1 / 20

พื้นฐานการบริหารงาน

เรียนรู้ ทำตาม ดูแลผล. พื้นฐานการบริหารงาน. ที่ระลึกครบรอบ 90 ปี ปูนซิเมนต์ไทย 2456-2546. สมหวัง วิทยาปัญญานนท์. พิมพ์ครั้งที่ 1 จำนวน 1 ,000 เล่ม. มกราคม 2546. มีวินัยเป็นเกราะ มีความตั้งใจเป็นกำลัง มีภูมิปัญญาเป็นอาวุธ. คำนิยม. เรียบง่ายสบายใจ Easy & Enjoy

Download Presentation

พื้นฐานการบริหารงาน

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. เรียนรู้ ทำตาม ดูแลผล พื้นฐานการบริหารงาน ที่ระลึกครบรอบ 90 ปี ปูนซิเมนต์ไทย 2456-2546 สมหวัง วิทยาปัญญานนท์ พิมพ์ครั้งที่ 1 จำนวน 1,000 เล่ม มกราคม 2546 มีวินัยเป็นเกราะ มีความตั้งใจเป็นกำลัง มีภูมิปัญญาเป็นอาวุธ

  2. คำนิยม เรียบง่ายสบายใจ Easy & Enjoy ข้อมูลทางบรรณานุกรมของหอสมุดแห่งชาติ พื้นฐานการบริหารงาน (40 หน้า) 1. การบริหารงาน 2. แนวพุทธ นายสมหวัง วิทยาปัญญานนท์ บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย ( ท่าหลวง ) จำกัด จ. สระบุรี พิมพ์ครั้งที่ 1 มกราคม 2546 จำนวน 1,000 เล่ม ISBN 974-91387-1-6 ด้วยทางบริษัทปูนซิเมนต์ไทย (ท่าหลวง) จำกัด ต้องการสนับสนุนการทำงานอย่างเรียบง่ายสบายใจ (Easy&Enjoy) ตามนโยบายสนับสนุนให้นำเครื่องมือเทคนิค ต่างๆที่เห็นว่าดี มาเป็นพื้นฐานความรู้ อันจะนำไปใช้ในการ แก้ปัญหาและปรับปรุงงานให้ดีขึ้น จึงได้มอบหมายให้ นายสมหวัง วิทยาปัญญานนท์ ประธานคกก.TQM:Bottom Up ปูนท่าหลวง เขียนพื้นฐานการบริหารงาน เพื่อใช้เป็น หนังสือแนวทางปฏิบัติงานและบริหารงาน อันเป็นทางไปสู่ การเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กรต่อไป และจัดทำเป็นหนังสือ ที่ระลึกเนื่องในโอกาสครบรอบ 90 ปีปูนซิเมนต์ 2456-2546 อีกด้วย นายสมเกียรติ พันธุ์อนุกูล กรรมการผู้จัดการ บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย (ท่าหลวง) จำกัด กุมภาพันธ์ 2546 Download ไฟล์นี้ ได้ที่เว็บไซต์ พุทธวิธีบริหาร (ก)

  3. สารบัญ คำนำ คำนิยม (ก) คำนำ (ข) สารบัญ (ค) โครงสร้างองค์กรแบบแก้ว 3 ดวง 1 หลักบริหารเชิงพุทธ 2 เหตุปัจจัยก่อเกิดผล 3 ห่วงโซ่ปัญหา 4 หลักความเชื่อถือข้อมูล 5 การใช้สติปัญญาในขณะทำงาน 6 การใช้สติเพื่อความปลอดภัยในการทำงาน 7 การจัดการสารสนเทศ 8 ธรรมชาติของปัญหา 9 หลักการแก้ปัญหา 10 การตอบโต้ปัญหา 11 สร้างพลังให้งานสำเร็จ 12 วิธีชนะอุปสรรค 13 ภาวะผู้นำที่ดี 14 ภาวะนักปกครองที่ดี 15 ด้วยคกก.TQM:Bottom Up ปูนท่าหลวง เล็งเห็นว่าพื้นฐานการ บริหารงานเป็นสิ่งสำคัญในการแก้ปัญหางานหรือปรับปรุงงานให้ดียิ่งๆขึ้น สิ่งเหล่านี้เป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนองค์กรไปสู่ประสิทธิภาพ สามารถแข่ง ขันได้ และบรรลุเป้าหมายตามวิสัยทัศน์ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในเชิงบริหารจัด การธุรกิจ แนวทางที่หยิบยกมานำเสนอนี้ จะเป็นแนวทางของพุทธศาสนามา ประยุกต์ใช้ โดยหลีกเลี่ยงศัพท์ทางธรรมะ แต่จะใช้ภาษาบุคคลทั่วไปในการ อธิบายความ อย่างไรก็ตามก็จะเขียนอ้างอิงไว้ที่บรรทัดสุดท้ายของกระดาษ เพื่อให้ผู้สนใจค้นหาได้ในรายละเอียด นอกจากนี้จะใช้วิธีการเขียนให้จบเรื่องภายในหน้าเดียวหรือเป็นภูมิ ปัญญาหน้าเดียวอีกด้วย เพื่อที่จะได้จับประเด็นเรื่องได้เร็วขึ้น และดูเป็นเรื่อง ง่ายๆ สมหวัง วิทยาปัญญานนท์ ประธานคกก.TQM:Bottom Up ปูนท่าหลวง ผู้เขียน กุมภาพันธ์ 2546 (ข) (ค)

  4. โครงสร้างองค์กรแบบแก้ว 3 ดวง องค์กรเปรียบเหมือนแก้ว 3 ดวง แก้วดวงที่ 1 ตัวองค์กร (ตัวแม่) บริษัท หรือสิ่งที่ก่อกำเนิดองค์กร หรือผู้ถือหุ้น แก้วดวงที่ 2 ตัวหลักการบริหาร (หลัก) ระเบียบปฏิบัติ หรือแนวทางปฏิบัติ ซึ่งเป็นตัวแทนบริษัทที่ สั่งให้ทำให้ปฏิบัติตาม ประกอบด้วย หลักการบริหาร 3 ส่วน ดังนี้ 1. องค์ความรู้ ประกอบด้วย - มีระเบียบ วินัย ข้อบังคับ - หลักวิชาพื้นฐานแห่งอาชีพและภารกิจ - ความรู้ชั้นสูง มีการตลาด การเงิน ผู้นำ การผลิต การสื่อสาร และการวิเคราะห์ผลลัพธ์ 2. การปฏิบัติ ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ การกระทำทางกาย การกระทำทางใจ และการกระทำทางปัญญา 3. ผลลัพธ์ ประกอบด้วย 3 ส่วนคือ ตัวองค์ภูมิปัญญาที่ เกิดขึ้น ผลลัพธ์ทางธุรกิจ และการบรรลุเป้าหมายตามวิสัยทัศน์ แก้วดวงที่ 3 ตัวผู้ปฏิบัติการ (คน) ผู้ปฏิบัติการ หรือผู้ที่นำหลักการมาปฏิบัติ หรือเผยแพร่ สั่งสอน หรือชี้นำให้คนอื่นปฏิบัติหรือยอมรับเช่นผู้จัดการ หัวหน้างาน และคนงาน เพื่อให้ตัวหลักการบรรลุผลอย่างมีประสิทธิภาพ พร้อม ทั้งทำให้องค์กรอยู่รอดอย่างยั่งยืน อ้างอิง : โครงสร้างพระพุทธศาสนา “พระรัตนตรัย” สารบัญ (ต่อ) หลักการสร้างความมั่นคงยั่งยืนขององค์กร 16 ประเภทบุคคลตามพฤติกรรม 17 หลักการสอนงาน 18 คุณลักษณะวิธีการสอนที่ดี 19 ความเชี่ยวชาญฉลาด 20 หลักการทำความดีในองค์กร 21 การสร้างภูมิปัญญาในองค์กร 22 เทคนิคการคิดพิจารณาปรับปรุงงาน 23 การสร้างความสามัคคีในองค์กร 24 วิธีการหยั่งรู้ความจริงในการทำงาน 25 อาชีพต้องห้าม 26 การดูแลทุกข์สุขของบุคคลในองค์กร 27 การตัดสินใจโดยปราศจากอคติ 28 ประวัติปูนซิเมนต์ไทย 29 ประวัติปูนท่าหลวง 30 คุณสมบัติของคนเก่งและคนดี 31 อุดมการณ์ 4 ประการของเครือซิเมนต์ไทย 32  (ง) (1)

