490 likes | 797 Views
Chapter 1. ระบบสารสนเทศและบทบาทของนักวิเคราะห์ระบบสมัยใหม่. โดย ...อาจารย์เกศแก้ว ประดิษฐ์ Kate_psu08@hotmail.com. ความหมายของระบบ.
E N D
Chapter 1 ระบบสารสนเทศและบทบาทของนักวิเคราะห์ระบบสมัยใหม่ โดย ...อาจารย์เกศแก้ว ประดิษฐ์ Kate_psu08@hotmail.com
ความหมายของระบบ • ระบบ (System) คือกลุ่มขององค์ประกอบต่างๆ ที่มีความสัมพันธ์กันโดยแต่ละองค์ประกอบจะทำงานร่วมกันเพื่อวัตถุประสงค์เดียวกัน เช่น ระบบงานคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วย ฮาร์ดแวร์(Hardware) ซอฟต์แวร์ (Software) และบุคลากร (Peopleware)
ภาพรวมของระบบ สภาพแวดล้อม (Environment)
ระบบสารสนเทศ • ข้อมูล (Data ) คือ ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นที่มีความหมายในตัวเอง ซึ่งยังไม่ได้ก่อให้เกิดประโยชน์ ซึ่งอาจใช้แทนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นภายในองค์กรหรือสิ่งแวดล้อม ก่อนที่จะถูกนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ • สารสนเทศ (Information) ข้อมูลที่ได้รับการประมวลผล เพื่อให้มีความหมายและเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้ อาจเป็นการประมวลผลที่ใช้วิธีแบบง่ายๆ ในการคำนวณเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ ได้แก่ การหาค่าเฉลี่ย การจัดลำดับ การคิดอัตราร้อยละ หรือการใช้เทคนิคชั้นสูง เช่น การวิจัยการดำเนินงานวิธีทางสถิติ เป็นต้น
ระบบสารสนเทศ (ต่อ) • ระบบสารสนเทศ (InformationSystem) คือ กลุ่มของระบบงานที่ประกอบด้วยฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่ทำหน้าที่รวบรวม ประมวลผล จัดเก็บ และแจกจ่ายข้อมูลข่าวสารเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจและการควบคุมภายในองค์กร
ตัวอย่าง ข้อมูล และ ระบบสารสนเทศ Data: รหัสนักศึกษา ชื่อ นามสกุล คะแนนสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค Information : เกรดรายวิชาที่ได้รับ
ตัวอย่าง ข้อมูล และ ระบบสารสนเทศ Data: ชื่อ นามสกุล ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ กรุ๊ปเลือด วันเดือน ปีเกิด อาการรักษาเบื้องต้น ฯลฯ Information : ข้อมูลผู้ป่วย
ระบบสารสนเทศ • ประกอบไปด้วย 5 องค์ประกอบ คือ • ฮาร์ดแวร์ (Hardware) • ซอฟต์แวร์ (Software) • ข้อมูล (Data) • บุคลากรทางคอมพิวเตอร์ (Peopleware) • กระบวนการทำงาน (Procedure)
ชนิดของระบบสารสนเทศ • ประกอบไปด้วย 6 ชนิด คือ • 1. ระบบประมวลผลรายการประจำวัน (Transaction Processing Systems: TPS) • 2. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information Systems :MIS) • 3. ระบบสารสนเทศสำนักงานอัติโนมัติ (Office Information System: OAS/OIS) • 4. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support Systems: DSS)
ชนิดของระบบสารสนเทศ • ประกอบไปด้วย 6 ชนิด คือ • 5. ระบบสนับสนุนผู้บริหารระดับสูง (Executive Support Systems: ESS) • 6. ระบบผู้เชี่ยวชาญ(Expert Systems : ES)
