710 likes | 1.23k Views
การดำเนินคดีรถยนต์และ รถจักรยานยนต์ตามกฎหมาย ภาษีสรรพสามิต. ฉลอง นิ่มเนียม หัวหน้าส่วนคดี เดชา บุญอินทร์ นิติกรชำนาญการ ส่วนคดี สำนักกฎหมาย. รถยนต์. รถยนต์ที่ต้องเสียภาษีสรรพสามิต 1. รถยนต์นั่ง 2. รถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกินสิบคน
E N D
การดำเนินคดีรถยนต์และรถจักรยานยนต์ตามกฎหมายภาษีสรรพสามิตการดำเนินคดีรถยนต์และรถจักรยานยนต์ตามกฎหมายภาษีสรรพสามิต ฉลอง นิ่มเนียม หัวหน้าส่วนคดีเดชา บุญอินทร์ นิติกรชำนาญการส่วนคดี สำนักกฎหมาย
รถยนต์ รถยนต์ที่ต้องเสียภาษีสรรพสามิต 1. รถยนต์นั่ง 2. รถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกินสิบคน 3. รถยนต์กระบะบรรทุกที่ออกแบบให้มีน้ำหนักรถรวม น้ำหนักบรรทุกไม่เกิน 4,000 กิโลกรัม
แผนภาพโครงสร้างภาษี รถยนต์นั่ง นั่งที่มีกระบะ (DC) นั่งที่ผลิต/ดัดแปลง มาจากกระบะ นั่ง ทั่ว ไป นั่งกึ่งบรรทุก (PPV) นั่งพยาบาล นั่งประหยัด พลังงาน นั่งใช้เชื้อเพลิง ทดแทน ไม่เกิน 3000 CC นั่งสามล้อ และนั่ง ใช้เครื่องมอเตอร์ไซค์ ไม่เกิน 250 CC ธุรกิจ 144 ตรี มูลค่า ตาม 144 เบญจ 12% 20% ใช้เอทานอล + น้ำมัน ไม่น้อยกว่า 20% (บังคับใช้ 1 ม.ค.51) ใช้ก๊าซ ธรรมชาติ 5% 3% ยกเว้นภาษี (คุณสมบัติตาม ปกค.) 50% (เกิน 3250 CC) 25% ≤ 2000 CC ≤220HP 30% > 2000-2500 CC ≤220HP 35% > 25000-3000 CC ≤220HP 20% 30%≤ 2000 cc และไม่เกิน 220 HP เบนซิน ไม่เกิน 1300 CC พลังงานไฟฟ้า เซลล์เชื้อเพลิง เชื้อเพลิง+ไฟฟ้า 35% >2000-2500 CC และไม่เกิน 220 HP Eco Car ดีเซล ไม่เกิน 1400 CC ไม่เกิน 3000 CC เกิน 3000 CC 40% >25000-3000 CC และไม่เกิน 220 HP 17% 50% 10% 50% >3000 CC หรือเกิน 220 HP
โครงสร้างภาษีสรรพสามิตรถยนต์นั่งปัจจุบันโครงสร้างภาษีสรรพสามิตรถยนต์นั่งปัจจุบัน
รถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน โดยสารไม่เกิน 10 คน ที่ใช้เป็นรถพยาบาล โดยสารไม่เกิน 10 คน ประหยัดพลังงาน โดยสารไม่เกิน 10 คน ใช้เชื้อเพลิงทดแทน ไม่เกิน 3000 CC 30%< 2000 cc และไม่เกิน 220 HP ยกเว้นภาษี (คุณสมบัติตาม ปกค.) ใช้เอทานอล + น้ำมัน ไม่น้อยกว่า 20% (ใช้บังคับ 1 ม.ค.51) ใช้ก๊าซ ธรรมชาติ 35% >2000-2500 CC และไม่เกิน 220 HP 25% ≤ 2000 CC ≤220HP 30% > 2000-2500 CC ≤220HP 35% > 25000-3000 CC ≤220HP 20% 40% >25000-3000 CC และไม่เกิน 220 HP เชื้อเพลิง+ไฟฟ้า 50% >3000 CC หรือเกิน 220 HP พลังงานไฟฟ้า เซลล์เชื้อเพลิง ไม่เกิน 3000 CC 50% (เกิน 3000 CC) 10%
รถยนต์กระบะที่ออกแบบสำหรับให้มีน้ำหนักรถรวมน้ำหนักบรรทุกรถยนต์กระบะที่ออกแบบสำหรับให้มีน้ำหนักรถรวมน้ำหนักบรรทุก ไม่เกิน 4,000 กิโลกรัม ความจุกระบอกสูบ ไม่เกิน 3250 CC ความจุกระบอกสูบ เกิน 3250 CC อัตราภาษี 3% คุณสมบัติตาม ประกาศกระทรวงฯ อัตราภาษี 18% คุณสมบัตินอกจาก ประกาศกระทรวงฯ อัตราภาษี 50%
โครงสร้างภาษีสรรพสามิตรถยนต์กระบะและอนุพันธ์รถยนต์กระบะโครงสร้างภาษีสรรพสามิตรถยนต์กระบะและอนุพันธ์รถยนต์กระบะ
ข้อมูลผู้ประกอบอุตสาหกรรมรถยนต์ข้อมูลผู้ประกอบอุตสาหกรรมรถยนต์
