1 / 39

ประชาคมอาเซียน

ประชาคมอาเซียน. นายไพโรจน์ โพธิวงศ์ ที่ปรึกษาด้านนโยบายและแผนงาน สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. วันศุกร์ที่ 17 มิถุนายน 2554 เวลา 10.40 – 1 1.4 0 น. ณ กระทรวงคมนาคม. สาระสำคัญ. ความเป็นมา.

Download Presentation

ประชาคมอาเซียน

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ประชาคมอาเซียน นายไพโรจน์ โพธิวงศ์ ที่ปรึกษาด้านนโยบายและแผนงาน สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ วันศุกร์ที่ 17 มิถุนายน 2554 เวลา 10.40 – 11.40 น. ณ กระทรวงคมนาคม

  2. สาระสำคัญ

  3. ความเป็นมา ก่อตั้ง: 8 สิงหาคม 2510 โดย รมต. กต. อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ลงนามใน “ปฏิญญากรุงเทพ” สมาชิก: อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย บรูไน เวียดนาม ลาว พม่า และกัมพูชา เป้าหมาย: จัดตั้งประชาคมอาเซียนให้ได้ภายในปี 2558 โดยแบ่ง ออกเป็น 3 เสาหลัก ได้แก่ 1) ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน 2) ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และ 3) ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน

  4. ประชาคมอาเซียน • ประชาคมการเมืองและความมั่นคง ประชาคมอาเซียน ประชาคมเศรษฐกิจ ประชาคมสังคมและวัฒนธรรม One Vision, One Identity, One Community หนึ่งวิสัยทัศน์, หนึ่งเอกลักษณ์, หนึ่งประชาคม

  5. สาระสำคัญ

  6. ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียนประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน การพัฒนามนุษย์ เน้นการบูรณาการด้านการศึกษา สร้างสังคมความรู้ พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ส่งเสริมการจ้างงานที่เหมาะสม ส่งเสริม ICT การเข้าถึง ว&ท การคุ้มครองและสวัสดิการสังคม ขจัดความยากจน สร้างเครือข่ายความปลอดภัยทางสังคม ส่งเสริมความมั่นคงและความปลอดภัยด้านอาหาร การควบคุมโรคติดต่อ ความยุติธรรมและสิทธิ คุ้มครองสิทธิผู้ด้อยโอกาส แรงงานย้ายถิ่นฐาน ส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรธุรกิจ การจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อมของโลก ปัญหามลพิษทางสิ่งแวดล้อมข้ามแดน การเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ ส่งเสริมการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ • ส่งเสริมความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม • การสร้างอัตลักษณ์อาเซียน สร้างความรู้สึกเป็นเจ้าของ อนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมของอาเซียน ส่งเสริมการสร้างสรรค์ด้านวัฒนธรรม ลดช่องว่างการพัฒนา เป้าหมาย:เพื่อให้อาเซียนเป็นสังคมเป็นเอกภาพ เอื้ออาทรต่อกัน มีความเป็นอยู่ที่ดี พัฒนาทุกด้าน และมีความมั่นคงทางสังคม โดย

  7. สาระสำคัญ

  8. ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เน้นการเคลื่อนย้ายสินค้า การบริการ การลงทุน เงินทุน และแรงงานมีฝีมือระหว่างกันอย่างเสรี เป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว มีขีดความสามารถในการแข่งขันสูง เน้นการดำเนินนโยบายการแข่งขัน การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา การพัฒนา ICT และพลังงาน มีพัฒนาการทางเศรษฐกิจที่เท่าเทียมกัน ส่งเสริมการมีส่วนร่วมและการขยายตัวของ SMEsให้ความช่วยเหลือแก่สมาชิกใหม่ (CLMV) เพื่อลดช่องว่างของระดับการพัฒนา บูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลกได้อย่างสมบูรณ์ เน้นการจัดทำ FTA และ CEP กับประเทศคู่เจรจา เป้าหมาย: เพื่อให้ประชาชนของประเทศสมาชิกมีการค้าขายระหว่างกันมากขึ้น มีการไปมาหาสู่กันได้อย่างสะดวก และมีศักยภาพในการแข่งขันกับโลกภายนอกได้ โดย

  9. ความก้าวหน้า AEC …สู่ “ตลาดและฐานการผลิตร่วมกัน” ลดภาษีเหลือร้อยละ 0 ในปี 2553 (ยกเว้น CLMV ปี 2558) ส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุนระหว่างประเทศอาเซียนภายใต้หลัก National Treatment เปิดเสรีบริการเร่งรัด 4 สาขา (e-ASEAN,สุขภาพ,ท่องเที่ยว,โลจิสติกส์) ส่งเสริมการเชื่อมโยงตลาดทุนระหว่างกันและพัฒนาตลาดพันธบัตร มาตรการการเปิดเสรีบัญชีทุน ลงนาม MRA วิชาชีพ 7 สาขา (วิศวกร พยาบาล สถาปนิก นักสำรวจ แพทย์ ทันตแพทย์ และนักบัญชี)

  10. ผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจาก AEC กลุ่มที่มีวัตถุดิบและแรงงาน เวียดนาม กัมพูชา พม่า ลาว กลุ่มที่มีความถนัดด้านเทคโนโลยี สิงคโปร์ มาเลเซีย ไทย กลุ่มที่เป็นฐานการผลิต ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย เวียดนาม

