200 likes | 409 Views
การใช้ยูเรีย - กากน้ำตาล - แร่ธาตุอัดก้อนเป็นอาหารเสริมโคเนื้อ ( Effects of Urea-Molasses-Mineral Blocks as a Supplemented Feed for Beef Cattle ) สุพรรษา ถันเฝ้า อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ สมชาย ศรีพูล ภาควิชาเกษตรศาสตร์ คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏ นครสวรรค์.
E N D
การใช้ยูเรีย-กากน้ำตาล-แร่ธาตุอัดก้อนเป็นอาหารเสริมโคเนื้อ( Effects of Urea-Molasses-Mineral Blocks as a Supplemented Feed for Beef Cattle )สุพรรษาถันเฝ้าอาจารย์ที่ปรึกษาอาจารย์สมชายศรีพูลภาควิชาเกษตรศาสตร์คณะเทคโนโลยีการเกษตรมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
การใช้ยูเรีย-กากน้ำตาล-แร่ธาตุอัดก้อนเป็นอาหารเสริมโคเนื้อ ( Effects of Urea-Molasses-Mineral Blocks as a Supplemented Feed for Beef Cattle ) ในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนพฤษภาคมเป็นช่วงฤดูแล้งของภาคตะวันออกเฉียงเหนือเกษตรกรจะปล่อยให้โคและกระบือแทะเล็มหญ้าธรรมชาติร่วมกับใช้วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรในพื้นที่เช่นฟางข้าวเป็นแหล่งอาหารหยาบหลักเนื่องจากฟางข้าวมีคุณค่าอาหารต่ำมากมีโปรตีนหยาบ (CP) 3-4 เปอร์เซ็นต์มียอดโภชนะที่ย่อยได้ (TDN) 42-44 เปอร์เซ็นต์มีเยื่อใยหยาบ (CF) 35-37 เปอร์เซ็นต์แคลเซียม (CA) 0.03 เปอร์เซ็นต์และฟอสฟอรัส (P) 0.13 เปอร์เซ็นต์โดยโคจะกินฟางข้าวได้เต็มที่ประมาณ 2.17 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักตัวเท่านั้น (กองอาหารสัตว์, 2538) ทำให้สัตว์ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายเป็นผลให้โคมีน้ำหนักตัวลดลงจึงได้มีการค้นคว้าเทคโนโลยีที่ใช้แก้ไขและปรับปรุงให้ฟางข้าวหรือวัสดุเหลือใช้ทางเกษตร
นอกจากนี้ยังได้มีการค้นคว้าหาเทคโนโลยีที่สะดวกและง่ายต่อการ จัดการสำหรับเกษตรกรที่ใช้อาหารหยาบคุณภาพต่ำเลี้ยงโคกระบือเช่นการใช้ ยูเรีย - กากน้ำตาล - แร่ธาตุอัดก้อน (Urea-Molasses-Mineral Block, UMMB) เป็นอาหารเสริมให้แก่โคและกระบือซึ่งสัตว์จะได้รับไนโตรเจนจากยูเรียในการนำไปสร้างเซลล์ที่เรียกว่าไมโคเบียนโปรตีน (สุรชัย, 2527) Soluble carbohydrate จากกากน้ำตาลนอกจากนั้นยังได้รับแร่ธาตุต่างๆที่จำเป็นจาก UMMB ด้วยซึ่ง UMMB จะไม่มีผลต่อความเป็นกรด-ด่างในกระเพาะรูเมนแต่จะช่วยให้ปริมาณแอมโมเนียไนโตรเจนซึ่งเป็นอาหารของจุลินทรีย์ในกระเพาะรูเมนในเพิ่มขึ้นทำให้จุลินทรีย์สามารถเพิ่มจำนวนได้มากขึ้นส่งผลให้ประสิทธิภาพการย่อยอาหารในกระเพาะรูเมนดีขึ้นด้วยดังนั้น UMMB จึงมีความเหมาะสมที่จะใช้เป็นอาหารเสริมสำหรับสัตว์ที่ได้รับอาหารหยาบคุณภาพต่ำในช่วงแล้งได้ดีและการอัดอาหารให้เป็นก้อนมีผลทำให้สัตว์สามารถใช้ประโยชน์จากอาหารได้อย่างประสิทธิภาพ