- กรณีอื่น ๆ (หนังสือซักซ้อมความเข้าใจการจัดเก็บภาษีรถยนต์) (1) กรณีรถยนต์ที่มีการเปลี่ยนหัวเก๋งและเปลี่ยนแชสซีส์ เนื่องจากหัวเก๋งและแชสซีส์เดิมชำรุดจากการใช้งาน โดยระบบขับเคลื่อนและรูปแบบรถยนต์ยังคงเดิมถือ เป็นการซ่อมแซม ไม่ต้องเสียภาษีสรรพสามิต
- กรณีอื่น ๆ (ต่อ) (2) กรณีรถยนต์ที่มีการเปลี่ยนแชสซีส์และระบบขับเคลื่อน 2 ล้อ เป็นระบบขับเคลื่อน 4 ล้อ ถึงแม้รูปแบบรถยนต์ยัง คงเดิมถือเป็นการผลิต ต้องเสียภาษีสรรพสามิต (3) กรณีรถยนต์ที่ประสบอุบัติเหตุแล้วมีการเปลี่ยนแชสซีส์ หัวเก๋ง ตัดต่อตัวถัง หรือเปลี่ยนเครื่องยนต์ โดยรูปแบบ รถยนต์ยังคงเดิมถือเป็นการซ่อมแซมไม่ต้องเสียภาษี แต่หากมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของรถยนต์ไปจากเดิม ถือเป็นการผลิต ต้องเสียภาษีสรรพสามิต
- กรณีอื่น ๆ (ต่อ) • กรณีจดทะเบียนเป็นรถตู้บรรทุก หรือรถตู้นั่งสี่ตอน 11 หรือ 12 ที่นั่ง มากระทำให้เป็นรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกินสิบคน • กรณีกระทำรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งเกินสิบคนให้เป็นรถพยาบาล หากมีคุณสมบัติไม่ครบถ้วนตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และคำนวณรถยนต์นั่งหรือรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกินสิบคนที่ใช้เป็นรถพยาบาลของส่วนราชการโรงพยาบาล หรือองค์การสาธารณกุศล ซึ่งได้รับการยกเว้นภาษี ลว. 27 ก.ค. 2547 ให้จัดส่งเอกสารหลักฐานเกี่ยวกับการกระทำรถยนต์ทั้งหมดให้กรมฯ พิจารณากำหนดมูลค่า
กรณีการกระทำที่เข้านิยาม “ผลิต” ตาม มาตรา 4 - กรณีนำชิ้นส่วนอุปกรณ์เก่าใช้แล้วนำเข้ามาจากต่างประเทศ มาประกอบใหม่ ส่งเอกสารหลักฐานการประกอบรถยนต์ทั้งหมด ให้กรมฯ พิจารณากำหนดมูลค่าฯ
รถยนต์ที่ประกอบจากชิ้นส่วนนำเข้ารถยนต์ที่ประกอบจากชิ้นส่วนนำเข้า เมื่อมีผู้ยื่นขอชำระภาษีรถยนต์ที่ประกอบจากชิ้นส่วนนำเข้า ให้ตรวจสอบเอกสารหลักฐาน และตรวจสอบรถยนต์พร้อมกับบันทึกการตรวจสอบรถยนต์และพิจารณาว่ารถยนต์คันที่ขอชำระภาษี เข้าลักษณะการเสียภาษีกรณีใด 1. กรณีผลิตโดยผู้ประกอบอุตสาหกรรมจดทะเบียน 2. กรณีการกระทำที่เข้านิยาม “ผลิต” ตามมาตรา 4
รถยนต์ที่ประกอบจากชิ้นส่วนนำเข้ารถยนต์ที่ประกอบจากชิ้นส่วนนำเข้า กฎหมายที่เกี่ยวข้อง • มาตรา 4 “ผลิต” หมายความว่า ทำ ประกอบ ปรับปรุง แปรรูปหรือแปรสภาพสินค้าหรือทำการอย่างใดอย่างหนึ่งให้มีขึ้นซึ่งสินค้า ไม่ว่าด้วยวิธีใด ๆ แต่มิให้รวมถึงการประดิษฐ์ค้นคว้าที่มิได้ทำขึ้นเพื่อขาย • มาตรา 8 “การเสียภาษีตามมูลค่า.... ให้ถือมูลค่าที่รวมภาษีสรรพสามิตที่พึงต้องชำระ • (1) ในกรณีสินค้าที่ผลิตในราชอาณาจักรให้ถือตามราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรมในกรณี ไม่มีราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรม.... ให้ถือตามราคาที่อธิบดีกำหนดตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง • กฎกระทรวงฉบับที่ 23(พ.ศ.2534) ออกตามความในพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2527 ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการในการกำหนดราคาสินค้าที่ผลิตในราชอาณาจักรเพื่อถือเป็นเกณฑ์ในการคำนวณภาษี ข้อ 2 (1) (ข) ........