  5. เหตุปัจจัยก่อเกิดผล หลักบริหารเชิงพุทธ • ตัวหลัการบริหารตามแก้วดวงที่ 2 นั้น จะนำมาใช้งานมากที่สุด มี 3 • ขั้นตอน • 1. องค์ความรู้ (เรียนรู้) • สิ่งที่เป็นความรู้ทั่วไปหาได้ในตลาดวิชาการ • องค์ความรู้ขององค์กรเอง สะสมเองจากผลการปฏิบัติงาน • นำความรู้จากคนอื่นโดยใช้ที่ปรึกษา • วางแผน เตรียมการ สร้างสิ่งรู้ที่จะทำ • 2. การปฏิบัติ (ทำตาม) • ปฏิบัติตามองค์ความรู้จากแผนที่จะทำ ซึ่งมีการกระทำ 3 ด้านคือ • (1) ทำทางกาย เช่น ทำด้วยมือ พูดสื่อสาร ความสุจริต • (2) ทำทางใจ เช่น การตั้งมั่นมุ่งเป้า การเตือนตนด้วยสติ การ • เพียรพยายามให้ของที่จะทำให้ดีขึ้นเรื่อย ๆ • (3) ทำทางปัญญา เช่น ความเห็นถูกต้อง คิดแก้ปัญหาได้ • 3. ผลลัพธ์ (ผลจากการปฏิบัติตามข้อ 2) (ดูแลผล) • เป้าหมายเทียบกับผล ดูการบรรลุผล • บทเรียนที่ได้รับทั้งเชิงผลสำเร็จ และความล้มเหลว แล้วทำเป็นภูมิ • ปัญญาองค์กร • ผลลัพธ์เชิงธุรกิจเทียบกับวิสัยทัศน์ • ขั้นตอนทั้ง 3 นี้ จะต้องหมุนเป็นวัฎจักรเทียบเคียงได้กับวงจรเดมมิ่ง จน • กว่าจะบรรลุวิสัยทัศน์ • อ้างอิง :หลักปฏิบัติเชิงพุทธ 3 ป คือ ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ สิ่งที่เกิดขึ้นมาจากเหตุปัจจัยเป็นต้นเหตุ เมื่อเวลาพบปัญหาใน ปัจจุบัน สิ่งแรกที่จะต้องถามคือ สาเหตุเกิดจากอะไร นอกจากนี้หากเรา ต้องการปรับปรุงงานให้เกิดผลลัพธ์ในอนาคต สิ่งที่ถามคือ อะไรเป็นมูล เหตุที่ต้องทำจึงเกิดผลอย่างนี้ในอนาคต องค์ประกอบของเหตุปัจจัยก่อเกิดผล มี 3 ส่วนคือ 1. ตัวกฎ (กฎ) เป็นสิ่งธรรมชาติ ไม่มีใครสร้าง ไม่มีเหตุปัจจัยอะไรทำให้ เกิดกฎ เช่น กฎวิทยาศาสตร์ กฎทางเคมี กฎฟิสิกส์ เป็นต้น ตัวอย่างน้ำ จะตกจากที่สูงสู่ที่ต่ำ ซึ่งจะมีเงื่อนไขกฎด้วย 2. การเป็นไปตามกฎ (เป็น) เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงเมื่อมีเหตุ ปัจจัยเข้ามาเข้าเงื่อนไขตามกฎ เช่น เมื่อปล่อยน้ำจากที่สูง การเป็นไป ตามกฎคือ น้ำจะไหลลงหรือตกลงมา 3. การเป็นผล (ผล) เป็นผลจากการเป็นไปตามกฎ เช่น ผลจากการปล่อย น้ำจากที่สูงคือ น้ำที่มาอยู่ข้างล่าง ผลจากการปลูกข้าวคือเมล็ดข้าว ผล จากการทำดีคือได้ดี ผลจากการทำชั่วก็ได้ชั่ว เป็นต้น อ้างอิง : อิทัปปัจจยตา (ท่านพุทธทาส) รู้ ผล ทำ กฎ (พร้อมเงื่อนไขการเกิด) ผล เหตุปัจจัย เป็น (กระบวนการ) (2) (3)

  6. หลักความเชื่อถือข้อมูลหลักความเชื่อถือข้อมูล ห่วงโซ่ปัญหา ในการแก้ปัญหานั้น เราต้องไล่ไปหาเหตุรากเหง้าเสมอ แล้วดับเหตุ ปัจจัยรากเหง้านั้น ๆ ซึ่งจะเป็นความไม่รู้ (อวิชชา) หรือไม่มีภูมิปัญญา หรือ ขาดกึ๋นขาดมาตรฐานงานที่ดี การไล่หาสาเหตุรากเหง้ามี 12 ห่วงโซ่ คือ (1) เมื่อเราไม่รู้อะไรถูกต้อง (2) เราก็คิดว่ามันดี (3) เราก็ยอมรับมันเป็นหลักการ (4) จากนั้นเราก็ไปแสวงหามาใช้งานใช้ประโยชน์ (5) ที่เรารับรู้ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ จากสิ่งที่เราใช้ไป (6) ใจเราก็ตีความแปลผลเป็นภาพ เสียง กลิ่น รส ร้อนเย็น ขนาดไหน มาก น้อยพอดี (7) จากข้อมูลดังกล่าวเราก็จะตัดสินว่าดี ไม่ดี เฉย ๆ (8) ถ้าดีก็อยากได้มา หากไม่ดีก็ผลักไสออกไป (9) หากดีเราก็ยึดมั่นว่านี่แหละคือสิ่งที่เราต้องการ (10) เกิดเป็นวงจรชีวิตแห่งการยึดมั่น (11) จากนั้นเราก็ปฏิบัติต่อสิ่งนั้นเป็นประจำวัน (12) จนกว่าจะเสื่อมถอยและสิ้นสุดวาระสิ่งนั้น ๆ หมุนเวียนไปเกิดนับหนึ่งใหม่ที่เราไม่รู้ตาม (1) สืบต่อมาทีละข้อแบบ ไม่รู้จบ จนว่าอวิชชาจะถูกดับลงไป โดยใช้ปัญญาในการดับเหตุแห่งปัญหา อ้างอิง : ปฏิจจสมุปบาท (ห่วงโซ่ทุกข์ 12 ห่วง) ในชีวิตการทำงานนั้นมีข่าวสารข้อมูลมากมาย ซึ่งทำให้เราเชื่อว่า เป็นจริง เมื่อเราเชื่ออย่างนี้เราก็แก้ไขปรับปรุงงานตามความเชื่อนั้น ๆ หรือ มีวิชาการชาวตะวันตกเข้ามาบอก เราก็คิดว่าดีกว่าวิชาการที่เรามีอยู่ แล้ว เราก็ทำตามเขา แล้วเราจะเชื่ออย่างไรดี ทางที่ถูกต้องนั้นเราไม่ควรรีบเชื่อ และอย่ารีบปฏิเสธ แล้วให้วิเคราะห์สิ่งทีทำให้เชื่อเหล่านี้ 10 ที่มา ดังนี้ 1. ฟังกันมาเรียนกันมา 2. นับถือสืบต่อกันมา ความรู้ที่มีแต่โบราณ 3. ข่าวเล่าลือ การบอกกล่าวต่อ ๆ กัน 4. มีอ้างไว้ในตำราหรือพระไตรปิฎก 5. เดาเอาตามเหตุผลตรรกะ น่าเชื่อถือ 6. อนุมานตามปรัชญา คาดคะเนจากข้อเท็จจริงที่ปรากฎ 7. ตรึกตรองตามอาการหรือหลักฐานที่ปรากฎ 8. เข้ากันได้กับความเห็น ทฤษฎี ลัทธิของคน 9. รูปลักษณะ และเป็นบุคคลที่น่าเชื่อถือ 10. ผู้พูดเป็นครูของเรา หากพิจารณา 10 ที่มาความเชื่อที่อาจไม่เป็นจริงหรือเป็นจริงนี้แล้ว ให้พิจารณาว่าพิสูจน์ผลจากการทำตามสิ่งที่ทำตามความเชื่อถือแล้วไม่ เบียดเบียนใคร มีประโยชน์ ทำให้สังคม หรืองานพัฒนาดีขึ้น และบัณฑิต ทั่วไปสรรเสริญก็จงเชื่อเถิด อ้างอิง :กาลามสูตร ติกนิบาต อังคุตตรนิกาย สุตตันตปิฎก พระไตรปิฎก เล่มที่ 20 (4) (5)

