1 / 39

บทที่ 3 ซอฟต์แวร์และการเลือกใช้

บทที่ 3 ซอฟต์แวร์และการเลือกใช้. หัวข้อบทเรียนที่ 3. ความหมายและความสำคัญของซอฟต์แวร์ ประเภทของซอฟต์แวร์ ซอฟต์แวร์ระบบช่วยในการทำงาน ซอฟต์แวร์ประยุกต์ในการทำงาน. 1. ความหมายของคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์.

vaughn
Download Presentation

บทที่ 3 ซอฟต์แวร์และการเลือกใช้

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. บทที่ 3 ซอฟต์แวร์และการเลือกใช้

  2. หัวข้อบทเรียนที่ 3 ความหมายและความสำคัญของซอฟต์แวร์ ประเภทของซอฟต์แวร์ ซอฟต์แวร์ระบบช่วยในการทำงาน ซอฟต์แวร์ประยุกต์ในการทำงาน

  3. 1. ความหมายของคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์ ซอฟต์แวร์ (Software) หมายถึง กลุ่มของชุดคำสั่งที่เขียนด้วยภาษาคอมพิวเตอร์ หรือ โปรแกรมที่สั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานตามวัตถุประสงค์ที่ผู้ใช้ต้องการรวมไปถึงการควบคุมการทำงานของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ต่างๆ ผู้ที่เขียนซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมมักเรียกว่า นักเขียนโปรแกรม (Programmer)

  4. ประเภทของซอฟต์แวร์

  5. คำศัพท์ Commercial Software คือ ซอฟต์แวร์ที่ผลิตขึ้นมาเพื่อจำหน่าย Shareware คือ ซอฟต์แวร์ที่ให้ผู้ใช้ได้ทดลองใช้งานช่วงเวลาหนึ่ง เมื่อผู้ใช้คิดว่ามีประโยชน์และจะใช้งานได้ในระยะยาวจึงส่งเงินให้บริษัทผู้ผลิตเพื่อซื้อผลิตภัณฑ์ Freeware คือ ซอฟต์แวร์ที่แจกจ่ายให้ผู้ใช้โดยไม่คิดมูลค่าใดๆ โดยผู้ผลิตยังคงเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ นั่นคือไม่อนุญาตให้ผู้ใดแก้ไขเปลี่ยนแปลงส่วนใดส่วนหนึ่งของซอฟต์แวร์ Open Source Software คือ ซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นด้วยภาษาคอมพิวเตอร์ และแจกจ่ายให้ผู้ใช้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ รวมทั้งให้ผู้ใช้สามารถนำมาแก้ไขหรือปรับปรุงให้เหมาะสมกับหน่วยงานของตนเองได้ นอกจากนี้ยังอนุญาตให้ผู้ใช้นำซอฟต์แวร์ไปพัฒนาต่อให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น รวมถึงวางขายและทำการตลาดได้

  6. ระบบปฏิบัติการ (Operating System-OS) เมื่อซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์แล้ว ซอฟต์แวร์ที่ต้องให้เครื่องคอมพิวเตอร์เป็นลำดับแรก คือ ระบบปฏิบัติการ เพื่อทำหน้าที่ควบคุมและประสานงานอุปกรณ์ภายในคอมพิวเตอร์ ระบบปฏิบัติการเป็นตัวกลางที่อยู่ระหว่างฮาร์ดแวร์และโปรแกรมประยุกต์ ทำหน้าที่ ควบคุมและประสานงานระหว่างอุปกรณ์ภายในคอมพิวเตอร์ทั้งหมด ตั้งแต่ หน่วยรับข้อมูล หน่วยประมวลผลกลาง หน่วยความจำหลัก หน่วยความจำสำรอง และหน่วยแสดงผล และสนับสนุนคำสั่งในการทำงานของฮาร์ดแวร์ให้กับซอฟต์แวร์ประยุกต์ นิยมเรียกรวมๆ ว่า แพลตฟอร์ม (Platform)

