20 likes | 357 Views
ขั้นตอนการผลิต ไตร แคร์ ใน รูปน้ำ. โครงงานอาชีพ เรื่อง การผลิตไตรโค เดอร์ มารูปผงแห้งด้วยดินขาวล้างระนองเพื่อควบคุมโรคพืช. ราคาขาย / ยอดจำหน่าย / ความพึงพอใจ ไตร แคร์. นำข้าวสารเจ้าหุงโดยใส่น้ำ ให้ท่วมหลังมือเล็กน้อย. ราคาขาย. โรงเรียนเทศบาลวัด อุปนัน ทาราม เทศบาลเมืองระนอง.
E N D
ขั้นตอนการผลิตไตรแคร์ในรูปน้ำขั้นตอนการผลิตไตรแคร์ในรูปน้ำ โครงงานอาชีพ เรื่อง การผลิตไตรโคเดอร์มารูปผงแห้งด้วยดินขาวล้างระนองเพื่อควบคุมโรคพืช ราคาขาย/ยอดจำหน่าย/ความพึงพอใจ ไตรแคร์ นำข้าวสารเจ้าหุงโดยใส่น้ำ ให้ท่วมหลังมือเล็กน้อย ราคาขาย โรงเรียนเทศบาลวัดอุปนันทาราม เทศบาลเมืองระนอง ตักใส่ถุงพลาสติกร้อนขนาด 10x15 นิ้ววางไว้ให้ความร้อนลดลง ใช้หลังมือสัมผัสถุงข้าวถ้าทนได้ ให้นำเชื้อราไตรโคเดอร์มาที่เป็นเชื้อตั้งต้นใส่ลงในถุงข้าวและเขย่าให้เข้ากันใช้ยางวงมัดปากถุงให้แน่น นำถุงข้าวที่ผสมกับหัวเชื้อตั้งต้นแล้ววางเกลี่ยข้าวให้บางๆ จากนั้นใช้เข็มหมุดแทงบริเวณปากถุงให้อากาศถ่ายเทได้เล็กน้อย ผู้บริหารโรงเรียน บ่มเชื้อไว้ที่อุณหภูมิห้อง 5 - 7 วัน เลือกถุงข้าวที่มีการเจริญเติบโตเต็มที่มีสปอร์สีเขียวขึ้น ไม่มีการปนเปื้อนจากเชื้อชนิดอื่นๆ ยอดจำหน่าย เปิดปากถุงและเทใส่ในถังขนาด 13 ลิตร รวมกันให้ได้ 2 ใน 3 ของถัง (ใส่ถุงมือและผ้าปิดจมูก) ผู้อำนวยการสถานศึกษา ใส่น้ำสะอาดให้ท่วม จำนวน 5 ลิตร เติมสารลดแรงตรึงผิวประมาณ 100 ml จากนั้นขยำเบาๆ ให้สปอร์เชื้อราหลุดออกจากข้าว รองผู้อำนวยการสถานศึกษาฝ่ายบริหาร นำส่วนที่ได้มากรองด้วยตะแกรงกรองเอากากข้าวออกเอาเฉพาะน้ำสปอร์ และสุ่มตัวอย่างสปอร์ไปตรวจหาความเข้มข้นของสปอร์ก่อนผสม ขั้นตอนการผลิตไตรแคร์ในผงแห้ง รองผู้อำนวยการสถานศึกษาฝ่ายวิชาการ ร้อยละความพึงพอใจ นำน้ำสปอร์ที่ได้มาผสมกับดินขาวล้างระนองตามอัตราส่วนที่กำหนดตามแผนการทดลองและเติมหางนมในอัตรา 10 : 2 kg (ดินขาว:หางนม) ผสมน้ำสปอร์และดินขาวล้างระนองให้เข้ากัน จากนั้นทำเป็นชิ้นเล็กๆ นำไปผึ่งลมที่อุณหภูมิห้อง ให้แห้งประมาณ 3-4 วัน เมื่อแห้งแล้วเก็บมาบดให้ละเอียด และสุ่มเก็บตัวอย่างไปตรวจหาอัตราการรอดตายหลังผลิต รองผู้อำนวยการสถานศึกษาฝ่ายปกครองและบริการ ส่วนที่เหลือเก็บใส่ถุงที่ปิดมิดชิดเก็บไว้ที่อุณหภูมิห้องเป็นระยะเวลา 6 เดือนและมีการสุ่มตัวอย่างไปตรวจหาอัตราการรอดตายระหว่างการเก็บรักษาระยะเวลา 1, 2, 3, 4, 5, 6 เดือน www.uppanan-ranong.ac.th : uppanan-ranong@hotmail.com Tel.087-8823313 www.uppanan-ranong.ac.th
ไตรแคร์ (TRICARE) เราจะได้อะไรจากไตรแคร์ ที่มาและความสำคัญ ไตรแคร์คือ นวัตกรรมใหม่ที่ เรานำเชื้อราไตรโคเดอร์มา (Trichoderma sp.)