1 / 32

คีตกวีเอกของโลก

คีตกวีเอกของโลก. บรรยายโดย ครูสมเกียรติ เวชภูติ ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดนครศรีธรรมราช. บอกประวัติของคีตกวีที่ศึกษาได้. คีตกวีเอกของโลก. ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง. 1. บอกประวัติของคีตกวีที่ศึกษาได้ 2. บอกลักษณะความสำคัญ และ ความสามารถ

Download Presentation

คีตกวีเอกของโลก

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. คีตกวีเอกของโลก บรรยายโดย ครูสมเกียรติ เวชภูติ ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดนครศรีธรรมราช

  2. บอกประวัติของคีตกวีที่ศึกษาได้บอกประวัติของคีตกวีที่ศึกษาได้ คีตกวีเอกของโลก ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง 1. บอกประวัติของคีตกวีที่ศึกษาได้ 2.บอกลักษณะความสำคัญ และความสามารถ ของคีตกวีได้

  3. คีตกวีเอกของโลก • คีตกวี เป็นคำศัพท์ทางดนตรีที่พบได้บ่อยครั้ง หมายถึง ผู้ประพันธ์ดนตรี มักจะใช้เรียกผู้ที่แต่งและเรียบเรียงดนตรีบางประเภท โดยเฉพาะ ดนตรีคลาสสิก • โดยที่ผู้แต่งเพลงมักจะแต่งทั้งท่วงทำนองหลัก และแนวประสานทั้งหมด เพื่อให้นักดนตรีเป็นผู้นำบทเพลงนั้นไปบรรเลงอีกทอดหนึ่ง โดยนักดนตรีจะต้องบรรเลงทุกรายละเอียดที่คีตกวีได้กำหนดไว้อย่างเคร่งครัด

  4. คีตกวีเอกของโลก • คำว่า คีตกวี ในภาษาไทยนี้ นิยมใช้เรียก ผู้ประพันธ์ดนตรีในแนวดนตรีคลาสสิกของตะวันตก โดยแปลมาจากคำว่า composer นั่นเอง อย่างไรก็ดี บางท่านอาจใช้คำว่า ดุริยกวี แต่ก็มีความหมายอย่างเดียวกัน สำหรับผู้ที่แต่งเพลงในแนวดนตรีอื่นๆ มักจะเรียกว่า นักแต่งเพลง หรือ ครูเพลง เท่านั้น

  5. คีตกวีเอกของโลก • คีตกวี อาจไม่จำเป็นต้องประพันธ์ดนตรีลงในแผ่นกระดาษเพียงอย่างเดียว แต่อาจเป็นผู้บรรเลงบทประพันธ์นั้นเป็นครั้งแรก และในภายหลังมีผู้อื่นนำไปใช้บรรเลงตามก็ได้ชื่อว่า คีตกวี เช่นกัน • โดยทั่วไปเราจะรู้จัก คีตกวี ในฐานะที่เป็น นักดนตรี แม้ว่าหลายท่านจะมีผลงานการประพันธ์ดนตรี มากกว่าผลงานการบรรเลงก็ตาม เช่น บีโทเฟน, โมซาร์ท, วากเนอร์ ฯลฯ

  6. โยฮันน์ เซบาสเตียนบาค ลุดวิก ฟาน เบโธเฟ่น โวล์ฟกัง อะมาเดอุส โมซาร์ท เฟรเดริก ฟรองซัวส์โชแปง ริชาร์ด วากเนอร์ ปีเตอร์ ไชคอฟสกี้ โยฮันน์สเตราส์ ฟรานซ์โจเซฟไฮเดิน คีตกวีเอกของโลก งานประกอบบทเรียน กลับหน้าแรก

  7. โยฮันน์ เซบาสเตียนบาค(Johann Sebastian Bach) เป็นคีตกวีและนักออร์แกนชาวเยอรมัน เกิดเมื่อวันที่21มีนาคมพ.ศ. 2228 (ค.ศ. 1685) ในครอบครัวนักดนตรี ที่เมืองไอเซนนาค บาคแต่งเพลงไว้มากมายโดยดั้งเดิมเป็นเพลงสำหรับใช้ในโบสถ์ เช่น "แพชชั่น" บาคถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 28กรกฎาคมพ.ศ. 2293 ที่เมืองไลพ์ซิก คีตกวีเอกของโลกโยฮันน์ เซบาสเตียนบาค(Johann Sebastian Bach) กลับหน้าหลัก