  7. Hardware OS Application Software User ความสัมพันธ์ของผู้ใช้ ซอฟต์แวร์ประยุกต์ ระบบปฏิบัติการ และฮาร์ดแวร์

  8. ระบบปฏิบัติการแบบเดี่ยว (Stand - aloneOS)เป็นระบบปฏิบัติการสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลหรือโน๊ตบุ๊คที่ทำงานโดยไม่มีการเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น และปัจจุบันระบบปฏิบัติการดังกล่าวได้ขยายขีดความสามารถให้เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเชื่อมต่อเป็นระบบเครือข่าย ระบบปฏิบัติการแบบเครือข่าย (Network OS)ระบบปฏิบัติการแบบเครือข่ายเป็นระบบปฏิบัติการที่มีวัตถุประสงค์ของการพัฒนาขึ้นเพื่อจัดการงานด้านการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ และสามารถใช้ทรัพยากรของระบบ เช่น ฮาร์ดดิสก์ เครื่องพิมพ์ ร่วมกันได้ รวมทั้งมีระบบป้องกันการสูญหายของข้อมูล ระบบปฏิบัติการแบบฝัง (Embedded OS) เป็นระบบปฏิบัติการที่บรรจุไว้ในชิปรอม (ROM) ของเครื่องคอมพิวเตอร์พกพา ได้แก่ เครื่องพีดีเอ และโทรศัพท์มือถือ ประเภทของระบบปฏิบัติการ

  9. ตัวอย่างระบบปฏิบัติการแบบเดี่ยวตัวอย่างระบบปฏิบัติการแบบเดี่ยว DOS MAC OS Microsoft Windows รูปแบบการโต้ตอบกับผู้ใช้งานแบบบรรทัดคำสั่ง (Command Line) รูปแบบการโต้ตอบกับผู้ใช้งานแบบกราฟิก (Graphic User Interface – GUI) Linux

  10. ตัวอย่างระบบปฏิบัติการแบบเครือข่ายตัวอย่างระบบปฏิบัติการแบบเครือข่าย OS/2 Warp Server Windows Server Solaris

  11. ตัวอย่างระบบปฏิบัติการแบบฝังตัวอย่างระบบปฏิบัติการแบบฝัง Symbian OS Palm OS Pocket PC OS Andriod iOS

  12. ปัจจัยในการเลือกใช้ระบบปฏิบัติการสำหรับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ปัจจัยในการเลือกใช้ระบบปฏิบัติการสำหรับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์

  13. โปรแกรมอรรถประโยชน์หรือโปรแกรมยูทิลิตี้ (Utility Software) • โปรแกรมอรรถประโยชน์เป็นซอฟต์แวร์สำหรับการจัดงานขนาดเล็กและให้บริการต่างๆ เช่น การจัดเรียงข้อมูลตามหลักใดหลักหนึ่ง (Sort) รวมแฟ้มข้อมูลที่เรียงลำดับแล้วเข้าด้วยกัน (Merge) หรือย้ายข้อมูลจากอุปกรณ์รับส่งอย่างหนึ่งไปยังอีกอุปกรณ์หนึ่ง รวมทั้ง โปรแกรมที่ใช้จัดการกับฮาร์ดแวร์โดยตรง • โปรแกรมอรรถประโยชน์บางโปรแกรมจะถูกรวมเข้าไปอยู่ในระบบปฏิบัติการ

  14. โปรแกรมที่ให้บริการต่าง ๆ โดยสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด โปรแกรมอรรถประโยชน์สำหรับระบบปฏิบัติการ เป็นโปรแกรมที่ติดตั้งมาพร้อมกับระบบปฏิบัติการอยู่แล้ว ซึ่งช่วยอำนวยความสะดวกสำหรับการทำงานร่วมกับฮาร์ดแวร์ โปรแกรมอรรถประโยชน์อื่นๆ เป็นโปรแกรมที่ช่วยให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  15. ตัวอย่างโปรแกรมอรรถประโยชน์สำหรับระบบปฏิบัติการตัวอย่างโปรแกรมอรรถประโยชน์สำหรับระบบปฏิบัติการ การจัดการไฟล์ (File Manager) การยกเลิกการติดตั้งโปรแกรม (Uninstaller) สแกนดิสก์ (Disk Scanner)