  7. การใช้สติปัญญาในขณะทำงานการใช้สติปัญญาในขณะทำงาน การใช้สติเพื่อความปลอดภัยในการทำงาน ในการทำงานนั้น เพื่อให้เกิดผลสำเร็จ และมีคุณภาพ ควรมี 4 ขั้นตอน ตามตัวอย่างงานเชื่อมโลหะ ดังนี้ 1. การรู้กระบวนงาน ต้องรู้ตั้งแต่การจัดเตรียมอุปกรณ์ ตู้เชื่อม ลวดเชื่อม การจัดเตรียม ชิ้นงาน รู้กลไกในการเชื่อม รู้สภาพทางโลหะวิทยา 2. การหยั่งรู้ดีไม่ดี ขณะเชื่อมและหลังเชื่อม สามารถรู้ได้จากรอยเชื่อมนั้นดีหรือไม่ดี และเหมาะกับชิ้นงาน ถ้าไม่ดีจะเชื่อมแก้ให้ดีได้อย่างไร 3. การรู้เหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดดีไม่ดี เหตุปัจจัยเชื่อมดีหรือไม่ดีนั้นมาจากเหตุปัจจัยอะไร หรือไม่ถ้ารู้ก็ ต้องศึกษาจากตำรา ถามผู้รู้ หรือพิจารณาเอง หรือไล่หาสาเหตุให้ได้ 4. สรุปเป็นหลักการ จากการรู้ว่าทำไมจึงเป็นเช่นนั้น การพิจารณาผลงานและทฤษฎีที่ ร่ำเรียนมา แล้วสรุปเป็นหลักการความรู้ภูมิปัญญาว่า การเชื่อมที่ดีต้องทำ อะไรบ้างเป็นหลักการเอาไว้ อ้างอิง : สติปัฏฐาน 4 (กาย เวทนา จิต ธรรม) ในการทำงานนั้นเราต้องใช้ สติ สัมปชัญญะ สมาธิ และปัญญา จึงจะมีความปลอดภัยในการทำงาน การฟันกิ่งไม้ให้ขาด เริ่มจากการรู้วิธีการจับมีด และวิธีการตัดที่ ปลอดภัยต่อตัวเอง และคนอื่น ต้องมีสติว่าตอนนี้จับมีดที่ตรงไหน คมมีดอยู่ ไหน สัมปชัญญะเตือนทุกอิริยาบทตั้งแต่การจับมีด การเงื้อมมือ การฟัน จน ถึงการเก็บมีด ว่าช่วงไหนอันตราย จะเกิดได้อย่างไร ช่วงไหนต้องระมัดระวัง มาก สมาธิต้องมีใจจดจ่อ ตามองชิ้นงาน มือจับมีดให้มั่น ฟันไปด้วยใจแน่ว แน่ตามวิธีการที่รู้ ปัญญาต้องคอยทบทวนทุกขณะจิต ว่าฟันอย่างไรจึงขาด ได้ง่าย ไม่เจ็บมือ ไม้ไม่กระเด็นไปถูกคนอื่น การฟันที่ปลอดภัย อาจต้องฟัน ออกจากตัว ไม่ใช่ฟันเข้าหาตัว อ้างอิง : ธรรมะสี่เกลอมี สติ สัมปชัญญะ สมาธิ และปัญญาของท่านพุทธทาส (6) (7)

  8. การจัดการสารสนเทศ ธรรมชาติของปัญหา ปัจจุบันนี้ จำเป็นต้องมีการจัดการฐานข้อมูลเพื่อเป็นพื้นฐานของ การตัดสินใจของผู้นำ การวางแผนกลยุทธ การทำให้ลูกค้าพอใจ การพัฒนา บุคคล การผลิต และการควบคุมผลลัพธ์ทางธุรกิจ การจัดการสารสนเทศมี 4 ขั้นตอน คือ 1. ธรรมชาติแห่งข้อมูล ข้อมูลเป็นทั้งเหตุปัจจัยและข้อมูลผลลัพธ์ บางข้อมูลก็จริง บาง ข้อมูลก็เท็จ บางข้อมูลก็วิเคราะห์ หรือกรองมาแล้ว บางข้อมูลก็เป็นภูมิ ปัญญา ข้อมูลมีอยู่มากมาย แต่ต้องหาว่าข้อมูลแบบไหนมีประโยชน์ต่อ ธุรกิจ 2. จุดวัดผลของงาน เพื่อให้พิจารณาว่าสิ่งที่ทำไปแล้วดีหรือไม่ดี เป็นตัวแทนของวัตถุ ประสงค์ของงานหรือไม่ ไปถูกทางหรือผิดทาง อะไรเป็นตัวอุปสรรคต่อ ความสำเร็จ 3. กระบวนการวิเคราะห์ข้อมูล เป็นการตรวจสุขภาพของงาน ตรวจสอบวัตถุประสงค์ผลกับ แผน ค้นหาสาเหตุแห่งความบกพร่อง หาปัจจัยที่จะนำไปสู่ผลสำเร็จ 4. การทบทวนผลการดำเนินการและทำมาตรฐานงาน ให้ทบทวนผลการดำเนินการในขั้น 1, 2 และ 3 ได้เรียนรู้อะไร บ้าง แล้วนำความรู้ภูมิปัญญาไปใช้งานในองค์กร ตลอดจนทบทวนความ พร้อมการใช้ข้อมูลและการคอมพิวเตอร์ในการจัดการสารสนเทศ อ้างอิง :สติปัฏฐาน 4 กับงานสารสนเทศ สามัญลักษณะของธรรมชาติ ทุกสิ่งทั้งปวงมี 3 ประการ ซึ่งควรทำ ความเข้าใจให้ถ่องแท้ เพราะเป็นพื้นฐานความรู้ในเรื่องการแก้ไขปัญหา ปรับปรุงงาน ดังนี้ 1. ไม่เที่ยงไม่คงทนถาวร คือไม่มีอะไรคงที่ถาวรตลอดกาลนานไม่ เปลี่ยนแปลง ไม่เสื่อมคลาย ภูเขาดอยอินทนนท์เมื่อ 400 ล้านปี ยังเคยเป็น ที่ราบ คนเราก็มีเกิด แก่ เจ็บ ตาย มีวงจรชีวิตแค่ร้อยปี มีลาภ-เสื่อมลาภ ได้ ยศ-เสื่อมยศ มีคนนินทา-มีคนสรรเสริญ มีสุขได้-ก็มีทุกข์ได้ เป็นของธรรมดา เทคโนโลยีและวิธีการผลิตในปัจจุบันก็ไม่เหมือนในอดีต 2. ปัญหาหรือทุกข์จากความไม่เที่ยง คือ จากเหตุข้อ 1 เมื่อแปร เปลี่ยนไป สิ่งนั้นย่อมมีผลลัพธ์ต่างจากเดิมปัจจุบัน หรือสิ่งที่เราคาดหมายไว้ สิ่งนั้นย่อมเกิดปัญหาทั้งด้านบวกและด้านลบ ขายต่ำกว่าเป้า ผลแห่งปัญหา คือกำไรน้อย ของเหลือ ขายดีกว่าเป้าหมายมาก ๆ ผลแห่งปัญหาคือกำไร มากไป ผลิตของไม่ทัน 3. ควบคุมไม่ได้โดยสมบูรณ์ คือ สิ่งที่เปลี่ยนแปลงไป เป็นไปตามกฎ ธรรมชาติ จากเหตุข้อ 1 เราควบคุมไม่ได้โดยสมบูรณ์ เช่น ไม่สามารถควบ คุมไม่ให้เครื่องจักรชำรุดเลยไม่ได้ แต่ควบคุมได้บางส่วน โดยเข้าไปดูที่เหตุ ปัจจัยที่ทำให้เสื่อมให้ชลอความเสี่อมลง ตามหลักการแก้ปัญหาตามข้อ 2 อ้างอิง :กฎไตรลักษณ์ สุตตันตปิฎก พระโตรปิฎกเล่มที่ 18 และ 25 (8) (9)

