1 / 49

การเปลี่ยนรูป ( Deformation )

การเปลี่ยนรูป ( Deformation ). นางสาวกัลยาทิพย์ บัวทอง รหัสนักศึกษา 5310110034 นางสาวกานต์ชนก สาเหลา รหัสนักศึกษา 5310110036 นายการัณย์ บิลละ รหัสนักศึกษา 5310110038 ภาควิชาวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. การเปลี่ยนรูป ( DEFORMATION).

vienna
Download Presentation

การเปลี่ยนรูป ( Deformation )

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การเปลี่ยนรูป ( Deformation ) นางสาวกัลยาทิพย์ บัวทอง รหัสนักศึกษา 5310110034 นางสาวกานต์ชนก สาเหลา รหัสนักศึกษา 5310110036 นายการัณย์ บิลละ รหัสนักศึกษา 5310110038 ภาควิชาวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

  2. การเปลี่ยนรูป (DEFORMATION) คอนกรีตในสภาพใช้งานอาจมีการเปลี่ยนรูป (Deformation) โดยสาเหตุที่สำคัญ 2 ประการคือ 1. การเปลี่ยนรูปที่ขึ้นอยู่กับน้ำหนักบรรทุก (Load Dependent deformation)ได้แก่ Elastic Strain และCreep 2. การเปลี่ยนรูปที่ไม่ขึ้นกับน้ำหนัก (Load Independent Deformation)ได้แก่Shrinkage และ Thermal Expansion

  3. 1.ความเครียดยืดหยุ่น (Elastic Strains) เมื่อใส่แรงลงในคอนกรีตจะเกิดหน่วยการหดตัวหรือความเครียด (Strain) ซึ่งจะพบว่าคอนกรีตไม่ใช่วัสดุที่มีความยืดหยุ่นที่แท้จริง หน่วยแรง (Stress) ไม่ได้แปรผันโดยตรงกับความเครียด ในคอนกรีต

  4. กราฟ Stress-strain ของคอนกรีต

  5. โมดูลัสยืดหยุ่นของคอนกรีตโมดูลัสยืดหยุ่นของคอนกรีต • โมดูลัสยืดหยุ่นของคอนกรีต (modulus ofelasticity), Ecเป็นตัวแสดงถึงความต้านทานต่อการเสียรูป (deformation) ของคอนกรีตเมื่อมีแรงกดอัดมากระทำ จากการทดสอบจะพบว่า • โมดูลัสยืดหยุ่นของคอนกรีตมีค่าแปรเปลี่ยนตามกำลังของคอนกรีต หน่วยน้ำหนักของคอนกรีต ตลอดจนขนาด และระยะเวลาที่รับ • น้ำหนักบรรทุก เมื่อคอนกรีตรับน้ำหนักบรรทุกอยู่ในช่วงใช้งาน และกระทำในช่วงเวลาสั้น ๆ

  6. โมดูลัสยืดหยุ่นของคอนกรีต (ต่อ) ซึ่งอาจจะสมมติให้คอนกรีตเป็นวัสดุยืดหยุ่น (elastic materials) ได้ โดยมีความเครียด (elastic strain) เป็นสัดส่วนโดยตรงกับ หน่วยแรงอัดที่กระทำ แต่เมื่อคอนกรีตรับน้ำหนักบรรทุกคงค้างเป็น เวลานาน ๆ (long-term loading) ต้องพิจารณารวมความเครียดแบบพลาสติก (plastic strain) ด้วย เพราะโมดูลัสยืดหยุ่นของคอนกรีตจะลดลงทำให้คอนกรีตเกิดการเสียรูปมากขึ้น

  7. รูปแสดงวิธีการหาค่าโมดูลัสยืดหยุ่นของคอนกรีต (Chu-Kia Wang, 1992)

