1 / 24

Electrolysis & Coulometry

Electrolysis & Coulometry. Assoc. Prof. Dr. Jaroon Jakmunee SCB2324 E-mail: jakmunee@gmail.com. Electrolysis. การแยกสลายด้วยไฟฟ้า – การใช้ไฟฟ้าไปทำให้เกิดปฏิกิริยา (รีดอกซ์) จะต้องให้ศักย์ไฟฟ้าจากภายนอกแก่เซลล์ไฟฟ้า - ศักย์ที่ให้จะต้องสูงพอจึงจะเกิดปฏิกิริยาได้

valentine
Download Presentation

Electrolysis & Coulometry

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. Electrolysis & Coulometry Assoc. Prof. Dr. Jaroon Jakmunee SCB2324 E-mail: jakmunee@gmail.com

  2. Electrolysis การแยกสลายด้วยไฟฟ้า – การใช้ไฟฟ้าไปทำให้เกิดปฏิกิริยา (รีดอกซ์) จะต้องให้ศักย์ไฟฟ้าจากภายนอกแก่เซลล์ไฟฟ้า - ศักย์ที่ให้จะต้องสูงพอจึงจะเกิดปฏิกิริยาได้ เมื่อเกิดปฏิกิริยาจะมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านเซลล์ไฟฟ้า ต้องให้ศักย์เท่าไรจึงจะเกิดปฏิกิริยา....

  3. เซลล์ไฟฟ้าเคมีชนิดอิเล็กโทรไลติกเซลล์ไฟฟ้าเคมีชนิดอิเล็กโทรไลติก • ให้ศักย์ไฟฟ้าจากภายนอกแก่เซลล์ไฟฟ้า • เกิดปฏิกิริยาตรงข้ามกับกัลวานิกเซลล์ • ศักย์ไฟฟ้าที่ต้องให้จะมากกว่าศักย์ของกัลวานิกเซลล์เสมอ Minimum decomposition potential, Ed

  4. การเกิดปฏิกิริยาในเซลล์กัลวานิกและเซลล์อิเล็กโทรไลติก ทิศทางการเปลี่ยนแปลงของศักย์ไฟฟ้าเมื่อมีปฏิกิริยาเกิดขึ้นในเซลล์กัลวานิก Zn -0.76 Cu +0.34 Zn -0.76 Cu +0.34 Erev = 1.10 V ทิศทางการให้ศักย์ไฟฟ้าเพื่อให้เกิดปฏิกิริยาในทางตรงกันข้ามในเซลล์อิเล็กโทรไลติก

  5. ศักย์ไฟฟ้าที่เกี่ยวข้องในเซลล์อิเล็กโทรไลติก Ed = Erev + EIR + EC + Ea • Erev = ศักย์ไฟฟ้าที่ต้องใช้เพื่อต้านศักย์ไฟฟ้าของเซลล์กัลวานิกซึ่งมีค่าเท่ากับ ศักย์ไฟฟ้าของเซลล์ที่จุดสมดุล (reversible cell potential) จะมีค่าศักย์ไฟฟ้าเท่ากับที่วัดได้จากเทคนิคโพเทนชิออเมตรี • EIR = Ohmic drop หรือ IR drop เป็นศักย์ที่ตกคร่อมความต้านทานของอิเล็กโทรไลต์ในเซลล์(ความต้านทานหรือความนำไฟฟ้าของเซลล์วัดได้โดยเทคนิคการวัดความนำไฟฟ้า) • EC = ศักย์ไฟฟ้าโพลาไรเซชันความเข้มข้น (concentration polarization potential) คือศักย์ไฟฟ้าที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงความเข้มข้นที่ผิวขั้วไฟฟ้า โดยเมื่อเกิดปฏิกิริยาขึ้นทำให้ความเข้มข้นของสารที่ผิวขั้วไฟฟ้าต่ำกว่าความเข้มข้นในสารละลายส่วนใหญ่ (bulk solution) ทำให้ต้องให้ศักย์ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นเพื่อให้เกิดปฏิกิริยาได้เท่าเดิม • Ea = ศักย์ไฟฟ้าเกินกัมมันต์ (activation overpotential) คือศักย์ไฟฟ้าที่เกี่ยวข้องกับจลนศาสตร์ของปฏิกิริยา โดยต้องให้ศักย์ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นเพื่อเอาชนะพลังงานก่อกัมมันต์ที่จะทำให้เกิดปฏิกิริยาได้

