390 likes | 563 Views
บทที่ 7. อินเทอร์เน็ต. หัวข้อบทเรียนที่ 7. ความหมายอินเทอร์เน็ต หลักการทำงานของอินเทอร์เน็ต การเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต การใช้บริการต่างๆ บนอินเทอร์เน็ต การป้องกันตัวจากอินเทอร์เน็ต. อินเทอร์เน็ตคืออะไร ?.
E N D
บทที่ 7 อินเทอร์เน็ต
หัวข้อบทเรียนที่ 7 • ความหมายอินเทอร์เน็ต • หลักการทำงานของอินเทอร์เน็ต • การเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต • การใช้บริการต่างๆ บนอินเทอร์เน็ต • การป้องกันตัวจากอินเทอร์เน็ต
อินเทอร์เน็ตคืออะไร? • อินเทอร์เน็ต คือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลกเข้าด้วยกัน มาจากคำว่าInter Connection Networkหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าไซเบอร์สเปซ (Cyberspace)ส่วนคำว่า Inter Connection Network หมายถึง เครือข่ายของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระบบต่าง ๆ ที่เชื่อมโยงกัน • ใช้มาตรฐานในการรับส่งข้อมูลที่เป็นหนึ่งเดียว TCP/IP : Transmission Control Protocol/Internet Protocol
อินเทอร์เน็ตทำให้คอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง ทุกระบบ สามารถติดต่อสื่อสารกันได้
อินเทอร์เน็ตทำงานอย่างไร?อินเทอร์เน็ตทำงานอย่างไร?
อินเทอร์เน็ตทำงานอย่างไรอินเทอร์เน็ตทำงานอย่างไร Network • เป็นการเชื่อมต่อในรูปแบบที่เรียกว่า Client-Server • Client คือเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นฝ่ายขอรับบริการ เช่นขอเรียกดู Web Page ขอแฟ้มข้อมูล ต่าง ๆ • Server คือเครื่องผู้ให้บริการตามที่ client ร้องขอมา เช่น Web Server เป็นเครื่องที่ให้บริการ Web , Mail server สำหรับให้บริการ E - mail Server Client
จาก http://truehits.net/graph/graph_stat.php#SEARCH ณ วันที่ 10 กรกฎาคม 2555 เวลา 15.30 น.
World Wide Web • World Wide Web : WWW เป็นบริการหนึ่งบนอินเทอร์เน็ต โดยประกอบด้วยเอกสารที่รวบรวมข้อมูลข่าวสารไว้จำนวนมากที่เก็บไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ ทั่วโลก • โดยข้อมูลบน WWW อาจอยู่ในรูปแบบของ ข้อความ ภาพ เสียง หรือ มัลติมีเดีย • เรียกสั้น ๆ ว่า web • ใช้มาตรฐานการสื่อสาร เอชทีทีพี (HTTP protocol ) • โดยจะแสดงผลผ่าน Web browser
World Wide Web • Web page คือ เอกสารบนเว็บที่สามารถแสดงข้อมูลหรือสารสนเทศที่เป็นข้อความ รูปภาพ เสียง หรือภาพเคลื่อนไหว โดยเก็บอยู่ในรูปของ ไฟล์ในเครื่องคอมพิวเตอร์ ผู้ใช้สามารถเข้าชม Web page แต่ละหน้า โดยใช้ Web Browser เรียก URL (Uniform Resource Locator) ของหน้าเว็บนั้น • เช่น URL HTTP://WWW.npru.ac.th/science/index.html
URL (Uniform Resource Locator) • URL เป็นการระบุตำแหน่งของแฟ้มข้อมูลใน Internet • ประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก มีรูปแบบการเขียนดังนี้ Service://node/path • Service หมายถึงชนิดหรือวิธีการที่จะใช้ในการนำแฟ้มนั้นมา • Node เป็นชื่อของเครื่อง (domain name) ซึ่งมีแฟ้มข้อมูลที่ต้องการเก็บอยู่ • Path เป็นส่วนของชื่อและตำแหน่งของแฟ้มในเครื่องนั้น HTTP://WWW.npru.ac.th/science/index.html Service node path
