1 / 44

การสืบสวนสอบสวนกับปัญหาการรับฟังพยานหลักฐาน

การสืบสวนสอบสวนกับปัญหาการรับฟังพยานหลักฐาน. ประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นจากการสืบสวน สอบสวนที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย. การจับ ค้น ควบคุมไม่ชอบจะทำให้การสอบสวนไม่ชอบด้วยหรือไม่ พยานหลักฐานที่ได้จากการจับ ค้น โดยมิชอบ จะใช้เป็นพยานหลักฐานได้หรือไม่

wilbur
Download Presentation

การสืบสวนสอบสวนกับปัญหาการรับฟังพยานหลักฐาน

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การสืบสวนสอบสวนกับปัญหาการรับฟังพยานหลักฐาน

  2. ประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นจากการสืบสวน สอบสวนที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย • การจับ ค้น ควบคุมไม่ชอบจะทำให้การสอบสวนไม่ชอบด้วยหรือไม่ • พยานหลักฐานที่ได้จากการจับ ค้น โดยมิชอบ จะใช้เป็นพยานหลักฐานได้หรือไม่ • คำให้การของผู้ถูกจับที่พูดในขณะที่ถูกจับ หรือต่อเจ้าหน้าที่ที่รับตัวผู้ถูกจับ รับฟังเป็นพยานหลักฐานได้หรือไม่ • คำให้การของพยาน และผู้เสียหาย ที่ให้การต่อพนักงานสอบสวน โดยที่พนักงานสอบสวนไม่ได้ดำเนินการตามที่กฎหมายกำหนดจะรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้หรือไม่

  3. ประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นจากการสืบสวน สอบสวนที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย • คำให้การของผู้ต้องหาที่เป็นเด็กอายุยังไม่เกิน 18 ปี ที่ให้การต่อพนักงานสอบสวน โดยไม่ได้ดำเนินการตามที่กฎหมายกำหนดจะรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้หรือไม่ และจะทำให้การสอบสวนไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ • คำให้การของผู้ต้องหาที่ให้การต่อพนักงานสอบสวน โดยไม่ได้ดำเนินการตามที่กฎหมายกำหนดจะรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้หรือไม่ และจะทำให้การสอบสวนไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ • การสอบสวนซึ่งกระทำโดยผู้ที่ไม่มีอำนาจสอบสวน • การส่งสำนวนการสอบสวนซึ่งกระทำโดยผู้ที่ไม่ใช่พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ

  4. แบ่งเป็นหัวข้อดังต่อไปนี้แบ่งเป็นหัวข้อดังต่อไปนี้ • พยานหลักฐานที่มิได้เกิดขึ้นโดยสมัครใจ • พยานหลักที่เกิดขึ้นโดยมิชอบประการอื่น • พยานหลักฐานที่เกิดขึ้นโดยชอบ แต่ได้มาเนื่องจากการกระทำโดยมิชอบ • พยานหลักที่ได้มาโดยอาศัยข้อมูลที่เกิดขึ้นหรือได้มาโดยมิชอบประการอื่น • คำรับสารภาพของผู้ถูกจับที่ให้ไว้ต่อเจ้าพนักงานผู้จับหรือรับมอบตัวผู้ถูกจับ • ถ้อยคำที่ผู้ต้องหาให้ไว้ต่อพนักงานสอบสวนโดยที่ยังมิได้มีการแจ้งสิทธิดำเนินการตามกฎหมายกำหนด • คำให้การของพยาน และผู้เสียหาย ที่ให้การต่อพนักงานสอบสวน โดยที่พนักงานสอบสวนไม่ได้ดำเนินการตามที่กฎหมายกำหนดจะรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้หรือไม่ • การสอบสวนซึ่งกระทำโดยผู้ที่ไม่มีอำนาจสอบสวน • การส่งสำนวนการสอบสวนซึ่งกระทำโดยผู้ที่ไม่ใช่พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ

  5. แนวคิดเกี่ยวกับพยานหลักฐานที่เกิดขึ้นโดยมิชอบ(ข้อ 1-4) • สหรัฐ:ถือว่าการแสดงหาพยานหลักฐานด้วยวิธีการอันมิชอบขัดต่อหลักการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชนตามรัฐธรรมนูญ พยานหลักฐานที่ได้มาจึงเป็นพยานหลักฐานที่ไม่ชอบตามหลักผลไม้ของต้นไม้ที่เป็นพิษ กล่าวคือ การได้มาซึ่งพยานหลักฐานชิ้นแรกโดยมิชอบเป็นต้นไม้ที่เป็นพิษ ส่วนพยานหลักฐานอื่นที่สืบเนื่องจากพยานหลักฐานชิ้นแรกที่ได้มาโดยมิชอบเป็นผลไม้ของต้นไม้ที่เป็นพิษซึ่งต้องห้ามมิให้รับฟังด้วย • อังกฤษ:พยานหลักฐานเป็นเรื่องของการพิจารณาข้อเท็จจริง ดังนั้นหากพยานนั้นสามารถแสดงถึงข้อเท็จจริงคู่ความต้องการนำสืบ แม้พยานดังกล่าวจะมีปัญหาในเรื่องการได้มาซึ่งพยานหลักฐาน ศาลก็ย่อมรับฟังได้ • ภาคพื้นยุโรป: ให้อำนาจศาลใช้ดุลยพินิจอย่างกว้างขวางในการับฟังพยานหลักฐานที่ได้มาโดยมิชอบ เว้นแต่จะมีกฎหมายเฉพาะมาจำกัดดุลพินิจของศาลเท่านั้น

  6. ไทย: การห้ามมิให้รับฟังพยานหลักฐานที่เกิดขึ้นหรือได้มาโดยมิชอบเป็นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 226,ม.226/1 ซึ่งแยกพิจารณาออกเป็น 4 กรณี คือ • พยานหลักฐานที่มิได้เกิดขึ้นโดยสมัครใจ • พยานหลักฐานที่เกิดขึ้นโดยมิชอบประการอื่น • พยานหลักฐานที่เกิดขึ้นโดยชอบ แต่ได้มาเนื่องจากการกระทำโดยมิชอบ • พยานหลักที่ได้มาโดยอาศัยข้อมูลที่เกิดขึ้นหรือได้มาโดยมิชอบประการอื่น

