1.3k likes | 1.64k Views
หน้าที่และความรับผิดของผู้ให้เช่า. 1. ผู้ให้เช่ามีหน้าที่ต้องส่งมอบทรัพย์สินที่ให้เช่าให้แก่ผู้เช่า 1.1 การส่งมอบมาตรา 549 ให้บังคับด้วยบทบัญญัติทั้งหลายแห่งประมวลกฎหมายนี้ ว่าด้วยการซื้อขายอนุโลม วิธีการส่งมอบ สถานที่ในการส่งมอบ จำนวน ชนิด ประเภท.
E N D
หน้าที่และความรับผิดของผู้ให้เช่าหน้าที่และความรับผิดของผู้ให้เช่า • 1. ผู้ให้เช่ามีหน้าที่ต้องส่งมอบทรัพย์สินที่ให้เช่าให้แก่ผู้เช่า • 1.1 การส่งมอบมาตรา 549 ให้บังคับด้วยบทบัญญัติทั้งหลายแห่งประมวลกฎหมายนี้ ว่าด้วยการซื้อขายอนุโลม • วิธีการส่งมอบ • สถานที่ในการส่งมอบ • จำนวน • ชนิด ประเภท 177227 Faculty of Law
1.2 ผู้ให้เช่าต้องส่งมอบทรัพย์สินที่ให้เช่าในสภาพอันซ่อมแซมดีแล้ว • ผู้ให้เช่าส่งมอบทรัพย์ในสภาพอันซ่อมแซมไม่ดี หรือชำรุดบกพร่อง กฎหมายบัญญัติว่าผู้ให้เช่าต้องรับผิดต่อผู้เช่า ตามมาตรา 472 177227 Faculty of Law
แต่ผู้ให้เช่าไม่ต้องรับผิดต่อผู้เช่าเพราะเหตุ ทรัพย์สินที่ส่งมอบชำรุดบกพร่อง ในกรณีดังต่อไปนี้ • -ผู้เช่าได้รู้อยู่แล้วแต่ในเวลาทำสัญญาเช่าว่าทรัพย์สินที่เช่ามีความชำรุดบกพร่อง หรือควรจะได้รู้เช่นนั้นหากได้ใช้ความระมัดระวังอันจะพึงคาดหมายได้ • -ถ้าความชำรุดบกพร่องนั้นเป็นอันเห็นประจักษ์แล้วในเวลาส่งมอบ และผู้เช่ารับเอาทรัพย์สินนั้นไว้โดยมิได้อิดเอื้อน 177227 Faculty of Law
1.3 ผู้ให้เช่าต้องส่งมอบทรัพย์สินซึ่งเช่าในสภาพอันเหมาะแก่การที่ผู้เช่าจะใช้ประโยชน์ตามสัญญาเช่าตามมาตรา 548 มาตรา 548 “ถ้าผู้ให้เช่าส่งมอบทรัพย์สินซึ่งเช่านั้นโดยสภาพไม่เหมาะแก่การที่จะใช้เพื่อประโยชน์ที่เช่ามา ผู้เช่าจะบอกเลิกสัญญาเสียก็ได้” 177227 Faculty of Law
การส่งมอบกรณีนี้เป็นกรณีที่ลักษณะของทรัพย์ที่ส่งมอบไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการทำสัญญาเช่า มิใช่เกิดจากสภาพของทรัพย์สินที่เช่าว่ามีความชำรุดบกพร่อง • ผู้เช่ามีสิทธิดังต่อไปนี้ • ผู้เช่าจะเรียกให้ผู้ให้เช่าส่งมอบทรัพย์ให้ถูกต้องก็ได้ตามมาตรา 213 • ผู้เช่าจะบอกเลิกสัญญากับผู้ให้เช่าก็ได้ตามมาตรา 387 ถึง 388 และเรียกค่าเสียหายตามมาตรา 391 วรรคท้าย 177227 Faculty of Law