  6. ศักย์ไฟฟ้าที่เกี่ยวข้องในเซลล์อิเล็กโทรไลติกศักย์ไฟฟ้าที่เกี่ยวข้องในเซลล์อิเล็กโทรไลติก Eapplied = Erev + EIR + EC + Ea Ea คือ ศักย์ไฟฟ้าเกิน ซึ่งจะเกิดขึ้นที่ทั้ง 2 ขั้ว

  7. การวัดศักย์ไฟฟ้าเกิน หรือการโพลาไรซ์ของขั้วไฟฟ้า • วัดศักย์ไฟฟ้าของขั้ว C เมื่อมีกระแสไหล • วัดอีกครั้งเมื่อไม่มีกระแสไหล •  = E ครั้งที่ 1 – E ครั้งที่ 2 • รูป set up ของเครื่องมือในการวัดศักย์ไฟฟ้าเกิน Tafel’s equation:   =  a  +  b log | i | | i | คือ ขนาดของความหนาแน่นของกระแสไฟฟ้า (ไม่คิดเครื่องหมาย) มีหน่วยเป็น A/cm2, a และ b คือค่าคงที่

  8. จลนศาสตร์ของปฏิกิริยาไฟฟ้าเคมีจลนศาสตร์ของปฏิกิริยาไฟฟ้าเคมี • (a) เป็นขณะที่ยังไม่มีการให้ศักย์แก่ขั้วไฟฟ้า: อิเล็กตรอนที่ขั้วและออร์บิทัลว่างของสารที่อยู่ในสารละลายมีพลังงานต่างกันเท่ากับ zFE • (b) เมื่อให้ศักย์ไฟฟ้า (ไปทางลบ) เป็นการเพิ่มพลังงานให้อิเล็กตรอนที่ขั้วไฟฟ้าจนขึ้นไปเท่ากับออร์บิทัลว่างของสารในสารละลาย • (c) เมื่อเพิ่มศักย์ไฟฟ้าขึ้นไปอีกเท่ากับศักย์ไฟฟ้าเกิน () จะทำให้อิเล็กตรอนมีพลังงานสูงขึ้น ซึ่งพลังงานส่วนหนึ่งจะลด G# ลงเท่ากับ FE ทำให้ระยะในการทะลุผ่านลดลง ทำให้เกิดปฏิกิริยาได้เร็วขึ้น

  9. สมการที่เกี่ยวข้อง สมการArrhenius: k = A e-Ea/RT; k = rate constant ใช้อธิบายจลนศาสตร์ของปฏิกิริยาเคมี สามารถเขียนสมการสำหรับกรณีปฏิกิริยาไฟฟ้าเคมีได้เป็น กรณีรูป (b) io = C  e-G#/RT กรณีรูป (c) จะมีกระแสไฟฟ้าไหลเท่ากับ i (กระแส แปรผันโดยตรงกับอัตราการเกิดปฏิกิริยา) i= C  e-(G# - FE/RT) = C  e-G#/RT .e FE/RT =  io eFE/RT หรือเขียนอย่างง่ายเป็นi = Ae ซึ่งเมื่อ take log จะได้สมการ Tafel   =  a  +  b log | i | แสดงว่า overpotential เกี่ยวข้องกับจลนศาสตร์ของปฏิกิริยา ถ้ามีค่ามาก แสดงว่ามีพลังงานกระตุ้นหรือกำแพงพลังงานในการเกิดปฏิกิริยาสูง

  10. ข้อดี-ข้อเสียของ overpotential ศักย์ไฟฟ้าเกินทำให้เกิดปฏิกิริยายากขึ้นต้องใช้พลังงานไฟฟ้ามากขึ้นเพื่อให้เกิดปฏิกิริยาได้ผลิตผลเท่าเดิม เรียกว่ามี energy efficiency ต่ำลง ตัวแปรที่มีผลต่อ : -ชนิดขั้วไฟฟ้า, ความขรุขระของผิวขั้ว กระบวนการผลิตอลูมิเนียม พลังงานที่ใช้ = ศักย์ไฟฟ้า x ปริมาณประจุ

  11. ข้อดีของ overpotential Hydrogen overvoltage on Hg electrode การเกิดปฏิกิริยารีดักชันของไฮโดรเจนไอออนไปเป็นแก๊สไฮโดรเจนบนขั้วแพลทินัมจะเกิดที่ 0 โวลต์เทียบกับ NHE แต่บนขั้วปรอท (Hg) จะต้องให้ศักย์เป็นลบมากกว่านี้ (-2 V) จึงจะเกิดปฏิกิริยา ซึ่งช่วงศักย์ 0 ถึง -2V นี้เป็นช่วงที่สารหลายชนิดเกิดรีดักชัน จึงใช้ขั้วปรอทในการศึกษาปฏิกิริยาเหล่านั้นได้โดยไม่มีการรบกวนจาก H+ บนขั้วตะกั่วในแบตเตอรีก็มี Hydrogen overvoltage สูงเช่นกัน แต่ถ้ามีโลหะปนเปื้อน แบตเตอรีจะเสื่อมเพราะชาร์ตไฟไม่เข้าเนื่องจากเกิดปฏิกิริยาของ H+ แทน Pb2+ Lead acid battery