  7. พยานหลักฐานที่มิได้เกิดขึ้นโดยสมัครใจ ตาม ม.226,135 • หมายถึง พยานหลักฐานที่เกิดจากการจูงใจ ให้คำมั่นสัญญา ขู่เข็ญ หลอกลวง • เช่น • พนักงานสอบสวนแจ้งต่อผู้ต้องหาว่าจะไม่ฟ้องร้อง หรือจะฟ้องแต่ความผิดที่มีโทษเบา • ในคดีข่มขืน เจ้าหน้าที่ตำรวจกล่าวว่าหากผู้ต้องหาไม่ให้การรับสารภาพ จะถูกรีดน้ำอสุจิออกไปตรวจเปรียบเทียบกับคราบอสุจิที่ตกค้างอยู่ในอวัยวะเพศของผู้เสียหาย ผู้ต้องหาทราบว่าวิธีการดังกล่าวต้องเจ็บปวดมากจึงยอมรับสารภาพ ถือว่าคำรับสารภาพดังกล่าวมิได้เกิดขึ้นโดยสมัครใจ จึงไม่อาจรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ • ฎีกาที่ 1839/2544

  8. มาตรา 135ในการถามคำให้การผู้ต้องหา ห้ามมิให้พนักงานสอบสวนทำหรือจัดให้ทำการใดๆ ซึ่งเป็นการให้คำมั่นสัญญา ขู่เข็ญ หลอกลวง ทรมาน ใช้กำลังบังคับ หรือกระทำโดยมิชอบประการใดๆ เพื่อจูงใจให้เขาให้การอย่างใดๆ ในเรื่องที่ต้องหานั้น • มาตรา 226พยานวัตถุ พยานเอกสาร หรือพยานบุคคลซึ่งน่าจะพิสูจน์ได้ว่าจำเลยมีผิดหรือบริสุทธิ์ ให้อ้างเป็นพยานหลักฐานได้ แต่ต้องเป็นพยานชนิดที่มิได้เกิดขึ้นจากการจูงใจ มีคำมั่นสัญญา ขู่เข็ญ หลอกลวงหรือโดยมิชอบประการอื่น และให้สืบตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่นอันว่าด้วยการสืบพยาน

  9. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 473/2539คำรับสารภาพที่ได้ความว่าหากจำเลยไม่ให้การรับสารภาพเจ้าพนักงานตำรวจก็จะต้อง จับกุมภริยาจำเลยและคนในบ้านทั้งหมดด้วยเป็นคำรับสารภาพที่มีเหตุจูงใจและ บังคับให้กลัวไม่อาจรับฟังเป็นพยานหลักฐานพิสูจน์ความผิดของจำเลยได้

  10. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1838/2544 เจ้าหน้าที่ตรวจจับผู้ที่มียาเสพติดไว้ในครอบครองได้คนหนึ่ง แล้วพูดกับผู้ถูกจับคนนั้นว่า ถ้ายอมบอกว่าซื้อยาเสพติดจากใครและพาเจ้าหน้าที่ไปล่อซื้อได้ก็จะไม่ดำเนินคดีกับเขา ผู้ถูกจับก็เลยรับสารภาพว่าซื้อมาจากจำเลยและพาตำรวจไปล่อซื้อยาเสพติดจากจำเลยได้มา จำเลยให้การปฎิเสธ ในชั้นศาลโจทก์นำสืบผู้ที่พาไปล่อซื้อคนนี้เป็นพยานในศาล ศาลวินิจฉัยว่า การที่ตำรวจวพูดกับพยานคนนี้ว่า ถ้ายอมรับสารภาพและพาไปล่อซื้อได้จะไม่ดำเนินคดีนั้น เท่ากับเป็นการจูงใจมีคำมั่นสัญญาโดยมิชอบ ถือว่าถ้อยคำของพยานปากนี้เกิดขึ้นโดยมิชอบ ต้องห้ามรับฟังเป็นพยานหลักฐาน

  11. พยานหลักฐานที่เกิดขึ้นโดยมิชอบประการอื่นพยานหลักฐานที่เกิดขึ้นโดยมิชอบประการอื่น • เป็นพยานหลักฐานที่มิได้มี หรือเกิดขึ้นโดยชอบอยู่ก่อนที่จะได้พยานหลักฐานนั้นๆมา แต่เจ้าพนักงานมีส่วนที่ทำให้เกิดพยานหลักฐานขึ้น ซึ่งไม่มีกฎหมายให้อำนาจกระทำได้(=โดยมิชอบ) • เช่น การล่อให้กระทำผิด (ล่อซื้อ) • การล่อให้กระทำผิด เกิดขึ้นเนื่องจากการกระทำความผิดบางประเภท ผู้กระทำผิดมักแอบกระทำอย่างลับๆ ทำให้เจ้าพนักงานแสวงหาพยานหลักฐานจากการกระทำผิดและจับตัวผู้กระทำผิดได้ยาก ดังนั้น จึงเกิดวิธีการที่เจ้าพนักงานตำรวจปลอมตัวเข้าไปทำการซื้อขายสินค้าหรือบริการที่ผิดกฎหมายนั้นเสียเอง หรือที่เรียกว่า “ล่อซื้อ” เพื่อให้ได้มาซึ่งพยานหลักฐานในการดำเนินคดี

  12. เช่น การล่อให้กระทำความผิดมี 2 ลักษณะ • การไปก่อ ล่อ หรือชักจูงให้คนบริสุทธิ์กระทำผิดโดยผู้นั้นไม่มีเจตนากระทำผิดมาก่อน ซึ่งถือเป็นการกระทำความผิด (entrapment) • เจ้าหน้าที่ตำรวจบอกให้จำเลยไปหายาเสพมาขายให้แก่เจ้าหน้าที่ตำรวจ เมื่อจำเลยส่งมอบยาเสพติดให้ เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงแสดงตนเข้าจับกุม • ศาลอังกฤษ อเมริกัน และไทย ถือว่าเป็นการแสวงหาพยานหลักฐานที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย พยานหลักฐานที่ได้มาจึงรับฟังไม่ได้ • พยานหลักฐานที่เกิดจากการล่อให้กระทำความผิดในกรณีนี้ เป็นพยานหลักฐานที่เกิดขึ้นโดยมิชอบ ตามความหมายมาตรา 226