2. ผู้ให้เช่ามีหน้าที่ต้องจัดการซ่อมแซมทรัพย์สินที่เช่าหากมีความชำรุดบกพร่องเกิดขึ้นในระหว่างเวลาเช่า • ความชำรุดบกพร่องซึ่งผู้ให้เช่า มีหน้าที่ต้องซ่อมแซมได้แก่ ความชำรุดบกพร่องอย่างมาก หรือจารีตประเพณีที่ผู้ให้เช่าพึงต้องทำเอง • ความชำรุดบกพร่องซึ่งตามกฎหมาย(ซ่อมแซมเล็กน้อย) หรือจารีตประเพณีที่ผู้เช่าต้องทำเอง เป็นหน้าที่ของผู้เช่า (ม.553) 177227 Faculty of Law
สิทธิของผู้เช่าเมื่อทรัพย์สินที่เช่าชำรุดบกพร่อง อันเป็นหน้าที่ของผู้ให้เช่าจะต้องรับผิดชอบ • เรียกให้ผู้ให้เช่าจัดการซ่อมแซม ตาม ม.213 • ซ่อมแซมเอง แล้วเรียกค่าใช้จ่ายจากผู้ให้เช่า ตาม ม.547 177227 Faculty of Law
บอกเลิกสัญญากับผู้ให้เช่า แต่ต้องอยู่ภายใต้มาตรา 551 • ก. ถ้าความชำรุดบกพร่องนั้นเป็นเหตุให้ผู้เช่าปราศจากการใช้ และประโยชน์ ผู้เช่าบอกเลิกสัญญาได้โดยทันที โดยไม่ต้องบอกกล่าวแก่ผู้ให้เช่าก่อน 177227 Faculty of Law
ข. ถ้าความชำรุดบกพร่องนั้นไม่เป็นเหตุให้ผู้เช่าปราศจากการใช้ และประโยชน์ และผู้ให้เช่ายังแก้ไขได้ • -ผู้เช่าต้องบอกกล่าวให้ผู้ให้เช่าจัดการซ่อมแซมก่อน ถ้าผู้ให้เช่าไม่จัดการซ่อมแซม ผู้เช่าจึงจะบอกเลิกสัญญาได้ 177227 Faculty of Law
หมายเหตุ ถ้าทรัพย์สินที่เช่าชำรุดบกพร่องเพราะความผิดอันเกิดจากตัวผู้เช่าเองแล้ว ผู้เช่าจะบอกเลิกสัญญาเช่ากับผู้ให้เช่าไม่ได้ 177227 Faculty of Law
3. ผู้ให้เช่ามีหน้าที่ต้องชดใช้ค่าใช้จ่ายให้แก่ผู้เช่า ในกรณีที่ผู้เช่าได้ใช้จ่ายไปโดยความจำเป็น และสมควรเพื่อรักษาทรัพย์สินที่เช่านั้นตามมาตรา 547 177227 Faculty of Law
4. ผู้ให้เช่าต้องรับผิดต่อผู้เช่าหากผู้เช่าถูกรอนสิทธิตามมาตรา 549 ประกอบกับมาตรา 475 ตัวอย่างเช่น นาย ก. เช่ารถเกี่ยวข้าวจากนาย ข. มีกำหนดเวลา 3 เดือนระหว่างที่สัญญาเช่ายังไม่สิ้นสุดลง นาย ค. อ้างว่าตนเป็นเจ้าของรถเกี่ยวข้าว ให้นาย ข. ยืม นาย ข. ไม่มีสิทธิที่จะนำมาให้นาย ก. เช่า โดยมีหลักฐานความเป็นเจ้าของมาแสดง ดังนั้น นาย ก. จึงต้องคืนรถเกี่ยวข้าวให้แก่ นาย ค. ไป เช่นนี้ ถือว่า นาย ก. ถูกนาย ค. รอนสิทธิ นาย ก. มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากนาย ข. ได้ 177227 Faculty of Law
หน้าที่และความรับผิดของผู้เช่าหน้าที่และความรับผิดของผู้เช่า • 1. ผู้เช่ามีหน้าที่งดเว้น ในการใช้ทรัพย์สินที่เช่าเพื่อการอย่างอื่น นอกจากที่ใช้กันตามประเพณีนิยมปกติ หรือตามที่กำหนดไว้ในสัญญา ใช้ตามสัญญา หรือตามประเพณีนิยมปกติ ถือว่าเป็นการใช้ทรัพย์สินที่ชอบ แม้ว่าจะเกิดความเสียหาย หรือสูญหาย ผู้เช่าไม่ต้องรับผิด 177227 Faculty of Law
