1 / 14

ความปลอดภัยของเทคโนโลยีของ

ความปลอดภัยของเทคโนโลยีของ. DNA. และมุมมองทางสังคมและจริยธรรม. จัดทำโดย. ชั้น ม.6/3. นางสาว วชิรญาณ์ เพ็ง สาท เลขที่ 11ก นางสาว ฑาณัฎ สุวรรณ พูล เลขที่14ก นางสาว ปิยะณัฐ ม่วงทอง เลขที่ 15ข นางสาว สุภาพร พิมพ์งาม เลขที่ 17ข นางสาว อัมพวร รณ วันดี เลขที่19ข. เสนอ.

Download Presentation

ความปลอดภัยของเทคโนโลยีของ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ความปลอดภัยของเทคโนโลยีของความปลอดภัยของเทคโนโลยีของ DNA และมุมมองทางสังคมและจริยธรรม

  2. จัดทำโดย ชั้น ม.6/3 นางสาววชิรญาณ์ เพ็งสาท เลขที่ 11ก นางสาวฑาณัฎ สุวรรณพูล เลขที่14ก นางสาวปิยะณัฐ ม่วงทอง เลขที่ 15ข นางสาวสุภาพร พิมพ์งาม เลขที่ 17ข นางสาวอัมพวรรณ วันดี เลขที่19ข เสนอ ครูบรรจบ ธุปพงษ์

  3. เนื่องด้วยเทคโนโลยีของการสร้าง DNA สายผสมและการสร้างสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม เป็นเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพและมีความกว้างขวางพร้อม ๆ กับสายพันธุ์สิ่งมีชีวิตใหม่เกิดขึ้นอย่างมากมายบนโลกอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ทำให้สังคมเริ่มตระหนักและหวั่นเกรงผลเสียที่อาจเนื่องมาจากเทคโนโลยีนี้ เพราะจากบทเรียนที่มนุษย์ได้รับจากเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้น มักมีผลกระทบอื่น ๆ ตามมาภายหลัง ไม่ว่าจะเป็นบทเรียนที่ได้จากการปฏิวัติอุตสาหกรรม มาจนถึงการปฏิวัติทางการเกษตรกรรมที่ส่งเสริมให้มีการปลูกพืชเชิงเดี่ยว เพราะการปฏิวัติดังกล่าวส่งผลถึงการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมอย่างมากมายในเวลาต่อมา

  4. ความหวั่นแกรงต่อความผิดพลาดของสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมที่เกิดขึ้น เริ่มจากความหวาดกลัวว่าจะเป็นแนวทางการเกิดเชื้อโรคสายพันธุ์ใหม่ ๆ ที่ดื้อยาปฏิชีวนะ เนื่องจากยีนต้านทานยาปฏิชีวนะถูกใช้เป็นเครื่องหมายทางพันธุกรรมสำหรับเทคนิคทางพันธุวิศวกรรมทั้งในจุลินทรีย์ พืชและสัตว์ดังนั้นในการทดลองวิจัยในห้องปฏิบัติการจึงต้องมีการควบคุม และมีระบบการกำจัดสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมทุกชนิด มิให้เล็ดลอดออกไปจากห้องปฏิบัติการวิจัยดังกล่าวซึ่งเป็นจรรยาบรรณของนักวิจัยที่พึงปฏิบัติและศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ หรือไบโอเทค(BIOTEC)ได้ออกระเบียบของปฏิบัติงานวิจัยทางด้านนี้

  5. ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจาการใช้พืชจีเอ็มโอผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจาการใช้พืชจีเอ็มโอ ความปลอดภัยทางชีวภาพจากการใช้จีเอ็มโอสังคมต่อต้านการใช้เทคโนโลยีพันธุวิศวกรรมในการสร้างสิ่งมีชีวิตจีเอ็มโอ เนื่องจากมีความวิตกกังวลว่าอาจเกิดความผิดพลาดจากการใช้พืชจีเอ็มโอได้ ดังนี้- อาจเกิดเชื้อโรคสายพันธ์ุใหม่ ๆ ที่ดื้อยาปฏิชีวนะ เนื่องจากมีการใช้ยีนต้านทานยาปฏิชีวนะเป็นเครื่องหมายทางพันธุกรรม- พืชจีเอ็มโอมียีนของสิ่งมีชีวิตอื่นอยู่ด้วย ซึ่งอาจทำให้เป็นภัยต่อสุขภาพ- อาจมีการถ่ายเทยีนจากพืชจีเอ็มโอออกสู่สิ่งแวดล้อม จนทำให้วัชพืชต้านทานยาปราบวัชพืช ซึ่งทำให้กำจัดวัชพืชได้ยากในอนาคต