  16. ตัวอย่างโปรแกรมอรรถประโยชน์อื่นๆ (Stand-alone utility Programs) โปรแกรมป้องกันไวรัส (Anti virus Program) โปรแกรมไฟร์วอลล์ (Firewall)

  17. ตัวอย่างโปรแกรมอรรถประโยชน์สำหรับระบบปฏิบัติการตัวอย่างโปรแกรมอรรถประโยชน์สำหรับระบบปฏิบัติการ การจัดเรียงพื้นที่จัดเก็บข้อมูลของฮาร์ดดิสก์ (Disk Defragmenter) การรักษาหน้าจอ (Screen Saver)

  18. ตัวอย่างโปรแกรมอรรถประโยชน์อื่นๆ (Stand-alone utility Programs) โปรแกรมบีบอัดไฟล์ (File Compression Utility)

  19. ซอฟต์แวร์สำหรับงานเฉพาะด้าน (Special Purpose Software) • ซอฟต์แวร์สำหรับงานเฉพาะด้านเป็นซอฟต์แวร์ที่องค์กรพัฒนาขึ้นสำหรับใช้งานภายในองค์กรเอง ไม่มีวางจำหน่ายทั่วไป ดังนั้น ซอฟต์แวร์จึงมีความเหมาะสมกับระบบงานขององค์กรมากที่สุด • ตัวอย่างเช่น โปรแกรมคำนวณภาษีของกรมศุลากร โปรแกรมฝากถอนเงินของธนาคาร เป็นต้น

  20. โปรแกรมระบบบริการการศึกษาโปรแกรมระบบบริการการศึกษา

  21. โปรแกรมคำนวณภาษีของกรมสรรพากรโปรแกรมคำนวณภาษีของกรมสรรพากร

  22. ซอฟต์แวร์สำหรับงานทั่วไป (General Purpose Software) ซอฟต์แวร์สำหรับงานทั่วไป เป็นซอฟต์แวร์ที่บริษัทผู้ผลิตซอฟต์แวร์พัฒนาขึ้นเพื่อวางจำหน่ายให้ผู้ใช้เลือกหาซอฟต์แวร์มาประยุกต์ใช้งานตามให้เหมาะสมกับลักษณะงานของผู้ใช้คอมพิวเตอร์ ตัวอย่างซอฟต์แวร์ ได้แก่ การจัดพิมพ์รายงาน การนำเสนองาน การจัดทำบัญชี การตกแต่งภาพหรือการออกแบบเว็บไซต์

  23. ซอฟต์แวร์สำหรับงานทั่วไป (General Purpose Software)

  24. ซอฟต์แวร์สำหรับงานทั่วไป (General Purpose Software)

  25. ซอฟต์แวร์สำหรับงานทั่วไป (General Purpose Software)

  26. ตัวอย่างซอฟต์แวร์ทางด้านกราฟิกส์และมัลติมีเดียตัวอย่างซอฟต์แวร์ทางด้านกราฟิกส์และมัลติมีเดีย

  27. ซอฟต์แวร์สำหรับงานทั่วไป (General Purpose Software)

  28. ตัวอย่างซอฟต์แวร์การใช้งานบนเว็บและการติดต่อสื่อสาร

  29. ตัวอย่างซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูล Microsoft Access

  30. ตัวอย่างซอฟต์แวร์ประมวลผลคำWord Perfect 9

  31. ตัวอย่างซอฟต์แวร์ทำการคำนวณตัวอย่างซอฟต์แวร์ทำการคำนวณ MS Excel การนำเสนอข้อมูลในรูปแบบกราฟ การนำเสนอข้อมูลในรูปแบบ แถวและคอลัมน์

