1.34k likes | 2.24k Views
สัญญายืม. วิชากฎหมายพาณิชย์ 2 อ.สุธาสินี ธิติสุทธิ. ยืมใช้คงรูป ( Loan for use ) ผู้ยืม Borrower. ให้ใช้สอยทรัพย์สินได้เปล่า. ผู้ให้ยืม Lender. คืนทรัพย์สินที่ยืม. ลักษณะของสัญญายืมใช้คงรูป ม. 640. ยืมใช้คงรูป คือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่า ผู้ให้ยืม ให้
E N D
สัญญายืม วิชากฎหมายพาณิชย์ 2 อ.สุธาสินี ธิติสุทธิ
ยืมใช้คงรูป(Loan for use) ผู้ยืม Borrower ให้ใช้สอยทรัพย์สินได้เปล่า ผู้ให้ยืม Lender คืนทรัพย์สินที่ยืม
ลักษณะของสัญญายืมใช้คงรูป ม. 640 ยืมใช้คงรูป คือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่า ผู้ให้ยืม ให้ บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่าผู้ยืม ได้ใช้สอยทรัพย์สินสิ่งหนึ่งสิ่งใดได้ เปล่า และผู้ยืมตกลงว่าจะคืนทรัพย์นั้นเมื่อใช้สอยเสร็จแล้ว • เป็นสัญญาที่ไม่มีค่าตอบแทน ย่อมมีผลให้สัญญายืมใช้คงรูปเป็นสัญญาที่ถือเอาตัวผู้ยืมเป็นสาระสำคัญแห่งสัญญาด้วย มาตรา 648 บัญญัติว่า”อันการยืมใช้คงรูปย่อมระงับสิ้นไปด้วยมรณะแห่งผู้ยืม”
เป็นสัญญาที่ไม่มีการโอนกรรมสิทธิ์ในวัตถุแห่งสัญญาเป็นสัญญาที่ไม่มีการโอนกรรมสิทธิ์ในวัตถุแห่งสัญญา • เป็นเพียงการมอบการครอบครองในตัวทรัพย์เท่านั้น ส่วนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ยังเป็นของผู้ให้ยืม • ผลของการเป็นสัญญาที่ไม่มีการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ คือ
2.1ผู้ให้ยืมอาจไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่ให้ยืมก็ได้ตัวอย่าง นายก. เช่าหนังสือ FHM จากร้านดาวมาอ่าน นายก. อาจนำหนังสือเล่มดังกล่าวไปให้นาย ข. ยืมต่อไปก็ได้ สัญญายืมใช้คงรูปมีผลสมบูรณ์ผูกพัน คือ นาย ข.มีหนี้ที่จะต้องคืนหนังสือเล่มเมื่ออ่านเสร็จแล้ว และนายก.ก็มีสิทธิที่จะเรียกให้นาย ข. ส่งมอบหนังสือคืนให้กับตนตามสัญญา รวมทั้งอาจฟ้องเรียกค่าเสียหายจากผู้ยืมที่ทำให้ทรัพย์ที่ยืมเสียหาย เช่น นาย ข. อาจทำหนังสือขาดหรือเปื้อนน้ำ
2.2 ในกรณีทรัพย์ที่ยืมสูญหายหรือบุบสลายอันเป็นผลจากการกระทำของบุคคลภายนอก ผู้ยืมไม่มีสิทธิเรียกร้องให้มีการชดใช้ราคาทรัพย์ หรือเรียกค่าสินไหมทดแทนในนามของตนเอง • ฎ 1180/2519ก. ยืมรถจักรยานยนต์ของน้องชายแล้วถูก ข. ขับรถชน ก. ฟ้องให้ ข.ใช้ค่าซ่อมและค่าเสื่อมราคาซึ่งเป็นค่าความเสียหายเกี่ยวกับตัวทรัพย์โดยตรงไม่ได้ เพราะไม่ใช่เจ้าของรถ • ฎ 3451/2524ทรัพย์ที่ยืมบุบสลายเพราะการกระทำของบุคคลภายนอก มิใช่เกิดจากการกระทำของผู้ยืม ผู้ยืมจึงไม่ต้องรับผิดต่อเจ้าของทรัพย์ เมื่อไม่ต้องรับผิดต่อเจ้าของทรัพย์ ผู้ยืมก็ไม่อยู่ในฐานะรับช่วงสิทธิของเจ้าของทรัพย์ที่จะเรียกร้องให้ผู้ทำละเมิดรับผิดได้ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
