420 likes | 620 Views
AEC เรื่องใกล้ตัวเกษตรกร. สำนักเศรษฐกิจการเกษตรระหว่างประเทศ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร 26 มกราคม 2555. อาเซียน ( ASEAN) สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้.
E N D
AEC เรื่องใกล้ตัวเกษตรกร สำนักเศรษฐกิจการเกษตรระหว่างประเทศ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร 26 มกราคม 2555
อาเซียน (ASEAN)สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สัญลักษณ์อาเซียน คือ ต้นข้าวสีเหลือง 10 ต้นมัดรวมกันไว้ หมายถึงประเทศสมาชิกรวมกันเพื่อมิตรภาพและความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน สีน้ำเงิน หมายถึง สันติภาพและความมั่นคง สีแดง หมายถึง ความกล้าหาญและความก้าวหน้า สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์ และ สีเหลือง หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง
อาเซียน (ASEAN)สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ • อาเซียน หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก่อตั้งขึ้นเมื่อ 8 สิงหาคม 2510 มีสมาชิกรวม 10 ประเทศ คือ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย บรูไน ลาว พม่า เวียดนาม และกัมพูชา • วัตถุประสงค์เพื่อสร้างสันติภาพ เสถียรภาพทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมในภูมิภาค 2540 2540 2510 2510 2538 2542 2527 2510 2510 2510 อาเซียน 6 สมาชิกใหม่ CLMV
ความสำคัญของอาเซียน ที่มา:ASEAN Secretariat
ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) “One Vision, One Identity, One Community” • ปี 2546 ผู้นำอาเซียนเห็นพ้องกันว่า ภายในปี 2558 จะจัดตั้ง “ประชาคมอาเซียน” (ASEAN Community)ที่ประกอบด้วย 3 เสา คือ • ประชาคมการเมืองความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political security Community : APSC) • ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC) • ประชาคมสังคมวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community : ASCC)
ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) AEC เป็นตลาดและฐานการผลิตร่วมกัน ลักษณะ วัตถุประสงค์ การเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน แรงงานมีฝีมือ อย่างเสรี เพื่อสร้างความมั่นคง มั่งคั่ง และความสามารถในการแข่งขันของอาเซียน เคลื่อนย้ายเงินทุนอย่างเสรีมากขึ้น
ความตกลงสำคัญของอาเซียนในการเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวความตกลงสำคัญของอาเซียนในการเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว 1. ความตกลงการค้าสินค้าของอาเซียน (ASEAN Trade in Goods Agreement: ATIGA) 2. ความตกลงด้านการค้าบริการของอาเซียน 3. ความตกลงด้านการลงทุนของอาเซียน (ASEAN Comprehensive Investment Agreement: ACIA) 4. ความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมของอาเซียน (ความตกลงการค้า และการลงทุนเป็นเรื่องใกล้ตัวหรือเกี่ยวข้องกับเกษตรกร)