  8. การคำนวณหาค่าโมดูลัสยืดหยุ่นการคำนวณหาค่าโมดูลัสยืดหยุ่น โมดูลัสยืดหยุ่นของคอนกรีต หาได้จากอัตราส่วนของ • หน่วยแรงอัดต่อความเครียด หากำลังต้านทานแรงอัดของคอนกรีต โดยทั่วไปความสัมพันธ์นี้มีลักษณะเป็นรูปโค้งพาราโบลาซึ่งการหาค่าโมดูลัสยืดหยุ่นของคอนกรีตนั้น มาตรฐาน ACI และ ว.ส.ท. ใช้วิธี Secant Modulus ซึ่งคำนวณจากความลาดเอียงของเส้นที่ลากจากจุดเริ่มต้นกับจุดใด ๆ ที่ต้องการหา ซึ่งมักพิจารณาที่จุดซึ่งมี • หน่วยแรงอัดเท่ากับ 45% ของหน่วยแรงอัดสูงสุด ( 0.45 fc′) • บนเส้นสัมพันธ์ระหว่าง หน่วยแรงอัดกับความเครียด

  9. โดยถือว่าค่าโมดูลัสยืดหยุ่นที่หาโดยวิธีการนี้เป็นค่าโมดูลัสยืดหยุ่นที่แท้จริงของคอนกรีตในช่วงใช้งาน เนื่องจากได้พิจารณารวมถึงความเครียดแบบพลาสติกเข้าไปด้วยมาตรฐาน ACI และ ว.ส.ท. กำหนดสูตรสำหรับหาค่าโมดูลัสยืดหยุ่นของคอนกรีต โดยให้ขึ้นกับ กำลังต้านทานแรงอัดสูงสุดและหน่วยน้ำหนักของคอนกรีต ดังสมการ Ec= 4,270 w1.5 kg/cm2 หรือ • Ec= 0.043 w1.5MPa…….สมการที่ 1

  10. เมื่อ • Ecคือ โมดูลัสยืดหยุ่นของคอนกรีต(kg/cm2) • W คือ หน่วยน้ำหนักของคอนกรีต(ton/m3) • fc′ คือ กำลังอัดสูงสุดของคอนกรีตรูปทรงกระบอกเมื่ออายุ 28วัน (kg/cm2) ดังนั้น สำหรับคอนกรีตธรรมดา ที่มีหน่วยน้ำหนัก W = 2,323 kg/m3จะได้ตามสมการที่ 2 • Ec= 15,100kg/cm2 • Ec = 4,700 MPa ………..สมการที่ 2

  11. สำหรับการทดสอบกำลังรับแรงกดอัดของคอนกรีต สามารถหาค่า โมดูลัสยืดหยุ่นของคอนกรีตได้จาก อัตราส่วนระหว่างหน่วยแรงกดอัดกับความเครียดกดอัด บนกราฟความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยแรงกดอัดและความเครียดกดอัดของคอนกรีต ในช่วงที่คอนกรีตมีพฤติกรรม แบบยืดหยุ่นเชิงเส้น (linear elastic) ซึ่งมาตรฐานASTM C469-94 ได้กำหนดสมการในการคำนวณหาค่าโมดูลัสยืดหยุ่นของคอนกรีตดังสมการที่ 3 • Ec = (S2 − S 1) /( -0.000050) ………..สมการที่ 3 • เมื่อ • S1คือ หน่วยแรงที่ตัวอย่างทดสอบเกิดความเครียดกดอัดเท่ากับ50× 10-6 mm/mm S2คือ หน่วยแรงที่มีค่าประมาณ 40 เปอร์เซ็นต์ของหน่วยแรงกดอัดสูงสุด ε2คือ ความเครียดกดอัดที่เกิดจากหน่วยแรง S2