  11. สาระสำคัญ

  12. ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียนประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน • มีกฎเกณฑ์ บรรทัดฐาน และค่านิยมร่วมกัน ส่งเสริมความร่วมมือด้านการพัฒนาการทางการเมือง การสร้างและแบ่งปันกฎเกณฑ์ร่วม ส่งเสริมบรรทัดฐานแนวปฏิบัติที่ดีระดับภูมิภาค • มีเอกภาพ สงบสุข แข็งแกร่ง และรับผิดชอบแก้ปัญหาความมั่นคง ป้องกันความขัดแย้งและสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ ระงับข้อพิพาทโดยสันติ สร้างสันติภาพหลังความขัดแย้ง ขภัยคุกคามทุกรูปแบบ ส่งเสริมความร่วมมือในการจัดการภัยพิบัติ และสถานการณ์ฉุกเฉิน • มีพลวัตร คงความเป็นศูนย์กลางและบทบาทของอาเซียน ส่งเสริมอาเซียนให้เป็นศูนย์กลางในความร่วมมือระดับภูมิภาค ส่งเสริมความสัมพันธ์กับประเทศภายนอก และความร่วมมือในประเด็นพหุภาคีที่เป็นความกังวลร่วมกัน เป้าหมาย: เพื่อให้อาเซียนเป็นสังคมที่สมาชิกมีความไว้เนื้อเชื่อใจซึ่งกันและกัน มีเสถียรภาพ มีสันติภาพ และมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

  13. สาระสำคัญ

  14. องค์ประกอบหลักของความเชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียน • เพิ่มพูนการรวมตัวและความ ร่วมมือของอาเซียน • เพิ่มความสามารถการแข่งขัน ในระดับโลกของอาเซียน จาก เครือข่ายการผลิตในภูมิภาคที่ เข้มแข็ง • วิถีชีวิตของประชาชนดีขึ้น • ปรับปรุงกฎระเบียบและธรร มาภิบาลของอาเซียน • เชื่อมต่อศูนย์กลางเศรษฐกิจ และลดช่องว่างการพัฒนา • ส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมของท้องถิ่น • เพิ่มพูนความพยายามในการ จัดการกับ และส่งเสริมการ พัฒนายั่งยืน • สามารถจัดการกับผลกระทบ ทางลบที่เกิดจากความเชื่อมโยง • คมนาคม • เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร • พลังงาน ด้านโครงสร้างพื้นฐาน • การเปิดเสรีการอำนวยความสะดวกทางการค้าการบริการและการลงทุน • ความตกลง/ข้อตกลงยอมรับร่วมกัน • ความตกลงการขนส่งในภูมิภาค • พิธีการในการข้ามพรมแดน • โครงการเสริมสร้างศักยภาพ ด้านกฎระเบียบ ด้านประชาชน • การศึกษาและวัฒนธรรม • การท่องเที่ยว

  15. ยุทธศาสตร์ที่ 1 : ก่อสร้างโครงข่ายทางหลวงอาเซียนให้แล้วเสร็จ สถานะ - การดำเนินงานตามบันทึกความเข้าใจระดับรัฐมนตรีว่าด้วยการพัฒนาโครงการทางหลวงอาเซียน เมื่อเดือนกันยายน ค.ศ. 1999 ยังไม่มีความคืบหน้าเท่าที่ควร ปัญหาอุปสรรค เส้นทางเชื่อมต่อไม่สมบูรณ์ 227 กม. ในพม่า ถนนที่ยังต่ำกว่ามาตรฐานกว่า 5,300 กม. ใน 6 ประเทศ ได้แก่ลาว พม่า เวียดนาม ฟิลิปปินส์ อินโดนิเซีย และมาเลเซีย โครงการทางหลวงอาเซียน 23 เส้นทาง 38400 กิโลเมตร ภายในปี ค.ศ.2012 ปรับปรุงถนนให้ได้มาตรฐานชั้นที่ 3 เป็นอย่างน้อย ภายในปี ค.ศ. 2013 ติดตั้งป้ายจราจรในถนนทุกสายที่กำหนด ภายในปี ค.ศ. 2015 ศึกษาเพื่อเชื่อมโยงประเทศที่เป็นเกาะกับแผ่นดินใหญ่ของอาเซียน และเชื่อมโยงทางหลวงอาเซียนไปยังจีน/อินเดีย โดยเฉพาะช่วงฮานอย-ลาวตอนเหนือ-พม่า-อินเดีย ภายในปี ค.ศ. 2020 ปรับปรุงถนนส่วนที่มีการจราจรหนาแน่นให้เป็นมาตรฐานชั้นที่ 1