เจาะลึก 2 ความตกลงของอาเซียน 1. ความตกลงการค้าสินค้า (ATICA) จาก อาฟต้า (AFTA ปี 2535-2553) สู่ อาติก้า (ATIGA ปี 2553 เป็นต้นไป) 2. ความตกลงด้านการลงทุน
1. ATIGA - ความตกลงด้านการค้าสินค้าอาเซียน • ครอบคลุมมาตรการด้านการส่งออกและนำเข้าสินค้าระหว่าง 10 ประเทศ • ตารางการลดภาษีตามพันธกรณีของอาฟตา (AFTA) • กำหนดให้ใช้มาตรการที่มิใช่ภาษี (NTMs) ได้เฉพาะเท่าที่จำเป็น • ส่งเสริมความสะดวกด้านการค้าสินค้าระหว่างกัน • หลักปฏิบัติด้านศุลกากรที่อ้างอิงหลักการของสากล • การปฏิบัติด้านเทคนิค กระบวนการตรวจสอบรับรองมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช • มาตรการเยียวยาทางการค้า
ปี 2553 ปี 2558 ภาษี 0% สินค้าในรายการลดภาษี ภาษี 0% อาเซียนเดิม เวียดนาม ลาว พม่า กัมพูชา การเปิดเสรีการค้าสินค้า ยกเว้น สินค้าในรายการสินค้าอ่อนไหว(Sensitive List)ภาษีไม่ต้องเป็น 0% แต่ต้อง <5% และสินค้าในรายการอ่อนไหวสูง (Highly Sensitive List)ลดภาษีลงในระดับที่ต้องตกลงกัน HSL มีสินค้า - ข้าวของอินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ - น้ำตาลของอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์
พันธกรณีการเปิดเสรีสินค้าของไทยพันธกรณีการเปิดเสรีสินค้าของไทย • ต้องลดภาษีทุกรายการสินค้า • เหลือ 0 % ในปี 2553 • (ยกเว้น สินค้า SL คือ เมล็ดกาแฟ มันฝรั่ง ไม้ตัดดอก เนื้อมะพร้าวแห้ง ภาษีเหลือ 5%) • ต้องยกเลิกโควตาสินค้าเกษตร • 23 รายการหมดไปในปี 2553
2. ACIA – ความตกลงด้านการลงทุนของอาเซียน • ปรับปรุงมาจากความตกลงการเปิดเสรีการลงทุน (AIA) และ ความตกลงคุ้มครองการลงทุน • ครอบคลุมขั้นตอนของการลงทุน 4 ด้านได้แก่ ส่งเสริมการลงทุนอำนวยความสะดวก การเปิดเสรีเพื่อให้เข้ามาลงทุน และการคุ้มครอง การลงทุน • การเปิดเสรีการลงทุน ครอบคลุมภาคการผลิต เกษตร ประมง ป่าไม้ เหมืองแร่ และบริการที่เกี่ยวเนื่องกับทั้ง 5 สาขาการผลิต • เปิดโอกาสให้สมาชิกทำข้อสงวนสาขาที่ไม่ต้องการเปิดเสรีไว้ในตารางข้อผูกพันโดยไม่ต้องมีการเจรจาต่อรอง
ข้อสงวนของไทยภายใต้ ACIA • สาขาที่ไทยไม่อนุญาตให้ต่างชาติเข้ามาลงทุนโดยเด็ดขาด ได้แก่ การทำนา ทำสวน ทำไร่ เลี้ยงสัตว์ การแปรรูปไม้จากป่าธรรมชาติ การประมงในน่านน้ำไทย การสกัดพืชสมุนไพร (อยู่ในบัญชี 1 แนบท้าย พรบ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542) การผลิตน้ำตาลจากอ้อย (เว้นแต่ได้รับอนุญาตจาก ครม.) • สาขาที่ไทยห้ามต่างชาติถือหุ้นข้างมากเว้นแต่ ครม. อนุญาต ได้แก่ การเลี้ยงไหม การผลิตเส้นไหมไทย การทอผ้าไหม การทำนาเกลือ การแปรรูปไม้เพื่อทำเครื่องเรือน (อยู่ในบัญชี 2) • สาขาที่ไทยห้ามคนต่างชาติถือหุ้นข้างมาก เว้นแต่ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า พณ. อนุญาต ได้แก่ การสีข้าว การผลิตไม้อัด (อยู่ในบัญชี 3 เป็นธุรกิจที่ไทยไม่พร้อมแข่งขัน)
