540 likes | 977 Views
วรรณิกา มโนรมณ์ 21 พฤศจิกายน 2551. รู้เท่าทันพิษภัยบุหรี่. สนับสนุนโดย. FROM : สถาบันมะเร็งแห่งชาติ. Leading cancer in Thailand (estimated),1999. Ministry of Public Health, Cancer in Thailand, Vol.IV, 1998-2000 BKK., 2007. ASR=Age Standardized incidence Rates.
E N D
วรรณิกา มโนรมณ์ 21 พฤศจิกายน 2551 รู้เท่าทันพิษภัยบุหรี่ สนับสนุนโดย
FROM :สถาบันมะเร็งแห่งชาติ
Leading cancer in Thailand(estimated),1999 Ministry of Public Health, Cancer in Thailand, Vol.IV, 1998-2000 BKK., 2007 ASR=Age Standardized incidence Rates FROM :สถาบันมะเร็งแห่งชาติ
Lung cancer in different regions, 1999-2000 = 2,344 new cases = 4,947 new cases ASR=Age Standardized incidence Rates FROM :สถาบันมะเร็งแห่งชาติ
แสดงโรคมะเร็งที่พบบ่อย 10 อันดับแรกในเพศชาย :NCI 2007 % FROM :สถาบันมะเร็งแห่งชาติ
แสดงโรคมะเร็งที่พบบ่อย 10 อันดับแรกในเพศหญิง :NCI 2007 % FROM :สถาบันมะเร็งแห่งชาติ
แสดงจำนวนผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดแยกตามช่วงอายุ :NCI 2007 FROM :สถาบันมะเร็งแห่งชาติ
แสดงจำนวนผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดแยกตามระยะของโรค:NCI 2007 FROM :สถาบันมะเร็งแห่งชาติ
สารพิษในบุหรี่ กลุ่มที่ 1 ทาร์ หรือน้ำมันดิน คือไฮโดรคาร์บอนที่รวมตัวกันเป็นสาร ที่มีความเหนียวติดอยู่กับเนื้อปอด มีคุณสมบัติเป็นสาร ก่อมะเร็ง กลุ่มที่ 2 นิโคติน มีผลทำให้เสพติดได้ มีฤทธิ์ต่อสมองและระบบประสาทส่วนกลาง มีผลต่อระบบทางเดินอาหาร ระบบหัวใจและการไหลเวียนของโลหิต กลุ่มที่ 3 ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ซึ่งขัดขวางการรับออกซิเจนของเม็ดเลือดแดง และทำให้ไขมันพอกพูนตามผนังเส้นเลือดมากขึ้น FROM : http://www.ashthailand.or.th
สารประกอบในบุหรี่(1) • บุหรี่มีสารประกอบต่างๆอยู่ประมาณ 4,000 ชนิด มีสารก่อมะเร็งไม่น้อยกว่า 60 ชนิด สารบางชนิดที่เป็นอันตรายที่สำคัญคือ • นิโคตินเป็นสารที่ทำให้คนติดบุหรี่ ออกฤทธิ์โดยตรงต่อสมองทั้งเป็นตัวกระตุ้นและกดประสาทส่วนกลาง ถ้าได้รับสารนี้ขนาดน้อยๆ เช่นการสูบบุหรี่ 1-2 มวนแรก อาจจะกระตุ้นให้ร่างกายกระปรี้กระเปร่า แต่ถ้าสูบมากหลายมวนก็จะกดประสาทส่วนกลาง ทำให้ความรู้สึกต่างๆช้าลง ร้อยละ 95ของนิโคตินจะไปจับอยู่ที่ปอด