1 / 36

การถ่ายทอดและเผยแพร่ความรู้แก่บุคลากรในหน่วยงาน

K.M.(Knowledge management). การถ่ายทอดและเผยแพร่ความรู้แก่บุคลากรในหน่วยงาน. เอกสารประกอบรายงานการประชุมข้าราชการ สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่อุบลราชธานี ครั้งที่ 9 / 2556 เมื่อวันอังคาร ที่ 1 ตุลาคม 2556 ณ ห้องประชุมชั้น 2 สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่อุบลราชธานี.

wanda-beard
Download Presentation

การถ่ายทอดและเผยแพร่ความรู้แก่บุคลากรในหน่วยงาน

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. K.M.(Knowledge management) การถ่ายทอดและเผยแพร่ความรู้แก่บุคลากรในหน่วยงาน เอกสารประกอบรายงานการประชุมข้าราชการ สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่อุบลราชธานี ครั้งที่ 9 / 2556 เมื่อวันอังคาร ที่ 1 ตุลาคม 2556 ณ ห้องประชุมชั้น 2 สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่อุบลราชธานี

  2. มีเรื่องเผยแพร่ความรู้จากการเข้ารับการฝึกอบรมและร่วมสัมมนา 4 เรื่อง 1. เผยแพร่ความรู้จากการเข้าร่วมประชุมเพื่อรับฟังคำชี้แจงเกี่ยวกับการแก้ไขพระราชบัญญัติสุรา พ.ศ.2493 ในวันพุธที่ 26 กันยายน 2556 ณ ห้องประชุมใหญ่ ชั้น 3 สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่อุบลราชธานี โดย...สรรพสามิตพื้นที่อุบลราชธานี 2. อบรม หลักสูตร “การเพิ่มทักษะในการจัดเก็บและการตรวจสอบภาษี” รุ่นที่ 2 ระหว่างวันที่ 16 – 18 กันยายน 2556 ณ โรงแรม รายาแกรนด์ (ห้องรายาวดี 2) จังหวัดนครราชสีมา โดย... นายพูนรัตน์ กัปตัน ตำแหน่ง นักวิชาการสรรพสามิตชำนาญการ 3. ฝึกอบรม “การเสริมสร้างความรู้เกี่ยวกับวินัย มาตรฐานทางคุณธรรม และความรับผิดทางละเมิด ประจำปีงบประมาณ 2556” ระหว่างวันที่ 16 – 18 กันยายน 2556 ณ โรงแรมนูโว ซิตี้ ถนนสามเสน กรุงเทพมหานคร โดย...นายบุญปลอด มุสิกสาร ตำแหน่ง เจ้าพนักงานสรรพสามิตชำนาญงาน 4. โครงการพัฒนาเครือข่ายภาคประชาชนและเจ้าหน้าที่สรรพสามิตเพื่อป้องกันบุหรี่และสุราเถื่อน ระหว่างวันที่ 16 – 18 กันยายน 2556 ณ โรงแรมรามาการ์เด้นส์ กรุงเทพมหานคร โดย...นายสมคิด พิญญพงษ์ ตำแหน่ง เจ้าพนักงานสรรพสามิตชำนาญงาน

  3. 1. เผยแพร่ความรู้จากการเข้าร่วมประชุมเพื่อรับฟังคำชี้แจงเกี่ยวกับการแก้ไขพระราชบัญญัติสุรา พ.ศ.2493 ในวันพุธที่ 26 กันยายน 2556 ณ ห้องประชุมใหญ่ ชั้น 3 สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่อุบลราชธานี โดย...สรรพสามิตพื้นที่อุบลราชธานี...