  16. ยุทธศาสตร์ที่ 2 : ดำเนินโครงการเส้นทางรถไฟสิงค์โปร์-คุนหมิงให้แล้วเสร็จ • ให้ความสำคัญลำดับสูงกับการพัฒนาเส้นทางรถไฟฝั่งตะวันออก (ไทย กัมพูชา เวียดนาม) และมีทางเชื่อมสปป.ลาว-เวียดนาม โดยดำเนินการ ดังนี้ • ก่อสร้างเส้นทางช่วงที่ขาดหาย • ภายในปี 2013 • ปอยเปต-ศรีโสภณ 48กม. -- กัมพูชา • ภายในปี 2014 • อรัญประเทศ-คลองลึก 6 กม. -- ไทย • ภายในปี 2015 • พนมเปญ-ล็อกนิน 254 กม. -- กัมพูชา • ภายในปี 2020 • ด่านเจดีย์สามองค์-น้ำตก 153 กม. – ไทย • ธันบูซายัต- ด่านเจดีย์สามองค์ 110 กม. – พม่า • เวียงจันทน์-ท่าแขก-มูเกีย 466 กม. – สปป.ลาว • ล็อกนิน-โฮจิมินห์ 129 กม. – เวียดนาม • มูเกีย –ทันอับ –วุงอัง 119 กม. -- เวียดนาม • จัดทำยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการเส้นทางรถไฟสิงค์โปร์-คุนหมิง ภายในปี 2013 • ระดมทุน และความช่วยเหลือทางวิชาการจากหุ้นส่วนภายนอก ในระดับทวิภาคี หรือ ADB • ศึกษาความเป็นไปได้เพื่อต่อขยายเส้นทางไปเมืองสุราบายา อินโดนิเซีย 7 4 3 6 5 2 1 1. Singapore–Malaysia – Bangkok – Aranyaprathet – Cambodia – Vietnam – China 2. Singapore – Malaysia – Bangkok – Three Pagodas Pass – Myanmar – China 3. Singapore – Malaysia – Bangkok – Nong Khai – Lao PDR – Vietnam – China 4. Singapore – Malaysia – Bangkok – Nong Khai – Lao PDR – China 5. Singapore – Malaysia – Bangkok – UbonRatchathani – Lao PDR – Vietnam – China 6. Singapore – Malaysia – Bangkok – BuaYai – Mukdaharn – Lao PDR – Vietnam - China 7. Singapore–Malaysia–Bangkok–Chiang Rai–Chiang Khong/HouySai- Lao PDR – China

  17. ยุทธศาสตร์ที่ 3: สร้างเครือข่ายระบบการขนส่งทางน้ำบนภาคพื้นทวีปที่มีประสิทธิภาพและเชื่อมโยงกัน สถานะ – เป็นการขนส่งที่คุ้มค่า เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมน้อยกว่าการขนส่งรูปแบบอื่นๆ ข้อจำกัด – ขาดการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานที่เพียงพอ และขาดการกำหนดกรอบนโยบายระดับภูมิภาคเพื่อพัฒนาบริการขนส่งทางน้ำ มาตรการสำคัญ – กำหนดแผนพัฒนาเครือข่ายระบบการขนส่งทางน้ำภาคพื้นทวีปในอาเซียน ภายในปี 2012 และเริ่มดำเนินการ ยุทธศาสตร์ที่ 4: สร้างระบบการขนส่งทางทะเลที่เชี่อมโยง มีประสิทธิภาพ และแข่งขันได้ • พัฒนาสมรรถนะ/ศักยภาพท่าเรือ 47 แห่งภายในปี 2015 • กำหนดเส้นทางเดินเรือที่มีประสิทธิภาพและน่าเชื่อถือ ที่เชื่อมระหว่างหมู่เกาะและแผ่นดินใหญ่ สอดคล้องกับข้อตกลง และเส้นทางระหว่างประเทศที่สำคัญ • เสริมสร้างความแข็งแกร่งให้เส้นทางเดินเรือที่เชื่อมโยงกับโลกและภูมิภาค และเส้นทางเดินเรือในประเทศ • ศึกษาความเป็นไปได้เพื่อจัดตั้งเครือข่ายระบบการเดินเรือทางทะเลของอาเซียน เส้นทางขนส่งสินค้าสำคัญในอาเซียน

  18. ยุทธศาสตร์ที่ 5 : สร้างระบบการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบที่คล่องตัวเพื่อให้อาเซียนเป็นศูนย์กลางการขนส่งในเอเชียตะวันออกและภูมิภาคอื่นๆ ก่อสร้างเส้นทางที่ขาดหายไปในพม่าตามแนว EWEC ศึกษาเกี่ยวกับศักยภาพของแนวเส้นทางการขนส่งต่อเนื่องหลาย รูปแบบเพื่อให้พื้นที่ต่างๆ เป็นสะพานเศรษฐกิจในเส้นทางการขนส่งของโลก พัฒนา/ปรับปรุงท่าเรือขอบนอก เช่น ย่างกุ้ง ดานัง กำหนดและพัฒนาจุดเปลี่ยนถ่ายสินค้า อาเซียน โดยเฉพาะที่มีอยู่แล้ว ได้แก่ ทางหลวงอาเซียน และเส้นทางรถไฟ สิงค์โปร์-คุนหมิง การพัฒนาท่าเรือน้ำลึกทวาย (2020) ทางหลวงเชื่อมโยงกาญจนบุรีและทวาย (2020)ศึกษา F/S ระบบรางรถไฟระหว่างกาญจนบุรีและทวาย ก่อสร้างสะพานข้ามโขงที่เมืองเนีอกเลือง บนทางหลวงหมาย เลข 1 กัมพูชา