เนื่องจากสัตว์ต้องเลียกินอย่างช้าๆทำให้ได้รับอาหารเสริมทีละน้อยและสม่ำเสมอนอกจากนี้ยังสะดวกในการใช้และประหยัดแรงงานในการให้อาหารจึงน่าจะเหมาะสมสำหรับเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อ (พิมพาพรและคณะ, 2536) Promma และคณะ (1985) กล่าวว่ายูเรีย-กากน้ำตาล-แร่ธาตุอัดก้อนเป็นอาหารเสริมโคเนื้อ (Effects of Urea-Molasses-Mineral Blocks as a Supplemented Feed for Beef Cattle, UMMB) เป็นส่วนประกอบที่เกิดจาก ยูเรีย-กากน้ำตาล-แร่ธาตุอัดก้อนจะไม่ส่งผลกระทบต่อความเป็นกรดด่างในกระเพาะรูเมนและช่วยเพิ่มปริมาณแอมโมเนียไนโตรเจนซึ่งเป็นอาหารของจุลินทรีย์ในกระเพาะรูเมนเพิ่มขึ้น (พิมพาพรและคณะ, 2536) โดยใช้เสริมในอาหารหยาบหลักในอัตราส่วนที่พอเหมาะเพื่อนำมาใช้เป็นอาหารเสริมแก่โคเนื้อทดแทนในภาวะที่อาหารหยาบหลักคุณภาพต่ำในช่วงหน้าแล้งซึ่งไม่เพียงพอต่อประสิทธิภาพการผลิตจากการเลี้ยงโคเนื้อ
วิธีการผสม ใส่วัตถุดิบตามลำดับดังนี้เริ่มจากกากน้ำตาลผสมกับปุ๋ยยูเรียและปุ๋ย ทริปเปิ้ลซุปเปอร์ฟอสเฟตกวนจนละลายเข้ากันดีแล้วเติมแร่ธาตุรวมกำมะถัน ปูนซีเมนต์กวนให้เข้ากันและให้กระจายจนทั่วแล้วใส่รำละเอียดเป็นลำดับสุดท้ายกวนจนรำละเอียดเข้ากันกับส่วนผสมอื่นจารุรัตน์ (2528)
การอัดก้อน เพื่อให้อาหารก้อน UMMB มีความสะดวกต่อการใช้ขนส่งง่ายและเพื่อเป็นการบังคับการกินของโคจึงควรทำการอัดก้อนโดยเทส่วนผสมลงในบล๊อคที่เตรียมไว้อัดให้เป็นก้อนทิ้งไว้ประมาณ 1 คืนก็สามารถแกะออกจากบล๊อคได้หรือจะแกะทันทีหลังจากอัดก้อนก็ได้ทิ้งไว้ประมาณ 2 วันจะเป็นก้อนแข็งนำไปวางให้โคเลียกินได้สามารถเก็บไว้ได้ประมาณ 2 เดือนและควรเก็บในที่แห้งอากาศถ่ายเทสะดวกอุดรและสมุน (2534)
ผลของ UMMB เป็นอาหารเสริมในโค 1. ผลของ UMMB ต่อน้ำหนักตัวและการเจริญเติบโตของโคเนื้อ Promma และคณะ (1985) พบว่าการเสริม UMMB มีผลทำให้โคกลุ่มที่เสริมมีอัตราการเจริญเติบโตสูงกว่าโคกลุ่มที่ไม่เสริมอย่างมีนัยสำคัญ (p < 0.05) จากการแบ่งออกเป็น 3 ช่วงจะเห็นว่าในช่วงที่ 1 โคกลุ่มที่เสริม UMMB มีอัตราการเจริญเติบโตลดลงน้อยกว่าโคกลุ่มที่ไม่เสริมอย่างมีนัยสำคัญ (p < 0.05) (ตารางที่ 2) อย่างไรก็ตามอัตราการเจริญเติบโตที่ลดลงของโคทั้ง 2 กลุ่มนี้อาจเนื่องมาจากฟางหญ้ารูซี่ที่ใช้เลี้ยงโคมีคุณภาพต่ำการเลี้ยงด้วยฟางหญ้ารูซี่เพียงอย่างเดียวหรือเสริม UMMB ร่วมด้วยไม่ทำให้สัตว์มีการเพิ่มน้ำหนักตัวได้ดังนั้นควรมีการเสริมอาหารโปรตีนและพลังงานเพิ่มให้แก่โคในปริมาณที่เพียงพอด้วยสำหรับในช่วงที่ 2 พบว่าโคกลุ่มที่กินหญ้ารูซี่สดอย่างเดียวมีอัตราการเจริญเติบโตซึ่งต่ำกว่าอย่างมีนัยสำคัญ (p < 0.05) จากโคกลุ่มที่มีการเสริม UMMB ร่วมด้วยที่มีอัตราการเจริญเติบโตดีกว่าส่วนในช่วงที่ 3 พบว่าโคทั้ง 2 กลุ่มมีอัตราการเจริญเติบโตไม่แตกต่างกันทางสถิติทั้งในกลุ่มที่เสริมและไม่เสริมตามลำดับ
