80 likes | 281 Views
สรุปเอกสารประกอบการสัมมนา กลุ่ม 1 การปรับปรุงการบริหารเศรษฐกิจ ในระดับมหภาค. เอกสารประกอบการสัมนา กลุ่ม 1. 1. พัฒนาการของนโยบายการเงินไทยในทศวรรษที่ผ่านมา อัจนา ไวความดี และ จิระพล มหุตติการ ธนาคารแห่งประเทศไทย 2. พัฒนาการนโยบายการคลังหลังวิกฤติเศรษฐกิจปี 2540 สมชัย จิตสุชน
E N D
สรุปเอกสารประกอบการสัมมนากลุ่ม 1การปรับปรุงการบริหารเศรษฐกิจในระดับมหภาค
เอกสารประกอบการสัมนา กลุ่ม 1 1. พัฒนาการของนโยบายการเงินไทยในทศวรรษที่ผ่านมา อัจนา ไวความดี และ จิระพล มหุตติการ ธนาคารแห่งประเทศไทย 2. พัฒนาการนโยบายการคลังหลังวิกฤติเศรษฐกิจปี 2540 สมชัย จิตสุชน สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย 3. การพัฒนาความร่วมมือทางการเงินในภูมิภาคและโครงสร้างระเบียบการเงินของโลก เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะวิกฤติทางการเงิน ฉลองภพ สุสังกร์กาณจน์ และ ปกรณ์ วิชยานนท์ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย
เอกสารประกอบการสัมนา กลุ่ม 1 4. การลงทุนขนาดใหญ่ของไทย บทเรียนจากวิกฤติและแนวทางจัดการสำหรับอนาคต ณดา จันทร์สม สถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์ 5. การบริหารเศรษฐกิจมหภาคตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ฉลองภพ สุสังกร์กาณจน์สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย
พัฒนาการของนโยบายการเงินไทยในทศวรรษที่ผ่านมาพัฒนาการของนโยบายการเงินไทยในทศวรรษที่ผ่านมา อัจนา ไวความดี/จิระพล มหุตติการ (BOT) • การปรับตัวของนโยบายการเงินหลังวิกฤติเศรษฐกิจ • เปลี่ยนจากดูแลอัตราแลกเปลี่ยนมาเป็นเน้นเสถียรภาพภายใน ดูแลเงินเฟ้อ และการขยายตัวอย่างมีเสถียรภาพ • เริ่มใช้นโยบายการเงินแบบกำหนดเป้าหมายเงินเฟ้อปี 2543 กำหนดเป้าหมายเงินเฟ้อไว้ที่ 0-3.5% • เน้นความโปร่งใสและเข้าถึงข้อมูลนโยบายของสาธารณะ มีผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอกในคณะกรรมการนโยบายการเงิน • นโยบายอัตราแลกเปลี่ยน เน้นการดูแลไม่ให้ผันผวนเกินไป • ธปท. มีระบบ early warning เพื่อติดตามความเสี่ยงในระบบเศรษฐกิจ • ประเด็นนโยบายการเงินในระยะหลัง • ควบคุมผลกระทบจากราคาน้ำมันสูงต่อเงินเฟ้อ ใช้นโยบายการเงินตึงตัวตั้งแต่ 2547 • ความจำเป็นของนโยบายตึงตัวเริ่มลดลง ตามราคาน้ำมัน • นโยบายอื่น • ธปท. ส่งเสริมการพัฒนาของตลาดเงิน อย่างค่อยเป็นค่อยไป เพื่อให้ตลาดมีเวลาปรับตัว
พัฒนาการนโยบายการคลังหลังวิกฤติเศรษฐกิจปี 2540 สมชัย จิตสุชน (TDRI) • การเปลี่ยนแปลงวิธีการทางการคลังหลังปี 2540 • ใช้นโยบายขาดดุลการคลัง 6 ปี (2540-45) จากนั้นเป็นเกินดุล/สมดุล • โครงสร้างงบประมาณเปลี่ยนไป (เพิ่มงบกลาง งบผู้ว่า CEO ) • ใช้มาตรการกึ่งการคลัง (qausi-fiscal policies) มากกว่าอดีต แนวโน้มความเสียหายเริ่มชัดเจน • เปลี่ยนวิธีการงบประมาณบางอย่าง (งบประมาณตามยุทธศาสตร์ PSA GFMIS e-government) • ผลต่อความโปร่งใสและความยั่งยืนทางการคลัง • ความโปร่งใสบกพร่องในหลายแง่มุม เช่น ขาดการวิเคราะห์/เผยแพร่ภาระการคลังอนาคตที่ครบถ้วน การใช้มาตรการกึ่งการคลังอย่างเร่งรีบและไม่มีกรอบความรับผิดชอบที่ชัดเจน การหลีกเลี่ยงวิธีปฏิบัติสากลในการขอความเห็นชอบรัฐสภาล่วงหน้าของกฎหมายทางการเงิน เป็นต้น • เริ่มส่งผลต่อความยั่งยืนทางการคลัง เมื่อต้องตั้งงบชดเชยภาระที่สร้างไว้ในช่วง 5 ปีก่อนหน้า • ข้อเสนอแนะ • เสริมกรอบความยั่งยืนทางการคลังของ กท. ด้วยการวิเคราะห์ภาระการคลังในอนาคตให้ครบถ้วน • เผยแพร่ข้อมูล ผลการวิเคราะห์ภาระการคลัง การประเมินความเสี่ยงทางการคลังให้กว้างขวางและเข้าถึงง่าย • พิจารณาออกกฎหมาย ‘ความรับผิดชอบทางการคลัง’ ที่ดูแลการคลังทั้งระบบ ไม่ใช่เพียงเงินงบประมาณ และวางกรอบการทำงานที่เพิ่มความเป็นอิสระให้กระทรวงการคลัง
