2.07k likes | 3.13k Views
962421 เศรษฐศาสตร์ว่าด้วยนโยบายสาธารณะ. บทที่ 7 นโยบายการเงินและนโยบายการคลัง. อาจารย์มานิตย์ ผิวขาว สาขาเศรษฐศาสตร์ สายวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ประยุกต์ วิทยาเขตหนองคาย มหาวิทยาลัยขอนแก่น. นโยบายการเงินและนโยบายการคลัง. เป้าหมายทางเศรษฐกิจ นโยบายการเงิน นโยบายการคลัง
E N D
962421 เศรษฐศาสตร์ว่าด้วยนโยบายสาธารณะ บทที่ 7นโยบายการเงินและนโยบายการคลัง อาจารย์มานิตย์ ผิวขาว สาขาเศรษฐศาสตร์ สายวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ประยุกต์วิทยาเขตหนองคาย มหาวิทยาลัยขอนแก่น
นโยบายการเงินและนโยบายการคลังนโยบายการเงินและนโยบายการคลัง • เป้าหมายทางเศรษฐกิจ • นโยบายการเงิน • นโยบายการคลัง • นโยบายการเงินและนโยบายการคลัง ของรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
เป้าหมายทางเศรษฐกิจ • การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ • การรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ • การกระจายรายได้และความเป็นธรรมในระบบเศรษฐกิจ
นโยบายการคลัง Fiscal Policy • Revenue • Tax • Expenditure • Debt • Growth • Stability • Income Distribution • Economic Target
นโยบายการเงิน Monetary Policy • -Open Market Operation • -Rediscount Rate • -Legal Reserve • -Bank Rate • -Growth • -Stability • -Income Distribution • Economic Target
การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
ความหมายการเจริญเศรษฐกิจความหมายการเจริญเศรษฐกิจ • ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ หมายถึง การเพิ่มขึ้นของรายได้ที่แท้จริง (Real Income) ซึ่งเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยทางเศรษฐกิจแต่เพียงอย่างเดียว • การพัฒนาเศรษฐกิจ (Economic Development) หมายถึง กระบวนการซึ่งทำให้เกิดการเพิ่มขึ้นในระดับรายได้ที่แท้จริงเฉลี่ยต่อบุคคล (Per Capita Real Income) ตลอดระยะเวลายาวนาน เพื่อให้มาตรฐานความเป็นอยู่ของประชาชนส่วนใหญ่สูงขึ้นกว่าเดิม การพัฒนาเศรษฐกิจมิใช่เป็นแต่เพียงกระบวนการซึ่งทำให้เกิดการเพิ่มขึ้นของรายได้เท่านั้น แต่การกระจายรายได้จะต้องเป็นไปอย่างเสมอภาค ประชาชนส่วนใหญ่จะต้องได้รับประโยชน์จากรายได้ที่เพิ่มขึ้นอย่างเท่าเทียมกัน
การพัฒนาเศรษฐกิจ นั้นครอบคลุมกระบวนการเปลี่ยนแปลงทั้งทางเศรษฐกิจและสังคม กล่าวคือ นอกจากจะหมายถึงการเพิ่มขึ้นของรายได้ที่แท้จริงแล้ว ยังหมายถึงการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางสังคมอีกด้วย การพัฒนาเศรษฐกิจ = ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ + ความอยู่ดีกินดี การพัฒนาเศรษฐกิจ จึงเน้นถึงการยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในสังคมให้ดีขึ้น นั่นคือ การพัฒนาเศรษฐกิจ หมายถึง ก. การสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ข. การลดหรือขจัดปัญหาความยากจน ค. การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเศรษฐกิจ สังคม สถาบันที่เกี่ยวข้องกับการผลิต การกระจายผลผลิต สถาบันอื่น ๆ รวมทั้งทัศนคติของประชาชน