บางส่วนจับอยู่ที่เยื่อหุ้มริมฝีปาก และบางส่วนถูกดูดซึมเข้ากระแสเลือดมีผลโดยตรงต่อหมวกไตก่อให้เกิดการหลั่งฮอร์โมนอิฟิเนฟริน [epinephrine] ทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น หัวใจเต้นเร็วกว่าปกติและไม่เป็นจังหวะ หลอดเลือดที่แขนและขาหดตัว เพิ่มไขมันในเส้นเลือด บุหรี่หนึ่งมวนจะมีนิโคติน 0.8-1.8 มิลิกรัม(ค่ามาตรฐานกำหนดไว้ 1 มิลิกรัม) และสำหรับบุหรี่ก้นกรองก็ไม่ได้ทำให้ปริมาณนิโคตินลดลง FROM : http://www.ashthailand.or.th
สารประกอบในบุหรี่(2) • ทาร์หรือน้ำมันดินประกอบด้วยสารหลายชนิด เกาะกันเป็นสีน้ำตาล เป็นสารก่อให้เกิดมะเร็งได้เช่นมะเร็งปอด กล่องเสียง หลอดลม หลอดอาหาร ไต กระเพาะปัสสาวะ และอื่นๆ ซึ่งร้อยละ 50 ของทาร์จะไปจับที่ปอด ทำให้เกิดระคายเคืองอันเป็นสาเหตุของการไอเรื้อรังมีเสมหะ ในคนที่สูบบุหรี่วันละซองจะรับน้ำมันทาร์เข้าไปประมาณ 30มิลิกรัม/มวน หรือ110กรัม/ปี บุหรี่ไทยมีสารทาร์อยู่ระหว่าง 12-24 มิลิกรัม/มวน • คาร์บอนมอนอกไซด์ เป็นก๊าซที่ทำลายคุณสมบัติในการเป็นพาหะนำออกซิเจนของเม็ดเลือดแดง ทำให้เม็ดเลือดแดงไม่สามารถจับออกซิเจนได้เท่าเวลาปกติ เกิดการขาดออกซิเจน ทำให้มึนงง ตัดสินใจช้า เหนื่อยง่าย ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคหัวใจ • ไฮโดรเจนไซยาไนด์ เป็นก๊าซพิษที่ทำลายเยื่อบุผิวหลอดลมส่วนต้น ทำให้มีอาการไอเรื้อรัง มีเสมหะเป็นประจำโดยเฉพาะในตอนเช้าจะมีมากขึ้น FROM : http://www.ashthailand.or.th
สารประกอบในบุหรี่(3) • ไนโตรเจนไดออกไซด์ เป็นก๊าซพิษที่ทำลายเยื่อบุหลอดลมส่วนปลาย และถุงลมทำให้ผนังถุงลมบางโป่งพอง ถุงลมเล็กๆหลายอันแตกรวมกันรวมกันเป็นถุงลมใหญ่ ทำให้มีถุงลมจำนวนน้อย การยืดหยุ่นในการหายใจเข้าออกน้อยลง ทำให้เกิดโรคถุงลมโป่งพอง • แอมโมเนีย มีฤทธิ์ระคายเคืองเนื้อเยื่อ ทำให้แสบตา แสบจมูก หลอดลมอักเสบ ไอและมีเสมหะมาก • สารกัมมันตรังสี ควันบุหรี่มีสารโพโลเนียม 210ที่มีรังสีอัลฟาอยู่ เป็นสาเหตุการเกิดโรคมะเร็งปอด และควันบุหรี่ยังเป็นพาหะร้ายแรงในการนำสารกัมมันตรังสี ทำให้ผู้ที่อยู่รอบข้างที่ไม่สูบุหรี่หายใจเอาอากาศที่มีสารพิษนี้เข้าไปด้วย FROM : http://www.ashthailand.or.th