ขั้นตอนและวิธีปฏิบัติในการชำระภาษีสรรพสามิตขั้นตอนและวิธีปฏิบัติในการชำระภาษีสรรพสามิต รถยนต์ที่ประกอบจากชิ้นส่วนนำเข้า 1. หนังสือแสดงความจำนงขอชำระภาษีหรือหนังสือมอบอำนาจจาก ผู้ประกอบอุตสาหกรรม 2. เอกสารการนำเข้าชิ้นส่วนอุปกรณ์ เช่น ตัวถัง เครื่องยนต์ฯลฯ 3. ใบเสร็จรับเงินค่าประกอบรถยนต์ (ถ้ามี) 4. รูปถ่ายรถยนต์ด้านหน้า-หลังและด้านข้าง 5. ใช้กระดาษลอกลายหมายเลขตัวถัง หมายเลขเครื่องยนต์ให้เห็นชัดเจน 6. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือทะเบียนบ้านของเจ้าของรถยนต์
หนังสือสั่งการที่เกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีรถยนต์ที่ประกอบจากชิ้นส่วนนำเข้าหนังสือสั่งการที่เกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีรถยนต์ที่ประกอบจากชิ้นส่วนนำเข้า
หนังสือสั่งการที่เกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีรถยนต์ที่ประกอบจากชิ้นส่วนนำเข้า (ต่อ)
รถจักรยานยนต์ รถจักรยานยนต์ที่ต้องเสียภาษีสรรพสามิต 1. ประเภท 4 จังหวะ อัตราภาษีตามมูลค่าร้อยละ 3 2. ประเภท 2 จังหวะ อัตราภาษีตามมูลค่าร้อยละ 5 ** มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2540
ข้อมูลผู้ประกอบอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ข้อมูลผู้ประกอบอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์
ขั้นตอนและวิธีปฏิบัติในการชำระภาษีสรรพสามิตขั้นตอนและวิธีปฏิบัติในการชำระภาษีสรรพสามิต รถจักรยานยนต์ที่ประกอบจากชิ้นส่วนนำเข้า 1. หนังสือแสดงความจำนงขอชำระภาษีหรือหนังสือมอบอำนาจจาก ผู้ประกอบอุตสาหกรรม 2. เอกสารการนำเข้าชิ้นส่วนอุปกรณ์ เช่น อะไหล่ตัวรถ (Frame) ฯลฯ 3. ใบเสร็จรับเงินค่าประกอบรถจักรยานยนต์ 4. รูปถ่ายรถจักรยานยนต์ด้านหน้าและด้านข้าง 5. ใช้กระดาษลอกลายหมายเลขตัวรถ หมายเลขเครื่องยนต์ให้เห็นชัดเจน 6. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือทะเบียนบ้านของเจ้าของรถจักรยานยนต์
ปัญหาการจัดเก็บภาษีรถยนต์และรถจักรยานยนต์ที่ประกอบจากชิ้นส่วนอุปกรณ์ใช้แล้วปัญหาการจัดเก็บภาษีรถยนต์และรถจักรยานยนต์ที่ประกอบจากชิ้นส่วนอุปกรณ์ใช้แล้ว 1. ผู้ประกอบอุตสาหกรรมจดทะเบียนสรรพสามิต - แจ้งราคา ณ โรงอุตสาหกรรมต่ำกว่าเป็นจริง 2. การรับชำระภาษีของพื้นที่ - ตรวจแบบแจ้งฯไม่เป็นไปตามหนังสือสั่งการ (23 ก.พ.2554) - รับชำระตามแบบแจ้งฯ โดยไม่รอกรมฯ กำหนดมูลค่า - เมื่อกรมฯ กำหนดมูลค่าฯออกไป พื้นที่ ไม่ได้ดำเนินการ 3. การดำเนินการตรวจสอบภาษีของพื้นที่ไม่เป็นไปตามกรอบของกฎหมายและระเบียบของกรมสรรพสามิต
ปัญหาการจัดเก็บภาษีรถยนต์และรถจักรยานยนต์ที่ประกอบจากชิ้นส่วนอุปกรณ์ใช้แล้ว (ต่อ) 4. มีการตรวจสอบการชำระภาษีของผู้ประกอบอุตสาหกรรมจดทะเบียน โดยหน่วยงานอื่น หรือพื้นที่อื่น - ไม่ตรวจสอบข้อมูลการเสียภาษีให้ชัดเจนก่อนออกหนังสือรับรอง หมายเลขเครื่องยนต์ไม่ตรงกับเสียภาษีไว้ 5. กรณีรับชำระภาษีจากผู้ประกอบฯ รายคัน โดยไม่ตรวจสอบรายละเอียดของรถยนต์ ซึ่งรับชำระภาษีรถยนต์หรือรถจักรยานยนต์คันที่ถูกเจ้าพนักงานยึดหรืออายัดไว้เพื่อดำเนินคดี
ลักษณะการดำเนินคดี คดีแพ่ง 1. ผู้ที่ถูกมาตรการบังคับ ได้แก่ผู้หน้าที่เสียภาษี 2. โทษที่จะลง ได้แก่เบี้ยปรับ และเงินเพิ่ม 3. อายุความประเมินภาษี(มาตรา 83) คดีอาญา 1. ผู้ฝ่าฝืนบทบัญญัติ เป็นได้ทั้งผู้มีหน้าที่เสียภาษี หรือเป็น บุคคลใดก็ได้ 2. โทษที่จะลง ได้แก่ โทษทางอาญา ได้แก่ จำคุก ปรับ หรือริบทรัพย์สิน 3. อายุความ ตามประมวลกฎหมายอาญา