แนวคิดเกี่ยวกับการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของเคนส์ (Keynes) • เคนส์อธิบายถึงการกำหนดขึ้นเป็นรายได้ประชาชาติ ว่าเกิดจากตัวกำหนด 2 ระดับ คือ • 1. ตัวกำหนดในทันที หรือตัวกำหนดโดยตรงของรายได้และการจ้างงาน ซึ่งได้แก่ การบริโภคและการลงทุน (กรณีระบบเศรษฐกิจเป็นแบบปิดและไม่มีภาครัฐบาล) • 2. ตัวกำหนดในที่สุด หรือปัจจัยที่กำหนดการบริโภคและการลงทุน (อีกต่อหนึ่ง อันจะส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของรายได้และการจ้างงานอีกต่อหนึ่ง) ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ได้แก่ แนวโน้มการบริโภค ความต้องการในการถือสินทรัพย์สภาพคล่อง และอัตราผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับจากการลงทุน หรือประสิทธิภาพส่วนเพิ่มของทุน (ซึ่งกำหนดการลงทุน)
ดุลยภาพของระบบเศรษฐกิจอาจไม่เกิดขึ้น ณ ระดับที่มีการจ้างงานเต็มที่ เพราะอุปสงค์มวลรวมในระบบเศรษฐกิจอาจมีไม่เพียงพอ หรือต่ำเกินไป ดังนั้น • ในเชิงนโยบายจึงเป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่จะใช้นโยบายแทรกแซงระบบเศรษฐกิจเพื่อส่งเสริมให้เกิดการจ้างงานเต็มที่ การแทรกแซงของรัฐบาลอาจทำได้โดย- การควบคุม(ลด)อัตราดอกเบี้ย(เพื่อกระตุ้นการลงทุน) - การเพิ่มการใช้จ่ายของรัฐบาล (โดยการใช้งบประมาณขาดดุล) - การใช้นโยบายที่จะก่อให้เกิดการกระจายรายได้ใหม่เพื่อยกระดับของการใช้จ่ายเพื่อการบริโภค (เช่น การเก็บภาษีในอัตราก้าวหน้า แล้วนำงบประมาณมาใช้จ่ายช่วยเหลือคนรายได้ต่ำ การที่แนวโน้มการบริโภคของคนจนมากกว่าคนรวยทำให้ระดับการบริโภคโดยรวมเพิ่มสูงขึ้นได้)
ผลการประมาณการแบบจำลองผลการประมาณการแบบจำลอง
การรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ
ความหมายและประเภทของการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจความหมายและประเภทของการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ
ความหมายของเสถียรภาพทางเศรษฐกิจความหมายของเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ • หมายถึง ภาวะที่ตัวแปรทางเศรษฐกิจต่าง ๆ มีการเคลื่อนไหวอย่างเหมาะสมสอดคล้อง และไม่ผันผวนจนเป็นอุปสรรคต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ • เครื่องชี้เสถียรภาพเศรษฐกิจมหภาค ประกอบไปด้วยต่าง ๆ เหล่านี้คือ ไม่ต้องการให้เงินเฟ้อสูงเกินไปเพราะมีส่วนเกี่ยวข้องกับการประกอบอาชีพของประชาชน ไม่ต้องการให้มีการว่างงานมากเกินไป ไม่ต้องการให้มีหนี้สาธารณะสูงเกินไป ทุนทรัพย์ไม่ผันผวนเกินไป อัตราแลกเปลี่ยนหรือค่าเงินบาทไม่มีการผันผวนขึ้นลงเกินไป