  19. ยุทธศาสตร์ที่ 6 : เร่งการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในชาติสมาชิก ศึกษาความเป็นไปได้เพื่อพัฒนาอาเซียนเป็นตลาดเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเดียว ภายหลังปี 2015 ในบริบทของการเปิดเสรีสินค้า บริการ การลงทุน และทรัพยากรมนุษย์ สถานะ - หลายประเทศในอาเซียนได้รับการยกย่องระดับโลกในด้านโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ปัญหาและข้อจำกัด – ความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงสารสนเทศ โดยเฉพาะระหว่างพื้นที่ล้าหลังและตัวเมือง ซึ่งต้องได้รับการแก้ไขเพื่อลดช่องว่างระหว่างประเทศสมาชิก จัดลำดับความสำคัญและกระตุ้นการใช้โครงสร้างพื้นฐานที่ใช้งานกับอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงในโรงเรียน ทบทวนข้อบังคับการให้บริการระดับสากลและนโยบายอื่นๆ เพื่อให้เอื้อต่อการใช้งานอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง เสริมสร้างความมั่นคง ความเที่ยงตรงของเครือข่าย การป้องกันข้อมูล และการประสานงานระหว่างศูนย์รักษาความปลอดภัยคอมพิวเตอร์ โดยการพัฒนากรอบและมาตรฐานขั้นต่ำร่วมกัน ภายในปี 2015 ส่งเสริมความหลากหลายของการเชื่อมโยงระหว่างประเทศในอาเซียน สร้างแนวเส้นทางอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงในอาเซียน โดยกำหนดและพัฒนาสถานที่ในแต่ละประเทศสมาชิกเพื่อสร้างการเชื่อมโยงที่มีคุณภาพ ภายในปี 2014 จัดตั้งศูนย์แม่ข่ายอินเตอร์เน็ต อาเซียน ภายในปี 2013

  20. ยุทธศาสตร์ที่ 7 : ให้ความสำคัญกับโครงการโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานของอาเซียน Trans-ASEAN Gas Pipeline ASEAN Power Grid • ปรับปรุงกฎหมายและกรอบการควบคุมการค้าและการ เชื่อมโยงไฟฟ้าระดับทวิภาคีและพรมแดน (2008-2010) • ปรับปรุงแนวปฏิบัติหรือหลักเกณฑ์มาตรฐานด้านเทคนิควม กันในด้านการออกแบบ การเดินระบบ และบำรุงรักษา (2008- 2012) • กำหนดและเสนอรูปแบบการระดมเงินทุนสำหรับโครงข่าย ระบบส่งไฟฟ้าอาเซียน (2008-2011) • พัฒนาความเชื่อมโยงระดับทวิภาคี/พหุภาคีและรายงานที่ ประชุม (2008-2015) • จัดทำแบบจำลองการร่วมลงทุนท่อส่งก๊าซในอาเซียน • รับรองมาตรฐานทางเทคนิคร่วมสำหรับการออกแบบก่อสร้าง และบำรุงรักษาโครงสร้างพื้นฐาน • รับรองแบบจำลองทางธุรกิจของท่อส่งก๊าซอาเซียน • ดำเนินแผนความปลอดภัยและความมั่นคงสำหรับการเชื่อมโยง ระบบท่อส่งก๊าซ • ปรับปรุงและดำเนินโครงการเชื่อมโยงระบบท่อส่งก๊าซ • ศึกษาความเป็นไปได้เพื่อขยายระบบท่อส่งก๊าซไปสู่ BIMP-EAGA

  21. การพัฒนาความเชื่อมโยงในด้านกฎระเบียบ ยุทธศาสตร์หลัก 1-5 มาตรการสำคัญ ให้สัตยาบัน เร่งจัดทำพิธีสารให้เสร็จสมบูรณ์และลงนามโดยประเทศสมาชิกในปี 2011 และ เริ่มดำเนินการตามความตกลงฯในปี 2014-2015 ดำเนินการตามกรอบความตกลง 3 กรอบว่าด้วยการขนส่ง (การขนส่งสินค้าผ่านแดน สินค้าข้ามแดน และการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ) เร่งดำเนินการตามข้อตกลงในระดับทวิภาคีและอนุภูมิภาคที่มีอยู่ เช่น ในกรอบ GMS และ BIMP-EAGA ภายในปี 2013 และจัดทำข้อตกลงของอาเซียนว่าด้วยการอำนวยความสะดวการขนส่งผู้โดยสารทางบก ในปี 2015 เริ่มดำเนินโครงการการอำนวยความสะดวกด้านขนส่งผู้โดยสาร ในโครงข่ายทางหลวงที่เชื่อมรัฐต่างๆ เพื่อขจัดปัจจัยขัดขวางการเคลื่อนย้ายเสรีของยานพาหนะ สินค้า และบุคคลข้ามแดน เร่งกระบวนการเพื่อให้ความตกลงพหุภาคีในเรื่องที่เกี่ยวข้องมีผลบังคับใช้โดยเร็ว จัดทำความตกลงฯกับจีนในปี 2010 จัดทำแผนงานตั้งตลาดการบินเดียวอาเซียนในปี 2011 และดำเนินงานในปี 2015 สร้างตลาดการบินเดียวในอาเซียน จัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาให้เสร็จในปี 2012 และพัฒนากรอบการดำเนินงานให้แล้วเสร็จในปี 2015 สร้างตลาดการขนส่งทางเรือเดียวในอาเซียน ลดมาตรการทางการค้าที่มิใช่ภาษี กำหนดมาตรฐานระดับภูมิภาคร่วมกัน และเพิ่มประสิทธิภาพการตรวจสอบรับรอง ปรับปรุงกฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า และประสานกับประเทศคู่เจรจา เพิ่มการเคลื่อนย้ายสินค้าอย่างเสรีภายในภูมิภาคอาเซียน โดยการลดอุปสรรคทางการค้าภายในระดับภูมิภาค