2.3 ถ้าเกิดความวินาศภัยแห่งทรัพย์ที่ยืม โดยมิใช่เป็นความผิดของผู้ยืมแล้ว ผู้ยืมย่อมหลุดพ้นความรับผิดโดยสิ้นเชิง หลักความวินาศแห่งทรัพย์ย่อมตกแก่ผู้เป็นเจ้าของ (Res perit domino) ต.ย. นาย ก. ยืมรถยนต์ นาย ข. ไปตามหาโคที่หายไป รถแล่นความเร็ว30-40 ก.ม./ ชม. มีรถโดยสารชนท้าย รถพลิกคว่ำลงข้างทาง นาย ก.ไม่มีส่วนร่วมในการทำให้รถยนต์เสียหาย เพราะใช้ทรัพย์อย่างวิญญูชนพึงกระทำแล้ว นาย ก. จึงไม่ต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดแก่รถ
ต.ย. ก. ยืมรถ ข. เพื่อใช้ในการเดินทางไปทำงานที่กรุงเทพฯ ในระหว่างใช้รถปรากฏเกิดน้ำท่วมอย่างฉับพลัน ก. บังคับรถไม่ได้ รถถูกน้ำพัดชนราวสะพานทำให้รถยนต์เสียหาย ดังนี้ ก. ไม่ต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดแก่รถ (เกิดจากเหตุสุดวิสัย)
3. สัญญาบริบูรณ์ต่อเมื่อมีการส่งมอบทรัพย์ ม.641 การส่งมอบ คือ การโอนการครอบครองทรัพย์ที่ยืมจากผู้ให้ยืมไปยังผู้ยืม “บริบูรณ์” Complete หมายความว่าอย่างไร ฝ่ายแรก การส่งมอบเป็นแบบของสัญญายืม หากไม่มีการส่งมอบทรัพย์ แม้ทำเป็นหนังสือ ถือว่าสัญญาไม่บริบูรณ์หรือไม่สมบูรณ์ หรือเป็นโมฆะ ฝ่ายที่สอง การส่งมอบไม่เป็นแบบ การส่งมอบเป็นส่วนประกอบของการแสดงเจตนาในการทำนิติกรรมบางประเภท ถ้าไม่มีการส่งมอบทรัพย์ ถือว่าการแสดงเจตนายังไม่สมบูรณ์ นิติกรรมจึงยังไม่เกิดแต่ไม่ตกเป็นโมฆะ
ไม่บริบูรณ์ is not complete ≠ โมฆะ Void บริบูรณ์ หมายความว่า หากตราบใดผู้ให้ยืมยังไม่ส่งมอบทรัพย์ให้แก่ผู้ยืม สัญญายืมจะยังไม่เกิด ยังบังคับอะไรไม่ได้ แต่เมื่อใดมีการส่งมอบทรัพย์สัญญาก็เกิดขึ้นและผูกพันกัน
สัญญาจะให้ยืมมีได้หรือไม่สัญญาจะให้ยืมมีได้หรือไม่ ก. ขอยืมรถจักรยานยนต์ ข. ใช้ในอาทิตย์หน้า ต่อมา ข. เปลี่ยนใจ ก.จะฟ้องให้ ข. ส่งมอบรถจักรยานยนต์ให้แก่ตนได้หรือไม่
4. วัตถุแห่งสัญญายืมใช้คงรูปเมื่อพิจารณาตามม. 138 • วัตถุอันมีรูปร่างสังหาริมทรัพย์ ? • อสังหาริมทรัพย์ ? • สำหรับวัตถุไม่มีรูปร่าง ? สัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ ( licensing agreement)
ผลแห่งสัญญายืมใช้คงรูปผลแห่งสัญญายืมใช้คงรูป 1. สิทธิผู้ยืม • สิทธิที่จะใช้สอยหรือแสวงหาประโยชน์จากตัวทรัพย์ที่ยืมตามสภาพแห่งทรัพย์ที่ผู้ให้ยืมส่งมอบ เช่น ขอยืมชุดใส่ไปงานเลี้ยง ชุดมีรอยขาดจะเรียกให้ผู้ให้ยืมจัดการซ่อมแซมไม่ได้
