1 / 15

รัฐธรรมนูญ

รัฐธรรมนูญ. อำนาจในการจัดให้มีรัฐธรรมนูญ. ความหมาย. ประเภทของรัฐธรรมนูญ. อำนาจในการจัดทำรัฐธรรมนูญ. ความหมาย.

Download Presentation

รัฐธรรมนูญ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. รัฐธรรมนูญ อำนาจในการจัดให้มีรัฐธรรมนูญ ความหมาย ประเภทของรัฐธรรมนูญ อำนาจในการจัดทำรัฐธรรมนูญ

  2. ความหมาย รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เป็นกฎหมายลำดับศักดิ์สูงสุดแห่งราชอาณาจักรไทย กฎหมายอื่นใดจะขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญไม่ได้ รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายว่าด้วยการจัดระเบียบการปกครองของประเทศ ซึ่งตั้งแต่ปีพ.ศ.2475ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญแล้วทั้งสิ้น 18 ฉบับ อันแสดงให้เห็นถึงความขาดเสถียรภาพทางการเมืองของประเทศ รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน คือรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550

  3. อำนาจในการจัดให้มีรัฐธรรมนูญอำนาจในการจัดให้มีรัฐธรรมนูญ 1.ประมุขของรัฐเป็นผู้จัดให้มี เกิดขึ้นโดยการแสดงเจตนาของพระมหากษัตริย์แต่ฝ่ายเดียว พระมหากษัตริย์ทรงยอมจำกัดพระราชอำนาจของพระองค์ลงโดยจัดให้มีสภานิติบัญญัติขึ้น รัฐธรรมนูญนี้ยังถือว่าพระมหากษัตริย์ทรงมีพระราชอำนาจเหนือราษฎรอยู่และไม่ถือว่าเป็นประชาธิปไตยอย่างสมบูรณ์ 2.ผู้ก่อการปฎิวัติหรือรัฐประหารเป็นผู้จัดให้มี ในกรณีที่คณะบุคคลจะกระทำการปฏิวัติหรือรัฐประหาร หากกระทำการได้สำเร็จ ผู้ทำการปฏิวัติหรือรัฐประหารจะเป็นผู้จัดทำรัฐธรรมนูญขึ้น และในบางครั้งก็จะเป็นผู้จัดทำกฎเกณฑ์การปกครองประเทศเสียเองเป็นการชั่วคราวในรูปของประกาศคณะปฏิวัติ และในภายหลังก็อาจจัดให้มีกฎเกณฑ์การปกครองประเทศในรูปของรัฐธรรมนูญต่อไป

  4. อำนาจในการจัดให้มีรัฐธรรมนูญ (ต่อ) 3.ราษฎรเป็นผู้จัดให้มี ราษฎรในที่นี้ หมายถึง ราษฎรที่ร่วมกันก่อการปฏิวัติหรือเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครองในประเทศได้สำเร็จ ราษฎรทั้งปวงย่อมกลายเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยซึ่งตนช่วงชิงมาได้ แม้แต่หัวหน้าที่ก่อการปฏิวัติก็จะต้องกระทำการอยู่ภายใต้ความประสงค์ของประชาชน

  5. อำนาจในการจัดให้มีรัฐธรรมนูญ (ต่อ) 4.ประมุขของรัฐและราษฎรหรือคณะบุคคลมีอำนาจร่วมกันจัดให้มี รัฐธรรมนูญชนิดนี้คือข้อตกลงระหว่างกษัตริย์กับราษฎรหรือคณะบุคคลคณะหนึ่ง ซึ่งกระทำหรือถือกันว่ากระทำในนามของราษฎรจัดการร่วมกันให้มีขึ้น จึงมีลักษณะเป็นประชาธิปไตยค่อนข้างมาก มักเกิดจากการปฏิวัติหรือรัฐประหารซึ่งเห็นความสำคัญและความจำเป็นที่จะต้องมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขต่อไป เพื่อความเจริญและความสงบสุขของประเทศชาติ แต่จำกัดพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ให้อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ และพระมหากษัตริย์ทรงยอมรับรองรัฐธรรมนูญนั้น สำหรับประเทศไทย การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เพื่อใช้บังคับนั้นจะต้องถือว่าเป็นความตกลงร่วมกันระหว่างประมุขของรัฐกับคณะผู้ก่อการปฏิวัติหรือรัฐประหารเสมอ

