130 likes | 410 Views
สำนวนไทย. สำนวน หมายถึง ถ้อยคำหรือข้อความ ที่กล่าวสืบต่อกันมาช้านาน มีความหมายไม่ตรงตามตัว หรือมีความหมายอื่นแฝงอยู่ เช่น กิ่งทองใบหยก ความรู้ท่วมหัว เอาตัวไม่รอด. มนัส บุญจำนงค์.
E N D
สำนวนหมายถึง ถ้อยคำหรือข้อความที่กล่าวสืบต่อกันมาช้านาน มีความหมายไม่ตรงตามตัว หรือมีความหมายอื่นแฝงอยู่ เช่น กิ่งทองใบหยก ความรู้ท่วมหัว เอาตัวไม่รอด มนัส บุญจำนงค์
ลักษณะของสำนวน จำแนกได้ดังนี้1) มีลักษณะเป็นโวหารและมีเสียงสัมผัสกัน เช่น ก่อร่าง สร้างตัว ขับไล่ไสส่งมีสัมผัสสระ สมจิตร จงจอหอ
2) มีลักษณะเป็นความเปรียบหรืออุปมาอุปไมยถึงสิ่งต่างๆ ดังนี้ อุปมา คือ สิ่งหรือข้อความที่ยกมาเปรียบสิ่งหนึ่งว่าเหมือนอีกสิ่งหนึ่ง มักจะมีคำว่า เหมือน เปรียบเหมือน ดุจดัง ไมเคิล เฟลป์ส
ส่วนอุปไมย คือ สิ่งหรือข้อความที่เปรียบเทียบกับสิ่งอื่นเพื่อให้เข้าใจแจ่มแจ้งใช้คู่กับอุปมา เช่น ขาวเหมือนสำลี เป็นการกล่าวเปรียบเทียบลักษณะของความขาวของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
เงียบเหมือนเป่าสาก เป็นการกล่าวเปรียบเทียบถึง ลักษณะความเงียบ กั๊วะ จิงจิง
3) มีลักษณะเป็นคำคม คือ ถ้อยคำที่เป็นคารม หรือโวหารอันคมคายเป็นคำพูดที่ให้แง่คิด มีความหมายลึกซึ้งกินใจ เช่น มีวิชาเหมือน มีทรัพย์อยู่นับแสน(สุนทรภู่)
4) มีลักษณะเป็นบุคลาธิษฐาน คือ สำนวนที่นำคำกริยาที่ใช้สำหรับมนุษย์ไปใช้กับสัตว์หรือสิ่งไม่มีชีวิตทำให้สิ่งเหล่านั้น มีอารมณ์กิริยา ความรู้สึกนึกคิดเหมือนคน เช่น น้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่า กระต่ายตื่นตูม วัวลืมตีน