สิทธิได้ใช้ทรัพย์ที่ยืมตลอดไปตามอายุสัญญาที่ตกลงกัน แยกได้ 2 กรณี • มาตรา 646 “ถ้ามิได้กำหนดเวลากันไว้ ท่านให้คืนทรัพย์สินที่ยืมเมื่อผู้ยืมได้ใช้สอยทรัพย์สินนั้นเสร็จแล้วตามการอันปรากฏในสัญญา แต่ผู้ให้ยืมจะเรียกคืนก่อนนั้นก็ได้ เมื่อเวลาได้ล่วงไปพอแก่การที่ผู้ยืมจะได้ใช้สอยทรัพย์สินนั้นเสร็จแล้ว ถ้าเวลาก็มิได้กำหนดกันไว้ ทั้งในสัญญาก็ไม่ปรากฏว่ายืมไปใช้เพื่อการใดไซร้ ท่านว่าผู้ให้ยืมจะเรียกของคืนเมื่อใดก็ได้”
กรณีไม่ได้กำหนดเวลายืม ต้องให้ผู้ยืมใช้สอยทรัพย์ที่ยืมเสียก่อน จึงจะเรียกคืนได้ แต่ถ้ายืมนานเกินควร ผู้ให้ยืมจะเรียกคืนก่อนก็ได้ ม. 646ว. แรก • เช่น ยืมรถขุด เพื่อขุดดินทำบ่อปลา ไม่ได้กำหนดระยะเวลากันไว้ ผู้ให้ยืมย่อมมีสิทธิเรียกคืนเมื่อขุดบ่อปลาเสร็จแล้ว หรือถ้าระยะเวลาผ่านไป 1 เดือนแล้วก็ยังขุดบ่อปลาไม่เสร็จ ซึ่งตามความเป็นจริงเพียงแค่ 10 วันน่าจะเสร็จ ดังนี้ผู้ให้ยืมก็มีสิทธิเรียกคืนก่อนได้
กรณีไม่ได้กำหนดเวลายืม และ ไม่รู้เอาไปใช้ในการใด ผู้ให้ยืมเรียกคืนทรัพย์ในเวลาใดก็ได้ ม. 646ว. สอง • เช่น ยืมมีดไม่รู้เอาไปใช้ทำอะไร ผู้ให้ยืมมีสิทธิเรียกคืนเมื่อใดก็ได้
2. หน้าที่หรือหนี้ของผู้ยืม 2.1 การเสียค่าใช้จ่ายต่างๆ ม.642 2.2 ค่าใช้จ่ายรักษาทรัพย์ ม.647 - ผู้ยืมรับผิดชอบเฉพาะค่าใช้จ่ายอันเป็นปกติในการบำรุงรักษาทรัพย์ที่ยืม • ค่าใช้จ่ายพิเศษ ใครควรเป็นผู้รับผิดชอบ ? เช่น รถยนต์ที่ยืมมา คอมพ์แอร์เสีย ไดร์ชาร์ตหรือไดร์สตาร์ทเสียใครรับผิดชอบ
2.3 การสงวนรักษาทรัพย์ที่ยืม ม.644 - ผู้ยืมมีหน้าที่ต้องสงวนทรัพย์สินเช่นวิญญูชนจะพึงสงวนทรัพย์สินของตนเอง
- ถ้าสงวนทรัพย์สินเช่นวิญญูชนแล้ว ทรัพย์ที่ยืมสูญหายหรือบุบสลาย ผู้ยืมไม่ต้องรับผิดชอบ เช่น คนปกติทั่วไปเมื่อใช้รถเสร็จ ในกรณีที่มีที่จอดรถ ก็ต้องจอดในที่มีรั้วปิดกั้น หรือถ้าไม่มีที่จอดรถต้องจอดข้างถนนก็ต้องล็อคประตู ล็อคกระจก จอดในที่มีแสงสว่าง ไม่ใช่จอดในที่เปลี่ยวไม่มีคน หากผู้ยืมได้ใช้ความระมัดระวังดังกล่าวแล้ว แต่รถยังถูกขโมยหรือถูกทุบกระจกแตก ผู้ยืมก็ไม่ต้องรับผิด
- ดังนั้นถ้าปรากฏว่าผู้ยืมไม่ได้สงวนทรัพย์ที่ยืม หรือสงวนแต่ไม่ถึงระดับของวิญญูชน ถือว่าผู้ยืมผิดหน้าที่ ผู้ให้ยืมย่อมมีสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทน ตามม. 215 และผู้ให้ยืมบอกเลิกสัญญาได้ ตาม ม. 645 หากมีความสูญหายหรือบุบสลายเป็นผลจากการไม่สงวนทรัพย์สินที่ยืม เป็นละเมิดตาม ม.420