  13. เช่น นายแดงไม่เคยมีความคิดจะขายเฮโรอีนมาก่อนเลย แต่มีตำรวจมาคะยั้นคะยอให้ไปช่วยหาเฮโรอีนมาให้ โดยจะจ่ายราคาอย่างงามจนนายแดงทนไม่ไหว เพราะอยากได้เงินจึงไปหาเฮโรอีนมาให้

  14. 4301/2543จำเลยที่ 1 ไม่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีการทำซ้ำบันทึกโปรแกรมคอมพิวเตอร์ลงในแผ่น บันทึกข้อมูลถาวรของเครื่องก่อนที่ ส. ซึ่งรับจ้างทำงานให้โจทก์จะไปล่อซื้อ แต่จะมีการประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์แล้วมีการทำซ้ำโปรแกรมคอมพิวเตอร์ใน เครื่องคอมพิวเตอร์หลังจากที่ ส. ตกลงซื้อกับจำเลยที่ 3 แล้ว จำเลยที่ 3 ต้องการแถมโปรแกรมคอมพิวเตอร์ให้แก่ ส. ตามที่ได้ตกลงกันในวันที่ ส. ไปล่อซื้อ พนักงานของจำเลยที่ 1อาจนำแผ่นบันทึกข้อมูลถาวรเครื่องต้นแบบเข้ามาใช้เป็นต้นแบบบันทึกถ่าย โปรแกรมคอมพิวเตอร์ลงไปในแผ่นบันทึกข้อมูลถาวรของเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่อง ที่ ส. ล่อซื้อในช่วงเวลาหลังจากที่จำเลยที่ 1 ประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ที่โรงงานเสร็จและส่งไปที่สำนักงานจำเลยที่ 1 เพื่อรอส่งมอบแก่ลูกค้าที่สั่งซื้อตามเวลาที่นัดไว้ การทำซ้ำบันทึกโปรแกรมคอมพิวเตอร์ของโจทก์ลงในแผ่นบันทึกข้อมูลถาวรของ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ ส. ล่อซื้อนั้นเป็นการทำซ้ำอันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์หลังจากวันที่ ส. ไปล่อซื้อแล้วเพื่อมอบโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ทำซ้ำให้แก่ ส. มิใช่ทำซ้ำโดยผู้กระทำมีเจตนากระทำผิดอยู่แล้วก่อนการล่อซื้อ น่าเชื่อว่าการกระทำผิดดังกล่าวเกิดขึ้นเนื่องจากการล่อซื้อของ ส. ซึ่งได้รับจ้างให้ล่อซื้อจากโจทก์ เท่ากับโจทก์เป็นผู้ก่อให้ผู้อื่นกระทำผิดโจทก์ย่อมไม่อยู่ในฐานะเป็นผู้ เสียหายโดยนิตินัยที่มีอำนาจฟ้องคดีนี้ได้

  15. การล่อให้กระทำความผิดมี 2 ลักษณะ • การไปก่อ ล่อ หรือชักจูงให้ผู้ที่มีเจตนากระทำความผิดอยู่ก่อน ให้แสดงออกมาซึ่งพยานหลักฐานในการกระทำความผิด หรือการล่อเพื่อจับกุมคนร้ายมาดำเนินคดี (undercover operation) • เช่น ตำรวจให้สายลับล่อซื้อยาเสพติดจากจำเลย เมื่อจำเลยส่งมอบยาเสพติดให้แก่สายลับ เจ้าหน้าที่จึงแสดงตนเข้าจับกุม • ศาลไทยไม่ถือว่าเป็นการล่อให้กระทำความผิด (entrapment) แต่ เป็นวิธีการแสวงหาพยานหลักฐานเพื่อพิสูจน์ความผิดที่ผู้นั้นมีเจตนากระทำผิดอยู่ก่อนแล้ว • พยานหลักฐานที่เกิดจากการล่อให้กระทำความผิดในลักษณะนี้ไม่ถือว่าเป็นพยานหลักฐานที่เกิดขึ้นโดยมิชอบตามมาตรา 226 แต่ถือว่าเป็นพยานหลักฐานที่เกิดขึ้นโดยชอบ แต่ได้มาเนื่องจากการกระทำโดยมิชอบ ตาม มาตรา 226/1

  16. 8187/2543การ ที่เจ้าพนักงานตำรวจใช้สายลับนำเงินไปล่อซื้อเมทแอมเฟตามีนจากจำเลยซึ่งมี ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายอยู่แล้ว เป็นวิธีการแสวงหาพยานหลักฐานในการกระทำความผิดของจำเลยที่ได้กระทำอยู่แล้ว มิได้ล่อหรือชักจูงใจให้จำเลยกระทำความผิดอาญาที่จำเลยไม่ได้กระทำความผิดมา ก่อน การกระทำของเจ้าพนักงานตำรวจดังกล่าวเป็นเพียงวิธีการเพื่อพิสูจน์ความผิด ของจำเลย ไม่เป็นการกระทำที่ดูหมิ่นศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของจำเลย ไม่เป็นการแสวงหาพยานหลักฐานโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 และไม่เข้าข้อต้องห้ามอ้างเป็นพยานหลักฐานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ อาญามาตรา 226

  17. ฎีกาที่ 696/2476 นายชมซึ่งเป็นนายตรวจสุราพิเศษไปพูดขอซื้อน้ำสุราจากจำเลย จำเลยขายให้ 2 ขวดเป็นเงิน 1 บาท พอจำเลยส่งขวดให้นายชม นายชมก็กระแอมขึ้นเป็นสัญญาณให้ตำรวจที่ซุ่มอยู่เข้าจับกุมจำเลย ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยขายสุราโดยมิได้รับอนุญาตจริง แต่เห็นว่านายชมไปพูดจาล่อซื้อจากจำเลยๆจึงขายให้ ต้องถือว่านายชมเป็นผู้ก่อและปั้นเรื่องขึ้นทั้งสิ้น การกระทำของจำเลยยังไม่เข้าเกณฑ์แห่งการทำผิดอาญาให้ยกฟ้อง ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้ลงโทษจำเลย จำเลยฎีกาว่าเรื่องนี้นาชมแกล้งทำขึ้น โดยใช้อุบายหลอกลวงซื้อสุราถึงบ้านจำเลยมิฉะนั้นแล้วก็ไม่มีเรื่องขึ้นเลยจำเลยไม่ควรมีความผิด ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า จำเลยจำหน่ายน้ำสุราโดยมิได้รับอนุญาตจำเลยจึงต้องมีความผิด ข้อที่นายชมผู้ซื้อเป็นนายตรวจสุราพิเศษ และไปขอซื้อน้ำสุราถึงบ้านจำเลยนั้น ไม่เป็นเหตุที่จะลบล้างความผิดของจำเลยได้ เพราะปรากฏว่านายชมพูดขอซื้อจากจำเลยอย่างคนธรรมดา undercover operation

