1 / 30

ภาษีสรรพสามิต

ภาษีสรรพสามิต. หน้าที่ ของผู้ประกอบอุตสาหกรรม. หน้าที่ของผู้ประกอบอุตสาหกรรม. 1. การจดทะเบียน. ตามมาตรา 25 แห่งพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2527 ผู้ประกอบอุตสาหกรรมสินค้าที่อยู่ในพระราชบัญญัติพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตมีหน้าที่ต้องจดทะเบียนสรรพสามิต .

wardah
Download Presentation

ภาษีสรรพสามิต

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ภาษีสรรพสามิต

  2. หน้าที่ ของผู้ประกอบอุตสาหกรรม

  3. หน้าที่ของผู้ประกอบอุตสาหกรรมหน้าที่ของผู้ประกอบอุตสาหกรรม 1. การจดทะเบียน ตามมาตรา 25 แห่งพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2527 ผู้ประกอบอุตสาหกรรมสินค้าที่อยู่ในพระราชบัญญัติพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตมีหน้าที่ต้องจดทะเบียนสรรพสามิต 1. ประกอบอุตสาหกรรมสินค้าอยู่ก่อนกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตใช้บังคับแก่สินค้า ให้ผู้ประกอบอุตสาหกรรม ยื่นคำขอจดทะเบียนสรรพสามิต ตามแบบที่อธิบดีกำหนด ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่กฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต ใช้บังคับแก่สินค้านั้น 2. กรณีเริ่มประกอบอุตสาหกรรม เมื่อมีกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต ใช้บังคับแก่สินค้า ยื่นคำขอจดทะเบียนสรรพสามิต ตามแบบที่อธิบดีกำหนด ภายใน 30 วัน ก่อนวันเริ่มผลิตสินค้า กรณีที่ผู้ประกอบอุตสาหกรรม มีโรงอุตสาหกรรมหลายแห่ง ให้แยกยื่นคำขอเป็นรายโรงอุตสาหกรรม

  4. กรณีท่านเป็นเจ้าของเครื่องขายเครื่องดื่ม ซึ่งเครื่องขายเครื่องดื่ม 1 ตู้ ถือเป็นโรงอุตสาหกรรม 1 โรงงาน ถ้าท่านมีซัก 80 เครื่อง ต้องทำอย่างไร ต้องจดทะเบียนสรรพสามิต ทั้งหมด 80 เครื่อง

  5. การจดทะเบียนสรรพสามิต ต้องจดทะเบียนสรรพสามิต ณ สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่แห่งท้องที่ที่โรงอุตสาหกรรมนั้นตั้งอยู่ ในกรุงเทพฯ ก็ต้องดูว่าขึ้นอยู่กับ พื้นที่ 1 2 3 4 หรือ 5 แล้วแต่กรณี การจดทะเบียนสรรพสามิตไม่สามารถจดรวมได้ เพราะกฎหมายมิได้บัญญัติไว้ให้ทำได้ (ตามมาตรา 26) เมื่อผู้ประกอบอุตสาหกรรม ได้ยื่นคำขอจดทะเบียนสรรพสามิตถูกต้องแล้ว สรรพสามิตพื้นที่ที่รับจดทะเบียนให้ ก็จะออกทะเบียนสรรพสามิตให้ ใบทะเบียนสรรพสามิต

  6. เครื่องดื่ม

  7. การจดทะเบียนสรรพสามิตการจดทะเบียนสรรพสามิต หลักฐานที่จะต้องนำไปยื่นที่สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่ที่โรงอุตสาหกรรมนั้นตั้งอยู่ มีดังนี้ การประกอบอุตสาหกรรมสินค้าตามพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต โดยมิได้จดทะเบียนสรรพสามิต มีบทกำหนดโทษ ตามมาตรา 148 ปรับไม่เกิน 5,000 บาท

  8. ภษ.01-04 คำขอจดทะเบียนสรรพสามิต เอกสารที่สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่ จะให้กรอก

  9. ภษ.01-15 คำขอชำระภาษีภายในวันที่สิบห้าของ เดือนถัดจากเดือนที่นำสินค้าออกจาก โรงอุตสาหกรรม หรือคลังสินค้าทัณฑ์บน

  10. หน้าที่ของผู้ประกอบอุตสาหกรรมหน้าที่ของผู้ประกอบอุตสาหกรรม 2. ผู้ประกอบอุตสาหกรรม ต้องแสดงใบทะเบียนสรรพสามิตไว้ในที่เปิดเผย ซึ่งเห็นได้ง่าย ณ โรงอุตสาหกรรม การไม่แสดงใบทะเบียนสรรพสามิตไว้ในที่เปิดเผย มีบทกำหนดโทษตามมาตรา 151 ปรับไม่เกิน 4,000 บาท

  11. หน้าที่ของผู้ประกอบอุตสาหกรรมหน้าที่ของผู้ประกอบอุตสาหกรรม 3. ยื่นขอรับใบแทนใบทะเบียนสรรพสามิต ในกรณี 1. ชำรุดในสาระสำคัญ 2. สูญหาย ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ทราบถึงการชำรุดในสาระสำคัญหรือสูญหาย และให้ยื่น ณ สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่ ที่ได้จดทะเบียนไว้เดิม 4. การย้ายโรงอุตสาหกรรม ให้แจ้งย้าย ณ สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่ที่จดทะเบียนไว้เดิม ก่อนวันย้ายไม่น้อยกว่า 15 วัน และเมื่อย้ายแล้ว ให้ยื่นคำขอจดทะเบียนใหม่ ภายใน 30 วัน ก่อนเริ่มดำเนินกิจการ เมื่อได้รับใบทะเบียนใหม่แล้ว ให้คืนใบทะเบียนฉบับเดิม ให้เจ้าพนักงานสรรพสามิต ณ สถานที่ยื่นจดทะเบียนแห่งใหม่