  8. คีตกวีเอกของโลกโยฮันน์ เซบาสเตียนบาค(Johann Sebastian Bach) • บาคเป็นนักประพันธ์ดนตรีสมัยบาโรค เขาสร้างดนตรีของเขาจนกลายเป็นเอกลักษณ์ของยุคสมัย • บาคมีอิทธิพลอย่างสูงและยืนยาวต่อการพัฒนาดนตรีตะวันตก แม้แต่นักประพันธ์เพลงผู้ยิ่งใหญ่เช่น โมซาร์ท และ เบโธเฟน ยังยอมรับบาคในฐานะปรมาจารย์

  9. คีตกวีเอกของโลกโยฮันน์ เซบาสเตียนบาค(Johann Sebastian Bach) • งานของบาคโดดเด่นในทุกแง่ทุกมุม ด้วยความพิถีพิถันของบทเพลงที่เต็มไปด้วย ท่วงทำนองเสียงประสาน หรือ เทคนิคการสอดประสานกันของท่วงทำนองต่าง ๆ รูปแบบที่สมบูรณ์แบบ เทคนิคที่ฝึกฝนมาเป็นอย่างดี • การศึกษาค้นคว้า แรงบันดาลใจอันเต็มเปี่ยม รวมทั้งปริมาณของบทเพลงที่แต่ง ทำให้งานของบาคหลุดจากวงจรทั่วไปของงานสร้างสรรค์ที่ปกติแล้วจะเริ่มต้น เจริญเติบโตถึงขีดสุด แล้วเสื่อมสลาย นั่นคือไม่ว่าจะเป็นเพลงที่บาคได้ประพันธ์ไว้ตั้งแต่วัยเยาว์ หรือเพลงที่ประพันธ์ในช่วงหลังของชีวิตนั้นจะมีคุณภาพทัดเทียมกัน

  10. ลุดวิก ฟาน เบโทเฟน(Ludwig van Beethoven) 16 ธันวาคมค.ศ.1770 -26มีนาคมค.ศ. 1827) เป็นคีตกวีและนักเปียโนชาวเยอรมัน เกิดที่เมืองบอนน์ประเทศเยอรมนี คีตกวีเอกของโลกลุดวิก ฟาน เบโทเฟน(Ludwig van Beethoven) กลับหน้าหลัก

  11. คีตกวีเอกของโลกลุดวิก ฟาน เบโทเฟน(Ludwig van Beethoven) • เบโทเฟนเป็นตัวอย่างของศิลปินยุคโรแมนติก และไม่เป็นที่เข้าใจของบุคคลในยุคเดียวกันกับเขา ในวันนี้ เขาได้กลายเป็นคีตกวีที่มีคนชื่นชมยกย่องและฟังเพลงของเขากันอย่างกว้างขวางมากที่สุดคนหนึ่ง • ตลอดชีวิตของเขามีอุปสรรคนานัปการที่ต้องฝ่าฟัน ทำให้เกิดความเครียดสะสมในใจเขา ในรูปภาพต่างๆ ที่เป็นรูปเบโธเฟน สีหน้าของเขาหลายภาพแสดงออกถึงความเครียด แต่ด้วยจิตใจที่แข็งแกร่งของเขา ก็สามารถเอาชนะอุปสรรคต่างๆในชีวิตของเขาได้

  12. คีตกวีเอกของโลกลุดวิก ฟาน เบโทเฟน(Ludwig van Beethoven) • เบโทเฟนได้กลายเป็นแบบอย่างของพวกเขาเหล่านั้นด้วยความเป็นอัจฉริยะที่ไม่มีใครเทียมทาน • ซิมโฟนีของเขา (โดยเฉพาะอย่างยิ่งซิมโฟนีหมายเลข 5ซิมโฟนีหมายเลข6ซิมโฟนีหมายเลข 7 และ ซิมโฟนีหมายเลข 9) และคอนแชร์โตสำหรับเปียโนที่เขาประพันธ์ขึ้น • โดยเฉพาะอย่างยิ่งคอนแชร์โตหมายเลข 4 และ 5 เป็นผลงานที่ได้รับความนิยมมากที่สุด แต่ก็มิได้รวมเอาความเป็น อัจฉริยะทั้งหมดของคีตกวีไว้ในนั้น

