1.16k likes | 4.68k Views
นิราศภูเขาทอง. ผู้แต่ง สุนทรภู่. ทำนองแต่ง กลอนนิราศ. ปีที่แต่ง พ.ศ. 2371 . แผนผังกลอนนิราศ. วรรครับ. บาทเอก. 1 คำกลอน ( 1 บาท). (สัมผัสนอก). วรรครอง. วรรคส่ง. บาทโท. สัมผัสระหว่างบท. (สัมผัสใน). กลอนนิราศ.
E N D
นิราศภูเขาทอง ผู้แต่ง สุนทรภู่ ทำนองแต่ง กลอนนิราศ ปีที่แต่ง พ.ศ. 2371
แผนผังกลอนนิราศ วรรครับ บาทเอก 1 คำกลอน (1บาท) (สัมผัสนอก) วรรครอง วรรคส่ง บาทโท สัมผัสระหว่างบท (สัมผัสใน)
กลอนนิราศ คือ คำกลอนที่แต่งขึ้นเพื่อเล่าเรื่องการเดินทางไปยังแห่งใดแห่งหนึ่งโดยรำพันถึงการจากคนที่รักไปยังแห่งนั้น และไม่จำเป็นว่าคนที่รักจะมีตัวตนจริงหรือไม่ การประพันธ์ต้องใช้ศิลปะในการรำพันให้ไพเราะกินใจผู้อ่าน กลอนนิราศมีลักษณะบังคับอย่างกลอนทั่วไป คือขึ้นต้นด้วยวรรครับ และลงท้ายบทด้วยคำว่าเอย
นิราศ หมายถึง การจากไป กวีมักจะพรรณนาหนทางที่ผ่านไป และรำพันถึงคนรักที่หลากหลายอารมณ์นำเอามาเกี่ยวพันกับความงามตามธรรมชาติ และความรู้สึกอื่น ๆ
การตั้งชื่อนิราศ 1.มักจะตั้งชื่อตามชื่อสถานที่ ตำบลที่ผู้ประพันธ์เดินทางไป เช่น - นิราศเมืองแกลง สุนทรภู่เดินทางไปเมืองแกลง - นิราศพระบาท สุนทรภู่เดินทางไปนมัสการพระ พุทธบาท จังหวัดสระบุรี
การตั้งชื่อนิราศ 2.มักจะตั้งชื่อตามชื่อผู้แต่ง เช่น - นิราศนรินทร์ - นิราศพระยาพระคลังหน
แผนผังกลอนสุภาพ วรรคสดับวรรครับ 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 วรรครองวรรคส่ง 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0
นิราศภูเขาทอง นิราศภูเขาทองเป็นวรรณคดีประเภทนิราศ ได้รับการยกย่องว่าเป็นนิราศเรื่องที่ดีที่สุดของสุนทรภู่ (พ.ศ. 2329 - 2398) ท่านแต่งนิราศเรื่องนี้จากการเดินทางไปนมัสการเจดีย์ภูเขาทอง ที่กรุงเก่า (จังหวัดพระนครศรีอยุธยาในปัจจุบัน) เมื่อเดือนสิบเอ็ด ปีชวด (พ.ศ. 2371) ขณะบวชเป็นพระภิกษุ
ลักษณะคำประพันธ์ นิราศภูเขาทอง มีความยาว 89คำกลอน มีความไพเราะ และเรียบง่าย ตามแบบฉบับของสุนทรภู่ ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย บรรยายความรู้สึก ขณะเดียวกันก็เล่าถึงสภาพของเส้นทางที่กำลังเดินทางไปด้วย ท่านมักจะเปรียบเทียบชีวิตและโชคชะตาของตนกับธรรมชาติรอบข้างที่ตนได้เดินทางผ่านไป มีหลายบทที่เป็นที่รู้จักและท่องจำกันได้
การเดินทางในนิราศ สุนทรภู่ล่องเรือในแม่น้ำเจ้าพระยาไปกับลูกชายชื่อหนูพัด ผ่านวัดประโคน บางยี่ขัน ถึงบางพลัด ผ่านตลาดแก้วตลาดขวัญในเขตนนทบุรี จากนั้นก็ผ่านเกาะเกร็ด ซึ่งเป็นย่านชาวมอญ เข้าสู่ปทุมธานี หรือเมืองสามโคก แล้วเข้าเขตอยุธยา จอดเรือที่ท่าวัดพระเมรุ ค้างคืนในเรือ มีโจรแอบจะมาขโมยของในเรือ แต่ไหวตัวทัน รุ่งเช้าเป็นวันพระ ลงจากเรือเดินทางไปที่เจดีย์ภูเขาทอง ซึ่งเป็นเจดีย์ร้าง เก็บพระบรมสารีริกธาตุมาไว้ในขวดแก้วตั้งใจจะนำไปนมัสการที่กรุงเทพฯ แต่เมื่อตื่นมาก็ไม่พบ จึงได้เดินทางกลับ
ข้อคิดจากเรื่อง สอนเรื่องการพูด ถึงบางพูดพูดดีมีศรีศักดิ์ มีคนรักรสถ้อยอร่อยจิต แม้นพูดชั่วตัวตายทำลายมิตร จะชอบผิดในมนุษย์เพราะพูดจา
สอนเรื่องการคบคน ถึงบางเดื่อโอ้มะเดื่อเหลือประหลาด บังเกิดชาติแมลงหวี่มีในไส้ เหมือนคนพาลหวานนอกย่อมขมใน อุปไมยเหมือนมะเดื่อเหลือระอา
สอนเรื่องโทษของสุรา ถึงโรงเหล้าเตากลั่นควันโขมง มีคันโพงผูกสายไว้ปลายเสา โอ้บาปกรรมน้ำนรกเจียวอกเรา ให้มัวเมาเหมือนหนึ่งบ้าเป็นน่าอาย
ความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ ถึงหน้าวังดังหนึ่งใจจะขาด คิดถึงบาทบพิตรอดิศร โอ้ผ่านเกล้าเจ้าประคุณของสุนทร แต่ปางก่อนเคยเฝ้าทุกเช้าเย็น พระนิพพานปานประหนึ่งศีรษะขาด ด้วยไร้ญาติยากแค้นถึงแสนเข็ญ
ความไม่เที่ยงแท้ของชีวิตความไม่เที่ยงแท้ของชีวิต ทั้งองค์ฐานรานร้าวถึงก้าวแฉก เผยอแยกยอดทรุดก็หลุดหัก โอ้เจดีย์ที่สร้างยังร้างรัก เสียดายนักนึกน่าน้ำตากระเด็น กระนี้หรือชื่อเสียงเกียรติยศ จะมิหมดล่วงหน้าทันตาเห็น เป็นผู้ดีมีมากแล้วยากเย็น คิดก็เป็นอนิจจังเสียทั้งนั้น