การใช้อำนาจตรวจสอบภาษีการใช้อำนาจตรวจสอบภาษี มาตรา 79 แห่งพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2527 1. ผู้มีหน้าที่เสียภาษีมิได้ยื่นแบบรายการภาษีภายในกำหนด เวลาที่กฎหมายกำหนด 2. ผู้มีหน้าที่เสียภาษียื่นแบบรายการภาษีไว้ไม่ถูกต้อง หรือมีข้อผิดพลาดทำให้จำนวนภาษีที่ต้องเสียคลาดเคลื่อนไป 3. ผู้มีหน้าที่เสียภาษีไม่ปฏิบัติตามหนังสือเรียกหรือคำสั่งของ พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือไม่ยอมตอบคำถามของพนักงานเจ้าหน้าที่อัน เป็นสาระสำคัญเกี่ยวกับการประเมินภาษีโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร หรือไม่สามารถแสดงหลักฐานเพื่อการคำนวณภาษี 4. มีกรณีตามมาตรา 42
ระเบียบตรวจสอบภาษี • ขั้นตอนการตรวจสอบภาษีสรรพสามิต • ระเบียบกรมสรรพสามิตว่าด้วยการตรวจสอบภาษี • สรรพสามิตตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 • พ.ศ. 2553 • - มี 4 รูปแบบ • 1. การตรวจกำกับดูแล • 2. การตรวจสอบแบบเบ็ดเสร็จ (Field Audit) • 3. การตรวจสอบตามหนังสือเรียก • 4.การตรวจค้น การยึดหรืออายัด
โทษทางแพ่ง มาตรา 136 แห่งพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2527 เบี้ยปรับ ผู้มีหน้าที่เสียภาษีต้องเสียเบี้ยปรับ - มิได้ยื่นแบบรายการภาษีภายในกำหนดเวลา ให้เสียเบี้ยปรับ อีกสองเท่าของเงินภาษี - ยื่นแบบรายการภาษีไว้ไม่ถูกต้องหรือมีข้อผิดพลาด ทำให้ จำนวนภาษีที่ต้องเสียขาดไป ให้เสียเบี้ยปรับอีกหนึ่งเท่าของเงินภาษี เสียขาดไป
โทษทางแพ่ง (ต่อ) มาตรา 137 แห่งพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2527 เงินเพิ่ม ผู้มีหน้าที่เสียภาษีไม่ชำระภาษีภายในกำหนดเวลาหรือ ชำระขาดจำนวนภาษีที่ต้องเสีย - เงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือน หรือเศษของเดือน ของเงินภาษีที่ต้องชำระโดยไม่รวมเบี้ยปรับ - การคำนวณเงินเพิ่มดังกล่าวมิให้คิดทบต้น - เงินเพิ่ม มิให้เกินกว่าจำนวนภาษีที่ต้องชำระโดยไม่รวม เบี้ยปรับ
อายุความประเมินภาษี • มาตรา 83 แห่งพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2527 • การประเมินให้กระทำได้ภายในกำหนดเวลา ดังต่อไปนี้ • - สองปีนับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบรายการภาษี หรือ • วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลาที่รัฐมนตรีขยายหรือเลื่อนออกไปแล้วแต่กรณี • ทั้งนี้ เฉพาะในกรณีที่มีการยื่นแบบรายการภาษีภายในกำหนดเวลาดังกล่าว • สองปีนับแต่วันยื่นแบบรายการภาษี ทั้งนี้ เฉพาะในกรณีที่มีการยื่น • แบบรายการภาษีภายหลังวันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลา แต่ต้องไม่เกินสิบปี • นับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบรายการภาษี • - สิบปีนับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบรายการภาษี • ในกรณีที่ไม่มีการยื่นแบบรายการภาษี หรือมีการยื่นแบบรายการภาษี • โดยแสดงมูลค่าของสินค้าหรือบริการขาดไปเกินกว่าร้อยละยี่สิบห้า • ของมูลค่าที่แสดงไว้ในแบบรายการภาษี
กระบวนการประเมินภาษีและการอุทธรณ์ภาษี (ต่อ) การประเมินภาษี มีขั้นตอน ดังนี้ 1. การตรวจสอบการเสียภาษี มาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2527 “เมื่อมีเหตุอันควรเชื่อว่ามีการหลีกเลี่ยงการเสียภาษี ให้อธิบดีมีอำนาจเข้าไป หรือออกคำสั่งเป็นหนังสือให้เจ้าพนักงานสรรพสามิตเข้าไปในสถานที่หรือยานพาหนะใด ๆ เพื่อทำการตรวจค้น ยึด หรืออายัดบัญชี เอกสาร หรือหลักฐานอื่นที่เกี่ยวกับหรือ สันนิษฐานว่าเกี่ยวกับภาษีที่จะต้องเสียได้ทั่วราชอาณาจักร” มาตรา 118 แห่งพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2527 ในการปฏิบัติหน้าที่ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจดังต่อไปนี้ (1) เข้าไปในโรงอุตสาหกรรมหรือคลังสินค้าทัณฑ์บนหรือสถานบริการ ในระหว่าง เวลาทำการ เพื่อตรวจสอบหรือควบคุมให้การเป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้
