพิเศษ วงเงินจัดหาครั้งหนึ่งเกิน 100,000 บาท (แบบมีเงื่อนไข) 5. วิธีกรณีพิเศษ ไม่จำกัดวงเงิน (แบบระบุหน่วยงาน) 6. วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ วงเงินจัดหาครั้งหนึ่งตั้งแต่ 2,000,000 บาทขึ้นไป วิธีการ

  19. กระบวนการจัดหา

  20. เจ้าของเรื่อง มีหน้าที่ดังต่อไปนี้... จัดทำรายงานเสนอหัวหน้าฝ่าย (เสนอขออนุมัติ) โดยจะต้องมี รายละเอียดคือ • เหตุผลความจำเป็นที่จะต้องซื้อหรือจ้าง • รายละเอียดของพัสดุที่จะซื้อหรือจ้าง • วงเงินหรืองบประมาณที่จะซื้อหรือจ้าง • ข้อเสนออื่น เช่น เสนอขออนุมัติแต่งตั้งกรรมการต่างๆที่จำเป็นในการซื้อหรือการจ้างครั้งนั้นๆ บทบาทหน้าที่ของผู้เกี่ยวข้อง

  21. งานพัสดุ มีหน้าที่ดังต่อไปนี้... จัดทำรายงานเสนอหัวหน้าส่วนราชการ (ขออนุมัติ) โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ • ระบุเหตุผลความจำเป็นที่ต้องการซื้อหรือจ้าง • กำหนดรายละเอียดเฉพาะของครุภัณฑ์ (Spec) • กำหนดรายละเอียดของวงเงินงบประมาณ (ราคากลาง) • กำหนดวิธีการที่จะซื้อหรือจ้าง และเหตุผลที่ต้องซื้อหรือจ้างโดยวิธีนั้น • ขออนุมัติแต่งตั้งคณะกรรมการต่างๆที่จำเป็นในการซื้อหรือจ้างครั้งนั้นๆ บทบาทหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง (ต่อ)

  22. ผู้บริหาร มีหน้าที่ดังต่อไปนี้... • พิจารณาให้ความเห็น • พิจารณาอนุมัติวงเงินที่จะซื้อหรือจ้าง • พิจารณาแต่งตั้งกรรมการต่างๆ ในการซื้อหรือจ้างครั้งนั้นๆ บทบาทหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง (ต่อ)

  23. กรรมการ ในการซื้อหรือจ้างในแต่ละครั้ง หัวหน้าส่วนราชการจะแต่งตั้ง กรรมการแล้วแต่กรณี คือ • คณะกรรมการเปิดซองสอบราคา (วิธีสอบราคา) • คณะกรรมการรับและเปิดซองประกวดราคา (วิธีประกวดราคา) • คณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคา (วิธีประกวดราคา) • คณะกรรมการจัดซื้อโดยวิธีพิเศษ (ซื้อวิธีพิเศษ) • คณะกรรมการจัดจ้างโดยวิธีพิเศษ (จ้างวิธีพิเศษ) • คณะกรรมการตรวจรับพัสดุ บทบาทหน้าที่ของผู้เกี่ยวข้อง (ต่อ)

  24. มีหน้าที่ดังต่อไปนี้...มีหน้าที่ดังต่อไปนี้... 1. เปิดซองใบเสนอราคา และอ่านแจ้งราคาพร้อมบัญชีรายการเอกสารของผู้เสนอราคา และต้องลงลายมือชื่อกำกับไว้ในใบเสนอราคาพร้อมเอกสารประกอบทุกแผ่น 2. ตรวจสอบคุณสมบัติของผู้เสนอราคา ใบเสนอราคา แคตตาล็อก รูปแบบ รายการ รายละเอียด แล้วคัดเลือกผู้เสนอราคาที่ถูกต้องตามเงื่อนไขในเอกสารสอบราคา 3. พิจารณาคัดเลือกพัสดุหรืองานจ้างของผู้เสนอราคาที่ถูกต้องตาม (2) และเสนอให้ซื้อหรือจ้างจากรายที่คัดเลือกไว้ ซึ่งเสนอราคาต่ำสุด คณะกรรมการเปิดซองสอบราคา