  12. ขั้วไฟฟ้าชนิดโพลาไรซ์ได้และชนิดนอนโพลาไรซ์ขั้วไฟฟ้าชนิดโพลาไรซ์ได้และชนิดนอนโพลาไรซ์ • ขั้วไฟฟ้าโพลาไรซ์(polarized electrode) เมื่อมีการให้ศักย์ไฟฟ้าจากภายนอกแก่ขั้วไฟฟ้าจะทำให้ขั้วไฟฟ้ามีศักย์ไฟฟ้าเปลี่ยนไปตามศักย์ไฟฟ้าจากภายนอกโดยไม่เกิดกระแสไหลผ่านขั้ว ขั้วไฟฟ้าส่วนใหญ่จะมีสมบัติเป็นขั้วโพลาไรซ์ในบางช่วงศักย์ไฟฟ้าเท่านั้น • ขั้วไฟฟ้านอนโพลาไรซ์(nonpolarized electrode) จะเกิดปฏิกิริยาให้กระแสสูงมากเพื่อต้านการเปลี่ยนแปลงศักย์ไฟฟ้าเมื่อมีการให้ศักย์จากภายนอกเข้าไป

  13. ขั้วไฟฟ้าอ้างอิง-กลไกการเป็นขั้วนอนโพลาไรซ์ขั้วไฟฟ้าอ้างอิง-กลไกการเป็นขั้วนอนโพลาไรซ์ • Saturated calomel electrode (SCE) สามารถรักษาศักย์ไฟฟ้าให้คงที่ได้ แม้จะมีการให้สนามไฟฟ้าจากภายนอก

  14. การนำเซลล์อิเล็กโทรไลติกมาใช้ในการวิเคราะห์การนำเซลล์อิเล็กโทรไลติกมาใช้ในการวิเคราะห์ อิเล็กโทรกราวิเมตรี คูลอมบ์เมตรี โวลแทมเมตรี

  15. คูลอมบ์เมตรี (coulometry) คูลอมบ์เมตรีเป็นเทคนิคในการหาปริมาณสาร โดยการวัดปริมาณไฟฟ้าที่สัมพันธ์โดยตรงกับปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้น ตามกฎของฟาราเดย์เกี่ยวกับการแยกสลายด้วยไฟฟ้า โดยปริมาณไฟฟ้า 1 ฟาราเดย์ (F) จะเกี่ยวข้องกับการเกิดปฏิกิริยาของสาร 1 สมมูล ซึ่งเกี่ยวข้องกับอิเล็กตรอนจำนวน 1 โมล เช่น Ag+(aq) + e-  Ag(s) และ Zn2+(aq) + 2e-  Zn(s) ในกรณีของ Ag+ปริมาณ 1 สมมูลเท่ากับ 1 โมล ส่วนกรณี Zn2+ปริมาณ Zn2+ 1 สมมูลจะเท่ากับ 0.5 โมล เป็นต้น ไฟฟ้าทำหน้าที่เป็นรีเอเจนต์ตัวหนึ่งนั่นเอง โดยขั้วไฟฟ้าอาจทำหน้าที่ให้หรือรับอิเล็กตรอนขึ้นอยู่กับศักย์ของขั้วไฟฟ้าเมื่อเทียบกับสารที่มาเกิดปฏิกิริยา โดย ปริมาณไฟฟ้า 1 F = 6.022x1023 e- x 1.6022x10-19 C/e- = 96487 คูลอมบ์ (C)

  16. คูลอมบ์เมตรี (coulometry) ปริมาณไฟฟ้า (หรือจำนวนอิเล็กตรอน) สามารถวัดได้จากกระแสไฟฟ้าและเวลา โดยในกรณีกระแสคงที่ปริมาณไฟฟ้า (Q) ในหน่วยคูลอมบ์เท่ากับผลคูณของกระแสไฟฟ้า (A) กับเวลา (s) Q = it ปริมาณไฟฟ้าในหน่วยฟาราเดย์ = ปริมาณไฟฟ้าในหน่วยคูลอมบ์ /96487 จำนวนโมล (n) ของสารสัมพันธ์กับปริมาณไฟฟ้า ดังสมการ n = Q / zF ; z = จำนวนโมลของอิเล็กตรอน เทคนิคคูลอมบ์เมตรี อาศัยการวัดปริมาณไฟฟ้าที่ใช้ในการเกิดปฏิกิริยาของสารทั้งหมดแล้วคำนวณหาปริมาณสารจากปริมาณไฟฟ้าที่ใช้ไป การวิเคราะห์จะถูกต้องก็ต่อเมื่อประสิทธิภาพกระแส (current efficiency) เป็น 100 เปอร์เซ็นต์