  12. การวัดค่าโมดูลัสยืดหยุ่นการวัดค่าโมดูลัสยืดหยุ่น ค่าโมดูลัสยืดหยุ่น (Modulus of Elasticity) ชนิดต่างๆ ของคอนกรีตมีดังนี้ 1. โมดูลัสสัมผัสเบื้องต้น (Initial Tangent Modulus) คือ ค่าความลาดเอียงของเส้นสัมผัสกับโค้งตรงจุดเริ่มซึ่งเป็นค่าโมดูลัสที่ใกล้เคียงโมดูลัสยืดหยุ่นที่สุด 2.โมดูลัสเส้นเชื่อมจุดเริ่มกับจุดบนส่วนโค้ง (Secant Modulus ) นับเป็นค่าโมดูลัส ที่ทำงานได้ดีในทางปฏิบัติ • 3. โมดูลัสสัมผัส (Tangent Modulus) • คือ ความลาดเอียงของเส้นสัมผัสกับจุดใดๆ บนเส้นสัมพันธ์ระหว่าง • หน่วยแรง และหน่วยการหดตัว

  13. ปัจจัยที่มีผลต่อโมดูลัสยืดหยุ่น (Ec) • อัตราการให้น้ำหนัก • - การให้น้ำหนักที่เร็ว จะส่งผลให้ ค่าโมดูลัสสูงขึ้น • ระดับของหน่วยแรง • - Secant Modulus ลดลง เมื่อหน่วยแรงเพิ่มขึ้น • กำลังของคอนกรีต • - Secant Modulus มีค่ามากขึ้น เมื่อกำลังอัดสูงขึ้น

  14. ปัจจัยที่มีผลต่อโมดูลัสยืดหยุ่น (Ec) • สภาพของก้อนตัวอย่าง • ก้อนตัวอย่างที่อยู่ในสภาพเปียก จะให้ค่าโมดูลัสที่สูงกว่าตัวอย่าง • ที่อยู่ในสภาพแห้ง • คุณสมบัติของมวลรวม - มวลรวมที่มีค่าโมดูลัสสูง จะส่งผลให้ค่าโมดูลัสของคอนกรีต ณ ระดับกำลังอัดที่เท่ากับโมดูลัสยืดหยุ่นของคอนกรีตเบา จะมีค่าเพียง 40-50% ของคอนกรีตปกติ

  15. Poisson’s Ratio (µ) Poisson’s คือ อัตราส่วนของ หน่วยการหดตัวด้านข้าง (Lateral Strain) ต่อหน่วยการหดตัวในแนวแกนที่รับน้ำหนัก (Axial Strain)เมื่อมีการให้น้ำหนัก คอนกรีตปกติจะมีค่า 0.15-0.20 คอนกรีตที่มีค่าความแข็งแรงสูงจะมีค่า Poisson’s Raitoต่ำ

  16. 2. การคืบ (Creep) การคืบของคอนกรีต คือ การเปลี่ยนรูปของคอนกรีตภายใต้น้ำหนักหรือแรงกดที่บรรทุกค้างไว้เป็นเวลานาน โดยมีข้อสันนิษฐานว่า การคืบของคอนกรีตเกิดจาก การหดตัวของช่องว่างภายในเนื้อคอนกรีต การไหลของซีเมนต์เพสต์(Viscous Flow) การไหลของผลึก (Crystalline Flow) ในวัสดุผสม และ • จากการซึมของน้ำจาก Gelเมื่อมีน้ำหนักภายนอกกระทำต่อคอนกรีต

  17. พิจารณาก้อนตัวอย่างคอนกรีตรูปทรงกระบอกรับแรงกด P แท่งคอนกรีตจะหดตัวทันที โดยระยะหดตัวเริ่มแรก (Elastic Deformation) เป็น เมื่อปล่อยให้แรงกด P ค้างเป็นเวลานานจะพบว่าแท่งคอนกรีตจะหดตัวเพิ่มอีกเป็นระยะ ซึ่งเป็นผลเนื่องจากการคืบของคอนกรีต (Creep) รูปแสดง การคืบของคอนกรีตภายใต้แรงกด P