  4. แนวทางการปรับโครงสร้างภาษีสุรา สภาพปัญหาของโครงสร้างภาษีสุราข้อจำกัดเฉพาะสุราแช่ - อัตราตามปริมาณไม่ทำงาน - อัตราตามมูลค่าสะท้อนถึงความฟุ่มเฟือย แต่ไม่สะท้อนปัญหาสุขภาพ - ปัญหาการจัดชั้นของเบียร์ข้อจำกัดสุราในภาพรวม - การทะลักของสุราคุณภาพต่ำ - สินค้าหนีภาษีและสินค้าเลียนแบบ - อัตราภาษีไม่เหมาะสมกับสภาวะปัจจุบัน - ไม่สอดคล้องกับนโยบาย “ลด ละ เลิก” ของรัฐบาลข้อจำกัดเฉพาะสุรากลั่น - ความไม่เป็นธรรมของโครงสร้างภาษี

  5. ข้อเสนอแนวทางการปรับโครงสร้างภาษีสุรา - เปลี่ยนฐานภาษีจากราคา ณ โรงงานหรือราคา CIF เป็นราคาขายส่งช่วงสุดท้ายที่ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม - ปรับอัตราภาษีแบบรวมใน (Inclusive Tax) เป็นอัตราภาษีแบบแยกนอก (Exclusive Tax) - เปลี่ยนวิธีการคำนวณภาษีจากการเก็บภาษีจากการคำนวณภาษีจากอัตราตามมูลค่า หรือตามปริมาณเป็นการเก็บภาษีแบบผสม (Mixed System) คือ เก็บภาษีทั้งจากอัตราตามมูลค่าและปริมาณ โดยเลือกจากอัตราตามปริมาณที่ให้ภาษีสูงที่สุด ผลที่คาดว่าจะได้รับสำหรับการปรับปรุงโครงสร้างภาษีสุราทั้งระบบ - โครงสร้างภาษีเป็นธรรมตามหลักสากล - สะท้อนถึงหลักการการเก็บภาษีสุราได้อย่างมีประสิทธิภาพ - เกิดความเท่าเทียมกันของฐานภาษีสำหรับสินค้าที่ผลิตในประเทศ และ นำเข้า - แก้ไขปัญหาการจัดชั้นเบียร์ได้ - รายได้รัฐเพิ่มขึ้นประมาณ 19,796 ล้านบาท จากการปรับโครงสร้างอัตราภาษี

  6. โครงสร้างภาษีสุราใหม่โครงสร้างภาษีสุราใหม่

  7. ****************************************

  8. 2. อบรม “การเพิ่มทักษะในการจัดเก็บและการตรวจสอบภาษี” รุ่นที่ 2 ระหว่างวันที่ 16 – 18 กันยายน 2556 ณ โรงแรม รายาแกรนด์ (ห้องรายาวดี 2) จังหวัดนครราชสีมา โดย... นายพูนรัตน์ กัปตัน ...นักวิชาการสรรพสามิตชำนาญการ...

  9. เนื้อหาวิชาของการอบรมในครั้งนี้ แบ่งออกเป็นหัวข้อดังนี้ ๑. กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบภาษี ๔. รายงานผลการตรวจสอบภาษี ๒. ระเบียบตรวจสอบภาษี ๕. เทคนิคการพูดและการจูงใจ ๓. เทคนิคการไต่สวน และบันทึกคำให้การ ภาษีสรรพสามิต มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องโดยตรง คือ 1. พระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ.๒๕๒๗ ๒. พระราชบัญญัติพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต พ.ศ.๒๕๒๗ ๓. พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.๒๕๓๙ พระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ.๒๕๒๗ มีมาตราสำคัญที่จะต้องใช้ คือ มาตรา ๘ ว่าด้วยการกำหนดมูลค่าราคาของสินค้าและบริการเพื่อเป็นฐานในการคำนวณภาษี มาตรา ๑๐ ว่าด้วยภาระความรับผิดในอันที่จะต้องเสียภาษี มาตรา ๔๘ ว่าด้วยการกำหนดระยะเวลายื่นแบบรายการภาษีและชำระภาษี มาตรา ๘๓ ว่าด้วยอายุความการประเมินภาษี มาตรา ๗๙ , ๘๐ ว่าด้วยการประเมินภาษี มาตรา ๑๓๖ ว่าด้วยการเสียเบี้ยปรับ มาตรา ๑๓๗ ว่าด้วยการเสียเงินเพิ่ม มาตรา ๑๘ ว่าด้วยการส่งหนังสือ มาตรา ๑๑๘ ว่าด้วยอำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่