  12. หน้าที่ของผู้ประกอบอุตสาหกรรมหน้าที่ของผู้ประกอบอุตสาหกรรม 5. การแจ้งเลิกหรือโอนกิจการ ผู้ประกอบอุตสาหกรรมมีหน้าที่แจ้งการเลิกกิจการ หรือโอนกิจการ ต่อสรรพสามิตพื้นที่ที่จดทะเบียนสรรพสามิตไว้ก่อนเลิกหรือโอนกิจการ ไม่น้อยกว่า 15 วัน และต้องคืน ใบทะเบียนสรรพสามิตให้แก่เจ้าพนักงานสรรพสามิต ณ สถานที่ที่ได้แจ้งเลิกหรือ โอนกิจการ ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่หยุดประกอบกิจการ 6. การยื่นแบบรายการภาษี และชำระภาษี ตามแบบ ภษ.01-12 เพราะเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษี

  13. หน้าที่ของผู้ประกอบอุตสาหกรรมหน้าที่ของผู้ประกอบอุตสาหกรรม 7. ปฏิบัติตามหนังสือเรียก หรือคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ ตอบคำถามของพนักงานเจ้าหน้าที่อันเป็นสาระสำคัญเกี่ยวกับการประเมินภาษีแสดงหลักฐานเพื่อการคำนวณภาษี 8. ในกรณีที่ส่งสินค้าที่ผู้ประกอบอุตสาหกรรมออกไปนอกราชอาณาจักร ผู้ประกอบอุตสาหกรรมมีสิทธิได้รับการยกเว้นภาษีหรือคืนภาษี มีหน้าที่ยื่นแบบ ภษ.01-28 (คำขอยกเว้นหรือคืนภาษีตามมาตรา 100)

  14. 9. ในกรณีที่ผู้ประกอบอุตสาหกรรมมีสิทธิ ได้รับลดหย่อนภาษีสำหรับสินค้า ผู้ประกอบอุตสาหกรรมมีหน้าที่ ยื่นแบบ ภษ.01-29

  15. 10. ในกรณีที่ผู้ประกอบอุตสาหกรรมมีสิทธิได้รับคืนภาษี สำหรับสินค้าที่เสียหายหรือเสื่อมคุณภาพจนใช้การไม่ได้ แบบ ภษ.01-37 , แบบ ภษ.01-38 , แบบ ภษ.01-39

  16. หน้าที่ของผู้ประกอบอุตสาหกรรมหน้าที่ของผู้ประกอบอุตสาหกรรม ผู้ประกอบอุตสาหกรรมต้องทำ *** บัญชีประจำวัน แบบ ภษ.03-05 , แบบ ภษ.03-06 *** งบเดือนแสดงรายการเกี่ยวกับวัตถุดิบ การผลิต และการจำหน่ายสินค้า แบบ ภษ.01-42 บัญชีประจำวันต้องทำให้เสร็จภายใน 3 วัน นับแต่เหตุที่จะต้องลงรายการนั้นเกิดขึ้น ต้องเก็บรักษาไว้ ไม่น้อยกว่า 5 ปี ที่โรงอุตสาหกรรม พร้อมเอกสารที่เกี่ยวข้อง งบเดือน แบบ ภษ.01-42

  17. หน้าที่ของผู้ประกอบอุตสาหกรรมหน้าที่ของผู้ประกอบอุตสาหกรรม • ** สิทธิในการทำบัญชี ** • ปัจจุบันสามารถทำบัญชีประจำวันและงบเดือนด้วยคอมพิวเตอร์ได้ • แต่ต้องได้รับอนุญาตจากอธิบดีก่อน • โดยทำหนังสือขออนุญาตอธิบดีผ่านสรรพสามิตพื้นที่ที่โรงอุตสาหกรรมตั้งอยู่ • และเมื่อได้รับอนุญาตแล้ว ก็สามารถใช้คอมพิวเตอร์ลงบัญชีได้ • แต่การใช้คอมพิวเตอร์ลงบัญชี ข้อความในบัญชีที่ใช้คอมพิวเตอร์นั้น • จะต้องไม่ผิดเพี้ยนไปจากแบบเดิม คือ ภษ.03-05 ภษ.03-06 ภษ.01-42 • ซึ่งจะขาดข้อความในแบบดังกล่าวมิได้

  18. หน้าที่ของผู้ประกอบอุตสาหกรรมหน้าที่ของผู้ประกอบอุตสาหกรรม ผู้ประกอบอุตสาหกรรม ต้องแจ้งวันเวลาทำการปกติ และวันหยุดทำการของโรงอุตสาหกรรม ให้ทราบก่อนเริ่มผลิต และหากมีการเปลี่ยนแปลงกำหนดเวลาดังกล่าว ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า ไม่น้อยกว่า 3 วัน ก่อนวันที่จะมีการเปลี่ยนแปลง ผู้ประกอบอุตสาหกรรม ต้องแจ้งราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรม ไม่น้อยกว่า 7 วัน ก่อนวันเริ่มจำหน่ายสินค้า ถ้ามีการเปลี่ยนแปลง ต้องแจ้งล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 7 วัน เช่นกัน

More Related