2.4 การใช้ทรัพย์สินที่ยืม ม.643 ม.643 บัญญัติว่า “ทรัพย์สินซึ่งยืมนั้น ถ้าผู้ยืมเอาไปใช้การอย่างอื่นนอกจากการอันเป็นปกติแก่ทรัพย์นั้น หรือนอกจากการปรากฏในสัญญาก็ดี เอาไปให้บุคคลภายนอกใช้สอยก็ดี เอาไว้นานเกินควรกว่าที่เคยจะเอาไว้ก็ดี ท่านว่าผู้ยืมจะต้องรับผิดในเหตุทรัพย์สินนั้นสูญหายหรือบุบสลายไปอย่างหนึ่งอย่างใด แม้ถึงจะเป็นเพราะเหตุสุดวิสัย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าถึงอย่างไร ทรัพย์สินนั้นก็จะต้องสูญหายหรือบุบสลายอยู่นั่นเอง”
ผู้ยืมมีหน้าที่ 4 กรณี 1. ผู้ยืมต้องไม่เอาทรัพย์ที่ยืมไปใช้เป็นการอย่างอื่นนอกจากการอันปกติแก่ทรัพย์ 2. ผู้ยืมต้องไม่ใช้ทรัพย์ที่ยืมนอกจากการอันปรากฏในสัญญา 3. ผู้ยืมจะต้องไม่นำทรัพย์ที่ยืมไปให้บุคคลภายนอกใช้สอย ฎ 1892/2535 4. ผู้ยืมต้องไม่เอาทรัพย์ที่ยืมไปไว้นานเกินควร
ผู้ยืมผิดหน้าที่ แม้ความเสียหายที่เกิดกับทรัพย์ที่ยืมเป็นเหตุสุดวิสัย มิใช่ความผิดของผู้ยืม ผู้ยืมก็ต้องรับผิดต่อผู้ให้ยืม ตาม ม. 643
ถ้าผู้ยืมไม่ผิดหน้าที่ ผู้ยืมไม่ต้องรับผิด • ต.ย. ยืมโทรศัพท์มือถือมาใช้ 1 อาทิตย์ ยืมได้ 2 วัน ไฟไหม้บ้านผู้ยืม เพราะเพื่อนบ้านประมาทจุดไฟเผาขยะโดยไม่เฝ้า ทำให้โทรศัพท์เสียหาย • แต่ถ้ายืมโทรศัพท์มาใช้ร่วม 1 เดือนไม่ยอมคืน ไฟไหม้โทรศัพท์ ผู้ยืมต้องรับผิดชอบ • เว้นแต่พิสูจน์ได้ว่าอย่างไรโทรศัพท์ก็ต้องสูญหายหรือบุบสลาย เช่น บ้านผู้ยืมและบ้านผู้ให้ยืม บ้านต้นเพลิงอยู่ติดกัน ไฟลามทั้ง 3 หลัง แม้โทรศัพท์อยู่ที่ผู้ให้ยืมก็ต้องเสียหายเพราะไฟไหม้เช่นกัน ผู้ยืมไม่ต้องรับผิด
2.5 การคืนทรัพย์ที่ยืม • การคืนทรัพย์ที่ยืมต้องเป็นทรัพย์อันเดียวกันกับที่ยืม • ในกรณีที่ผู้ยืมไม่สามารถคืนทรัพย์ที่ยืมได้ เช่น เกิดการสูญหายเพราะความผิดของผู้ยืม ผู้ยืมต้องชดใช้ราคาทรัพย์ที่ยืมแทน
3. สิทธิของผู้ให้ยืม 3.1สิทธิบอกเลิกสัญญาม. 645 3.2 สิทธิในการเรียกทรัพย์ที่ยืมคืน 3.3 สิทธิเรียกร้องให้ชดใช้ราคาทรัพย์ม. 215 ม.213 ม. 222
4. หน้าที่หรือหนี้ของผู้ให้ยืม - หนี้ในที่นี้เป็นหนี้ที่เกิดขึ้นภายหลังที่ทำให้ผู้ให้ยืมต้องมีความรับผิดชอบได้ หนี้ดังกล่าวได้แก่ 4.1 การเสียค่าใช้จ่ายบำรุงรักษาทรัพย์ ที่ยืมในกรณีพิเศษ 4.2 การรับผิดเพราะความชำรุดบกพร่องแห่งทรัพย์ที่ยืม
ความสิ้นสุดแห่งสัญญายืมใช้คงรูปความสิ้นสุดแห่งสัญญายืมใช้คงรูป 1. ความมรณะของผู้ยืม ม. 648 2. เมื่อมีการบอกเลิกสัญญา ม. 645 3. เมื่อผู้ยืมคืนทรัพย์ที่ยืมให้แก่ผู้ให้ยืม 4. เมื่อมีการเรียกให้คืนทรัพย์ที่ยืม ม. 646 5. เมื่อทรัพย์ที่ยืมเกิดการสูญหายหรือสิ้นสภาพไป