  17. คูลอมบ์เมตรี (coulometry) เพื่อให้สารที่สนใจวิเคราะห์ในสารละลายเกิดปฏิกิริยาจนหมดอย่างมีประสิทธิภาพกระแสสูง ต้องใช้ขั้วไฟฟ้าขนาดใหญ่เท่าที่จะทำได้ เช่น mercury pool, Pt foil เป็นต้น คูลอมบ์เมตรีแบ่งออกเป็น 2 เทคนิคย่อย คือ 1. คูลอมบ์เมตรีแบบควบคุมศักย์ไฟฟ้า (controlled potential (potentiostatic) coulometry) - เพื่อให้สารบางชนิดเท่านั้นเกิดปฏิกิริยา 2. คูลอมบ์เมตรีแบบควบคุมกระแสไฟฟ้า (controlled current coulometry หรือ coulometric titration) - ใช้ไฟฟ้ามาผลิตไทแทรนต์

  18. คูลอมบ์เมตรีแบบควบคุมศักย์ไฟฟ้าคูลอมบ์เมตรีแบบควบคุมศักย์ไฟฟ้า ในคูลอมบ์เมตรีแบบควบคุมศักย์ไฟฟ้า ศักย์ไฟฟ้าของขั้วทำงานจะถูกควบคุมให้คงที่ตลอดเวลาเทียบกับขั้วอ้างอิง ลักษณะของเซลล์ไฟฟ้า (coulometric cell) แสดงดังรูป ซึ่งจะใช้ขั้วไฟฟ้าขนาดใหญ่และมีการคนสารละลายอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพกระแสสูง โดยเลือกศักย์ไฟฟ้าที่ analyte สามารถเกิดปฏิกิริยาโดยไม่มีการรบกวนจากสารอื่น เมื่อทำการแยกสลายด้วยไฟฟ้าจะพบว่ากระแสไฟฟ้าจะลดลงแบบเอ็กโปเนนเชียลเทียบกับเวลา (ตามความเข้มข้นที่ลดลง) ดังรูป ปริมาณไฟฟ้าหาได้จากการอินติเกรตพื้นที่ใต้กราฟ • it = io e-kt ; k = first order electrolytic rate constant • In it = ln io - kt ; • k = AD/ V • A = พื้นที่ผิวของขั้วไฟฟ้า • D = ค่าสัมประสิทธิ์ของการแพร่ •  = ความหนาของชั้นการแพร่ • V = ปริมาตรของสารละลาย • log it = log io – kt /2.303 • ถ้าสร้างกราฟระหว่าง log it กับ t จะได้เส้นตรงที่มีความชันเท่ากับ –k /2.303

  19. คูลอมบ์เมตรีแบบควบคุมศักย์ไฟฟ้า มีการประยุกต์ในการวิเคราะห์สารอนินทรีย์หลายชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นเทคนิคการวิเคราะห์ยูเรเนียมและพลูโตเนียมที่มีการรบกวนการวิเคราะห์น้อยมาก รวมทั้งใช้ในการวิเคราะห์ (และสังเคราะห์) สารอินทรีย์หลายชนิด เช่น กรดไตรคลอโรอะซิติก (trichloroacetic acid) และ กรดพิคริก (picric acid) ดังสมการ ซึ่งเทคนิคนี้สามารถใช้หาจำนวนอิเล็กตรอนที่เกี่ยวข้องในปฏิกิริยาได้ด้วย คูลอมบ์เมตรีแบบควบคุมศักย์ไฟฟ้า