สิทธิของผู้ให้เช่าเมื่อผู้เช่ากระทำผิดหน้าที่ข้อนี้สิทธิของผู้ให้เช่าเมื่อผู้เช่ากระทำผิดหน้าที่ข้อนี้ • 1. เรียกค่าเสียหาย ถ้าทรัพย์สินนั้นเกิดความเสียหาย • 2. บอกกล่าวให้ผู้เช่าใช้ทรัพย์ให้ถูกต้อง • 3. บอกเลิกสัญญา แต่ต้องบอกกล่าวแก่ผู้เช่าก่อน ตาม ม.554 177227 Faculty of Law
2. ผู้เช่ามีหน้าที่ต้องสงวนทรัพย์สินที่เช่าเสมอกับวิญญูชนสงวนทรัพย์สินของตนเอง กับทั้งมีหน้าที่ต้องทำการซ่อมแซมเล็กน้อยด้วย สงวนรักษาทรัพย์สิน ได้แก่ การดูแล รักษา ทรัพย์สิน เช่น เช่าห้องพัก ก็ต้องทำความสะอาด เช่ารถก็ต้องดูแลรักษารถ ซ่อมแซมเล็กน้อย ได้แก่ การซ่อมแซมแก้ไขเมื่อทรัพย์สินนั้นเกิดความชำรุดบกพร่อง 177227 Faculty of Law
สิทธิของผู้ให้เช่าเมื่อผู้เช่ากระทำผิดหน้าที่ข้อนี้สิทธิของผู้ให้เช่าเมื่อผู้เช่ากระทำผิดหน้าที่ข้อนี้ • 1. เรียกค่าเสียหาย ถ้าทรัพย์สินนั้นเกิดความเสียหาย • 2. บอกกล่าวให้ผู้เช่าใช้ทรัพย์ให้ถูกต้อง • 3. บอกเลิกสัญญา แต่ต้องบอกกล่าวแก่ผู้เช่าก่อน ตาม ม.554 177227 Faculty of Law
3. ผู้เช่ามีหน้าที่ต้องยินยอมให้ผู้ให้เช่า หรือตัวแทนเข้าตรวจดูทรัพย์สินที่เช่าเป็นครั้งคราว ในเวลาและระยะอันสมควร • ผู้เช่ามีหน้าที่ต้องยอมให้ผู้ให้เช่าเข้าตรวจดูต่อเมื่อ ผู้ให้เช่าใช้สิทธิเข้าตรวจดูในเวลา และระยะอันสมควร • ถ้าผู้เช่าไม่ยอม ผู้ให้เช่าไม่มีสิทธิที่จะบอกเลิกสัญญากับผู้เช่า • มีสิทธิแต่เรียกค่าเสียหาย หากทรัพย์สินได้รับความเสียหาย เพราะเหตุของการไม่ยอมนั้น 177227 Faculty of Law
4. ผู้เช่ามีหน้าที่ต้องยินยอมให้ผู้ให้เช่า เข้าซ่อมแซมทรัพย์สินอันเป็นการเร่งร้อน • ในกรณีที่มีเหตุอันเร่งร้อน ที่ผู้ให้เช่าจะต้องเข้าซ่อมแซมทรัพย์สิน ผู้เช่ามีหน้าที่ต้องยินยอมให้ผู้ให้เช่าเข้าซ่อมแซม • สิทธิของผู้เช่า • 1. ผู้เช่าจะบอกเลิกสัญญาเช่าไม่ได้ แม้ว่าจะเกิดความไม่สะดวกแก่ตนเอง (รบกวนการครอบครอง) และไม่ถือว่าผู้ให้เช่ากระทำผิดข้อสัญญา • 2. ผู้เช่าไม่ต้องจ่ายค่าเช่า หรือมีสิทธิเรียกให้ลดค่าเช่าลงระหว่างเวลานั้น ม.568 177227 Faculty of Law
ยกเว้นแต่ การซ่อมแซมนั้นจะนานเกินสมควร จนเป็นเหตุให้ทรัพย์สินนั้นไม่เหมาะแก่การที่จะใช้เพื่อประโยชน์ที่เช่ามา ผู้เช่าจะบอกเลิกสัญญาก็ได้ 177227 Faculty of Law
สิทธิของผู้ให้เช่า ถ้าผู้เช่าไม่ยินยอมให้เข้าซ่อมแซม • 1. เข้าซ่อมแซมโดยฝืนใจผู้เช่าไม่ได้ (ผิดฐานบุกรุก) • 2. เรียกค่าเสียหายจากผู้เช่า ถ้ามีความเสียหายอย่างใดๆเพราะเหตุที่ผู้เช่าไม่ยอมให้เข้าซ่อมแซม ดู ม.557 177227 Faculty of Law
