160 likes | 290 Views
เรื่อง. ย้อนรอยระยะเวลาและปัจจัยที่ก่อ เกิดการยุบพรรค. จัดทำโดย. 1.น.ส.นิภาวัลย์ คีรี 2.น.ส.ศิราณี ชัยธานี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่5/1 เสนอ
E N D
เรื่อง ย้อนรอยระยะเวลาและปัจจัยที่ก่อ เกิดการยุบพรรค
จัดทำโดย 1.น.ส.นิภาวัลย์ คีรี 2.น.ส.ศิราณี ชัยธานี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่5/1 เสนอ อาจารย์ อรวรรณ กองพิลา
หลังจากที่ประเทศไทยได้มีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ปี พ.ศ.2550 และพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่า ด้วยพรรคการเมืองพ.ศ.2550 ศาลรัฐธรรมนูญได้มีการพิจารณาคดียุบพรรคการเมืองใหญ่ที่เข้าร่วมเป็นรัฐบาล ประกอบด้วย ปี 2550 พรรคไทยรักไทย(ยุบ) พรรคพัฒนาชาติไทย(ยุบ)พรรคแผ่นดินไทย(ยุบ) พรรคประชาธิปัตย์ (ไม่ยุบ) และพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า(ยุบ) ปี 2551 พรรคพลังประชาชน พรรคชาติไทย และ พรรคมัชฌิมาธิปไตย ปี 2553 พรรคประชาธิปัตย์ (ไม่ยุบ)
ตารางเปรียบเทียบระยะเวลาการยุบพรรคการเมืองตารางเปรียบเทียบระยะเวลาการยุบพรรคการเมือง
สรุป สรุป พรรคไทยรักไทย(ยุบ) พรรคพัฒนาชาติไทย(ยุบ) พรรคแผ่นดินไทย(ยุบ) รวมใช้เวลาพิจารณาคดี นับตั้งแต่วันที่ 16 ม.ค.-30 พ.ค.รวม 135 วัน(ประมาณ 4 เดือน ครึ่ง) พรรคประชาธิปัตย์(ยกคำร้อง)(2550) พรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า(ยุบ) รวมใช้เวลาพิจารณาคดี นับ ตั้งแต่วันที่ 18 ม.ค.-30 พ.ค.รวม 133 วัน (ประมาณ 4 เดือน ครึ่ง) พรรคพลังประชาชน อัยการส่งศาล รธน.วันที่ 10 ต.ค.ตัดสินวันที่ 2 ธ.ค. ใช้เวลารวม 54 วัน พรรคชาติไทย พรรคมัชฌิมาธิปไตย ใช้เวลานับจาก 23 ก.ย-2 ธ.ค.รวม 71 วัน พรรคประชาธิปัตย์(2553) 4 เดือน 139 วัน (ยกคำร้อง)
ปี 2550 กลุ่มที่1 คณะตุลาการรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ยุบพรรคไทยรักไทย พรรคพัฒนาชาติไทย และพรรคแผ่นดินไทย คำสั่งให้ยุบพรรคทั้งสามพรรค รวมทั้งเพิกถอนสิทธิการเลือกตั้งต่อกรรมการบริหารพรรค เป็นจำนวน 111 คน, 19 คน, และ 3 คน ตามลำดับ มีกำหนด 5 ปี 20 มีนาคม 2549 นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ ได้ร้องเรียนต่อนายทะเบียนพรรคการเมืองว่า มีการสมคบระหว่างผู้บริหารพรรคไทยรักไทย เจ้าหน้าที่พรรคการเมืองอื่นและเจ้าหน้าที่ กกต. เปลี่ยนแปลงข้อมูลสมาชิกพรรค และว่าจ้างพรรคการเมืองเล็กให้ลงสมัคร ส.ส.ในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2549 21 เม.ย. 49 คณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) มีมติเสนอให้มีการยุบพรรคพรรคพัฒนาชาติไทย 19 มิ.ย. 49 กกต. ส่งคำร้องพร้อมหลักฐานให้อัยการพิจารณาส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งยุบพรรคไทยรักไทย