สูบบุหรี่มือสอง • คุณไม่สูบุหรี่แต่คุณก็มีสิทธิ์เป็นโรคที่เกิดจากการสูบบุหรี่หากคุณอยู่ใน สิ่งแวดล้อมที่คนสูบบุหรี่เราเรียกคนที่ได้รับบุหร ี่โดยที่ไม่ได้สูบว่า"สูบบุหรี่มือสอง" • ที่มาของควันบุหรี่มาได้ 2 ทางคือ • ควันที่เกิดจากการเผาบุหรี่หรือซิการ์ • ควันซึ่งเกิดจากหายใจออกของผุ้ที่สูบบุหรี่ • ควันที่ออกมายังมีสารก่อมะเร็งเท่ากับควันที่ก่อนจะถูกสูด • ผู้ที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่สูบบุหรี่มากและได้ควันบุหรี่มาก จะมีโอกาสเกิดโรคมากด้วย • การสูบบุหรี่นั้นนอกจากจะมีผลต่อผู้สูบโดยตรงแล้วยังทำให้ผู้อื่นในบรรยากาศของควันบุหรี่สูดเอาพิษจาก FROM : http://www.ashthailand.or.th
สูบบุหรี่มือสอง • เด็ก การสูบบุหรี่ของคนในครอบครัวทำให้เด็กป่วยด้วยโรคหลอดลมอักเสบ ปอดบวม หอบหืด หูชั้นกลางอักเสบเพิ่มขึ้น และมีสมรรถภาพปอดแย่กว่าเด็กที่พ่อแม่ไม่สูบบุหรี่ • หญิงมีครรภ์ สูบบุหรี่จะทำให้น้ำหนักตัวขณะตั้งครรภ์เพิ่มน้อยกว่าปกติ และมีโอกาสแท้ง คลอดก่อนกำหนด ตกเลือดระหว่างคลอดและหลังคลอดมากเป็น 2 เท่าของหญิงตั้งครรภ์ที่ไม่สูบบุหรี่ นอกจากนั้นยังเกิดภาวะรกเกาะต่ำและรกรอกตัวก่อนกำหนดมากขึ้นลูกที่คลอดจากแม่ที่สูบบุหร ี่อาจจะมีน้ำหนักและความยาวน้อยกว่าปกติ พัฒนาการทางสมองช้ากว่าปกติ อาจจะมีความผิดปกติทางระบบประสาท ระบบความจำ FROM : http://www.ashthailand.or.th
สูบบุหรี่มือสอง • คู่สมรสของผู้สูบบุหรี่ มีโอกาสเป็นมะเร็งปอดมากกว่าคู่สมรสที่ไม่สูบบุหรี่ 2 เท่า มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจ 3 เท่า และเสียชีวิตเร็วกว่าปกติถึง 4 ปี • คนทั่วไป คนทั่วไปที่ต้องอยู่ในบรรยากาศที่ผู้อื่นสูบบุหรี่ ควันบุหรี่จะทำให้เคืองตา ปวดศีรษะ คัดจมูก น้ำมูกไหล โดยเฉพาะผู้ที่มีอาการหอบหืด โรคหัวใจ โรคหลอดลมอักเสบ ก็จะทำให้อาการของโรคเพิ่มมากขึ้นสูบบุหรี่มือสองทำให้เกิดมะเร็งปอด FROM : http://www.ashthailand.or.th
สูบบุหรี่มือสอง • การแยกที่สำหรับผู้สูบบุหรี่และไม่สูบบุหรี่สามารถลดปริมาณควันได้แต่ก็ได้รับควัน • การที่เด็กที่เสียชีวิตในขวบปีแรกก็มีความสัมพันธ์กับการสูบบุหรี่ของพ่อแม่ • สำหรับผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่นหอบหืด หลอดลมอักเสบหากได้ควันบุหรี่ก็อาจจะทำให้อาการกำเริบ FROM : http://www.ashthailand.or.th