  18. ฎีกาที่ 230/2504 มีผู้แจ้งความแก่เจ้าพนักงานว่า จำเลยขายสลากกินรวบโดยไม่รับอนุญาต เจ้าพนักงานจึงพากันไปซุ่มคอยจับโดยจัดให้ตำรวจคนหนึ่งปลอมตัวเป็นราษฎรเข้าไปขอซื้อสลากกินรวบจากจำเลยๆ ก็ขายให้ แล้วเจ้าพนักงานจึงเข้าจับจำเลยพร้อมของกลาง ดังนี้ จำเลยต้องมีความผิดฐานเล่นการพนันเป็นเจ้ามือขายสลากกินรวบ เพราะการที่ตำรวจปลอมตัวไปซื้อสลากกินรวบจากจำเลยเป็นการกระทำเพื่อแสวงหาพยานหลักฐานแห่งการกระทำผิดของจำเลยตามที่มีผู้แจ้งความไว้ undercover operation

  19. ฎีกาที่ 1163/2518 การที่สิบตำรวจโท ว.ขอร่วมประเวณีกับจำเลยเพื่อพิสูจน์คำร้องเรียนว่ามีการค้าประเวณีในสถานที่เกิดเหตุจริงหรือไม่ ตามคำสั่งพนักงานสอบสวน แล้วจำเลยยอมร่วมประเวณีและรับเงินจากสิบตำรวจโท ว.นั้น ไม่เป็นการแสวงหาพยานหลักฐานโดยมิชอบแต่อย่างใด undercover operation

  20. พยานหลักฐานที่เกิดขึ้นโดยชอบ แต่ได้มาเนื่องจากการกระทำโดยมิชอบ • หมายถึง พยานหลักฐานที่โดยตัวของมันเองแล้วดำรงอยู่ หรือเกิดขึ้นโดยมิได้มีผู้ใดไปกระทำการเสริมแต่งให้เกิดขึ้น แต่ในเวลาที่จะนำมาใช้เป็นพยานหลักฐานเพื่อพิสูจน์ความผิดของจำเลยนั้นได้มีการใช้วิธีการที่มิชอบด้วยกฎหมายเพื่อให้ได้มาซึ่งพยานหลักฐานนั้น • เช่น พยานหลักฐานที่เจ้าหน้าที่ได้มาจาการค้นโดยมิชอบด้วยกฎหมายไม่วาจะเป็นการค้นเคหสถาน ที่รโหฐาน หรือค้นตัวบุคคลตาม ป.วิ.อ. มาตรา 93 หรือพยานหลักฐานที่ได้จากการดักฟังทางโทรศัพท์ หรือลักลอบเปิดจดหมาย หรือใช้กำลังบังคับในการตรวจเลือดตรวจปัสสาวะ เป็นต้น

  21. 3.1 พยานหลักฐานที่เจ้าหน้าที่ได้มาจาการค้นโดยมิชอบ • พยานหลักฐานที่เจ้าหน้าที่ได้มาจาการค้นโดยมิชอบด้วยกฎหมายไม่ว่าจะเป็นการค้นเคหสถาน ที่รโหฐาน หรือค้นตัวบุคคลตาม ป.วิ.อ. มาตรา 93 • เป็นพยานหลักฐานห้ามมิให้รับฟัง แต่ก็มีข้อยกเว้นให้รับฟังได้ในบางกรณี ตามมาตรา 226/1 • ก่อนหน้าที่มีการแก้ไข ศาลฎีกาก็ตัดสินว่า รับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ • เพราะเป็นพยานหลักฐานที่เกิดขึ้นโดยชอบอยู่ก่อนแล้ว การค้นโดยไม่ชอบของเจ้าหน้าที่ไม่ได้ทำให้เกิดพยานหลักฐานนั้นขึ้น เป็นแต่เพียงทำให้ได้พยานหลักฐานมาเท่านั้น (ฎ 6475/2547, 1547/2540)

  22. 3.2 การดักฟังทางโทรศัพท์ • ถ้าเป็นการบันทึกโดยคู่สนทนาเอง แม้ว่าคู่สนทนาอีกฝ่ายจะไม่ได้ยินยอมไม่ได้รู้เห็นก็ไม่ถือว่าเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะ พ.ร.บ. การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 มาตรา 74 ให้ถือเป็นความผิดต่อเมื่อดักฟังหรือแอบบันทึกคำสนทนาทางโทรศัพท์ของคนอื่นเท่านั้น ไม่ได้ห้ามบันทึกคำสนทนาของตัวเองกับคู่สนทนา

  23. ถ้าเป็นการบันทึกโดยคำสนทนาทางโทรศัพท์ของผู้อื่น เป็นพยานหลักฐานที่รับฟังได้หรือไม่นั้น • เป็นพยานหลักฐานที่รับฟังไม่ได้ เพราะเป็นพยานหลักฐานที่เกิดขึ้นโดยไม่ชอบ เพราะถึงแม้ว่าเขาสนทนากันโดยสมัครใจอยู่แล้ว แต่ถ้าเขารู้ว่ามีการดักฟังคำสนทนาของเขา เขาก็จะไม่สนทนากันให้เป็นผลร้ายเช่นนั้น การลักลอบดักฟังจึงถือว่ามีส่วนทำให้เกิดการสนทนาขึ้น (จรัญ) • ยกเว้นแต่ การดักฟังทางโทรศัพท์ หากดำเนินการโดยมีเหตุสมควรและมีกฎหมายบัญญัติให้อำนาจไว้เป็นพิเศษ รวมทั้งมีมาตรการตรวจสอบความจำเป็นในการดำเนินการดังกล่าวเพื่อให้ได้มาซึ่งพยานหลักฐานในคดีสำคัญ เช่น การดักฟังทางโทรศัพท์ในคดียาเสพติด เจ้าพนักงานย่อมมีอำนาจกระทำได้