  9. หลักการแก้ปัญหา การตอบโต้ปัญหา • ในการทำงานและการดำรงชีวิต เราจะพบปัญหาหลายอย่าง บางคน • ก็กลุ้มใจเป็นทุกข์ ไม่รู้จะแก้ปัญหาได้อย่างไร จนบางคนบอกว่า “ปัญหามี • ไว้แก้ ไม่ใช่มีไว้กลุ้ม” ขั้นตอนการแก้ปัญหามี 4 ขั้นตอน ดังนี้ • 1. นิยามปัญหา • ปัญหาคือสิ่งที่ได้รับ หรือผลลัพธ์ต่างจากสิ่งที่อยากได้ หรือเป้า • หมายที่ตั้งใจไว้ ไม่ว่าจะเป็นด้านที่เป็นบวก และเป็นลบ • ทำความเข้าใจลักษณะปัญหาให้ลึกซึ้งเพียงพอ • 2. เหตุปัจจัยของปัญหา • วิเคราะห์เหตุปัจจัยของปัญหามีอะไรบ้าง เช่น คน เครื่องจักร วัตถุดิบ • วิธีการ สภาพแวดล้อม เป็นต้น • ลองไปที่สถานที่เกิดเหตุ เฝ้าดูที่เหตุการณ์จริง เอาสิ่งของที่เป็น • ปัญหามาวิเคราะห์ดู • พิสูจน์เหตุปัจจัยว่าส่งผลต่อปัญหาจริง ไม่ใช่มาจากการเดาหรือจาก • เอกสาร เหตุปัจจัยนั้นเป็นแค่อาการ หรือเหตุรากเหง้า • เหตุปัจจัยมีตัวเดียว หรือหลายตัว • 3.ตั้งเป้าหมายที่จะบรรลุ • สร้างจุดวัด • ตรวจดูสภาพปัญหามีมากน้อย • ต้องการบรรลุเป้าหมายในเชิงปริมาณ ภายในเวลาที่กำหนด • 4. วางมาตรการแก้ไข • แก้อาการก่อนเพื่อบรรเทาอาการปัญหา • แก้ปัญหาที่สาเหตุรากเหง้าเพื่อป้องกันปัญหาในระยะยาว • หมุนวงจรตามข้อ 3 และ 4 หากยังเป็นเหตุเดิม • หมุนวงจรตามข้อ 2, 3 และ 4 หากมีเหตุเพิ่ม • กำหนดมาตรฐานงานถึงวิธีการป้องกันปัญหา • อ้างอิง : อริยสัจ 4 การแก้ปัญหางานใด ๆ นั้น หนีไม่พ้น 3 ทาง หรือ 8 วิธี ดังนี้ ทางที่ 1 การแก้ที่ภูมิปัญญาหรือสมอง วิธีที่ 1 รู้ดี คือรู้จักปัญหา รู้วิธีไล่หาสาเหตุ มีภูมิปัญญาขององค์กร มีวิธี การแก้ไขตามวิธีมาตรฐาน วิธีที่ 2 คิดเป็น คือคิดแก้ปัญหาที่เหตุรากเหง้าพึ่งพาตนเองเป็นหลัก คิด ปรับปรุง มีแนวคิดเชิงระบบ ทางที่ 2 การแก้ที่การทำทางกายและวาจา วิธีที่ 3 ทำดี คือ ทำแต่สิ่งที่มีประโยชน์ พัฒนาปรับปรุง ลดการสูญ เสีย ยืดหยุ่นเพียงพอ วิธีที่ 4 สื่อสารดี คือ สื่อถูกเรื่อง ถูกคน ถูกเวลา ถูกสถานที่ สื่อเร้าใจ ให้ทำคุณภาพดี วิธีที่ 5 สุจริต คือ ไม่ทุจริต ซื่อสัตย์ ยุติธรรม ให้ข้อมูลถูกต้อง ไม่ทำ อาชีพต้องห้าม ทางที่ 3 การแก้ที่การทำทางใจ วิธีที่ 6 พยายามดี คือ ลดสิ่งไม่ดี เพิ่มสิ่งดี รักษาสิ่งดี และป้องกันข้อ บกพร่อง วิธีที่ 7 เตือนตน คือ มีระบบเตือนใจ ทุกขณะจิตที่ทำงาน วิธีที่ 8 มุ่งเป้า คือ มุ่งจุดไม่กระจาย ไม่ท้อแท้ ทุ่มเท เรียงลำดับความ สำคัญ อ้างอิง : มรรคแปด (10) (11)

  10. วิธีชนะอุปสรรค สร้างพลังให้งานสำเร็จ ในการทำงานนั้นบางครั้งจะพบอุปสรรคจากคู่แข่ง ฝ่ายค้าน ชุมชน รอบข้างที่ไม่เห็นด้วยกับการดำเนินงาน วิธีชนะอุปสรรคมี 8 วิธี ดังนี้ 1. การให้ สำหรับอุปสรรคที่เกิดจากคนที่ชอบก่อกวน หรือคนที่เห็นว่าเรา มาตักตวงประโยชน์ ต้องมีการให้ การช่วยเหลือเขาบ้าง 2. การใช้ความอดทน สำหรับอุปสรรคที่เกิดจากคนที่ใจร้อน มีเวลาน้อย คนมีอำนาจมากกว่าเรา ต้องมีความอดทน 3. การใช้ความเมตตา สำหรับอุปสรรคที่เกิดจากคนที่ชอบใช้กำลัง มีใจ นักเลง คนที่ชอบโวยวาย ต้องใช้ความเมตตาและปลอบบ้าง ชมบ้าง 4.ใช้ฝีมือที่เหนือกว่า สำหรับอุปสรรคที่เกิดจากคนที่เชื่อมั่นในตนเองสูง หัวดื้อ ต้องใช้อำนาจผู้บังคับบัญชาสั่ง ตักเตือน ขู่ให้กลัว 5. ระงับใจไว้ สำหรับอุปสรรคที่เกิดจากคนใส่ร้ายป้ายสี ต้องระงับใจไว้ และรอให้ความจริงปรากฎ 6. ใช้ปัญญาสั่งสอน สำหรับอุปสรรคที่เกิดจากคนที่ชอบพูดโอ้อวดแต่รู้ ไม่จริง ต้องใช้ปัญญาที่สูงกว่าสั่งสอน 7. มอบฤทธิ์ให้ศิษย์ไปจัดการ สำหรับอุปสรรคที่เกิดจากคู่แข่งที่ฝีมือไม่ คู่ควร ต้องมอบให้มือขวาไปจัดการแทน 8. หยั่งรู้ใจ สำหรับอุปสรรคที่เกิดจากผู้ที่สำคัญผิดว่าตัวเองเก่งสุดยอด แล้ว เช่นผู้เชี่ยวชาญ ผู้ชำนาญการ ต้องใช้วิธีสอนให้รู้ว่าเขายังไม่บรรลุ สิ่งสุดยอด อ้างอิง :พุทธวิธีชนะมาร (คาถาพาหุง หรือ ชัยมงคลคาถา) ในการทำงานให้บรรลุผลสำเร็จนั้น ไม่ว่าจะเป็นงานที่ทำเพียงคน เดียวหรือทำเป็นทีม เราสามารถใช้หลักการ “สร้างพลังให้งานสำเร็จ” มี 5 ขั้นตอน ดังนี้ 1. สร้างศรัทธาในสิ่งที่ทำ(เชื่อ) มีความมั่นใจในเหตุผลทฤษฎีของสิ่งที่ จะทำ มีคนคอยชี้แนะที่ปรึกษาตลอดจนเห็นประโยชน์ในสิ่งที่จะทำ เช่นมั่นใจว่าเรียนภาษาอังกฤษดีจะมีความก้าวหน้าในงาน เป็นต้น 2. ทำอย่างขยันหมั่นเพียร (ทำ) ไม่ท้อถอย แม้นว่าจะพบอุปสรรค สิ่ง ไหนไม่ดีก็พยายามเลี่ยง สิ่งไหนดีก็พยายามทำให้ดียิ่งขึ้น 3. สร้างจุดเตือน หรือพรานนำทาง (เตือน)คือตื่นตัวเสมอ หากเชื่อผิด ๆ ก็คิดใหม่ หาความรู้ใหม่ หากเกียจคร้านก็เตือนให้ขยัน หากทำตึงไปก็ให้ ผ่อนลงบ้าง หากทำงานด้วยความเชื่อมาก ๆ ก็เตือนให้รู้จักใช้สมอง ใช้ ปัญญา ใช้กลยุทธบ้าง 4. หาจุดเน้นมุ่งเข็ม (เน้นจุด) คือ ไม่ใช่เอาทุกอย่างให้เรียงลำดับความ สำคัญ แล้วเลือกทำจุดสำคัญ เพื่อให้กำลังทุกอย่างลงจุดเดียว แบบเลนส์ นูนรวมแสง ทำให้ความขยันหมั่นเพียรมาที่จุดเน้น 5. สร้างองค์ความรู้ภูมิปัญญา (สร้างหลัก) คือ ทำงานไปด้วยก็คิด ไปทำไปด้วยความฉลาด รู้เหตุรู้ผล รู้ความพอดี รู้ในเรื่องงาน การทำงานเป็น ทีม ตลอดจนเป็นตัวกำกับความเชื่อศรัทธาไม่ให้หลงผิดหลงทาง อ้างอิง : พละ 5 (12) (13)