มา ผสมกับดินขาวล้างระนองเพื่อยืดอายุการใช้งาน สะดวกต่อการนำมาใช้และราคาถูกปลอดภัยปราศจากสารเคมี อยู่ในรูปผงแห้งนำมาใช้โดยการหว่านโคนต้นพืชหรือผสมน้ำฉีดพ่นพืชผลเพื่อการป้องกันและรักษาโรคเชื้อราก่อโรคต่างๆ ให้ผลดีป้องกันและควบคุมโรครากเน่า โคนเน่าในพืชที่มีสาเหตุมาจากเชื้อราพิเทียม, ไพท็อบเทอร่า, สเคลอโรเทียม, ฟิวซาเรียม และไรซ็อคโทเนีย ที่เกิดในไม้ผล พืชผัก พืชตระกูลถั่ว ไม้ดอกไม้ประดับ พืชไร่ ข้าว และพืชชนิดอื่นๆ อีกมากมาย ไตรแคร์เป็นเชื้อราไตรโคเดอร์ มา (Trichoderma sp.) ที่นำมาผสมกับดินขาวล้างระนอง ในรูปผงแห้ง สามารถนำมาใช้กับพืชผลต่างๆ โดยการหว่านโคนต้นพืชหรือผสมน้ำฉีดพ่นพืชเพื่อการป้องกันและรักษาโรคเชื้อราก่อโรคต่างๆ ให้ผลดีป้องกัน และควบคุมโรครากเน่า โคนเน่าในพืชที่มีสาเหตุมาจากเชื้อราพิเทียม, ไพท็อบเทอร่า, สเคลอโรเทียม, ฟิวซาเรียม และไรซ็อคโทเนีย ที่เกิดในไม้ผล พืชผัก พืชตระกูลถั่ว ไม้ดอกไม้ประดับ พืชไร่ ข้าว และพืชชนิดอื่นๆ อีกมากมายอายุการใช้งานประมาณ 1 ปี สะดวกต่อการนำมาใช้และราคาถูกปลอดภัยต่อผู้ใช้ ปราศจากสารเคมี ผ่านการทดลองใช้จากเกษตรกรจนสามารถยืนยันได้ว่า ไตรแคร์ มีประสิทธิภาพใช้ได้ผลจริง ชุมชนสามารถศึกษาและผลิตเพื่อประกอบเป็นอาชีพได้จริง คณะผู้จัดทำโครงงาน เรื่อง การผลิตไตรโค เดอร์มารูปผงแห้งด้วยดินขาวล้างระนองเพื่อ ควบคุมโรคพืชได้เห็นผู้ปกครองได้นำสารเร่ง พด.3 และเชื้อไตรโคเดอร์มาสดจากฝ่ายปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลองมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อำเภอกำแพงแสน มาขยายใช้ในการป้องกันโรคเน่าในทุเรียนในสวนของตนเอง ซึ่งพบว่าให้ผลดี ทุเรียนลดอัตราการเกิดโรคเน่าทั้งในรากและผล แต่เนื่องจากผู้ปกครองต้องสั่งซื้อและนำเชื้อราไตรโคเดอร์มามาผลิตขยายเป็นเชื้อสดเป็นประจำ บางครั้งไม่สะดวก อีกทั้งอยากให้ผู้ปกครองลดการใช้สารเคมีอันตรายในการป้องกันโรคพืช ปัญหานี้ทำให้เกิดแรงจูงใจอยากหาทางช่วยเหลือผู้ปกครองจึงเกิดแนวคิดว่าจะทำอย่างไรจึงจะสามารถยืดอายุการใช้งานและการเก็บรักษาเชื้อราไตรโคเดอร์มาได้นานขึ้น พร้อมทั้งประสิทธิภาพยังคงอยู่ จึงได้ปรึกษาคุณครู ทำให้เกิดแนวคิดที่ชัดเจนขึ้น หลังจากนั้นได้ทำการศึกษาค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติมจนกระทั่งพบว่ามีการผลิตเชื้อรา ไตรโคเดอร์มารูปผงแห้ง จึงเกิดแนวคิดว่าถ้าลองใช้ดินขาวล้างระนองมาผลิตไตรโคเดอร์มารูปผงแห้งเพื่อควบคุมโรคพืชจะเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลอย่างไร และสามารถพัฒนาไปสู่อาชีพใหม่ของชุมชนในอนาคตได้หรือไม่ กว่าจะมาเป็น ไตรแคร์ ศึกษาข้อมูล/หาแหล่งวัตถุดิบ คณะผู้จัดทำโครงงาน/ครูที่ปรึกษา วางแผนงาน/ผลิต ความสำเร็จจากโครงงานอาชีพของเรา ไตรแคร์ นายอนิวัตต์ ตั้งธีรโชติกุล ครูที่ปรึกษาโครงงาน รางวัลชมเชยโครงงานวิทยาศาสตร์สัปดาห์วิทยาศาสตร์ ณ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ปี 2553 จัดโดยสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ทดลอง/ออกพื้นที่ รางวัลเหรียญทองระดับประเทศโครงงานอาชีพงานมหกรรมวิชาการ ศิลปหัตถกรรมนักเรียน ของ สพฐ. ปี 2553 วันที่ 26-28 มกราคม 2554 จัดโดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ เด็กหญิงนทีกานต์ อธิมุตติกุล , เด็กชายทรงสิทธิ์ สวัสดี, เด็กชายชาคริต บูรณารมย์