180 likes | 457 Views
วิจัยเชิงคุณภาพ & วิจัยเชิงปริมาณ. ดร. ไพศาล กาญ จนวงศ์. ประเภทงานวิจัยโดยทั่วไป. การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) เป็นการวิจัยที่มุ่งเน้นที่จะได้ข้อมูลที่อยู่ในลักษณะของตัวเลข และต้องใช้วิธีการทางสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล
E N D
วิจัยเชิงคุณภาพ & วิจัยเชิงปริมาณ ดร. ไพศาล กาญจนวงศ์
ประเภทงานวิจัยโดยทั่วไปประเภทงานวิจัยโดยทั่วไป • การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) เป็นการวิจัยที่มุ่งเน้นที่จะได้ข้อมูลที่อยู่ในลักษณะของตัวเลข และต้องใช้วิธีการทางสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล • การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) เป็นการวิจัยที่ข้อมูลส่วนใหญ่เป็นข้อมูลเชิงคุณลักษณะ ไม่สามารถกระทำในรูปปริมาณได้ เก็บข้อมูลได้หลายวิธี เช่นสังเกต สัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิพากษ์วิจารณ์ แสดงความคิดเห็น สรุปอธิบาย
ลักษณะความเป็นจริงทางสังคม วิจัยเชิงคุณภาพ • มีความหมาย • มีความสลับซับซ้อน • มีความเปลี่ยนแปลงไม่อยู่นิ่งในระดับสูง • มีความเกี่ยวพันระหว่างกันและกัน
เป็นการศึกษาเรื่องเกี่ยวกับสังคมและมนุษย์ในสังคม การวิจัยเชิงคุณภาพ เป็นข้อมูลที่เป็นความรู้สึกนึกคิด การให้ความหมายเป็นข้อมูลแบบคนใน เน้นการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย
ความหมายของ วิจัยคุณภาพ • การวิจัยเชิงคุณภาพ หมายถึง “การแสวงหาความรู้โดยการพิจารณาปรากฏการณ์สังคมจากสภาพแวดล้อมตามความเป็นจริงในทุกมิติ เพื่อหาความสัมพันธ์ของปรากฏการณ์กับสภาพแวดล้อมนั้น วิธีการนี้จะสนใจข้อมูลด้านความรู้สึกนึกคิด ความหมาย ค่านิยมหรืออุดมการณ์ของบุคคลนอกเหนือไปจากข้อมูลเชิงปริมาณ มักใช้เวลานานในการศึกษาติดตามระยะยาว ใช้การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและการสัมภาษณ์อย่างไม่เป็นทางการวิธีการหลักในการเก็บเกี่ยวรวบรวมข้อมูล และเน้นการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการตีความสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย” สุภางค์ จันทวานิช (2551: 7,13)
ลักษณะของการวิจัยเชิงคุณภาพลักษณะของการวิจัยเชิงคุณภาพ • เน้นการมองปรากฏการณ์ให้เห็นภาพรวม โดยการมองจากหลายแง่มุม จึงมักศึกษาตัวแปรจำนวนมาก และเป็นสหวิทยากร • เป็นการศึกษาติดตามระยะยาวและเจาะลึก เพื่อให้เห็นสภาพการเปลี่ยนแปลงในระยะต่างๆ หรือเป็นการเจาะลึกเฉพาะกรณี หรือเฉพาะบุคคลเพื่อให้เข้าใจได้อย่างลึกซึ้งและหลายแง่มุม • ศึกษาปรากฏการณ์ในสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติ เพื่อให้เข้าใจความหมายของปรากฏการณ์ จึงมักจะวิจัยในสนาม (Field research)