มาตรฐานการสื่อสาร TCP/IP • TCP/IP : Transmission Control Protocol / Internet Protocol เป็นมาตรฐานในการสื่อสาร ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กับเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เพื่อให้สามารถใช้สื่อสารจากต้นทางข้ามเครือข่ายไปยังปลายทางได้ และสามารถหาเส้นทางที่จะส่งข้อมูลไปได้เองโดยอัตโนมัติ แบ่งได้ 2 ส่วนคือ TCP และ IP • TCP เป็นการเชื่อมต่อในระดับโปรแกรมประยุกต์ โดยการส่งการร้องขอการเชื่อมต่อ และเป็นการเชื่อมต่อแบบสองทาง (full-duplex communication) • IP เป็นการสื่อสารโดยไม่มีการเชื่อมต่อค้างไว้ โดยเป็นการส่งข้อความที่อยู่ในลักษณะของ Packet ไปยังคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ ที่เป็นจุดหมายปลายทาง
Browser • Browser คือ ซอฟท์แวร์ที่ผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตใช้เพื่อเรียกดูข้อมูลบน WWW หรือ เป็นโปรแกรมสำหรับแสดงเว็บเพจนั่นเอง โดยหน้าเว็บเพจจะถูกเขียนด้วยภาษา HTML และถูกแปลความหมายด้วย Browser Internet Explorer Google Chrome Firefox Netscape Safari
ลักษณะการเชื่อมต่อกับเครือข่ายอินเตอร์เน็ตลักษณะการเชื่อมต่อกับเครือข่ายอินเตอร์เน็ต • การเชื่อมต่อแบบบุคคล • ใช้คอมพิวเตอร์ที่บ้าน หรือที่ทำงาน เชื่อมต่อผ่านสารโทรศัพท์ หรือ แบบไร้สาย โดยใช้ Modem โดยเชื่อมต่อกับ ISP ซึ่งจ่ายค่าบริการเป็นชั่วโมง หรือ รายเดือน • การเชื่อมต่อแบบองค์กร • องค์กรที่มีเครือข่ายภายในอยู่แล้ว สามารถเชื่อมต่อกับ ISP โดยอาศัยอุปกรณ์เราเตอร์ (router) โดยสามารถเลือกการเชื่อมต่อสัญญาณได้หลายรูปแบบ เช่นสายวงจรเช่า (leased line) , ระบบวงจรไอเอสดีเอ็น (ISDN) ,ระบบดาวเทียม ระบบไมโครเวฟ
การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตความเร็วสูง Hi-speed Internet • ADSL (Asymmetic Digital Subsciber Line) เป็นเทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูลความเร็วสูงโดยสามารถสื่อสารโดยใช้ สายโทรศัพท์ โดยใช้ ADSL Modem • ข้อดีคือสามารถใช้งานโทรศัพท์พร้อมกับการใช้งานอินเทอร์เน็ตได้ ตัวอย่าง Package ของ TT&T ความเร็ว 2048/512 Kbps หมายถึง ความเร็วในการ Download 2048 Kbps ความเร็วในการ Upload 512 Kbps
IP Address • เป็นหมายเลขประจำตัวของเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่มีการเชื่อมต่อกับระบบเครือข่าย ประกอบด้วยตัวเลข 4 ชุดที่คั่นกันด้วยเครื่องหมายจุด(.) เช่น 172.16.254.1 • ตัวเลขในแต่ละชุดจะมีขนาด 8 บิต แต่ละชุดจึงมีค่าตัวเลขได้ตั้งแต่ 0 ถึง 255