อายุความ • การใช้สิทธิเรียกร้องอันเกี่ยวกับการปฏิบัติชำระหนี้โดยมิชอบตามสัญญายืมใช้คงรูปมีกำหนดระยะเวลา 6 เดือนนับจากสิ้นสัญญา ตามม. 649 • เช่น นายเอกยืมรถยนต์นายโทมาแล้วทำผิดหน้าที่ ตามมาตรา 643 โดยการนำรถยนต์ไปบรรทุกดิน หินจนรถเสียหาย ผู้ให้ยืมต้องฟ้องภายใน 6 เดือนนับแต่วันสิ้นสัญญา
ฟ้องเพื่อให้ชดใช้ราคาทรัพย์หรือฟ้องเรียกเอาทรัพย์ที่ยืมคืน อาศัยหลักเกณฑ์ทั่วไป คือ 10 ปี ตาม ม. 193/30 • เช่น นายดำยืมรถยนต์ที่นายแดงเช่ามาเพื่อใช้ในการทอดกฐิน มีกำหนดเวลา 7 วัน เมื่อครบกำหนดแล้วนายดำไม่ยอมส่งคืนรถยนต์ให้นายแดง นายแดงจะต้องฟ้องเรียกรถยนต์คืนจากนายดำภายใน 10 ปี
สัญญายืมใช้สิ้นเปลือง ม. 650 มาตรา 650บัญญัติว่า “อันว่ายืมใช้สิ้นเปลืองคือสัญญาซึ่งผู้ให้ยืมโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินชนิดใช้ไปสิ้นไปนั้นเป็นปริมาณมีกำหนดให้แก่ผู้ยืม และผู้ยืมตกลงว่าจะคืนทรัพย์สินเป็นประเภท ชนิด และปริมาณเช่นเดียวกันให้แทนทรัพย์สินซึ่งให้ยืมนั้น สัญญานี้ย่อมบริบูรณ์ต่อเมื่อส่งมอบทรัพย์สินที่ยืม”
สาระสำคัญแห่งสัญญายืมใช้สิ้นเปลืองสาระสำคัญแห่งสัญญายืมใช้สิ้นเปลือง 1. เป็นสัญญาที่มีการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน - ย่อมทำให้ผู้ยืมมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้น - ผู้ยืมต้องคืนทรัพย์ตามสัญญาเป็นประเภท ชนิด ปริมาณเดียวกันกับทรัพย์สินที่ยืม
1.1 ผู้ให้ยืมต้องเป็นเจ้าของทรัพย์สินหรือมีกรรมสิทธิ์ที่ให้ยืม - หากผู้ให้ยืมมิได้เป็นเจ้าของ สัญญายืมไม่สมบูรณ์ แม้ผู้ยืมจะยืมโดยสุจริตก็ตาม - อย่างไรก็ตาม ผู้ให้ยืมไม่ได้เป็นเจ้าของทรัพย์ แต่ผู้เป็นเจ้าของทรัพย์ได้รับรองในการกระทำของผู้ให้ยืม ส.ยืมสมบูรณ์ ผู้ยืมได้ประโยชน์จากสัญญา จะปฏิเสธว่าผู้ให้ยืมไม่มีอำนาจฟ้องไม่ได้ ฎ 16/2534 - ผู้ให้ยืมหมดสิทธิในการติดตามเอาทรัพย์คืนในฐานะเป็นเจ้าของทรัพย์ จะมีเพียงสิทธิตาม ส.ยืมเท่านั้น
1.2 กรณีที่มีความเสียหายหรือสูญหายแก่ทรัพย์ที่ยืม ถ้ามีความเสียหายเกิดขึ้นโดยมิใช่ความผิดของผู้ยืม ผู้ยืมต้องรับผลในความเสียหาย และมีหน้าที่ต้องคืนทรัพย์ จะยกภัยพิบัติที่เกิดขึ้นปฏิเสธความรับผิดในการคืนทรัพย์ที่ยืมตามสัญญาไม่ได้
ตัวอย่าง นาย ก. ยืมปูนซีเมนต์ ตราช้าง จากร้านนาย ข. 10 ถุง มาขายให้ลูกค้า หลังจากรับปูนมาแล้วน้ำท่วม ปูนที่ยืมมาเสียหายทั้งหมด ดังนี้ นายก. ต้องรับผลในความเสียหายนั้น และเมื่อถึงกำหนดต้องคืนปูน 10 ถุงให้แก่ นาย ข.