  25. คณะกรรมการเปิดซองสอบราคา(ต่อ)คณะกรรมการเปิดซองสอบราคา(ต่อ) 4. ในกรณีที่มีผู้เสนอราคาถูกต้องตรงตามรายละเอียดรายเดียว ให้กรรมการดำเนินการตามข้อ (3) โดยอนุโลม 5. ให้กรรมการรายงานผลการพิจารณา และความเห็นพร้อมด้วยเอกสารที่รับไว้ทั้งหมดต่อหัวหน้าส่วนราชการเพื่อสั่งการโดยเสนอผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าทีพัสดุ

  26. มีหน้าที่ดังต่อไปนี้...มีหน้าที่ดังต่อไปนี้... • ตรวจรับพัสดุ ณ ที่ทำการของผู้ใช้พัสดุนั้น หรือสถานที่ระบุไว้ในสัญญา การตรวจรับ ณ สถานที่อื่น จะต้องได้รับอนุมัติจากหัวหน้าส่วนราชการก่อน • ตรวจรับพัสดุให้ถูกต้องครบถ้วนตามหลักฐานที่ตกลงกันไว้ • โดยปกติให้ตรวจรับพัสดุในวันที่ผู้ขายหรือผู้รับจ้างนำพัสดุมาส่ง • เมื่อตรวจถูกต้องครบถ้วนแล้ว ให้รับพัสดุไว้โดยลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐาน กรณีที่เห็นว่าพัสดุที่ส่งมอบ มีรายละเอียดไม่เป็นไปตามข้อกำหนดให้รายงานหัวหน้าส่วนราชการผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ เพื่อทราบหรือสั่งการ แล้วแต่กรณี • กรณีที่ผู้ขายหรือผู้รับจ้างส่งมอบพัสดุถูกต้องแต่ไม่ครบจำนวน หรือส่งมอบครบแต่ไม่ถูกต้องทั้งหมด ถ้าสัญญาหรือข้อตกลงไม่ได้กำหนดเป็นอย่างอื่น คณะกรรมการตรวจรับพัสดุ

  27. คณะกรรมการตรวจรับพัสดุ(ต่อ)คณะกรรมการตรวจรับพัสดุ(ต่อ) ให้ตรวจรับเฉพาะจำนวนที่ถูกต้องโดยปฏิบัติตามข้อ (4) และโดยปกติให้รีบรายงานหัวหน้าส่วนราชการ 6. การตรวจรับพัสดุที่ประกอบกันเป็นชุด หรือหน่วย ถ้าขาดส่วนใดส่วนหนึ่งไปแล้วไม่สามารถใช้งานได้สมบูรณ์ให้ถือว่าผู้ขายหรือผู้รับจ้างนั้นยังไม่ได้ส่งมอบ และโดยปกติให้รีบรายงานหัวหน้าส่วนราชการ เพื่อแจ้งให้ผู้ขายผู้รับจ้างทราบภายใน 3 วันทำการ นับแต่วันที่ตรวจพบ 7. ถ้ากรรมการตรวจรับพัสดุบางคน ไม่ยอมรับพัสดุโดยทำความเห็นแย้งไว้ ให้เสนอหัวหน้าส่วนราชการเพื่อพิจารณาสั่งการ ถ้าหัวหน้าส่วนราชการสั่งการให้รับพัสดุนั้นไว้ จึงดำเนินการตามข้อ (4) หรือ (5) แล้วแต่กรณี

  28. จบการนำเสนอ ขอบพระคุณทุกท่าน...

  29. ข้อควรรู้เกี่ยวกับการดำเนินงานพัสดุ...???โดย นางวิยะดา ธนสรรวนิช ตำแหน่ง นักวิชาการพัสดุ ชำนาญการพิเศษ

  30. ข้อควรรู้เกี่ยวกับการดำเนินงานด้านพัสดุข้อควรรู้เกี่ยวกับการดำเนินงานด้านพัสดุ

  31. จบการนำเสนอ ขอบพระคุณทุกท่าน...

More Related