  13. วอล์ฟกัง อมาเดอุส โมซาร์ท(Wolfgang Amadeus Mozart) 27 มกราคมพ.ศ. 2299 - 5 ธันวาคมพ.ศ. 2334(ค.ศ. 1756 - 1791) เป็นนักประพันธ์ดนตรีคลาสสิก ชาวออสเตรียที่มีชื่อเสียงก้องโลก เกิดที่เมืองซัลสบูร์ก เขามีงานประพันธ์เพลง 700ชิ้นรวมทั้งโอเปร่า (ดนตรีซึ่งมีเนื้อเรื่อง) คีตกวีเอกของโลกโวล์ฟกัง อะมาเดอุส โมซาร์ท(WolfgangAmadeusMozart) กลับหน้าหลัก

  14. คีตกวีเอกของโลกโวล์ฟกัง อะมาเดอุส โมซาร์ท(WolfgangAmadeusMozart) • โมซาร์ทเป็นบุตรของนักประพันธ์เพลงชาวเยอรมันเลโอโปลด์ โมซาร์ท (ค.ศ. 1719 -ค.ศ. 1787) รองประธานโบสถ์ในความอุปถ้มภ์ของเจ้าชายอาร์คบิชอปแห่งซัลสบูร์ก(Salzbourg) กับแอนนา มาเรียเพิร์ต(Anna Maria Pert) (ค.ศ. 1720 -ค.ศ. 1778) • วอล์ฟกัง อมาเด (โมซาร์ทมักจะเรียกตนเองว่า "Wolfgang Amadè Mozart" ไม่เคยถูกเรียกว่า อมาเดอุส ตลอดช่วงเวลาที่เขายังมีชีวิตอยู่ ไม่แม้กระทั่งในรายการบันทึกของพิธีศีลจุ่ม โดยได้รับชื่อละตินว่า "JoannesChrysostomusWolfgangusTheophilus Mozart" )

  15. คีตกวีเอกของโลกโวล์ฟกัง อะมาเดอุส โมซาร์ท(WolfgangAmadeusMozart) • Mozart ได้แสดงได้เห็นอัจฉริยภาพทางดนตรี ก่อนวัยอันควร • ตั้งแต่อายุสามขวบ เขามีหูที่ยอดเยี่ยม และความจำที่แม่นยำ ความสามารถพิเศษยิ่งยวด ทำให้เป็นที่น่าฉงนแก่ผู้คนรอบข้าง และเป็นแรงกระตุ้นให้บิดาของเขา ให้สอนฮาร์ปซิคอร์ดแก่เขา • ตั้งแต่อายุห้าขวบ โมซาร์ทน้อยเรียนไวโอลินและออร์แกน เป็นเครื่องดนตรีชิ้นต่อมา ตามด้วยวิชาเรียบเรียงเสียงประสาน • เขารู้จักการแกะโน้ตจากบทเพลงที่ได้ยิน และเล่นทวนได้อย่างถูกต้อง ตั้งแต่วัยยังไม่รู้จักอ่านเขียนและนับเลข • เมื่ออายุหกขวบ (ค.ศ. 1762) เขาก็แต่งเพลงชิ้นแรกได้แล้ว (เมนูเอ็ตKV.2, 4 และ 5และ อัลเลโกรKV.3)