  24. มาตรา ๑๔ จัตวา ในกรณีที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่า เอกสารหรือข้อมูลข่าวสารอื่นใดซึ่งส่งทางไปรษณีย์ โทรเลข โทรศัพท์ โทรสาร คอมพิวเตอร์ เครื่องมือ หรืออุปกรณ์ในการสื่อสารสื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือสื่อทางเทคโนโลยีสารสนเทศใด ถูกใช้หรืออาจถูกใช้เพื่อประโยชน์ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด เจ้าพนักงานซึ่งได้รับอนุมัติจากเลขาธิการเป็นหนังสือ จะยื่นคำขอฝ่ายเดียวต่ออธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาเพื่อมีคำสั่งอนุญาตให้เจ้าพนักงานได้มาซึ่งข้อมูลข่าวสารดังกล่าวได้ การอนุญาตตามวรรคหนึ่ง ให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา พิจารณาถึงผลกระทบต่อสิทธิส่วนบุคคลหรือสิทธิอื่นใดประกอบกับเหตุผลและความจำเป็น ดังต่อไปนี้ (๑) มีเหตุอันควรเชื่อว่ามีการกระทำความผิดหรือจะมีการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด (๒) มีเหตุอันควรเชื่อว่าจะได้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดจากการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารดังกล่าว (๓) ไม่อาจใช้วิธีการอื่นใดที่เหมาะสมหรือมีประสิทธิภาพมากกว่าได้ การอนุญาตตามวรรคหนึ่ง ให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาสั่งอนุญาตได้คราวละไม่เกินเก้าสิบวัน โดยกำหนดเงื่อนไขใด ๆ ก็ได้ และให้ผู้เกี่ยวข้องกับข้อมูลข่าวสารในสิ่งสื่อสารตามคำสั่งดังกล่าวจะต้องให้ความร่วมมือเพื่อให้เป็นไปตามความในมาตรานี้ ภายหลังที่มีคำสั่งอนุญาต หากปรากฏข้อเท็จจริงว่าเหตุผลความจำเป็นไม่เป็นไปตามที่ระบุหรือพฤติการณ์เปลี่ยนแปลงไป อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาอาจเปลี่ยนแปลงคำสั่งอนุญาตได้ตามที่เห็นสมควร เมื่อเจ้าพนักงานได้ดำเนินการตามที่ได้รับอนุญาตแล้ว ให้รายงานการดำเนินการให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาทราบ บรรดาข้อมูลข่าวสารที่ได้มาตามวรรคหนึ่ง ให้เก็บรักษาและใช้ประโยชน์ในการสืบสวนและใช้เป็นพยานหลักฐานในการดำเนินคดีเท่านั้น ทั้งนี้ ตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด

  25. พยานหลักที่ได้มาโดยอาศัยข้อมูลที่เกิดขึ้นหรือได้มาโดยมิชอบพยานหลักที่ได้มาโดยอาศัยข้อมูลที่เกิดขึ้นหรือได้มาโดยมิชอบ • ข้อมูลเกิดขึ้นหรือได้มาโดยมิชอบ แล้วนำข้อมูลที่เกิดขึ้นโดยมิชอบนั้น นำไปให้ได้พยานหลักฐานมา โดยวิธีการที่ชอบด้วยกฎหมาย • เช่น เจ้าหน้าที่ชักจูงให้ผู้กระทำความผิดบอกข้อมูลโดยสัญญาว่าจะไม่ดำเนินคดี เพื่อนำมาไปสู่การดำเนินคดีกับผู้กระทำผิดอีกคนหนึ่ง • หรือ เจ้าหน้าที่ตำรวจทำร้ายผู้ต้องหาจนให้การับสารภาพคำให้การรับสารภาพนั้นเกิดขึ้นโดยไม่ชอบรับฟังเป็นพยานหลักฐานไม่ได้ แต่ในคำให้การรับสารภาพบอกให้รู้เบาะแสว่าได้นำเอาอาวุธที่ใช้ในการกระทำความผิดหรือทรัพย์สินที่ได้มาจากการกระทำความผิดไปซ่อนไว้ที่ไหน เก็บไว้กับใคร พนักงานสอบสวนก็ตามไปยึดอาวุธที่ใช้ในการกระทำความผิดและทรัพย์สินที่ได้ไปจากการกระทำความผิดมาโดยมีหมายค้นถูกต้อง

  26. กฎหมายห้ามศาลมิให้รับฟังพยานหลักฐานที่ได้มาโดยอาศัยข้อมูลที่เกิดขึ้นโดยมิชอบ ยกเว้นแต่การรับฟังพยานหลักฐานนั้นจะเป็นประโยชน์ต่อการอำนวยความยุติธรรม มากกว่าผลเสียอันเกิดจากผลกระทบต่อมาตรฐานของระบบงานยุติธรรมทางอาญาหรือ สิทธิเสรีภาพพื้นฐานของประชาชน ตามมาตรา 226/1

  27. มาตรา 226/1ใน กรณีที่ความปรากฏแก่ศาลว่า พยานหลักฐานใดเป็นพยานหลักฐานที่เกิดขึ้นโดยชอบแต่ได้มาเนื่องจากการกระทำ โดยมิชอบ หรือเป็นพยานหลักฐานที่ได้มาโดยอาศัยข้อมูลที่เกิดขึ้นหรือได้มาโดยมิชอบ ห้ามมิให้ศาลรับฟังพยานหลักฐานนั้น เว้นแต่การรับฟังพยานหลักฐานนั้นจะเป็นประโยชน์ต่อการอำนวยความยุติธรรม มากกว่าผลเสียอันเกิดจากผลกระทบต่อมาตรฐานของระบบงานยุติธรรมทางอาญาหรือ สิทธิเสรีภาพพื้นฐานของประชาชน ในการใช้ดุลพินิจรับฟังพยานหลักฐานตามวรรคหนึ่ง ให้ศาลพิจารณาถึงพฤติการณ์ทั้งปวงแห่งคดี โดยต้องคำนึงถึงปัจจัยต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ด้วย (1) คุณค่าในเชิงพิสูจน์ ความสำคัญ และความน่าเชื่อถือของพยานหลักฐานนั้น (2) พฤติการณ์และความร้ายแรงของความผิดในคดี (3) ลักษณะและความเสียหายที่เกิดจากการกระทำโดยมิชอบ (4) ผู้ที่กระทำการโดยมิชอบอันเป็นเหตุให้ได้พยานหลักฐานมานั้นได้รับการลงโทษหรือไม่เพียงใด