  22. การพัฒนาความเชื่อมโยงในด้านกฎระเบียบ ยุทธศาสตร์หลัก 6-10 มาตรการสำคัญ เร่งพัฒนาภาคบริการทางการขนส่งที่มีประสิทธิภาพและแข่งขันได้ โดยเฉพาะในสาขาโทรคมนาคมและบริการอื่นๆ ขจัดข้อจำกัดด้านการค้าและบริการสำหรับการขนส่ง ภายในปี 2013 เร่งเปิดเสรีด้านโทรคมนาคม เร่งดำเนินการใช้ระบบศุลกากรอิเล็คทรอนิกส์ ณ จุดเดียวในระดับประเทศ โดยสมาชิกเดิม ภายในปี 2008 และ CLMV ภายในปี 2012 และใช้ที่ด่าน ภายในปี 2015 ลดขั้นตอนพิธีการด้านศุลกากร จัดทำกรอบกฎระเบียบการบริหารพรมแดนที่สอดคล้องกัน ส่งเสริมความร่วมมือกับภาคธุรกิจลอุตสาหกรรม และพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ พัฒนาโครงการอำนวยความสะดวกทางการค้าในภูมิภาคอย่างจริงจัง ยกระดับความสามารถของการบริหารจัดการพรมแดน พัฒนาขั้นตอนการบริหารจัดการพรมแดน (CIQ) บูรณาการขั้นตอนพิธีการศุลกากร ส่งเสริมการบริหารจัดการร่วมกันระหว่างประเทศ เพื่อให้เกิดจุดตรวจและดำเนินการเดียว ในปี 2013 เร่งให้ชาติสมาชิกอาเซียนเปิดรับการลงทุนจากภายในและภายนอกภูมิภาคภายใต้กฎระเบียบการลงทุนที่เป็นธรรม สร้างรูปแบบการปรับลด/ขจัดอุปสรรคการลงทุนเป็นระยะเพื่อให้มีการลงทุนที่เปิดเสรี สร้างกระบวนการติดตามในระดับรัฐมนตรี เสริมสร้างความสามารถของสถาบันในพื้นที่ล้าหลังของภูมิภาคและปรับปรถงการประสานงานด้านนโยบาย แผนงาน และโครงการในระดับภูมิภาคและอนุภูมิภาค อำนวยความสะดวกการให้ความช่วยเหลือทางวิชาการจากผู้ให้สู่ CLMV ตั้งกลไกและโครงสร้างเพื่อการประสานของอาเซียนกับ DP อื่นๆ

  23. การส่งเสริมความเชื่อมโยงด้านประชาชนการส่งเสริมความเชื่อมโยงด้านประชาชน • ส่งเสริมความเข้าใจด้านสังคมและวัฒนธรรมภายในอาเซียนให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น • จัดตั้งศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้เสมือนจริงในด้านประชาชน วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ และเศรษฐกิจ ภายในปี 2012 • สนับสนุนการสร้างหลักสูตร เนื้อหา สื่อการสอนเกี่ยวกับอาเซียน ภายในปี 2012 และสนับสนุนการเรียนภาษาของประเทศอาเซียนเป็นภาษาที่สาม • ส่งเสริมการรับรู้เกี่ยวกับอาเซียนตามแผนการสื่อสาร และความเข้าใจอันดีในวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ร่วมกันของอาเซียน • สนับสนุนการระดมทุนเพื่อเสริมสร้างศักยภาพของอาเซียนร่วมกัน ภายในปี 2013 • ส่งเสริมการเคลื่อนย้ายของประชาชนภายในอาเซียนให้เพิ่มขึ้น • ศึกษาความเป็นไปได้ในการเปิดเสรีข้อจำกัดในการตรวจลงตราและจัดตั้งช่องตรวจลงตราอาเซียน สำหรับผู้ถือสัญชาติอาเซียน และผ่อนปรนการตรวจลงตราสำหรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ • พัฒนาบริการทางการท่องเที่ยวร่วมกัน • พัฒนามาตรฐานทักษะ ฝึกอบรมวิชาชีพและเทคโนโลยี โดยแลกเปลี่ยนแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศระหว่างกัน และจัดทำข้อตกลงยอมรับร่วมกันสำหรับการรับรองฝีมือด้าน ICT ที่มีคุณภาพ • ส่งเสริมการเคลื่อนย้ายแรงงานมีฝีมือในอาเซียนให้มากขึ้น ปฏิบัติตามปฏิญญาอาเซียนเรื่องการคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิแรงงานข้ามชาติ และศึกษาโครงการนำร่องการจัดตั้งเครือข่ายการเคลื่อนย้ายแรงงานมีฝีมือของอาเซียน ภายในปี 2015 • สร้างความเข้มแข็งให้เครือข่ายบริการทางสังคมและองค์กรผู้ปฏิบัติงานด้านสวัสดิการสังคม