5. ผู้เช่ามีหน้าที่งดเว้น การดัดแปลง หรือต่อเติมทรัพย์สินที่เช่า • ดัดแปลง ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงสภาพทรัพย์สินที่เช่า • ต่อเติม ได้แก่ ต่อเติมทรัพย์สินที่เช่าอันมีลักษณะเป็นการติดตรึงตรา 177227 Faculty of Law
สิทธิของผู้ให้เช่า ถ้าผู้เช่าดัดแปลง หรือต่อเติม • 1. เรียกร้องให้ผู้เช่าทำทรัพย์สินให้กลับคืนสู่สภาพเดิม • 2. เรียกร้องค่าเสียหายจากผู้เช่า หากทรัพย์สินนั้นสูญหาย หรือบุบสลาย อันเกิดจากการดัดแปลงหรือต่อเติมนั้น • 3. ผู้ให้เช่าจะบอกเลิกสัญญาไม่ได้ เว้นแต่ การดัดแปลง ต่อเติมนั้นจะมีลักษณะเป็นการใช้ทรัพย์สินเพื่อการอย่างอื่น ตาม ม.552 177227 Faculty of Law
6. ผู้เช่ามีหน้าที่ต้องแจ้งถึงภัยพิบัติอันจะเกิดขึ้นกับทรัพย์สินที่เช่า • เมื่อมีเหตุดังต่อไปนี้ ผู้เช่ามีหน้าที่แจ้งให้ผู้ให้เช่าทราบ • 1. ทรัพย์สินนั้นชำรุดบกพร่องควรที่ผู้ให้เช่าจะต้องซ่อมแซม ม.550 • ไม่ว่าจะเกิดขึ้นเพราะความผิดของผู้เช่าหรือไม่ • 2. จัดการเพื่อป้องกันภัยพิบัติอันจะเกิดต่อทรัพย์สินที่เช่า • กรณีนี้ทรัพย์สินทีเช่ายังไม่ได้รับความเสียหาย แต่ต้องจัดการอย่างหนึ่งอย่างใดมิเช่นนั้น ทรัพย์สินนั้นจะได้รับความเสียหาย 177227 Faculty of Law
3. มีบุคคลภายนอกรุกล้ำเข้ามาในทรัพย์สินที่เช่าโดยอ้างสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดเหนือทรัพย์สินที่เช่านั้น • การที่บุคคลภายนอกรุกล้ำเข้ามาในทรัพย์สินทีเช่าจะต้องมีลักษณะเป็นการรบกวนการครอบครองด้วย • ผู้บุคคลภายนอกต้องอ้างสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดเหนือทรัพย์สินที่เช่า (อาจจะเป็นสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใด) 177227 Faculty of Law
ถ้าผู้เช่าไม่แจ้งให้ผู้ให้เช่าทราบโดยพลัน และเป็นเหตุให้ผู้ให้เช่าต้องเสียหายอย่างใดๆ เพราะความละเลยชักช้านั้น ผู้เช่าต้องรับผิดต่อผู้ให้เช่า • แต่ผู้ให้เช่าจะบอกเลิกสัญญากับผู้เช่าไม่ได้ 177227 Faculty of Law
7. ผู้เช่ามีหน้าที่ต้องชำระค่าเช่า (ม.559-560) • ผู้เช่าจะต้องชำระค่าเช่าเมื่อใด ? • 1. ถ้ากำหนดไว้ในสัญญา หรือจารีตประเพณีว่าจะพึงชำระค่าเช่าเมื่อใด ผู้เช่าก็ต้องชำระค่าเช่าเมื่อนั้น • 2. ถ้าไม่มีกำหนดเวลาให้ชำระค่าเช่าเมื่อใดอย่างเช่นข้อ 1. ผู้เช่ามีหน้าที่ชำระค่าเช่าเมื่อสิ้นระยะเวลาเช่า 177227 Faculty of Law