ระบบประมวลผลรายการประจำวัน (TPS) • เป็นการประมวลผลข้อมูลทางธุรกิจประจำวันที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานประจำวัน (Day-to-DayTransaction) ที่ต้องทำในธุรกิจ เช่น การบันทึกรายการสั่งซื้อสินค้าจากลูกค้าในแต่ละวัน ซึ่งรายการที่บันทึกนั้นจัดเป็นการปฏิบัติงานที่กระทำซ้ำ ๆ ในแต่ละวันเป็นประจำ โดยข้อมูลรายการประจำวันจะถูกรวบรวมไว้เพื่อนำไปจัดทำรายงานตามความต้องการ
ระบบประมวลผลรายการประจำวัน (TPS) • หน้าที่ของ TPS • การจัดกลุ่มของข้อมูล (Classification) คือ การจัดกลุ่มข้อมูลลักษณะเหมือนกันไว้ด้วยกัน • การคิดคำนวณ (Calculation) การคิดคำนวณโดยใช้วิธีการคณิตศาสตร์ เช่น บวก ลบ คูณ หาร เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่เป็นประโยชน์ เช่น การคำนวณภาษีขายทั้งหมดที่ต้องจ่ายในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา
ระบบประมวลผลรายการประจำวัน (TPS) • หน้าที่ของ TPS • การเรียงลำดับข้อมูล (Sorting) การจัดเรียงข้อมูลเพื่อทำให้การประมวลผลง่ายขึ้น เช่น การจัดเรียง invoices ตามรหัสไปรษณีย์เพื่อให้การจัดส่งเร็วยิ่งขึ้น • การสรุปข้อมูล (Summarizing) เป็นการลดขนาดของข้อมูลให้เล็กหรือกะทัดรัดขึ้น เช่น การคำนวณเกรดเฉลี่ยของนักศึกษาแต่ละคน
ระบบประมวลผลรายการประจำวัน (TPS) • การทำงานของระบบ TPS • การเก็บ (Storage) การบันทึกเหตุการณ์ที่มีผลต่อการปฏิบัติงาน อาจจำเป็นต้องเก็บรักษาข้อมูลไว้ โดยเฉพาะข้อมูลบางประเภทที่จำเป็นต้องเก็บรักษาไว้ตามกฎหมาย ที่จริงแล้ว TPS เกี่ยวข้องกับงานทุกระดับในองค์การ แต่งานส่วนใหญ่ของ TPS จะเกิดขึ้นในระดับปฏิบัติการมากกว่า แม้ว่า TPS จะจำเป็นในการปฏิบัติงานในองค์การแต่ระบบ TPS ก็ไม่เพียงพอในการสนับสนุนในการตัดสินใจของผู้บริหาร ดังนั้นองค์การจึงจำเป็นต้องมีระบบอื่นสำหรับช่วยผู้บริหาร
ระบบประมวลผลรายการประจำวัน (TPS) • การประมวลผลข้อมูลของ TPS มี 3 วิธี คือ • 1) Batch processing การประมวลผลเป็นชุดโดยมีการรวบรวมข้อมูลที่เกิดจากการทำธุรกรรมที่เกิดขึ้นและรวมไว้เป็นกลุ่มหรือเป็นชุด (batch) เพื่อตรวจสอบความถูกต้อง หรือจัดลำดับให้เรียบร้อยก่อนที่จะส่งไปประมวลผล โดยการประมวลผลนี้จะกระทำเป็นระยะๆ (อาจจะทำทุกคืน ทุก 2-3 วัน หรือทุกสัปดาห์)
ระบบประมวลผลรายการประจำวัน (TPS) • 2) Online processing คือ ข้อมูลจะได้รับการประมวลผลและทำให้เป็นเอาท์พุททันทีที่มีการป้อนข้อมูลของธุรกรรมเกิดขึ้น เช่น การเบิกเงินจากตู้ ATM จะประมวลผลและดำเนินการทันที เมื่อมีลูกค้าใส่รหัสและป้อนข้อมูลและคำสั่งเข้าไปในเครื่อง • 3) Hybrid systems เป็นวิธีการผสมผสานแบบที่ 1) และ 2) โดยอาจมีการรวบรวมข้อมูลที่เกิดขึ้นทันทีแต่การประมวลผลจะทำในช่วงกระยะเวลาที่กำหนด เช่น แคชเชียร์ที่ป้อนข้อมูล การซื้อขายจากลูกค้าเข้าคอมพิวเตอร์ ณ จุดขายของ แต่การประมวลผลข้อมูลจากแคชเชียร์ทุกคนอาจจะทำหลังจากนั้น (เช่น หลังเลิกงาน)