พันธกรณีของไทยภายใต้ ACIA • ภายใต้ความตกลงฯ เดิม ซึ่งมีผลบังคับตั้งแต่ปี 2541 ไทยผูกพันว่าจะเปิดเสรีการลงทุนภายในปี 2553 (ตั้งแต่ 1 ม.ค. 2553 เป็นต้นไป) ใน 3 สาขา (อยู่ในบัญชี 3) ได้แก่ 1) การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ 2) การทำไม้จากป่าปลูก 3) การเพาะ ขยาย และปรับปรุงพันธุ์พืช • ปัจจุบัน ACIA ยังไม่มีผลบังคับใช้ เนื่องจากประเทศสมาชิกยังให้สัตยาบันไม่ครบ • ไทยยังไม่พร้อมเปิดใน 3 สาขาและอาเซียนยอมให้ใช้วิธีการเปิดเสรีการลงทุนแบบค่อยเป็นค่อยไป โดยแบ่งออกเป็น 3 ช่วง คือ ปี 2553 ปี 2555 และ ปี 2557 ( ทั้งนี้ไทยยอมให้เปิดเสรีได้ในการเลี้ยงกุ้งมังกรสายพันธุ์ไทยและการเลี้ยงปลาทูน่าในกระชังน้ำลึก และ เมล็ดพันธุ์หอมหัวใหญ่ ซึ่งรัฐสภาให้ความเห็นชอบแล้วเมื่อ พ.ย.54)
ประเด็นการเคลื่อนย้ายแรงงานเสรีของอาเซียนประเด็นการเคลื่อนย้ายแรงงานเสรีของอาเซียน อาเซียนได้จัดทำข้อตกลงยอมรับร่วมกัน (Mutual Recognition Arrangements: MRAs) ด้านคุณสมบัติในสาขาวิชาชีพหลัก เป็นการเคลื่อนย้ายเสรีเฉพาะ “แรงงานฝีมือ” และต้องมีคุณสมบัติตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ใน MRAs เท่านั้น ปัจจุบันอาเซียนได้จัดทำ MRAs ไว้แล้ว 7 สาขา คือ วิศวกรรม สถาปนิก แพทย์ พยาบาล ทันตแพทย์ นักบัญชี และการสำรวจ ส่วนสาขาอื่นๆ ยังอยู่ระหว่างการพิจารณา (ไม่มีการเคลื่อนย้ายแรงงานเกษตรอย่างเสรี !!!)
ผลกระทบต่อตลาดแรงงานของไทยผลกระทบต่อตลาดแรงงานของไทย ด้านบวก ตลาดแรงงานของอาเซียนขยายตัว จากการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ซึ่งมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 3 รองจากจีน และอินเดีย เพิ่มโอกาสการมีงานทำแก่แรงงานฝีมือของไทยมากขึ้น ด้านลบ มีการแข่งขันจากแรงงานในอาเซียนเพิ่มมากขึ้น เร่งพัฒนาทักษะฝีมือแรงงานมากขึ้น เสริมสร้างความรู้โดยเฉพาะภาษาต่างประเทศ เช่น ภาษาอังกฤษ มาลายู เป็นต้น
ศักยภาพและความพร้อมของภาคเกษตรกรรมไทยศักยภาพและความพร้อมของภาคเกษตรกรรมไทย
ภาพรวมการเกษตรไทยในปัจจุบันภาพรวมการเกษตรไทยในปัจจุบัน เกษตรกรรมเป็นกิจกรรมพื้นฐานของสังคมไทย เกษตรกรประกอบอาชีพเกษตรเป็นเวลานาน จนมีความเชี่ยวชาญและเป็นมืออาชีพ เกษตรกรมีความสามารถปรับตัวทางการผลิตค่อนข้างดี เกษตรกรมีการปรับตัว/ปรับเปลี่ยน การใช้ปัจจัยการผลิต เพื่อลดต้นทุนจากราคาปัจจัยการผลิตที่สูงขึ้น เช่น ปุ๋ยเคมี และยาปราบศัตรูพืช เป็นต้น เกษตรกรมีความสามารถในการปรับเปลี่ยนแผน และ/หรือเทคนิคในกระบวนการผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการ ของตลาด
จุดเด่นของสินค้าเกษตรไทยในปัจจุบันจุดเด่นของสินค้าเกษตรไทยในปัจจุบัน • การผลิตสินค้าที่มีคุณภาพและมาตรฐาน (สร้างความโดดเด่นและแตกต่างจากประเทศคู่แข่ง) • การพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายรองรับกลุ่มผู้บริโภค (กลุ่มประชาคมยุโรป เน้นอาหารปลอดสารหรือสินค้าอินทรีย์และอาหารฮาลาล สำหรับกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง กลุ่มประเทศมุสลิม) • สินค้าเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคทั่วโลก (ช่วง 5 ปีที่ผ่านมา สินค้าเกษตรและอาหารขยายตัวโดยเฉลี่ยร้อยละ 10.7)