  11. ภาวะนักปกครองที่ดี ภาวะผู้นำที่ดี ในการปกครองบ้านเมือง สังคมในท้องถิ่น หรือในองค์กร ผู้นำต้อง ประพฤติตามหลัก 10 ประการคือ 1. รู้จักเสียสละทรัพย์ ช่วยเหลือราษฎรหรือลูกน้องให้มีความเป็น อยู่ดีมีสุข บรรเทาทุกข์ ให้สวัสดิการ หรือสร้างสาธารณะ ประโยชน์ 2. รู้จักควบคุมความประพฤติวินัย ทางการกระทำและทางวาจา ให้อยู่ในความดีน่าเคารพนับถือแก่คนทั่วไป 3. รู้จักเสียสละความสุขส่วนตัวเพื่อประโยชน์สุขแก่ประชาชน หรือ ลูกน้อง และความสงบเรียบร้อย 4. มีความซื่อสัตย์ จริงใจ ไม่หลอกลวงใคร 5. มีความอ่อนโยน ไม่เย่อหยิ่ง นุ่มนวล สง่างาม เพื่อให้ได้ความรัก ภักดี และยำเกรง 6. รู้จักการข่มใจ ไม่ลุ่มหลงความสุขสำราญจนเป็นคนเสเพล 7. รู้จักหักห้ามความโกรธ ไม่กริ้วกราด จนตัดสินใจผิดพลาด ให้มี เมตตาไว้ 8. ไม่บีบคั้นกดขี่ ขูดรีด กินแรง เบียดเบียน อคติ เอาเปรียบ 9. มีความอดทนต่องานที่ตรากตรำ ไม่ท้อถอย แม้นว่าจะถูกเสียดสี ถากถางอย่างใด 10. มีความยุติธรรมใช้หลักการแบบแผนตลอดจนประเพณีอันดีงาม อ้างอิง :ทศพิธราชธรรม การที่จะเป็นผู้นำที่ดีนั้น จำเป็นต้องมีภาวะผู้นำหรือคุณลักษณะ ผู้นำ เพื่อที่พากลุ่มหมู่คณะไปสู่ทางที่เจริญพัฒนาขึ้น มี 7 ประการ 1. รู้จักเหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดผลในอนาคต 2. รู้จักผลดี เลวที่ปรากฎในปัจจุบันมาจากเหตุปัจจัยอะไรในอดีต 3. รู้จักตัวเองว่าโดยฐานะความรู้ เพศ กำลัง ความรู้ ความถนัด คุณธรรม แล้วทำตัวให้เหมาะสม 4. รู้จักความเหมาะพอดีในการหา ในการใช้ ในการรักษา ตลอด จนความพอดีในการพูด คิด และทำ 5. รู้จักจังหวะเวลาที่เหมาะสมว่าเวลาใดควรทำอะไร แล้วแบ่ง เวลาตามภารกิจที่เหมาะสม 6. รู้จักชุมชนท้องถิ่น แล้วปรับตัวให้เหมาะกับชุมชนหรือสังคมนั้น ๆ 7. รู้จักเลือกคบคน ระดับความสนิทสนม เลือกใช้คนให้เหมาะกับ งาน อ้างอิง : สัปปุริสธรรม 7 (14) (15)

  12. ประเภทบุคคลตามพฤติกรรมประเภทบุคคลตามพฤติกรรม หลักการสร้างความมั่นคงยั่งยืนขององค์กร ในการบริหารองค์กรนั้น เราต้องจำแนกประเภทบุคคล เพื่อพัฒนา ทรัพยากรบุคคลให้ดีขึ้น ซึ่งแต่ละคนก็ใช้วิธีการพัฒนาไม่เหมือนกัน เวลาเกิด ปัญหาก็มาจากคนบางกลุ่ม และการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ในองค์กร คนใดขัด ขวาง คนใดเห็นชอบก็ขึ้นอยู่กับประเภทของบุคคล เราสามารถเปลี่ยน ประเภทบุคคลได้ แต่ต้องพิจารณาให้ลึกซึ้ง ตามประเภทบุคคลตามพฤติ กรรมมี 6 ประเภทดังนี้ 1. รักสวยรักงาม เขากลัวไม่สวย กลัวความเสื่อม ควรพัฒนาเขาด้วยพบ หลักแห่งความจริงตามรูปแบบต่าง ๆ ตลอดจนกฎความไม่แน่นอน 2. โกรธง่ายใจร้อน มักหงุดหงิด ขัดเคือง ใจร้อน กลัวช้าไม่ทันใจ ควร พัฒนาเขาด้วยการฝึกให้ช่วยคนอื่น ฝึกเมตตา 3. เหงาซึมงมงาย มักเงื่องงง เบาปัญญา เชื่อคนง่าย กลัวไม่ทันคน กลัว รับผิดชอบงานใหญ่ กลัวเรียนรู้ กลัวปรับตัว กลัวการแก้ปัญหางาน ควร พัฒนาเขาด้วยการให้อยู่ใกล้ชิดครู ระบบพี่เลี้ยง 4. ซาบซึ้งเลื่อมใสง่าย มักมีจิตชื่นบาน น้อมใจ เชื่อง่าย ไม่ค่อยไตร่ตรอง ให้ชัดก่อน ควรพัฒนาเขาด้วยการชี้ทางแห่งปัญญา 5. คิดพิจารณามีเหตุผล มักชอบไตร่ตรองคิดมีเหตุมีผล ควรพัฒนาเขา ด้วยการปรับปรุงงาน ส่งไปเรียนรู้ ฝึกให้ระดมสมอง 6. จับจดฟุ้งซ่านวิตก มักคิดฟุ้งซ่าน อ่อนไหว วิตก กังวล และชอบคัด ค้านเพราะกลัวการเปลี่ยนแปลง การพัฒนาเขาต้องควรมีพี่เลี้ยง คู่มือ แนะนำ ให้กำลังใจ อ้างอิง : จริต, จริยา มหานิทเทส ขุททกนิกาย สุตตันตปิฎก พระไตรปิฎกเล่มที่ 29 หลักการดำรงความมั่นคงขององค์กรที่เป็นครอบครัว วงศ์ตระกูล หมู่เหล่าสังคม หน่วยงาน ห้างร้าน บริษัท มี 4 อย่างดังนี้ 1. หาของที่หายให้กลับมา เช่นสิ่งใดในบ้านเรือนหายไป หาก อยู่ในวิสัยที่จะหากลับมาได้ ก็ให้รีบหากลับมาให้ได้ ในองค์กรบริษัทก็เช่น กัน ของที่หายไป ของหกหล่นสูญเสีย เวลาที่สูญเสีย ก็ให้หาทางกำจัดเสีย หรือให้สูญเสียน้อยลง 2. ซ่อมแซมบูรณะของเก่าของชำรุด เช่น ของเก่าที่ใช้งานไม่ ว่าจะเป็นอาคารบ้านเรือน เสื้อผ้า โต๊ะทำงาน เครื่องจักรที่ชำรุดให้หาทาง ซ่อมให้ดี อย่าปล่อยให้เสื่อมโทรม ถ้าไม่ใช้จริง ๆ ก็ให้ขายหรือบริจาคให้คน อื่นใช้ประโยชน์ 3. รู้จักความพอดี ในเรื่องของการกิน การใช้ อะไรที่มากไปก็ ให้หาทางลดลง เช่น พลังงานไฟฟ้า อะไหล่ ทรัพย์สินที่ดิน เครื่องใช้สำนัก- งาน กระดาษ ให้หาทางรณรงค์ให้ใช้น้อยลง เอาแต่พอดีและไม่ต้องตระหนี่ จนขาดความสะดวก การทำ 5ส ก็ให้รู้จักความพอดี 4. รู้จักการตั้งคนดีคนเก่งให้เป็นใหญ่ ซึ่งจะต้องคิดไตร่ตรอง ในการคัดเลือกแต่งตั้งให้คนดีคนเก่งเป็นใหญ่ เป็นผู้นำในองค์กร ที่ใดมีคน ไม่ดีไม่เก่งเป็นผู้นำย่อมพาองค์กรไปไม่รอด อ้างอิง : กุลจิรัฏฐิติธรรม 4 จตุกกนิบาต อังคุตตรนิกาย สุตตันติปิฎก พระไตรปิฎก เล่มที่ 21 (16) (17)