  10. พระราชบัญญัติพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต พ.ศ.๒๕๒๗ คือพิกัดอัตราภาษี และ ประกาศกระทรวงการคลังลดอัตราภาษีและยกเว้นภาษี พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.๒๕๓๙ มาตราสำคัญที่จะต้องใช้ มาตรา ๓๐ ว่าด้วยให้คู่กรณีโต้แย้งและแสดงหลักฐาน มาตรา ๓๖ ว่าด้วยคำสั่งทางปกครองที่ทำเป็นหนังสือ มาตรา ๓๗ ว่าด้วยหนังสือที่ต้องจัดทำต้องมี ๑ ข้อเท็จจริง ๒ ข้อกฎหมาย ๓ ข้อพิจารณา มาตรา ๔๐ ว่าด้วยให้ระบุกรณีอาจอุทธรณ์หรือโต้แย้ง มาตรา ๖๔ ว่าด้วยการนับวัน มิให้นับวันแรก ถ้าวันนัดตรงวันหยุดให้เริ่มนับวันทำการถัดไป มาตรา ๗๑ ว่าด้วยการแจ้งทางไปรษณีย์ ถือว่าได้รับแจ้งเมือครบ ๗ วัน นับแต่วันส่ง ระเบียบตรวจสอบภาษี การตรวจสอบภาษีปัจจุบันนี้เราใช้ระเบียบกรมสรรพสามิตว่าด้วยการตรวจสอบภาษีสรรพสามิตตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ.๒๕๒๗ พ.ศ.๒๕๕๓ ลงวันที่ ๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ ระเบียบใหม่ ปี ๒๕๕๓ เป็นการตรวจสอบแบบเชิงรุก มีวิธีการตรวจสอบภาษีอยู่ด้วยกัน ๓ วิธี คือ วิธีที่ ๑ ตรวจกำกับดูแล วิธีที่ ๒ ตรวจแบบเบ็ดเสร็จภาษาอังกฤษเรียกว่า ฟิวออดิด (Field Audit) วิธีที่ ๓ ตรวจสอบตามหนังสือเรียกภาษาอังกฤษเรียกว่า เด้กออดิด (Desk Audit)

  11. เทคนิคการไต่สวนและบันทึกคำให้การ การไต่สวน เป็นขั้นตอนเมื่อผู้ได้รับหนังสือเรียกได้มาพบเจ้าหน้าที่สรรพสามิตตามที่กำหนดนัดหมายไว้เพื่อไต่สวนในประเด็นที่ตรวจพบความผิดเพื่อให้ได้ข้อมูลที่แท้จริงจากผู้ถูกไต่สวน หรือผู้ให้ถ้อยคำในเรื่องที่กำลังตรวจสอบ/สืบสวนอยู่เทคนิคและเทคนิคในการไต่สวนที่ดี มีดังนี้๑. การเตรียมการ (Planning) ๒. การดำเนินการไต่สวน แบ่งออกเป็น 2.๑ การไต่สวนครั้งแรก 2.๒ การไต่สวนระหว่างตรวจสอบ 2.๓ การไต่สวนเพื่อปิดสำนวน ปัจจัย ๔ ประการที่จะทำให้การดำเนินการไต่สวนประสบความสำเร็จ ได้แก่ ๑. การสร้างความปรองดอง ๒. ต้องมีความยืดหยุ่น ๓. ต้องรู้จักควบคุมสถานการณ์ ๔. ใช้เทคนิคการตั้งคำถาม หลักการพื้นฐานในการตั้งคำถาม คือ ใคร อะไร ที่ไหน เมื่อไร ทำไม อย่างไร ภาษอังกฤษ ได้แก่ WHO / WHAT / WHERE / WHEN / WHY / HOW