ปัญหาด้านการเกษตรของไทยในปัจจุบันปัญหาด้านการเกษตรของไทยในปัจจุบัน ขาดแคลนแรงงานภาคเกษตรในอนาคต (อายุโดยเฉลี่ยของเกษตรกรเป็นผู้สูงวัย) เกษตรกรส่วนใหญ่มีการศึกษาน้อย (ความสามารถในการเรียนรู้และเข้าถึงข้อมูลข่าวสารอยู่ในระดับต่ำ และขาดการรวมกลุ่มเพื่อสร้างอำนาจการต่อรอง) การผลิตที่พึ่งพาดินฟ้าอากาศเป็นสำคัญ (ความแปรปรวนของสภาพอากาศโลก ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการผลิตและรายได้ของเกษตรกร)
สถานการณ์การค้าสินค้าเกษตรของไทยสถานการณ์การค้าสินค้าเกษตรของไทย
สถานการณ์การค้าสินค้าเกษตรระหว่างไทยกับตลาดโลกสถานการณ์การค้าสินค้าเกษตรระหว่างไทยกับตลาดโลก ที่มา : กรมศุลกากร หมายเหตุ : สินค้าเกษตรพิกัดศุลกากรที่ 1-24
ตลาดส่งออกหลักสินค้าเกษตรไทยตลาดส่งออกหลักสินค้าเกษตรไทย ที่มา : กรมศุลกากร หมายเหตุ : สินค้าเกษตรพิกัดศุลกากรที่ 1-24
การค้าสินค้าเกษตรไทยกับประเทศในอาเซียน ปี 2553 หมายเหตุ: สินค้าเกษตรพิกัดศุลกากร 01-24
การค้าสินค้าเกษตรไทยกับอาเซียน ปี 2554 (ม.ค. – พ.ย.)
การค้าสินค้าเกษตรไทยกับอาเซียน ปี 2554 (ม.ค. – พ.ย.) การส่งออก - กลุ่มสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์ ที่มีมูลค่าการส่งออกสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ • กลุ่มยางพาราธรรมชาติ • กลุ่มน้ำตาลและขนมที่ทำจากน้ำตาล • กลุ่มข้าวและธัญพืช • กลุ่มเครื่องดื่ม สุรา น้ำส้มสายชู • กลุ่มซอส และเครื่องปรุงรสต่างๆ • กลุ่มสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์ ที่มีการขยายสัดส่วนปริมาณและมูลค่าการส่งออกมากขึ้น 5 อันดับแรก เมื่อเทียบกับปี 2553 ได้แก่ • กลุ่มวัตถุจากพืชที่ใช้จักสาน • กลุ่มเนื้อสัตว์และส่วนอื่นของสัตว์เพื่อบริโภค • กลุ่มหนัง เขา กระดูกสัตว์ • กลุ่มผลไม้ • กลุ่มเมล็ดพืชและผลไม้ที่มีน้ำมัน
การนำเข้า - กลุ่มสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์ ที่มีมูลค่าการนำเข้าสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ กลุ่มปลาและสัตว์น้ำ กลุ่มไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ ของปรุงแต่งจากธัญพืช แป้ง นม กลุ่มซอส และเครื่องปรุงรสต่างๆ กลุ่มชา กาแฟ และเครื่องเทศ กลุ่มสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์ ที่มีการขยายสัดส่วนปริมาณและมูลค่าการนำเข้ามากขึ้น5 อันดับแรก เมื่อเทียบกับปี 2553 ได้แก่ กลุ่มผลไม้ กลุ่มเนื้อสัตว์และชิ้นส่วนของสัตว์ ที่บริโภคได้ กลุ่มไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ กลุ่มอาหารปรุงแต่งจากเนื้อปลา ปลาและสัตว์น้ำ กลุ่มพืชผักเพื่อบริโภค การค้าสินค้าเกษตรไทยกับอาเซียน ปี 2554 (ม.ค. – พ.ย.)