คำเตือนที่พิมพ์บนซองบุหรี่ที่ขายในประเทศไทยคำเตือนที่พิมพ์บนซองบุหรี่ที่ขายในประเทศไทย • การสูบบุหรี่ทำให้เกิดมะเร็งปอด • การสูบบุหรี่ทำให้เกิดโรคหัวใจ • การสูบบุหรี่ทำให้เกิดโรคถุงลมโป่งพอง • การสูบบุหรี่ทำให้หลอดเลือดสมองแตกหรืออุดตัน • การสูบบุหรี่เป็นการตายผ่อนส่ง • การสูบบุหรี่เป็นการติดสิ่งเสพติด • ควันบุหรี่เป็นอันตรายต่อผู้ใกล้ชิด • การเลิกบุหรี่ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคร้าย • ควันบุหรี่เป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ • การเลิกสูบบุหรี่ทำให้ร่างกายแข็งแกร่งขึ้น คำเตือนเหล่านี้เป็นคำเตือนมาตรฐานที่ใช้กันทั่วโลก และมีหลักฐานในการเกิดโรคต่าง ๆ ชัดเจน FROM : http://www.ashthailand.or.th
วิธีป้องกันสูบบุหรี่มือสองที่บ้านวิธีป้องกันสูบบุหรี่มือสองที่บ้าน • ให้สมาชิกที่สูบบุหรี่ให้ไปสูบบุหรี่นอกบ้านโดยปรึกษากันถึงผลเสียที่จะเกิดกับเด็ก • ถ้าผู้สูบไม่ยอมออกนอกบ้านให้หาห้องที่ถ่ายเทอากาศดีให้เขาสูบ • ให้เปิดหน้าต่างเพื่อให้อากาศถ่ายเท • สนับสนุนให้เลิกบุหรี่ • ถ้าแขกที่มาเยี่ยมสูบบุหรี่บอกเขาว่าบ้านนี้ปลอดบุหรี่ และอย่ามีจานเขี่ยบุหรี่ไว้ในบ้าน FROM : http://www.ashthailand.or.th
วิธีป้องกันสูบบุหรี่มือสองที่ทำงานวิธีป้องกันสูบบุหรี่มือสองที่ทำงาน • ให้นายจ้างประกาศนโยบายสถานที่ปลอดบุหรี่ • ให้จัดที่ทำงานสำหรับผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ และให้ห่างไกลจากผู้ที่สูบบุหรี่ • บอกผู้ที่สูบบุหรี่ให้ไปสูบไกลๆคุณ • ใช้พัดลมหรือเปิดหน้าต่างเพื่อให้อากาศถ่ายเท • ติดป้าย"ขอบคุณที่กรุณาไม่สูบบุหรี่"ไว้ที่ทำงาน FROM : http://www.ashthailand.or.th
วิธีป้องกันสูบบุหรี่มือสองในที่สาธารณะวิธีป้องกันสูบบุหรี่มือสองในที่สาธารณะ • เลือกสถานที่ปลอดบุหรี่ เช่นโรงแรม ร้านอาหาร หรือรถเช่าที่ปลอดบุหรี่ • หากมีผู้ที่สูบบุหรี่ในสถานที่ห้ามสูบให้แจ้งเจ้าหน้าให้จัดการ • ไม่พาเด็กไปในที่ๆมีการสูบบุหรี่ FROM : http://www.ashthailand.or.th
เพดานห้องสูบบุหรี่ smoking area ceiling From : www.funnypictures.net.au
การเลิกสูบบุหรี่ด้วยตัวเองการเลิกสูบบุหรี่ด้วยตัวเอง • เพราะในบุหรี่หรือยาสูบมีสารนิโคติน ซึ่งออกฤทธิ์ต่อระบบประสาท-สมอง มีฤทธิ์การเสพติดสูงมาก การสูบบุหรี่ทำให้สมอง และระบบประสาทส่วนกลางได้รับสารนิโคตินรวดเร็วมากคือประมาณ 6 วินาที เร็วกว่าการได้รับยาเสพติดอื่นๆ เร็วกว่าการฉีดเฮโรอินเข้าเส้นเลือดเสียอีก • เมื่อสมองและระบบประสาทส่วนกลางได้รับสารนิโคตินอย่างรวดเร็วง่ายดายและฤทธิ์เสพติดของบุหรี่ ทำให้มีความพอใจ มีความอยากบุหรี่เมื่อระดับนิโคตินในเลือดลดต่ำลง • แต่โดยที่การสูบบุหรี่ส่วนหนึ่งเป็นการติดพฤติกรรม หรือความเคยชินต่อพฤติกรรมการสูบบุหรี่ที่คุ้นเคยมาเป็นระยะเวลาหนึ่ง ทำให้ยากต่อการละ-เลิก แต่ก็ไม่ยากเกินความสามารถ หากเราต้องการจะเอาชนะใจตนเองให้ได้ FROM : http://www.ashthailand.or.th
วิธีการเลิกสูบบุหรี่ • การดูแลตัวเอง พร้อมความตั้งใจสูง กำลังใจของผู้ต้องการเลิกบุหรี่เอง และบุคคลรอบข้าง • การให้สุขศึกษา เข้าคลินิกอดบุหรี่ อาจเป็นกลุ่มหรือรายบุคคล • การใช้ยาช่วยระงับ ลด อาการเครียด เช่นยานอนหลับ • การใช้สารนิโคตินทดแทน ในรูปแบบต่างๆเช่นหมากฝรั่ง แผ่นแปะผิวหนังนิโคติน • การฝังเข็มช่วยลดอาการอยาก คลายอาการหงุดหงิด • รับคำปรึกษาจากแพทย์ • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเอง • การใช้สื่อต่างๆสร้างพลัง-กำลังใจ การรวมกลุ่มโปรแกรมอดบุหรี่สำหรับชุมชน FROM : http://www.ashthailand.or.th
วิธีที่ผู้เลิกสูบบุหรี่ได้สำเร็จแนะนำ(1)วิธีที่ผู้เลิกสูบบุหรี่ได้สำเร็จแนะนำ(1) • เตรียมตัว ตั้งใจแน่วแน่ ว่าต้องเลิกบุหรี่ด้วยตัวเอง เตรียมความพร้อมทังร่างกายและจิตใจ • ให้จดบันทึกเวลาและเหตุผลการสูบบุหรี่ จดเหตุการณ์ที่ทำให้อยากสูบบุหรี่ เช่นการดื่มสุรา กาแฟ สูบขณะขับรถ • เปลี่ยนพฤติกรรม เช่นเก็บบุหรี่ไว้อีกที่หนึ่ง ใช้มืออีกข้างสูบแทน ขณะสูบบุหรี่ไม่ต้องทำอะไรให้นึกว่าทำไมถึงสูบ • ให้สูบนอกอาคาร • เมื่ออยากสูบบุหรี่ให้รอสัก2-3 นาทีคิดเรื่องอื่นเพื่อเปลี่ยนความสนใจหรือเคี้ยวหมากฝรั่งและดื่มน้ำมากๆ FROM : http://www.ashthailand.or.th
วิธีที่ผู้เลิกสูบบุหรี่ได้สำเร็จแนะนำ(2)วิธีที่ผู้เลิกสูบบุหรี่ได้สำเร็จแนะนำ(2) • ซื้อบุหรี่ครั้งละซองและซื้อชนิดที่ไม่เคยสูบ • กำหนดวัน"ปลอดบุหรี่"ของตนเองอาจจะเป็นวันสำคัญทางศาสนา วันเกิดของตนเอง หรือบุตร-ภรรยา ไม่ควรเลือกช่วงที่เครียด ควรหาใครบางคนรับรู้และคอยช่วยเหลือ • แจ้งแก่คนในครอบครัว ที่ทำงาน นายจ้าง เพื่อนสนิท เพื่อนร่วมงาน เพื่อให้กำลังใจเป็นแรงสนับสนุนให้เลิกได้สำเร็จ • เมื่อถึงวันสำคัญ ที่กำหนดแล้วว่า"วันปลอดบุหรี่"ให้หยุดเลย • ทิ้งบุหรี่และอุปกรณ์ทั้งหมด เพื่อไม่ให้สิ่งเหล่านั้นมากระตุ้นให้อยากบุหรี่อีก • เปลี่ยนพฤติกรรม เช่นไม่ดื่มกาแฟ • ให้งดสุรา กาแฟ อาหารรสจัด ละเว้นการรับประทานอาหารให้อิ่มจนเกินไป FROM : http://www.ashthailand.or.th