  28. คำรับสารภาพของผู้ถูกจับที่ให้ไว้ต่อเจ้าพนักงานผู้จับหรือรับมอบตัวผู้ถูกจับคำรับสารภาพของผู้ถูกจับที่ให้ไว้ต่อเจ้าพนักงานผู้จับหรือรับมอบตัวผู้ถูกจับ • ป.วิ.อ. ม.84 ว.4 “ถ้อยคำใดๆที่ผู้ถูกจับกุมให้ไว้ต่อเจ้าพนักงานผู้จับ หรือพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจในชั้นจับกุมหรือรับมอบตัวผู้ถูกจับ ถ้าถ้อยคำนั้นเป็นคำรับสารภาพของผู้ถูกจับว่าตนได้กระทำความผิด ห้ามมิให้รับฟังเป็นพยานหลักฐาน แต่ถ้าเป็นถ้อยคำอื่น จะรับฟังเป็นพยานหลักฐานในการพิสูจน์ความผิดของผู้ถูกจับได้ต่อเมื่อได้มีการแจ้งสิทธิตามวรรคหนึ่ง หรือตามมาตรา 83 วรรคสอง แก่ผู้ถูกจับกุมแล้วแต่กรณี”

  29. คำรับสารภาพของผู้ถูกจับไม่อาจรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้คำรับสารภาพของผู้ถูกจับไม่อาจรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ บทห้ามนี้ใช้กับคำรับสารภาพ ของผู้ถูกจับ คำรับสารภาพ : รับว่ากระทำ และรับว่าผิด ถ้าหากเป็นถ้อยที่ไม่ใช้คำรับสารภาพ เช่น คำให้การภาคเสธรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้แต่ต้องมีการแจ้งสิทธิให้บุคคลผู้ถูกจับทราบก่อนตาม ม.84 ว. 1 หรือ ว. 2 หรือถ้อยคำของบุคคลอื่น ถึงแม้ว่าจะเกิดขึ้นหรือได้มาจากการกระทำโดยมิชอบ ก็ยังสามารถรับฟังได้โดยไม่ต้องมีการแจ้งสิทธิ

  30. ป.วิ.อ. ม.134/4 ว.ท้าย “ถ้อยคำใดๆที่ผู้ต้องหาให้ไว้ต่อพนักงานสอบสวนก่อนมีการแจ้งสิทธิตามวรรคหนึ่ง หรือก่อนที่จะดำเนินการตาม ม.134/1 ม.134/2 ม. 134/3 และ ม.134/4 จะรับฟังเป็นพยานหลักฐานในการพิสูจน์ความผิดของผู้นั้นไม่ได้” ถ้อยคำที่ผู้ต้องหาให้ไว้โดยที่ยังมิได้มีการแจ้งสิทธิ หรือดำเนินการตามกฎหมายกำหนด

  31. 6.1 การแจ้งสิทธิตามมาตรา 134/4 , 134/2 แจ้งเตือน(warning)ให้ผู้ต้องหาทราบก่อนว่า (1)ผู้ต้องหามีสิทธิที่จะไม่ให้การ(right to silence) หากสมัครใจให้การคำให้การนั้นอาจถูกใช้เป็นพยานหลักฐานในการพิจารณาคดีได้ และ (2)ผู้ต้องหามีสิทธิให้ทนายความหรือผู้ซึ่งเขาไว้วางใจเข้าฟังการสอบปากคำเขาได้ ถ้อยคำของผู้ต้องหาก่อนที่จะมีการแจ้งสิทธิ ต้องห้ามมิให้รับฟังเป็นพยานหลักฐาน

  32. การแจ้งสิทธิตามมาตราต่างๆข้างต้น ใช้บังคับเฉพาะการสอบปากคำผู้ต้องหา เท่านั้น • ส่วนการสอบปากคำพยานไม่มีกฎหมายกำหนดให้ต้องมีการแจ้งสิทธิ หรือแม้จะมีการกฎหมายให้ต้องดำเนินการบางประการ เช่น การสอบปากคำผู้เสียหาย หรือพยานที่เป็นเด็กอายุไม่เกิน 18 ปี ตามมาตรา 133 ทวิ ถ้อยคำของพยานสามารถที่จะรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7241/2549) • การสอบปากคำผู้เสียหาย หรือพยานผู้ต้องหาที่เป็นเด็กอายุไม่เกินสิบแปดปี ม.133 ทวิ • ต้องจัดสถานที่สอบคำให้การเด็กให้เหมาะสมแยกต่างหากจากการสอบคำให้การผู้ใหญ่ • ต้องเชิญพนักงานอัยการ นักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์ และบุคคลที่เด็กร้องขอเข้าร่วมในการสอบคำให้การเด็กด้วย • การถามคำให้การเด็ก นักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์ อาจขอให้ถามผ่านตนได้ • ห้ามถามเด็กซ้ำซ้อนหลายครั้งโดยไม่มีเหตุอันสมควร • พนักงานสอบสวนต้องแจ้งให้เด็กทราบถึงสิทธิทั้งสี่ประการข้างต้น และ • ต้องจัดให้มีการบันทึกภาพและเสียงการสอบคำให้การเด็กไว้ด้วย

  33. ถ้อยคำของผู้ต้องหาที่พนักงานสอบสวนได้มาโดยมิได้มีการแจ้งสิทธิรับฟังเป็นพยานหลักฐานในชั้นศาลไม่ได้ตามมาตรา 226 • ยกเว้นแต่ในขณะสอบปากคำพยานหรือผู้เสียหาย พนักงานสอบสวนไม่ทราบว่าเป็นผู้ต้องหา (จึงไม่ได้มีการแจ้งสิทธิเพราะไม่รู้ว่าเป็นกระทำผิด) ต่อมารู้ เช่นนี้ถือว่าพนักงานสอบสวนไม่มีเจตนาหรือพฤติการณ์ที่จะหลีกเลี่ยงกฎหมาย ถือว่าคำให้การในชั้นสอบสวนของผู้ต้องหาที่มิได้มีการแจ้งสิทธินั้นสามารถรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้