  12. การบันทึกคำให้การ เป็นขั้นตอนต่อจากการไต่สวนผู้เสียภาษี เมื่อเราดำเนินการไต่สวนเสร็จสิ้นแล้ว ต้องจัดทำบันทึกคำให้การของผู้เสียภาษีที่ได้ให้ถ้อยคำไว้ในแบบฟอร์มที่ใช้คือแบบ ตส.๐๔-๐๖ และตส.๐๔-๐๖/๑ ตามหัวข้อต่อไปนี้วัตถุประสงค์ของการบันทึกคำให้การ :- เพื่อใช้เป็นเอกสารหลักฐานในการตรวจสอบภาษี- เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ครบถ้วน ถูกต้อง - เพื่อใช้เป็นเอกสารประกอบการยืนยันในชั้นศาลได้การบันทึกคำให้การต้องรวบรวมข้อมูลเพื่อนำไปบันทึกในแบบฟอร์มที่ใช้คือแบบ ตส.๐๔-๐๖ และตส.๐๔-๐๖/๑ ตามหัวข้อต่อไปนี้ - ใคร อะไร ที่ไหน เมื่อไร เมื่อไร ทำไม อย่างไร - ควรแสดงหัวข้อเรื่องที่ทำการไต่สวน สืบสวน แยกหัวข้อหลักๆ ออกจากกัน - เรียงลำดับเหตุการณ์ - รวบรัด กระชับ เข้าใจง่าย - อย่าใช้ข้อความที่ดูถูกหรือเสียดสี และควรยุติเมื่อเหมาะสม - ต้องเป็นข้อเท็จจริง อย่าสรุปความคิดของตัวเองลงไป - บันทึกคำให้การหากมีการใช้บันทึกเพิ่มหลายหน้าให้มีลายเซ็นของผู้เสียภาษีและเจ้าหน้าที่ กำกับไว้ทางมุมขวาของแต่ละหน้าด้วย - หากต้องมีการแก้ไขคำให้การให้เซ็นชื่อกำกับตรงข้อความที่ขีดฆ่าไว้ด้วยกันทั้ง ๒ ฝ่าย ห้ามใช้น้ำยาลบคำผิดโดยเด็ดขาด

  13. การรายงานผลการตรวจสอบภาษี รายงานผลการตรวจสอบภาษี เป็นขั้นตอนที่จะต้องจัดทำเมื่อได้ดำเนินการตรวจสอบไต่สวนถูกต้องแล้วและต้องสรุปผลการตรวจสอบภาษี รายงานต่อผู้บังคับบัญชาต่อไปลักษณะของการเขียนรายงานที่ดี รายงานผลการตรวจสอบภาษี หมายถึง การนำเสนอข้อมูลที่นักตรวจสอบภาษีได้ตรวจสอบรวบรวม และวิเคราะห์จนได้ผลสรุป นำเสนอผู้บังคับบัญชาหรือผู้บริหาร การรายงานเป็นการแจ้งข้อเท็จจริงต่างๆ รวมถึงข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงระเบียบ วิธีปฏิบัติและข้อกฎหมายให้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เพื่ออุดช่องโหว่ของกฎหมายและสร้างคุณค่าเพิ่มให้องค์กรความสำคัญของรายงานผลการตรวจสอบภาษี ๑. เป็นเครื่องมือที่นักตรวจสอบภาษีใช้ในการติดต่อกับผู้บังคับบัญชาหรือผู้บริหาร ๒. ผู้บังคับบัญชาจะทราบถึงรายละเอียดของงานที่ตรวจสอบและเห็นความสำคัญของรายงานผลการตรวจสอบภาษี ๓. ผู้บังคับบัญชาหรือผู้บริหาร สามารถนำข้อกฎหมาย และข้อเสนอแนะในรายงานผลการตรวจสอบภาษีไปใช้ในการตัดสินใจและสั่งการ โดยนำไปพิจารณาดำเนินการให้เกิดประโยชน์ต่อองค์กรลักษณะของรายงานที่ดี ได้แก่ ๑. มีความถูกต้อง ๒. มีความชัดเจน ๓. มีความเที่ยงธรรมสิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการเขียนรายงานที่ดี ได้แก่ ๑. อ่านแล้วเข้าใจง่าย ๒. เนื้อหาสาระในรายงานมีความสอดคล้องกับข้อเท็จจริงที่ตรวจสอบ