  16. เฟรเดริก ฟรองซัวส์โชแปง เป็นคีตกวีชาวโปแลนด์ เกิดเมื่อวันที่ 1 มีนาคมพ.ศ. 2353 (ค.ศ. 1810) เสียชีวิตเมื่อวันที่ 17 ตุลาคมพ.ศ. 2392 (ค.ศ. 1849) จากวัณโรคที่ส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจ ชื่อที่บิดามารดาของเขาตั้งให้คือ FryderykFranciszekChopin ต่อมาได้หันมาใช้ชื่อแบบฝรั่งเศสเมื่อเขาได้ตัดสินใจจากประเทศบ้านเกิดเป็นการถาวรเพื่อมุ่งหน้าสู่กรุง ปารีสประเทศฝรั่งเศส คีตกวีเอกของโลกเฟรเดริก ฟรองซัวส์โชแปง(FryderykFranciszek Chopin) กลับหน้าหลัก

  17. คีตกวีเอกของโลกเฟรเดริก ฟรองซัวส์โชแปง(FryderykFranciszek Chopin) • โชแปงเกิดเมื่อวันที่ 1 มีนาคมพ.ศ. 2353 (ตามบันทึกของสังฆมณฑลบอกว่าเป็นวันที่ 22กุมภาพันธ์) • เกิดที่เมือง เซลาโซวา โวลาซึ่งตั้งอยู่ตอนกลางของประเทศโปแลนด์ • บิดาของโชแปงเป็นชาวฝรั่งเศสโดยกำเนิด พื้นเพมาจากเมืองมารังวิลล์-ซูร์-มาดง (Marainville-sur-Madon) ในแคว้นลอแรนน์ • มารดาเป็นชาวโปแลนด์

  18. คีตกวีเอกของโลกเฟรเดริก ฟรองซัวส์โชแปง(FryderykFranciszek Chopin) • โชแปงเริ่มเรียนดนตรีตั้งแต่อายุหกขวบ (พ.ศ. 2359) และแต่งเพลงแรกเมื่ออายุเพียงเจ็ดขวบ (พ.ศ. 2360) • เปิดการแสดงต่อสาธารณะชนครั้งแรกเมื่ออายุแปดขวบ (ค.ศ. 1818) • ครูสอนดนตรีคนแรกของโชแปงได้แก่ โวซีเอคซีนี(WojciechŻywny) • หลังจากปี พ.ศ.2369 (ค.ศ. 1826) เขาได้เข้ารับการศึกษาที่โรงเรียนดนตรี แห่งกรุงวอซอ ซึ่งเขาได้รับการถ่ายทอดวิชาดนตรีจาก โจเซฟเอลส์เนอร์(Joseph Elsner) เป็นหลัก

  19. วิลเฮล์ม ริชาร์ด วากเนอร์ เกิดวันที่ 22 พฤษภาคม ค.ศ.1813 ที่เมืองไลพ์ซิก ประเทศเยอรมนี เป็นบุตรคนที่ 9 ของคาร์ล ฟริดริค วิลเฮล์ม วากเนอร์ และจันนา บิดามีอาชีพเป็นเสมียนที่ศาลโปลิศของท้องถิ่น และได้ถึงแก่กรรมหลังจากที่วากเนอร์เกิดได้เพียง 6เดือน เมื่อบิดาเสียชีวิต มารดาก็ได้อพยพครอบครัวจากไลพ์ซิกไปอยู่ที่เมืองเดรสเดน เมื่อปีค.ศ. 1814 มารดาของเขาได้แต่งงานใหม่กับลุดวิก เกเยอร์ คีตกวีเอกของโลกวิลเฮล์ม ริชาร์ด วากเนอร์(Wilhelm RICHARD WAGNER) กลับหน้าหลัก

  20. คีตกวีเอกของโลกวิลเฮล์ม ริชาร์ด วากเนอร์(Wilhelm RICHARD WAGNER) • ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1814 เมืองเดรสเดน วากเนอร์ได้คลุกคลีอยู่กับวงการละครมาตั้งแต่เด็กๆ เพราะได้ติดตามพ่อเลี้ยงไปชมการแสดงละคร จึงทำให้เขาชอบละครและอยากเป็นนักแต่งบทละครในช่วงแรกๆ • เขาได้เข้าโรงเรียนครั้งแรกที่เดรสเดน • ต่อมาค.ศ. 1821 พ่อเลี้ยงได้ถึงแก่กรรม เมื่อวันที่ 30กันยายน น้องชายของเกเยอร์จึงได้เป็นผู้อุปถัมภ์วากเนอร์ให้ศึกษาต่อ • ในปีค.ศ. 1822 วากเนอร์ได้เข้าโรงเรียนที่โรงเรียน Kreuzschule ที่เมืองเดรสเดนอีกครั้ง • ปีต่อมาเขาได้เริ่มศึกษาบทละครของกรีก และเริ่มเรียนเปียโน กับ Human