ระบบสถาบันการเงินจะมีเสถียรภาพหรือไม่หลักแรกคือ ความเพียงพอของทุน capital adequacy ratio ทุนที่ธนาคารพาณิชย์มีเพียงพอไหม โดยทั่วไปยึดตามหลักสากล โดยทุนเทียบกับทรัพย์สินของธนาคารพาณิชย์ นำมูลค่าหุ้นเทียบกับสินเชื่อที่เขาปล่อยไปไม่ควรจะต่ำกว่า 8.5 % นั่นคือมีทุนอย่างน้อย 8.5 % ของสินเชื่อ • นิยามในระยะยาวของเศรษฐกิจมหภาคคือ เป้าหมายของการขยายตัวของเศรษฐกิจของประเทศจะขึ้นอยู่กับความสามารถในการผลิตในระยะยาวของเศรษฐกิจมีอยู่ 4 ปัจจัยคือ การสะสมทุน การลงทุน แรงงานและผลิตภาพในการผลิต • ดังนั้น เป้าหมายของการบริหารเศรษฐกิจคือ การที่จะทำให้เศรษฐกิจมีการขยายตัวต่อเนื่องอย่างมีเสถียรภาพและยั่งยืน
ประเภทเสถียรภาพเศรษฐกิจประเภทเสถียรภาพเศรษฐกิจ • เสถียรภาพภายใน (Internal stability) • เสถียรภาพภายนอก (External stability)
เสถียรภาพราคาและการวัดเสถียรภาพราคาเสถียรภาพราคาและการวัดเสถียรภาพราคา
ความหมายของเสถียรภาพราคาความหมายของเสถียรภาพราคา • เสถียรภาพด้านราคา หมายถึง การพยายามไม่ให้ระดับราคาโดยทั่วไปมีการเปลี่ยนแปลงมากเกินไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งการควบคุมไม่ให้เกิดภาวะเงินเฟ้อในอัตราที่สูง • ตัวชี้วัดเสถียรภาพระดับราคา คือ อัตราเงินเฟ้อ (Inflation rate) • เงินเฟ้อ (Inflation) คือ ภาวะที่ระดับราคาสินค้าสูงขึ้นเรื่อยๆอย่างต่อเนื่อง
สาเหตุของการเกิดเงินเฟ้อ(Inflation)สาเหตุของการเกิดเงินเฟ้อ(Inflation)
เงินเฟ้อ (Inflation) คือ ภาวะที่ระดับราคาสินค้าสูงขึ้นเรื่อยๆอย่างต่อเนื่อง • เงินเฟ้อจึงแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิดใหญ่ๆ คือ 1. เงินเฟ้อที่เกิดทางด้านอุปสงค์ (demand-pull inflation) และ2. เงินเฟ้อที่เกิดทางด้านต้นทุน (cost-push inflation)
1. เงินเฟ้อที่เกิดทางด้านอุปสงค์ (demand-pull inflation) เงินเฟ้อที่เกิดทางด้านอุปสงค์ หมายถึง เงินเฟ้อที่เกิดขึ้นเนื่องจากอุปสงค์รวมเปลี่ยนแปลงสูงขึ้น ซึ่งอาจจะเกิดจากการที่ประชาชนมีความต้องการใช้จ่ายเพิ่มขึ้น (ลดการออมทรัพย์) หรือเอกชนแข่งกันลงทุนเพิ่มขึ้น หรือเกิดจากมาตรการทางการคลัง เช่น รัฐใช้จ่ายซื้อสินค้าและบริการเพิ่มขึ้น ลดภาษีที่เรียกเก็บจากประชาชน เป็นต้น หรือเกิดจากการใช้มาตรการทางการเงินโดยการเพิ่มปริมาณเงิน เป็นต้น เหล่านี้ล้วนเกิดผลทำให้เส้นอุปสงค์รวมเลื่อนระดับไปทางขวามือของเส้นเดิม
P LAS SAS0 E2 P2 A E1 P1 AD1 AD0 (MS ) 0 y yf y2 y1
สมมติให้มีการขยายตัวทางการเงินซึ่งอาจเกิดจากการดำเนินนโยบายการเงินแบบขยายตัว ทำให้ปริมาณเงินเพิ่มขึ้น เส้น LM เลื่อนไปทางขวามือ(ไม่ได้แสดงรูป) จึงทำให้เส้นอุปสงค์รวมเลื่อนระดับไปทางขวามือ จากเส้น AD1 เป็นเส้น AD2 ทำให้เกิดอุปสงค์รวมส่วนเกินเท่ากับ yfy1 จึงเกิดแรงดึงให้ระดับราคาสูงขึ้น การสูงขึ้นของระดับราคาจะทำให้อุปทานของเงินที่แท้จริงและอุปสงค์รวมลดลงบ้าง และเกิดการขยายตัวของอุปทานรวม