ตัวอย่าง ระบบประมวลผลรายการประจำวัน (TPS) • งานเงินเดือน (Payroll) • การติดตามเวลาการทำงานของพนักงาน • การคิดเงินเดือน โดยมีการหักภาษี ค่าประกัน หรือค่าใช้จ่ายอื่นๆ • การออกเช็คเงินเดือนหรือการโอนเงินเดือนเข้าบัญชีให้กับลูกจ้าง • การขาย (Sales) • การบันทึกข้อมูลการขาย • การออกใบเสร็จรับเงินหรือบิลส่งสินค้า • การติดตามข้อมูลรายรับ • การบันทึกการจ่ายหนี้ • การเก็บข้อมูลการส่งสินค้าหรือบริการไปยังลูกค้า
ตัวอย่าง ระบบประมวลผลรายการประจำวัน (TPS) • การสั่งซื้อสินค้า (Purchasing) • การสั่งซื้อหรือบริการต่างๆ • การบันทึกข้อมูล การส่งสินค้าหรือบริการจากซัพพลายเออร์ • การเงินและการบัญชี • การบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับรายรับ (Finance and Accounting) • การบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับภาษี • การติดตามค่าใช้จ่ายต่างๆ
ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ(MIS)ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ(MIS) • สนับสนุนการทำงานผู้บริหารระดับล่างและระดับกลางในการนำเสนอรายงาน ข้อมูลทั่วไป ข้อมูลเฉพาะด้าน และข้อมูลในอดีต ซึ่งจะเน้นความต้องการของบุคคลภายในองค์กรมากกว่าบุคคลหรือหน่วยงานภายนอก ลักษณะเด่น • วางแผน ควบคุม และการตัดสินใจซึ่งมักจะนำข้อมูลมาจากระบบTPS มาทำการประมวลผล ในลักษณะรายงาน ประจำสัปดาห์ เดือน ซึ่งเป็นข้อมูลสรุปหรือเปรียบเทียบ เช่น ระบบการตัดสต็อกสินค้า ระบบการสั่งซื้อสินค้า ที่มีการนำข้อมูลมาสรุปออกเป็นรายงาน เป็นต้นฯลฯ
ระบบสำนักงานอัตโนมัติ (OIS/OAS) • ระบบงานสำนักงานอัตโนมัติ เป็นระบบที่เพิ่มประสิทธิภาพงานด้านการจัดการสำนักงานและการสื่อสาร พนักงานในองค์กรต้องใช้คอมพิวเตอร์ในการจัดการกับเอกสาร โดยอาศัยโปรแกรมดังต่อไปนี้ • โปรแกรมประมวลผลคำ • โปรแกรมตารางงาน • โปรแกรมฐานข้อมูล • โปรแกรมนำเสนอข้อมูล • โปรแกรมออกแบบกราฟิกส์ • จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ • เว็บบราวเซอร์ หรือโปรแกรมสร้างเว็บ
ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (DSS) • เป็นระบบสารสนเทศที่ตอบสนองความต้องการของผู้บริหาร ในการจัดทำรายงานวิเคราะห์ผลทางสถิติต่างๆ หรือการแสดงในรูปแบบกราฟเปรียบเทียบ เพื่อใช้ประโยชน์ต่อการตัดสินใจ • ระบบที่สามารถให้ทางเลือกโดยอาศัยข้อมูลประกอบการตัดสินใจ • นำข้อมูลจาก TPS MIS มาใช้งานภายในระบบ • นำสารสนเทศจากภายนอกเข้าสู่ระบบ เช่น การนำข้อมูลราคาหุ้นของตลาดหุ้นมาประกอบการพิจารณา หรือการนำราคาผลิตภัณฑ์ของคู่แข่งมาประกอบการพิจารณา เป็นต้น • เป็นการตัดสินใจแบบกึ่งโครงสร้าง หรือไม่มีโครงสร้าง
ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (DSS) (ต่อ) • หน้าที่หลักในการประมวลผลข้อมูล • การสร้างแบบจำลอง เช่น การพยากรณ์ยอดขาย • การวิเคราะห์แบบ What-If Analysis เช่น การวิเคราะห์ • วิธีนี้เป็นกึ่งมีโครงสร้าง และไม่มีโครงสร้าง • การวิเคราะห์แบบ Goal Seeking เป็นกระบวนการที่ผู้ตัดสินใจกำหนดผลลัพธ์ • การวิเคราะห์แบบ Risk Analysis เป็นการวิเคราะห์ทางเลือกในการตัดสินใจ • การวิเคราะห์แบบ Graphical Analysis คือการวิเคราะห์และแสดงผลลัพธ์