  21. คีตกวีเอกของโลกวิลเฮล์ม ริชาร์ด วากเนอร์(Wilhelm RICHARD WAGNER) • วากเนอร์เริ่มสนใจอย่างจริงจังกับการแต่งเพลง หลังจากได้ยินเสียงเพลงซิมโพนีของบีโธเฟนครั้งแรก • หลังจากนั้นเขาได้ศึกษาเรื่องการแต่งเพลงและการประสานเสียง โดยอาศัยตำราที่ยืมมาจากห้องสมุด Wieck’s library แห่งท้องถิ่น • เริ่มเรียนการเล่นไวโอลินและศึกษาทางด้านทฤษฏีไปด้วย • เขาใช้เวลาศึกษาสิ่งเหล่านี้อย่างคร่ำเคร่ง • ปีค.ศ. 1829 วากเนอร์ได้ฟังเพลงของบีเฟนอีกครั้งที่ไลพ์ซิก มีเพลงFidelioอันมีชื่อเสียงของบีโธเฟน จึงเป็นแรงบันดาลใจให้เขาแต่งเพลง Overture in B-flat Majorขึ้น • และในปี ค.ศ. 1830 ได้นำออกมาแสดง

  22. ปีเตอร์ ไชคอฟสกี เป็นคีตกวีชาวรัสเซีย เกิดเมื่อวันที่ 7พฤษภาคมพ.ศ. 2383 (ค.ศ. 1840) ที่เมือง โวทคินสกี้ เสียชีวิตเมื่อวันที่ 6พฤศจิกายนพ.ศ. 2436 (ค.ศ. 1893) ที่ เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก คีตกวีเอกของโลกปีเตอร์ ไชคอฟสกี (Piotr(หรือPetr) IlitchTchaïkovski) กลับหน้าหลัก

  23. คีตกวีเอกของโลกปีเตอร์ ไชคอฟสกี (Piotr(หรือPetr) IlitchTchaïkovski) • ไชคอฟสกีเกิดในครอบครัวผู้มีอันจะกิน แต่ชีวิตของเขาเต็มไปด้วยความขัดแย้งระหว่างความหรูหราและการอดมื้อกินมื้อ • เขาได้รับการศึกษาจากวิทยาลัยดนตรีแห่งนครเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก จากนั้นก็ถูกเรียกตัวให้ไปเป็นครูสอนวิชาเรียบเรียงเสียงประสานให้แก่น้องชายของรูเบนสไตน์ที่กรุงมอสโก • ที่มอสโกนี่เองที่เขาได้ประพันธ์ผลงานชิ้นสำคัญหลายชิ้น เป็นต้นว่าซิมโฟนี หมายเลขหนึ่ง หรือชื่อ ความฝันในเหมันตฤดู • เขาได้สมรสในปี พ.ศ.2420 (ค.ศ. 1877)

  24. คีตกวีเอกของโลกปีเตอร์ ไชคอฟสกี (Piotr(หรือPetr) IlitchTchaïkovski) • ในปี พ.ศ. 2423 (ค.ศ. 1800) เมื่อเขาได้ออกเดินทางไปทั่วทวีปยุโรปประเทศอิตาลีได้สร้างแรงบันดาลใจให้เขาประพันธ์ผลงานหลายชิ้น รวมทั้งบทเพลงชื่อ ชาวอิตาเลี่ยนผู้เอาแต่ใจตนเอง(capriccio italien) • เขาประสบความสำเร็จหลายครั้งและได้พบปะกับคีตกวีเลื่องชื่อร่วมสมัย เป็นต้นว่า โยฮันเนสบราห์มแอนโทนิน โวรัก ฯลฯ • เขาเดินทางไปถึงสหรัฐอเมริกาเพื่อเปิดการแสดง ปีเตอร์ ไชคอฟสกีเสียชีวิตในปีพ.ศ. 2436 (ค.ศ. 1893) ด้วยโรคอหิวาตกโรค • เพลงของเขาเป็นสะพานเชื่อมระหว่างดนตรีตะวันตกกับดนตรีรัสเซีย ด้วยการนำเสนอแบบร่วมสมัย

