1 / 146

การส่องสว่าง

การส่องสว่าง. เสนอ. นายรุ่งโรจน์ หนูขลิบ. การส่องสว่างและการนำไปใช้งาน 2. นายรุ่งโรจน์ หนูขลิบ. วิทยาลัยการอาชีพวังไกลกังวล. มาตรฐานรายวิชา. 1 . เข้าใจแหล่งกำเนิดแสงและคุณสมบัติของแสง. 2 . หาความเข้มการส่องสว่างตามสถานที่ใช้งาน. 3 . เลือกชนิดของหลอดและดวงโคม. เนื้อหาสาระ.

vahe
Download Presentation

การส่องสว่าง

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การส่องสว่าง เสนอ นายรุ่งโรจน์ หนูขลิบ

  2. การส่องสว่างและการนำไปใช้งาน 2

  3. นายรุ่งโรจน์ หนูขลิบ วิทยาลัยการอาชีพวังไกลกังวล

  4. มาตรฐานรายวิชา 1. เข้าใจแหล่งกำเนิดแสงและคุณสมบัติของแสง 2. หาความเข้มการส่องสว่างตามสถานที่ใช้งาน 3. เลือกชนิดของหลอดและดวงโคม

  5. เนื้อหาสาระ การส่องสว่างภายในอาคารสำนักงาน บ้านอยู่อาศัย โรงแรม โรงพยาบาล โรงเรียน สามารถประหยัดพลังงานแสงสว่างได้มากเมื่อเทียบกับการส่องสว่างภายในอย่างอื่น การส่องสว่างภายในอาคารมีความสำคัญมากเพราะ มีผลต่อประสิทธิภาพของงาน และสุขภาพ ของผลใช้งาน หรือผู้ปฏิบัติงาน

  6. เนื้อหาสาระ การส่องสว่างภายในอาคารมีความสำคัญสองประการ คือ การให้แสงสว่างเพื่อใช้งานได้สะดวกสบาย และ การให้แสงเพื่อให้เกิดความสวยงาม ไม่ว่าจะเป็นการส่องสว่างแบบใดก็ตามก็ต้องคำนึงถึงการประหยัดพลังงานแสงสว่างด้วยสำหรับในยุคปัจจุบันที่พลังงานไฟฟ้าเป็นสิ่งจำเป็นและหายากยิ่ง

  7. จุดประสงค์ครั้งนี้ เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจ และ สามารถนำไปใช้ได้เกี่ยวกับ • บอกความหมายของการส่องสว่างและการนำไปใช้งานได้ • บอกความเหมาะสมการส่องสว่างและการนำไปใช้งานได้

  8. จุดประสงค์ครั้งนี้ เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจ และ สามารถนำไปใช้ได้เกี่ยวกับ 3. บอก ชนิด ขนาด รูปแบบ การส่องสว่างและการนำไปใช้งานได้ 4. หลักการการส่องสว่างและการนำไปใช้งาน

  9. รายการสอน 1. การส่องสว่างและการนำไปใช้งาน 2. การคำนวณกำลังไฟฟ้า 3. แสงสว่างสำหรับอาคารชนิดต่างๆ 4. หลักการให้แสงสว่างภายในอาคาร 5. แสงสว่างในที่ทำงาน

  10. รายการสอน 6. การจัดวางตำแหน่งดวงโคม 7. การออกแบบและเขียนแบบไฟฟ้าในอาคาร 8. การส่องสว่างภายนอกอาคาร 9. การออกแบบไฟฟ้าสนามกีฬากลางแจ้ง 10. ไฟส่องป้ายโฆษณา

  11. สังคม/เศรษฐกิจ/วัฒนธรรม/สิ่งแวดล้อมสังคม/เศรษฐกิจ/วัฒนธรรม/สิ่งแวดล้อม สมดุล/พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลง พอประมาณ มีเหตุผล นำสู่ ทางสายกลาง  พอเพียง มีภูมิคุ้มกัน เงื่อนไขความรู้ รอบรู้ รอบคอบ ระมัดระวัง เงื่อนไขคุณธรรม ซื่อสัตย์สุจริต อดทน เพียร มีสติ ปัญญา

  12. หนังสือหรือเอกสารประกอบการสอนหนังสือหรือเอกสารประกอบการสอน ชื่อหนังสือ... วิศวกรรมการส่องสว่าง.... ชื่อผู้แต่ง..... มงคล ทองสงคราม..... สำนักพิมพ์..... ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด...... ปีที่พิมพ์....2538........ จังหวัด... กรุงเทพมหานคร...