การพัฒนาความร่วมมือทางการเงินในภูมิภาคและโครงสร้างระเบียบการเงินของโลก เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะวิกฤติทางการเงิน ฉลองภพ สุสังกร์กาณจน์/ปกรณ์ วิชยานนท์ (TDRI) • วิกฤติเศรษฐกิจแสดงถึงความเสี่ยงจากการเปิดเสรีทางการเงินระหว่างประเทศ และสามารถ ‘ระบาด’ ไปสู่ประเทศ/ภูมิภาคอื่น • ภูมิภาคจึงต้องการความร่วมมือในการป้องกัน • และแก้ปัญหาเรื่องความไม่สมดุลของกระแสหมุนเวียนเงินสำรองระหว่างภูมิภาค • ประโยชน์ของความร่วมมือระดับภูมิภาค • ป้องกันวิกฤติรอบใหม่ • ต่อสู้วิกฤติได้ดีขึ้น หากเกิดอีก • สนับสนุนการรวมตัวทางเศรษฐกิจ • เพิ่มอิทธิพลภูมิภาคในการกำหนดสภาพแวดล้อมทางการเงิน • ช่องทางร่วมมือ • Chiang Mai Initiatives • Asia Bond Fund • จัดตั้ง ADB-P
การลงทุนขนาดใหญ่ของไทย บทเรียนจากวิกฤติและแนวทางจัดการสำหรับอนาคต ณดา จันทร์สม (NIDA) • ไทยมีการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานมาตั้งแต่แผนพัฒนาฯ 1 ล่าสุดคือเมกะโปรเจกต์รัฐบาลไทยรักไทย • นอกจากผลกระทบต่อเศรษฐกิจมหภาคอื่น ๆ เงินลงทุนจำนวนมากสร้างแรงกดดันต่อหนี้สาธารณะ • ควรให้เอกชนมีส่วนร่วม (โดยเฉพาะ mass transit) ซึ่งมีหลายรูปแบบความร่วมมือรัฐ-เอกชน ข้อดีเพิ่มเติมคือประสิทธิภาพ • ปัญหาในอดีตของความร่วมมือรัฐ-เอกชน คือปัญหาการเงินของภาคเอกชน จนบางครั้งรัฐต้องเข้ารับภาระ • อาจจัดตั้งกองทุนเพื่อการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนระบบราง (MTDF) โดยทำการ securitize ผลประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อม (เช่นภาษี/ค่าธรรมเนียมการใช้ถนน) มีข้อดีทั้งการแก้ปัญหาการเงินของเอกชน และปรับลดพฤติกรรมการใช้ขนส่งระบบอื่น
การบริหารเศรษฐกิจมหภาคตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงการบริหารเศรษฐกิจมหภาคตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ฉลองภพ สุสังกร์กาณจน์ (TDRI) • ช่วงก่อนวิกฤติเศรษฐกิจ มีพฤติกรรมที่ไม่พอเพียงอยู่มากมาย เช่นการบริโภคและลงทุนเกินพอ การวิเคราะห์อย่างไม่สมเหตุสมผล ขาดธรรมภิบาลที่ดี • ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสามารถปรับใช้กับการบริหารเศรษฐกิจมหภาคได้เป็นอย่างดี • ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงประกอบด้วย • ความต้องการที่พอประมาณ การตั้งเป้าหมายที่พอประมาณและมีเหตุผล การมีภูมิคุ้มกันที่ดี รอบรู้อย่างรอบคอบ มีคุณธรรมความซื่อสัตย์สุจริต • แนวทางการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียง • กรอบนโยบายเศรษฐกิจมหภาคเพื่อสร้างความพอประมาณในระบบเศรษฐกิจ • ประเมินและตั้งเป้าหมายเศรษฐกิจอย่างพอประมาณ ไม่เน้นทำมากทำเร็ว เช่น FTA • ลงทุนพอประมาณและสมเหตุสมผล เช่นเมกะโปรเจกต์ • สร้างภูมิคุ้มกันที่ดี เช่นความร่วมมือทางการเงินในภูมิภาค การใช้นโยบายการคลัง เงินนอกงบประมาณ ต้องระมัดระวัง ต้องมีข้อมูลเตือนภัยทางการคลัง