1 / 10

ทัศน ธาตุคือหัวใจ เป็นบันไดสร้างทัศนศิลป์

ทัศน ธาตุคือหัวใจ เป็นบันไดสร้างทัศนศิลป์. ผู้จัดทำ นางกัลยา อบสุวรรณ ตำแหน่ง ครู วิทย ฐานะ ครูชำนาญการ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ นนทบุรี. เรื่อง หลักการสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์ มัธยมศึกษาปีที่ 4. หน่วยการเรียนรู้ที่ 1. ทัศน ธาตุคือหัวใจ เป็นบันไดสร้างทัศนศิลป์.

vaughan
Download Presentation

ทัศน ธาตุคือหัวใจ เป็นบันไดสร้างทัศนศิลป์

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ทัศนธาตุคือหัวใจ เป็นบันไดสร้างทัศนศิลป์ ผู้จัดทำ นางกัลยา อบสุวรรณ ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ นนทบุรี เรื่อง หลักการสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์มัธยมศึกษาปีที่ 4 หน่วยการเรียนรู้ที่ 1

  2. ทัศนธาตุคือหัวใจ เป็นบันไดสร้างทัศนศิลป์ ทัศนธาตุ (Visual elements) คำว่า ทัศนธาตุ เป็นการผสม ระหว่างคำว่า “ทัศนะ” กับคำว่า “ธาตุ” ทัศนะ หมายถึง การมองเห็น ธาตุ หมายถึง วัตถุหรือสิ่งที่มีตัวตน เมื่อนำมารวมกัน “ทัศนธาตุ”จึง หมายถึงวัตถุที่มองเห็นหรือสิ่งที่ เป็นปัจจัยของการมองเห็น สัมผัสได้ ด้วยสายตา เป็นส่วนต่างๆ ที่ประกอบ กันเป็นภาพ ดังนั้นทัศนธาตุจึง เป็นส่วนประกอบของงานทัศนศิลป์ และเป็นพื้นฐานสำคัญในการ ออกแบบ ภาพ “เมื่อฟ้าสาง” เทคนิคสีอะคริลิก ผลงานของอนันต์ ประภาโส ที่มา : หนังสือ “ธรรมชาติ” พ.ศ.2540.

  3. จุดกับงานทัศนศิลป์ 1. จุดที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ได้แก่จุดในลายของสัตว์และพืช เช่น จุดในลายของปลา เสือ แมว งู ผีเสื้อ กวาง แมลงเต่าทอง และจุดในลายของดอกไม้ ใบไม้ เป็นต้น จุดในลวดลายของเสือที่มีขึ้น เพื่อพรางตัวให้กลมกลืนกับธรรมชาติ จุดในลวดลายของปลา ที่มา : อนุสาร อ.ส.ท. มกราคม 2552.

  4. 2. จุดที่เกิดจากการสร้างสรรค์ของมนุษย์ ได้แก่ การแต้ม ขีด จิ้ม กดด้วยวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น ดินสอดำ ปากกา พู่กัน วัตถุปลายแหลม หรือเครื่องมืออื่น ๆ เป็นต้น รูปร่างที่เกิดจากจุด ภาพเขียนโดยใช้จุด ผลงานของชอร์ช เชอรา จิตรกรชาวฝรั่งเศส ที่มา : หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐาน ทัศนศิลป์ ม.4. สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช.

  5. เส้นกับงานทัศนศิลป์ เส้น หมายถึง การนำจุดมาวางเรียงต่อเนื่องกัน เส้นใช้ในการสร้างรูปร่าง รูปทรงและแสดงทิศทางในการออกแบบ เส้นมีหลายชนิด เช่น เส้นตรง เส้นนอน เส้นตั้งฉาก เส้นเฉียง เส้นโค้ง เส้นซิกแซ็ก เส้นแต่ละเส้นให้ความรู้สึกที่แตกต่างกัน ที่มา : นิตยสาร idesign กรกฎาคม 2553. 2. เส้นในงานออกแบบ เมื่อมนุษย์มีความรู้สึกประทับใจในเส้นที่ปรากฏอยู่ในธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จึงนำรูปแบบของเส้นมาออกแบบผลิตภัณฑ์ เช่น เครื่องเรือน สิ่งของเครื่องใช้ต่างๆโดยใช้เส้นที่มีความงาม ที่มา : อนุสาร อ.ส.ท. มกราคม 2552. 1. เส้นในสิ่งแวดล้อม เส้นที่แฝงอยู่ในธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมต่างๆ มีความงดงามและกระตุ้นให้มนุษย์นำมาสร้างงานออกแบบ เช่น เส้นของกิ่งไม้ ต้นไม้ เถาวัลย์ กระแสคลื่น เป็นต้น

  6. รูปร่างและรูปทรง (Shape and Form) • 1. รูปร่างในสิ่งแวดล้อม เราสามารถมองเห็นรูปร่างที่เกิดขึ้นเองในธรรมชาติได้ หากเราสามารถมองเห็นเส้นรอบนอกของวัตถุในธรรมชาติสิ่งแวดล้อมได้ หรือมองเห็นวัตถุที่อยู่ในความมืดหรือในลักษณะอับแสง ซึ่งก่อให้เกิดคุณค่าทางความงาม รูปร่าง (Shape) • รูปร่างธรรมชาติ(Natural Shape) หมายถึงรูปร่างที่เกิดขึ้นเองในธรรมชาติ เช่น คน สัตว์ พืช เป็นต้น ที่มา : อนุสาร อ.ส.ท. มกราคม 2552.

  7. 2. รูปร่างในงานออกแบบ การนำเส้นรอบนอก หรือรูปร่างมาใช้ในงานออกแบบสามารถวาดเส้นเป็นรูปร่างให้มาบรรจบกันได้โดยไม่ต้องยกข้อมือจะเกิดรูปร่างที่สวยงาม และลดตัดทอนรายละเอียดที่เป็นลวดลายหรือแสงเงาบนวัตถุ ทำให้งานออกแบบมีความเรียบง่ายและเข้าใจง่าย

  8. รูปทรง (Form) 1) รูปทรงธรรมชาติ (Natural Form) หมายถึง รูปทรงที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ มีลักษณะ 3 มิติ เช่น สัตว์ พืช เป็นต้น การนำรูปทรงประเภทนี้มาถ่ายทอดเป็นงานศิลปะจะให้ความรู้สึกที่มีชีวิตชีวา รูปทรงที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ที่มา : อนุสาร อ.ส.ท. มกราคม 2552.

  9. 2. รูปทรงในสิ่งแวดล้อม • รูปทรงที่พบเห็นในสิ่งแวดล้อมทั้งรูปทรงที่เกิดจากสิ่งไม่มีชีวิต เช่น โขดหิน เป็นต้น รูปทรงในสิ่งแวดล้อมทั้งที่เป็นสิ่งมีชีวิต และสิ่งไม่มีชีวิต ล้วนมีผลต่อจิตใจมนุษย์ ในการนำมาใช้ในงานออกแบบทั้งสิ้น ที่มา : อนุสาร อ.ส.ท. มกราคม 2552.

  10. 3. รูปทรงในงานออกแบบ มนุษย์สามารถนำรูปทรงในสิ่งแวดล้อมมาใช้ในการออกแบบโดยตรงหรืออาจประยุกต์ดัดแปลง ตามความคิดและจินตนาการของนักออกแบบแต่ละคน ดังภาพ

More Related