  24. สาระสำคัญ

  25. แผนฯ 11 : ยุทธศาสตร์การสร้างความเชื่อมโยงประเทศในภูมิภาคเพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม การสร้างความร่วมมือแบบหุ้นส่วนการพัฒนาเพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม จุดเน้นของยุทธศาสตร์ “ให้ความสำคัญกับ 3 วง ของกรอบความร่วมมือ” รวมทั้งประเด็นการพัฒนา ร่วมและปัจจัยสนับสนุน • อนุภูมิภาค (GMS, IMT-GT, ACMECS, BIMSTEC) • อาเซียน (ASEAN) • อาเซียน+3 อาเซียน+6เอเปค และเอเชียแปซิฟิค ๑ ๒ ๓ 4 2 3 9 1 5 6 7 8

  26. วัตถุประสงค์ เป้าหมาย และตัวชี้วัด

  27. โครงการลำดับความสำคัญสูงภายใต้แผนแม่บทว่าด้วยความเชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียนโครงการลำดับความสำคัญสูงภายใต้แผนแม่บทว่าด้วยความเชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียน ระหว่างปี 2011-2020 • อนาคตโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง • บางใหญ่–นครปฐม–กาญจนบุรี 97กม. 4-6 ช่องจราจร • กาญจนบุรี – ชายแดนไทย/พม่า (บ้านพุน้ำร้อน) 70 กม. • เส้นทางรถไฟกาญจนบุรี-ชายแดนไทย-พม่า 1. การก่อสร้างเส้นทางรถไฟช่วงที่ขาดหาย อรัญประเทศ-คลองลึก ระยะ 6 กม. ภายในปี 2014 2. เร่งกระบวนการภายในประเทศเพื่อให้สัตยาบันพิธีสารและภาคผนวกแนบท้าย 3 ความตกลงภายใต้อาเซียน และความตกลง CBTA Missing Link พัฒนาระบบ Multimodal Transport เชื่อมโยงแหล่งผลิต production chain และตลาดในภูมิภาคและโลก 3. พัฒนาสมรรถนะ/ศักยภาพท่าเรือ 47 แห่ง ภายในปี 2015 4. พัฒนาเส้นทางเชื่อมโยงพม่าตามแนว EWEC ให้แล้วเสร็จ

  28. แนวทางการเตรียมความพร้อมของกระทรวงคมนาคมแนวทางการเตรียมความพร้อมของกระทรวงคมนาคม • ทำความเข้าใจในเรื่องการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องตรงกัน และผลักดันให้เรื่องการเชื่อมโยงอาเซียนเป็นหนึ่งยุทธศาสตร์หลักของกระทรวงคมนาคม • สนับสนุนการเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวของอาเซียน โดยเร่งพัฒนาทั้งด้านฮาร์ดแวร์ (เส้นทางคมนาคมขนส่ง) และซอฟท์แวร์ (กฎระเบียบ) เพื่อส่งเสริมการเคลื่อนย้ายเสรีของสินค้าและบริการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการดำเนินงานตามเป้าหมายของ ASEAN Connectivity และกรอบอนุภูมิภาคอื่นๆ • สนับสนุนบทบาทการมีส่วนร่วมของภาคเอกชนในการร่วมลงทุน หรือลงทุนในโครงการต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านโครงสร้างพื้นฐาน เตรียมโครงการ PPPตามมาตรฐานสากล และสร้างเครือข่ายความสัมพันธ์กับแหล่งทุนภาคเอกชน และองค์กรผู้ให้ความช่วยเหลือต่างๆ • ส่งเสริมความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม โดยดำเนินการสนับสนุนมาตรการด้านการขนส่งที่ปลอดภัย เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อวิถีชุมชน และเพื่อมุ่งสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Transportation)

  29. แนวทางการเตรียมความพร้อมของกระทรวงคมนาคมแนวทางการเตรียมความพร้อมของกระทรวงคมนาคม • เตรียมความพร้อมสำหรับบุคลากรในสาขาต่างๆ อาทิ ภาษาอังกฤษ และภาษาท้องถิ่น เนื่องจากอาเซียนใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลางในการประสานงาน ส่วนภาษาท้องถิ่น ใช้สำหรับการติดต่อสื่อสาร และอำนวยความสะดวกต่อประชาชน และนักท่องเที่ยวของสมาชิก • ศึกษาข้อมูลต่างๆ โดยเฉพาะตัวบทกฎหมายของสมาชิกแต่ละประเทศ เนื่องจากมีความแตกต่างกัน เพื่อประโยชน์ในการเสริมสร้างความร่วมมือ และป้องกันความขัดแย้งระหว่างประเทศ • ศึกษาและเผยแพร่วัฒนธรรมของประเทศสมาชิก โดยเฉพาะกับบุคลากรด้านการขนส่งข้ามพรมแดน เพื่อสร้างความเข้าใจ และการปฏิบัติต่อประชาชนเหล่านั้นได้อย่างถูกต้อง • พิจารณาจัดตั้งสำนักงาน/สำนัก/ส่วนงาน เพื่อดูแลงานรับผิดชอบงานด้านอาเซียนโดยเฉพาะ ภายใต้องค์กร ตามนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ

  30. www.nesdb.go.th

  31. Back Up

  32. การผลักดันความตกลงการขนส่งข้ามพรมแดน(CBTA)ในประเทศไทยการผลักดันความตกลงการขนส่งข้ามพรมแดน(CBTA)ในประเทศไทย • มุกดาหาร-สะหวันนะเขต: ไทย-ลาว-เวียดนาม แลกเปลี่ยนสิทธิจราจรตั้งแต่มิถุนายน 2552และกำลังผลักดันการดำเนินงานระบบศุลกากรของการขนส่งสินค้าผ่านแดนให้เป็นรูปธรรม • อรัญประเทศ-ปอยเปต: ลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการแลกเปลี่ยนสิทธิการจราจรแล้วตั้งแต่ปี 2551 แต่ยังไม่ได้บังคับใช้ในทางปฏิบัติเนื่องจากสถานการณ์ทางการเมือง • เชียงของ-ห้วยทราย : ไทย-ลาว-จีน เจรจาแล้วเสร็จ และกำหนดลงนามบันทึกความเข้าใจร่วมกันในปี 2554 เพื่อนำร่องเดินรถ 100 คัน/ประเทศก่อนในปีแรก • ให้สัตยาบันภาคผนวกและพิธีสารแนบท้ายความตกลง CBTA ไทยให้สัตยาบันแล้ว 14 ฉบับ (จาก 20 ฉบับ) ส่วนที่เหลือ อยู่ในกระบวนการออกกฎหมาย 5 ฉบับ ซึ่ง 2 ฉบับ รอเสนอรัฐสภาพิจารณา • กลไกการทำงาน (1) คณะกรรมการประสานการขนส่งผ่านแดนและขนส่งข้ามแดนแห่งชาติ (NTFC) และ(2) คณะอนุกรรมการบริหารจัดการการอำนวยความสะดวก ณ ด่านพรมแดน (BMC) ซึ่งจะมีการจัดตั้งและมีกรมศุลกากรเป็นประธาน ด่านนำร่องที่เริ่มดำเนินการแล้ว/อยู่ระหว่างดำเนินการ ด่านที่มีศักยภาพดำเนินการในอนาคต

  33. 4 เส้นทางรถไฟลำดับความสำคัญสูงเชื่อมโยงอนุภูมิภาค : GMS Railway Strategy 2025 Route 1: Bangkok-Phnom Penh-Ho Chi Minh City- Kunming Route 2: Bangkok-Vientiane-Boten-Mohan- Kunming-Hanoi-Ho Chi Minh City Route 3: Bangkok-VientianeTha Khaek-Mu Gia- Vung Ang –Hanoi-Kunming/Ho Chi Minh City Route 4: Bangkok-Chiang Rai-Boten- Mohan-Kunming-Hanoi-Ho Chi Minh City GMS Rail traffic projections (tons) in 2025 Bulk 11,220,630 Containers 8,250,902 Liquid 6,258,056 Reefer 4,173,152 Special 68,553 TOTAL 29,971,293

  34. China - ASEAN Rail Development Plan: Under the China’s 12th Plan • The rail route in accordance to China-Laos’s MOU (Yellow Line) Connecting Bo Ten - Udomsai - LuangPrabang - VangVieng - Vientiane with the total distance of 420-530 kilometers • Yunnan rail route (Blue Line) connecting Wuxi – Mohan with the total distance of 500 kilometers • Bangkok - NongKhai rail route (Navy Blue Line) the total distance of 615 kilometers • Bangkok- Padangbesar rail route (Red Line) the total distance of 928 kilometers • Kun Ming – Singapore rail route (Red Line) going through Hanoi- Ho Chi Minh City - Phnom Penh. • Nanning – Singapore rail route (Red Line) going through Hanoi- Ho Chi Minh City - Phnom Penh.

  35. Other Initiatives for Regional Railway Connectivity • ASEAN Project: Singapore Kunming Rail Link (SKRL) • Potential Route 1: Singapore – Malaysia – Bangkok – Aranyaprathet – Cambodia – Vietnam – China • Potential Route 2: Singapore – Malaysia – Bangkok – Three Pagodas Pass – Myanmar – China • Potential Route 3: Singapore – Malaysia – Bangkok – NongKhai – Lao PDR – Vietnam – China • Potential Route 4:Singapore – Malaysia – Bangkok – NongKhai – Lao PDR – China • Potential Route 5: Singapore – Malaysia – Bangkok – UbonRatchathani – Lao PDR – Vietnam – China • Potential Route 6: Singapore – Malaysia – Bangkok – BuaYai – Mukdaharn – Lao PDR – Vietnam - China • Potential Route 7: Singapore – Malaysia – Bangkok – Chiang Rai – Chiang Khong/HouySai – Lao PDR – China • China – Thailand High-Speed Train Initiatives: • Potential Route 1: NongKhai-Bangkok • Potential Route 2: Bangkok – Thai/ML Border

  36. โครงการพัฒนาท่าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวาย • ท่าเรือน้ำลึก ตั้งที่ตำบลนาบูเล (Nabule)ทางตอนเหนือของจังหวัดทวายออกไป 34 กม. • นิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่ราว 250 ตร.กม. หรือประมาณ 4 แสนไร่ แบ่งเป็น • โซน A Port & Heavy Industry เช่น ท่าเรือ อู่ต่อเรือ อุตฯเหล็ก coal-fired power plant ระบบบำบัดน้ำเสีย • โซน B – Oil & Gas Industry • โซน C1 – Up Stream Petrochemical Complex โซน C2 – Down Stream Petrochemical • โซน D – Medium Industry เช่น กระดาษ ยิปซั่ม ยาง ยานยนต์ • โซน E – Light Industry เช่น แปรรูปอาหาร สิ่งทอ เครื่องสำอาง • โซนอื่นๆ ได้แก่ ที่พักอาศัย,พื้นที่ส่วนราชการแบบ One-Stop Service และ Township ศูนย์การค้า (Commercial Center) และสถานพักผ่อนหย่อนใจ (Recreation Area) กาญจนบุรี ทวาย แผนผังพื้นที่ท่าเรือน้ำลึกและนิคมอุตฯเมืองทวาย www.nesdb.go.th 36