  13. หนังสือหรือเอกสารประกอบการสอนหนังสือหรือเอกสารประกอบการสอน ชื่อหนังสือ... วิศวกรรมการส่องสว่าง.... ชื่อผู้แต่ง..... ศุลี บรรจงจิตร..... สำนักพิมพ์..... ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด...... ปีที่พิมพ์....2538........ จังหวัด... กรุงเทพมหานคร...

  14. หนังสือหรือเอกสารประกอบการสอนหนังสือหรือเอกสารประกอบการสอน ชื่อหนังสือ... พื้นฐานวิศวกรรมการส่องสว่าง.... ชื่อผู้แต่ง..... อ.ไชยะ แช่มช้อย..... สำนักพิมพ์.....เอ็มแอนด์อี จำกัด........ ปีที่พิมพ์....2550........ จังหวัด... กรุงเทพมหานคร...

  15. หนังสือหรือเอกสารประกอบการสอนหนังสือหรือเอกสารประกอบการสอน ชื่อหนังสือ..การส่องสว่าง.. ชื่อผู้แต่ง.....วิทย์ อ้นจร และคณะ..... สำนักพิมพ์..... ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ........ ปีที่พิมพ์....2549........ จังหวัด... กรุงเทพมหานคร...

  16. หนังสือหรือเอกสารประกอบการสอนหนังสือหรือเอกสารประกอบการสอน ชื่อหนังสือ..การส่องสว่าง.. ชื่อผู้แต่ง.....วัฒนา ถาวร ..... สำนักพิมพ์... สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี่ (ไทยญี่ปุ่น).... ปีที่พิมพ์....2536........ จังหวัด... กรุงเทพมหานคร...

  17. การส่องสว่างและการนำไปใช้งาน 2

  18. ความแตกต่างของการส่องสว่างความแตกต่างของการส่องสว่าง 1. งานที่มองเห็นชัด และสภาพการทำงานดี มีแสงสม่ำเสมอตลอดชิ้นงาน และไม่มีแสงสะท้อนรบกวนนัยน์ตา ใช้ทำงานในช่วงเวลาสั้น ๆ แต่ในการทำงานติดต่อกันนาน ๆ แสงสว่างต้องไม่สูง

  19. ความแตกต่างของการส่องสว่างความแตกต่างของการส่องสว่าง 2. งานที่มองเห็นยาก ชิ้นงานมีสีแตกต่างกับสิ่งใกล้เคียง และมีแสงสะท้อน ความเร็วสูง โดยเฉพาะงานที่ทำติดต่อกันนาน ๆ และแสงธรรมชาติไม่พอ

  20. การส่องสว่างภายใน การจัดแสงสว่างเพื่อการใช้งานแต่ละสถานที่ว่าประกอบด้วยแสงสว่าง เพื่อการใช้งานแต่ละประเภทอย่างไร เพื่อจะได้นำไปประยุกต์ใช้หรือเลือกใช้เพื่อการประหยัดพลังงานอย่างถูกต้อง เพราะการประหยัดพลังงานแสงสว่างที่ถูกต้อง ต้องไม่ให้เกิดความสูญเสียทางด้านอื่นด้วย

  21. การส่องสว่างภายใน เช่น ประหยัดพลังงานแล้วทำให้ธุรกิจสูญเสียรายได้จำนวนมาก หรือประหยัดพลังงานแล้วทำให้เกิดความเสี่ยงสูงในการทำงานที่ทำให้เกิดอันตรายสูง เป็นต้น