สัญญาที่ไม่มีกำหนดเวลาชำระค่าเช่า • ตัวอย่างเช่น ก. ตกลงเช่าที่ดิน ข. เพื่อปลูกหญ้าเลี้ยงสัตว์มีกำหนดเวลา 3 ปี ค่าเช่า 36,000 บาท • ก. ตกลงเช่าที่ดิน ข. เพื่อปลูกหญ้าเลี้ยงสัตว์มีกำหนดเวลา 3 ปี ค่าเช่าปีละ 12,000 บาท • ก. ตกลงเช่าบ้าน ข. โดยไม่มีกำหนดเวลาเช่า ตกลงชำระค่าเช่าเป็นรายเดือน ๆละ 3,000 บาท 177227 Faculty of Law
เมื่อใดจึงจะเรียกว่าผู้เช่าไม่ชำระค่าเช่า(ผิดนัด) ม.560 • เวลา • สถานที่ • จำนวน • สิทธิของผู้ให้เช่า เมื่อผู้เช่าไม่ชำระค่าเช่า • 1. เรียกร้องให้ชำระค่าเช่า ม.213 และเรียกดอกเบี้ยตาม ม.224 177227 Faculty of Law
2. บอกเลิกสัญญา ตาม ม.560 • แต่ผู้ให้เช่าต้องบอกกล่าวให้ผู้เช่านำค่าเช่ามาชำระก่อน (เช่นเดียวกับม.387) กล่าวคือ • 1. ถ้าค่าเช่าพึงส่งเป็นรายเดือน หรือกว่านั้นขึ้นไป ต้องบอกกล่าวให้ผู้เช่านำค่าเช่ามาชำระโดยให้เวลา ไม่น้อยกว่า 15 วัน • 2. ถ้าค่าเช่าพึงส่งเป็นระยะเวลาสั้นกว่าข้อ 1 เช่น ชำระค่าเช่าเป็นรายวัน ต้องบอกกล่าวให้ผู้เช่านำค่าเช่ามาชำระ โดยให้เวลาพอสมควร 177227 Faculty of Law
การบอกเลิกสัญญาเพราะผู้เช่าไม่ชำระค่าเช่า ผู้ให้เช่าจะต้องแสดงเจตนา 2 ครั้ง • 1. บอกกล่าวให้นำค่าเช่ามาชำระ • 2. บอกเลิกสัญญา 177227 Faculty of Law
บอกเลิกสัญญา บอกกล่าว ไม่ชำระค่าเช่า สัญญาเกิด 1 15 ส.ระงับ 15 วัน เช่น “ให้ท่านนำค่าเช่ามาชำระภายในกำหนดเวลา 15 วัน นับแต่ได้รับจดหมายฉบับนี้” 177227 Faculty of Law
“ให้ท่านนำค่าเช่ามาชำระภายในกำหนด 15 วันนับแต่ได้รับจดหมายฉบับนี้ หากครบกำหนดถือว่าสัญญาเลิกทันที” 177227 Faculty of Law
บอกเลิกสัญญา บอกกล่าว ไม่ชำระค่าเช่า สัญญาเกิด 1 15 15 วัน เช่น ให้ท่านนำค่าเช่ามาชำระภายในกำหนดเวลา 7 วัน นับแต่ได้รับจดหมายฉบับนี้ 177227 Faculty of Law
ผลถ้าผู้ให้เช่าบอกเลิกไม่ชอบผลถ้าผู้ให้เช่าบอกเลิกไม่ชอบ • เช่น บอกเลิกสัญญาทันที โดยไม่บอกกล่าวให้นำค่าเช่ามาชำระ หรือบอกกล่าว แต่ให้เวลาไม่ถึง 15 วัน (นับวันบอกกล่าวจนถึงใช้สิทธิฟ้องร้อง) • สัญญาเช่าไม่ระงับเพราะการบอกเลิกของผู้ให้เช่า • สิทธิของผู้ให้เช่า • 1. เรียกค่าเช่าก่อนที่สัญญาระงับ • 2. เรียกร้องให้ผู้เช่าส่งมอบทรัพย์สินที่เช่าคืนให้แก่ตน ม.561 • 3. เรียกค่าเสียหาย จากผู้เช่า ม.391 ว.ท้าย 177227 Faculty of Law