กระบวนการประเมินภาษีและการอุทธรณ์ภาษีกระบวนการประเมินภาษีและการอุทธรณ์ภาษี การประเมินภาษี มีขั้นตอน ดังนี้ 1. การตรวจสอบการเสียภาษี (ต่อ) มาตรา 118 แห่งพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2527 2) ค้นสถานที่หรือยานพาหนะใด ๆ ที่มีเหตุอันควรสงสัย ว่ามีการกระทำผิดตามพระราชบัญญัตินี้ หรือมีสินค้าที่หลีกเลี่ยงการเสีย ภาษีซุกซ่อนอยู่ในเวลาระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก เว้นแต่ การค้นในเวลาดังกล่าวยังไม่แล้วเสร็จจะกระทำต่อไปก็ได้ หรือในกรณี ฉุกเฉินอย่างยิ่ง เมื่อได้รับอนุมัติจากอธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายแล้ว จะค้นในเวลาใดก็ได้ปริมาณพอสมควรไปเป็นตัวอย่างเพื่อตรวจสอบ
กระบวนการประเมินภาษีและการอุทธรณ์ภาษีกระบวนการประเมินภาษีและการอุทธรณ์ภาษี การประเมินภาษี มีขั้นตอน ดังนี้ 1. การตรวจสอบการเสียภาษี (ต่อ) มาตรา 118 แห่งพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2527 (3) มีหนังสือสอบถามหรือเรียกบุคคลใดให้มาให้ถ้อยคำ หรือให้ส่งบัญชีเอกสาร หลักฐานหรือสิ่งอื่นที่จำเป็นมาประกอบการ พิจารณาได้ ทั้งนี้ ต้องให้เวลาบุคคลนั้นไม่น้อยกว่าเจ็ดวันนับแต่ วันที่ได้รับคำสั่ง (4) นำสินค้าในโรงอุตสาหกรรม หรือคลังสินค้าทัณฑ์บน ในปริมาณพอสมควรไปเป็นตัวอย่างเพื่อตรวจสอบ
กระบวนการประเมินภาษีและการอุทธรณ์ภาษีกระบวนการประเมินภาษีและการอุทธรณ์ภาษี การประเมินภาษี มีขั้นตอน ดังนี้ 1. การตรวจสอบการเสียภาษี (ต่อ) มาตรา 118 แห่งพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2527 (3) มีหนังสือสอบถามหรือเรียกบุคคลใดให้มาให้ถ้อยคำ หรือให้ส่งบัญชีเอกสาร หลักฐานหรือสิ่งอื่นที่จำเป็นมาประกอบการ พิจารณาได้ ทั้งนี้ ต้องให้เวลาบุคคลนั้นไม่น้อยกว่าเจ็ดวันนับแต่ วันที่ได้รับคำสั่ง (4) นำสินค้าในโรงอุตสาหกรรม หรือคลังสินค้าทัณฑ์บน ในปริมาณพอสมควรไปเป็นตัวอย่างเพื่อตรวจสอบ
การประเมินภาษี มีขั้นตอน ดังนี้ 1. การตรวจสอบการเสียภาษี มาตรา 80 แห่งพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2527 ในการดำเนินการประเมิน พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจ - จัดทำรายการลงในแบบรายการภาษีตามหลักฐาน ที่เห็นว่าถูกต้อง เมื่อมิได้มีการยื่นแบบรายการภาษี - แก้ไขเพิ่มเติมรายการในแบบรายการภาษี หรือ ในเอกสารอื่นที่ยื่นประกอบแบบรายการภาษีเพื่อให้ถูกต้อง - ประเมินภาษีตามหลักฐานที่พนักงานเจ้าหน้าที่มีอยู่ หรือตามที่พนักงานเจ้าหน้าที่พิจารณาว่าถูกต้อง กระบวนการประเมินภาษีและการอุทธรณ์ภาษี (ต่อ)
การประเมินภาษี มีขั้นตอน ดังนี้ 1. การตรวจสอบการเสียภาษี มาตรา 81 แห่งพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2527 เมื่อประเมินแล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งการประเมินเป็น หนังสือต่อผู้มีหน้าที่เสียภาษี มาตรา 82 แห่งพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2527 ในกรณีที่การประเมินไม่ถูกต้องหรือมีข้อผิดพลาด ทำให้จำนวนเงินภาษีที่ต้องเสียคลาดเคลื่อนไป พนักงานเจ้าหน้าที่ มีอำนาจที่จะแก้จำนวนเงินภาษีที่ได้ประเมินไปแล้ว และแจ้ง จำนวนเงินภาษีที่ถูกต้องไปยังผู้มีหน้าที่เสียภาษี กระบวนการประเมินภาษีและการอุทธรณ์ภาษี (ต่อ)
การประเมินภาษี มีขั้นตอน ดังนี้ 1. การตรวจสอบการเสียภาษี เมื่อผู้มีหน้าที่เสียภาษี ได้รับหนังสือแจ้งการประเมินภาษี จะต้องปฏิบัติ - ชำระภาษีภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้ง การประเมิน (มาตรา 50) - ก่อนชำระ ขอลดเบี้ยปรับ และเงินเพิ่ม(กฎกระทรวงฉบับที่ 29) กระบวนการประเมินภาษีและการอุทธรณ์ภาษี (ต่อ)