2. เป็นสัญญาที่มีค่าตอบแทนได้2. เป็นสัญญาที่มีค่าตอบแทนได้ มีค่าตอบแทนในการใช้ทรัพย์ได้ ยืมเงินตกลงให้ดอกเบี้ย ร้อยละ 15 ต่อปี ยืมข้าวเปลือก 2 ถังตกลงให้ข้าวเปลือก 1 ถัง
3. วัตถุแห่งสัญญายืมใช้สิ้นเปลือง3. วัตถุแห่งสัญญายืมใช้สิ้นเปลือง - “ทรัพย์ชนิดใช้ไปสิ้นไป” หมายความถึง ทรัพย์สินประเภทที่เมื่อมีการใช้ทรัพย์นั้นแล้ว ตัวทรัพย์สินนั้นย่อมจะเสื่อมสภาวะสลายหายไป หรือสิ้นเปลืองหมดไป เรียกว่า “โภคยทรัพย์”
ข้อสังเกต • อย่างไรก็ตามแม้ตามสภาพแห่งทรัพย์จะไม่สิ้นไปหมดไปเพราะการใช้ก็ตาม แต่หากต้องการจะใช้ในลักษณะที่เป็นการทำลายก็ได้ เช่น การขอยืมโคมาฆ่าเพื่อทำอาหารเลี้ยงแขก หรือขอยืมไม้ ตะปู สังกะสีเพื่อนำมาปลูกบ้าน ซึ่งถือเป็นการเอาทรัพย์นั้นมาอย่างเด็ดขาด • ฎ 905/2505
4. เป็นสัญญาที่ตกลงคืนทรัพย์ที่ยืมด้วยทรัพย์สินอื่นที่เป็นประเภท ชนิดและปริมาณเดียวกับที่ยืม 5. เป็นสัญญาที่สมบูรณ์โดยการส่งมอบ
ผลแห่งสัญญายืมใช้สิ้นเปลืองผลแห่งสัญญายืมใช้สิ้นเปลือง 1. หนี้ในการเสียค่าใช้จ่าย ม.651 2. หนี้ในการคืนทรัพย์สินที่ยืม แยกพิจารณาได้ดังนี้ 2.1 สัญญายืมมีกำหนดเวลาใช้คืน ส.กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้แน่นอน เมื่อฝ่ายหนึ่งผิดนัด อีกฝ่ายมีสิทธิบอกเลิก ส. ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวก่อน ฎ 2220/2538
ในกรณีผู้ยืมตายก่อนถึงกำหนดชำระใน ส. ผู้ให้กู้มีสิทธิเรียกให้ผู้รับมรดกหรือผู้จัดการมรดกชำระหนี้ทันทีได้หรือไม่ ฎ 3994/2540 ผู้ให้ยืมต้องทวงถามก่อนหรือไม่ ฎ 2620/2517 สัญญากู้มีข้อความว่า “ผู้กู้จะชำระหนี้ให้เสร็จสิ้นภายใน 5 ปี แต่ผู้ให้กู้มีสิทธิเรียกให้ผู้กู้ชำระหนี้ทั้งหมดหรือบางส่วนก่อนถึงกำหนดได้โดยผู้ให้กู้ไม่ต้องแสดงเหตุผล” ข้อสัญญานี้ใช้บังคับได้หรือไม่ ดูใน ฎ 866/2534,ฎ 6216/2537,ฎ 5760/2540
2.2 สัญญายืมไม่มีกำหนดระยะเวลาใช้คืน ม. 652“ผู้ให้ยืมจะบอกกล่าว...ก็ได้”จะตีความอย่างไร ? ฝ่ายแรก ผู้ให้ยืมมีสิทธิเลือกว่าจะใช้สิทธิเรียกโดยพลัน ตามม. 203 หรือใช้วิธีบอกกล่าว ตามม. 652 ตามแต่จะเลือก ฝ่ายที่สอง ผู้ให้ยืมจะต้องบอกกล่าวแก่ผู้ยืมเสียก่อนว่าจะให้คืนทรัพย์เมื่อใดม.652