  18. ความสัมพันธ์ระหว่างระยะหดตัวกับเวลาความสัมพันธ์ระหว่างระยะหดตัวกับเวลา

  19. ปัจจัยที่มีผลต่อการคืบปัจจัยที่มีผลต่อการคืบ • ชนิดของปูนซีเมนต์ - การคืบจะเพิ่มขึ้นเมื่อใช้ปูนซีเมนต์ที่พัฒนากำลังอัดช้า 2. น้ำยาผสมคอนกรีต - น้ำยาลดน้ำและลดน้ำจำนวนมาก การคืบจะใกล้เคียงกับคอนกรีตทั่วๆไป 3. วัสดุทดแทนปูนซีเมนต์ - PFAและ GGBS จะช่วยลดการคืบ

  20. เพิ่มเติม PFA หรือ Fly Ash ใช้ในการผสมคอนกรีตเพื่อเพิ่มคุณสมบัติของคอนกรีตให้ดีขึ้น PFA เป็นของแข็งเม็ดกลมละเอียด ลอยขึ้นมาพร้อมกับอากาศร้อนที่เกิดจากการเผาถ่านหินบดละเอียด (Pulverized Coal) ในโรงไฟฟ้า GGBS หรือ ตะกรันเหล็ก (Ground Granular Blast Furnace Slag) ตะกรันเหล็กเป็นของเหลือ (by-product) ของกระบวนการผลิตเหล็กโดยใช้เตาหลอม ตะกรันที่เกิดขึ้นเป็นผลจากการหลอมตัวของแคลเซียมออกไซด์จากหินปูนกับซิลิกอนและ อะลูมินาจากแท่งเหล็กและถ่านโค้ก(Coke)

  21. ปัจจัยที่มีผลต่อการคืบ(ต่อ)ปัจจัยที่มีผลต่อการคืบ(ต่อ) 4. ชนิดของมวลรวม - การคืบเกิดเนื่องจากซีเมนต์เพสต์ ดังนั้นชนิดของมวลรวมมีผลต่อการคืบน้อย - หินที่มีความแข็งมาก จะก่อให้เกิดการคืบน้อย 5.ปริมาณของมวลรวม - ยิ่งให้ปริมาณมวลรวมมาก การคืบจะยิ่งน้อย 6.อัตราส่วนของหน่วยแรงต่อกำลัง - การคืบจะผันแปรโดยตรงต่ออัตราส่วนนี้ในทุกๆ อายุ ของคอนกรีต 7.อัตราส่วนน้ำต่อซีเมนต์ - สำหรับซีเมนต์เพสต์ที่คงที่ อัตราส่วนน้ำต่อซีเมนต์ที่ต่ำลงจะส่งผลให้ การคืบลดลง

  22. ปัจจัยที่มีผลต่อการคืบ(ต่อ)ปัจจัยที่มีผลต่อการคืบ(ต่อ) 8. อายุ ณ เวลารับน้ำหนัก- สำหรับคอนกรีตที่กำหนดให้ การคืบจะลดลง เมื่ออายุคอนกรีต ณ เวลารับน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น9. ขนาดตัวอย่าง- การเพิ่มขนาดจะก่อให้เกิดการลดลงของการคืบ ณ จุดที่อัตราส่วนของหน่วยแรงต่อกำลังคงที่10. ความชื้น- ความชื้นสัมพัทธ์ที่สูง จะก่อให้เกิดการคืบลดลง11. อุณหภูมิ- อุณหภูมิที่สูงขึ้น จะก่อให้เกิดการคืบมากขึ้น

  23. 3. การหดตัว (SHRINKAGE) คือ การเปลี่ยนแปลงปริมาตรของคอนกรีตเมื่อเกิดการสูญเสียน้ำหรือเกิดปฏิกิริยาเคมีของส่วนผสม

  24. Plastic Shrinkage • สาเหตุ เกิดจากการจมตัวลงของส่วนที่เป็นของแข็งในส่วนผสมและ การสูญเสียน้ำจากคอนกรีตสด • ลักษณะ จะเกิดก่อนซีเมนต์เพสต์แข็งตัว โดยมีลักษณะแตกที่ผิวหน้า และจะลึกลงไปในเนื้อคอนกรีต จะเกิดในคอนกรีตที่เทเป็นบริเวณกว้าง เช่น ถนนคอนกรีต พื้น