  13. หลักการสอนงาน คุณลักษณะวิธีการสอนที่ดี หลักการสอนงานมี 3 ขั้นตอน คือ 1. สอนให้รู้ หมายถึง การสอนที่ต้องอดทน จ้ำจี้จ้ำไช พูดซ้ำ ๆ ซาก ๆ จนกว่าเขา จะรู้ จะเข้าใจ อาจจะเป็นการพูดบรรยาย การเอาหนังสือให้เขาอ่าน 2. ทำให้ดู หมายถึง มีกิจกรรมลงมือปฏิบัติ โดยการทำให้ดูเป็นตัวอย่าง ไม่ใช่ สอนแค่บรรยายอย่างเดียว เช่น สอนวิธีการขับรถ ก็ต้องขับให้เขาดู เป็นต้น 3. อยู่ให้เห็น หมายถึง ทำให้เกิดศรัทธาน่าเชื่อถือ ด้วยความซาบซึ้งต่อตัวผู้สอน คนสอนไม่น่าเชื่อถือ ลูกศิษย์เขาไม่ศรัทธา เขาก็ไม่ฟัง เช่น ครูสอนขับรถก็ ไม่ควรมีประวัติอุบัติเหตุโชกโชน เป็นต้น อ้างอิง :วิธีการสอนของหลวงพ่อชา การสอนในงานสอนในห้องและการสนทนาเพื่อถ่ายทอดแนวคิด ทฤษฎีแก่บุคคลให้ได้ผลสำเร็จ ผลดี ทำให้ผู้เรียนเกิดอยากเรียน และอยาก นำความรู้ที่ได้รับไปปฏิบัติต่อ มีคุณลักษณะ 4 ประการ ดังนี้ 1. แจ่มชัดเห็นจริงเห็นจัง เรื่องที่สอนนั้นต้องทำให้ชัดเจน แยก แยะ แสดงเหตุผลชัดเจน จนผู้ฟังเข้าใจแจ่มแจ้งเห็นจริงเห็นจังเหมือนเห็น ด้วยตา หรือประสบมาด้วยตนเอง 2. ชวนใจให้เห็นคุณค่าหากทำตาม ให้ชวนให้เอาไปปฏิบัติดู แนะนำให้หัดทำ ชี้ให้เห็นประโยชน์เห็นคุณค่า ให้จูงใจจนกว่าจะ รับไปปฏิบัติ เช่นจะทำให้งานสะดวกขึ้น ลดอุบัติเหตุลดเวลาทำงาน 3. ปลุกใจให้แกล้วกล้า ให้เร้าใจให้ฮึกเหิมแกล้วกล้า เกิดความ กระตือรือร้น อุตสาหะ สู้งานไม่กลัวเหนื่อย ทั้งก่อนทำและขณะทำ โดยการพูดเชียร์บ่อย ๆ การร้องเพลงมาร์ชปลุกใจ 4. บำรุงขวัญ ทำให้ผู้ฟังที่จะปฏิบัติตามมีจิตใจสดชื่นเบิกบาน เห็นผลดี เห็นประโยชน์ที่จะได้รับ และหนทางก้าวหน้าไปสู่ผลสำเร็จ ซึ่งอาจ เป็นตำแหน่งที่ก้าวหน้า โบนัส ได้รับการยกย่อง อ้างอิง : เทศนาวิธี 4 เกวัฏฏสูตร สีลขันธวัคค์ ทีฆนิกาย สุตตันตปิฎก พระไตรปิฎก เล่มที่ 9 (18) (19)

  14. หลักการทำความดีในองค์กรหลักการทำความดีในองค์กร ความเชี่ยวชาญฉลาด หากคิดว่าเราจะทำความดีได้อย่างไรในองค์กร ในหน่วยงาน เพื่อให้ องค์กรมีความปกติสุขเจริญเติบโตด้วยความมั่นคง ยั่งยืนตามผลแห่งการทำ ความดีของทุกคนในองค์กร มีอยู่ 10 วิธี ดังนี้ 1. เป็นผู้ให้ มีการให้วัตถุสิ่งของแก่ผู้ที่สมควรได้รับ การให้อภัยแก่ คนที่ทำผิดแล้วสำนึกผิด และการให้ความรู้ศิลปาชีพ 2. รักษากฎระเบียบวินัย มีกฎหมาย กฎระเบียบ เงื่อนไข ให้มีการ ปฏิบัติอย่างเคร่งครัด หากกฎระเบียบใดไม่เหมาะก็ให้แก้ไข 3. พัฒนาจิตใจให้ปกติ คือ ไม่โกรธง่าย ไม่เชื่อง่าย ไม่อยากได้ ในสิ่งที่ไม่ควรได้ ตลอดจนพัฒนาให้มีความคิดเชิงปัญญา 4. อ่อนน้อมถ่อมตน ต่อผู้ใหญ่ และให้เกียรติผู้น้อย 5. สร้างความร่วมมือร่วมใจ ในกิจการงาน และกิจกรรมบริษัท 6. รำลึกถึงผู้มีคุณ ต่อบริษัท และยกย่องทีมงานที่ทำงานดีให้ องค์กร 7. แสดงความยินดี เมื่อคนอื่นทำดี ไม่ควรอิจฉาริษยาผู้อื่น 8. หมั่นศึกษาหาความรู้ จากการอ่าน การฟัง และการสนทนา ที่ เกี่ยวข้องกับการทำงาน และการดำรงชีวิต 9. สร้างผู้สอน ให้ความรู้ ตลอดจนขวนขวายหาวิทยากรที่มีความ รู้ดี ๆ แนวคิดใหม่ ๆ มาถ่ายทอดให้กับพนักงานในองค์กร 10. สร้างแนวคิดที่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม ตามหลัก ธรรมาภิบาล ไม่เอาเปรียบเบียดเบียนลูกค้า หรือค้ากำไรจากการโกงลูกค้า หรือผู้ที่เอาวัตถุดิบมาขายให้ อ้างอิง : บุญกิริยาวัตถุ 10 ทีฆนิกาย อัฏฐกถา เล่มที่ 3 (สุมังคลวิลาสินี) ความฉลาดหรือความเชี่ยวชาญนั้นควรมีหลักในการยกย่อง คัด เลือกพิจารณาว่าเขาควรเป็นผู้เชี่ยวชาญจริง หรือหากองค์กรต้องการพัฒนา อบรมให้เขาเป็นผู้เชี่ยวชาญ ไม่ว่าสมรรถนะทางด้านกิจกรรม สังคม เทคนิค การสื่อสาร เทคโนโลยี และด้านการผลิต หรือเฉพาะเรื่องที่เป็นหัวใจของ ผลิตภัณฑ์ขององค์กร เป็นต้น มี 3 อย่างดังนี้ 1. ฉลาดรู้ทางเจริญ คือ รอบรู้การพัฒนาปรับปรุงทำให้เจริญขึ้น และรู้อะไรเป็นเหตุแห่งความเจริญ เช่น องค์กรจะเจริญจะต้องมีคนดี คนเก่ง พึ่งพาตนเองเป็นหลัก คิดปรับปรุงงานให้ดีขึ้นเสมอ รู้จักความพอดี รู้วิธีทำ ให้ลูกค้าพึงพอใจ เป็นต้น 2. ฉลาดรู้ทางเสื่อม คือ รอบรู้ทางเสื่อม และรู้อะไรเป็นเหตุแห่ง ความเสื่อม เช่น ทัศนคติที่ไม่ดีของพนักงานในองค์กร วัฒนธรรมองค์กรที่ เสื่อมถอยใช้จ่ายฟุ่มเฟือย บริหารงานไม่เป็น ไม่รู้จักทำการป้องกันสิ่ง บกพร่อง 3.ฉลาดในอุบาย คือ รอบรู้วิธีการแก้ไขเหตุการณ์ให้ดีขึ้น รู้วิธีการ ทำให้เกิดผลสำเร็จในเงื่อนไขกฎเกณฑ์ บุคคล และเครื่องมือ เครื่องจักรที่มี อยู่ รู้จักวางแผนเชิงกลยุทธ ในการผลิต การตลาด และลูกค้า อ้างอิง :โกศล 3 (20) (21)