การใช้สิทธิส่งออกภายใต้ AFTA ปี 2554 (ม.ค. – ก.ย.) ที่มา : กรมการค้าต่างประเทศ หมายเหตุ: เป็นสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรม
การส่งออกภายใต้สิทธิ AFTA ของไทย แยกเป็นรายประเทศ ปี 2554 (ม.ค. – ก.ย.) ที่มา : กรมการค้าต่างประเทศ
สัดส่วนการใช้สิทธิฯ ส่งออก • สัดส่วนการใช้ส่วนใหญ่เป็นสินค้าอุตสาหกรรม คิดเป็น ร้อยละ 88.16 ในขณะที่สินค้าเกษตร มีการ ใช้สิทธิส่งออก คิดเป็น ร้อยละ 11.84 • มูลค่าส่งออกสินค้าเกษตร (ม.ค. – ก.ย. 54) มีมูลค่า 1,419.25 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.02 จากช่วงเดียวกันของปี 2553 • สินค้าที่มีการใช้สิทธิส่งออก AFTA สูง ได้แก่ สตาร์ชจากมันสำปะหลัง อาหารปรุงแต่งอื่นๆ น้ำตาลอื่นๆ ที่ได้จากอ้อย เครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ ซอส น้ำมันดิบ และผลไม้สดอื่นๆ เป็นต้น
ผลต่อภาคเกษตรที่คาดว่าจะได้รับจากผลต่อภาคเกษตรที่คาดว่าจะได้รับจาก การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
ผลได้ -ไทยส่งออกสินค้าเกษตรได้มากขึ้น เนื่องจากภาษีที่ลดลง และอาเซียนเป็นตลาดใหญ่ที่มีประชากรเกือบ 600 ล้านคนซึ่งสำคัญสำหรับไทย (สินค้าส่งออกสำคัญ เช่นข้าว น้ำตาล นมและผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ไก่แปรรูป อาหารแปรรูป สิ่งปรุงรสอาหาร เป็นต้น) - สินค้าวัตถุดิบนำเข้าราคาถูก ทำให้ลดต้นทุนการผลิตเพื่อส่งออก (เช่น ปลา และสัตว์น้ำ) - เกษตรกร/ ผู้ประกอบการ เกิดการปรับตัวทางการผลิต ทำให้สามารถแข่งขันได้
ผลเสีย - เกษตรกรบางสาขาอาจได้รับผลกระทบด้านราคาตกต่ำเมื่อมีการนำเข้าสินค้าราคาถูก คุณภาพต่ำจากอาเซียน 9 ประเทศมากขึ้น เช่น ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ - สินค้าเกษตรที่มีประสิทธิภาพการผลิต/ผลผลิตต่อไร่ต่ำกว่าเพื่อนบ้านอาจแข่งขันไม่ได้ เช่น กาแฟ - มาตรการด้านสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (SPS) และความปลอดภัยด้านอาหารจะถูกหยิบยกมาเป็นเงื่อนไขในการค้ามากขึ้น
แนวทาง และมาตรการเพื่อเตรียมความพร้อมของภาคเกษตรสู่การเป็น ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
เกษตรกร ควรปรับโครงสร้างการผลิตเพื่อการแข่งขัน (รัฐสนับสนุน) โดย • ผลิตสินค้าที่มีลักษณะเฉพาะพิเศษ และหลากหลาย • พัฒนาคุณภาพสินค้าให้ได้มาตรฐาน สม่ำเสมอ ปลอดภัย /เข้าสู่ระบบ GAP • เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ลดต้นทุนการผลิต เช่น ใช้พันธุ์ดี รวมกลุ่มเพื่อใช้ปัจจัยการผลิตร่วมกัน อาทิ ลานตาก เครื่องสูบน้ำ เป็นต้น
เอกชน/ผู้ประกอบการ • สร้างความแตกต่างให้กับสินค้า และ เน้นคุณภาพเป็นหลัก • รุกและขยายตลาดสินค้าที่ไทยได้เปรียบ เช่น ข้าว ผลไม้ น้ำตาล • ลดต้นทุนการผลิต อาทิ ใช้วัตถุดิบนำเข้าราคาถูกจากสมาชิกอาเซียน • ปรับภาพลักษณ์บรรจุภัณฑ์ • ใช้เทคโนโลยีในการยืดอายุสินค้าเกษตรหลังเก็บเกี่ยว • สร้างเครือข่ายพันธมิตรทางธุรกิจ