2. การของดหรือลดเบี้ยปรับ และเงินเพิ่ม - สามารถขอลดเบี้ยปรับ และเงินเพิ่ม ได้ตามบทบัญญัติ กฎกระทรวงฉบับที่ 29 ข้อ 2ให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีที่จะต้องเสียเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มทำคำร้องเป็น หนังสือยื่นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่โดยแสดงเหตุผลที่ของดหรือเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มนั้น เว้นแต่กรณีที่อธิบดีพิจารณาเห็นสมควรจะสั่งให้งดหรือลดเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่ม โดยไม่ต้องมีคำร้องก็ได้ ข้อ 3ให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษียื่นคำร้องตามข้อ 2ก่อนได้รับแจ้งการประเมินจาก พนักงานเจ้าหน้าที่แต่ถ้าผู้มีหน้าที่เสียภาษีได้รับหนังสือแจ้งการประเมินก่อนแล้ว ให้ยื่นต่อผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายเพื่อของดหรือลดเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่ม กระบวนการประเมินภาษีและการอุทธรณ์ภาษี (ต่อ)
2. การของดหรือลดเบี้ยปรับ และเงินเพิ่ม(กฎกระทรวงฉบับที่ 29) ข้อ 4การงดหรือลดเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มให้ทำได้เฉพาะกรณีที่ผู้มีหน้าที่ เสียภาษีไม่มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษีและได้ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบภาษีเป็นอย่างดี ข้อ 5การลดเบี้ยปรับให้พนักงานเจ้าหน้าที่สั่งลด ดังต่อไปนี้ (1) กรณีเมื่อพ้นกำหนดเวลายื่นแบบรายการภาษีแล้ว ผู้มีหน้าที่เสียภาษี ได้ยื่นแบบรายการภาษีเองและขอชำระภาษีโดยไม่ได้รับคำเตือนหรือหนังสือเรียกหรือ คำสั่งเป็นหนังสือเบี้ยปรับที่ต้องเสียตามมาตรา 136 (1) ให้ลดลงคงเหลือตามอัตรา และเงื่อนไขดังนี้ กระบวนการประเมินภาษีและการอุทธรณ์ภาษี (ต่อ)
2. การของดหรือลดเบี้ยปรับ และเงินเพิ่ม(กฎกระทรวงฉบับที่ 29) (ก) ถ้าชำระภายใน 15 วัน นับแต่วันถัดจากวันครบกำหนดเวลาชำระภาษี ให้เสียร้อยละ 2ของเบี้ยปรับ (ข) ถ้าชำระภายหลัง 15 วันแต่ไม่เกิน 30 วันนับแต่วันถัดจากวันครบกำหนด เวลาชำระภาษีให้เสียร้อยละ 5ของเบี้ยปรับ (ค) ถ้าชำระภายหลัง 30 วันแต่ไม่เกิน 60 วันนับแต่วันถัดจากวันครบกำหนด เวลาชำระภาษีให้เสียร้อยละ 10ของเบี้ยปรับ (ง) ถ้าชำระภายหลัง 60 วันแต่ไม่เกิน 90 วันนับแต่วันถัดจากวันครบกำหนด เวลาชำระภาษี ให้เสียร้อยละ 15ของเบี้ยปรับ (จ) ถ้าชำระภายหลัง 90 วันนับแต่วันถัดจากวันครบกำหนดเวลาชำระภาษี ให้เสียร้อยละ 20 ของเบี้ยปรับ กระบวนการประเมินภาษีและการอุทธรณ์ภาษี (ต่อ)
2. การของดหรือลดเบี้ยปรับ และเงินเพิ่ม(กฎกระทรวงฉบับที่ 29) (2) กรณีที่ได้ยื่นแบบรายการภาษีไว้ไม่ถูกต้องหรือมีข้อผิดพลาดทำให้ จำนวนภาษีที่ต้องเสียขาดไป เมื่อผู้มีหน้าที่เสียภาษีได้ยื่นแบบรายการภาษีใหม่และ ขอชำระภาษีให้ถูกต้องไม่ได้รับคำเตือนหรือหนังสือเรียกหรือคำสั่งเป็นหนังสือ เบี้ยปรับที่ต้องเสียตามมาตรา 136 (2)ให้ลดลงตามอัตราและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ใน (1) โดยอนุโลม (3) กรณีอื่นนอกจาก (1) และ(2)ให้เสียร้อยละ 40 ของเบี้ยปรับ ข้อ 6การลดเงินเพิ่มตามมาตรา 137 ให้พนักงานเจ้าหน้าที่สั่งลดได้ดังต่อไปนี้ (1) ถ้าผู้มีหน้าที่เสียภาษีชำระภาษีภายใน 7 วันนับแต่วันถัดจากวันครบ กำหนดเวลาชำระภาษีหรือวันถัดจากวันที่ชำระขาดจากจำนวนภาษีที่ต้องเสียโดย ไม่ได้รับคำเตือนหรือหนังสือเรียกหรือคำสั่งเป็นหนังสือ เงินเพิ่มที่ต้องเสียให้ลดลง คงเหลือร้อยละ 0.5 ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระโดยไม่รวมเบี้ยปรับ กระบวนการประเมินภาษีและการอุทธรณ์ภาษี (ต่อ)