  34. คำพิพากษาฎีกาที่ 1160/2506 ในคดีอาญานั้น พยานหลักฐานที่จะฟังลงโทษจำเลยได้จะต้องเป็นพยานหลักฐานของโจทก์ เมื่อจะเอาจำเลยเป็นผู้ต้องหาก็ต้องสอบปากคำเขาในฐานะเป็นผู้ต้องหาตาม ป.วิ.อ. ม.134 (เดิม) จึงจะใช้คำให้การของเขามาเป็นพยานหลักฐานยันเขาในชั้นพิจารณาของศาลได้การที่พนักงานสอบสวนสอบปากคำจำเลยครั้งแรกในฐานะพยานยังไม่ได้มีการแจ้งให้จำเลยรู้ถึงสิทธิต่างๆ เช่น สิทธิว่าคำให้การของจำเลยอาจถูกนำไปใช้ยันเขาในชั้นศาลได้ ดังนั้น ถึงถือว่าเป็นการสอบปากคำที่ไม่ชอบ และคำให้การของจำเลยในฐานะพยานนั้นจึงเป็นพยานหลักฐานที่เกิดขึ้นโดยฝ่าฝืนมาตรา 134 ต้องห้ามมิให้รับฟังเป็นพยานหลักฐานในชั้นศาล ตามมาตรา 226

  35. 6.2 ความผิดตามที่กฎหมายกำหนด พนักงานสอบสวนต้องจัดหาทนายความให้ ตาม ม.134/1 คดีที่มีอัตราโทษประหารชีวิต หรือในคดีที่ผู้ต้องหามีอายุไม่เกินสิบแปดปีในวันที่พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหา ถ้าพนักงานสอบสวนไม่จัดหาทนายให้ศาลวินิจฉัยว่าการสอบสวนไม่เสีย แต่ถ้อยคำต่างๆของผู้ต้องหาที่ได้ให้การไปใช้เป็นพยานหลักฐานไม่ได้

  36. 6.3 การสอบปากคำผู้ต้องหาที่เป็นเด็กอายุไม่เกินสิบแปดปี ตาม ม. 134/2 และ ม.133 ทวิ ต้องจัดสถานที่สอบคำให้การเด็กให้เหมาะสมแยกต่างหากจากการสอบคำให้การผู้ใหญ่ ต้องเชิญพนักงานอัยการ นักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์ และบุคคลที่เด็กร้องขอเข้าร่วมในการสอบคำให้การเด็กด้วย การถามคำให้การเด็ก นักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์ อาจขอให้ถามผ่านตนได้ ห้ามถามเด็กซ้ำซ้อนหลายครั้งโดยไม่มีเหตุอันสมควร พนักงานสอบสวนต้องแจ้งให้เด็กทราบถึงสิทธิทั้งสี่ประการข้างต้น และ ต้องจัดให้มีการบันทึกภาพและเสียงการสอบคำให้การเด็กไว้ด้วย ถ้าพนักงานสอบสวนมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง ก็จะมีผลทำให้ไม่อาจรับฟังถ้อยคำของผู้ต้องหาเด็กนั้นไปพิสูจน์ความผิดของเขา

  37. คำให้การของพยาน และผู้เสียหาย ที่ให้การต่อพนักงานสอบสวน โดยที่พนักงานสอบสวนไม่ได้ดำเนินการตามที่กฎหมายกำหนดจะรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้หรือไม่ • เช่น ม.133 ทวิ ,ม. 133 ตรี,ม. 133 ว. 4 เป็นต้น • ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าแม้พนักงานสอบสวนจะมิได้ปฎิบัติให้ถูกต้อง ก็ไม่ทำให้คำให้การของพยาน และผู้เสียหาย ใช้เป็นพยานหลักฐานไม่ได้ และไม่ทำให้การสอบสวนเป็นการไม่ชอบไปด้วย(เพราะกฎหมายไม่ได้กำหนดผลว่าห้ามมิให้รับฟังเป็นพยานหลักฐานอย่างเช่น ม.134/4 ว.ท้าย) • คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7241/2549

  38. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7241/2549ในคดีที่มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกินสามปีขึ้นไป และเป็นคดีทำร้ายร่างกายเด็กอายุไม่เกินสิบแปดปี กรณีต้องด้วยหลักเกณฑ์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 133 ทวิ ซึ่งกฎหมายกำหนดว่า ในการถามปากคำเด็กไว้ในฐานะผู้เสียหายให้แยกกระทำเป็นส่วนสัดในสถานที่ที่ เหมาะสมสำหรับเด็ก และให้มีนักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์ บุคคลที่เด็กร้องขอและพนักงานอัยการเข้าร่วมในการถามปากคำนั้นด้วย เมื่อปรากฏว่าพนักงานสอบสวนถามปากคำผู้เสียหายซึ่งเป็นเด็กต่อหน้า ร. มารดาผู้เสียหายเท่านั้น โดยไม่ปรากฏว่ามีนักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์และพนักงานอัยการเข้าร่วม ในการถามปากคำนั้นกับมิได้ปรากฏว่าพนักงานสอบสวนได้บันทึกเหตุที่ไม่อาจรอ บุคคลอื่นดังกล่าวไว้ในสำนวนการสอบสวนตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 133 ทวิ วรรคท้ายด้วย การถามปากคำผู้เสียหายซึ่งเป็นเด็กที่พนักงานสอบสวนได้กระทำไปจึงเป็นการไม่ ชอบด้วยกฎหมายดังกล่าวข้างต้น แต่ก็หามีผลถึงขนาดทำให้การสอบสวนเสียไปทั้งหมด และถือเท่ากับไม่มีการสอบสวนในความผิดนั้นมาก่อนอันจะทำให้พนักงานอัยการไม่ มีอำนาจฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 120 ไม่

  39. การสอบสวนซึ่งกระทำโดยผู้ที่ไม่มีอำนาจสอบสวนการสอบสวนซึ่งกระทำโดยผู้ที่ไม่มีอำนาจสอบสวน • การสอบสวนซึ่งกระทำไปโดยเจ้าพนักงานซึ่งไม่มีอำนาจสอบสวน(ม.18,19 และ 20)การกระทำการดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมายส่วนจะมีผลกระทบกับคดีหรือไม่ ขึ้นอยู่ว่าเป็นส่วนใด เช่น ถ้าเป็นการสอบถามปากคำพยาน ก็จะมีผลทำให้พยานปากนั้นจะรับฟังไม่ได้ • แต่ถ้าเป็นการสอบปากคำผู้ต้องหา จะมีผลเท่ากับว่าไม่ได้มีการสอบสวนในความผิดนั้นก่อนโดยชอบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 120 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