  37. โครงการพัฒนาท่าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวาย ระยะที่ 1 (2554 - 2558) ระยะที่ 2 (ปี 2556-2561) ระยะที่ 3 (ปี 2559-2563) • ท่าเรือด้านเหนือ • ถนนในเขตนิคมอุตสาหกรรมและระบบระบายน้ำเพิ่มเติม • รถไฟ สายส่งไฟฟ้า และท่อก๊าซและท่อน้ำมันเชื่อมโยงประเทศไทย • ท่าเรือด้านใต้ • ถนนเชื่อมโยงทวาย-ชายแดนไทย/พม่า 4 ช่องจราจร ถนนเชื่อมโยงสนามบินทวาย ถนนในเขตนิคมอุตสาหกรรม • ด่านพรมแดน • ระบบระบายน้ำ อ่างเก็บน้ำขนาด 93 ลบ.เมตร โรงไฟฟ้าถ่านหิน โรงบำบัดน้ำประปา/น้ำเสีย • ที่พักOne-Stop Service และTownship • ถนนในเขตนิคมอุตสาหกรรมและระบบระบายน้ำเพิ่มเติม • ถนนเชื่อมโยงทวาย-ชายแดนไทย/พม่าขยายเป็น 8 ช่องจราจร • สร้างศูนย์การค้าและสถานพักผ่อนหย่อนใจ • ปรับปรุงร่องน้ำ ที่มา ข้อมูลจาก บ.อิตัลไทยดีเวลลอปเมนท์ จำกัด แผนปฎิบัติการก่อสร้าง 3 ระยะ ในช่วง 10 ปี www.nesdb.go.th 37

  38. แนวทางเตรียมความพร้อมของไทย -มติกบส. ครั้งที่ 1/2554 (25 ม.ค. 2554) ระยะเร่งด่วน ระยะปานกลาง-ยาว สมช. และมท. เตรียมประกาศให้บ้านพุน้ำร้อนเป็นจุดผ่านแดนชั่วคราวภายใน 4-5 เดือน เตรียมความพร้อมของด่านศุลกากรที่บ้านพุน้ำร้อน 1. ศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาโครงสร้างพื้น ฐานเชื่อมต่อพม่าอย่างเต็มรูปแบบ (ถนน รถไฟ สายส่งไฟฟ้า ท่อก๊าซและน้ำมัน) จัดตั้งอนุกรรมการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเชื่อมโยงพื้นที่เศรษฐกิจฝั่งตะวันตกกับประเทศเพื่อนบ้านโดยมี รอง นรม. ไตรรงค์ เป็นประธานฯ และมี สศช.เป็นฝ่ายเลขานุการ 2. พัฒนาด่านพรมแดนและสิ่งอำนวยความสะดวกทางการค้า และยกระดับด่านพุน้ำร้อนเป็นด่านถาวร หาข้อยุติในประเด็นเส้นเขตแดนระหว่างประเทศไทยและสหภาพพม่า 3. เตรียมการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจบริเวณชายแดน และจังหวัดกาญจนบุรี เว้นพื้นที่ 200 ม. บริเวณชายแดนไว้ ยังไม่ได้รับการพัฒนา www.nesdb.go.th

  39. การพัฒนากาญจนบุรีเป็นศูนย์กลางภาคตะวันตกการพัฒนากาญจนบุรีเป็นศูนย์กลางภาคตะวันตก • สศช. ร่วมกับ มท. บูรณาการการพัฒนากาญจนบุรี เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของภูมิภาคตะวันตก โดย เป็นประตูเชื่อมเส้นทางท่าเรือทวาย ท่าเรือแหลมฉบัง ท่าเรือสีหนุวิลล์ ประเทศกัมพูชา และท่าเรือวังเตา ประเทศเวียดนาม • ศึกษาความเป็นไปได้และความเหมาะสมในการ พัฒนาพื้นที่บริเวณชายแดนและตามแนวพื้นที่พัฒนา เศรษฐกิจตอนใต้ เพื่อเป็นฐานการผลิตรองรับกิจกรรม ทางเศรษฐกิจที่จะเกิดขึ้นจากการพัฒนาท่าเรือและ นิคมอุตสาหกรรมทวาย • ผลการประชุมหารือกับจังหวัดกาญจนบุรี (19 ม.ค. 2554) เพื่อปรับปรุงร่างแผนบูรณาการฯนำเสนอ ครม. โดยจังหวัดมีข้อเสนอให้กาญจนบุรี เป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจด้านเกษตรอุตสาหกรรม และเน้นการพัฒนาการค้าชายแดนทั้ง 2 พื้นที่ คือ ด่านเจดีย์สามองค์ และบ้านพุน้ำร้อน จังหวัดกาญจนบุรี www.nesdb.go.th

More Related