  14. เนื้อหาสาระของรายงานเนื้อหาสาระของรายงานประกอบด้วยเนื้อหาสาระของรายงานเนื้อหาสาระของรายงานประกอบด้วย • ๑. ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับผู้เสียภาษี • ๒. ลักษณะของการดำเนินธุรกิจ • ๓. หลักเกณฑ์การชำระภาษี • ๔. มูลเหตุที่ออกหนังสือเรียก ซึ่งเป็นประเด็นที่ได้จากการวิเคราะห์ • ๕. ช่วงระยะเวลาบัญชีที่ทำการตรวจสอบ • ๖. บัญชี เอกสารหลักฐานที่ใช้ในการตรวจสอบ • ๗. ขอบเขตของงานตรวจสอบและวิธีการตรวจสอบ ว่าได้ทำการตรวจสอบประเด็นใดบ้าง แต่ละประเด็นตรวจอย่างไร ตรวจเอกสารทั้งหมด หรือสุ่มตรวจในช่วงเวลาใด • ๘. สรุปผลการตรวจสอบและข้อเสนอแนะ • ๙. ในการรายงานกรณีตรวจสอบแล้วพบประเด็นความผิด นักตรวจสอบภาษีต้องพิจารณาว่าความผิดดังกล่าวมีลักษณะเป็นพฤติการณ์ที่จงใจหลีกเลี่ยงภาษี หรือเป็นความผิดที่กระทำซ้ำซาก ให้รายงานพฤติการณ์ดังกล่าวไว้ในรายงานผลการตรวจสอบภาษีด้วย

  15. เทคนิคการพูดและการจูงใจ เนื้อหาเรื่องเทคนิคการพูดและการจูงใจ ที่ท่านวิทยากรท่านได้บรรยายให้ความรู้ท่านได้เน้นในเรื่องของการให้บริการประชาชนที่มาติดต่อราชการ เพราะเราเป็นข้าราชการ เป็นข้าพระบาทของพระเจ้าอยู่หัวที่ทำหน้าที่ต่างพระเนตรพระกันต์พระองค์ท่านเพื่อดูและประชาชนของพระองค์ให้ได้รับความสุขโดยทั่วหน้า ดังนั้นเราจึงต้องให้ความสำคัญกับประชาชนอย่างมาก ในฐานะเราเป็นข้าราชการการบริการถือเป็นสิ่งสำคัญและเป็นสิ่งจำเป็นที่เราต้องปฏิบัติ การบริการในที่นี้จะพูดถึงการฝึกตัวตน ฝึกจิตใจของทุกคนให้เข้าถึงการให้บริการด้วยใจ ได้แก่วิธีคิดของตนเอง ดังคำที่พูดว่า คุณคิดอย่างไร คุณจะได้อย่างนั้น สรุปได้ว่า การบริการ เกิดจาก วิธีคิด ควรคิดให้ดี ถ้าคิดดีแล้ว อะไรๆก็ดี วิธีพูด พูดดีเป็นศรีแก่ปาก พูดไม่ดีเป็นอันตรายแก่ตนเอง วิธีการกระทำ ต้องกระทำด้วยอารมณ์ที่ดี ต้องทำด้วยนิสัย อันนี้เป็นวินัยเชิงบวก การบริการควรฝึกให้บริการกับคนใกล้ชิดก่อน เมื่อทำจนเป็นนิสัยแล้ว การบริการประชาชนก็จะทำได้ดี เหมือนกับคำที่กล่าวว่า ให้ก่อนขอ อย่ารอให้เอ่ย สูตรแห่งความสำเร็จของการให้บริการ การบริการที่ดี =คุณภาพ X การยิ้มแย้มแจ่มใส X ราคา เวลา ****************************************