  25. โยฮันน์สเตราส์Johann Strauß เกิดเมื่อวันที่14 มีนาคมพ.ศ. 2347 เสียชีวิตเมื่อวันที่25 กันยายนพ.ศ. 2392) เป็นคีตกวีชาวออสเตรีย ผลงานที่ทำให้เขาเป็นที่รู้จักได้แก่เพลงวอลซ์ บทเพลงของเขาที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดเห็นจะได้แก่ ราเด็ตสกี้มาร์ช เพลงวอลซ์ที่เลื่องชื่อที่สุดของเขาได้แก่ LoreleiRhineKlänge โอปุส154 คีตกวีเอกของโลกโยฮันน์สเตราส์ (JohannStrauß) กลับหน้าหลัก

  26. คีตกวีเอกของโลกโยฮันน์สเตราส์ (JohannStrauß) • บิดาของเขาชื่อฟร้านซ์บอร์เกียส ก็ได้เสียชีวิตอีกคนจากการจมน้ำ • แม่บุญธรรมของเขาได้จัดการให้เขาได้ไปฝึกหัดงานเย็บเล่มหนังสือกับโยฮันน์ลิชต์ไชเดิ้ล แต่เขากลับหาเวลาว่างไปหัดไวโอลินกับวิโอล่า • และสามารถหางานในวงออเคสตร้าท้องถิ่นของคนชื่อไมเคิลพาร์เมอร์ • จากนั้นเขาก็ออกจากวงเพื่อไปร่วมวงสตริงควอร์เต็ตที่เป็นที่นิยม ชื่อว่าวง แลนเนอร์ควอร์เต็ต • วงสตริงควอร์เต็ตนี้เล่นเพลงวอลซ์แบบเวียนนา และเพลงคันทรี่แดนซ์(Kontretanz)แบบเยอรมัน และได้ขยับขยายไปเป็นวงเครื่องสายในปี พ.ศ. 2367

  27. คีตกวีเอกของโลกโยฮันน์สเตราส์ (JohannStrauß) • ต่อมาเขาได้เลื่อนขั้นเป็นผู้แทนวาทยากรในวงดุริยางค์ที่เขาเล่นอยู่ • ในปี พ.ศ. 2368ก็ได้จัดตั้งวงดนตรีของตนเองขึ้นและเริ่มประพันธ์เพลงสำหรับเล่นเองในวง • เขาได้กลายเป็นนักประพันธ์เพลงเต้นรำที่มีชื่อเสียงมากที่สุดและเป็นที่รักของผู้ฟังมากที่สุดคนหนึ่งในเวียนนา และได้นำวงของเขาออกเดินสายเปิดการแสดงในเยอรมนีเนเธอร์แลนด์เบลเยี่ยมอังกฤษ และ สก็อตแลนด์ • ในขณะเดินทางต่อไปยังประเทศฝรั่งเศส เขาได้ยินเพลงควอดริลและเริ่มแต่งขึ้นมาเองบ้าง และเป็นผู้ที่ทำให้เพลงประเภทนี้เป็นที่รู้จักในออสเตรีย

  28. ฟรานซ์โจเซฟไฮเดิน(Franz Joseph Haydn) เป็นคีตกวีชาวออสเตรียในยุคคลาสสิค เกิดเมื่อวันที่ 31 มีนาคมค.ศ. 1732 เสียชีวิตเมื่อวันที่ 31พฤษภาคมค.ศ. 1809 เนื่องจากเป็นคีตกวีในความดูแลของราชสำนัก จึงได้ประพันธ์บทเพลงไว้เป็นจำนวนมาก ได้ชื่อว่าเป็น บิดาแห่งซิมโฟนี และ บิดาแห่งสตริงควอเต็ต คีตกวีเอกของโลกฟรานซ์โจเซฟไฮเดิน (FranzJosephHaydn) กลับหน้าหลัก