Domain Name • Domain Name คือชื่อที่ใช้ในการอ้างอิงเพื่อไปยัง Website ต่างๆ ที่อยู่บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตชื่อที่ใช้ต้องเป็นชื่อที่ไม่มีใครในโลกใช้เพราะถ้ามีคนใช้ชื่อใดแล้วเราจะไปจดชื่อซ้ำไม่ได้ • เนื่องจาก IP Address อยู่ในรูปของตัวเลขซึ่งยากแก่การจดจำดังนั้นจึงเป็นการสะดวกกว่าที่จะใช้ชื่อหรือกลุ่มของตัวอักษร ซึ่งก็คือ Domain Name ในการอ้างอิงแทน โดยจะอาศัย DNS Server มาช่วยจับคู่ IP Address และ Domain name เข้าด้วยกัน ดังนั้นเมื่อมีผู้ต้องการที่จะเรียกดู Website ของท่าน ไม่ว่าจะทราบ IP Address หรือ Domain name เพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็จะสามารถเข้าถึงได้โดยไม่ผิดพลาด 202.29.9.192 www.npru.ac.th Domain Name IP Address
รหัสที่ใช้แทนใน Domain Name 1. Top Level Domain Name (ต่างประเทศ) • .COM ใช้ทำเว็บไซต์ของบริษัท ห้างร้านโดยทั่วไป รวมทั้งเว็บไซต์ส่วนตัว และมีบางครั้งนำไปใช้ทำเว็บไซต์ (web site) ประเภทอื่นๆ ด้วย • .NET ใช้ทำเว็บไซต์เกี่ยวกับระบบเน็ตเวิร์ค (network) ของคอมพิวเตอร์ หรือเว็บไซต์บริการอินเทอร์เน็ต แต่บางครั้งก็นำไปใช้ด้านอื่นด้วย • .ORG ใช้ทำเว็บไซต์ของส่วนราชการ บางครั้งก็มีการจดทะเบียนนำไปใช้กับเว็บไซต์ประเภทอื่นด้วย รหัสประเทศใน Domain Name
รหัสที่ใช้แทนใน Domain Name 2. Local Domain Name (ภายในประเทศต่าง ๆ )
การประยุกต์ใช้งานอินเทอร์เน็ตการประยุกต์ใช้งานอินเทอร์เน็ต • World Wide Web(WWW) • บริการเข้าถึงข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในปัจจุบัน • Electronic Mail(E-Mail) • บริการส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ สามารถส่ง ข้อความ รูปภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหว ไปพร้อมกับจดหมายได้ • Chat • บริการสนทนาผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทำให้ผู้ใช้งานสามารถพูดคุยโต้ตอบกันได้โดยทันที • File Transfer Protocol (FTP) • บริการขนถ่ายแฟ้มข้อมูล ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
การป้องกันตัวจากอินเทอร์เน็ตการป้องกันตัวจากอินเทอร์เน็ต
ข้อเสียของอินเทอร์เน็ตข้อเสียของอินเทอร์เน็ต • โรคติดอินเทอร์เน็ต (Webaholic) : ผู้ที่มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ เป็นเวลาอย่างน้อย 1 ปี • รู้สึกหมกมุ่นกับอินเทอร์เน็ต และรู้สึกหงุดหงิดเมื่อไม่ได้ใช้ • มีความต้องการใช้อินเทอร์เน็ตเป็นเวลานาน • ใช้อินเทอร์เน็ตจนสูญเสียการเรียนและงาน
ข้อเสียของอินเทอร์เน็ตข้อเสียของอินเทอร์เน็ต • เรื่องอนาจารผิดศีลธรรม • สื่อลามก อนาจาร เช่น ภาพโป๊ เปลือย • ไวรัส • ลิขสิทธิ์ต่างๆ
การใช้งานเครือข่ายอินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัยการใช้งานเครือข่ายอินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัย • เราจะทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ของเราปลอดภัยได้อย่างไร ? • เราจะปกป้องข้อมูลส่วนตัวของเราได้อย่างไร ? • เราจะเชื่อถือการซื้อขายสินค้าออนไลน์ได้หรือไม่ ? • เราจะหลีกเลี่ยงการหลอกลวง กับดัก และปัญหาต่างๆ ในเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้อย่างไร ?