  6. สำหรับแนวทางในการแก้ไขสรุปเป็นประเด็นสำคัญ ดังนี้1. การวิจัยในห้องปฏิบัติการต้องมีการควบคุมและมีระบบการกำจัดสิ่งมีชีวิตดัดแแปลงพันธุกรรมทุกชนิด โดยไม่ให้ออกจากห้องปฏิบัติการ2. ผู้ทำการวิจัยต้องมีจรรยาบรรณในการปฏิบัติการ3. ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีแห่งชาติควรออกระเบียบในการปฏิบัติการวิจัยด้านนี้4. ติดฉลากอาหารว่าเป็นผลิตภัณฑ์จีเอ็มโอ

  7. การตระหนักถึงความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีพันธุวิศวกรรมที่นำมาใช้สร้าง DNA สายผสมและการสร้างสิ่งมีชีวิตจีเอ็มโอ เช่นจุลินทรีย์ พืชและสัตว์ว่าเป็นเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพ ก่อให้เกิดสิ่งมีชีวิตสายพันธุ์ใหม่อย่างมากมายบนโลก และเกิดขึ้นเร็วกว่าวิธีธรรมชาติ ซึ่งขณะนี้มีประชาชนคนไทยจำนวนมากมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับการใช้จีเอ็มโอ โดยกลุ่มรณรงค์คัดค้านการใช้เทคโนโลยีด้านนี้ ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มองค์กรเอกชนและสื่อมวลชนที่พยายามเตือนภัยให้ประชาชนมีทัศนคติต่อจีเอ็มโอในด้านลบ

  8. แม้ว่าคำชี้แจงบางส่วนอาจมีข้อมูลความจริงบ้างแต่หลายครั้งที่การให้ข้อมูลคลาดเคลื่อนกับความเป็นจริง หรือตีความเกินความน่าจะเป็น ขณะที่สินค้าจีเอ็มโอที่มีอยู่ในตลาดของสหรัฐอเมริกานั้นส่วนหนึ่งอาจส่งเข้ามาในประเทศไทย ได้แก่ ถั่วเหลืองข้าวโพดที่เป็นวัตถุดิบหรือผลิตภัณฑ์ ซึ่งได้รับการประเมินความเสี่ยงแล้วว่าปลอดภัย ในขณะที่มาตรการควบคุมดูแลของประเทศไทยได้เริ่มตั้งแต่การควบคุมดูแลกระบวนการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์จีเอ็มโอก่อนนำมาใช้จริง จึงมีการจัดทำแนวปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยทางชีวภาพ โดยศูนย์พันธุวิศกรรมและเทคโนโลยีแห่งชาติตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536

  9. อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเทคโนโลยีชีวภาพเป็นสิ่งที่น่าสนับสนุนหากนำมาใช้ในทางที่ถูกต้องและมีการควบคุมที่ดี เพราะเป็นเทคโนโลยีที่มีศักยภาพสูงที่จะทำให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน ณ วันนี้ถ้าไม่มีจีเอ็มโอคนก็ไม่อดตาย แต่ในอนาคตอาจจะเกิดความอดอยาก ซึ่งเทคโนโลยีด้านนี้จะช่วยแก้ปัญหานี้ได้ถ้าสังคมมีความเข้าใจเทคโนโลยีด้านนี้ดีพอ นำเข้าสู่เรื่องจีโนมของมนุษย์ โดยการทบทวนความรู้เดิมเกี่ยวกับโครงการจีโนมมนุษย์ เพื่อหาลำดับของนิวคลีโอไทด์ของจีโนมทั้งหมดและทำแผนที่ยีนมนุษย์ ซึ่งประสบผลสำเร็จไปแล้วร้อยละ 99 