เนื่องจากอัตราค่าจ้างที่เป็นตัวเงินยังไม่ได้ปรับตัวสูงขึ้น และระดับราคาที่แรงงานคาดคะเนก็ยังคงเดิม การสูงขึ้นของระดับราคา จึงมีผลทำให้อุปสงค์รวมลดลงบ้าง ในขณะที่อุปทานรวมเพิ่มขึ้น ในที่สุดทำให้อุปสงค์รวมส่วนเกินหมดไป โดยจุดดุลยภาพใหม่อยู่ที่จุด E2 ระดับราคาดุลยภาพสูงขึ้นเป็น OP2 และระดับรายได้ประชาชาติที่แท้จริงสูงขึ้นเป็น Oy2 ซึ่งสูงกว่าระดับผลผลิตที่ระบบเศรษฐกิจมีการจ้างงานเต็มที่คือ Oyf
ดังนั้นจุด E2 จึงเป็นจุดดุลยภาพชั่วคราวในระยะสั้น ในระยะยาวจุด E2 จะต้องเคลื่อนไปอยู่ที่จุดบนเส้นอุปทานรวมระยะยาวและระดับรายได้ประชาชาติที่แท้จริงจะเท่ากับ Oyf ซึ่งเป็นระดับผลผลิตที่ระบบเศรษฐกิจมีการจ้างงานเต็มที่ ดังเหตุผลที่จะอธิบายต่อไป ถ้าปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจขยายตัวต่อไปอีก ระดับราคาจะยิ่งสูงขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้น การวิเคราะห์เงินเฟ้อที่เกิดจากทางด้านอุปสงค์นี้ยังสอดคล้องกับแนวคิดของนักเศรษฐศาสตร์สำนักการเงินที่ว่า ในระยะยาว ปริมาณเงินเป็นตัวแปรสำคัญที่มีอิทธิพลต่อระดับราคา แต่ไม่มีอิทธิพลต่อระดับรายได้ประชาชาติที่แท้จริง นั่นคือ เงินเฟ้อเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดจากการเพิ่มขึ้นของปริมาณเงินนั่นเอง
2. เงินเฟ้อที่เกิดจากทางด้านต้นทุน (cost-push inflation) เงินเฟ้อที่เกิดจากทางด้านต้นทุน หมายถึง เงินเฟ้อที่เกิดจากการเลื่อนของเส้นอุปทานรวมระยะสั้นไปทางซ้ายมือของเส้นเดิม สาเหตุที่ทำให้เส้นอุปทานรวมระยะสั้นเลื่อนไปทางซ้ายมืออาจจะเกิดจากการที่แรงงานคาดคะเนระดับราคาสูงขึ้น จึงทำให้แรงงานเรียกร้องอัตราค่าจ้างที่เป็นตัวเงินสูงขึ้น หรืออาจจะเกิดจากปัจจัยอื่นที่ทำให้เส้นอุปทานรวมลดลงอย่างทันที (supply shock) ทำให้เส้นอุปทานรวมระยะสั้นเลื่อนระดับไปทางซ้ายมือของเส้นเดิม - ค่าจ้างเพิ่มสูงขึ้น - ราคาน้ำมันเพิ่มสูงขึ้น - กำไรของหน่วยธุรกิจเพิ่มขึ้น - ต้นทุนการผลิตอื่นๆเพิ่มขึ้น
SAS2 P LAS SAS1 E2 P2 P1 E1 AD1 0 y y0 y1 yf
สมมติให้แรงงานเรียกร้องอัตราค่าจ้างที่เป็นตัวเงินเพิ่มขึ้นสูงกว่าอัตราการเพิ่มขึ้นของผลผลิตทางกายภาพของแรงงานหน่วยสุดท้าย ซึ่งจะมีผลทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น ระดับการจ้างงานและอุปทานรวมลดลง ทำให้เส้นอุปทานรวม SAS1 เลื่อนระดับไปทางซ้ายมือเป็นเส้น SAS2 และทำให้เกิดอุปสงค์รวมส่วนเกินเท่ากับ y1yf ซึ่งจะผลักดันให้ระดับราคาสูงขึ้น การสูงขึ้นของระดับราคาจะทำให้อุปทานของเงินที่แท้จริงและอุปทานรวมลดลงบ้าง ในขณะที่กระตุ้นให้ผู้ผลิตมีความต้องการจ้างงานเพิ่มขึ้น อุปทานรวมจึงขยายตัวเพิ่มขึ้น ในที่สุดทำให้อุปสงค์รวมส่วนเกินหมดไป โดยจุดดุลยภาพใหม่อยู่ที่จุด E2 ซึ่งต่ำกว่าระดับผลผลิตที่ระบบเศรษฐกิจมีการจ้างงานเต็มที่ นั่นคือ การเปลี่ยนแปลงของระดับราคาและผลผลิตเป็นไปในทิศทางตรงกันข้าม ซึ่งเป็นการต่อต้านวัฏจักร (counter-cyclical)