ภาครัฐ: การเปิดเสรีสินค้าเกษตร การป้องกันผลกระทบ (มาตรการเชิงรับ) 1. การบริหารการนำเข้า เพื่อป้องกันสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐาน เช่น กำหนดให้เป็นสินค้าที่ต้องขอหนังสือรับรองนำเข้าและกำหนดคุณสมบัติผู้นำเข้า • กำหนดมาตรฐานการผลิต เช่น ต้องมีใบรับรองปริมาณสารพิษตกค้าง • กำหนดมาตรการสุขอนามัย(SPS) ที่เข้มงวด เช่นต้องแสดงใบรับรองสุขอนามัย • จากหน่วยงานที่เชื่อถือได้ในประเทศต้นทาง (อย.) • ตรวจเข้มใบรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า (กรมศุลกากร) • กำหนดด่านนำเข้า (ให้นำเข้าเฉพาะด่านอาหารและยาและด่านตรวจพืช) • กำหนดช่วงเวลานำเข้า 2. การปราบปรามการลักลอบนำเข้า/ การนำเข้าที่ผิดกฎหมาย 3. ใช้มาตรการปกป้องพิเศษ (เก็บค่าธรรมเนียมปกป้อง) จากการนำเข้าสินค้าที่เพิ่มจนผิดปกติ
ภาครัฐ: การเปิดเสรีสินค้าเกษตร การเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน (มาตรการเชิงรุก) 1. ส่งเสริมการลดต้นทุนการผลิต เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตแก่เกษตรกร (ระบบน้ำ/ระบบชลประทาน ปุ๋ย วิจัยและพัฒนาพันธุ์ดี) 2. ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพมาตรฐานสินค้าเกษตรสู่สากล 3. สนับสนุนผู้ผลิตรายย่อยเข้าสู่ระบบมาตรฐาน 4. สนับสนุนการสร้างมูลค่าเพิ่มและผลิตสินค้าที่หลากหลายเพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันในตลาดโลก 5. ถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีที่เหมาะสมให้กับเกษตรกร 6. สนับสนุนการปรับโครงสร้างการผลิตภาคเกษตร โดยใช้เงินกองทุน FTA 7. ส่งเสริมการทำเกษตรตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้เกษตรกร
มาตรการรองรับการเปิดเสรีการลงทุนมาตรการรองรับการเปิดเสรีการลงทุน • การศึกษาแนวทางการเปิดเสรีการลงทุนภายใต้ความตกลง ACIAของการลงทุนสาขาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและสาขาการเพาะขยายและปรับปรุงพันธุ์พืชในช่วงต่อไป • เน้นผลการศึกษา • สาขาย่อยที่อาจได้รับผลกระทบหากเปิดเสรีการลงทุนให้อาเซียน • สาขาย่อยที่จะได้รับประโยชน์จากความตกลงการเปิดเสรีการลงทุนอาเซียน • ข้อเสนอแนะ+แนวทางในการกำหนดมาตรการรองรับการเข้ามา ลงทุนของนักลงทุนต่างชาติ • มาตรการเยียวยาสำหรับผู้ได้รับผลกระทบ
ส่งเสริมและสนับสนุนการลงทุนด้านการเกษตรในประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อเพิ่มแหล่งวัตถุดิบในการแปรรูปเพิ่มมูลค่าของสินค้าเกษตร เผยแพร่ และให้ความรู้ภาษาและวัฒนธรรม โอกาสและข้อจำกัดของประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อประโยชน์ในการขยายการลงทุน สร้างโอกาส และช่องทางในการขยายการลงทุนในประเทศเพื่อนบ้าน โดยการต่อยอดจากโครงการความร่วมมือด้านการเกษตรระหว่างไทยกับประเทศต่างๆ มาตรการเชิงรุกการเปิดเสรีการลงทุน