  10. ข้อมูลเกี่ยวกับจีโนมมนุษย์จะมีผลกระทบข้อมูลเกี่ยวกับจีโนมมนุษย์จะมีผลกระทบ ต่อชีวิตของมนุษย์อย่างไร ข้อมูลทางพันธุกรรม ของมนุษย์เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่สังคมจะต้องตระหนักเนื่องจากมีผลกระทบต่อชีวิตของมนุษย์ในหลาย ๆด้าน เช่น การตรวจยีนก่อนรับเข้าทำงาน ซึ่งถ้ายีนมีความเสี่ยงด้านสุขภาพกายและสุขภาพจิต อาจจะไม่ถูกรับเข้าทำงานได้ ข้อดีก็คือการรู้ล่วงหน้าเกี่ยวกับสุขภาพก็อาจรักษาให้หายจากโรคได้ ขณะเดียวกัน อาจมีความกังวลว่าจะเป็นโรคได้ อย่างไรก็ตามทุกคนมีสิทธิในการรับรู้ข้อมูลนี้เพื่อการตัดสินใจ

  11. การทราบข้อมูลของจีโนมของมนุษย์อาจมีผลกระทบต่อชีวิตมนุษย์ดังนี้เชิงการแพทย์และสาธารณสุขเนื่องจากโรคของมนุษย์จำนวนมากมีปัจจัยทางพันธุกรรมร่วมด้วย ดังนั้นการรับรู้ข้อมูลโดยระบุตำแหน่งและหน้าที่ของยีนได้จึงนำไปสู่การบำบัดรักษาด้วยยีนหรือใช้ยีนในการผลิตโปรตีนมาใช้รักษาโรค เช่น โรคมะเร็งการค้นพบยา การตรวจวินิจฉัย และวัคซีนใหม่ ๆ เพื่อรักษาโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงโรคไหลตาย โรคทางระบบประสาทด้านเศรษฐกิจธุรกิจบริษัทผู้ผลิตยาใหม่จำนวนมากที่เกิดจากความรู้ในเรื่องของยีนจะทำให้มีการใช้ยาจากต่างประเทศสูงขึ้น ขณะที่บริษัทผลิตยาของไทยนั้นผลิตยาเก่าทำให้มีการแข่งขันกันน้อยลง จึงเสียเปรียบดุลการค้าในด้านยามากขึ้น

  12. ด้านเศรษฐกิจสังคม โครงการจีโนมของมนุษย์จะสร้างผลกระทบในเชิงเศรษฐกิจและสังคมอย่างมาก เนื่องจากสามารถตรวจหาลักษณะทางพันธุกรรมของมนุษย์ได้ จึงสามารถตรวจสอบและวินิจฉัยโรคหลายชนิดได้ล่วงหน้า ผู้ป่วยจึงรักษาโรคได้ตั้งแต่ระยะเริ่มแรกหรือหายขาดจากโรคได้ ดังนั้นเมื่อมีสุขภาพดี ประสิทธิภาพการทำงานก็เพิ่มขึ้น รายได้ก็เพิ่มขึ้น รายได้ของประชาชาติเพิ่มขึ้นในที่สุด

  13. แหล่งอ้างอิง server.thaigoodview.com/node/33890 นงลักษณ์ สุวรรณพินิจและปรีชา สุวรรณพินิจ.จุลชีวยาทั่วไป.พิมพ์ครั้งที่ 3. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.2544 นิตยา เลาหะจินดา.วิวัฒนาการของสัตว์.โรงพิมพ์ลินคอร์น:กรุงเทพฯ.2539. พัฒนีจันทรดรทัย.วิวัฒนาการความเป็นมาและกระบวนการกำเนดของสิ่งมีชีวิต.สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.2547 สมาคมพันธุศาสตร์แห่ประเทศไทย.หลักพันธุศาสตร์.กรุงเทพฯ.2546. สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ.ความหลากหลายทางชีวภาพในประเทศไทย.กรุงเทพฯ.2545. อักษร ศรีเปล่ง.พืชมีระบบท่อลำเลียง.มหาวิทยาลัยเกตรศาสตร์.2530

  14. ขอจบการนำเสนอค่ะ ขอบคุณค่ะ

More Related