ตัวอย่างระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (DSS) • บริษัท ค็อกพิท มีระบบสนับสนุนการตัดสินใจในการออกแบบยางรถยนต์ยี่ห้อใหม่ • ระบบช่วยให้นักวิเคราะห์มองเห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างผล ทางด้านการเงินในอดีตกับตัวแปรภายนอก เช่น จำนวนรถยนต์ที่ผลิตทั้งหมด ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศแล้วนำมาสร้างโมเดลในการพยากรณ์การขายด้วยโมเดลต่างๆ ที่มีอยู่ในระบบ • สามารถสร้างฐานข้อมูลที่บรรจุยางของคู่แข่งทั้งหมด 200 ยี่ห้อ รวมทั้งข้อมูลในการผลิต แรงกด ปริมาณ และประมาณการขาย
ตัวอย่างระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (DSS) (ต่อ) • ผู้บริหารสามารถใช้ข้อมูลในฐานข้อมูลนี้สำหรับการกำหนดกลยุทธ์ในการแข่งขัน • ระบบช่วยให้องค์การสามารถนำเอาประเด็นด้านเทคโนโลยีมาผนวกกับ ด้านการเงินในการตัดสินใจที่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และช่วยสนับสนุนให้มีการตัดสินใจร่วมกันของหน่วยงานตามหน้าที่ต่างๆ ในองค์การ
ระบบสนับสนุนผู้บริหารระดับสูง (ESS) • คล้ายกับระบบ DSS แต่จะแตกต่างกันที่ระบบ ESS เป็นการตัดสินใจในระดับกลยุทธ์และนโยบายผู้บริหารระดับสูง • นำสารสนเทศจากภายนอกมาประกอบการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ • การตัดสินใจแบบไม่มีโครงสร้าง
ตัวอย่างระบบสนับสนุนผู้บริหารระดับสูง (ESS) • บริษัท Cisco • กำหนดให้ซัพพลายเออร์เข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดอุปสงค์ผ่านทางระบบการใช้ข้อมูลร่วมกัน • หุ้นส่วนแต่ละรายของซิสโกก็สร้างโมเดลการทำนายอุปสงค์อุปทานของตัวเอง โดยอาศัยการคัดลอกข้อมูลที่ไหลมาจาก Supply Chain เพื่อช่วยลดภาระสินค้าคงเหลือของซัพพลายเออร์ให้เหลือน้อยที่สุด (บุญเลิศ วงศ์พรม, 2544) • ซิสโกมีเว็บไว้สำหรับการติดต่อระหว่างซัพพลายเออร์และลูกค้า ทำให้สามารถที่จะเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับแนวโน้มของผู้บริโภค ว่าลูกค้าต้องการอะไร ตลอดจนความเคลื่อนไหวในอุตสาหกรรมเดียวกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ตัวอย่างระบบสนับสนุนผู้บริหารระดับสูง (ESS) • Employee Self-Service (ESS) คือ ระบบบริหารงานบุคคล ที่ช่วยสนับสนุนการทำงานของ Prosoft HRMI โดยยกระบบงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับพนักงานโดยตรง และมีความถี่ในการใช้งานบ่อยเข้าสู่ระบบ ESS พนักงานสามารถจัดการข้อมูลต่างๆ ได้ด้วยตนเอง ผ่านเครือข่ายออนไลน์ (Web Browser) เช่น การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารขององค์กร การปรับปรุงข้อมูลส่วนตัว บันทึกร้องขออนุมัติต่างๆ ซึ่งผู้บริหารสามารถเข้าไปพิจารณาอนุมัติการร้องขอผ่านระบบ ESS ได้เช่นกัน ทั้งนี้การเข้าถึงข้อมูลจะถูกกำหนดสิทธิ์ของผู้ใช้งานอย่างเป็นระบบเพื่อป้องกันความปลอดภัยของฐานข้อมูล