  32. ซอฟต์แวร์นำเสนอ MS PowerPoint

  33. ตัวอย่างโปรแกรมตกแต่งภาพ Adobe Photoshop

  34. เกณฑ์ในการเลือกซอฟต์แวร์เกณฑ์ในการเลือกซอฟต์แวร์ • กำหนดงานที่เราจะนำมาใช้กับคอมพิวเตอร์ เขียนเหตุผลคร่าวๆ และก็เริ่มศึกษารายละเอียด • รู้จักระบบคอมพิวเตอร์ของเราเอง ว่าซอฟต์แวร์ที่ซื้อมานั้น ต้องทำงานกับระบบคอมพิวเตอร์ของเราได้ เช่น ความต้องการระบบ • ระบบหน่วยปฏิบัติการแบบใด • หน่วยประมวลผลกลางรุ่นใด ความเร็วเท่าไหร่ • การ์ดแสดงผลรุ่นใด มีหน่วยความจำเท่าไหร่ • หน่วยความจำขนาดเท่าไหร่ • ความจุของฮาร์ดไดร์ฟ

  35. เกณฑ์ในการเลือกซอฟต์แวร์ (ต่อ) • ลองใช้ซอฟต์แวร์ อย่างน้อย 15 นาที โดยทดลองใช้ในแง่มุมต่างๆ • ใช้งานง่ายหรือไม่ • ระบบความช่วยเหลือมีหรือไม่ • คู่มือมีหรือไม่ อ่านง่ายหรือไม่ • มีบริการให้คำปรึกษาทางเทคนิคหลังการขายหรือไม่ • เลือกเปรียบเทียบ • เลือกซอฟต์แวร์ที่มีราคาเหมาะสมที่สุด • เปิดโอกาสให้คืนซอฟต์แวร์ที่ซื้อไปไม่น้อยกว่า 30 วัน • การเลือกซื้อซอฟต์แวร์ ต้องใช้เวลาทำความคุ้นเคยราว 1 สัปดาห์ก่อนเริ่มทำงานได้ ฉะนั้นควรนำซอฟต์แวร์ มาใช้เพื่อความคุ้นเคยเสียก่อนแล้วค่อยเลือกใช้ซอฟต์แวร์ตัวต่อไปมาใช้งาน

  36. กรณีศึกษา โบรชัวร์แผนที่ โปสเตอร์โฆษณา ปฏิทิน บริษัท EAU Advertizing Agency เป็นบริษัทที่ให้บริการผลิตชิ้นงานโฆษณาดังนี้ ออกแบบงานได้แก่ ปฏิทิน โบร์ชัวร์ โปสเตอร์โฆษณา

  37. กรณีศึกษา • พัฒนา web site สร้าง Movies and Video Presentation

  38. กรณีศึกษา • โดยบริษัท EAU Advertizing Agency มีระบบคอมพิวเตอร์เดิมสำหรับการทำงานดังนี้ • Hardware 10 เครื่องสำหรับการทำงาน • Acer (E500/6-0905) • Intel Pentium 4 Processor 830 (3.0 Ghz/FSB800/EM64T) • ATI RC410 Chipset (support Intel Dual Core CPU and 64 Bits CPU) • 1024 MB DDR-II (expandable up to 2.0 GB) • 250 GB HDD SATA (7200 rpm) • DVD/RW 16x (DVD-RW Dual Layer Function) • AtiRadeon Express200 Graphic Chipset with 16 x PCI Express Slot • ACER LCD Monitor 15” • Operating System : Windows XP

  39. กรณีศึกษา • ทางบริษัท EAU Advertizing Agency ต้องการใช้งานโปรแกรมต่างๆ ดังนี้ • โปรแกรมออกแบบและตบแต่งรูปภาพ • โปรแกรมด้านการตัดต่อภาพยนตร์และ VDO Presentation • โปรแกรมออฟฟิศสำหรับพัฒนาเว็บไซต์ • EAU Advertizing Agency ต้องการปรับระบบเทคโนโลยีสารสนเทศขององค์กรใหม่ทั้ง Hardware และ Software หากนักศึกษาเป็นบริษัทที่ปรึกษาติดตั้งอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์ให้แก่บริษัทดังกล่าว นักศึกษาจะให้คำปรึกษาด้านอุปกรณ์คอมพิวเตอร์เพิ่มเติมจากที่บริษัทมีอยู่เดิม และซอฟต์แวร์สำหรับการทำงานต่างๆ อะไรบ้าง

More Related