6 ก.ค.2549 อัยการสูงสุดยื่นคำร้องให้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญสั่งยุบ 5 พรรคการเมือง อันประกอบด้วย พรรคไทยรักไทย พรรคประชาธิปัตย์ พรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า พรรคพัฒนาชาติไทยและพรรคแผ่นดินไทย 13 ก.ค 2549 คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ มีมติให้รับคำร้องขอ ให้ยุบพรรคการเมืองทั้งห้าไว้พิจารณาวินิจฉัย เมื่อคณะปฏิรูปฯ ทำการยึดอำนาจเมื่อ 19 กันยายน 2549 ได้มีการออกประกาศคณะปฏิรูปฯ ฉบับที่ 3 ยุบทิ้งศาลรัฐธรรมนูญ ทำให้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญในขณะนั้นสิ้นสภาพลง 1 ต.ค. 2549 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2549 มีผลบังคับใช้ และในมาตรา 35 ของรัฐธรรมนูญฉบับนี้ กำหนดให้มี"คณะตุลาการรัฐธรรมนูญ"ขึ้นมาชุดหนึ่ง ซึ่งก็คือชุดปัจจุบัน รับโอนคดียุบพรรคการเมืองที่ค้างอยู่ มาทำการไต่สวนต่อ
16 มกราคม 2550 การไต่สวนพยานนัดแรก 12 เมษายน 2550 การไต่สวนพยานพยานนัดสุดท้าย 29 พฤษภาคม 2550 ตุลาการรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยส่วนตนออกมา 30 พฤษภาคม 2550 ตุลาการรัฐธรรมนูญได้ให้ทั้ง 2 ฝ่ายยื่นคำแถลงการณ์ปิดคดีและนัดพิพากษาคดี คณะตุลาการรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ยุบพรรคไทยรักไทย พรรคพัฒนาชาติไทย และพรรคแผ่นดินไทย
กลุ่มที่ 2 คณะตุลาการรัฐธรรมนูญ อ่านคำวินิจฉัย ยกคำร้องที่ให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์ และมีคำสั่งให้ยุบ พรรค ประชาธิปไตยก้าวหน้า 12 เม.ย. 49 กกต.มีมติ สั่งดำเนินคดีอาญา นายทักษนัย กี่สุ้น และผู้สมัครพรรคประชาธิปัตยก้าวหน้าจ .ตรังที่ไม่สิทธิสมัครแต่ยังไปลงสมัครและเสนออัยการสูงสุดเพื่อให้พิจารณายื่นคำร้องยุบพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า 6 กรกฎาคม 2549 ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญมี คำสั่งยุบพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า และพรรคประชาธิปัตย์ การไต่สวนพยานนัดแรกเริ่มวันที่ 18 มกราคม 2550 และไต่สวนพยานอย่างต่อเนื่องทุกวันพฤหัสบดี รวมทั้งสิ้น 12 นัด โดยการไต่สวนพยานนัดสุดท้าย วันที่ 5 เมษายน 2550 30 พฤษภาคม 2550 ตุลาการรัฐธรรมนูญอ่านคำวินิจฉัยของกลุ่มที่ 2 ก่อน(พรรคประชาธิปัตย์และพรรค ประชาธิปไตยก้าวหน้า) ในเวลา 13.30 น.
ปี 2551 คณะตุลาการรัฐธรรมนูญ อ่านคำวินิจฉัย ยุบพรรค พรรคพลังประชาชน พรรคชาติไทย และพรรคมัชฌิมา ธิปไตยโดยมีคำสั่งให้ยุบพรรคทั้ง 3 พรรค รวมทั้งเพิกถอนสิทธิการเลือกตั้งต่อกรรมการบริหารพรรคเป็นจำนวน 37 คน, 43 คน, และ 29 คน ตามลำดับ มีกำหนด 5 ปี 26 กุมภาพันธ์ 2551 คณะกรรมการการเลือกตั้งมีมติด้วยเสียงข้างมาก 3 ใน 5 (งดออกเสียงหนึ่งเสียง) ให้ใบแดงและส่งความเห็นไปยังศาลฎีกาแผนกคดีเลือกตั้ง เพื่อสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของนายยงยุทธ ติยะ ไพรัช รองหัวหน้าพรรคพลังประชาชน ส.ส.แบบสัดส่วน ประธานสภาผู้แทนราษฎรและประธานรัฐสภา เนื่องจากพบว่ามีการทุจริตการเลือกตั้งที่จังหวัดเชียงราย
8 กรกฎาคม 2551 ศาลฎีกาแผนกคดีเลือกตั้งมีคำสั่งให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของนายยงยุทธ ตามคำร้องของกกต. ที่ระบุว่านายยงยุทธเกี่ยวข้องกับการแจกจ่ายทรัพย์สินในการเลือกตั้งเมื่อเดือนธ.ค.ปีที่แล้ว ที่ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง (ใบแดง) นายสุนทร วิลาวัลย์ รองหัวหน้าพรรค กระทำผิด พรบ.ประกอบรัฐ ธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง สส. และสว. 