ในกรณีผู้ยืมไม่ชำระหนี้ (คืนทรัพย์สิน) ผู้ให้ยืมย่อมมีสิทธิฟ้องเรียกให้ชดใช้ราคาทรัพย์ที่ยืม และอาจเรียกค่าเสียหายอันเกิดจากการไม่ชำระหนี้ ได้ตาม ม. 222 การฟ้องเรียกให้ชดใช้ราคาทรัพย์สินที่เป็นประเภท ชนิด ปริมาณเดียวกันกับทรัพย์ที่ยืม จะคิดราคา ณ.เวลาและ สถานที่ใด เช่น ยืมน้ำปลา 1 โหล ขณะยืมขวดละ 20 บาท ต่อมาผู้ให้ยืมเรียกให้คืน น้ำปลาขวดละ 25 บาท ถ้าผู้ยืมไม่สามารถคืนน้ำปลาได้ ต้องชดใช้ในราคาขวดละเท่าไร
อายุความ 1. กรณียืมใช้สิ้นเปลืองทั่วไปใช้อายุความ 10 ปี นับแต่วันที่หนี้ตาม ส.ยืมถึงกำหนดชำระตามมาตรา 193/30 - ถ้าไม่ได้ตกลงกันไว้ว่าคืนเมื่อใดและอนุมานโดยพฤติการณ์ทั้งปวงไม่ได้ ผู้ให้ยืมมีสิทธิเรียกคืนได้โดยพลัน ม. 203 ว.หนึ่ง อายุความ 10 ปีเริ่มนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป (นับแต่วันที่ยืม) ม.193/12
การที่ลูกหนี้ชำระหนี้บางส่วนเป็นการรับสภาพหนี้ อายุความสะดุดหยุดลง ต้องเริ่มนับอายุความใหม่เวลาใด ความเห็นแรก ต้องเริ่มนับอายุความใหม่นับถัดจากวันที่มีการชำระหนี้ ตามม. 193/3 ว. 2 และม. 193/15 ว.2 ความเห็นที่สอง ต้องเริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่เวลาเมื่อเหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงนั้นสิ้นสุดลง คือ เริ่มนับตั้งแต่วันที่ลูกหนี้รับสภาพหนี้ ม. 193/15 ว.2
2. กรณีผ่อนชำระหนี้เป็นงวด มีอายุความ 5 ปี ตามมาตรา 193/33(2) ฎ 2075/2540 บ.กู้เงินโจทก์โดยตกลงผ่อนชำเงินต้นและดอกเบี้ยให้แก่โจทก์เป็นรายเดือนตามตรารางชำระหนี้ของ ส.กู้ยืม ถือได้ว่า บ. ตกลงชำระหนี้เพื่อผ่อนทุนเป็นงวดๆ สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงมีอายุความ 5 ปี
3. กรณีผู้ยืมตายก่อนหนี้ถึงกำหนดชำระ ผู้ให้ยืมต้องฟ้องทายาทของผู้ยืมภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ผู้ยืมได้รู้หรือควรได้รู้ความตายของผู้ยืม ตามม. 1754 ว.3 โดยไม่ต้องรอให้หนี้ถึงกำหนดชำระตามสัญญา
ยืมใช้คงรูป ลักษณะการใช้ไม่ทำให้เสียภาวะหรือเสื่อมเสีย ผู้ให้ยืมไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าของ ไม่มีการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ยืม ยืมใช้สิ้นเปลือง ลักษณะการใช้ทำให้เสื่อมภาวะหรือเสื่อมเสีย และทำให้สิ้นเปลืองหมดไป ผู้ให้ยืมต้องเป็นเจ้าของทรัพย์สิน มีการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ยืม ความแตกต่างระหว่างยืมใช้คงรูปและยืมใช้สิ้นเปลือง