  16. 3. ฝึกอบรม “การเสริมสร้างความรู้เกี่ยวกับวินัย มาตรฐานทางคุณธรรม และความรับผิดทางละเมิด ประจำปีงบประมาณ 2556” ระหว่างวันที่ 16 – 18 กันยายน 2556 ณ โรงแรมนูโว ซิตี้ ถนนสามเสน กรุงเทพมหานคร โดย...นายบุญปลอด มุสิกสาร ...เจ้าพนักงานสรรพสามิตชำนาญงาน...

  17. หลักการและเหตุผล ด้วยสภาวการณ์ปัจจุบันหน่วยงานราชการต่างๆ มีการเปลี่ยนผ่านอย่างรวดเร็วตามกระแสโลกาภิวัตน์ การเกิดกรณีพิพาทหรือการกระทำผิดทางวินัยก็เพิ่มมากขึ้น ดังนั้น ความรู้เกี่ยวกับวินัย ความรับผิดทางละเมิดและมาตรฐานทางคุณธรรมจริยธรรม ตามพระราชบัญญัติข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551 มาตรา 87 ที่กำหนดให้ผู้บังคับบัญชามีหน้าที่เสริมสร้างและพัฒนาให้ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชามีวินัย และป้องกันมิให้ผู้ใต้บังคับบัญชากระทำผิดวินัย ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ.กำหนด ซึ่งสำนักงาน ก.พ.ได้มีหนังสือที่ นร.1011/ว.43 ลงวันที่ 30 กันยายน 2553 กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเสริมสร้างและพัฒนาให้ผู้ใต้บังคับบัญชามีวินัย และป้องกันมิให้กระทำผิดวินัย แจ้งให้ส่วนราชการทราบและถือเป็นแนวทางปฏิบัติ เพื่อให้ข้าราชการทั้งหลายเกิดจิตสำนึกและมีความเที่ยงธรรมในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อผดุงเกียรติและศักดิ์ศรีข้าราชการให้ควรแก่ความไว้วางใจ เชื่อมั่นศรัทธาของประชาชน และดำรงตนตั้งมั่นเป็นแบบอย่างที่ดีงามสมกับความเป็นข้าราชการยุคใหม่ ประพฤติตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีสมรรถนะในการปฏิบัติราชการอย่างมืออาชีพสอดรับกับยุทธศาสตร์และนโยบายการพัฒนาบุคลากรของกรมฯ

  18. วัตถุประสงค์ 1. เพื่อเสริมสร้างความรู้ให้แก่ผู้เข้ารับการอบรมเกี่ยวกับวินัยและการรักษาวินัย เพื่อป้องกันการประพฤติผิดวินัยและ จรรยาบรรณของกรมสรรพสามิต 2. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีทัศนคติและตระหนักรู้ในบทบาทที่ถูกต้อง สำนึกคุณธรรมจริยธรรมและมีธรรมาภิบาล 3. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ความเข้าใจในบทบาท อำนาจหน้าที่ และวิธีการดำเนินการของคณะกรรมการ พิทักษ์ระบบคุณธรรม และดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง วิทยากร วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิจากสำนักงาน ก.พ. กรมบัญชีกลาง คณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม (ก.พ.ค.) และหน่วยงานภายนอก ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1. ข้าราชการมีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับวินัยและการรักษาวินัย 2. ข้าราชการมีความรู้เกี่ยวกับการดำรงตนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 3. ข้าราชการมีทัศนคติและตะหนักในบทบาทที่ถูกต้อง สำนึกในคุณธรรม จริยธรรม และมีธรรมาภิบาล 4. ข้าราชการมีความรู้ ความเข้าใจในบาทบาทหน้าที่ และวีดำเนินการของคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม (ก.พ.ค.) ****************************************