จะเห็นได้ว่า เงินเฟ้อที่เกิดทางด้านต้นทุนนี้ก่อให้เกิดผล 2 ประการ คือ ระดับราคาสูงขึ้น แสดงว่าเกิดเงินเฟ้อ (inflation) แต่ในขณะเดียวกัน ระดับผลผลิตก็ลดต่ำลง แสดงว่า เศรษฐกิจชะงักงัน (stagnation) ดังนั้น บางที่เรียกรวมกันว่า ภาวะเศรษฐกิจชะงักงันควบคู่กับภาวะเงินเฟ้อ (stagflation) จุดดุลยภาพ E2 ในรูป เป็นจุดดุลยภาพชั่วคราวในระยะสั้น ทั้งนี้เพราะเมื่อระบบเศรษฐกิจมีการว่างงานเกิดขึ้น ก็จะมีผลทำให้แรงงานที่ต้องการมีงานทำยินดีรับอัตราค่าจ้างที่เป็นตัวเงินต่ำลงบ้าง ผู้ผลิตจึงมีความต้องการจ้างงานเพิ่มขึ้น อุปทานรวมจึงขยายตัวเพิ่มขึ้น จุดดุลยภาพ E2 จึงเคลื่อนกลับมาอยู่ที่จุดดุลยภาพ E1 ตามเดิม และภาวะเงินเฟ้อยุติลง
ดังนั้น เงินเฟ้อที่เกิดจากการที่ต้นทุนสูงขึ้นอันเนื่องมาจากแรงงานเรียกร้องอัตราค่าจ้างที่เป็นตัวเงินสูงขึ้นนั้น (หรืออุปทานรวมลดลงอย่างกะทันหัน) จะเกิดขึ้นเพียงชั่วคราว และในที่สุดก็จะยุติลงได้ สหภาพแรงงานมักจะโต้แย้งว่า เงินเฟ้อที่เกิดขึ้นในระบบเศรษฐกิจมิได้มีสาเหตุมาจากการที่แรงงานเรียกร้องอัตราค่าจ้างที่เป็นตัวเงินสูงขึ้น แต่เกิดจากสาเหตุอื่นมากกว่า (เช่น อุปสงค์เพิ่มขึ้น) ทำให้ระดับราคาสูงก่อน แรงงานจึงต้องเรียกร้องอัตราค่าจ้างที่เป็นตัวเงินสูงขึ้น เพื่อชดเชยกับการเพิ่มสูงขึ้นของระดับราคา แต่ถ้าแรงงานเรียกร้องอัตราค่าจ้างที่เป็นตัวองเงินสูงขึ้นก่อน โดยที่ระดับราคายังมิได้สูงขึ้น ก็จะมีผลทำให้เกิดเงินเฟ้อเพียงชั่วคราวเท่านั้น เพราะระบบเศรษฐกิจจะมีการว่างงานเกิดขึ้นด้วย ทำให้แรงงานไม่สามารถเรียกร้องอัตราค่าจ้างที่เป็นตัวเงินสูงขึ้นต่อไปได้ ในที่สุดภาวะเงินเฟ้อที่มีสาเหตุจากค่าจ้างที่เป็นตัวเงินสูงขึ้น (wage-push inflation) ก็จะต้องยุติลง
ผลกระทบของตัวแปรทางเศรษฐกิจต่ออัตราเงินเฟ้อผลกระทบของตัวแปรทางเศรษฐกิจต่ออัตราเงินเฟ้อ • ประเมินผลกระทบราคาน้ำมันที่สูงขึ้นว่า การเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันดิบทุกๆ 10% จะทำให้การขยายตัวเศรษฐกิจลดลง 0.2% เงินเฟ้อพื้นฐานเพิ่มขึ้น 0.1% เงินเฟ้อทั่วไปเพิ่มขึ้น 0.4% และการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดต่อจีดีพีเพิ่มขึ้น 0.6%
การกระจายรายได้และความเป็นธรรมในระบบเศรษฐกิจการกระจายรายได้และความเป็นธรรมในระบบเศรษฐกิจ
ความหมายและการวัดการกระจายรายได้ความหมายและการวัดการกระจายรายได้ • การกระจายรายได้ (Income distribution)เป็นการความเท่าเทียมกันในรายได้ของคนในสังคม • ถ้าทุกคนในสังคมมีรายได้เท่ากันหมด เรียกว่ามีการกระจายรายได้อย่างเท่าเทียมกันแบบสมบรูณ์ (perfect equality) • ในทางตรงกันข้าม ถ้ามีคนเพียงคนเดียวที่มีรายได้ คนอื่นๆ ในสังคมไม่มีรายได้เลย เรียกว่ามีการกระจายรายได้อย่างไม่เท่าเทียมกันแบบสมบรูณ์ (perfect inequality) • ความเท่าเทียมกันหรือไม่เท่าเทียมกันของรายได้วัดได้อย่างไร?