  22. การส่องสว่างภายใน หมายถึง ต้องให้ได้ระดับความส่องสว่างอยู่ในเกณฑ์ที่ทำงานได้โดยไม่ต้องทำให้เพ่งสายตามากเกินไป ส่วนการส่องสว่างให้เกิดความสวยงามนั้นก็ต้องอาศัยความมีศิลป์ในตัวเพื่อพิจารณาในแง่การให้แสงแบบเอฟเฟค (Effect Lighting) หรือการให้แสงแบบส่องเน้น (Accent Lighting)

  23. การส่องสว่างภายใน ระบบการให้แสงสว่างนั้นขึ้นอยู่กับการใช้งานของห้อง ผู้อยู่ในห้อง การมองเห็น และสไตล์การตกแต่ง ระบบการให้แสงสว่างโดยพื้นฐานประกอบด้วย ระบบการให้แสงหลัก (Primary Lighting System) และระบบการให้แสงรอง (Secondary Lighting System)

  24. ระบบการให้แสงหลัก หมายถึง แสงสว่างพื้นฐานที่ต้องใช้เพื่อการใช้งานซึ่งแยกออกได้เป็นระบบต่าง ๆ หรือ การออกแบบระบบแสงสว่างให้มี ความส่องสว่างเพียงพอตามมาตรฐานเพื่อการใช้งานในแต่ละพื้นที่นั้นๆ

  25. ระบบการให้แสงหลัก หมายถึง แสงสว่างพื้นฐานที่ต้องใช้เพื่อการใช้งานซึ่งแยกออกได้เป็นระบบต่างๆดังนี้ ก) แสงสว่างทั่วไป (General Lighting) ข) แสงสว่างเฉพาะที่ (Localized Lighting) ค) แสงสว่างเฉพาะที่และทั่วไป (Local Lighting + General Lighting)

  26. ระบบการให้แสงหลัก ก) แสงสว่างทั่วไป (General Lighting) คือ การให้แสงกระจายทั่วไปเท่ากันทั้งบริเวณพื้นที่ใช้งาน ซึ่งใช้กับการให้แสงสว่างไม่มากเกินไป แสงสว่างดังกล่าวไม่ได้เน้นเรื่องความสวยงามมากนัก ดังนั้นการประหยัดพลังงานสามารถทำได้ในแสงสว่างทั่วไปนี้

  27. แสงสว่างทั่วไป

  28. ระบบการให้แสงหลัก ข) แสงสว่างเฉพาะที่ (Localized Lighting) คือ การให้แสงสว่างเป็นบางบริเวณเฉพาะที่ทำงานเท่านั้น เพื่อการประหยัดพลังงานไฟฟ้า โดยไม่ต้องให้สม่ำเสมอเหมือนแบบแรก

  29. แสงสว่างเฉพาะที่

  30. แสงสว่างเฉพาะที่

  31. ระบบการให้แสงหลัก การให้แสงสว่างเป็นบางบริเวณเฉพาะที่ทำงานเช่น การให้แสงสว่างจากฝ้าเพดานโดยติดตั้งเฉพาะเหนือโต๊ะหรือบริเวณใช้งานให้ได้ความส่องสว่างตามต้องการ การให้แสงสว่างลักษณะนี้ประหยัดกว่าแบบ ก) ข้างต้น

  32. ระบบการให้แสงหลัก ค) แสงสว่างเฉพาะที่และทั่วไป (Local Lighting + General Lighting) คือ การให้แสงสว่างทั้งแบบทั่วไปทั้งบริเวณ และเฉพาะที่ที่ทำงาน ซึ่งมักใช้กับงานที่ต้องการความส่องสว่างสูงซึ่งไม่สามารถให้แสงแบบแสงสว่างทั่วไปได้เพราะเปลืองค่าไฟฟ้ามาก

  33. แสงสว่างเฉพาะที่และทั่วไปแสงสว่างเฉพาะที่และทั่วไป

  34. ระบบการให้แสงหลัก แสงสว่างเฉพาะที่และทั่วไป เช่น การให้แสงสว่างจากฝ้าเพดาน เพื่อส่องบริเวณทั่วไป และที่โต๊ะทำงานติดโคมตั้งโต๊ะส่องเฉพาะต่างหากเพื่อให้ได้ความส่องสว่างสูงมากตามความต้องการของงานระบบการให้แสงสว่างให้มีความส่องสว่างเพียงพอตามมาตรฐานเพื่อการใช้งานในแต่ละพื้นที่นั้นๆ