  15. เทคนิคการคิดพิจารณาปรับปรุงงานเทคนิคการคิดพิจารณาปรับปรุงงาน การสร้างภูมิปัญญาในองค์กร ในการทำงานนั้นย่อมมีปัญหาและอุปสรรค หากคิดพิจารณาให้ดีก็ อาจพบวิธีที่เหมาะสมในการแก้ไขปรับปรุงงานได้ มี 10 วิธี ดังนี้ 1. คิดแบบสืบสาวหาเหตุปัจจัย แล้วแก้ที่สาเหตุ 2. คิดแยกแยะส่วนประกอบ ให้ลงรายละเอียดพอที่จะแก้ปัญหาได้ 3. คิดแบบรู้เท่าทันธรรมดา ในเรื่องของความไม่แน่นอน ความผิด ปกติ และการเสื่อมชำรุด 4. คิดแบบแก้ปัญหาเชิงอริยสัจ มีที่มาปัญหา สาเหตุ เป้าหมาย และแนวทางตอบโต้ปัญหา 5. คิดแบบหลักการและจุดมุ่งหมาย โดยมีเป้าหมายท่ามกลางก่อน ถึงเป้าหมายสุดท้าย 6. คิดแบบเห็นข้อดีข้อเสีย และทางออก เช่น เพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย ก็จะมีกำไรเพิ่ม 7. คิดแบบรู้คุณค่าแท้ คุณค่าเทียม ซึ่งอาจใช้วิธีวิเคราะห์คุณค่า ว่า สิ่งใดจำเป็น สิ่งใดฟุ่มเฟือย 8. คิดแบบเป็นบวกกุศล ผิดก็เป็นครู แต่ถูกก็เป็นครู ให้เรียนรู้ พลิก วิกฤติให้เป็นโอกาส 9. คิดแบบสติตามทัน โดยเฝ้าสังเกตดู ไม่ประมาท ทำไปคิดไป ปรับปรุงไป 10. คิดแบบแยกแยะทุกด้าน ไม่ใช่เอาด้านหนึ่งด้านใดมาตีคลุมลง ไปทั้งหมด ต้องทำให้สมดุลทุกปัจจัย ในการตัดสินใจ อ้างอิง : โยนิโสมนสิการ 10 ภูมิปัญญานั้นในปัจจุบันถือว่าเป็นกุญแจความสำเร็จขององค์กร การเอาชนะอุปสรรค คู่แข่งขัน และการอยู่รอด ย่อมขาดปัญญาเสียมิได้ เรียกว่าเป็น “ตำราพิชัยสงคราม” ในการประกอบธุรกิจกันทีเดียวและเริ่มมี การสอนวิชา “ภูมิปัญญาในองค์กร” “องค์กรเรียนรู้” “ปฏิรูปการเรียนรู้” “การจัดการสารสนเทศ” สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ ชี้ให้เห็นความสำคัญของภูมิ ปัญญา “ของดีมีคุณภาพ ราคาถูก แต่ต้องหายไปจากตลาด เพราะ ขาดภูมิปัญญา” การสร้างปัญญาในองค์กรมี 3 ทาง คือ 1. จัดให้มีการฟังองค์ความรู้ คนที่ฟังมาก ย่อมรู้มาก หรือคนที่ อ่านมากก็รู้มาก องค์กรควรเชิญวิทยากรที่มีความสามารถมาบรรยายให้ฟัง และจัดห้องสมุดหรือคลังสมองในเว็บให้ค้นคว้า 2. จัดให้มีการคิด องค์กรต้องส่งเสริมให้เกิดการคิดระดมสมอง ซักถามให้รู้ถึงสาเหตุที่เกิดขึ้นในอดีต และให้ลองประเมินผลลัพธ์ที่อาจจะ เกิดขึ้นในอนาคต ตลอดจนฝึกให้คิดแก้ปัญหางาน และฝึกคิดอย่างมีระบบ 3. จัดให้มีการลงมือทำ องค์กรต้องส่งเสริมให้มีการนำแนวคิด มาทดลองปฏิบัติ วิเคราะห์วิจัย แล้วสรุปบทเรียนที่ได้รับมาเป็นภูมิปัญญาที่ เป็นประโยชน์ต่อธุรกิจขององค์กร อ้างอิง :ปัญญา (22) (23)

  16. การสร้างความสามัคคีในองค์กรการสร้างความสามัคคีในองค์กร วิธีการหยั่งรู้ความจริงในการทำงาน การที่บุคคลในองค์กรจะมีความสามัคคีเป็นหมู่เหล่า เป็นทีมงานได้ นั้น จำเป็นต้องมีสิ่งยึดเหนี่ยวน้ำใจของกันและกัน ทำให้เกิดความน่านิยม น่านับถือ เกิดความปราถนาดีซึ่งกันและกัน และทำให้องค์กรเป็นปกติสุข สิ่งยึดเหนี่ยวให้บุคคลในองค์กรมีความสามัคคีมี 4 ประการ ดังนี้ 1. การให้ คือ การเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ แสดงน้ำใจ เสียสละแบ่งปันกัน ด้านสิ่งของ เงินทอง ความรู้ ให้ความเคารพ ที่ให้กับคนเสมอกัน ต่ำกว่า หรือ สูงกว่าตน ด้วยวิธีการที่เหมาะสม 2. การพูดจาอ่อนหวาน ไพเราะ พูดสร้างความสามัคคี พูดมีเหตุผล จูงใจ ไม่หยาบคาย หรือดุด่า เสียดสี 3. การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน หรือบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ ร่วมกัน 4. ทำตัวเสมอต้นเสมอปลาย ในเรื่องทำความดี มีใจร่วมทุกข์ร่วม สุขกับคนอื่นเสมอ ทุกเวลาทุกกรณี เช่น การไปงานแต่งงาน หรืองานศพ ของ เพื่อนร่วมงาน อ้างอิง : สังคหวัตถุ 4 จตุกกนิบาต อังคุตตรนิกาย สุตตันตปิฎก พระไตรปิฎก เล่มที่ 20 วิธีการหยั่งรู้ความจริงที่พระพุทธเจ้าใช้เป็นเครื่องมือตรัสรู้ สัจจธรรม สามารถนำมาใช้ในการทำงานได้มี 7 ขั้นตอน ดังนี้ 1. ใช้สติ โดยให้นึกถึงเรื่องงานที่จะทำ มีอะไรบ้าง และต้องจัดหามาจาก ที่ไหน 2. วิเคราะห์เลือกเฟ้น เลือกวิธีการ เครื่องมือ เงื่อนไข ที่เป็นปัจจัยแห่งการ ทำงานให้เหมาะสมที่สุดกับตนเอง 3. ใช้ความขยันหมั่นเพียร ไม่ท้อถอย เพียรพยามให้ถึงที่สุด 4. สร้างบรรยากาศปลุกใจในการทำงานอย่างสนุกและมีความสุข 5. สร้างความสงบ ไม่วุ่นวายใจ ให้การทำงาน มีระบบเข้ารูปเข้ารอย มี มาตรฐานงาน ไม่อิงบุคคลมากนัก 6. ตั้งใจมั่นทำงานตามแผนตามขั้นตอนการทำงานอย่างดีที่สุด 7. รอจังหวะผลลัพธ์เกิดด้วยจิตใจเป็นกลาง โดยไม่ต้องห่วงถึงผลลัพธ์ว่าจะ เลวร้าย ด้วยใจที่เป็นสุข โดยมีความเชื่อว่าได้กระทำไปอย่างดีที่สุดย่อมได้ ผลดีที่สุดแล้ว หากผลออกมาไม่ดีก็ให้หมุนรอบย้อนกลับไปที่ข้อ 1 ลงมา ซึ่ง จะทำให้การวิเคราะห์เลือกเฟ้นมีความรู้ ทางความจริงเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในที่ สุดผลงานก็จะดีที่สุด อ้างอิง :โพชฌงค์ 7 (24) (25)