  40. การส่งสำนวนการสอบสวนซึ่งกระทำโดยผู้ที่ไม่ใช่พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบการส่งสำนวนการสอบสวนซึ่งกระทำโดยผู้ที่ไม่ใช่พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ • การสรุปสำนวนการสอบสวนหากกระทำโดยเจ้าพนักงานซึ่งไม่ใช่พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบศาลฎีกาวินิจฉัยว่าเท่ากับไม่ได้มีการสอบสวนในความผิดนั้นก่อนโดยชอบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 120 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง • แต่ทั้งนี้อัยการยังมีอำนาจที่จะฟ้องผู้ต้องหาใหม่ได้ภายในอายุความ ดำเนินคดีอาญา ถ้าได้มีการส่งสำนวนโดยพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบอีกครั้ง

  41. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14944/2551คดีนี้จำเลยทั้งสองร่วมกันพรากผู้เสียหายที่เป็นผู้เยาว์ในท้องที่สถานีตำรวจนครบาลบางขุนเทียนแล้วจำเลยทั้งสองได้ร่วมข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายอันมีลักษณะเป็นการโทรมหญิงในท้องที่สถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองสมุทรสาคร กรณีเป็นเรื่องที่จำเลยทั้งสองกระทำความผิดต่อเนื่องกันในท้องที่ต่าง ๆ เกินกว่าท้องที่หนึ่งขึ้นไป จึงเป็นความผิดซึ่งมีหลายกรรมกระทำลงในท้องที่ต่าง ๆ กัน ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 19 (3) และ (4) พนักงานสอบสวนในท้องที่หนึ่งท้องที่ใดที่เกี่ยวข้องมีอำนาจสอบสวนได้ เมื่อผู้เสียหายไปแจ้งความต่อเจ้าพนักงานตำรวจสถานีตำรวจนครบาลบางขุนเทียนว่าจำเลยทั้งสองกระทำความผิด และพาเจ้าพนักงานตำรวจสถานีตำรวจดังกล่าวไปจับจำเลยทั้งสองที่ท้องที่อำเภอเมืองสมุทรสาครในทันทีทันใด แล้วนำจำเลยทั้งสองไปส่งมอบแก่พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลบางขุนเทียนดำเนินคดี เห็นได้ว่า ขณะที่ผู้เสียหายแจ้งความยังจับกุมตัวจำเลยทั้งสองไม่ได้ ท้องที่ที่พบการกระทำความผิดก่อนคือ สถานีตำรวจนครบาลบางขุนเทียน พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลบางขุนเทียนซึ่งเป็นท้องที่ที่พบการกระทำความผิดก่อนอยู่ในเขตอำนาจเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 19 วรรคสอง (ข) ดังนั้นพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลบางขุนเทียนจึงมีอำนาจสรุปสำนวนและทำความเห็นว่าควรสั่งฟ้องหรือไม่ฟ้อง ส่งไปพร้อมสำนวนเพื่อให้พนักงานอัยการพิจารณาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 140 และ 141 ถือได้ว่ามีการสอบสวนความผิดนั้นโดยชอบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 120 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

  42. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1825/2552 ความผิดฐานกรรโชกและฐานแสดงตนเป็นเจ้าพนักงานและกระทำการเป็นเจ้าพนักงานโดยตนเองมิได้เป็นเจ้าพนักงานที่มีอำนาจกระทำการนั้น ที่ผู้เสียหายทั้งสองขอถอนคำร้องทุกข์ ไม่ใช่ความผิดอันยอมความได้ โดยเฉพาะความผิดฐานแสดงตนเป็นเจ้าพนักงานและกระทำการเป็นเจ้าพนักงานโดยตนเองมิได้เป็นเจ้าพนักงานที่มีอำนาจกระทำการนั้น เป็นความผิดซึ่งรัฐเท่านั้นเป็นผู้เสียหาย สิทธิฟ้องคดีของพนักงานอัยการโจทก์จึงไม่ระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) ความผิดซึ่งมีหลายกรรมกระทำลงในท้องที่ต่าง ๆ กัน รวมทั้งในท้องที่สถานีตำรวจนครบาลประเวศและสถานีตำรวจนครบาลหัวหมาก กรุงเทพมหานคร พนักงานสอบสวนในท้องที่หนึ่งท้องที่ใดที่เกี่ยวข้องมีอำนาจสอบสวนได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 19 วรรคหนึ่ง (4) จำเลยถูกจับที่เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบในการสอบสวนกรณีจับผู้ต้องหาได้แล้วเช่นนี้ จึงเป็นที่แน่ชัดว่าคือพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลหัวหมาก ซึ่งเป็นท้องที่ที่จับได้อยู่ในเขตอำนาจตาม ป.วิ.อ. มาตรา 19 วรรคสอง (ก) การที่ น. พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลประเวศได้ทำการสอบสวนคดีนี้หลังจากจับจำเลยได้แล้ว น. คงเป็นพนักงานสอบสวนผู้มีอำนาจสอบสวนเท่านั้น แต่ น. มิได้เป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ ทั้งมิใช่กรณีที่จับผู้ต้องหายังไม่ได้อันจะถือว่าพนักงานสอบสวนซึ่งท้องที่ที่พบการกระทำผิดก่อนอยู่ในเขตอำนาจเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 19 วรรคสอง (ข) ได้ เมื่อ น. มิใช่พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบซึ่งมีอำนาจสรุปสำนวนและทำความเห็นว่าควรสั่งฟ้องหรือสั่งไม่ฟ้องส่งไปพร้อมกับสำนวนเพื่อให้พนักงานอัยการพิจารณาตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.อ. มาตรา 140 แม้จะดำเนินการสอบสวนต่อไปจนเสร็จ ก็ถือไม่ได้ว่าได้มีการสอบสวนในความผิดนั้นก่อนโดยชอบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 120 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

  43. จบ

More Related