  25. Plastic Shrinkage(ต่อ) • เวลาการเกิด ก่อนซีเมนต์เพสต์แข็งตัว • การป้องกัน 1. ลดการสูญเสียน้ำ 2. เปลี่ยนสัดส่วนผสมเพื่อให้เกิดการยึดเกาะกันดี 3. ไม่ควรทำการเขย่าซ้ำ (Revibration)

  26. Plastic Shrinkage อ้างอิง http://buildingresearch.com.np/services/srr/srr2.php อ้างอิง http://www.donan.com/june-2011-newsletter

  27. Plastic Shrinkage อ้างอิง http://www.cement.org/tech/faq_cracking.asp อ้างอิง http://civil-engg-world.blogspot.com/2011/04/plastic- shrinkage-cracking-in-concrete.html

  28. Autogenous Shrinkage • สาเหตุ ปฏิกิริยาระหว่างน้ำกับปูนซีเมนต์ ก่อให้เกิดการลดลงของปริมาตร คือ ปริมาตรของสิ่งที่ได้จากปฏิกิริยาไฮเดรชั่นน้อยกว่าปริมาตร ของน้ำกับซีเมนต์ที่ผสมกัน

  29. Autogenous Shrinkage(ต่อ) • เวลาการเกิด ในคอนกรีตที่ก่อตัวแล้ว • การป้องกัน เปลี่ยนสัดส่วนผสม โดยคอนกรีตยิ่งเหลวมากจะเกิดการหดตัว ประเภทนี้มาก

  30. Figure 1 – Chemical shrinkage and autogenous shrinkage volume changes of fresh concrete. Not to scale. อ้างอิง http://www.cement.org/tech/cct_cracking.asp

  31. Carbonation Shrinkage • สาเหตุ เกิดจากแคลเซียมไฮดรอกไซด์ทำปฏิกิริยา กับ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศ ดังสมการ จากปฏิกิริยานี้ก่อให้เกิดการลดลงของปริมาตรของเพสต์และ เกิดการหดตัวเกิดในคอนกรีตที่แข็งตัวแล้ว

  32. Carbonation Shrinkage(ต่อ) • การเกิด เกิดในคอนกรีตที่แข็งตัวแล้ว • ปัจจัยที่มีผล • ความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ • ความพรุนของเพสต์ • ปริมาณความชื้น จุดที่เหมาะสมที่สุดคือ เมื่อความชื้นสัมพัทธ์ 50-60%

  33. Carbonation Shrinkage(ต่อ) • การป้องกัน • ใช้คอนกรีตที่มีเนื้อแน่นมาก • เลือกสัดส่วนที่อัตราส่วนน้ำต่อซีเมนต์ต่ำ (w/c ต่ำ) • ทำการบ่มคอนกรีตที่ดี

  34. Carbonation Shrinkage อ้างอิง http://www.fhwa.dot.gov/publications/research/infrastructure/pavements/pccp/01165/03.cfm

  35. Drying Shrinkage • สาเหตุ การสูญเสียน้ำทั้งจาก capillary และจาก gel pore • การเกิด เกิดในคอนกรีตที่แข็งตัวแล้ว อัตราการหดตัวช่วงแรกจะสูงและ ไม่สามารถคืนกลับได้ (irreversible) แต่อัตราในช่วงหลัง จะเกิดน้อยลง และเป็นประเภทที่กลับคืนได้ (Reversible)

  36. Drying Shrinkage (ต่อ) • การลดความเสี่ยงของการแตกร้าวเนื่องจากการหดตัวทำได้โดย1. ลดปริมาณซีเมนต์ในส่วนผสม2. ทำการบ่มให้เหมาะสมทั้งวิธีการและช่วงเวลา3. ทำแนวต่อให้เหมาะสม4. เลือกใช้ปูนซีเมนต์ประเภท Shrinkage Compensate