รูปที่ 1 แสดงการเปลี่ยนแปลงน้ำหนักของโค (กิโลกรัม)
จากรูปที่ 1 แสดงการเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักตัวโคทั้ง 2 กลุ่มจะเห็นได้ว่าในช่วงฤดูแล้ง (ช่วงที่ 1) การใช้หญ้าแห้งซึ่งเป็นอาหารคุณภาพต่ำเลี้ยงโคอย่างเดียวมีผลทำให้โคทั้ง 2 กลุ่มน้ำหนักตัวลดลงอย่างไรก็ตามโคกลุ่มที่ได้รับการเสริม UMMB มีอัตราการเจริญเติบโตลดลงน้อยกว่าโคกลุ่มที่ไม่เสริมทั้งนี้เนื่องจากโคกลุ่มที่เสริม UMMB ได้รับอาหารพลังงานและโปรตีนสูงกว่าโคกลุ่มที่ไม่เสริมแต่ในฤดูฝน (ช่วงที่ 2) ที่มีหญ้าสดเป็นอาหารคุณภาพปานกลางอย่างเพียงพอจะเห็นได้ว่ากลุ่มที่เสริม UMMB มีการเจริญเติบโตดีเนื่องจากโคที่กินแต่หญ้าสดจะได้รับธาตุอาหารที่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตในระดับหนึ่งเท่านั้นว่าแต่เมื่อมีการเสริม UMMB ให้แก่โคกลุ่มที่ 1 จึงทำให้ได้รับสารอาหารเพิ่มเติมมีผลทำให้มีอัตราการเจริญเติบโตดีกว่าที่ไม่เสริม UMMB ส่วนในช่วงฤดูแล้ง (ช่วงที่ 3) การเลี้ยงโคด้วยฟางหมักยูเรียร่วมกับรำละเอียด 1 เปอร์เซ็นต์ขงน้ำหนักตัวซึ่งจัดเป็นอาหารคุณภาพดีพบว่าการเสริมไม่เสริม UMMB ไม่มีผลทำให้อัตราการเจริญเติบโตแตกต่างกันทางสถิติอาจเนื่องมาจากโคได้รับอาหารโปรตีนและพลังงานที่เพียงพอสำหรับการเจริญเติบโตในระดับสูงแล้วจึงทำให้โคทั้ง 2 กลุ่มมีการเจริญเติบโตใกล้เคียงกัน (พิมพาพรและคณะ, 2536)
ตารางที่ 2 แสดงผลการใช้ UMMB เป็นอาหารเสริมโคเนื้อที่มีต่อน้ำหนักตัว และอัตราการเจริญเติบโต
2. ผลของ UMMB ต่อปริมาณอาหารที่กินและโปรตีนที่ได้รับ โคกลุ่มที่เสริม UMMB ได้รับปริมาณโปรตีนมากกว่าโคกลุ่มที่ไม่เสริมในทุกช่วงอย่างมีนัยสำคัญ (p < 0.05) โดยโคกลุ่มที่เสริม UMMB ได้รับโปรตีนมากกว่า ตามลำดับซึ่งจะเห็นได้ว่าในช่วงที่ 1 ที่โคทั้ง 2 กลุ่มมีน้ำหนักลดลงเนื่องจากได้รับโปรตีนในอาหารต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานของความต้องการโปรตีนของโคในระดับเพื่อการดำรงชีพ (Maintenance level) ที่ Kearl (1982) แนะนำว่าโคเนื้อหนัก 150 กิโลกรัมควรได้รับโปรตีนรวมวันละ 231 กรัมส่วนปริมาณโปรตีนที่โคทั้ง 2 กลุ่มได้รับในช่วงที่ 2 นั้นมีสัดส่วนใกล้เคียงกับเกณฑ์มาตรฐานความต้องการโปรตีนในระดับการเจริญเติบโตวันละ 150-200 กรัมของ Kearl (1982) สำหรับในช่วงที่ 3 โคทั้ง 2 กลุ่มได้รับโปรตีนในปริมาณสูงแต่มีอัตราการเจริญเติบโตต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานความต้องการโปรตีนในระดับการเจริญเติบโตวันละ 750 กรัมทั้งนี้อาจเนื่องจากลักษณะทางพันธุกรรมของโคลูกผสมบารห์มัน-พื้นเมืองที่มีการตอบสนองต่อการได้รับธาตุอาหารในปริมาณสูงในแง่ของการเจริญเติบโตได้ต่ำกว่าโคเนื้อพันธุ์แท้ Kearl (1982)