2 กันยายน 2551 ที่ประชุมคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) ลงมติเป็นเอกฉันท์ส่งเรื่องให้อัยการสูงสุดยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อวินิจฉัยว่าควรยุบพรรคพลังประชาชน และเพิกถอนสิทธิกรรมการบริหารพรรค พลังประชาชนหรือไม่จากคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ลงมติเพิกถอนสิทธิการเลือกตั้ง (ใบแดง) นายสุนทร วิลาวัลย์ อดีตผู้สมัคร ส.ส.ปราจีนบุรี นายมณเฑียร สงฆ์ประชา นางนัยนา สงฆ์ประชา อดีตผู้สมัคร ส.ส.ชัยนาท พรรคชาติไทย และนายยงยุทธ ติยะไพรัช อดีต ส.ส. สัดส่วน พรรคพลังประชาชน อีกทั้งผู้ที่ถูกเพิกถอนสิทธิล้วนเป็นกรรมการบริหารพรรค ส่งผลให้ กกต.มีมติส่งเรื่องเสนอให้ศาลรัฐธรรมนูญ มีคำสั่งยุบพรรคการเมืองทั้ง 3 พรรค
16 เมษายน 2551คณะกรรมการการเลือกตั้งมีมติด้วยคะแนนเสียง 4 ต่อ 1 ให้ส่งสำนวนเรื่องการยุบพรรคชาติไทยและพรรคมัชฌิมาธิปไตยให้อัยการสูงสุดพิจารณา 8 กรกฎาคม 2551 ศาลฎีกาแผนกคดีเลือกตั้ง พิพากษายืนตามมติของ กกต. และเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของนายยงยุทธเป็นเวลา 5 ปี 2 กันยายน 2551 กกต.เตรียมดำเนินการต่อ สรุปสำนวนส่งให้อัยการสูงสุด เพื่อยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญ เสนอยุบพรรคพลังประชาชน 23 กันยายน 2551 อัยการยื่นฟ้องยุบพรรคชาติไทย พรรคมัชฌิมาธิปไตย 10 ตุลาคม 2551 อัยการสูงสุดได้ลงนามในคำร้องยื่นต่อ ศาลรัฐธรรมนูญ ขอให้มีคำสั่ง ยุบพรรคพลังประชาชน 20 พฤศจิกายน 2551 คณะตุลาการได้นัดประชุมเพื่อพิจารณาคำชี้แจงของทั้ง 3 พรรคการเมืองเป็นนัดแรกในการประชุมเพื่อพิจารณาคดียุบพรรค 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญได้ไต่สวนพยาน มีตัวแทนพรรคการเมืองเข้าร่วมรับฟังพร้อมเพรียงพยานพรรคมัชฌิมาธิปไตยจำนวน 20 ปาก และขอเพิ่มเติมอีก 29 ปาก พยานพรรคชาติ ไทยจำนวน 42 ปาก พยานเทปซีดีคำปราศรัยห้ามซื้อเสียง และพยานเอกสาร 33 รายการ พยานพรรคพลังประชาชนจำนวน 60 ปาก
ปี 2553 ศาลรัฐธรรมนูญยกคำร้องคดียุบพรรคประชาธิปัตย์ 21 เมษายน 2553 คณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. แถลงผลลงมติยุบพรรคพรรคประชาธิปัตย์เห็นชอบให้ผู้ร้องแจ้งอัยการสูงสุดเพื่อยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ก่อนหน้านี้นี้มติเสียงข้างมากของคณะกรรมการการเลือกตั้งนั้นเห็นชอบให้ผู้ร้องยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญตามพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2550 มาตรา 93 วรรค 2 ตั้งแต่ วันที่ 17 ธันวาคม 2552 แล้ว 9 สิงหาคม 2553 คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ 7 คน ออกนั่งบัลก์ไต่สวนพยานนัดแรกคดีที่ กกต.ยื่นคำร้องขอให้ศาลวินิจฉัยกรณีที่กล่าวหาพรรคประชาธิปัตย์ 26 เมษายน 2553 อัยการสูงสุดยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญ ขอให้พิจารณาวินิจฉัยยุบพรรคประชาธิปัตย์ และเพิกถอนสิทธิทางการเมืองนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรค และคณะกรรมการบริหาร
ตั้งคำถาม 1. ในปี2550พรรคใดถูกยุบบ้า 2. 23 กันยายน 2551 อัยการยื่นฟ้องยุบพรรคใด 3. ปี 2553 พรรคประชาธิปัตย์ ยุบหรือไม่ 4.พรรคไทยรักไทยยุบหรือไม่ 5. พรรคพัฒนาชาติไทยยุบในปีพ.ศ.ใด