บอกเลิกสัญญา ฟ้องขับไล่คดี บอกกล่าว ไม่ชำระค่าเช่า สัญญาเกิด 1 15 15 วัน เช่น ให้ท่านนำค่าเช่ามาชำระภายในกำหนดเวลา 7 วัน นับแต่ได้รับจดหมายฉบับนี้ 177227 Faculty of Law
สัญญาระงับ สัญญาเกิด ครอบครองโดยละเมิด 177227 Faculty of Law
8. ผู้เช่าต้องส่งมอบทรัพย์สินที่เช่าให้แก่ผู้ให้เช่า เมื่อสัญญาเช่าได้เลิกหรือระงับลง • เมื่อสัญญาเช่า ได้เลิก หรือระงับลง ผู้เช่ามีหน้าที่ต้องส่งมอบทรัพย์สินทีเช่าคืนให้แก่ผู้ให้เช่า มิเช่นนี้จะถือว่าผู้เช่าครอบครองทรัพย์สินทีเช่าโดยละเมิด เพราะสัญญาเช่าได้สิ้นสุดลงแล้ว 177227 Faculty of Law
สัญญาระงับ สัญญาเกิด ครอบครองโดยละเมิด 177227 Faculty of Law
บอกเลิกสัญญา สัญญาเกิด ไม่ชำระค่าเช่า บอกกล่าว ส.ระงับ ครอบครองโดยละเมิด หน้าที่ส่งมอบทรัพย์สินคืน 177227 Faculty of Law
สภาพของทรัพย์สินที่ส่งมอบสภาพของทรัพย์สินที่ส่งมอบ • ผู้เช่าต้องส่งมอบทรัพย์สินที่เช่าคืนในสภาพอันซ่อมแซมดีแล้ว (แต่พิสูจน์หักล้างได้ว่า ได้รับทรัพย์สินในสภาพอันซ่อมแซมไม่ดี) • ยกเว้นแต่ จะได้ทำหนังสือลงลายมือชื่อคู่สัญญาไว้ต่อกันว่าทรัพย์สินที่เช่านั้นมีสภาพเป็นอยู่อย่างไรในขณะที่ส่งมอบ ก็ส่งมอบในสภาพเช่นนั้น 177227 Faculty of Law
9. ผู้เช่าต้องรับผิดถ้าทรัพย์สินที่เช่า สูญหาย หรือบุบสลาย ในกรณีหนึ่งกรณีใดดังต่อไปนี้ • กรณีทีทรัพย์สินที่เช่า สูญหาย หรือบุบสลาย ในเหตุอันจะโทษผู้เช่าไม่ได้ หรือเกิดจากการใช้ทรัพย์สินนั้นโดยชอบ ผู้เช่าไม่ต้องรับผิดชอบในความสูญหาย หรือบุบสลาย • นอกจากนี้ยังอาจเป็นเหตุให้ผู้เช่าขอลดค่าเช่าลงบางส่วน (ม.568)หรือบอกเลิกสัญญาได้ หรือเป็นเหตุให้สัญญาเช่าระงับลง(กรณีสูญหาย หรือเสียหายทั้งหมด)(ม.568) โดยผู้ให้เช่าจะเรียกค่าเช่าจากผู้เช่าไม่ได้ตาม ม.372 177227 Faculty of Law
ผู้เช่าจะต้องรับผิดหากทรัพย์สินที่เช่าสูญหาย หรือบุบสลายในกรณีดังต่อไปนี้ • 1. เพราะความผิด ของผู้เช่าเอง • 2. เพราะความผิด ของบุคคลซึ่งอยู่กับผู้เช่า • 3. เพราะความผิด ของผู้เช่าช่วง 177227 Faculty of Law
อายุความ • 1. อายุความในการเรียกร้องให้ผู้เช่ารับผิด อันเกิดจากการกระทำผิดสัญญาเช่า มีอายุความ 6 เดือนนับแต่ได้รับมอบทรัพย์สินที่เช่า ตาม ม.563 • 2. อายุความในการเรียกร้องให้ผู้เช่าส่งมอบทรัพย์สินที่เช่าคืน ไม่มีอายุความ เพราะเป็นการที่เจ้าของใช้สิทธิในการติดตามเอาตัวทรัพย์คืน • 3. อายุความในการเรียกร้องค่าเช่า มีอายุความ 5 ปี ตาม ม.193/33(3) หรือ 2 ปี ตาม ม.193/34 (6) นับแต่ครบกำหนดชำระค่าเช่า 177227 Faculty of Law