รู้ได้ไงว่าติด Spyware • หน้า home page ถูกเปลี่ยน • ไม่สามารถแก้ไขหน้า Home page ของตนเองได้ • ผลการค้นหามันผิดปกติ • มี Toolbars ปรากฏบนหน้าต่าง IE โดยที่เราไมได้ติดตั้งเพิ่มเข้าไป • มี Popup จำนวนมากปรากฏโดยอัตโนมัติ • การใช้งาน IE ผิดปกติ
วิธีการปกป้องตนเองจากสปายแวร์และซอฟท์แวร์หลอกลวงวิธีการปกป้องตนเองจากสปายแวร์และซอฟท์แวร์หลอกลวง • อย่าดาวน์โหลดจากแหล่งที่คุณไม่รู้จัก การป้องกันไวรัสจากซอฟท์แวร์จอมลวงที่ดีที่สุด คือ การไม่ดาวน์โหลดตั้งแต่แรก • ติดตั้งซอฟท์แวร์จากเว็บไซท์ที่ไว้วางใจได้เท่านั้น • อ่านที่ตัวหนังสือเล็กๆ ให้ดี เมื่อมีการติดตั้งโปรแกรม ต้องแน่ใจว่าได้อ่านข้อความให้เข้าใจ ก่อนคลิ๊ก “Agree” หรือ “o.k” อย่าคลิ๊ก “yes” หรือ “I accept” เพียงเพราะต้องการจะให้ผ่าน ๆ ไป • ระวังเรื่องเพลงป๊อปฟรีและโปรแกรมหนังร่วมกัน. การฟังเพลงฟรี หรือ โปรแกรมหนัง ดัง ต้องให้ความระมัดระวัง จากข้อมูลทางสถิติพบว่าคนส่วนใหญ่มักเข้าไปติดกับดักของซอฟท์แวร์หลอกลวงเหล่านี้ • สังเกตอาการเตือนจากซอฟท์แวร์หลอกลวง ซึ่งปรากฎบนเครื่องพีซีมีหลายทางที่สามารถบอกคุณได้ว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณติดไวรัส
การรักษาความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคลการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคล • ประวัติบุคคลอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Profile) เมื่อผู้ใช้กรอกข้อมูลส่วนตัวลงในแบบฟอร์มต่าง ๆ เช่น การลงทะเบียน (Register) เพื่อสมัครขอใช้บริการทางอินเตอร์เน็ต ข้อมูลส่วนบุคคลเหล่านี้จะถูกจัดเก็บลงในฐานข้อมูล ซึ่งทางเว็บไซต์หรือผู้ดูแลเว็บไซต์จะต้องมีระบบรักษาความปลอดภัยให้กับข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้ โดยต้องไม่อนุญาตให้ผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องเข้าถึงข้อมูลเหล่านั้นได้ ตัวอย่างเช่น ผู้ใช้กรอกข้อมูลส่วนบุคคลลงในแบบฟอร์มการลงทะเบียนออนไลน์
การรักษาความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคลการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคล • Cookies เป็นไฟล์ข้อมูลขนาดเล็กที่เว็บเซิร์ฟเวอร์ (Web Server) ใช้เก็บข้อมูลลงบนเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ ไฟล์ Cookies จะมีข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับผู้ใช้ เช่น ชื่อผู้ใช้ สิทธิพิเศษต่าง ๆ หรือหมายเลขบัตรเครดิต เป็นต้น • สำหรับเว็บไวต์ทางธุรกิจส่วนใหญ่จะมีการส่ง Cookies ไปยังเว็บบราวเซอร์ของผู้ใช้ จากนั้นคอมพิวเตอร์จะทำการจัดเก็บ Cookies เหล่านั้นลงในหน่วยจัดเก็บของเครื่องคอมพิวเตอร์ (ฮาร์ดดิสก์) เมื่อผู้ใช้กลับมาใช้งานเว็บไซต์ที่เว็บเพจนั้นอีกครั้งจะทำให้ทราบได้ว่าผู้ใช้คนใดเข้ามาในระบบและจัดเตรียมเพจที่เหมาะสมกับการใช้งานให้อัตโนมัติ