การวัดความยากจนและการกระจายรายได้การวัดความยากจนและการกระจายรายได้ • การกระจายรายได้ การเพิ่มขึ้นของรายได้โดยเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มต่างๆ(Relative Income) ซึ่งมีเกณฑ์การชี้วัดที่ใช้กันได้แก่ • Gini -Coefficient และIncome Share (Quintile หรือDecile)ซึ่งใช้วัดความไม่ทัดเทียมกันในส่วนแบ่งรายได้ของกลุ่มคนที่แบ่งตามระดับรายได้ • Variance of Income Log และShorrocks' Index ซึ่งแบ่งกลุ่มคนตามกิจกรรมทางเศรษฐกิจ(อาชีพ) ที่ตั้งครัวเรือน(เมือง/ชนบท) และลักษณะเฉพาะเช่นอายุเพศการศึกษาเพื่อหาความไม่เท่าเทียมกันในคนแต่ละกลุ่มดังกล่าว • รายได้ประชาชาติต่อหัว
Gini-Coefficient และIncome Share (Quintile หรือDecile)Gini-Coefficient และIncome Share (Quintile หรือDecile) • สัมประสิทธิ์จินีหรือสัมประสิทธิ์การกระจายรายได้ซึ่งใช้วัดความไม่ทัดเทียมกันในส่วนแบ่งรายได้ของกลุ่มคนที่แบ่งตามระดับรายได้ • Gini Coefficientเป็นตัวชี้วัดความไม่เท่าเทียมที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดเป็นตัวที่ใช้อธิบายในกลุ่มLorenz Curve • ค่าจินีถูกกำหนดจากพื้นที่ระหว่างเส้นLorenz Curve กับเส้นการกระจายรายได้สมบูรณ์หารด้วยพื้นที่ใต้เส้นทะแยงมุมทั้งหมด • สัมประสิทธิ์จินีจะมีค่าตั้งแต่0 ถึง1 • โดยหากมีค่าเข้าใกล้ศูนย์จะยิ่งดีคือทุกคนมีรายได้เท่าเทียมกันอย่างสมบูรณ์เมื่อค่า= 0 • มีค่าเข้าใกล้1 มากเท่าไรยิ่งแสดงความไม่ทัดเทียมกันในรายได้มากขึ้น
เกณฑ์การชี้วัดการกระจายรายได้ที่ได้รับความนิยมรองลงมาคือVariance of Income Log และShorrocks' Index เกณฑ์การชี้วัดการกระจายรายได้ที่ได้รับความนิยมรองลงมาคือVariance of Income Log และShorrocks' Index • ซึ่งแบ่งกลุ่มคนตามกิจกรรมทางเศรษฐกิจ(อาชีพ) ที่ตั้งครัวเรือน(เมือง/ชนบท) และลักษณะเฉพาะเช่นอายุเพศการศึกษาเพื่อหาความไม่เท่าเทียมกันในคนแต่ละกลุ่มดังกล่าว • แต่การกระจายรายได้ที่ดีที่สุดคือการเพิ่มAbsolute real Income ของทุกกลุ่มโดยต้องการให้กลุ่มที่มีรายได้น้อยมีอัตราการเพิ่มรายได้สูงสุดแต่เป็นเรื่องที่ทำได้ยากและไม่ค่อยประสบความสำเร็จมากนัก • ดังนั้นเป้าหมายอย่างต่ำคือการพยายามทำให้Absolute real Income ของทุกกลุ่มเพิ่มขึ้นและให้จำนวนประชากรที่อยู่ใต้เส้นความยากจนลดลง
วิธีการคำนวณการกระจายรายได้วิธีการคำนวณการกระจายรายได้
inequality Line of perfect Lorenz curve Line of perfect equality Lorenz curve Note:รายได้ติดลบไม่ได้ เพราะ Lorenz curve อยู่ต่ำกว่าเส้น perfect inequality ไม่ได้
Gini coefficient = Area A Area (A+B) Lorenz curve andGiniIndex A B