2. การของดหรือลดเบี้ยปรับ และเงินเพิ่ม(กฎกระทรวงฉบับที่ 29) (2) ถ้าผู้มีหน้าที่เสียภาษีชำระภาษีภายใน 15 วันนับแต่วันถัดจากวัน ครบกำหนดเวลาชำระภาษีหรือวันถัดจากวันที่ชำระขาดจากจำนวนภาษี ที่ต้องเสียโดยไม่ได้รับคำเตือนหรือหนังสือเรียกหรือคำสั่งเป็นหนังสือ เงินเพิ่มที่ต้องเสียให้ลดลงคงเหลือร้อยละ 0.75 ต่อเดือนหรือเศษของเดือน ของเงินภาษีที่ต้องชำระโดยไม่รวมเบี้ยปรับ ข้อ 7การลดเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มนอกจากที่กำหนดไว้ในข้อ 5 และข้อ 6 หรือการงดเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มให้ทำได้เมื่อรับอนุมัติจากอธิบดี หรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย กระบวนการประเมินภาษีและการอุทธรณ์ภาษี (ต่อ)
เมื่อผู้มีหน้าที่เสียภาษี ได้รับหนังสือแจ้งการประเมินภาษี จะต้องปฏิบัติ หากไม่เห็นด้วยกับการประเมินภาษีดังกล่าว - ผู้มีหน้าที่เสียภาษีที่ได้รับแจ้งการประเมินของพนักงาน เจ้าหน้าที่ มีสิทธิคัดค้านการประเมินต่ออธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย ภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน (มาตรา 86) - กระบวนการพิจารณาคำคัดค้าน -อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายมีอำนาจออกหนังสือเรียกผู้ยื่นคำคัดค้านมาให้ ถ้อยคำเพิ่มเติม หรือเรียกบุคคลอื่นมาให้ถ้อยคำเป็นพยาน สั่งบุคคลดังกล่าวให้ส่งบัญชี เอกสาร หรือ หลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้องมาตรวจสอบได้ (มาตรา 87) - อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายต้องวินิจฉัยคำคัดค้านภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำคัดค้าน (มาตรา 88) กระบวนการประเมินภาษีและการอุทธรณ์ภาษี (ต่อ)
เมื่อพิจารณาคำคัดค้านการประเมินภาษีแล้วเมื่อพิจารณาคำคัดค้านการประเมินภาษีแล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่ จะใช้อำนาจวินิจฉัยได้ในกรอบ ต่อไปนี้ -อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายต้องวินิจฉัยคำคัดค้านภายในหกสิบวันนับแต่ วันที่ได้รับคำคัดค้านและแจ้งคำวินิจฉัยพร้อมด้วยเหตุผลเป็นหนังสือไปยังผู้ยื่น คำคัดค้านโดยมีอำนาจสั่ง - ไม่รับคำคัดค้าน - ยกคำคัดค้าน - เพิกถอนการประเมิน -แก้การประเมินให้เสียภาษีเพิ่มขึ้นหรือลดลง การสั่งไม่รับคำคัดค้าน ให้ถือว่าได้วินิจฉัยให้ยกคำคัดค้าน (มาตรา 88) กระบวนการประเมินภาษีและการอุทธรณ์ภาษี (ต่อ)
กระบวนการคัดค้านการประเมินภาษีกระบวนการคัดค้านการประเมินภาษี ตรวจสอบภาษี ประเมินภาษี (ม.79) มีหนังสือแจ้งการประเมิน (ม.81) ภษ.02-08 ผู้มีหน้าที่เสียภาษีได้รับหนังสือแจ้ง 30วัน ชำระเงิน ม.51 ใช้เวลา 45 วัน ค้ดค้านการประเมินภาษี (ม.86) ภษ.01-25
เมื่อผู้มีหน้าที่เสียภาษี ได้ใช้สิทธิ์คัดค้านการประเมินภาษี ตามมาตรา 86 และผู้มีหน้าที่เสียภาษีที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยคำคัดค้าน การประเมินภาษีของพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว หากไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัย การประเมินภาษีดังกล่าว มีสิทธิ์อุทธรณ์คำวินิจฉัยคำคัดค้านต่อ คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง คำวินิจฉัย (มาตรา 89) แต่มีบทยกเว้นห้ามอุทธรณ์ ดังนี้ - ผู้ยื่นคำคัดค้านไม่ปฏิบัติตามหนังสือเรียกหรือคำสั่งของผู้พิจารณา คำคัดค้านหรือไม่ยอมตอบคำถามอันเป็นสาระสำคัญเกี่ยวกับการพิจารณาคำคัดค้าน ของผู้พิจารณาคำคัดค้านโดยไม่มีเหตุอันสมควรห้ามมิให้อุทธรณ์ตามวรรคหนึ่ง ในกรณีดังกล่าวให้ผู้พิจารณาคำคัดค้านทำบันทึกไว้เป็นหลักฐาน กระบวนการประเมินภาษีและการอุทธรณ์ภาษี (ต่อ)