วิธีที่ผู้เลิกสูบบุหรี่ได้สำเร็จแนะนำ(3)วิธีที่ผู้เลิกสูบบุหรี่ได้สำเร็จแนะนำ(3) • ไม่ควรนั่งที่โต๊ะอาหารนานเกินไป เพราะหลังอาหารทุกมื้อจะอยากบุหรี่อีก • ควรดื่มน้ำผลไม้ เช่นน้ำส้ม น้ำมะนาว เพราะความเป็นกรดจะชะล้างนิโคตินออกไป • เมื่ออยากสูบบุหรี่ให้หางานอย่างอื่นทำ เคียวหมากฝรั่ง หรือไปในที่ๆสูบบุหรี่ไม่ได้ เช่นโรงหนัง รถเมล์ ขี่จักรยาน เดินเล่น โทรคุยกับเพื่อน • ให้รางวัลตัวเองเมื่ออดบุหรี่ได้โดยไปดูหนัง • เมื่อเริ่มเลิกบุหรี่ได้แล้ว • ในช่วงแรกที่อดบุหรี่อาจจะรู้สึกหงุดหงิด ให้สูดหายใจเข้าออกลึกๆ ดื่มน้ำมากๆเพื่อลดความอยากหรืออาจจะอาบน้ำถ้าเป็นไปได้ • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ หางานอดิเรกทำเพื่อคลายเครียด เพราะส่วนใหญ่หลังเลิกบุหรี่ น้ำหนักตัวจะเพิ่มขึ้น การออกกำลังกาย การควบคุมอาหาร อดอาหารหวาน ลดอาหารไขมัน จะเป็นการคุมน้ำหนักได้อีกทางหนึ่ง • ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ทำประจำตอนสูบบุหรี่ เลี่ยงสถานการณ์ สถานที่ที่เคยสูบบุหรี่เป็นประจำ FROM : http://www.ashthailand.or.th
เมื่อเริ่มเลิกบุหรี่ได้แล้ว(1)เมื่อเริ่มเลิกบุหรี่ได้แล้ว(1) • ในช่วงแรกที่อดบุหรี่อาจจะรู้สึกหงุดหงิด ให้สูดหายใจเข้าออกลึกๆ ดื่มน้ำมากๆเพื่อลดความอยากหรืออาจจะอาบน้ำถ้าเป็นไปได้ • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ หางานอดิเรกทำเพื่อคลายเครียด เพราะส่วนใหญ่หลังเลิกบุหรี่ น้ำหนักตัวจะเพิ่มขึ้น การออกกำลังกาย การควบคุมอาหาร อดอาหารหวาน ลดอาหารไขมัน จะเป็นการคุมน้ำหนักได้อีกทางหนึ่ง • ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ทำประจำตอนสูบบุหรี่ เลี่ยงสถานการณ์ สถานที่ที่เคยสูบบุหรี่เป็นประจำ FROM : http://www.ashthailand.or.th
เมื่อเริ่มเลิกบุหรี่ได้แล้ว(2)เมื่อเริ่มเลิกบุหรี่ได้แล้ว(2) • ฝึกปฏิเสธ ซ้อมพูดกับตัวเอง เพื่อนฝูง"ไม่ครับ" "ผมไม่สูบ""นายแน่มากที่เลิกสูบบุหรี่ได้" • ให้นึกถึงสิ่งที่ดีๆเมื่ออดบุหรี่ได้ • เมื่อเกิดความเครียดหรือปัญหาให้หาทางแก้ไขและบอกตัวเองว่าบุหรี่ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้อีกต่อไปแล้ว • หยอดกระปุกให้ลูกเมื่อไม่ได้สูบบุหรี่ • หากท่านล้มเหลวครั้งแรกให้พยายามใหม่ มีหลายคนที่สามารถประสบผลสำเร็จเมื่อมีความพยายาม • บอกเพื่อนร่วมงานหรือครับครัวว่า ห้ามสูบบุหรี่ใกล้ตัว ห้ามหยิบยื่นบุหรี่ ห้ามทิ้งบุหรี่ไว้ให้เห็น ห้ามชักชวนให้สูบบุหรี่ • ปิดประกาศหน้าห้องว่า"เขตปลอดบุหรี่" • ใช้เวลาส่วนใหญ่ในที่ๆสูบบุหรี่ไม่ได้ • หลีกเลี่ยงกาแฟ สุรา อาหารรสจัด FROM : http://www.ashthailand.or.th
อาการที่เกิดขึ้นจากการอดบุหรี่ และวิธีแก้ไข(1) • หงุดหงิด งุ่นง่าน อยากสูบบุหรี่จนแทบคุมไม่ได้เพราะร่างกายคุณติดนิโคติน และนี่เองเป็นสาเหตุให้คุณอยากสูบบุหรี่ การแก้ไข • ดื่มน้ำให้มากที่สุด ดื่มบ่อยๆเพื่อชำระนิโคตินออกจากร่างกายให้หมดไปให้เร็วที่สุด • ออกกำลังกาย เช่นเดินเร็วๆ ปั่นจักรยาน เพื่อช่วยผ่อนคลาย เหงื่อจะช่วยขับนิโคตินออกไป • อาบน้ำอุ่น และถูตัวด้วยผ้าขนหนูให้ทั่วตัวจะทำให้ผ่อนคลายได้ดี • พูดคุยกับคนข้างเคียงที่คุ้นเคย เพื่อระบายความหงุดหงิดออกไปบ้าง • งดเว้นอาหารจากเนื้อสัตว์ อาหารติดมัน และอาหารรสจัดต่างๆ FROM : http://www.ashthailand.or.th
อาการที่เกิดขึ้นจากการอดบุหรี่ และวิธีแก้ไข(2) 2. ง่วง กระสับกระส่าย ไม่มีสมาธิในการใช้ความคิด การแก้ไข • นอนหลับ หรือนั่งเพื่อผ่อนคลายในห้องที่เงียบๆ ฟังเพลงเบาๆผ่อนความรู้สึกสับสนออกไป • งดเว้นงานที่ต้องใช้ความคิดมากๆ • พักร้อนหรือลาครึ่งวันเพื่อพักผ่อน • ดื่มนมอุ่นๆ FROM : http://www.ashthailand.or.th
อาการที่เกิดขึ้นจากการอดบุหรี่ และวิธีแก้ไข(3) 3 . โกรธ ขุ่นเคืองง่าย การแก้ไข • อดทนกับอารมณ์ของตัวเอง บอกคนข้างเคียงให้ทราบ และขอร้องให้อดทน เข้าใจคุณ • แสดงออกในทางสร้างสรรค์ เช่นเต้นรำ เล่นกีฬา ออกกำลังกาย • ถ้าทนไม่ไหวให้ทุบหมอน ชกหมอน เข้าห้องน้ำตะโกนก็ช่วยได้ • เขียนระบายความรู้สึกในสมุดบันทึก • คุยปัญหากับเพื่อนสนิท FROM : http://www.ashthailand.or.th
อาการที่เกิดขึ้นจากการอดบุหรี่ และวิธีแก้ไข(3) 4 . หมดแรง ปวดศีรษะ ไอมีเสมหะ เจ็บคอ หายใจผิดปกติ บุหรี่เป็นตัวกระตุ้น เมื่อไม่ได้สูบทำให้หมดแรงเป็นธรรมดา วิธีแก้ไข • หากิจกรรมที่กระตุ้นความรู้สึกมีชีวิตชีวาขึ้น เช่นออกกำลังกาย เต้นรำ • พักผ่อนด้วยวิธีการนอนหรือออกไปสูดอากาศธรรมชาติ • ดื่มน้ำอุ่น หรือน้ำผลไม้จะช่วยให้ชุ่มคอ • รับประทานยาแก้ปวด อาการทางกายเหล่านี้เป็นการเปลี่ยนแปลงทางเคมีเพื่อปรับตัวสู่ภาวะปกติเท่านั้น อย่าตกใจ อาการจะเป็นชั่วคราวประมาณ 72 ชั่วโมงเท่านั้น FROM : http://www.ashthailand.or.th