  20. คูลอมบ์เมตรีแบบควบคุมกระแส อาจเรียกอีกอย่างว่า คูลอมบ์เมตริกไทเทรชันเนื่องจากเป็นการนำเทคนิคคูลอมบ์เมตรี มาใช้ในการผลิตไทแทรนต์สำหรับการไทเทรตด้วยอัตราคงที่ (ด้วยการให้กระแสคงที่) ลักษณะคล้ายกับการเติมไทแทรนต์จากบิวเรตด้วยอัตราคงที่ ไทแทรนต์ที่ผลิตขึ้นจะทำปฏิกิริยากับสารที่ต้องการวิเคราะห์ (titrand) จนกระทั่งถึงจุดยุติ แล้วจึงคำนวณหาปริมาณไทแทรนต์ที่ใช้ในการไทเทรตจากปริมาณไฟฟ้าที่ใช้ไป ซึ่งจะใช้หาปริมาณ analyte หรือ titrand ที่เกี่ยวข้องในปฏิกิริยาการไทเทรต ต่อไป เพื่อให้ได้ผลการวิเคราะห์ที่ถูกต้อง ปฏิกิริยาไฟฟ้าเคมีในการผลิตไทแทรนต์จะต้องมี ประสิทธิภาพกระแส 100 เปอร์เซ็นต์ นั่นคือ ต้องไม่มีปฏิกิริยาข้างเคียงอื่น ๆ เกิดขึ้น และ titrand เองต้องไม่เกิดปฏิกิริยาที่ขั้วไฟฟ้า วิธีคูลอมบ์เมตรีจะมีความละเอียดกว่าการวัดปริมาตร เนื่องจากใช้ 96487 คูลอมบ์ต่อการเกิดปฏิกิริยา 1 สมมูล ซึ่งถ้าใช้กระแสคงที่ 1 มิลลิแอมแปร์ใช้เวลา 1 วินาที จะเทียบเท่ากับปริมาณ 10-8 สมมูล ปกติจะใช้กระแสคงที่ในช่วง 1-100 มิลลิแอมแปร์ โดยมีความคลาดเคลื่อนของกระแสไฟฟ้าน้อยกว่า 0.1 เปอร์เซ็นต์ ตัวแปรสำคัญอีกส่วน คือ การตรวจวัดจุดยุติและเวลาให้ถูกต้อง ซึ่งมักจะใช้การตรวจวัดแบบโพเทนชิออเมตรีและแอมเพอโรเมตรี ไทแทรนต์จะถูกผลิตจากสารเริ่มต้น (precursor) ในขณะที่ทำการไทเทรตและถูกใช้ในทันที จึงสามารถใช้ไทแทรนต์ที่ไม่เสถียรในการไทเทรตได้ คูลอมบ์เมตรีแบบควบคุมกระแสหรือคูลอมบ์เมตริกไทรเทรชัน

  21. มีการพัฒนาวิธีคูลอมบ์เมตริกไทเทรชันไปใช้กับการไทเทรตปฏิกิริยาต่าง ๆ ดังตาราง คูลอมบ์เมตรีแบบควบคุมกระแสหรือคูลอมบ์เมตริกไทรเทรชัน

  22. การประยุกต์ที่ใช้อย่างกว้างขวางมากที่สุด และเป็นระบบวิเคราะห์ที่ดีที่สุดสำหรับการวิเคราะห์น้ำปริมาณน้อย ๆ คือ Karl-Fisher titrationsในระบบดังกล่าวจะมีการผลิตไอโอดีนที่ขั้วแอโนด ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญของ Karl-Fisher titrant ปฏิกิริยาที่เกี่ยวข้องแสดงดังสมการ C6H5N.I2+ C6H5.SO2 + C6H5N + CH3OH + H2O  2C6H5N.HI + C6H5NH.SO4CH3 โดยตรวจวัดจุดยุติด้วยเทคนิคแอมเพอโรเมตรี (biamperometric detection) ซึ่งมีความไวสูงและตอบสนองเร็ว ทำให้การวิเคราะห์มีความถูกต้องและแม่นยำสูง คูลอมบ์เมตรีแบบควบคุมกระแสหรือคูลอมบ์เมตริกไทรเทรชัน

  23. ลักษณะเซลล์สำหรับทำคูลอมบ์เมตริกไทเทรชัน แสดงดังรูป ซึ่งมักจะแยกขั้วไฟฟ้าทั้งสองออกจากกันโดยมีสะพานเกลือคั่นเพื่อป้องกันการเกิดปฏิกิริยารบกวน นอกจากนี้ ยังมีการออกแบบระบบผลิต ไทแทรนต์ที่ใช้การไหล ทั้งแบบแขนเดียวและ 2 แขน ดังรูป ซึ่งช่วยให้การผลิตไทแทรนต์ทำได้ต่อเนื่องโดยไม่มีการรบกวนจากองค์ประกอบของสารตัวอย่าง เนื่องจากขั้วไฟฟ้าจะสัมผัสกับสารละลายอิเล็กโทรไลต์เท่านั้น เซลล์คูลอมเมตริกไทเทรชัน

More Related