3. ผลของ UMMB ต่อประสิทธิภาพการเปลี่ยนอาหาร สุรชัย (2527) พบว่าการเสริม UMMB ให้แก่โคมีผลทำให้มีประสิทธิภาพการเปลี่ยนอาหารดีกว่าการไม่เสริมอย่างมีนัยสำคัญ (p < 0.05) โดยโคกลุ่มที่เสริมและไม่เสริม UMMB มีประสิทธิภาพการเปลี่ยนอาหารเท่ากับ 17.9 และ 21.3 ตามลำดับสำหรับในช่วงที่ 1 ที่เลี้ยงโคด้วยฟางหญ้ารูซี่ที่มีคุณภาพต่ำนั้นพบว่าโคมีน้ำหนักตัวลดลงทำให้ไม่สามารถคำนวณประสิทธิภาพการเปลี่ยนอาหารได้เนื่องจากได้รับอาหารโปรตีนและพลังงานไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่ายกายถึงแม้จะมีการเสริม UMMB ก็ไม่ทำให้โคมีประสิทธิภาพการเปลี่ยนอาหารดีขึ้นจนทำให้มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นได้ส่วนในช่วงที่ 2 ที่เลี้ยงโคด้วยหญ้ารูซี่สดที่มีคุณภาพปานกลางพบว่าโคกลุ่มที่เสริม UMMB มีประสิทธิภาพการเปลี่ยนอาหารเท่ากับ 22.3 ซึ่งดีกว่าโคกลุ่มที่ไม่เสริมที่มีประสิทธิภาพการเปลี่ยนอาหารเท่ากับ 37.6 อย่างมีนัยสำคัญ (p < 0.05) และในช่วงที่ 3 ที่เลี้ยงด้วยฟางข้าวหมักยูเรียร่วมกับรำละเอียด 1 % ของน้ำหนักตัวพบว่าการเสริมหรือไม่เสริม UMMB ไม่มีผลทำให้ประสิทธิภาพการเปลี่ยนอาหารของโคทั้ง 2 กลุ่มแตกต่างกันทางสถิติโดยในกลุ่มที่เสริมและไม่เสริม UMMB มี ประสิทธิภาพการเปลี่ยนอาหารร่วมกับ 12.6 และ 12.1
ตารางที่ 3 แสดงผลการใช้ UMMB เป็นอาหารเสริมโคเนื้อที่มีต่อปริมาณโภชนะที่ ได้รับและประสิทธิภาพการเปลี่ยนอาหาร
ข้อควรระวัง ระมัดระวังอันตรายจากยูเรียอันเนื่องมาจากโคกินอาการก้อน UMMB มากเกินไปซึ่งยูเรียจะเป็นพิษแก่โคได้หากได้รับยูเรียมากในระยะเวลาอันสั้นเช่นโคกิน UMMB ในครั้งเดียวเป็นจำนวนมากๆและห้ามให้ UMMB กับลูกโคที่ยังไม่สามารถกินอาหารหยาบได้เต็มที่
สรุป UMMB เป็นอาหารเสริมที่มีความเหมาะสมในการเลี้ยงโคเนื้อในภาวะที่อาหารหยาบหลักมีคุณคาทางอาหารไม่เพียงพอโดยให้โค เลียกินอิสระตลอดการทดลองสรุปได้ว่าโคกลุ่มที่เสริม UMMB มีอัตราการเจริญเติบโตปริมาณอาหารที่กินได้รวมปริมาณโปรตีนที่ ได้รับและประสิทธิภาพการเปลี่ยนอาหารดีกว่าโคกลุ่มที่ไม่เสริมอย่างมีนัยสำคัญ(p < 0.05)
ข้อเสนอแนะ ต้องให้โคได้รับอาหารหยาบอย่างเพียงพอถ้ามีการใช้ฟาง เป็นอาหารหยาบควรให้กินในรูปฟางหมักยูเรียเพื่อเพิ่มโปรตีนและ การย่อยได้