  6. อำนาจในการจัดให้มีรัฐธรรมนูญ (ต่อ) 5.ผู้มีอำนาจจากองค์กรภายนอกในฐานะผู้มีอำนาจจัดให้มี ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา ได้มีประเทศเกิดใหม่ขึ้นเป็นจำนวนมาก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นประเทศที่เพิ่งได้รับเอกราชและต้องการที่จะมีรัฐธรรมนูญเพื่อแสดงฐานะในทางระหว่างประเทศของตน โดยรัฐเจ้าอาณานิคมที่จะให้เอกราชคืนแก่รัฐใต้อาณานิคมนั้นมักจะตกลงเป็นเงื่อนไขประการหนึ่งกับรัฐใต้อาณานิคมก่อนคืนเอกราชให้เสมอว่า รัฐใต้อาณานิคมจะต้องจัดทำรัฐธรรมนูญซึ่งรัฐเจ้าอาณานิคมให้การรับรองแล้วด้วย เพื่อบังคับใช้ภายในรัฐใต้อาณานิคมภายหลังที่ได้รับเอกราชแล้ว

  7. ประเภทของรัฐธรรมนูญ 1.แบ่งแยกตามวิธีการบัญญัติ การแบ่งแยกโดยหลักเกณฑ์นี้สามารถแบ่งแยกรัฐธรรมนูญออกได้เป็น 2 ประเภทคือรัฐธรรมนูญที่เป็นลายลักษณ์อักษรและรัฐธรรมนูญที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร รัฐธรรมนูญที่เป็นลายลักษณ์อักษรหมายความถึง รัฐธรรมนูญที่มีบทบัญญัติรวมอยู่ในเอกสารฉบับหนึ่งหรือหลายฉบับ กำหนดถึงระเบียบแห่งอำนาจสูงสุดในรัฐ และความสัมพันธ์ระหว่างอำนาจเช่นว่านี้ต่อกันและกัน กฎเกณฑ์การปกครองประเทศและได้จัดทำด้วยวิธีการที่แตกต่างจากการจัดทำกฎหมายธรรมดา

  8. ประเภทของรัฐธรรมนูญ (ต่อ) รัฐธรรมนูญที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร หรือรัฐธรรมนูญจารีตประเพณี หมายความถึง ขนบธรรมเนียม จารีตประเพณี คำพิพากษาของศาลยุติธรรม กฎหมายที่เกี่ยวกับกฎเกณฑ์การปกครองประเทศทางด้านการเมือง ธรรมเนียมปฏิบัติต่าง ๆ ที่ยึดถือติดต่อกันมา รวมกันเข้าเป็นบทบัญญัติที่มีอำนาจเป็นกฎหมายสูงสุด กำหนดรูปแบบการปกครองของรัฐ ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้เขียนรวบรวมไว้เป็นรูปเล่ม

  9. ประเภทของรัฐธรรมนูญ (ต่อ) 2.แบ่งแยกตามเนื้อหาและตามแบบพิธี การแบ่งแยกโดยหลักเกณฑ์นี้สามารถแบ่งแยกรัฐธรรมนูญออกได้เป็น 2 ประเภทคือรัฐธรรมนูญตามเนื้อหาและรัฐธรรมนูญตามแบบพิธี รัฐธรรมนูญตามเนื้อหา หมายความถึง รัฐธรรมนูญซึ่งมีบทบัญญัติบัญญัติถึงข้อความที่เป็นเรื่องของรัฐธรรรมนูญโดยตรง โดยไม่ต้องคำนึงว่าเรียกชื่อกฎหมายนั้นว่าเป็นรัฐธรรมนูญหรือไม่ รัฐธรรมนูญตามแบบพิธีหมายถึง รัฐธรรมนูญซึ่งได้บัญญัติโดยวิธีการบัญญัติรัฐธรรมนูญ โดยไม่ต้องคำนึงถึงว่าเนื้อหาของบทบัญญัตินั้นเป็นเรื่องของรัฐธรรมนูญหรือไม่