ระบบผู้เชี่ยวชาญ (ES/KWS) • เป็นระบบที่รวบรวมความรู้ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านในแต่ละสาขา • ข้อมูลภายในระบบจะเป็น ความรู้ที่เกิดขึ้นในแต่ละสาขา อาทิเช่น ประสบการณ์ ความรู้เชิงประจักษ์ • ตัวอย่างระบบที่เกิดขึ้น ระบบปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : AI) ซึ่งศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับ การพัฒนา ความสามารถของคอมพิวเตอร์ในการเลียนแบบการเรียนรู้และพฤติกรรมการให้เหตุผลของมนุษย์
ตัวอย่างระบบผู้เชี่ยวชาญ (ES/KWS) • ตัวอย่างของ ES ที่นำไปใช้ในงานด้านต่างๆ 1) ด้านการแพทย์ : การให้คำแนะนำแก่หมอในการสั่งยาปฏิชีวนะให้คนไข้ซึ่งต้องคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ หลายประการ เช่น ประวัติการเจ็บป่วยของคนไข้ แหล่งติดเชื้อ ราคาของยา2) ด้านการผลิต : การให้คำแนะนำแก่โรงงานในการผลิตผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น ชิ้นส่วนเครื่องบิน3) ด้านธรณีวิทยา : ให้คำแนะนำแก่นักธรณีวิทยาในการวิเคราะห์ดินและน้ำมัน เพื่อพิจารณาในการขุดเจาะน้ำมัน
ตัวอย่างระบบผู้เชี่ยวชาญ (ES/KWS) (ต่อ) 4) ด้านกระบวนการผลิต : ให้คำแนะนำในการกำหนดตารางเวลาในกระบวนการผลิต (Expert Systems Scheduling) ซึ่งทำให้บริษัทสามารถปรับตารางเวลาการการผลิต ให้สอดคล้องกับความต้องการในการเปลี่ยนแปลงการผลิตหรือเงื่อนไขของโรงงานที่เปลี่ยนไป อย่างรวดเร็วดังที่บริษัท General Motors ได้นำมาใช้
ตัวอย่างระบบผู้เชี่ยวชาญ (ES/KWS) (ต่อ) 5) ด้านกระบวนการทำงานของบริษัทบัตรเครดิต : ใช้ ES ช่วยในกระบวนการทำงานตั้งแต่การประมวลการสมัครของลูกค้า การอนุมัติเครดิต การรวมบัญชีที่ค้างชำระเกินกำหนด ES ที่ใช้ระบบนี้เรียกว่า Authorization Assistant และทำให้บริษัทประหยัดเงินได้หลายล้านดอลล่าร์ในแต่ละปี (Haag et al.,2000)6) ด้านกฎหมายระหว่างประเทศ : การออกแบบ ES มาสำหรับช่วยบริษัทที่ทำธุรกิจต่างประเทศในการทำสัญญากับประเทศต่างๆ และใช้เป็นเครื่องมืออบรมพนักงานให้มีความรู้และทักษะในความซับซ้อนของการค้าระหว่างประเทศมากขึ้น (Haag et al.,2000)
ตัวอย่างระบบผู้เชี่ยวชาญ (ES/KWS) (ต่อ) 7) ด้านการค้าระหว่างประเทศ : บริษัทที่ติดต่อกับกลุ่มประเทศ NAFTA ต้องเผชิญปัญหากับภาษีและกฎระเบียบที่สลับซับซ้อนสำหรับสินค้าต่างๆ ตลอดจน ความเข้มงวดในเรื่องพิธีศุลกากร และการกำหนดโทษของการฝ่าฝืนค่อนข้างรุนแรง ดังนั้น ความเสี่ยงในการทำการค้ากลุ่มประเทศดังกล่าวจึงค่อนข้างสูง บริษัทต่างๆ จึงได้อาศัย ES สำเร็จรูปที่ชื่อว่า “Origin” เป็นเครื่องมือช่วยในการให้คำแนะนำในเรื่องกฎระเบียบต่างๆ
การใช้สารสนเทศของผู้บริหารระดับต่างๆ • ผู้บริหารระดับสูง • ผู้บริหารระดับกลาง • ผู้บริหารระดับล่าง
คุณสมบัติของสารสนเทศที่ดีคุณสมบัติของสารสนเทศที่ดี • ตรงกับความต้องการ • ทันเวลาต่อการนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ • มีความเที่ยงตรง • ความถูกต้อง • ความสมบูรณ์ • ความปลอดภัย • ประหยัด • มีประสิทธิภาพ