  29. คีตกวีเอกของโลกฟรานซ์โจเซฟไฮเดิน (FranzJosephHaydn) • เมื่อไฮเดินอายุได้ 6 ขวบ โยฮันน์มัธเธียสแฟร้งค์(Johann Mathias Frank) นักดนตรีผู้ยิ่งใหญ่และเป็นครูสอนดนตรีที่มีชื่อเสียงคนหนึ่งแห่งเมืองไฮน์เบอร์ก (Hainburg) ซึ่งเป็นญาติห่างๆกับบิดาของไฮเดิน เดินทางมาทำธุระที่โรห์โร และแวะมาเยี่ยมครอบครัวไฮเดิน เมื่อเขาได้ยินเด็กน้อยไฮเดินร้องเพลง ก็เกิดความสนใจ จนต้องเอ่ยปากกับบิดาของไฮเดินว่า หากเด็กน้อยคนนี้ได้รับการฝึกฝนอย่างถูกทางแล้วจะเป็นผู้มีชื่อเสียงทีเดียว • แฟรงค์ได้เจรจาหว่านล้อมบิดาของไฮเดิน เพื่อขอรับเด็กน้อยไปอยู่ใน ความอุปการะของเขา โดยสัญญาว่าจะให้การศึกษา และเลี้ยงดูเป็นอย่างดี

  30. คีตกวีเอกของโลกฟรานซ์โจเซฟไฮเดิน (FranzJosephHaydn) • เมื่อครั้งที่ไฮเดินเป็นนักร้องประสานเสียงอยู่นั้น เขาไม่เคยได้เรียนรู้ทฤษฎีดนตรีและการประพันธ์เพลงเลยและกลายเป็นช่องว่างในการเข้าถึงศาสตร์นี้อย่างมาก ดังนั้น เพื่อความเข้าใจในศาสตร์นี้ เขาจึงเริ่มศึกษาหลักการแต่งเพลงจากหนังสือ GradusadParnassum ของโยฮันน์โจเซฟฟักซ์ และศึกษาผลงานของคาร์ล ฟิลิปเอ็มมานูเอลบาชอย่างละเอียดถี่ถ้วน ซึ่งต่อมาเขาได้ถือว่าเป็นแนวทางสำคัญของการแต่งเพลงของเขาเลยทีเดียว • งานหลักๆของไฮเดิน คือเป็นผู้กำกับดนตรี • เขาเป็นคนคุมวงออเคสตราเล็กๆวงหนึ่งและที่นี่เองที่เขาได้ประพันธ์ซิมโฟนีบทแรก ในกุญแจเสียง D majorเพื่อใช้ในการบรรเลงของวงนี้ ในขณะที่เขามีอายุได้ 27 ปีพอดี อันถือว่าเป็นผลงานซิมโฟนีชิ้นแรกของโลก • เขาจึงได้รับการยกย่องว่าเป็น"บิดาแห่งซิมโฟนี" (ก่อนหน้านี้ คำว่า ซิมโฟนี ไม่เคยปรากฏในโลกของดนตรีเลย)

  31. จบ คีตกวีเอกของโลก บรรยายโดย ครูสมเกียรติ เวชภูติ ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดนครศรีธรรมราช กลับหน้าแรก กลับหน้าหลัก งานประกอบบทเรียน

  32. คีตกวีเอกของโลกงานเก็บคะแนนประกอบบทเรียนคีตกวีเอกของโลกงานเก็บคะแนนประกอบบทเรียน • 1. ให้นักเรียนออกแบบข้อสอบ จำนวน 30 ข้อ(ถาม-ตอบ) จากนักดนตรีที่เรียนทั้งหมด 8 ท่าน (งานเดี่ยว) • 2. ให้นักเรียนทำ PowerPointประกอบบทเรียน โดยแบ่งนักเรียนออกเป็น 8 กลุ่ม ให้แต่ละกลุ่มทำ PowerPointเกี่ยวกับประวัตินักดนตรีเอกกลุ่มละ 1 ท่าน เพื่อออกรายงานหน้าชั้นเรียน ( พร้องส่งCD) กลับหน้าแรก กลับหน้าหลัก

More Related