  37. Drying Shrinkage อ้างอิง http://leadstates.transportation.org/asr/library/C315/c315c.stm อ้างอิง http://www.cement.org/tech/faq_cracking.asp

  38. การวัดความกว้างของรอยแตกคอนกรีตการวัดความกว้างของรอยแตกคอนกรีต “ รอยแตกร้าวบนกำแพงคอนกรีตลดความงดงามทาง สถาปัตยกรรมของอาคารไปและยังเป็นสาเหตุให้เกิดการรั่ว ซึมของน้ำฝนหรือน้ำใต้ดิน ยิ่งไปกว่านั้นรอยแตกยังเป็น สัญญาณบอกเหตุการณ์วิบัติซึ่งอาจเกิดตามมา ดังนั้นเมื่อเกิด รอยแตกควรจะทำการตรวจสอบ ”

  39. การตรวจสอบรอยร้าวนั้น ควรจะเก็บข้อมูลต่อไปนี้ • ตำแหน่งของรอยร้าวในโครงสร้าง • รูปแบบรอยแตก (แนวราบ, แนวดิ่ง, แนวเฉียงทแยงมุม,กระจายทั่ว) • ความยาว • ความกว้าง (ลึกถึงผิวสีทา, ถึงผิวปูนฉาบ,ทะลุทั้งกำแพง) • อายุ • รอยร้าวยังไม่หยุดหรือเคลื่อนตัว (Active, moving) หรือ รอยร้าวหยุด (Dormant)

  40. เครื่องมือที่ใช้ในการวัดรอยแตกเครื่องมือที่ใช้ในการวัดรอยแตก บรรทัดเปรียบเทียบ (Crack Comparator) กล้องขยายวัดรอยแตก (Graduated magnifying device) อ้างอิงhttp://www.civilclub.net/webboard/index.php?topic=6309.0

  41. ปัจจัยที่มีผลต่อการหดตัวปัจจัยที่มีผลต่อการหดตัว

  42. 4. การเปลี่ยนรูปเนื่องจากความร้อน (Thermal Movement) คุณสมบัตินี้ นำไปใช้ประโยชน์สำหรับการออกแบบงานฐานรากแผ่นขนาดใหญ่เช่น เขื่อน หรือคอนกรีตที่ต้องสัมผัสกับอุณหภูมิสูงมากหรือต่ำมาก คุณสมบัติที่สำคัญ มีดังนี้ 1. Thermal Conductivity คือ ความสามารถของคอนกรีต ที่จะนำความร้อน หน่วย : J/s/m2 ปัจจัยที่มีผลกระทบ: • ความหนาแน่นของคอนกรีต • อัตราส่วนน้ำต่อซีเมนต์ ยิ่งมีช่องว่าง (Air Void) มาก คอนกรีตจะนำความร้อนต่ำ เช่น คอนกรีตเบาที่มีช่องว่างสูง จะมีการนำความร้อนต่ำ เช่น เหมาะสำหรับ งานฉนวนความร้อน

  43. Air Void อ้างอิง http://www.fhwa.dot.gov/publications/research/infrastructure/pavements/pccp/01165/03.cfm

  44. 4. การเปลี่ยนรูปเนื่องจากความร้อน(ต่อ) (Thermal Movement) 2. Coefficient of Thermal Expansion คือการเปลี่ยนแปลงปริมาตรของคอนกรีตที่อุณหภูมิเปลี่ยนไป ปัจจัยที่มีผลกระทบ : 1) สัดส่วนผสม 2) ปริมาณความชื้นคอนกรีต ณ ที่ความชื้น 60% จะมีการขยายตัวสูงสุด 3) คุณภาพและคุณสมบัติของมวลรวม

  45. 5. สรุปปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณสมบัติของคอนกรีต เราได้กล่าวมาทั้งคุณสมบัติของคอนกรีตเหลวและคอนกรีตแข็งตัวแล้ว ในหัวข้อนี้จะสรุปปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณสมบัติของคอนกรีต ซึ่งแสดงได้ดังตาราง

  46. THE END

More Related