  35. การส่องสว่างภายใน ระบบการให้แสงรอง หมายถึงการให้แสงนอกเหนือจากการให้แสงหลักเพื่อให้เกิดความสวยงามเพื่อความสบายตา หรือ การออกแบบให้มีแสงสว่างให้เกิด ความสวยงาม หรือเน้นเพื่อให้เกิดความสนใจ สบายตา และอารมณ์

  36. ระบบการให้แสงรอง ก) แสงสว่างแบบส่องเน้น (Accent Lighting) ข) แสงสว่างแบบเอฟเฟค (Effect Lighting) ค) แสงสว่างตกแต่ง (Decorative Lighting) ง) แสงสว่างงานสถาปัตย์ (Architectural Lighting) จ) แสงสว่างตามอารมณ์ (Mood Lighting)

  37. ระบบการให้แสงรอง ก) แสงสว่างแบบส่องเน้น (Accent Lighting) เป็นการให้แสงแบบส่องเน้นที่วัตถุใดวัตถุหนึ่งเพื่อให้เกิดความสนใจ โดยทั่วไปแสงประเภทนี้ได้มาจากแสงสปอต

  38. แสงสว่างแบบส่องเน้น • (Accent Lighting)

  39. ระบบการให้แสงรอง ข) แสงสว่างแบบเอฟเฟค (Effect Lighting) หมายถึงแสงเพื่อสร้างบรรยากาศที่น่าสนใจ แต่ไม่ได้ส่องเน้นวัตถุเพื่อเรียกร้องความสนใจ เช่นโคมที่ติดตั้งที่เพดานเพื่อสร้างรูปแบบของแสงที่กำแพง เป็นต้น

  40. แสงสว่างแบบเอฟเฟค • (Effect Lighting)

  41. ระบบการให้แสงรอง ค) แสงสว่างตกแต่ง (Decorative Lighting) เป็นแสงที่ได้จากโคมหรือหลอดที่สวยงามเพื่อสร้างจุดสนใจในการตกแต่งภายใน

  42. ค) แสงสว่างตกแต่ง (Decorative Lighting)

  43. ระบบการให้แสงรอง ง) แสงสว่างงานสถาปัตย์ (Architectural Lighting) บางทีก็เรียก Structural Lighting ให้แสงสว่างเพื่อให้สัมพันธ์กับงานทางด้านสถาปัตยกรรม เช่น การให้แสงไฟจากหลืบ การให้แสงจากบังตา หรือการให้แสงจากที่ซ่อนหลอด

  44. ง) แสงสว่างงานสถาปัตย์ (Architectural Lighting)

  45. ระบบการให้แสงรอง จ) แสงสว่างตามอารมณ์ (Mood Lighting) แสงสว่างประเภทนี้ไม่ใช่เทคนิคการให้แสงพิเศษแต่อย่างใด แต่อาศัยการใช้สวิตช์หรือตัวหรี่ไฟเพื่อสร้างบรรยากาศของแสงให้ได้ระดับความส่องสว่างตามการใช้งานที่ต้องการ

  46. จ) แสงสว่างตามอารมณ์ (Mood Lighting)

  47. ระบบการให้แสงสว่างหลัก หมายถึงการให้แสงสว่างให้เพียงพอเพื่อการใช้งาน เช่น ห้องทำงานต้องให้ความสว่างที่โต๊ะทำงานให้มีความส่องสว่างอย่างน้อยไม่น้อยกว่า 500 ลักซ์ เป็นต้น

  48. เมื่อได้ความส่องสว่างที่โต๊ะทำงานแล้วบริเวณที่เหลือ เช่นการส่องสว่างที่ผ้าม่านเพื่อให้เกิดวงแสงหรือรูปแบบของแสง หรือการส่องสว่างเน้นที่ต้นไม้ที่ปลูกในกระถางภายในห้องก็เป็นแสงสว่างรอง คือ เป็นการให้แสงเพื่อความสวยงาม เป็นต้น

More Related