  10. ประเภทของรัฐธรรมนูญ (ต่อ) 3.แบ่งแยกตามวิธีการแก้ไข การแบ่งแยกโดยหลักเกณฑ์นี้สามารถแบ่งแยกรัฐธรรมนูญออกได้เป็น 2 ประเภทคือรัฐธรรมนูญที่แก้ไขยากและรัฐธรรมนูญที่แก้ไขง่าย รัฐธรรมนูญที่แก้ไขยาก หมายถึง รัฐธรรมนูญที่การแก้ไขเพิ่มเติมกระทำได้ยากกว่าการบัญญัติกฎหมายธรรมดา กระบวนการแก้ไขเพิ่มเติมมีความซับซ้อนกว่าการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายธรรมดา รัฐธรรมนูญที่แก้ไขง่าย หมายถึง รัฐธรรมนูญที่การแก้ไขเพิ่มเติมกระทำได้โดยวิธีการเดียวกับการแก้ไขกฎหมายธรรมดา กล่าวคือ การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญสามารถกระทำได้โดยการตราพระราชบัญญัติ

  11. ประเภทของรัฐธรรมนูญ (ต่อ) 4.แบ่งแยกตามกำหนดเวลาในการบังคับใช้ การแบ่งแยกโดยหลักเกณฑ์นี้สามารถแบ่งแยกรัฐธรรมนูญออกได้เป็น 2 ประเภทคือรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวและรัฐธรรมนูญฉบับถาวร รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวเป็นรัฐธรรมนูญที่ประกาศใช้เป็นการฉุกเฉินหรือเป็นการล่วงหน้าในบางสถานการณ์ เช่น ภายหลังจากที่มีการปฎิวัติรัฐประหาร มักมีข้อความน้อยมาตราหรือไม่มีบทประกันสิทธิเสรีภาพของประชาชน รัฐธรรมนูญฉบับถาวรเป็นรัฐธรรมนูญที่ร่างขึ้นให้มีความสมบูรณ์ที่สุดเพื่อให้บังคับใช้ได้ตลอดไป

  12. ผู้มีอำนาจในการจัดทำรัฐธรรมนูญคือผู้ที่ได้รับมอบอำนาจมาจากรัฎฐาธิปัตย์ให้เป็นผู้มีอำนาจในการจัดทำรัฐธรรมนูญ แต่ในบางกรณีผู้มีอำนาจในการจัดทำรัฐธรรมนูญก็คือบุคคลที่บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญกำหนดให้มีหน้าที่จัดทำรัฐธรรมนูญ ซึ่งสามารถจำแนกได้ดังต่อไปนี้ คือ 1.บุคคลคนเดียวเป็นผู้จัดทำรัฐธรรมนูญ กรณีที่บุคคลคนเดียวเป็นผู้จัดทำรัฐธรรมนูญนี้ มักเกิดขึ้นจากการกระทำปฏิวัติหรือรัฐประหาร โดยผู้ทำการปฏิวัติหรือรัฐประหารได้จัดทำร่างรัฐธรรมนูญไว้ก่อนล่วงหน้าแล้ว ลักษณะของรัฐธรรมนูญที่จัดทำโดยบุคคลคนเดียวนี้จะมีลักษณะเป็นรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว มีบทบัญญัติเพียงไม่กี่มาตราเท่านั้น อำนาจในการจัดทำรัฐธรรมนูญ