  17. การดูแลทุกข์สุขของบุคคลในองค์กรการดูแลทุกข์สุขของบุคคลในองค์กร อาชีพต้องห้าม การดูแลทุกข์สุขของบุคคลในองค์กร จะให้บรรยากาศการทำงาน ภายในองค์กรมีความสุขมี 4 ประการ ดังนี้ 1. ปรารถนาให้เขามีสุข ทั้งกายและใจ ตามควรแก่สภาพ ทั้งต่อตัว เอง นาย บ่าว มิตรสหาย คู่แข่ง โดยจัดสวัสดิการให้พอเหมาะพอ สม พาไปดูงานภายนอก 2. หาวิธีบรรเทาทุกข์ ให้เขาพ้นจากสภาพถูกเบียดเบียนจากภาวะ เศรษฐกิจ ภัยน้ำท่วม เจ็บป่วย หรือประสบอุบัติเหตุ 3. พลอยยินดี เมื่อเห็นคนอื่นได้ดี เจริญขึ้นได้ตำแหน่งดีขึ้น ได้ขึ้น เงินเดือน ได้รับการยกย่อง สำเร็จการศึกษา หรือประสบความ สำเร็จในการแก้ปัญหางาน 4. วางเฉย ไม่ดีใจ หรือเสียใจ เมื่อผู้อื่นพบความวิบัติ หากช่วยเขา ไม่ได้แล้ว เขาก็เป็นไปตามกรรมที่เขาก่อไว้ อ้างอิง :พรหมวิหาร 4 ทสุตตรสูตร ปาฏิกวัคค์ ทีฆนิกาย สุตตันตปิฎก พระไตรปิฎก เล่มที่ 10 ในการประกอบธุรกิจเป็นอาชีพ ควรละเว้นอาชีพทุจริตทุกรูปแบบ “อย่าโกงแล้วรวย จะไม่ยั่งยืน” โกงน้ำหนัก โกงตราชั่ง ปลอมปน ใส่สาร พิษลงในอาหาร หลอกลวง การบีบบังคับ ข่มขู่ เหล่านี้เป็นบาป และละเว้น อาชีพต้องห้ามอีก 5 อาชีพ ดังนี้ 1. ค้าขายอาวุธ เนื่องจากเป็นเครื่องมือประหัตประหาร ทำลายล้าง เผ่าพันธุ์ 2. ค้าขายมนุษย์ หรือเอาศักดิ์ศรีของมนุษย์เอาไปขาย (ขายตัว) 3. เลี้ยงสัตว์ไว้ขาย เพื่อฆ่าหรือนำไปทรมาน 4. ค้าขายน้ำเมา เนื่องจากสนับสนุนให้คนผิดศีล 5 ทำให้ขาดสติ 5. ค้าขายยาพิษ เนื่องจากเป็นพิษภัยต่อมนุษย์ แมลง และสัตว์ ตลอดจนทำลายสิ่งแวดล้อม อ้างอิง : สัมมาอาชีวะ ปัญจกนิบาติ อังคุตตรนิกาย สุตตันตปิฎก พระไตรปิฎก เล่มที่ 22 (26) (27)

  18. ประวัติปูนซิเมนต์ไทย การตัดสินใจโดยปราศจากอคติ การตัดสินใจที่ปราศจากอคติเท่านั้นที่จะทำให้ผลแห่งการตัดสินใจมี ความเป็นธรรม ถูกต้องตามหลักแห่งความเป็นจริง อคติที่ถึงหลีกเลี่ยงในการตัดสินใจมี 4 อย่างดังนี้ 1. ลำเอียง เพราะรักใคร่ชอบพอ เนื่องจากเป็นญาติ มิตรสหาย คน รู้จัก คนที่ให้ประโยชน์ 2. ลำเอียง เพราะเกลียดชัง โกรธ เนื่องจากเขาไม่สนับสนุนเราหรือ เป็นคู่แข่งขัน 3. ลำเอียง เพราะหลง เขลา เบาปัญญา เนื่องจากเราหลงรูปความ สวยงาม หรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์ 4. ลำเอียงเพราะเกรงกลัวขลาด เนื่องจากถูกข่มขู่หรือกลัวถูกทำร้าย ในการทำงานนั้นจำเป็นต้องมีการตัดสินใจ ในการประกวดราคา การจัดซื้อจัดหา การเจรจาต่อรองทางธุรกิจ การตัดสินความผิด ของพนักงานนั้นต้องตัดสินใจอย่างยุติธรรม โดยปราศจากอคติ อ้างอิง :อคติ 4 จากพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้มีโรงงานผลิตปูนซิเมนต์ขึ้นในประเทศ เพื่อทดแทนการนำเข้าปูนซิเมนต์ จากต่างประเทศ จึงโปรดเกล้าให้ก่อตั้งบริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด ขึ้นเมื่อ วันที่ 8 ธันวาคม 2456 ภายหลังเปลี่ยนเป็นบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) โรงงานผลิตปูนซิเมนต์แห่งแรกตั้งอยู่ที่แขวงบางซื่อ กรุงเทพมหานคร ต่อมาบริษัทได้ขยายขอบข่ายธุรกิจอย่างมั่นคงเป็น “เครือซิเมนต์ไทย” ใน ปัจจุบัน ในปี 2542 บริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) ได้ปรับเปลี่ยน โครงสร้างการบริหารงานเพื่อรองรับ และเตรียมพร้อม สำหรับการแข่งขันเสรี ในตลาดโลก จึงได้จัดตั้ง บริษัทปูนซิเมนต์ไทยอุตสาหกรรม จำกัด ขึ้น เพื่อ เป็นบริษัทลงทุนในธุรกิจซิเมนต์ มีความเป็นเอกเทศ และคล่องตัวในการ บริหารงาน ซึ่งมีโรงงานอยู่ที่จังหวัดสระบุรี 3 แห่ง คือ โรงงานเขาวง ท่าหลวง แก่งคอย จังหวัดนครศรีธรรมราช 1 แห่ง คือ โรงงานทุ่งสง และจังหวัด ลำปาง 1 แห่ง คือ โรงงานลำปาง (28) (29)

  19. ประวัติปูนท่าหลวง คุณสมบัติของคนเก่งและคนดี โรงงานท่าหลวง ก่อตั้งเมื่อปี 2489 ที่อำเภอบ้านหมอ จังหวัดสระบุรี เป็นโรงงานแห่งที่ 2 โรงงานเขาวง ก่อตั้งเมื่อปี 2533 ที่อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี เป็นโรงงานที่ 5 (ต่อจากโรงงานทุ่งสง และแก่งคอย) ขนาดหม้อเผา 10,000 ตัน/วัน ในปี 2542 ได้รวม 2 โรงงาน คือ โรงงานท่าหลวง และ โรงงานเขาวง เป็นบริษัทปูนซิเมนต์ไทย (ท่าหลวง) จำกัด ผลิตปูน ซิเมนต์ ดังนี้ ปูนตราช้าง สำหรับงานคอนกรีตหล่อคาน และเสา ปูนตราเสือ, ตราแรด สำหรับงานก่อและฉาบ ปูนตราเอราวัณ สำหรับงานคอนกรีตรับแรงเร็ว และสามารถถอดแบบเร็ว ปูนตราช้างฟ้า สำหรับงานคอนกรีตทนไอเค็มน้ำ ทะเล ปูนตราช้างม่วง สำหรับงานหลุม ขุดเจาะน้ำมัน คนเก่ง 1.เก่งงาน 2.เก่งคน 3.เก่งคิด 4.เก่งเรียน คนดี 1.ประพฤติดี 2.มีน้ำใจ 3.ใฝ่ความรู้ 4.คู่คุณธรรม (30) (31)

  20. อุดมการณ์ 4 ประการ ของเครือซิเมนต์ไทย ตั้งมั่นในความเป็นธรรม มุ่งมั่นในความเป็นเลิศ เชื่อมั่นในคุณค่าของคน ถือมั่นในความรับผิดชอบ ต่อสังคม (32)

More Related