ฝึกใช้สุนัขตรวจ มะเร็งปอด-เต้านม • คณะนักวิจัยสังกัดมูลนิธิไพน์สตรีท ในเมืองซานอันเซลโม รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐ กำลังคิดค้นวิธีตรวจมะเร็งระยะแรกแนวใหม่ เพราะทำโดยการนำ "สุนัข" มาดมกลิ่นลมหายใจของมนุษย์ เพื่อตรวจดูว่ามี "สารเคมี" ผิดปกติที่เป็นสัญญาณบ่งชี้ถึงโรคมะเร็งปนเปื้อนอยู่หรือไม่ • สุนัขที่ทีมวิจัยนำมา "ฝึก" ดมกลิ่นความผิดปกติดังกล่าวมี 2 สายพันธุ์ นั่นคือ "ลาบราดอร์ รีทรีฟเวอร์" ซึ่งเป็นสายพันธุ์สุนัขที่ตำรวจนิยมนำมาฝึกใช้ดมค้นหายาเสพติดและระเบิด กับ "โปรตุกีส วอเทอร์ด๊อก" สุนัขท้องถิ่นของโปรตุเกส http://www.tlcthai.com/webboard/view_topic.php?table_id=1&cate_id=4&post_id=19287
ฝึกใช้สุนัขตรวจ มะเร็งปอด-เต้านม • ทีมวิจัยอธิบายถึงวิธีการทดลองครั้งนี้ว่า ในลมหายใจของผู้ป่วยโรค "มะเร็งเต้านม" และ "มะเร็งปอด" จะมีสารอนุพันธ์ "แอลเคน" รวมทั้ง "เบนซีน" เจือปนอยู่มากกว่าคนปกติ • ดังนั้น ทีมวิจัยจึงนำลาบราดอร์ 3 ตัว และโปรตุกีส วอเทอร์ด๊อกอีก 2 ตัว มาฝึกดมกลิ่นแยกแยะสาร 2 ตัวนี้จากลมหายใจของผู้ป่วยมะเร็งทั้ง 2 ชนิด ซึ่งเป่าเก็บเอาไว้ในหลอดทดลอง • ผลการทดลองเบื้องต้นพบว่า จากจำนวนผู้ป่วยมะเร็งเต้านม 31 คน สุนัขสามารถดมกลิ่นลมหายใจและชี้ตัวผู้ป่วยถูกต้องร้อยละ 88 ส่วนผู้ป่วยมะเร็งปอด ชี้ตัวถูกต้องถึงร้อยละ 99 • การวิจัยครั้งนี้ต้องใช้เวลาต่อไปอีกระยะ ในอนาคตอาจใช้เป็นหนึ่งในวิธีการตรวจหามะเร็งในระยะเริ่มต้น ควบคู่ไปกับเทคโนโลยีทางการแพทย์ประเภทอื่นๆ http://www.tlcthai.com/webboard/view_topic.php?table_id=1&cate_id=4&post_id=19287
สรุปบทบาทของผู้ตรวจประเมิน-สภาเทคนิคการแพทย์ต่อการรณรงค์ลดการสูบบุหรี่ในบุคลากรทางห้องปฏิบัติการสรุปบทบาทของผู้ตรวจประเมิน-สภาเทคนิคการแพทย์ต่อการรณรงค์ลดการสูบบุหรี่ในบุคลากรทางห้องปฏิบัติการ • เป็นบุคลากรต้นแบบ “ไม่สูบบุหรี่” • เผยแพร่สื่อความรู้ที่เกี่ยวข้องกับพิษภัยบุหรี่ ร่วมสนับสนุน โครงการเผยแพร่องค์ความรู้จากงานวิจัยและบทความวิชาการการควบคุมการบริโภคยาสูบที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ ให้กับบุคลากรทางห้องปฏิบัติการที่ไปตรวจประเมิน • สนับสนุนให้ห้องปฏิบัติการ จัดสถานที่เป็นเขตปลอดบุหรี่ 100%
NO Thank You !