  13. 2.คณะบุคคลเป็นผู้จัดทำรัฐธรรมนูญ2.คณะบุคคลเป็นผู้จัดทำรัฐธรรมนูญ การจัดทำรัฐธรรมนูญโดยคณะบุคคลนี้มักเกิดขึ้นในประเทศที่มีเพิ่งมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองหรือเพิ่งได้รับเอกราช โดยตั้งคณะกรรมาธิการขึ้นยกร่างและพิจารณารัฐธรรมนูญ คณะกรรมาธิการนั้นคัดเลือกมาจากผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชาต่าง ๆ ประเทศที่จัดทำรัฐธรรมนูญในลักษณะนี้ได้แก่ รัฐธรรมนูญของประเทศอินโดนีเซีย พ.ศ. 2487 รัฐธรรมนูญญี่ปุ่น พ.ศ. 2490 และรัฐธรรมนูญของสหพันธรัฐมาเลเซีย พ.ศ. 2500 เป็นต้น อำนาจในการจัดทำรัฐธรรมนูญ (ต่อ)

  14. 3.สภานิติบัญญัติเป็นผู้จัดทำรัฐธรรมนูญ3.สภานิติบัญญัติเป็นผู้จัดทำรัฐธรรมนูญ การจัดทำรัฐธรรมนูญโดยสภานิติบัญญัตินั้นมักเป็นกรณีที่ต้องการยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่เพื่อยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับเก่าทั้งฉบับ การกำหนดให้สภานิติบัญญัติเป็นผู้จัดทำรัฐธรรมนูญนี้มีข้อดีคือประหยัดค่าใช้จ่ายในการจัดทำรัฐธรรมนูญ เพราะสภานิติบัญญัติเป็นสภาที่ใช้อำนาจในการดำเนินการทางกฎหมายอยู่แล้ว แต่ก็อาจทำงานได้ล่าช้าเพราะต้องปฎิบัติหน้าที่นิติบัญญัติไปด้วยในเวลาเดียวกัน สภานิติบัญญัติจะทำหน้าที่จัดทำรัฐธรรมนูญได้ก็ต่อเมื่อมีบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญบัญญัติให้อำนาจไว้ อำนาจในการจัดทำรัฐธรรมนูญ (ต่อ)

  15. ขอบคุณครับ 4.สภาร่างรัฐธรรมนูญ สภาร่างรัฐธรรมนูญ หมายถึง สภาที่ประกอบไปด้วยสมาชิกที่ราษฎรทั่วทั้งประเทศได้ออกเสียงเลือกตั้งเข้ามาทำหน้าที่เป็นผู้ร่างรัฐธรรมนูญขึ้นใช้โดยเฉพาะ และโดยปกติสภานี้จะถูกยุบไปทันที เมื่อรัฐธรรมนูญที่ตนร่างขึ้นนั้นได้รับการประกาศใช้แล้ว เพื่อให้ราษฎรทำการเลือกตั้งสมาชิกเข้ามาทำหน้าที่ในสภานิติบัญญัติตามรัฐธรรมนูญใหม่ แต่ในบางกรณีก็มีความจำเป็นที่สภาร่างรัฐธรรมนูญจะยุบเลิกทันทีไม่ได้ ต้องอยู่ปฏิบัติหน้าที่สภานิติบัญญัติต่อไปจนกว่าจะถึงเวลามีการเลือกตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติขึ้น การจัดทำรัฐธรรมนูญโดยสภาร่างรัฐธรรมนูญนี้มีข้อดีคือสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญมาจากบุคคลหลายอาชีพ ทำให้ได้ความเห็นหลากหลายแตกต่างกันออกไป สามารถทุ่มเทเวลาให้กับการจัดทำรัฐธรรมนูญได้อย่างเต็มที่ อำนาจในการจัดทำรัฐธรรมนูญ (ต่อ)

More Related