  19. 4. โครงการพัฒนาเครือข่ายภาคประชาชนและเจ้าหน้าที่สรรพสามิต เพื่อป้องกันบุหรี่และสุราเถื่อน ระหว่างวันที่ 16 – 18 กันยายน 2556 ณ โรงแรมรามาการ์เด้นส์ กรุงเทพมหานคร โดย...นายสมคิด พิญญพงษ์ ...เจ้าพนักงานสรรพสามิตชำนาญงาน...

  20. หลักการและเหตุผล ปัจจุบันกรมสรรพสามิตมีเจ้าหน้าที่ที่ได้สะสมประสบการณ์การทำงานจนเกิดความรู้และเทคนิคการปฏิบัติงานอย่างเชี่ยวชาญอยู่จำนวนหนึ่ง การบูรณาการเทคนิคการปฏิบัติงานต่างๆ เหล่านั้นไม่ให้สูญหายตามกาลเวลา และกรมสรรพสามิตสร้างองค์ความรู้จากประสบการณ์เหล่านั้นได้จนสามามารถสร้างเครือข่ายองค์ความรู้ให้เจ้าหน้าที่สรรพสามิต และประชาชนทั่วประเทศได้ กรมสรรพสามิตก็สามารถบริหารการจัดเก็บภาษีได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพื่อเป็นการสร้างเครือข่ายองค์ความรู้และเทคนิคการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่กรมสรรพสามิตและเครือข่ายภาคประชาชนทั่วประเทศ ในการป้องกันบุหรี่และสุราเถื่อน ซึ่งเป็นส่วนช่วยในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ของ สสส. (ยุทธศาสตร์ไตรพลัง) ให้บรรลุเป้าหมาย จึงมีความจำเป็นในบูรณาการร่วมกันระหว่าง สสส. กับกรมสรรพสามิตในการดำเนินโครงการสร้างเครือข่ายภาคประชาชนและเจ้าหน้าที่เพื่อป้องกันบุหรี่และสุราเถื่อน ต่อไป

  21. วัตถุประสงค์- เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพหรือสร้างองค์ความรู้ขององค์กร (กรมสรรพสามิต) ด้านการจัดเก็บภาษี และด้านเทคนิคการปราบปรามให้ได้มาตรฐานสากล อบรมให้เจ้าหน้าที่สรรพสามิตทั่วประเทศ- เพื่อสร้างองค์ความรู้ พัฒนาเครือข่ายภาคประชาชน และอบรมให้ประชาชนในการป้องกันบุหรี่และสุราเถื่อน- เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับเจ้าหน้าที่สรรพสามิตและประชาชนในการรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน AseanCconomics Community- เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเก็บภาษีและปราบปรามสินค้าผิดกฎหมายภาษีสรรพสามิต- เพื่อเป็นการบูรณาการนโยบายร่วมกันระหว่างหน่วยงาน สสส. และกรมสรรพสามิต ขอบเขตการดำเนินโครงการ โครงการพัฒนาเครือข่ายภาคประชาชนและเจ้าหน้าที่เพื่อป้องกันบุหรี่และสุราเถื่อนเป็นโครงการสร้างองค์ความรู้และพัฒนาเครือข่ายให้กับเจ้าหน้าที่สรรพสามิต และดำเนินการสร้างเครือข่ายภาคประชาชนเพื่อเฝ้าระวังและผลักดันนโยบายด้านสุขภาพและด้านการบริหารจัดเก็บภาษีให้บรรลุเป้าหมาย เมื่อประชาชนมีสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรงและรัฐบาลมีงบประมาณในการสร้างปัจจัยพื้นฐานให้ประชาชน สังคมไทยก็จะสามารถก้าวไปสู่ “สังคมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ด้วยความเสมอภาค เป็นธรรม และมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลง” ได้