ลักษณะของการวิจัยเชิงคุณภาพลักษณะของการวิจัยเชิงคุณภาพ • คำนึงถึงความเป็นมนุษย์ของผู้ถูกวิจัย นักวิจัยจะเข้าไปสัมผัสกับผู้ถูกวิจัยมากกว่าจะใช้เครื่องมือเป็นสื่อกลางจะต้องสร้างความสนิทสนมและความไว้ใจเพื่อให้เกิดความร่วมมือในการให้ข้อมูล • ใช้การพรรณนาและการวิเคราะห์แบบอุปนัย เพราะข้อมูลส่วนใหญ่เป็นข้อมูลเชิงคุณภาพเช่น ลักษณะของภูมิศาสตร์ การทำมาหากิน เป็นต้น ดังนั้นในการวิเคราะห์ข้อมูลจะใช้การสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย (induction) คือการนำข้อมูลเชิงรูปธรรมย่อยๆ มาสรุปเป็นข้อมูลเชิงนามธรรม
ลักษณะของการวิจัยเชิงคุณภาพลักษณะของการวิจัยเชิงคุณภาพ • เน้นปัจจัยหรือตัวแปรด้านความรู้สึกนึกคิด จิตใจ ความหมายที่มนุษย์สร้างขึ้น เพราะเชื่อว่าสิ่งเหล่านี้อยู่เบื้องหลังการแสดงพฤติกรรมของมนุษย์ออกมา และนักวิจัยจะต้องเข้าใจจึงจะอธิบายได้
การรวบรวมข้อมูล • การสัมภาษณ์เป็นวิธีวิธีการค้นคว้าที่ใช้ศึกษาข้อมูลในเชิงลึก เป็นปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ถาม และผู้ตอบ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อได้คำตอบที่ต้องการ ในการสัมภาษณ์ผู้ถามสามารถเห็นพฤติกรรมของผู้ตอบ และผู้ถามสามารถอธิบายขยายความเพิ่มเติมได้ การสัมภาษณ์แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ • การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างมีลักษณะคล้ายแบบสอบถาม และ • การสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง มักใช้คู่กับการสังเกต จะมีความแตกต่างกัน
การวิเคราะห์ข้อมูล • คือการวิเคราะห์เนื้อหาหมายถึงเทคนิคที่จะพยายามบรรยายเนื้อหาของข้อความที่ได้จากการรวบรวมข้อมูลเช่น จากเอกสาร จากการสัมภาษณ์ โดยไม่มีอคติ ไม่ใช้ความรู้สึกของผู้วิจัยอาจจะวิเคราะห์เนื้อหาได้ 3 ลักษณะคือ มีความเป็นระบบ มีความเป็นสภาพวัตถุนิสัย และอิงกรอบแนวคิดทฤษฏี
ขั้นตอนในการวิเคราะห์เนื้อหาขั้นตอนในการวิเคราะห์เนื้อหา • ผู้วิจัยต้องตั้ง กฎเกณฑ์ ขึ้นสำหรับการคัดเลือกเอกสาร หรือข้อมูลที่ได้รวบรวมมา และหัวข้อที่จะทำการวิเคราะห์ จะได้มีเกณฑ์และระเบียบเดียวกันในการคัดเลือก • ผู้วิจัยต้อง วางเค้าโครงของข้อมูล โดยการทำรายชื่อคำหรือข้อความในเอกสารที่จะถูกนำมาวิเคราะห์แล้วแบ่งไว้เป็นประเภท ทำให้ผู้วิจัยสามารถตัดสินใจได้ว่าจะดึงคำหรือข้อความใดออกมาจากเอกสารหรือตัวบท (text) • ผู้วิจัยต้องคำนึงถึง บริบท หรือสภาพแวดล้อมของข้อมูลเอกสารที่นำมาวิเคราะห์ด้วย เพื่อเวลาในการวิเคราะห์ข้อมูลจะสามารถอ้างอิงโยงเข้ากับบริบท กรอบแนวคิด ทฤษฏี จะทำให้งานวิจัยมีคุณค่า • การวิเคราะห์เนื้อหาจะกระทำกับเนื้อหาที่ปรากฏอยู่ในเอกสารข้อมูล