การวิเคราะห์ระบบงาน (System Analysis) • การวิเคราะห์ระบบงาน คือ • การศึกษาถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในระบบงานปัจจุบัน (Current System) เพื่อออกแบบระบบการทำงานใหม่ (New System) นอกเหนือจากออกแบบสร้างระบบงานใหม่แล้ว • เป้าหมายในการวิเคราะห์ระบบ • ปรับปรุงแก้ไขระบบงานเดิมให้มีทิศทางที่ดีขึ้น • สร้างระบบใหม่
เหตุผลที่ต้องการวิเคราะห์ระบบเหตุผลที่ต้องการวิเคราะห์ระบบ • ปรับปรุงบริการแก่ลูกค้า • เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน • เพิ่มกระบวนการควบคุมการทำงาน • ลดต้นทุนการดำเนินการ • ต้องการสารสนเทศมากขึ้น
นักวิเคราะห์ระบบ System Analyst : SA นักวิเคราะห์ระบบ เป็นผู้ประสานการติดต่อบุคคลต่างๆ เพื่อรวบรวมข้อมูล ความต้องการในองค์กรที่ประสบกับปัญหาการดำเนินงานเพื่อทำการปรับปรุงหรือสร้างระบบใหม่ หน้าที่หลัก วางแผนงาน วิเคราะห์ความต้องการด้านสารสนเทศ ประมวลผลของหน่วยงาน การเขียนข้อกำหนดของระบบใหม่ ระบุอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่เหมาะสม
นักวิเคราะห์ระบบ System Analyst : SA ผู้จัดการ เจ้าของระบบ โปรแกรมเมอร์ นักวิเคราะห์ระบบ ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิค เช่น DBA ผู้ใช้ระบบ ผู้ขายและจัดจำหน่าย
ความรู้และทักษะของนักวิเคราะห์ระบบความรู้และทักษะของนักวิเคราะห์ระบบ ทักษะและความรู้ทางเทคนิค ทักษะและความรู้ทางธุรกิจ ทักษะและความรู้ด้านคนและทีมงาน ความซื่อสัตย์และจรรยาบรรณในอาชีพ
ความรู้และทักษะของนักวิเคราะห์ระบบความรู้และทักษะของนักวิเคราะห์ระบบ • ทักษะและความรู้ทางเทคนิค • เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ • อุปกรณ์ต่อพวง เช่น อุปกรณ์นำเข้าข้อมูล สื่อจัดเก็บข้อมูล และอุปกรณ์แสดงผลข้อมูล • เทคโนโลยีเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และการสื่อสาร • เทคโนโลยีฐานข้อมูลและระบบการจัดฐานข้อมูล • ภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้สำหรับโปรแกรม • โปรแกรมระบบปฏิบัติการและโปรแกรมยูทิลิตี้
ความรู้และทักษะของนักวิเคราะห์ระบบความรู้และทักษะของนักวิเคราะห์ระบบ • 2. ทักษะและความรู้ทางธุรกิจ (Business Knowledge and Skills) • มีฟังก์ชันหน้าที่ทางธุรกิจอะไรบ้าง ที่ต้องปฏิบัติงาน • โครงสร้างองค์กรมีรูปแบบอย่างไร • การจัดการองค์กรมีรูปแบบอย่างไร • ชนิดหรือรูปแบบของระบบงานที่ใช้ในองค์กร เช่นระบบการเงิน (Finance) ระบบการผลิต(Manufacturing) ระบบการตลาด (Marketing) หรืออื่นๆ
ความรู้และทักษะของนักวิเคราะห์ระบบความรู้และทักษะของนักวิเคราะห์ระบบ • 3. ทักษะและความรู้ด้านคนและทีมงาน (People Knowledge and Skills) • การคิด (Think) • การเรียนรู้ (Learn) • ผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลง (React to change) • การสื่อสาร (Communicate) • งาน (Work)
ความรู้และทักษะของนักวิเคราะห์ระบบความรู้และทักษะของนักวิเคราะห์ระบบ • 4. ความซื่อสัตย์และจรรยาบรรณในอาชีพ (Personal Integrity and Ethics) • ความรับผิดชอบ • ข้อมูลเป็นความลับ ไม่เปิดเผยข้อมูลของหน่วยงาน