  22. การสร้างองค์ความรู้ของเจ้าหน้าที่สรรพสามิต- ด้านการจัดเก็บภาษี จัดอบรมหรือสัมมนาเจ้าหน้าที่สรรพสามิตทั่วประเทศเกี่ยวกับเทคนิคการจัดเก็บภาษี (สุราและยาสูบ) ตั้งแต่กระบวนการขอตั้งโรงงาน การแจ้งราคา การยื่นชำระภาษี พื้นที่เพาะปลูก การควบคุมใบยาและยาเส้น เส้นทางการ ขนย้าย ตลอดจนช่องว่างต่างๆ ที่ผู้ประกอบการมักจะหลีกเลี่ยงในการปฏิบัติตามกฎหมายสรรพสามิต เป็นต้น- ด้านการป้องกันและปราบปราม จัดอบรมหรือสัมมนาเจ้าหน้าที่สรรพสามิตทั่วประเทศเกี่ยวกับเทคนิคการป้องกันและ ปราบปรามสินค้าผิดกฎหมายสรรพสามิต (สุราและยาสูบ) การให้ความรู้ข้อกฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เทคนิคการ ปราบปรามสินค้าสรรพสามิต อาทิเช่น การปราบปรามบุหรี่นำเข้ารูปแบบกองทัพมด เป็นต้น การปฏิบัติงานปราบปราม ของเจ้าหน้าที่กรมศุลกากร อาทิเช่น มาตรการควบคุมผู้โดยสารขาเข้า (ประเด็นร้านค้าปลอดภาษีอากร) หรือเทคนิคการ จับกุมของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ

  23. การสร้างเครือข่ายภาคประชาชน - การจัดอบรมประชาชนกลุ่มเป้าหมาย อาทิเช่น นักเรียน นักศึกษา หรือประชาชนทั่วไป เป็นต้น ให้ทราบถึงโทษและพิษภัยของการบริโภคบุหรี่และสุราเถื่อน (โทษตามกฎหมายสรรพสามิตและ พิษภัยที่เกิดต่อร่างกาย) วิธีการปลอมแปลงหรือการลักลอบนำสินค้าบุหรี่ที่ไม่เสียภาษี ผลการ ปราบปรามการกระทำผิดดังกล่าว โดยเน้นการให้ความรู้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายและการสร้าง ความสัมพันธ์ (กิจกรรมสันทนาการ) และสร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายภาคประชาชนในการ เป็นหูเป็นตาช่วยเจ้าหน้าที่อีกทางหนึ่งในการป้องกันและปรามปรามบุหรี่และสุราเถื่อน

  24. ผลที่คาดว่าจะได้รับ **************************************** 1. มีเครือข่ายภาคประชาชนในการป้องกันสินค้าผิดกฎหมายสรรพสามิต และเพิ่มประสิทธิภาพการ ป้องกันสินค้าผิดกฎหมายสรรพสามิต 2. ประชาชนทราบถึงโทษ และพิษภัยจากการบริโภคสินค้าผิดกฎหมายสรรพสามิต (สุราและยาสูบ) 3. เจ้าหน้าที่สรรพสามิตมีองค์ความรู้ในเทคนิคการจัดเก็บภาษีและเทคนิคการปราบปรามสินค้าผิด กฎหมายภาษีสรรพสามิต 4. มีคู่มือการปฏิบัติงานด้านการบริหารการจัดเก็บภาษีและด้านการป้องกันและปราบปราม

  25. สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่อุบลราชธานีสำนักงานสรรพสามิตพื้นที่อุบลราชธานี

More Related