กระบวนการพิจารณาอุทธรณ์ของคณะกรรมการฯกระบวนการพิจารณาอุทธรณ์ของคณะกรรมการฯ - คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ประกอบด้วยปลัดกระทรวง การคลัง เป็นประธานกรรมการ ผู้แทนกรมศุลกากรผู้แทนกรมสรรพสามิต ผู้แทนกรมสรรพากรผู้แทนกรมอัยการผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และที่ปรึกษากฎหมาย สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง เป็นกรรมการ(มาตรา 90) - กรรมการต้องมาประชุมอย่างน้อยกึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ประชุมประธานไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้เลือกกรรมการคนหนึ่ง เป็นประธาน การวินิจฉัยชี้ขาดให้ถือเสียงข้างมาก กรรมการแต่ละคนให้มีเสียง หนึ่งเสียงในการลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงชี้ขาด (มาตรา 91) กระบวนการประเมินภาษีและการอุทธรณ์ภาษี (ต่อ)
กระบวนการพิจารณาอุทธรณ์ของคณะกรรมการฯ กระบวนการพิจารณาอุทธรณ์ของคณะกรรมการฯ -คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีอำนาจออกหนังสือเรียกผู้อุทธรณ์ หรือบุคคล ที่เกี่ยวข้องมาให้ถ้อยคำ หรือสั่งให้บุคคลดังกล่าวส่งบัญชี เอกสาร หรือหลักฐานอื่น ที่เกี่ยวข้องเพื่อประกอบการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ได้ (มาตรา 92) - คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ มีอำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ เพื่อปฏิบัติการอย่างหนึ่งอย่างใดได้ (มาตรา 93) - คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ มีอำนาจสั่ง - ไม่รับอุทธรณ์ – ยกอุทธรณ์ – เพิกถอนการประเมินหรือคำสั่งของ ผู้พิจารณาคำคัดค้าน - แก้การประเมินหรือคำสั่งของผู้พิจารณาคำคัดค้านให้ผู้อุทธรณ์ เสียภาษีเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้ แจ้งคำวินิจฉัยพร้อมด้วยเหตุผลเป็นหนังสือไปยังผู้อุทธรณ์ (มาตรา 95) กระบวนการประเมินภาษีและการอุทธรณ์ภาษี (ต่อ)
ฟ้องคดีต่อศาล เมื่อผู้มีหน้าที่เสียภาษี ได้ใช้สิทธิ์อุทธรณ์คำวินิจฉัยคัดค้าน การประเมินภาษีต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ตามมาตรา 88 และผู้มีหน้าที่เสียภาษีที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยคำอุทธณ์ฯของคณะกรรมการ แล้ว หากไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยฯดังกล่าว การประเมินภาษีดังกล่าว มีสิทธิ์ฟ้องคดีต่อศาลภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัย อุทธรณ์(มาตรา 89) กระบวนการประเมินภาษีและการอุทธรณ์ภาษี (ต่อ)
กระบวนการอุทธรณ์การประเมินภาษี ใช้เวลา 60 วัน วินิจฉัยคำค้ดค้าน(ม.88) มีหนังสือแจ้งคำวินิจฉัยคำคัดค้าน พร้อมด้วยเหตุผล (ม.88) ผู้คัดค้านได้รับหนังสือ ชำระเงิน ม.51 ใช้เวลา 45 วัน 30วัน อุทธรณ์ (ม.89) ภษ.01-26 วินิจฉัยอุทธรณ์ (ม.95)
กระบวนการอุทธรณ์การประเมินภาษี (ต่อ) มีหนังสือแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ พร้อมด้วยเหตุผล (ม.95) ผู้อุทธรณ์ได้รับหนังสือแจ้ง 30วัน 30วัน ชำระเงิน ม.51 ฟ้องคดีต่อศาล (ม.96)
การขอทุเลาการชำระภาษี (มาตรา 97-98) 1. การคัดค้านการประเมิน การอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณา อุทธรณ์ หรือการอุทธรณ์ต่อศาล ไม่เป็นเหตุให้ทุเลาการชำระภาษี เว้นแต่ได้ มีการยื่นขอทุเลาการชำระภาษี 2. อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย มีอำนาจสั่งให้ทุเลาการชำระภาษี ไว้ก่อนทั้งหมดหรือแต่บางส่วน และจะสั่งให้หาประกันตามที่เห็นสมควรก็ได้ 3. ถ้าต่อมามีพฤติการณ์ปรากฏว่าได้มีการกระทำเพื่อประวิง การชำระภาษี หรือได้มีการกระทำหรือตั้งใจจะทำการโอน ขาย จำหน่าย หรือยักย้ายทรัพย์สินทั้งหมดหรือบางส่วนเพื่อให้พ้นอำนาจการยึดหรืออายัด ก็มีอำนาจเพิกถอนคำสั่งทุเลาการชำระภาษีได้ การบังคับชำระภาษีค้าง