ความระงับของสัญญาเช่าความระงับของสัญญาเช่า • 1. เมื่อสิ้นกำหนดเวลาที่ได้ตกลงกันไว้(กำหนดเวลาเช่า) ตาม ม.564 • เฉพาะสัญญาเช่าที่มีกำหนดเวลาเช่าเท่านั้น ที่จะระงับเมื่อครบกำหนดเวลาเช่า • เมื่อสิ้นสุดกำหนดเวลาเช่า สัญญาเช่าระงับทันที โดยไม่ต้องมีการบอกเลิกสัญญาต่อกันอีก • และผู้เช่ามีหน้าที่ต้องส่งมอบทรัพย์สินที่เช่าคืนในวันรุ่งขึ้นจากวันครบกำหนดสัญญา การไม่ส่งมอบทรัพย์สินคืน เป็นการละเมิด 177227 Faculty of Law
สัญญาเช่าโดยผลของกฎหมายสัญญาเช่าโดยผลของกฎหมาย มาตรา 570“ในเมื่อสิ้นกำหนดเวลาเช่าซึ่งได้ตกลงกันไว้นั้น ถ้า ผู้เช่ายังคงครองทรัพย์สินอยู่ และผู้ให้เช่ารู้ความนั้นแล้วไม่ทักท้วงไซร้ ท่าน ให้ถือว่าคู่สัญญาเป็นอันได้ทำสัญญาใหม่ต่อไปไม่มีกำหนดเวลา” • พฤติการณ์ที่ทำให้เกิดสัญญาเช่าใหม่ • 1. เมื่อสัญญาเช่าได้สิ้นกำหนดลง ผู้เช่ายังคงครอบครองทรัพย์สินที่เช่าอยู่ และ • 2. ผู้ให้เช่ารู้ความนั้นแล้วไม่ทักท้วง 177227 Faculty of Law
ผล • กฎหมายถือว่าคู่สัญญาได้ทำสัญญาเช่า(ใหม่)กันต่อไป โดยมีลักษณะเป็นสัญญาเช่าที่ไม่มีกำหนดระยะเวลาการเช่า • หลักฐานการเช่า ใช้หลักฐานการเช่าจากสัญญาเดิม 177227 Faculty of Law
2. สัญญาเช่าระงับเมื่อผู้เช่าถึงแก่ความตาย • สัญญาเช่า สิทธิของผู้เช่าเป็นสิทธิเฉพาะตัว ดังนั้นจึงระงับเมื่อผู้เช่าตาย • ยกเว้น สัญญาเช่าจะระบุให้สามารถโอนสิทธิการเช่าของผู้เช่าได้ หรือเป็นสัญญาต่างตอบแทนพิเศษยิ่งกว่าสัญญาเช่า • สัญญาเช่า ไม่ระงับด้วยความตายของผู้ให้เช่า 177227 Faculty of Law
การใช้ประโยชน์ ผู้เช่า ผู้ให้เช่า ค่าเช่า 177227 Faculty of Law
3. สัญญาเช่าระงับเมื่อทรัพย์สินที่เช่าสูญหายไปทั้งหมด ตาม ม.567 • เนื่องจากสัญญาเช่า เป็นสัญญาที่มุ่งการใช้ประโยชน์ในตัวทรัพย์ • ไม่ว่าการสูญหาย หรือบุบสลายจะเกิดขึ้นเพราะความผิดของผู้เช่าหรือไม่ สัญญาเช่าก็ระงับ • ภายหลังที่สัญญาเช่าระงับ ผู้เช่ามีหน้าที่ต้องชำระค่าเช่าต่อไปหรือไม่ ให้พิจารณาว่า เกิดขึ้นเพราะความผิดของผู้เช่าหรือไม่ 177227 Faculty of Law
ถ้าไม่ใช่ความผิดของผู้เช่า ผู้เช่าไม่ต้องชำระค่าเช่าอีกต่อไป ตาม ม.372 ว.แรก กำหนดเวลาเช่า ทรัพย์สินที่เช่าสูญหายทั้งหมด สัญญาเกิด ไม่ต้องจ่ายค่าเช่า ค่าเช่า ส.ระงับ 177227 Faculty of Law