อาการของเครื่องที่ติดไวรัสอาการของเครื่องที่ติดไวรัส 1. ขนาดของโปรแกรมใหญ่ขึ้น 2. วันเวลาของโปรแกรมเปลี่ยนไป 3. ข้อความที่ปกติไม่ค่อยได้เห็นกลับถูกแสดงขึ้นมาบ่อย ๆ 4. เกิดอักษรหรือข้อความประหลาดบนหน้าจอ 5. เครื่องส่งเสียงออกทางลำโพงโดยไม่ได้เกิดจากโปรแกรมที่ใช้อยู่ 6.แป้นพิมพ์ทำงานผิดปกติหรือไม่ทำงานเลย 7.ขนาดของหน่วยความจำที่เหลือลดน้อยกว่าปกติ โดยหาเหตุผลไม่ได้ 8. ไฟแสดงสถานะการทำงานของดิสก์ติดค้างนานกว่าที่เคยเป็น 9. ไฟล์ข้อมูลหรือโปรแกรมที่เคยใช้อยู่ ๆ ก็หายไป 10.เครื่องทำงานช้าลง 11.เครื่องบูทตัวเองโดยไม่ได้สั่ง 12. ระบบหยุดทำงานโดยไม่ทราบสาเหตุ 13. เซกเตอร์ที่เสียมีจำนวนเพิ่มขึ้นโดยมีการรายงานว่าจำนวนเซกเตอร์ที่เสียมีจำนวนเพิ่มขึ้นกว่าแต่ก่อน 14.ใช้เวลานานผิดปกติในการเรียกโปรแกรมขึ้นมาทำงาน
แนวทางแก้ไขเมื่อติดไวรัสแนวทางแก้ไขเมื่อติดไวรัส • บูตเครื่องทันทีที่ทราบว่าติดไวรัส • ใช้โปรแกรมตรวจหาไวรัส • กรณีที่ไม่สามารถแก้ไขได้ ให้ทำ System Restore (ทำไงหล่ะ)
ควรสร้าง password ที่ยากต่อการคาดเดา และไม่ควรให้เครื่องจำ password • ไม่ใช้คำใดๆ ที่มีอยู่ในพจนานุกรม • ไม่ใช้คำใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับตัวเราเช่น อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ วันเกิด ชื่อสัตว์เลี้ยง ชื่อเล่น เป็นต้น • ไม่จดรหัสผ่านเก็บไว้ไม่ว่าจะในที่ใดๆ ก็ตาม • ไม่บอกรหัสผ่านกับผู้อื่นไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดๆ ก็ตาม • ให้ใช้ตัวอักษร ตัวเลข และตัวอักษรพิเศษ ร่วมกันแบบสุ่ม • ไม่ควรให้เครื่องจำ password
ปัญหาไม่สามารถอ่านเมล์ได้ปัญหาไม่สามารถอ่านเมล์ได้ • ถ้า อีเมล์ที่ได้รับ ไม่สามารถอ่านได้ หรือเป็นภาษาอื่นๆ เกิดจาก ระบบเมล์ของผู้ส่งกำหนด character set ไม่ตรงกันกับระบบเมล์ของผู้รับ ดังนั้นระบบเมล์จะเลือกแสดงเป็นภาษาตามค่าตั้งต้นที่ได้กำหนดไว้ ให้ลองเลือก Encoding เป็นภาษาที่ต้องการ
แนวทางปฏิบัติสำหรับการรับส่งอีเมล์เพื่อลดปัญหาสแปมเมล์แนวทางปฏิบัติสำหรับการรับส่งอีเมล์เพื่อลดปัญหาสแปมเมล์ • ไม่ส่งอีเมล์เพื่อตอบกลับสแปมที่ส่งมา การตอบสแปมนั้นเท่ากับเป็นการยืนยันอีเมล์แอดเดรสของผู้รับว่าเป็นแอดเดรสที่มีอยู่จริงและจะทำให้ผู้รับนั้นตกเป็นเป้าหมายที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น • ให้ใช้อีเมล์แอดเดรสที่ใช้ในงานประจำวันเพื่อติดต่อกับผู้ที่ติดต่ออยู่ด้วยเป็นประจำ เช่น ผู้ร่วมงาน เพื่อน และครอบครัว สำหรับการส่งอีเมล์เพื่อจุดประสงค์อื่นๆ ให้ใช้อีเมล์แอดเดรสต่างหากอีกอันหนึ่ง • ไม่ใช้อีเมล์แอดเดรสที่ใช้ในงานประจำวันเพื่อสมัครสมาชิกอีเมล์เพื่อขอรับข้อมูลข่าวสารหรือเข้าเป็นสมาชิกในเมล์ลิ่งลิสต์ต่างๆ • ไม่ซื้อสินค้าใดๆ ที่โฆษณาในสแปม เนื่องจากจะยิ่งทำให้ผู้ส่งสแปมได้รับผลตอบแทนและจะใช้วิธีนี้ต่อไปเรื่อยๆ • ให้รายงานร้องเรียนปัญหาสแปมกลับไปยังผู้ให้บริการ • ตรวจสอบนโยบายการใช้ข้อมูลส่วนตัวของลูกค้าของเว็บไซต์ที่เข้าไปใช้บริการ เพื่อดูว่าเว็บนั้นจะนำอีเมล์แอดเดรสของลูกค้าไปทำอะไรบ้าง
การใช้อินเทอร์เน็ตโดยภาคประชาคมการใช้อินเทอร์เน็ตโดยภาคประชาคม • กลุ่มภาคประชาสังคมหลายกลุ่ม เริ่มใช้ประโยชน์จากอินเทอร์เน็ต ได้แก่ สำนักข่าวประชาคมใช้ e-mail เป็นช่องทางหลักในการส่งข่าวแก่สมาชิก และมีเว็บ www.pnn.net • สำนักนักข่าวกลางของภาคประชาสังคม ที่ทำหน้าที่นำเสนอและเผยแพร่กระจ่ายข่าวสารของชุมชน เพื่อนำไปสู่การรับรู้ของสาธารณ และ เพื่อแก้ปัญหาหรืการเปลี่ยนแปลงในระดับนโยบายที่จะทำให้ชีวิตของคนในสังคมดีขึ้น
อาชญากรรมและการประทุษร้ายทางสังคมบนอินเทอร์เน็ตอาชญากรรมและการประทุษร้ายทางสังคมบนอินเทอร์เน็ต • แอบถ่าย • การใส่ความ • การขายบริการทางเพศผ่านเว็บ • การเจาะระบบ (Hacking) • การลักโดเมนเนม / การขโมยเว็บไซต์ • เว็บสื่อลามก
อาชญากรรมและการประทุษร้ายทางสังคมบนอินเทอร์เน็ตอาชญากรรมและการประทุษร้ายทางสังคมบนอินเทอร์เน็ต • การลักใช้เลขบัตรเครดิต • การขโมย Account • การพนัน Internet • Chat • ไวรัส • การล่อล่วง • การชวนเชื่อ
หลักการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัยหลักการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัย • ไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนตัว ไม่บอกชื่อนามสกุลจริง ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ • ไม่ส่งหลักฐานส่วนตัวของตนเองและคนในครอบครัวให้ผู้อื่น • ไม่ควรโอนเงินให้ใครอย่างเด็ดขาด นอกจากจะเป็นญาติสนิทที่เชื่อใจได้จริงๆ • ไม่ออกไปพบเพื่อนที่รู้จักทางอินเทอร์เน็ต • ระมัดระวังการซื้อสินค้าทางอินเทอร์เน็ต • ให้เด็กบอกพ่อแม่ผู้ปกครองหรือคุณครู ถ้าถูกกลั่นแกล้งทางอินเทอร์เน็ต • ไม่เผลอบันทึกยูสเซอร์เนมและพาสเวิร์ดในเครื่องคอมพิวเตอร์ • การใช้โปรแกรม MSN อย่างปลอดภัย
หลักการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัยหลักการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัย • ระวังการใช้กล้องเว็บแคม • ไม่ควรบันทึกภาพวิดีโอ หรือเสียงที่ไมเหมาะสมบนคอมพิวเตอร์ หรือบนมือถือ • จัดการกับ Junk Mail จังค์ เมล์ หรือ อีเมล์ขยะ • จัดการกับแอดแวร์ สปายแวร์ • จัดการกับไวรัสคอมพิวเตอร์ • เซิร์ชข้อมูลอย่างปลอดภัย ด้วย Google • กรองเว็บไม่เหมาะสม
แบบฝึกหัดท้ายชั่วโมง • จงเขียน Mind Mapping ของเนื้อที่เรียนทั้งหมด